พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. จาปาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40751
อ่าน  563

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 382

เถรีคาถา วีสตินิบาต

๓. จาปาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 382

๓. จาปาเถรีคาถา

    [๔๖๙] พระจาปาเถรี ได้รวบรวมถ้อยคำที่ตนพูดกับอุปกะไว้แต่ก่อน เป็นอุทานคาถา ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    แต่ก่อน เราบวชถือไม้เท้า บัดนี้ เรากลายเป็นพรานล่าเนื้อไปเสียแล้ว ไม่อาจข้ามจากตมคือตัณหาอันร้ายกาจ ไปสู่ฝั่งโน้น คือพระนิพพานได้.ดูก่อนจาปา เจ้าสำคัญตัวเราว่าเป็นคนมัวเมาจึงกล่อมลูกเย้ยหยันเสียดสี เราจักตัดพันธะของจาปาไปบวชอีก.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านมหาวีระ โปรดอย่าโกรธจาปาเลย ข้าแต่ท่านมหามุนี โปรดอย่าโกรธจาปาเลย เพราะว่าผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ไม่มีความบริสุทธิ์ดอกแล้วตปะจะมีมาแต่ไหนเล่า.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    เราจักหลีกออกไปจากบ้านนาลา ใครจักอยู่ในบ้านนาลานี้ได้ เจ้าผูกเหล่าสมณะ ผู้เลี้ยงชีพโดยธรรม ด้วยมายาสตรี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 383

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านกาฬะ [ท่านอุปกะผิวดำ] มาสิ กลับมาเถิด จงบริโภคกามเหมือนแต่ก่อน จาปาและเหล่าญาติของจาปายอมอยู่ใต้อำนาจท่านแล้ว

    ท่านอุปกะกล่าวว่า

    ดูก่อนจาปา เจ้าจะกล่าวคำรักเช่นใดเป็น ๔ เท่าจากคำนี้แก่เรา คำรักเช่นนั้นจะพึงโอฬาร สำหรับบุรุษผู้ร่านรักในเจ้าเท่านั้น ดอกนะ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านกาฬะ เพราะเหตุไร ท่านจึงละทิ้งจาปาซึ่งสะสวย มีเรือนร่างงามดั่งต้นคนทา บานสะพรั่งบนยอดเขา ดังเครือทับทิม ที่ดอกบานแล้ว ดังต้นแคฝอยบนเกาะ ผู้มีร่างไล้ด้วยจันทน์แดง นุ่งห่มผ้าชั้นเยี่ยมของแคว้นกาสีไปเสียเล่า.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    เจ้าจักตามเบียดเบียนเราด้วยรูปที่ตกแต่ง เหมือนอย่างพรานนก ประสงค์จะตามเบียดเบียนนกไม่ได้ดอกนะ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านกาฬะ ผลคือลูกของเรานี้ ท่านทำให้เกิดมาแล้ว เพราะเหตุไร ท่านจึงจะละทิ้งจาปาซึ่งมีลูกไปเสียเล่า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 384

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    เหล่าท่านผู้มีปัญญา มีความเพียรมากย่อมละพวกลูกๆ ต่อนั้น ก็พวกญาติ ต่อนั้น ก็ทรัพย์ พากันออกบวชเหมือนพระยาช้างตัดเชือกที่ผูก ฉะนั้น.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    บัดนี้จาปาจะเอาไม้หรือมีดฟาดลูกคนนี้ของท่านให้ล้มลงเหนือพื้นดิน เพราะความเศร้าโศกถึงลูก ท่านจะไม่ไปได้ไหม.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    ดูก่อนหญิงเลว ถึงเจ้าจักยอมมอบลูกให้ฝูงสุนัขจิ้งจอก เพราะลูกเป็นต้นเหตุ เจ้าก็จักทำเราให้หวนกลับมาอีกไม่ได้ดอก.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านกาฬะเจ้าขา เอาเถิด บัดนี้ ท่านจะไปที่ไหน ตามนิคม ชนบท ราชธานีไหนเจ้าคะ.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    แต่ก่อน ได้มีพวกคณาจารย์ไม่เป็นสมณะ ก็ถือตัวว่าเป็นสมณะ จาริกกันไปตามคาม นิคม ชนบทราชธานี. ความจริง ท่านผู้หนึ่งนั้น คือพระผู้มีพระ-ภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงแสดงธรรมโปรดหมู่สัตว์เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เราจักไปเฝ้าพระองค์ พระองค์จักเป็นศาสดาของเรา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 385

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    บัดนี้ ขอท่านพึงกราบทูลพระโลกนาถ ผู้ยอดเยี่ยม ถึงการถวายบังคมของจาปาและพึงทำประทักษิณเวียนขวาแล้วอุทิศกุศลทักษิณาแก่จาปาด้วย.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    ข้อที่เจ้าพูดแก่เรา เราทำได้ บัดนี้ เราจะกราบทูลพระโลกนาถ ผู้ยอดเยี่ยม ถึงการถวายบังคมของเจ้า และเราจะทำประทักษิณเวียนขวาแล้วอุทิศกุศลทักษิณาแก่เจ้าแน่.

    ต่อแต่นั้น ท่านกาฬะก็เดินทางไปใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้พบพระสัมพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงอมตบท คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความล่วงทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เข้าไประงับทุกข์ ท่านกาฬะเข้าไปถวายบังคมพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ก็ทำประทักษิณพระองค์แล้วอุทิศกุศลแก่จาปา บวชเป็นอนาคาริกะไม่มีเรือน. วิชชา ๓ ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็กระทำเสร็จแล้ว.

    จบ จาปาเถรีคาถา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 386

๓. อรรถกถาจาปาเถรีคาถา

    คาถาว่า ลฏฺฐิหตฺโถ ปุเร อาสิ เป็นต้น เป็นคาถาของ พระจาปาเถรี.

    พระเถรีแม้รูปนี้ บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สร้างสมกุศล อันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพาน มาในภพนั้นๆ สะสมกุศลมูลมาโดยลำดับสร้างสมสัมภารธรรมเครื่องปรับปรุงวิโมกข์ มาในพุทธุปบาทกาลนี้ก็บังเกิดเป็นลูกสาวของหัวหน้าพรานล่าเนื้อ ในหมู่บ้านพรานล่าเนื้อตำบลหนึ่งในวังกหารชนบท นางมีชื่อว่า จาปา สมัยนั้น นักบวชอาชีวกชื่ออุปกะ พบกับพระศาสดา ซึ่งเสด็จออกจากโพธิมัณฑสถานเจาะจงไปยังกรุงพาราณสี เพื่อประกาศพระธรรมจักร ถามว่า ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ฉวีวรรณก็ขาวผ่องบริสุทธิ์ ผู้มีอายุ ท่านบวชเฉพาะเจาะจงใครกันนะ หรือว่าใครเป็นศาสดาของท่าน หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร เมื่อพระศาสดาทรงชี้แจงให้เขารู้เรื่องที่พระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า และการประกาศพระธรรมจักร ดังนี้ว่า

    เราครอบงำธรรมทั้งหมด รู้ธรรมทุกอย่าง ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง ละกิเลสได้หมด หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา รู้ยิ่งด้วยปัญญาเองแล้ว ยังจะต้องแสดงว่าใครเป็นศาสดาเล่า.

    เราไม่มีอาจารย์ คนเสมอเราก็ไม่มี คนที่เทียบเราในโลกทั้งเทวโลกก็ไม่มี เราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดายอดเยี่ยม เป็นเอก เป็นสัมมาสัมพุทธะ เย็นสนิท ดับร้อนได้แล้ว เราจะไปกรุงพาราณสีราชธานีของแคว้นกาสี เราจะลั่นกลองธรรมอมตเภรี ในโลกอันมืด.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 387

    เขามีจิตเลื่อมใส กล่าวแล้ว ว่า เหอๆ ผู้มีอายุ ท่านเป็นอรหันต์อนันตชินะหรือ แล้วหลีกทางให้แยกไปยังวังกหารชนบท เข้าอยู่อาศัยหมู่บ้านพรานล่าเนื้อตำบลหนึ่งในชนบทนั้น หัวหน้าพรานล่าเนื้อในหมู่บ้านนั้นอุปฐากบำรุงเขา วันหนึ่งหัวหน้าพรานล่าเนื้อจะไปล่าเนื้อไกล จึงสั่งจาปาลูกสาวของตนว่า เจ้าอย่าลืมพระอรหันต์ของพ่อนะลูก แล้วไปพร้อมกับลูกชายคนพี่หลายคน. ลูกสาวของพรานนั้นมีรูปงามน่าชม.

    ครั้งนั้น อุปกาชีวก ถึงเวลาหาอาหารก็ไปเรือนของนายพรานล่าเนื้อเห็นจาปาเข้ามาส่งอาหารใกล้ๆ ก็เกิดรักจับใจ ไม่อาจจะกินอาหารได้ จึงถือภาชนะอาหารไปที่อยู่ของตน ครุ่นคิดว่า ถ้าเราได้จาปาจึงจะมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่ได้ ก็เห็นจักตาย แล้วนอนอดอาหารครบ ๗ วัน นายพรานกลับมาก็ถามลูกสาวว่า เจ้าไม่ลืมพระอรหันต์ของพ่อดอกหรือลูก จาปาตอบพ่อว่า ท่านมาวันเดียวเท่านั้น แล้วก็ไม่เคยมาอีกเลย จ้ะพ่อ ทันใดนั้นเอง นายพรานก็ไปยังที่อยู่ของอุปุกาชีวกนั้น ลูบคลำเท้าทั้งสองถามว่า ไม่สบายหรือท่านเจ้าข้า อุปกาชีวกถอนใจ ได้แต่กลิ้งเกลือกอยู่นั่นเอง นายพรานปวารณาว่า บอกมาเถิดเจ้าข้า การใด พอจะทำได้ก็จักทำให้ทุกอย่าง อุปกาชีวกจึงบอกกล่าวถึงอัธยาศัยความในใจโดยปริยายทางอ้อมอย่างหนึ่ง นายพรานถามว่า ก็ท่านรู้ศิลปอะไรบ้างเล่า เขาตอบว่า ไม่รู้เลย นายพรานพูดว่าคนไม่รู้ศิลปอะไรๆ เลย จะอยู่ครองเรือนได้หรือเจ้า เขาตอบว่า ข้าน่ะ ไม่รู้ศิลปอะไรเลยจริงๆ แต่เอาเถิด ข้าพอจะแบเนื้อและขายเนื้อได้บ้าง นายพรานพูดว่า อย่างนี้ก็พอใจข้าแล้ว ส่งผ้านุ่งให้ผืนหนึ่ง ฝากให้อยู่เรือนของสหายตนชั่วเวลาเล็กน้อยแล้ว ในวันนั่นเองก็นำมาเรือนแล้วมอบลูกสาวให้.

    เมื่อเวลาล่วงมา คนทั้งสองอยู่ร่วมกัน ก็เกิดลูกขึ้นมาตั้งชื่อว่า สุภัททะ เวลาลูกร้องนางจาปาก็ใช้เพลงกล่อมลูก เย้ยหยันเสียดสีอุปกะไปในตัวเป็นต้นว่า เจ้าลูกอุปกะเอย เจ้าลูกอาชีวกเอย เจ้าลูกคนแบกเนื้อเอย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 388

อย่าอ้อนไปเลยทรามเชยของจาปา. นายอุปกะนั้น สุดจะอดใจจึงพูดว่า จาปา เจ้าอย่าดูหมิ่นข้าว่าอนาถานะ ข้ามีสหายคนหนึ่ง ชื่ออนันตชินะ ข้าจักไปหาเขาก็ได้ นางจาปารู้ว่าอุปกะอึดอัดใจด้วยอุบายวิธีนี้ จึงกล่อมลูกอย่างนั้นบ่อยๆ .วันหนึ่งเขาถูกนางกล่อมลูกเย้ยหยันเสียดสีอย่างนั้นก็โกรธคิดจะไปเสีย แม้นางจะพูดจาชี้แจงอย่างไรก็ไม่ยินยอม จึงออกเดินทางบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตก.

    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี ตรัสสั่งภิกษุทั้งหลายไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันนี้ผู้ใดมาที่นี่ถามว่า อนันตชินะอยู่ไหน พวกเธอจงส่งผู้นั้นมาหาเรา. ฝ่ายอุปกะถามเขามาตลอดทางว่าอนันตชินะอยู่ไหน ก็มาถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ เข้าไปยืนอยู่กลางวิหารถามว่า ท่านอนันตชินะอยู่ไหน ภิกษุทั้งหลายก็นำเขาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาพบพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้จักข้าพเจ้าหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบพร้อมทั้งย้อนถามว่ารู้จักสิ ก็ท่านไปอยู่เสียที่ไหนตั้งนานถึงเท่านี้เล่า เขาทูลตอบว่า ข้าพเจ้าไปอยู่ที่วังกหารชนบทพระเจ้าข้า ตรัสถามเชิงแนะว่า อุปกะเวลานี้ท่านก็แก่เฒ่าแล้ว บวชเสียได้ไหมเล่า ทูลว่า บวชก็ได้พระเจ้าข้า พระศาสดาจึงตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า มานี่แน่ะภิกษุ เธอจงให้ท่านผู้นี้บวชเสียนะ ภิกษุนั้นก็ให้อุปกะนั้นบวช. พระอุปกะนั้น บวชแล้ว ก็รับกรรมฐานในสำนักพระศาสดาประกอบภาวนาอยู่เนืองๆ ไม่นานนัก ก็ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ทำกาละ [มรณภาพ] ไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา. เพราะเหตุที่บังเกิดนั่นแล ก็บรรลุพระอรหัต ชน ๗ คนที่พอบังเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหาก็บรรลุพระอรหัต ท่านอุปกะนี้ก็เป็นผู้หนึ่งแห่งจำนวนชน ๗ คนนั้น สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

    ภิกษุ ๗ รูปเข้าถึงพรหมชั้นอวิหาแล้วก็หลุดพ้นสิ้นราคะโทสะ ข้ามตัณหาเครื่องซ่านไปในโลก

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 389

ภิกษุ ๗ รูปนั้น ๓ รูปคือ อุปกะ อุปลคัณฑะ และปุกกุสาติและอีก ๔ รูปคือ ภัททิยะ ขัณฑเทวะ พาหุรัคคิและปิงคิยะ ละกายมนุษย์แล้วก็เข้าถึงกายทิพย์ ดังนี้.

    ครั้นเมื่ออุปกะ เดินทางจากไปแล้ว นางจาปา ก็มีใจเบื่อหน่าย จึงมอบลูกให้นายพรานผู้เป็นตาไว้ เดินไปตามทางที่อุปกะไปก่อนแล้ว ถึงกรุงสาวัตถีแล้วก็บวชในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย กระทำกิจกรรมในวิปัสสนา ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตตามลำดับมรรค ครั้นพิจารณาทบทวนถึงความเป็นมาของตนก็กระทำคาถาที่อุปกะกับตนพูดกันไว้แต่ก่อน รวมเป็นอุทานคาถา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    แต่ก่อนเราบวชถือไม้เท้า บัดนี้เรานั้นกลายเป็นพรานล่าเนื้อไปเสียแล้ว ไม่อาจข้ามจากตมคือตัณหาอันร้ายกาจ ไปสู่ฝั่งโน้นคือพระนิพพานได้ ดูก่อนจาปา เจ้าสำคัญเราว่าเป็นคนมัวเมา จึงกล่อมลูกเย้ยหยันเสียดสี เราจักตัดพันธะของจาปาไปบวชอีก.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านมหาวีระ โปรดอย่าโกรธจาปาเลย ข้าแต่ท่านมหามุนี โปรดอย่าโกรธจาปาเลย เพราะว่าผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ไม่มีความบริสุทธิ์ดอก แล้วตปะ จะมีมาแต่ไหนเล่า.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    เราจักหลีกออกไปจากบ้านนาลา ใครจักอยู่ในบ้านนาลานี้ได้ เจ้าผูกเหล่าสมณะ ผู้เลี้ยงชีพโดยธรรมด้วยมายาสตรี.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 390

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านกาฬะ [ท่านอุปกะผิวดำ] มาสิกลับมาเถิด จงบริโภกามเหมือนแต่ก่อน จาปาและเหล่าญาติของจาปายอมอยู่ใต้อำนาจท่านแล้ว.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    ดูก่อนจาปา เจ้าจะกล่าวคำรักเช่นใดเป็น ๔ เท่าจากคำนี้แก่เรา คำรักเช่นนั้น จะพึงโอฬารสำหรับบุรุษผู้ร่านรักในเจ้าเท่านั้น ดอกนะ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านกาฬะ เพราะเหตุไร ท่านจึงละทิ้งจาปาซึ่งสะสวย มีเรือนร่างงามดั่งต้นคนทาบานสะพรั่งบนยอดเขา ดังเครือทับทิมที่ดอกบานแล้ว ดังต้นแคฝอยบนเกาะ ผู้มีร่างไล้ด้วยจันทน์แดง นุ่งห่มผ้าชั้นเยี่ยมของแคว้นกาสีไปเสียเล่า.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    เจ้าจักตามเบียดเบียนเราด้วยรูปที่ตกแต่ง เหมือนอย่างพรานนก ประสงค์จะตามเบียดเบียนนกไม่ได้ดอกนะ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านกาฬะ ผลคือลูกของเรานี้ ท่านก็ทำให้เกิดมาแล้ว เพราะเหตุไร ท่านจึงจะละทิ้งจาปาซึ่งมีลูกไปเสียเล่า.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 391

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    เหล่าท่านผู้มีปัญญา มีความเพียรมาก ย่อมละพวกลูกๆ ต่อนั้น ก็พวกญาติ ต่อนั้นก็ทรัพย์ พากันออกบวชเหมือนพระยาช้างตัดเชือกที่ผูก ฉะนั้น.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    บัดนี้ ข้าจะเอาไม้หรือมีดฟาดลูกคนนี้ของท่านให้ล้มลงเหนือพื้นดิน เพราะความเศร้าโศกถึงลูกท่านจะไม่ไปได้ไหม.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    ดูก่อนหญิงเลว ถึงเจ้าจักยอมมอบลูกให้ฝูงสุนัขจิ้งจอก เพราะลูกเป็นต้นเหตุ เจ้าก็จักทำเราให้หวนกลับมาอีกไม่ได้ดอก.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านกาฬะเจ้าขา เอาเถิด เดี๋ยวนี้ ท่านจะไปที่ไหน คาม นิคม นคร ราชธานีไหน เจ้าคะ.

ท่านอุปก็กล่าวว่า

    แต่ก่อน ได้มีพวกคณาจารย์ไม่เป็นสมณะ ก็ถือตัวว่าเป็นสมณะจาริกกันไปตามคาม นิคม ชนบทราชธานีความจริง ท่านผู้หนึ่งนั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงแสดงธรรมโปรดหมู่สัตว์ เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เราจะไปเฝ้าพระองค์ พระองค์จักเป็นศาสดาของเรา.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 392

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

บัดนี้ ขอท่านพึงกราบทูลพระโลกนาถ ผู้ยอดเยี่ยม ถึงการถวายบังคมของจาปาและพึงทำประทักษิณเวียนขวาแล้วอุทิศกุศลทักษิณาแก่จาปาด้วย.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

    ข้อที่เจ้าพูดแก่เรา เราทำได้ บัดนี้ เราจะกราบทูลพระโลกนาถผู้ยอดเยี่ยมถึงการถวายบังคมของเจ้าและเราจะทำประทักษิณเวียนขวาแล้วอุทิศกุศลทักษิณาแก่เจ้าแน่.

    ต่อแต่นั้น ท่านกาฬะก็เดินทางไปใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้พบพระสัมพุทธเจ้า กำลังทรงแสดงอมตบท คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความล่วงทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เข้าไประงับทุกข์ ท่านกาฬะถวายบังคมพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว กระทำประทักษิณพระองค์แล้วอุทิศกุศลแก่จาปาบวชเป็นอนาคาริกะไม่มีเรือน. วิชชา ๓ ข้าพเจ้า ก็บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้ากระทำเสร็จแล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า ลฏฺฐิหตฺโถ แปลว่า ถือไม้เท้า. บทว่าปุเร แปลว่า ในกาลก่อนคือครั้งเป็นปริพาชก เราใช้มือถือไม้เท้าเพื่อกันโคดุและสุนัขเป็นต้นจาริกไป. บทว่า โสทานิ มิคลุทฺทโก ความว่า บัดนี้เรานั้น กลายเป็นพรานล่าเนื้อ เพราะกินอยู่หลับนอนร่วมกับพวกพรานล่าเนื้อไปเสียแล้ว ตัณหาท่านเรียกว่า อาสยะ บาลีว่า อาสาย ก็มี ความว่า เพราะเหตุที่ความปรารถนาอันเป็นบาป. บทว่า ปลิปา ได้แก่ จากตมคือกามและ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 393

จากตมคือทิฏฐิ. บทว่า โฆราได้แก่ ชื่อว่าร้ายกาจ เพราะทารุณ เหตุนำมาแต่ความพินาสอย่างกว้างขวางที่ตนไม่รู้. ท่านอุปกะกล่าวอย่างนี้ว่า นาสกฺขิปารเมตเว ดังนี้ ก็หมายเฉพาะตนเท่านั้นว่า เราไม่อาจ ไม่สามารถจะถึงคือไปสู่พระนิพพาน อันเป็นฝั่งข้างโน้นของตมคือตัณหานั้นนั่นแลได้.

    บทว่า สุมตฺตํ มํ มญฺมานา ความว่า เจ้าจาปากำหนดตัวเราทำให้เป็นผู้มัวเมา คือถึงความเมา ติดข้องหรือมัวเมา ด้วยอำนาจความหมกมุ่นในกาม. บทว่า จาปา ปุตฺตมโตสยิ ความว่า จาปาลูกสาวพรานล่าเนื้อกล่อมลูกกระทบกระเทียบเรา เย้ยหยัน โดยนัยว่า เจ้าลูกอุปกาชีวกเอยเป็นต้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุปติ มํ มญฺมานา ความว่า สำคัญเราว่าหลับ. บทว่า จาปาย พนฺธนํ เฉตฺวา ได้แก่ตัดเครื่องผูกคือกิเลสที่เกิดขึ้นในตัวเจ้าจาปา. บทว่า ปพฺพชิสฺสํ ปุโนปหํ ได้แก่ เราจักบวชอีกเป็นครั้งที่สอง.

    บัดนี้ ท่านอุปกะกล่าวแก่นางว่า เราไม่มีความต้องการแล้ว นางจาปาฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะขอขมา จึงกล่าวคาถาว่า มา เม กุชฺฌิ เป็นต้นบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เม กุชฺฌิ ได้แก่ โปรดอย่าโกรธข้าด้วยอาการเพียงทำการเย้ยหยันเลย นางจาปาเรียกท่านอุปกะว่า มหาวีระ มหามุนีนางหวังจำเพาะความอดกลั้น [ให้ขมา] ทำเป็นว่า ทั้งคราวก่อนท่านก็บวช [ละเว้น] มาแล้ว ทั้งคราวนี้ก็ประสงค์จะบวช [ละเว้น] เรา จึงกล่าวว่ามหามุนี.ด้วยเหตุนั้นนั่นแล นางจึงกล่าวว่า เพราะผู้ที่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ไม่บริสุทธิ์ แล้วตบะจะมีมาแต่ไหน อธิบายว่า ท่านอดทนเหตุเล็กน้อยไม่ได้จักฝึกจิตได้อย่างไร หรือจักประพฤติตบะได้อย่างไร.ครั้งนั้น ท่านอุปกะถูกนางจาปาพูดว่า ท่านประสงค์จะไปบ้านนาลามีชีวิตอยู่ จึงกล่าวว่า เราจักออกไปเสียจากบ้านนาลา ใครเล่าจักอยู่ในบ้าน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 394

นาลานี้ได้. อธิบายว่า ใครจักอยู่ในบ้านนาลานี้ได้ เราจักออกไปเสียจากบ้านนาลานี่แหละ. ความจริงบ้านนาลานั้นเป็นบ้านเกิดของท่านอุปกะนั้นท่านออกจากบ้านนาลานั้นไปบวช. ก็บ้านนาลานั้น อยู่ในถิ่นที่ใกล้โพธิมัณฑสถาน แคว้นมคธ. ท่านอุปกะหมายถึงบ้านนาลานั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่าพนฺธนฺตี อิตฺถิรูเปน สมเณ ธมฺมชีวิโน อธิบายว่า ดูก่อนจาปา เจ้าผูกนักบวชผู้เป็นอยู่โดยธรรม ตั้งอยู่ในธรรม ด้วยรูปสตรี ด้วยมารยาสตรีของตนอยู่ บัดนี้ เราเกิดเป็นเช่นนี้เพราะเหตุอันใด เพราะฉะนั้น เราจึงจำต้องสละเหตุอันนั้นเสีย.

    เมื่อท่านอุปกะพูดอย่างนี้ นางจาปาประสงค์จะให้เขากลับ จึงกล่าวคาถาว่า เอหิ กาฬ เป็นต้น. คาถานั้นมีความว่า ข้าแต่ท่านอุปกะชื่อว่ากาฬะ เพราะเป็นคนผิวดำ จงมา กลับไปกันเถิด อย่าหลีกลี้ไปเลย จงบริโภคกามเหมือนแต่ก่อน. ข้าและพวกญาติของข้าทุกคน ยอมอยู่ในอำนาจ ให้ท่านมีอำนาจ เพราะไม่ต้องการให้ท่านหลีกออกไป. ท่านอุปกะฟังคำนั้น แล้ว จึงกล่าวคาถาว่า เอตฺโต จาเป เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาเปเป็นอาลปนะคำเรียก. จริงอยู่นางได้ชื่อว่า จาปา เพราะมีเรือนร่างยังสาวอ่อนช้อยเสมือนคันธนู เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า จาปา อธิบายว่า ดูก่อนจาปาเจ้าพูดอย่างใด บัดนี้ กล่าวคำเช่นใด เจ้าพึงทำสำนวนที่น่ารักเป็น ๔ เท่าจากคำเช่นนี้ ข้อนั้น ก็จะพึงโอฬาร สำหรับบุรุษผู้ร่านรัก ผู้ถูกราคะเป็นต้นครอบงำในตัวเจ้าดอกหนอ แต่บัดนี้ เราคลายรักในตัวเจ้าและในกามทั้งหลายเสียแล้ว เพราะฉะนั้น เราจะไม่ยอมอยู่ในถ้อยคำของเจ้าละ.

    นางจาปา ประสงค์จะให้ท่านอุปกะนั้นเกิดติดใจในตัวนางอีก จึงกล่าวว่า กาฬงฺคินึ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬ เป็นคำเรียกท่านอุปกะนั้น. บทว่า องฺคินึ ได้แก่ เพียบพร้อมด้วยเรือนร่างยังสาว

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 395

ศัพท์ว่า อิว เป็นนิบาตลงในอรรถอุปมา เปรียบความ. บทว่า ตกฺการึปุปฺผิตํ คิริมุทฺธนิ ได้แก่ เหมือนเครือทับทิมดอกบานอยู่บนยอดเขา. อนึ่งอาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุกฺกาคารึ ความว่า เหมือนไม้คีบถ่าน ก็คำว่าคิริมุทฺธนิ นี้ นางจาปากล่าว ก็เพื่อแสดงถึงความงามที่ใครๆ ทำลายไม่ได้อาจารย์บางพวกกล่าวปาฐะว่า กาลิงฺคินึ แล้วบอกความของคำนั้นว่า เสมือนเถาฟักเขียว. บทว่า ผุลฺลํ ทาลิมลฏฺึ ว ได้แก่ เหมือนทับทิมรุ่นที่ออกดอก. บทว่า อนฺโตทีเปว ปาฏลึ ได้แก่ เหมือนต้นแคฝอย ภายในเกาะก็ ทีป ศัพท์ในคำนี้ นางจาปากล่าวก็เพื่อแสดงความงามที่น่าอัศจรรย์.

    บทว่า หริจนฺทนลิตฺตงฺคึ ได้แก่ มีเรือนร่างที่ลูบไล้ด้วยจันทน์แดง. บทว่า กาสิกุตฺตมธารินึ ได้แก่ ทรงคือนุ่งห่มผ้าแคว้นกาสีอย่างเยี่ยม. บทว่า ตํ มํ ได้แก่ ข้าเช่นนั้น. บทว่า รูปวตึ สนฺตึ ได้แก่ผู้งามพร้อมอยู่. บทว่า กสฺส โอหาย คจฺฉสิ ได้แก่ ท่านละทิ้งสละไปเสีย เพราะเหตุแห่งสัตว์ชื่อไร หรือแห่งเหตุอะไร หรือเพราะเหตุอะไร.

    เบื้องหน้าแต่นี้ พระจาปาเถรีตั้งคาถาแสดงการกล่าวและการโต้ตอบของตนทั้งสองนั้นแล้ว ในที่สุดก็ตั้งคาถาไว้ ๓ คาถา. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า สากุณิโก ว ได้แก่ เหมือนพรานล่านก. บทว่า อาหริเมน รูเปนความว่า เจ้าเบียดเบียนเรา ด้วยรูปคือสี ด้วยความฉลาดด้วยศิสปะฟ้อนรำขับร้องที่ปรุงแต่งด้วยการบำรุงเรือนร่าง มีการประดับผมเป็นต้น และด้วยเครื่องประดับคือผ้าเป็นอาทิ. บทว่า น มํ ตฺวํ พาธยิสฺสสิ ความว่า บัดนี้เจ้าจักเบียดเบียนเราไม่ได้เหมือนแต่ก่อน. บทว่า ปุตฺตผลํ ได้แก่ ผลกล่าวคือบุตร คือสัตว์เลี้ยง คือบุตร.

    บทว่า สปฺปญฺ ได้แก่ ผู้มีปัญญา. อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญา รู้แจ่มแจ้งโทษในสงสาร. จริงอยู่ ท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น ละเครือญาติหรือกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ออกบวช. ด้วยเหตุนั้น ท่านอุปกะจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 396

ท่านผู้มีความเพียรใหญ่ ย่อมบวช [ละเว้น] เหมือนพระยาช้างตัดเครื่องผูกฉะนั้นอธิบายว่า ท่านผู้มีความเพียรใหญ่เท่านั้น จึงละเครื่องผูกคือคฤหัสถ์ บวชได้เหมือนพระยาช้างตัดเครื่องผูกคือเหล็กไป ผู้มีความเพียรเลว หาบวชได้ไม่.

    บทว่า ทณฺเฑน ได้แก่ ท่อนไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ฉริกายได้แก่ มีดโกน. บทว่า ภูมิยํ วา นิสุมฺภิสฺสํ ได้แก่ เบียดเบียนด้วยการและแทงเป็นต้น ให้ล้มลงเหนือแผ่นดิน. บทว่า ปุตฺตโสกา น คจฺฉสิได้แก่ จะไม่ไป เพราะเศร้าโศกถึงบุตร.

    บทว่า ปทาหิสิ ได้แก่ แสดง. บทว่า ปุตฺตกตฺเต แปลว่าเพราะเหตุแห่งบุตร. คำว่า ชมฺมิ เป็นคำเรียกนางจาปานั้น. ความว่า ดูก่อนหญิงเลว.

    บัดนี้ นางจาปา เมื่อจะอนุญาตให้ท่านอุปกะนั้นไปได้ แต่อยากรู้สถานที่จะไป จึงกล่าวคาถาว่า หนฺท โข เป็นต้น.

    ท่านอุปกะเมื่อแสดงว่า เมื่อก่อน เรายืนหยัดประคับประคองศาสนา [คำสอน] ที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ แต่เดี๋ยวนี้ เราประสงค์จะยืนหยัดอยู่ในศาสนาของท่านอนันตชินะ ซึ่งนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น เราจึงจำต้องไปเฝ้าพระองค์ จึงกล่าวคาถาว่า อหุมฺห เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า คณิโน ได้แก่ ผู้ปกครองหมู่. บทว่า อสมณา ได้แก่ ผู้สงบบาปยังไม่ได้. บทว่า สมณมานิโน ได้แก่ ผู้สำคัญอย่างนี้ว่าสงบบาปได้แล้ว.ท่านอุปกะกล่าววางตัวเองไว้ในศาสดาทั้งหลายมีปูรณกัสสปเป็นต้นว่า วิจริมฺหเป็นต้น.

    บทว่า เนรญฺชรํ ปติ ได้แก่ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา คือริมฝังแม่น้ำนั้น. บทว่า พุทฺโธ ได้แก่ ตรัสรู้พระอภิสัมโพธิ ท่านอุปกะกล่าวโดยอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรู้พระอภิสัมโพธิแล้ว เมื่อทรงแสดงธรรม ก็ประทับอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ทุกเวลา.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 397

    บทว่า วนฺทนํ ทานิ เม วชฺชาสิ ความว่า ขอท่านพึงกราบทูลถึงการถวายบังคมของข้า คือกราบทูล พระโลกนาถผู้ยอดเยี่ยม ตามคำของข้า บทว่า ปทกฺขิณญฺจ กตฺวาน อาทิเสยฺยาสิ ทกฺขิณํ ได้แก่ ท่านแม้ทำประทักษิณเวียนขวา พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ๓ ครั้งแล้ว ถวายบังคมใน ๔ ทิศ จากบุญนั้น เมื่อให้ส่วนบุญแก่ข้า ก็พึงตั้งใจอุทิศส่วนทักษิณาด้วย. นางจาปากล่าวอย่างนี้ก็เพราะเคยได้ยินพระพุทธคุณ และเพราะตนถึงพร้อมด้วยเหตุ [เหตุสัมปทา] . บทว่า เอตํ โข ลพฺภํ อมฺเหหิ อธิบายว่าบุญคือการทำประทักษิณนี้ เราอาจให้แก่เจ้าได้ แต่เราไม่อาจกลับไปบริโภคกามได้เหมือนแต่ก่อนนะ. บทว่า เต วชฺชํ ได้แก่ บอกกล่าว คือกราบทูลถึงการถวายบังคมของเจ้า.

    บทว่า โส ได้แก่ ท่านกาฬ่ะ. บทว่า อทฺทสาสิ แปลว่า ได้เห็นแล้ว.

    ท่านอุปกะกล่าวคำว่า ทุกฺขํ เป็นอาทิ ก็เพราะทุกข์นั้น เป็นประธานของสัจกถา ในพระเทศนาของพระศาสดา และเพราะไม่มีกถาที่พ้นไปจากสัจกถานั้น. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

    จบ อรรถกถาจาปาเถรีคาถา