พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. จาลาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40742
อ่าน  372

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 277

เถรีคาถา สัตตกนิบาต

๒. จาลาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 277

๒. จาลาเถรีคาถา

[๔๖๐] พระจาลาเถรี กล่าวคาถาอุทานว่า

    ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณี ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วเข้าไปตั้งสติไว้มั่น รู้แจ้งตลอดสันตบท อันเป็นเครื่องเข้าไประงับสังขาร เป็นสุข.

มารผู้มีบาป ถามว่า

    แม่นางศีรษะโล้น ทำตัวเหมือนสมณะ แม่นางบวชเจาะจงใครหนอ. แม่นางไม่ชอบใจลัทธิเดียรถีย์ทำไมแม่นางจึงยังงมงายประพฤติลัทธินี้เล่า.

    พระจาลาเถรี ตอบว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 278

    ผู้มีลัทธิเดียรถีย์ภายนอกจากพระศาสนานี้เข้าไปอาศัยแต่ทิฏฐิความเห็นทั้งหลาย ไม่รู้แจ้งธรรม ไม่ฉลาดในธรรม ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติในตระกูลศากยะ ไม่มีผู้ใดเปรียบปาน พระองค์ทรงแสดงธรรมอันก้าวล่วงเสียซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ความล่วงทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘เป็นทางดำเนินไปให้ถึงความระงับทุกข์โปรดข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้าทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความมืดแล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ดูก่อนมารผู้กระทำที่สุด ตัวท่านข้าพเจ้าก็กำจัดได้แล้ว.

    จบจาลาเถรีคาถา

๒. อรรถกถาจาลาเถรีคาถา

    คาถาว่า สตึ อุปฏฺเปตฺวาน ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของ พระจาลาเถรี.

    พระเถรีแม้รูปนี้ ได้บำเพ็ญบารมีมา ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สะสมกุศลซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ก็บังเกิดในครรภ์ของพราหมณีชื่อรูปสารี ในนาลกคามแคว้นมคธ ในวันตั้งชื่อ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 279

คนทั้งหลายได้ทั้งชื่อว่าจาลา จาลานั้นมีน้องสาว ชื่อว่า อุปจาลา อุปจาลานั้นมีน้องอีกคนหนึ่ง ชื่อว่า สีสูปจาลา ทั้ง ๓ คนนี้ เป็นน้องสาวของท่านพระธรรมเสนาบดี คำที่มาในเถรคาถา๑ว่า จาลา อุปจาลา สีสูปจาลา ก็หมายถึงชื่อหญิงทั้งสามคนนี้นี่เอง.

    ก็พี่น้องหญิงทั้ง ๓ คนเหล่านั้น ได้ทราบว่า ท่านพระธรรมเสนาบดีบวชแล้ว พากันคิดว่า ธรรมวินัยที่พี่ชายของเราบวช คงไม่ต่ำทรามแน่บรรพชาก็คงไม่ต่ำทราม ก็เกิดอุตสาหะมีฉันทะแรงกล้าพากันละญาติและคนใกล้เคียงซึ่งกำลังร้องไห้ น้ำตานองหน้า ออกบวชแล้ว ครั้นบวชแล้ว ก็พากเพียรพยายาม ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต อยู่ด้วยพระนิพพานสุข และผลสุข.

    บรรดาภิกษุณีเหล่านั้น จาลาภิกษุณีเท่านั้น วันหนึ่งกลับ จากบิณฑบาตหลังจากฉันภัตตาหารแล้ว ก็เข้าไปยังป่าอันธวัน นั่งพักกลางวัน ครั้นนั้นมารเข้าไปหา ประเล้าประโลมพระเถรีด้วยกามทั้งหลาย ที่ท่านหมายถึงกล่าวไว้ว่า (๒)

    "ครั้งนั้น เวลาเช้าพระจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี อันเสร็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว ก็เข้าไปในป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวัน ได้นั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาป เข้าไปหาพระจาลาภิกษุณี ครั้นเข้าไปหาแล้วจึงกล่าวกะพระจาลาภิกษุณี" ดังนี้.

    พระเถรีนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ ณ ป่าอันธวัน มารเข้าไปหามุ่งหมายจะตัดพระเถรี เสียจากการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ จึงได้ถามเป็นต้นว่า แม่นางศีรษะโล้นบวชเจาะจงใครหนอ ลำดับนั้น พระจาลาภิกษุณี ประกาศพระคุณของพระศาสดาและธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์แก่มารนั้น ให้มารรู้ถึงการที่ตนล่วงวิสัยของมารได้แล้ว ด้วยการชี้แจงถึงการที่ตนได้ทำกิจเสร็จแล้ว


    ๑. ขุ. ๒๖/ข้อ ๑๗๙. ขทิรวนิยเถรคาถา ๒. สัง. ส. ๑๕/ข้อ ๕๓๗.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 280

มารได้ฟังคำนั้น เป็นทุกข์เสียใจอันตรธานไปในนั้นนั่นเอง. พระจาลาภิกษุณีนั้นเมื่อกล่าวคาถาที่ตนกับมารกล่าวแล้วเป็นอุทาน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

    ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณี ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วเข้าไปตั้งสติไว้มั่น รู้แจ้งตลอดสันตบท อันเป็นเครื่องเข้าไประงับสังขาร เป็นสุข.

มารผู้มีบาปถามว่า

    แม่นางศีรษะโล้น ทำตัวเหมือนเป็นสมณะแม่นางบวชเจาะจงใครหนอ แม่นางไม่ชอบใจลัทธิเดียรถีย์ ทำไมแม่นางจึงยังงมงายประพฤติลัทธินี้เล่า.

พระจาลาเถรีตอบว่า

    ผู้ถือลัทธิเดียรถีย์ภายนอกจากพระศาสนานี้เข้าไปอาศัยแต่ทิฏฐิความเห็นทั้งหลาย เดียรถีย์เหล่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรม ไม่ฉลาดในธรรม ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เลิศอุบัติในตระกูลศากยะ ไม่มีผู้ใดเปรียบปาน พระองค์ทรงแสดงธรรม อันก้าวล่วงเสียซึ่งทิฏฐิทั้งหลายคือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความล่วงทุกข์และอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางดำเนินให้ถึงความระงับทุกข์โปรดข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา ข้าพเจ้าได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้าทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความมืดแล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ดูก่อนมารผู้กระทำที่สุด ตัวท่านข้าพเจ้าก็กำจัดได้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 281

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตึ อุปฏฺเปตฺวาน ความว่า ทำสติให้ตั้งมั่นด้วยดี โดยการเจริญสติปัฏฐาน คือโดยความเป็นของไม่งามเป็นทุกข์ไม่เที่ยงและเป็นอนัตตา ในกายเป็นต้น พระเถรีกล่าวหมายถึงตัวเองว่าภิกษุณี.บทว่า ภาวิตินฺทฺริยา ความว่า มีอินทรีย์ ๕ มีสัทธาเป็นต้นอันอบรมแล้วด้วยการเจริญอริยมรรค. บทว่า ปฏิวิชฺฌิ ปทํ สนฺตํ ความว่า แทงตลอดคือทำให้แจ้งสันตบทคือนิพพาน ด้วยการทำให้แจ้งและแทงตลอด. บทว่าสงฺขารูปสนํ ได้แก่ เหตุแห่งความสงบสังขารทั้งปวง. บทว่า สุขํ คือเป็นสุขล้วน.

คาถาว่า กํ นุ อุทฺทิสฺส ความว่า คาถาที่มารกล่าวแล้ว. ในคาถานั้นมีความสังเขปดังต่อไปนี้ ในโลกนี้มีลัทธิและผู้แสดงลัทธิเหล่านั้นเป็นอันมากคือเจ้าลัทธิมากด้วยกัน บรรดาเจ้าลัทธิเหล่านั้น แม่นางผู้มีศีรษะโล้น คือโกนผมบวชเจาะจงใครหนอ มิใช่ศรีษะโล้นอย่างเดียวที่แท้ยังแสดงตัวเหมือนสมณะเพราะทรงผ้ากาสาวะอีกด้วย. บาทคาถาว่า น จ โรเจสิ ปาสณฺเฑความว่า ท่านไม่ชอบใจลัทธิเดียรถีย์นั้นๆ อันเป็นกระจกของพวกดาบสและปริพาชกเป็นต้น โดยเป็นลัทธิอื่นเสีย. บาทคาถาว่า กิมิทํ จรสิ โมมุหาความว่า แม่นางละทางนิพพานสายตรง อันเป็นวิธีของลัทธิเดียรถีย์ มาเดินทางผิดชั่วกาลในบัดนี้ งมงายประพฤติซมซานอันใด ลัทธินี้ชื่ออะไรเล่า.

พระเถรีฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะขู่มารนั้นโดยมุข คือให้คำตอบจึงกล่าวว่า อิโต พหิทฺธา เป็นต้น. ลัทธิมีอุปการะมากที่ชื่อกุฏีสกะเป็นต้น ภายนอกศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ชื่อว่าลัทธิเดียรถีย์นอกศาสนานี้ ในคำว่า อิโต พหิทฺธา นั้น. จริงอยู่พวกถือลัทธิเดียรถีย์เหล่านั้น ย่อมดักบ่วงคือตัณหาความทะยานอยากและบ่วงคือทิฏฐิความเห็น แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงถูกเรียกว่า ปาสัณฑะ ลัทธิวางบ่วงดัก ด้วยเหตุนั้น พระจาลาเถรีจึงกล่าว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 282

ว่า ทิฏฺิโย อุปนิสฺสิตา ได้แก่ อาศัย สัสสตทิฏฐิ อธิบายว่า ถือทิฏฐิ อนึ่ง คนทั้งหลายอาศัยทิฏฐิความเห็นโดยส่วนใด ก็อาศัยพวกถือลัทธิ.เดียรถีย์โดยส่วนนั้น. บาทคาถาว่า น เต ธมฺมํ วิชานนฺติ ความว่า เดียรถีย์เหล่าใดอาศัยสัสสตทิฏฐิ ย่อมไม่รู้แม้ปวัตติธรรมตามเป็นจริงว่า นี้เป็นปวัตติ.บาทคาถาว่า น เต ธมฺมสฺส โกวิทา ได้แก่ ไม่ฉลาดแม้ในนิวัตติธรรมว่านิวัตติเป็นอย่างนี้ เดียรถีย์เหล่านั้นหลงงมงายแม้ในทางปวัตติธรรม ไยเล่าจะไม่หลงในนิวัตติธรรม.

พระจาลาเถรีครั้นแสดงว่าลัทธิเดียรถีย์ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อวิสัชนาปัญหาว่า แม่นางศีรษะโล้นแม่นางบวชเจาะจงใครหนอจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า มีพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติในตระกูลศากยะ. บรรดาคำเหล่านั้น บาทคาถาว่า ทิฏฺีนํ สมติกฺกมํ ได้แก่ เป็นอุบายก้าวล่วงทิฏฐิทั้งปวง คือปลดเปลื้องเสียจากข่าย คือทิฏฐิ. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาจาลาเถรีคาถา