พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40753
อ่าน  513

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 415

เถรีคาถา วีสตินิบาต

๕. สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 415

๕. สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา

[๔๗๑] พระสุภากัมมารธิดาเถรี ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เพราะเหตุที่แต่ก่อน ข้าพเจ้ายังสาว นุ่งห่มผ้าอันสะอาด ได้ฟังธรรม ข้าพเจ้านั้นไม่ประมาท ก็ได้ตรัสรู้สัจธรรม ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ยินดีอย่างยิ่งในกามทั้งปวง เห็นภัยในสักกายะ [ปัญจขันธ์] กระหยิ่มเฉพาะ เนกขัมมะ [การบวช] เท่านั้น.ข้าพเจ้าละหมู่ญาติ ทาสและกรรมกร บ้านและไร่นา ความมั่งคั่ง และรมณียะสิ่งที่น่ารื่นรมย์ ที่เขาบันเทิงกันนักหนา.

ข้าพเจ้าละสมบัติไม่ใช่น้อย ออกบวชด้วยศรัทธาอย่างนี้ในพระสัทธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศดีแล้ว.

ข้อที่ละทิ้งเงินทองเสียแล้ว กลับมายึดเงินทองนั้นอีก ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าปรารถนาแต่ความไม่กังวลห่วงใย ผู้ใดละทิ้งเงินทองแล้วกลับมายึดเงินทองนั้นไว้อีก ผู้นั้นจะโงหัวขึ้นมาได้อย่างไร ในระหว่างบัณฑิตทั้งหลายเงินและทองไม่มีเพื่อสันติความสงบสำหรับผู้นั้น เงินทองนั้นก็ไม่สมควรแก่สมณะ เงินทองนั้น ก็มิใช่อริยทรัพย์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 416

    อนึ่ง เงินทองนี้ ทำให้เกิดความโลภ ความมัวเมา ความลุ่มหลง ความติดดังเครื่องผูก มีภัย มีความคับแค้นมาก เงินทองนั้นไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนเลย.นรชนเป็นอันมาก ประมาทมีใจเศร้าหมองแล้วเพราะเงินทองเท่านี้ จึงต้องเป็นศัตรู วิวาทบาดหมางกันและกัน.

    การถูกฆ่า การถูกจองจำ การต้องโทษมีตัดมือเป็นต้น ความเสื่อมเสีย ความเศร้าโศกพิไรรำพันความพินาศเป็นอันมากของนรชนที่ตกอยู่ในกามทั้งหลาย ก็มองเห็นกันอยู่.

    ท่านทั้งหลายเป็นญาติก็เหมือนศัตรู เพราะเหตุไรท่านทั้งหลายจึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกามทั้งหลาย จงรู้กันเถิดว่าเราเห็นภัยในกามทั้งหลายจึงบวช. อาสวะทั้งหลายไม่ใช่หมดสิ้นไปเพราะเงินทองดอกนะ กามทั้งหลายเป็นอมิตร เป็นผู้ฆ่า เป็นศัตรูเป็นดั่งลูกศรเสียบไว้.

    ท่านทั้งหลายเป็นญาติ ก็เหมือนศัตรู เพราะเหตุไรจึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกามทั้งหลาย จงรู้เถิดว่าเราบวชศีรษะโล้นครองผ้าสังฆาฏิแล้ว.ก้อนข้าวที่ต้องไปยืนที่เรือนทุกๆ หลังได้มา การเที่ยวขอเขา ผ้าบังสุกุลจีวร และบริขารที่อาศัยของนักบวชผู้ไม่มีเรือน นี่แลเป็นของเหมาะสำหรับเรา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 417

    กามทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของทิพย์และมนุษย์เหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่คายเสียแล้ว ท่านน้อมไปในสถานที่อันเกษม บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหวแล้ว.ข้าพเจ้าไม่ร่วมด้วยกามทั้งหลาย ซึ่งช่วยอะไรไม่ได้ กามทั้งหลายเป็นอมิตร เป็นผู้ฆ่า นำทุกข์มา เทียบเสมอด้วยกองไฟ.

    สภาวะนั่นไม่บริสุทธิ์ มีภัย มีความคับแค้นเป็นเสี้ยนหนาม และสภาวะนั้น เป็นความหมกมุ่นเป็นความไม่สม่ำเสมออย่างใหญ่ เป็นเหตุลุ่มหลงเป็นอุปสรรคที่น่าสะพรึงกลัว กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงูพิษ ที่เหล่าปุถุชนคนทั้งบอดทั้งเขลา เพลิดเพลินกันนักหนา.

    ความจริง ชนเป็นอันมากในโลก ติดอยู่ในเครื่องข้องคือกาม ไม่รู้ความจริงกันเลย ไม่รู้จักที่สิ้นสุดแห่งชาติและชรา มนุษย์เป็นอันมาก เดินทางที่ไปทุคติ มีกามเป็นเหตุ นำมาแต่โรคสำหรับตน. กามทั้งหลาย ทำให้เกิดอมิตรอย่างนี้เป็นเครื่องแผดเผา เป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหยื่อของโลก ผูกสัตว์ไว้ มีมรณะเป็นเครื่องพันธนาการ. กามทั้งหลาย ทำให้คนบ้า ทำให้เพ้อ ทำให้จิตประมาทพลั้งเผลอ เพราะทำสัตว์ให้เศร้าหมอง พึงเห็นเหมือนลอบที่มารรีบดักไว้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 418

    กามทั้งหลายมีโทษไม่สิ้นสุด มีทุกข์มาก มีพิษมาก อร่อยน้อย ทำเป็นสนามรบ มีแต่ทำกุศลกรรมให้เหือดแห้งลง.

    ข้าพระองค์นั้นละความย่อยยับซึ่งมีกามเป็นเหตุเช่นนั้นแล้ว ยินดียิ่งนักในพระนิพพานทุกเมื่อจึงจักไม่กลับมาหาความย่อยยับนั้นอีก.ข้าพเจ้าละสนามรบของกามทั้งหลายแล้ว จำนงหวังแต่ความเยือกเย็น ยินดีในธรรมอันเป็นที่สิ้นสังโยชน์ ไม่ประมาทอยู่.

    ข้าพเจ้าเดินตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางตรงไม่เศร้าโศก ไม่มีกิเลสดุจธุลี เป็นทางเกษมซึ่งเหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่พากันข้ามมาแล้ว.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดูธิดาช่างทองผู้สวยงามซึ่งตั้งอยู่ในธรรมผู้นี้เถิด นางเข้าถึงธรรมที่ไม่หวั่นไหว เข้าฌานอยู่ที่โคนไม้.วันนี้เป็นวันที่ ๘ นางมีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้งามในพระสัทธรรม อันพระอุบลวรรณาช่วยแนะนำแล้ว ทรงวิชชา ๓ ละมฤตยูเสียแล้ว.

    ภิกษุณีรูปนั้นเป็นไทแก่ตัว ไม่เป็นหนี้ อบรมอินทรีย์แล้ว สลัดโยคะได้หมดแล้ว ทำกิจเสร็จแล้วไม่มีอาสวะ.

    ท้าวสักกะเจ้าแห่งหมู่สัตว์ พร้อมหมู่เทพ เสด็จเข้าไปหาพระสุภากัมมารธิดาเถรีรูปนั้น ด้วยเทวฤทธิ์แล้ว ทรงนมัสการอยู่.

    จบ สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 419

๕. อรรถกถาสุภากัมมารธีตุเถรีคาถา (๑)

    คาถาว่า ทหราหํ เป็นต้น เป็นคาถาของ พระสุภากัมมารธีตุเถรี.

    พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ อบรมกุศลมูล สั่งสมสัมภารธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับ ท่องเที่ยวอยู่ในฝ่ายสุคติเท่านั้น เมื่อญาณแก่กล้า มาในพุทธุปบาทกาลนี้ก็บังเกิดเป็นธิดาของช่างทองคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ เพราะความสวยงามแห่งรูปสมบัติ จึงได้ชื่อว่าสุภา นางรู้เดียงสามาโดยลำดับ เกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา เมื่อพระศาสดาเสด็จเจ้าไปกรุงราชคฤห์ วันหนึ่งจึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่งพระศาสดาทรงเห็นนางมีอินทรีย์แก่กล้าจึงทรงแสดงธรรมคือ อริยสัจ ๔ ที่พอเหมาะแก่อัธยาศัย ทันใดนั้นเอง นางก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลประดับด้วยนัยพันนัย ต่อมานางเห็นโทษในฆราวาสวิสัย ก็บวชในสำนักพระนางปชาบดีโคตมี ตั้งอยู่ในศีลภิกษุณี ประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนา เพื่อมรรคชั้นสูงๆ พวกญาติพากันเข้าไปหานางทุกเวลา เชื้อเชิญแสดงทรัพย์จำนวนมาก และกองสมบัติประเล้าประโลมด้วยกามทั้งหลาย วันหนึ่งเมื่อพวกญาติเข้ามาหานาง เมื่อจะประกาศโทษในฆราวาสวิสัยและกามทั้งหลาย จึงกล่าวธรรมด้วยคาถา ๒๔ คาถา มีว่า ทหราหํ เป็นต้น แล้วเสียสละ ทำให้ญาติเหล่านั้นหมดหวัง เจริญวิปัสสนา ประกอบอินทรีย์ทั้งหลาย ขมักเขม้นภาวนายิ่งขึ้น ไม่ช้านักก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้วจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า


    ๑. บาลีเป็นสุภากัมมารธิดาเถรีคาถา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 420

    เพราะเหตุที่แต่ก่อน ข้าพเจ้ายังสาว นุ่งห่มผ้าอันสะอาด ได้ฟังธรรม ข้าพเจ้านั้นไม่ประมาทก็ได้ตรัสรู้สัจธรรม.

    ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ยินดีอย่างยิ่งในกามทั้งปวง เห็นภัยในสักกายะ [ปัญจขันธ์] กระหยิ่มเฉพาะเนกขัมมะ [การบวช] เท่านั้น.

    ข้าพเจ้าละหมู่ญาติ ทาสและกรรมกร บ้านและไร่นา ความมั่งคั่ง และรมณียะสิ่งที่น่ารื่นรมย์ ที่เขาบันเทิงกันนัก.

    ข้าพเจ้าละสมบัติมิใช่น้อย ออกบวชด้วยศรัทธาอย่างนี้ ในพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศดีแล้ว.

    ข้อที่ละทิ้งเงินทองเสียแล้วกลับมายึดเงินทองนั้นไว้อีก ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าปรารถนาแต่ความไม่กังวลห่วงใย ผู้ใดละทิ้งเงินทองแล้วกลับมายืดเงินทองนั้นไว้อีก ผู้นั้นจะโงหัวขึ้นได้อย่างไร ในระหว่างบัณฑิตทั้งหลาย เงินและทองไม่มีเพื่อสันติความสงบสำหรับผู้นั้น เงินทองนั้นก็ไม่สมควรแก่สมณ เงินทองนั้นก็มิใช่อริยทรัพย์.

    อนึ่งเงินทองนี้ ทำให้เกิดความโลภ ความมัวเมา ความลุ่มหลง ความติดดังเครื่องผูก มีภัย มีความคับแค้นมาก เงินทองนั้น ไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนเลย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 421

    นรชนเป็นอันมาก ประมาทมีใจเศร้าหมองแล้วเพราะเงินทองเท่านี้ จึงต้องเป็นศัตรู ต้องวิวาทบาดหมางกันและกัน.

    การถูกฆ่า การถูกจองจำ การต้องโทษมีตัดมือเป็นต้น ความเสื่อมเสีย ความเศร้าโศกพิไรรำพันความพินาศเป็นอันมากของนรชนที่ตกอยู่ในกามทั้งทลาย ก็มองเห็นกันอยู่.

    ท่านทั้งหลาย เป็นญาติก็เหมือนศัตรู เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลายจึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกามทั้งหลาย จงรู้กันเถิดว่าเราเห็นภัยในกามทั้งหลายจึงบวช.

    อาสวะทั้งหลายไม่ใช่หมดสิ้นไปเพราะเงินทองดอก กามทั้งหลายเป็นอมิตร ผู้ฆ่า เป็นศัตรู เป็นดังลูกศรเสียบไว้.

    ท่านทั้งหลายเป็นญาติก็เหมือนศัตรู เพราะเหตุไร จึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกามทั้งหลาย จงรู้เถิดว่าเราบวชศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิแล้ว.ก้อนข้าวที่ต้องไปยืนที่เรือนทุกๆ หลัง ได้มาการเที่ยวขอเขา ผ้าบังสุกุลจีวรและบริขารที่อาศัยของนักบวช อยู่ไม่มีเรือนนี่แลเป็นของเหมาะสำหรับเรา.

    กามทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ เหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่คายเสียแล้ว ท่านน้อมไปในสถานที่อันเกษม บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหวแล้ว.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 422

    ข้าพเจ้าไม่ร่วมด้วยกามทั้งหลาย ซึ่งช่วยอะไรไม่ได้ กามทั้งหลายเป็นอมิตร ผู้ฆ่า นำทุกข์มา เสมอด้วยกองไฟ.

    สภาวะนั่น ไม่บริสุทธิ์ มีภัย มีความคับแค้นเป็นเสี้ยนหนาม และสภาวะนั่นเป็นความหมกมุ่นเป็นความไม่สม่ำเสมอ ขนาดใหญ่ เป็นเหตุลุ่มหลง เป็นอุปสรรคที่น่าสะพรึงกลัว กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงูพิษ ที่เหล่าปุถุชนคนบอด ทั้งเขลา เพลิดเพลินกันนัก.

    ความจริง ชนเป็นอันมากในโลกติดอยู่ในเครื่องข้องคือกาม ไม่รู้ความจริงกันเลย ไม่รู้จักที่สิ้นสุดแห่งชาติและชรา มนุษย์เป็นอันมาก เดินทางที่ไปทุคติมีกามเป็นเหตุ นำมาแต่โรคสำหรับตน.

    กามทั้งหลาย ทำให้เกิดอมิตรอย่างนี้ เป็นเครื่องแผดเผา เป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหยื่อของโลก ผูกสัตว์ไว้ มีมรณะเป็นเครื่องพันธนาการ.

    กามทั้งหลาย ทำให้คนบ้า ทำให้เพ้อ ทำให้จิตประมาทพลั้งเผลอ เพราะทำสัตว์ให้เศร้าหมอง พึงเห็นเหมือนลอบที่มารรีบดักไว้.

    กามทั้งหลาย มีโทษไม่สิ้นสุด มีทุกข์มาก มีพิษมาก อร่อยน้อย ทำเป็นสนามรบ มีแต่ทำกุศลธรรมให้เหือดแห้งลง.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 423

    ข้าพเจ้านั้น ละความย่อยยับซึ่งมีกามเป็นเหตุเช่นนั้นแล้ว ยินดียิ่งนักในพระนิพพานทุกเมื่อ จึงจักไม่กลับมาหาความย่อยยับนั้นอีก.

    ข้าพเจ้าละสนามรบของกามทั้งหลายแล้ว จำนงหวังแต่ความเยือกเย็น ยินดีในธรรมอันเป็นที่สิ้นสังโยชน์ไม่ปรารถนาอยู่.

    ข้าพเจ้าเดินตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางตรง ไม่เศร้าโศก ไม่มีกิเลสดุจธุลี เป็นทางเกษมซึ่งเหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่พากันข้ามมาแล้ว.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงดูธิดาช่างทองผู้สวยงาม ซึ่งตั้งอยู่ในธรรมผู้นี้เถิด นางเข้าถึงธรรมที่ไม่หวั่นไหว เข้าฌานอยู่ที่โคนไม้.

    วันนี้เป็นวันที่ ๘ นางมีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้งามในพระสัทธรรม อันพระอุบลวรรณาช่วยแนะนำแล้ว ทรงวิชชา ๓ ละมฤตยูเสียแล้ว.

    ภิกษุณีรูปนี้นั้น เป็นไทแก่ตัว ไม่เป็นหนี้ อบรมอินทรีย์แล้ว สลัดโยคะได้หมดแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ.

    ท้าวสักกะ เจ้าแห่งหมู่สัตว์ พร้อมด้วยหมู่เทพเข้าไปหาพระสุภากัมมารธิดาเถรีรูปนั้น ด้วยเทวฤทธิ์แล้ว ทรงนมัสการอยู่.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทหรายํ สุทฺธวสนา ยํ ปุเร ธมฺมมสฺสุณึ ความว่า เพราะเหตุที่ แต่ก่อน ข้าพเจ้าเป็นสาวรุ่น มีผ้าสะอาด

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 424

นุ่งห่มผ้าอันหมดจด ตบแต่งกายแล้วได้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา. บทว่าตสฺสา เม อปฺปมตฺตาย สจฺจาภิสมโย อหุ ความว่า และเพราะเหตุที่ข้าพเจ้านั้น พิจารณาทบทวนธรรมตามที่ข้าพเจ้าฟังมาแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทคือมีสติตั้งมั่นแล้ว อธิษฐานศีล ประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนา ตราบจนตรัสรู้คือแทงทะลุปรุโปร่งซึ่งอริยสัจทั้ง ๔ โดยนัยว่า นี้ทุกข์ดังนี้เป็นต้น.

    บทว่า ตโตหํ สพฺพถาเมสุ ภุสํ อรติมชฺฌคํ ความว่า ฉะนั้นคือเพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ถึงความยินดี คือความกระสันอย่างยิ่ง คือเหลือเกินในกามทั้งหลายแม้ทุกอย่าง คือทั้งของมนุษย์ทั้งของทิพย์ เพราะฟังธรรมมาในสำนักพระศาสดาแล้ว และเพราะตรัสรู้อริยสัจแล้ว ข้าพเจ้าเห็นภัย คือความมีภัยจำเพาะหน้าในสักกายะ คือขันธปัญจกที่มีอุปาทาน ด้วยจักษุคือญาณ จึงกระหยิ่มยิ้มย่องปรารถนาแต่เนกขัมมะ คือบรรพชา เพื่อพระนิพพานอย่างเดียว.

    บทว่า ทาสกมฺมกรานิ จ แปลว่า ทาสและกรรมกร คำนี้ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. บทว่า คามเขตฺตานิ ได้แก่ บ้านและไร่ปลูกบุพพัณชาติและอปรัณชาติ และพื้นที่เนื่องด้วยบ้าน. บทว่า ผีตานิ ได้แก่ ความมั่งคั่ง. บทว่า รมณีเย ได้แก่ สิ่งที่น่าฟูใจ. บทว่า ปโมทิเต ได้แก่ นี่เขาบันเทิงใจแล้ว เชื่อมความว่า ละกองโภคสมบัติ. บทว่า สาปเตยฺยํ ได้แก่ ทรัพย์ส่วนของตนเอง คือของหวงแหนสำหรับทำมณี ทำทอง ทำเงิน เป็นต้น. บทว่า อนปฺปกํ ได้แก่ ใหญ่ ประกอบความว่า ละสมบัติอันใหญ่.บทว่า เอวํ สทฺธาย นิกฺขมฺม ความว่า ข้าพเจ้าละเครือญาติใหญ่ และกองโภคสมบัติใหญ่ มีประการที่กล่าวไว้ โดยนัยว่า หิตฺวานหํ าติคณํ เป็นต้น เชื่อวัตถุที่ควรเชื่อคือ กรรม ผลของกรรม และพระรัตนตรัยด้วยศรัทธา ออกจากเรือนไปบวชในพระสัทธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 425

ประกาศดีแล้ว คือในอริยวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ด้วยดีแล้ว

    ก็แล ข้อที่ข้าพเจ้าบวชอย่างนี้แล้วกลับมาหากามทั้งหลายที่ข้าพเจ้าละทิ้งเสียแล้ว ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้าเลย. บทว่า อากิญฺจญฺญํ หิ ปตฺถเย ความว่าเพราะว่า ข้าพเจ้าปรารถนาแต่ความไม่กังวล คือ ความไม่ต้องห่วงเท่านั้น บทว่า โย ชาตรูปรชตํ เปตฺวา ปุนราคเม ความว่า บุคคลใด ละทิ้งเงินทอง หรือทรัพย์ไรๆ อื่นแล้ว จะพึงกลับมายึดเอาทรัพย์นั้น บุคคลนั้นจะพึงโงศีรษะได้อย่างไรในระหว่างบัณฑิตทั้งหลาย. เพราะว่า เงินทอง ย่อมไม่มีเพื่อสันติความสงบ อธิบายว่า ไม่มีเพื่อมรรคญาณ ไม่มีเพื่อพระนิพพาน สำหรับบุคคลแม้นั้น. บทว่า น เอตํสมณสารุปฺปํ ความว่า ทรัพย์สมบัตินั้น คือ ของหวงแหนมีเงินทองเป็นต้น หรือการหวงแหนเงินทองเป็นต้นนั้น ไม่สมควรแก่สมณะ. จริงอย่างนั้นท่านกล่าวไว้ว่า เงินทองไม่สมควรแก่เหล่าสมณะศากยบุตรดังนี้เป็นต้น. บทว่า น เอตํ อริยธนํ ความว่า ของหวงแหนตามที่กล่าวแล้วนั้น ไม่ใช่ทรัพย์ที่สำเร็จด้วยอริยธรรม เหมือนอย่างอริยทรัพย์ มีศรัทธาเป็นต้น เพราะไม่นำความเป็นพระอริยะมาให้ ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า โลภนํ เป็นต้น

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลภนํ ได้แก่ ที่ทำให้เกิดความโลภ.บทว่า มทนํ ได้แก่ นำความมัวเมามาให้. บทว่า สโมหนํ ได้แก่ ทำให้เกิดความลุ่มหลง. บทว่า รชพนฺธนํ ได้แก่ เครื่องผูกล่าม มีกิเลสดุจละออง คือราคะเป็นต้น. ทรัพย์ที่ชื่อว่า สาสังกะ เพราะเป็นไปกับความน่ารังเกียจ เพราะทรัพย์นี้เขาหวงแหนนำมาแต่ความน่ารังเกียจ อธิบายว่า นำมาแต่ความน่ารังเกียจ แต่ที่ใดที่หนึ่งแก่ผู้ที่หวงแหนทรัพย์. บทว่า พหุอายาสํ ได้แก่ ยุ่งยากมาก โดยต้องจัดแจงต้องรักษาเป็นต้น. บทว่า นตฺถิ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 426

เจตฺถ ธุวํ ฐิติ ความว่า ความยั่งยืนและความมั่นคงในทรัพย์นั้น ไม่มีเลยมีแต่หวั่นไหว ไม่มั่นคงเท่านั้น.

    บทว่า เอตฺตาวตา ปมตฺตา จ สงฺกิลิฏมนา นรา ความว่านรชนทั้งหลาย ยินดีแล้ว คือเกิดความยินดีในทรัพย์นั้น ชื่อว่าประมาทแล้วเพราะอยู่ปราศจากสติในกุศลธรรม ๑๐ เป็นผู้มีใจเศร้าหมอง คือชื่อว่าเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองด้วยสังกิเลสมีโลภะเป็นต้น เพราะฉะนั้น บทว่า อญฺญญมฺหิ พฺยารุทฺธา ปุถู กุพพฺนฺติ เมธคํ จึงมีความว่า สัตว์เป็นอันมากคือมารดากับบุตร ก็เป็นศัตรูกันและกัน อย่างนี้คือ โดยที่สุดมารดากับบุตรบ้าง บุตรกับมารดาบ้าง ย่อมกระทำความบาดหมางทะเลาะกัน ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง มารดาวิวาทกับบุตรบ้าง บุตรวิวาทกับมารดาบ้าง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเรื่อง มีกามเป็นอธิกรณ์ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น

    บทว่า วโธ ได้แก่ ทำให้ตาย. บทว่า พนฺโธ ได้แก่ จองจำมีจองจำด้วยโซ่เป็นต้น. บทว่า ปริเกฺลโส ได้แก่ ทำให้ร่างกายบกพร่องมีตัดมือเป็นต้น. บทว่า ชานิ ได้แก่ เสื่อมทรัพย์และเสื่อมบริวาร. บทว่าโสกปริทฺทโว ได้แก่ เศร้าโศกและพิไรรำพัน. บทว่า อธิปนฺนานํ ได้แก่ถูกครอบงำ. บทว่า ทิสฺสเต พิยสนํ พหุํ ได้แก่ ความย่อยยับความพินาศ เป็นอันมาก คือมากอย่าง ต่างโดยการฆ่าการจองจำเป็นต้นตามที่กล่าวมาแล้ว และความเสียใจความคับแค้นใจเป็นต้น และที่เป็นไปในปัจจุบันและเป็นไปในภายหน้า ในกามทั้งหลาย เห็นกันได้ทั้งนั้น.

    บทว่า ตํ มํ าตี อมิตฺตาว กึ โว กาเมสุ ยุญฺชถ ความว่าท่านทั้งหลาย ถึงเป็นเครือญาติกัน ก็เป็นเหมือนอมิตรที่ไม่ปรารถนาดี เพราะอะไร เพราะเหตุอะไร จึงชักจูงประกอบข้าพเจ้า ผู้ซึ่งเป็นเหมือนผู้คลายกำหนัด

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 427

ในกามทั้งหลายแล้วมาไว้ในกามทั้งหลาย. บทว่า ชานาถ มํ ปพฺพชิตํกาเมสุ ภยทสฺสินึ ความว่า ท่านทั้งหลายจงตามรับรู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เห็นภัยในกามทั้งหลายจึงบวช. อธิบายว่า เหตุเพียงเท่านี้ ทำไมท่านทั้งหลายจึงไม่ยอมรับรู้.

    บทว่า น หิรญฺสุวณฺเณน ปริกฺขียนฺติ อาสวา ความว่า อาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น ไม่หมดสิ้นไป ด้วยเงินด้วยทอง ที่แท้กลับกำเริบด้วยเงินทองเหล่านั้นทีเดียว. ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า กามทั้งหลาย เป็นอมิตรผู้ฆ่า เป็นศัตรู เป็นดั่งลูกศรเสียบไว้ เนื้อความของคำนั้น มีว่า ความจริง กามทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นอมิตร เพราะไม่มีไมตรี เหตุนำมาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่าผู้ฆ่า เพราะเป็นเสมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ เหตุเป็นต้นเหตุแห่งความตาย ชื่อว่าเป็นศัตรู เพราะเป็นเสมือนศัตรูผู้ผูกเวร เหตุติดตามนำมาแต่ความพินาศ ชื่อว่าเป็นดังลูกศรเสียบไว้ เพราะลูกศรทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเสียบติดไว้.

    บทว่า มุณฺฑํ ได้แก่ โกนผม ชื่อว่าห่มสังฆาฏิเพราะเก็บเศษผ้าทั้งหลายในที่นั้นๆ มาปะติดปะต่อ ทำจีวรห่ม. บทว่า อุตฺติฏฺปิณฺโฑได้แก่ ก้อนข้าวที่ไปยืนใกล้เรือนทุกหลัง ที่เปิดประตูไว้ได้มา. บทว่า อุญฺโฉได้แก่ การเที่ยวขอเขาเพื่อก้อนข้าวนั้น. บทว่า อนาคารูปนิสฺสโย ได้แก่บริขารนักบวช อันเป็นที่อาศัย เพราะผู้บวชไม่มีเรือน จำต้องเข้าไปอาศัยนักบวชทั้งหลาย อาศัยบริขารนั้นเป็นอยู่. บทว่า วนฺตา ได้แก่ ละทิ้งแล้ว.บทว่า มเหสีหิ ได้แก่ ท่านผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.บทว่า เขมฏฺาเน ได้แก่ ในพระนิพพาน อันเป็นที่ไม่มีอุปัทวะจากโยคะทั้งหลายมีกามโยคะเป็นต้น. บทว่า เต ได้แก่ ท่านผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่. บทว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 428

อจลํ สุขํ ได้แก่ บรรลุสุขในพระนิพพาน อธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงคายกามเสียแล้ว จึงทรงบรรลุนิพพานสุข ฉะนั้น ผู้ปรารถนานิพพานสุขนั้น จึงควรสละกามทั้งหลายเสีย.

    บทว่า มาหํ กาเมหิ สงฺคจฺฉึ ความว่า ข้าพระองค์ไม่พึงสมาคมกับกามทั้งหลายไม่ว่าในกาลไรๆ ถ้าจะถามว่าเพราะเหตุไร พระเถรีจึงกล่าวว่า เยสุ ตาณํ น วิชฺชติ ความว่า บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าเยสุ ตาณํ น วิชฺชติ ความว่า บรรดากามทั้งหลายเหล่าใด ที่ถูกตรวจสอบอยู่ แม้ในกามสักอย่างหนึ่ง ก็ช่วยต่อต้านความพินาศไม่ได้ กามทั้งหลายชื่อว่า เสมอด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่าเผาให้ร้อนขนานใหญ่ ชื่อว่า ทุกข์เพราะอรรถว่า ทนได้ยาก.

    ก็สภาวะที่ขึ้นชื่อว่ากาม ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์มีภัย เพราะนำมาแต่ความพินาศอย่างกว้างขวางที่ไม่รู้ ชื่อว่ามีความคับแค้น เพราะทำความคับแค้นแห่งจิต ชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนาม เพราะแทงเอาได้. บทว่า เคโธ สุวิสโมเจโส ความว่า ชื่อว่าหมกมุ่น เพราะมีความหมกมุ่นเป็นเหตุ สภาวะนี้แสนจะไม่สม่ำเสมอ คือความกังวลอย่างมาก ชื่อว่าใหญ่ เพราะอรรถว่าก้าวล่วงได้แสนยาก ชื่อว่าเป็นทางแห่งความลุ่มหลง เพราะเป็นเหตุถึงความสยบ.บทว่า อุปสคฺโค ภีมรูโป ความว่า ชื่อว่า มีสภาวะน่าสะพรึงกลัว ดุจอุปสรรคมาแต่เทวดา ชื่อว่า ใหญ่ เพราะนำทุกข์มีความพินาศเป็นต้นมาให้ กามทั้งหลายชื่อว่า เปรียบด้วยหัวงูพิษ เพราะอรรถว่าเป็นภัยเฉพาะหน้า.

    บทว่า กามสํสคฺคสตฺตา ได้แก่ ผู้ติด ผู้ข้องด้วยเปือกตม กล่าวคือกาม.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 429

    บทว่า ทุคฺคติมนํ มคฺคํ ได้แก่ ทางที่พาไปอบายมีนรกเป็นต้น.บทว่า กามเหตุกํ ได้แก่ การบริโภคกามเป็นเหตุ. บทว่า พหุํ ได้แก่มากอย่าง โดยประเภทแห่งกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า โรคมาวหํ ได้แก่นำมาซึ่งทุกข์ ต่างโดยทุกข์ในปัจจุบันเป็นต้น ที่นับว่าโรค เพราะอรรถว่าเสียดแทง.

    บทว่า เอวํ ได้แก่ โดยประการที่กล่าวมาแล้วว่า อมิตฺตา วธกาเป็นต้น. บทว่า อมิตฺตชนนา ได้แก่ ให้เกิดความเป็นอมิตร. บทว่า ตาปนาได้แก่ ให้เดือดร้อน อธิบายว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน. บทว่าสงฺกิเลสิกา ได้แก่ นำมาซึ่งสังกิเลสความเศร้าหมอง. บทว่า โลกามิสาได้แก่ เป็นอามิส เหยื่อในโลก. บทว่า พนฺธนิยา ได้แก่พึงถูกผูกด้วยสังโยชน์ซึ่งเป็นเครื่องผูก อธิบายว่า อันสังโยชน์ประกอบไว้. บทว่า มรณพนฺธนาได้แก่ มรณะผูกไว้ เพราะเหตุที่เป็นไปและเพราะมรณะ เหตุเป็นเครื่องหมายแห่งการบังเกิดในภพเป็นต้น.

    บทว่า อุมฺมาทนา ได้แก่ กามทั้งหลายกระทำให้เป็นบ้าเพราะความเศร้าโศกโดยความพลัดพรากกัน เพราะกามมีความแปรปรวนเป็นธรรมดาหรือนำความมัวเมายิ่งขึ้นโดยเพิ่มทวี. บทว่า อุลฺลปนา ได้แก่ การบ่นเพ้อสูงขึ้นๆ ว่า โอ! สุขจริง โอ! สุขจริง. บาลีว่า อุลฺโลลนา ก็มี ความว่าพร่ำเพ้อรำพันถึงสัตว์ทั้งหลาย เพราะอามิสเป็นเหตุ เหมือนสุนัขกระดิกหางเพราะก้อนข้าว คือทำให้ไม่รู้สึกถึงความเสื่อม. บทว่า จิตฺตปฺปมาทิโนได้แก่ มีปกติย่ำยีจิต ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในอนาคต โดยการก่อความเร่าร้อนเป็นต้น บาลีว่า จิตฺตปฺปนทฺทิโน ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. ส่วนอาจารย์พวกใดกล่าวว่า จิตฺตปฺปมาทิโน เนื้อความของอาจารย์พวกนั้นก็ว่านำมาซึ่งความประมาทแห่งจิต. บทว่า สงฺกิเลสาย ได้แก่ เพื่อความพินาศ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 430

เพื่อความเบียดเบียน หรือเพื่อให้เดือดร้อน. บทว่า ขิปฺปํ มาเรน โอฑฺฑิตํ ความว่า ขึ้นชื่อว่า กามเหล่านี้ บัณฑิตพึงเห็นว่าเหมือนลอบที่มารดักไว้เพราะนำมาแต่ความพินาศแก่สัตว์ทั้งหลาย.

    บทว่า อนนฺตาทีนวา ได้แก่ มีอาทีนพโทษไม่มีที่สิ้นสุด คือมีโทษมาก โดยนัยที่กล่าวไว้ในที่นี้ว่า โลภนํ มทนญฺเจตํ เงินทองนั้นทำให้เกิดความโลภ ความมัวเมา ดังนี้เป็นต้น และในสูตรทั้งหลายมีทุกขักขันธสูตรเป็นต้นว่า ความหนาวเป็นเบื้องหน้า ความร้อนเป็นเบื้องหน้า ดังนี้เป็นต้น.บทว่า พหุทุกฺขา ได้แก่ ติดตามทุกข์หลายอย่าง มีทุกข์ในอบายเป็นต้น.บทว่า มหาวิสา ได้แก่ เสมือนมหาพิษที่ร้ายกาจเป็นต้นเพราะมีผลเผ็ดร้อน.บทว่า อปฺปสฺสาทา ได้แก่ อร่อยน้อย เหมือนหยาดน้ำผึ้งที่ไหลตามคมมีด.บทว่า รณกรา ได้แก่ ทำความกำหนัดนักเป็นต้นให้เพิ่มทวี. บทว่า สุกฺกปกฺขวิโสสนา ได้แก่ ทำความพินาศแก่ส่วนแห่งธรรมฝ่ายไม่มีโทษให้สัตว์ทั้งหลาย.

    บทว่า สาหํ ตัดบทเป็น สา อหํ ความว่า ข้าพเจ้านั้นฟังธรรมในสำนักพระศาสดา โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วแต่หนหลัง ได้ศรัทธาแล้ว ละสมบัติออกบวช. บทว่า เอตาทิสํ ได้แก่ เห็นปานนั้น คือมีประการดังกล่าวมาแล้ว. บทว่า หิตฺวา ได้แก่ ละสมบัตินั้น อธิบายว่า เพราะเหตุตามที่กล่าวมาแล้ว. บทว่า น ตํ ปจฺจาคมิสฺสามิ ความว่า ข้าพเจ้าจักไม่กลับมาบริโภคสมบัตินั้น คือกามทั้งหลายที่ข้าพเจ้าคายมาก่อนแล้วอีก. บทว่า นิพฺพานาภิรตา สทา ประกอบความว่า เพราะเหตุที่ข้าพเจ้ายินดียิ่งแล้วในพระนิพพานมาตลอดกาล นับตั้งแต่เวลาที่บวชแล้ว ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 431

กลับมาหาสมบัติกามนั้นอีก. บทว่า รณํ ตริตฺวา กามานํ ความว่า ข้ามสนามรบของกามทั้งหลาย และทำสนามรบนั้น ให้เป็นอันประหารด้วยพระอริยมรรค อันเป็นกิจที่ข้าพเจ้าพึงทำ. บทว่า สีติภาวาภิกงฺขินี ได้แก่จำนงหวังพระอรหัต ที่นับว่าเป็นภาวะเยือกเย็น เพราะระงับความกระวนกระวายและความเร่าร้อนของกิเลสได้หมด. บทว่า รตา สํโยชนกฺขเยได้แก่ ยินดียิ่งนักในพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทุกอย่าง.บทว่า เยน ติณฺณา มเหสิโน ความว่า เหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น พากันข้ามโอฆะใหญ่คือสังสารวัฏฏ์ด้วยอริยมรรคใด แม้ข้าพเจ้าก็จะเดินตามมรรคที่ท่านเดินไปแล้วนั้น บรรลุตามด้วยการปฏิบัติศีลเป็นต้น.

    บทว่า ธมฺมฏฺฐํ ได้แก่ตั้งอยู่ในธรรมคืออริยผล. บทว่า อเนชํได้แก่ ผลอันเลิศ ที่ได้ชื่อว่า อเนชะ เพราะระงับความหวั่นไหวได้แล้ว. บทว่าอุปสมฺปชฺช ได้แก่ สำเร็จผลแล้ว คือบรรลุด้วยการบรรลุอรหัตตมรรค. บทว่าฌายติ ได้แก่ เข้าไปเพ่งผลฌานนั้นนั่นแล.

    บทว่า อชฺชฏฺมี ปพฺพชิตา ความว่า นางเป็นผู้บวชแล้ว คือนับตั้งแต่วันที่นางบวชแล้ว วันนี้ก็นับเป็นวันที่ ๘. อธิบายว่า นางบวชแล้วได้ ๘ ราตรี นับตั้งแต่วันที่ล่วงมาแล้วนี้. บทว่า สทฺธา ได้แก่ถึงพร้อมด้วยศรัทธา. บทว่า สทฺธมฺมโสภณา ได้แก่ งามเพราะบรรลุพระสัทธรรม.

    บทว่า ภุชิสฺสา ได้แก่ ชื่อว่าเป็นไทแก่ตัว เพราะละกิเลสทั้งหลายที่เป็นเสมือนความเป็นทาส ชื่อว่าไม่มีหนี้ เพราะปราศจากหนี้มีกามฉันทะเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 432

    เล่ากันว่า พระเถรีบวชแล้วในวันที่ ๘ ก็บรรลุพระอรหัต นั่งเข้าผลสมาบัติที่โคนไม้ต้นหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้วทรงสรรเสริญ จึงตรัสพระคาถา ๓ พระคาถาเหล่านี้.

    ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงเห็นเรื่องนั้นด้วยจักษุทิพย์แล้วทรงดำริว่า เพราะเหตุที่พระเถรีรูปนี้ พระศาสดาทรงสรรเสริญอย่างนี้ ฉะนั้นจำเราและทวยเทพควรเข้าไปหา ดังนี้แล้ว ทันใดนั้นเอง ก็เสด็จเข้าไปหาพร้อมด้วยทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ทรงอภิวาทแล้ว ประคองอัญชลีประทับยืนอยู่.หมายเอาเรื่องนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

    ท้าวสักกะเจ้าแห่งหมู่สัตว์ พร้อมด้วย หมู่เทพเสด็จเข้าไปหาพระเถรี ธิดาช่างทองผู้สวยงามรูปนั้นด้วยเทวฤทธิ์ทรงนมัสการอยู่ ดังนี้.

    ในคาถานั้น ความว่า ท้าวสักกะเทวราชทรงได้พระนามว่าภูตปติ เพราะวิเคราะห์ว่า ทรงเป็นเจ้าเป็นใหญ่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดในกามภพทั้ง ๓ เสด็จเข้าไปหาพระสุภากัมมารธีตุเถรีรูปนั้น พร้อมกับหมู่เทพด้วยฤทธิ์ของพระองค์ ทรงนมัสการ คือทรงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์.

    จบ อรรถกถาสุภากัมมารธีตุเถรีคาถา

    จบ อรรถกถาวีสตินิบาต