จูฬวิยูหสุตตนิเทสที่ ๑๒
[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 181
อัฏฐกวัคคิกะ
จูฬวิยูหสุตตนิเทสที่ ๑๒
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 66]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 181
จูฬวิยูหสุตตนิเทสที่ ๑๒
[๕๒๐] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) มีสมณพราหมณ์บางพวกมีความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ ถือทิฏฐินั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาดพูดต่างๆ ว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์หรือ.
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๕๒๑] คำว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกผู้ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ สมณพราหมณ์บางพวกนั้นถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ ๖๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ เปรียบเหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่าย่อมอยู่ในเรือน หรือพวกบรรพชิตผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือพวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลสฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ.
[๕๒๒] คำว่า ถือ ในคำว่า ถือทิฏฐินั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาดพูดต่างๆ ความว่า ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น. คำว่า พูดต่างๆ ความว่า พูดไปต่างๆ พูดมีอย่างต่างๆ พูดอย่างอื่นๆ พูดมาก ไม่พูดไม่กล่าว ไม่บอก ไม่แสดง ไม่แถลงอย่างเดียว. คำว่า อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ความว่า อ้างตนเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชนอ้างตนเป็นผู้มีญาณ อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 182
การณ์ อ้างตนโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถือทิฏฐิ นั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาดพูดต่างๆ.
[๕๒๓] คำว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว ความว่า บุคคลใดรู้ธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า รู้ ทราบ เห็น แทงตลอดธรรมแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลใดรู้ อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว.
[๕๒๔] คำว่า บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่ บริบูรณ์ ความว่า บุคคลใดคัดค้านธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ไม่ครบถ้วน ไม่เต็มรอบ คือ ยังเป็น ผู้เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล ใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์บางพวก มีความอยู่รอบในทิฏฐิของ ตนๆ ถือทิฏฐิแล้วอ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่างๆ ว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใด คัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์หรือ.
[๕๒๕] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) สมณพราหมณ์ บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ ย่อมวิวาท และกล่าวว่า คนอื่นโง่ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะ ไหนจะจริงหนอ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 183
ว่าด้วยวิวาทกันเพราะถือทิฏฐิ
[๕๒๖] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ ย่อมวิวาท ความว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่นทิฏฐิอย่างนี้ ย่อมวิวาท คือทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรม วินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ย่อมวิวาท.
[๕๒๗] คำว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด ความว่า กล่าว บอก พูด แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นโง่ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่มีความรู้ ถึงอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญา แจ่มแจ้ง มีปัญญาทึบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด.
[๕๒๘] คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาหะไหนจะจริง หนอ ความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริง แท้ แน่ เป็นจริงไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วาทะไหนจะจริงหนอ.
[๕๒๙] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้าง คนว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตน ว่าเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน อ้างคนเป็นผู้มีญาณ อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดยการณ์ อ้างตนโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 184
ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ย่อมวิวาท และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์ เหล่านี้ วาทะไหนจริงหนอ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ ทั้งหมดต่างก็อ้างคนว่าเป็นผู้ฉลาด.
[๕๓๐] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ข้าพระองค์ไม่ อนุญาตธรรมของคนอื่น คนอื่นเป็นพาล ลามก มี ปัญญาเลว สมณพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล มีปัญญา เสื่อมทราม สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความอยู่รอบ ในทิฏฐิ.
[๕๓๑] คำว่า ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น ความว่า ไม่อนุญาต ไม่เห็นตาม ไม่อนุมัติ ไม่อนุโมทนา ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของคนอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น.
[๕๓๒] คำว่า คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว ความว่า คนอื่นเป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญา ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว.
[๕๓๓] สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นพาล มีปัญญาเสื่อมทราม ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดเทียว เป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 185
มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณะพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล มีปัญญาเสื่อมทราม.
[๕๓๔] คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความอยู่รอบ ในทิฏฐิ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด เป็นผู้ดำเนินไปด้วย ทิฏฐิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ ๖๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ เปรียบเหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่า ย่อมอยู่ในเรือน พวกบรรพชิตผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือ พวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลสฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์ทั้งปวงเทียว มีความอยู่รอบในทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ข้าพระองค์ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว สมณพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล มี ปัญญาเสื่อมทราม สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความ อยู่รอบในทิฏฐิ.
[๕๓๕] ก็ถ้าพวกสมณะพราหมณ์เป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของ คน เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้ไซร้ บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใครๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญา เสื่อมรอบ เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์ แม้เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น.
[๕๓๖] คำว่า ก็ถ้าเป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน ความว่า เป็นผู้ผ่องแผ้ว ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง เพราะทิฏฐิ ความควร ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 186
ชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ถ้าเป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะ ทิฏฐิของตน.
[๕๓๗] คำว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความ รู้ไซร้ ความว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจด มีปัญญาหมดจดวิเศษ มีปัญญา หมดจดรอบ มีปัญญาผ่องแผ้ว มีปัญญาผ่องใส อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้มี ความเห็นหมดจด มีความเห็นหมดจดวิเศษ มีความเห็นหมดจดรอบ มีความเห็นผ่องแผ้ว มีความเห็นผ่องใส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มี ปัญญาหมดจดดี. คำว่า เป็นผู้ฉลาด ความว่า เป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด. คำว่า มีความรู้ ความว่า เป็นผู้มีความรู้ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มี ปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้.
[๕๓๘] คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครๆ จะไซร้ เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมรอบ ความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มี ปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย สมณพราหมณ์ทั้งหมด จะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาเป็นประธาน มีปัญญาอุดม มีปัญญาบวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใครๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมรอบ.
[๕๓๙] คำว่า เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์ เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น ความว่า ทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 187
พราหมณ์เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์ สมาทาน ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ น้อมใจไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอัน สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ก็ถ้าพวกสมณพราหมณ์เป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของ ตน เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้ไซร้ บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใครๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญา เสื่อมรอบ เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์ แม้เหล่านั้น ถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น.
[๕๔๐] คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์ ได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง เพราะเหตุนั้นแหละ พวก สมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล.
[๕๔๑] ศัพท์ว่า น ในคำว่า ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง เป็นศัพท์ปฏิเสธ. คำว่า ทิฏฐินั้น คือ ทิฏฐิ ๖๒ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ จึงไม่กล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศทิฏฐิ ๖๒ นั้นว่า จริง แท้ เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง.
[๕๔๒] คำว่า คนคู่ ในคำว่า คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล ความว่า คน ๒ คน ได้แก่คนสองคนผู้ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 188
ทะเลาะกัน คนสองคนผู้ทำความหมายมั่นกัน คนสองคนผู้ทำความอื้อฉาว กัน คนสองคนผู้ทำความวิวาทกัน คนสองคนผู้ก่ออธิกรณ์กัน คนสอง คนผู้พูดกัน คนสองคนผู้ปราศรัยกัน คนคู่เหล่านั้น กล่าว บอก พูด แสดง แถลง กะกันและกันอย่างนี้ว่า ท่านเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใด กะกันและกันว่าเป็นพาล.
[๕๔๓] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง ความว่า พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง โดยอ้างว่า โลก เที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เทียง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่น เปล่า ฯลฯ สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์ ได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง.
[๕๘๔] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เพราะเหตุนั้นแหละ พวก สมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะ การณ์นั้นจึงเห็น คือ มองเห็น แลดู เพ่งดู พินิจดู พิจารณาดูซึ่งคน อื่นว่า เป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์ ได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง เพราะเหตุนั้นแหละ พวก สมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 189
[๕๔๕] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) สมณพราหมณ์บาง พวก กล่าวธรรมใดว่าจริงแท้ สมณพราหมณ์แม้พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ ทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน.
[๕๔๖] คำว่า สมณพราหมณ์ บางพวกกล่าวธรรมค่าจริงแท้ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าหนึ่ง กล่าว บอก พูด แสดง แถลงซึ่ง ธรรมะ คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด อย่างนี้ว่า ธรรมนี้ จริง แท้ เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์ บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริงแท้.
[๕๔๗] คำว่า สมณพราหมณ์แม้พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่า เปล่าเท็จ ความว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง กล่าว บอก พูด แสดง แถลงซึ่งธรรมะ คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นแหละ อย่างนี้ว่า ธรรม นี้เปล่าเท็จ ไม่เป็นจริง เหลวไหล ไม่เป็นตามจริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์แม้พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ.
[๕๔๘] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว วิวาทกัน ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิอย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน คือ ทำความทะเลาะกัน ทำความ หมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 190
[๕๔๙] คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไร พวก สมณพราหมณ์ จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน ความว่า เพราะ การณะ เหตุ ปัจจัย นิทาน สมุทัย ชาติ เหตุเป็นแดนเกิดอะไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือ กล่าวต่างๆ กัน กล่าวหลาย อย่าง กล่าวคำอื่นๆ กล่าว พูด บอก แสดง แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่าง เดียวกัน เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์ต่างพวก กล่าวธรรมใดว่าจริงแท้ สมณพราหมณ์แม้พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่าง เดียวกัน.
[๕๕๐] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็หมู่สัตว์รู้ชัด สัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้ มี ๒ อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้น อวดสัจจะต่างๆ ไปเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าว เป็นอย่างเดียวกัน.
ว่าด้วยสัจจะมีอย่างเดียว
[๕๕๑] คำว่า สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มี ๒ อย่าง ความว่า นิพพาน คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ความสงบสังขารทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 191
ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับ ตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เรียกว่าสัจจะอย่างเดียว อีกอย่างหนึ่ง มรรคสัจจะ นิยยานสัจจะ ได้แก่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ เพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ เรียกว่าสัจจะอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะนั้นมีอย่าง เดียวเท่านั้น มิได้มี ๒ อย่าง.
[๕๕๒] คำว่า ใด ในคำว่า หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่พึงวิวาท กัน ความว่า ในสัจจะใด. คำว่า ปชา เป็นชื่อของสัตว์ หมู่สัตว์ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้ปรุโปร่ง รู้ตลอด ซึ่งสัจจะใด ไม่พึงทำความทะเลาะกัน ไม่พึงทำความหมายมั่นกัน ไม่พึงทำความแก่งแย่งกัน ไม่พึงทำความ วิวาทกัน ไม่พึงทำความมุ่งร้ายกัน คือ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ ถึงความไม่มี ซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะ ใด ไม่พึงวิวาทกัน.
[๕๕๓] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอวดสัจจะต่างๆ ไปเอง ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น อวด พูด บอก กล่าว แสดง แถลง ซึ่งสัจจะต่างๆ ไปเองว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า โลก ไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่ เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอวดสัจจะต่างๆ ไปเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 192
[๕๕๔] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณะ เหตุ ปัจจัย นิทานนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึง ไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือ กล่าวต่างๆ กล่าวหลายอย่าง กล่าวคำ อื่นๆ กล่าว บอก พูด แสดง แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ก็หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่วิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่าง เดียวเท่านั้น มิได้มี ๒ อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้น อวดสัจจะต่างๆ ไปเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน.
[๕๕๕] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่างๆ คือ เป็นผู้อ้าง ตนว่าเป็นผู้ฉลาด กล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง ก็สัจจะ ที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะมากอย่าง ต่างๆ กัน หรือสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมระลึกตรึก เอาเอง.
[๕๕๖] คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไรหนอ พวก สมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่างๆ ความว่า เพราะเหตุไร คือ เพราะการณะ เหตุ ปัจจัย นิทานอะไร พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าว สัจจะต่างๆ คือ กล่าวหลายอย่าง กล่าวคำอื่นๆ กล่าว บอก พูด แสดง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 193
แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุไรหนอ พากสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่างๆ.
[๕๕๗] คำว่า กล่าวยืนยัน ในคำว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด กล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง ความว่า พูดพร่ำมากไป จึงชื่อว่ากล่าว ยืนยันบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวยืนยัน คือ บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งทิฏฐิของตนๆ ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละ จริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปย่อมเป็น อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ กล่าวว่าคนเป็นบัณฑิต กล่าวว่าคนเป็น ธีรชน กล่าวว่าตนเป็นผู้มีญาณ กล่าวว่าคนพูดโดยเหตุ กล่าวว่าตนพูด โดยลักษณะ กล่าวว่าตนพูดโดยการณ์ กล่าวว่าตนพูดโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาดกล่าว ยืนยัน.
[๕๕๘] คำว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะ มากอย่างต่างๆ กัน ความว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะมาก ต่างๆ หลายอย่าง อื่นๆ เป็นอันมาก เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะหลายอย่างต่างๆ กัน.
[๕๕๙] คำว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมระลึกตรึกเอา เอง ความว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมดำเนินไป เลื่อนไป เคลื่อนไป เป็นไป ด้วยความตรึก ด้วยความตรอง ด้วยความดำริ แม้ ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมระลึกตรึก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 194
เอาเอง อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งสัจจะที่คนรวบรวมมาด้วยความตรึก ที่ตนคิดกันด้วยความ พิจารณาที่ตนรู้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์ เหล่านั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัส ถามว่า
เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะ ไปต่างๆ คือ เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ยืนยันสัจจะ หลายอย่าง ก็สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็น สัจจะหลายอย่างต่างๆ กัน หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่า นั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง.
[๕๖๐] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) สัจจะมากอย่าง ต่างๆ กัน มิได้มีเลย เว้นแต่สัจจะที่แน่นอน ด้วยสัญญา ในโลก พวกสมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย แล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำ ของท่านเท็จ.
ว่าด้วยความจริงไม่ต่างกัน
[๕๖๑] คำว่า สัจจะมากอย่างต่างๆ กันมิได้มีเลย ความว่า สัจจะมากอย่าง ต่างๆ กัน หลายอย่าง อื่นๆ เป็นอันมากมิได้มีเลย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะมากอย่างต่างๆ กันมิได้มีเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 195
[๕๖๒] คำว่า เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก ความ ว่า เว้นจากสัจจะที่ถือว่าเที่ยงด้วยสัญญา กล่าวว่า สัจจะอย่างเดียวเท่านั้น ที่บัณฑิต กล่าว พูด แสดง แถลง ในโลก ได้แก่ทุกขนิโรธ นิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อย รัด อีกอย่างหนึ่ง มรรคสัจจะ นิยยานสัจจะ ได้แก่ทุกขนิโรธคามินีปฏิ- ปทา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งจิตมั่น ชอบ เรียกว่า เป็นสัจจะอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เว้นแต่สัจจะ ที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก.
[๕๖๓] คำว่า ก็พวกสมณพราหมณ์คำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย แล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น ๒ อย่าง คำของเราจริง คำของท่านเท็จ ความว่า พวกสมณพราหมณ์ตรึกตรองดำริแล้ว ยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ในบังเกิดเฉพาะ ครั้นแล้วได้กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็พวกสมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว ได้กล่าว ธรรมเป็น ๒ อย่าง คำของเราจริง คำของท่านเท็จ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
สัจจะมากอย่างต่างๆ กันมิได้มีเลย เว้นแต่สัจจะที่ แน่นอน ด้วยสัญญาในโลก ก็พวกสมณพราหมณ์ดำริ ตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น ๒ อย่าง ว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 196
[๕๖๔] เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงอารมณ์ ดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิ เป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริง อยู่กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.
เจ้าทิฏฐิแสดงความดูหมิ่นผู้อื่น
[๑๖๕] คำว่า เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือรูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น ความว่า เจ้าทิฏฐิอาศัย คือ เข้าไปอาศัย ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูป ที่เห็นบ้าง ความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ความ หมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ศีลบ้าง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง วัตร บ้าง ความหมดจดเพราะวัตรบ้าง อารมณ์ที่ทราบบ้าง ความหมดจดเพราะ อารมณ์ที่ทราบบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ. คำว่า อาศัยธรรมเหล่านี้ เป็นผู้แสดงความ ดูหมิ่นผู้อื่น ความว่า เจ้าทิฏฐินั้น ไม่นับถือ แม้เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น อีกอย่างหนึ่ง ยังโทมนัสให้เกิด แม้เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐิ อาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น.
[๕๖๖] คำว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า วินิจฉัย. เจ้าทิฏฐิตั้งอยู่ ตั้งมั่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 197
ที่วินิจฉัยแล้ว. คำว่า ร่าเริงอยู่ คือ เป็นผู้ยินดี หัวเราะ ร่าเริง ชอบใจ มีความดำริบริบูรณ์ อีกอย่างหนึ่ง หัวเราะจนฟันปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัย ร่าเริงอยู่.
[๕๖๗] คำว่า กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด ความว่า กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่รู้แจ้ง ไปแล้วในอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าว ว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ตอบว่า
เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความ ดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.
[๕๖๘] เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็ กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้าง ว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูด เช่นนั้นเหมือนกัน.
เจ้าทิฏฐิเห็นคนอื่นเป็นพาล
[๕๖๙] คำว่า เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด ความว่า เจ้าทิฏฐิเห็น มองเห็น แลดู เพ่งพินิจ พิจารณาซึ่งบุคคลอื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 198
โดยความเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ด้วยเหตุ ใด คือ ด้วยปัจจัย การณ์ เหตุเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้า ทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด.
[๕๗๐] คำว่า และก็กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น ความว่า ตน เรียกว่า อาตมา เจ้าทิฏฐิแม้นั้น กล่าวถึงตนว่า เราเป็น ผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มี ปัญญาทำลายกิเลส ด้วยเหตุนั้น คือ ด้วยปัจจัย การณ์ เหตุเป็นแดน เกิดนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และก็กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น.
[๕๗๑] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าคนฉลาดด้วยตนเอง ความ ว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าคนฉลาดด้วยตนเอง คืออวดอ้างว่าเป็นบัณฑิต อวดอ้างว่าเป็นธีรชน อวดอ้างว่าเป็นผู้มีญาณ อวดอ้างว่าพูดโดยเหตุ อวดอ้างว่าพูดโดยลักษณะ อวดอ้างว่าพูดโดยการณ์ อวดอ้างว่าพูดโดย ฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าตน ฉลาดด้วยตนเอง.
[๕๗๒] คำว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน ความว่า เพราะไม่นับถือ จึงชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น อีกอย่างหนึ่ง เพราะยังโทมนัสให้เกิด จึงชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น. คำว่า และพูด เช่นนั้นเหมือนกัน ความว่า ย่อมพูดถึงทิฏฐินั้นว่า แม้ด้วยเหตุดังนี้ บุคคลนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม ดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 199
เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็ กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และ พูดเช่นนั้นเหมือนกัน.
[๕๗๓] เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ (ทิฏฐิล่วง แก่นสาร) เป็นผู้เมาด้วยความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตน เองด้วยใจ เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น.
ทิฏฐิ ๖๒ เรียกอติสารทิฏฐิ
[๕๗๔] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ ความ ว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า อติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร ทิฏฐิ ๖๒ ประการ จึงเรียกว่า อติสารทิฏฐิ ทิฏฐิทั้งปวงนั้น ล่วงเหตุ ล่วงลักษณะ ถึงความเป็นของต่ำช้า เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิ ๖๒ ประการ จึงเรียกว่า อติสารทิฏฐิ เดียรถีย์แม้ทั้งหมดเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร เดียรถีย์ แม้ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เดียรถีย์เหล่านั้น ล่วง ก้าวล่วง ล่วงเลยกันและกัน ยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้ บังเกิดเฉพาะ เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ. คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์ ความว่า เป็นผู้บริบูรณ์เต็มรอบ ไม่ บกพร่องด้วยอติสารทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยอติสารทิฏฐิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 200
[๕๗๕] คำว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวเต็มรอบ ความว่า เป็นผู้เมา เมาทั่ว เมาขึ้น เมายิ่ง ด้วยความถือตัว เพราะทิฏฐิ ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว. คำว่า มีความ ถือตัวเต็มรอบ ความว่า มีความถือตัวเต็มรอบ มีความถือตัวบริบูรณ์ มิได้บกพร่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว มีความ ถือตัวเต็มรอบ.
[๕๗๖] คำว่า อภิเษกตนเองด้วยใจ ความว่า ย่อมอภิเษกตน เองด้วยจิตว่า เราเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง ปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อภิเษกตน เองด้วยใจ.
[๕๗๗] คำว่า เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น ความ ว่า ทิฏฐินั้น ของเจ้าทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น คือเป็นทิฏฐิอันเจ้าทิฏฐิ นั้นสมาทาน ถือ ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไปแล้วอย่างนั้น เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ เป็นผู้ เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตนเอง ด้วยใจ เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น.
[๕๗๘] ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ บุคคล นั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วยคนอื่นนั้น อีก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 201
อย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้ ใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล.
[๕๗๙] คำว่า ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ ความว่า ถ้าคนอื่นเป็นคนพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะคำ เพราะถ้อยคำ คือ เพราะเหตุนินทา ติเตียน ค่อนว่าของคน อื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้.
[๕๘๐] คำว่า บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วย คนอื่นนั้น ความว่า แม้บุคคลนั้นก็เป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย พร้อม ด้วยคนอื่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทราม พร้อมด้วยคนอื่นนั้น.
[๕๘๑] คำว่า อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเอง ไซร้ ความว่า บุคคลเป็นธีรชน เป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้.
[๕๘๒] คำว่า ใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็น คนพาล ความว่า ใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ เป็นคนพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่มี คือ คนทั้งหมดนั่นแหละ จะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาใหญ่ มีปัญญาอุดม มีปัญญาบวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครๆ ในบรรดา สมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสตอบว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 202
ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ บุคคล นั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วยคนอื่นนั้น อีก อย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้ ใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล. [๕๘๓] ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชน เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนั้นโดยทิฏฐิ มาก เพราะพวกเดียรถีย์นั้นเป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความกำหนัด เพราะทิฏฐิของตน.
[๕๘๔] คำว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ความว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค อื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ พลั้ง พลาด คลาด เคลื่อน ทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความหมดจดรอบ ทางแห่งความผ่องแผ้ว ทางแห่งความผ่องแผ้วรอบ ชื่อว่าพลาดจากอรหัตตผล เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ไม่เต็มเปี่ยม ไม่เต็มรอบ คือ เป็นพวกเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความ หมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์.
ทิฏฐิเรียกว่าติตถะ
[๕๘๕] คำว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก ความว่า ทิฏฐิเรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิเรียกว่า พวกเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 203
ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งทิฏฐิมาก โดยทิฏฐิมาก เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก.
[๕๘๖] คำว่า เพราะพวกเดียรถีย์นั้น เป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความ กำหนัด เพราะทิฏฐิของตน ความว่า เดียรถีย์เหล่านั้น เป็นผู้ยินดี ยินดียิ่ง ด้วยความกำหนัดเพราะทิฏฐิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะ พวกเดียรถีย์ยินดียิ่ง ด้วยความกำหนัด เพราะทิฏฐิของตน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชน เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดหางแห่งความหมดจด เป็นผู้ ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก เพราะพวกเดียรถีย์นั้น เป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความกำหนัด เพราะทิฏฐิของตน.
[๕๘๗] พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้ เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอื่น พวกเดียรถีย์ตั้งนั่นแม้อย่างนี้ โดยทิฏฐิมาก เป็นผู้กล่าว ยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น.
ว่าด้วยทิฏฐิของพวกเดียรถีย์
[๕๘๘] คำว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีใน ธรรมนี้เท่านั้น ความว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 204
ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ในธรรมนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ... โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมเป็น อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้ เท่านั้น.
[๕๘๙] คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอื่น ความว่า พวกเดียรถีย์นั้น ย่อมคัดค้าน โต้เถียงวาทะของคนอื่นทั้งหมด เว้นแต่ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว หมู่คณะทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นไม่ใช่สัพพัญญู ธรรมนั้นไม่ใช่สวากขาตธรรม หมู่คณะนั้นมิใช่ผู้ปฏิบัติดี ทิฏฐินั้นมิใช่ ทิฏฐิอันเจริญ ปฏิปทานั้นมิใช่บัญญัติดี มรรคนั้นไม่เป็นมรรคนำให้พ้น ทุกข์ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ มิได้มีในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อม ไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ ไม่พ้น รอบ ในเพราะธรรมนั้น แต่เป็นผู้เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษ ในธรรมทั้ง หลายอื่น.
[๕๙๐] คำว่า พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก ความ ว่า ทิฏฐิเรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิเรียกว่า พวกเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ตั้งมั่น ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปในทิฏฐิมาก โดยทิฏฐิมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 205
[๕๙๑] คำว่า เป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของ ตนนั้น ความว่า ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทาง ดำเนินของตน เป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งแรง กล่าวเที่ยง แท้ ในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ กล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้ เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอัน พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก เป็นผู้กล่าว ยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น.
[๕๙๒] อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทาง ของตน พึงเห็นใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น เจ้าทิฏฐินั้น กล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล มีความไม่หมดจด เป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง.
[๕๙๓] คำว่า อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทาง ดำเนินของตน ความว่า ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรม เป็นทางดำเนินของตน เป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งแรง กล่าวเที่ยงแท้ ในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้ยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตน.
[๕๙๔] คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น ในคำว่า พึงเห็นใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น ความว่า พึงเห็น ดู แลดู ตรวจดู พินิจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 206
พิจารณา ซึ่งใครอื่นโดยความเป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ในเพราะทิฏฐิ คือความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเห็นใครอื่นว่าเป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น.
[๕๙๕] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล มีความ ไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง ความว่า เจ้าทิฏฐิ นั้นว่า กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า บุคคลอื่นเป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีความไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่ขาว เป็นธรรมดา พึงนำมา นำมาพร้อม ถือมา ถือมาพร้อม ชักมา ชักมาพร้อม ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งความ ทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วย ตนเองแท้ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความทุ่มเถียงเอง.
อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทาง ดำเนินของตน พึงเห็นใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะ ทิฏฐินั้น เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่า เป็นพาล มีความ ไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความทุ่มเถียงเอง.
[๕๙๖] เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว ย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ชันตุชนละทิฏฐิที่ ตกลงใจทั้งปวง ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก.
[๕๙๗] คำว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่าทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าทิฏฐิ ตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 207
ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ในทิฏฐิที่คนตัดสินแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้ง อยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ. คำว่า นับถือเองแล้ว ความว่า นับถือ ตรวจเอง แล้วว่า ศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู ธรรมนี้อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว หมู่คณะนี้ปฏิบัติแล้ว ทิฏฐินี้เป็นทิฏฐิเจริญ ปฏิปทานี้อันศาสดาบัญญัติ ดีแล้ว มรรคนี้เป็นมรรดนำให้พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ใน ทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว.
[๕๙๘] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ความว่า อนาคต เรียกว่า ข้างหน้า เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งวาทะของตนใน ข้างหน้า ย่อมถึง เข้าถึง เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วยตนเอง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้า ในโลก อีกอย่างหนึ่ง เจ้าทิฏฐินั้น ย่อมทำความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความทุ่มเถียง กับบุคคลอื่นผู้กล่าวใน ข้างหน้าว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้อง วาทะ ถ้าท่านสามารถ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมถึงความ วิวาทในข้างหน้าในโลก.
[๕๙๙] คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ ชันตุชน ละ สละ ทิ้ง ปลดปล่อย บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้วทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละทิฏฐิตกลงใจทั้งปวงแล้ว.
[๖๐๐] คำว่า ชันตุชน ... ย่อมไม่ทำความทุ่มเถียงในโลก ความว่า ชันตุชนย่อมไม่ทำความทะเลาะ ไม่ทำความหมายมั่น ไม่ทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 208
ความแก่งแย่ง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความทุ่มเถียง สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ภิกษุมีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่โต้เถียง ไม่วิวาทกับใครๆ สิ่งใดที่เขากล่าวกันในโลก ก็กล่าว ตามสิ่งนั้น มิได้ถือมั่น. ชื่อว่าชันตุชน คือสัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน ... ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก เพราะเหตุ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว ย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ชันตุชนละทิฏฐิที่ ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก ดังนี้.
จบจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒
อรรถกถาจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒
พึงทราบวินิจฉัยในจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สกํ สกํ ทิฏฺิปรินิพฺพาสนา สมณพราหมณ์บางพวกมี ความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ. ในมหาสมัยนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระสูตรแม้นี้ เพื่อจะทรงประกาศความนั้นแก่เทวดาทั้งหลายบางพวก ผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า สมณพราหมณ์ผู้ถือทิฏฐิเหล่านี้ทั้งหมดถือว่า เราเป็นผู้ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 209
สมณพราหมณ์เหล่านั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิของตนเท่านั้น จึงเป็นผู้ดีหรือ หรือว่า ถือเอาทิฏฐิอย่างอื่นด้วย จึงทรงให้พระพุทธนิมิตตรัสถามพระองค์. ใน พระสูตรนั้น สองคาถาข้างต้น เป็นคาถาถาม.
ในคาถาเหล่านั้น บทว่า สกํ สกํ ทิฏฺิปริพฺพาสนา คือ สมณพราหมณ์ทั้งหลายอยู่ด้วยทิฏฐิของตนๆ. บทว่า วิคฺคยฺห นานา กุสลา วทนฺติ อ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่างๆ คือถือทิฏฐิอย่างแรง ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้ฉลาดในทิฏฐินั้น พูดมาก ไม่พูดครั้งเดียว. บทว่า โย เอวํ ชานาติ ส เวทิ ธมฺมํ อิทํ ปฏิกฺโกสมเกวลี โส บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายัง เป็นผู้ไม่ใช่บริบูรณ์ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า บุคคลใด รู้อย่างนี้หมายถึงทิฏฐินั้น ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม แต่ถ้าบุคคลใดคัดค้านธรรม นี้ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นคนเลว ดังนี้.
บทว่า นานา วทนฺติ คือ พูดเหตุต่างๆ กัน. บทว่า วิวิธํ วทนฺติ คือ พูดหลายๆ อย่าง. บทว่า อญฺโญฺํ วทนฺติ พูดอย่างอื่นๆ คือไม่ พูดอย่างเดียวพูดจับโน่นจับนี่. บทว่า อเกวลี โส บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็น ผู้ไม่บริบูรณ์ คือไม่ฉลาด. บทว่า อสมฺตโต คือ ไม่บริบูรณ์. บทว่า อปริปุณฺโณ คือ ไม่ครบถ้วน.
บทว่า พาโล คือ คนเลว. บทว่า อกุสโล คือ ไม่ฉลาด.
ต่อไปนี้เป็นคาถาแก้สามคาถา. คาถาเหล่านั้นรวบรวมความที่กล่าว ไว้โดยคาถาก่อน ด้วยคาถาหลังตั้งไว้ พระสูตรนี้จึงได้ชื่อว่า จูฬวิยูหสูตร เพราะมีความน้อยกว่าสูตรก่อน ด้วยการรวบรวมนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 210
ในคาถาเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่หนึ่งก่อน. บทว่า ปรสฺส เจ ธมฺมํ ธรรมของคนอื่น คือทิฏฐิของคนอื่น. บทว่า สพฺเพปิเม พาลา สมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้นเป็นคนพาล อธิบายว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้นจึงเป็นพาล. เพราะอะไร เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านี้ มีความอยู่รอบในทิฏฐิ.
บทว่า สนฺทิฏฺิยา เจ ปน เววทาตา สํสุทฺธปญฺา กุสลา มตีมา ความว่า ก็ถ้าพวกสมณพราหมณ์ เป็นผู้ผ่องแผ้ว หมดจด ไม่เศร้าหมอง เพราะทิฏฐิของตน เป็นผู้มีปัญญาหมดจด เป็นผู้ฉลาด มีความรู้. บทว่า น เตสํ โกจิ ความว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมแม้แต่คนเดียว. เพราะอะไร เพราะทิฏฐิเป็น ธรรมชาติอันสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือเอาบริบูรณ์เหมือนอย่างสมณพราหมณ์พวกอื่น.
พึงทราบเนื้อความสังเขปแห่งคาถาว่า น วาหเมตํ ดังนี้ คนคู่ คือชนสองคนเหล่านั้น กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าเป็นจริง เป็นของแท้. เพราะอะไร เพราะ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ. เพราะเหตุนั้นแหละ พวกสมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่น ว่าเป็นพาล.
ก็ในบทนี้มีปาฐะสองอย่าง คือ ตจฺฉํ ตถวํ. บทว่า ตจฺฉํ คือ ไม่เปล่า. บทว่า ตถวํ จริง คือไม่วิปริต. บทว่า ภูตํ เป็นจริง คือมีอยู่. บทว่า ยถาวํ เป็นตามจริง คือมีอยู่พร้อม. บทว่า อวิปรีตํ ไม่วิตก คือไม่ผิดสังเกต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 211
ในคาถาที่เป็นคำถามว่า ยมาหุ คือ สมณพราหมณ์บางคนกล่าว ทิฏฐิสัจจะใดว่าจริงแท้ พึงทราบความในคาถาที่เป็นคำตอบว่า เอกํ หิ สจฺจํ สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น คือนิโรธหรือมรรค. ทว่า ยสฺมึ ปชา โน วิวเท ปชานํ คือ หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน. บทว่า สยํ กุนนฺติ อวดไปเอง คือ กล่าวด้วยตนเอง.
พึงทราบความในคาถาที่เป็นคำถามว่า กสฺมานุ เพราะเหตุไรหนอ. บทว่า ปวาทิยาเส คือ พูดอวดอ้าง. บทว่า เต ตกฺกมนุสฺสรนฺติ สมณพราหมณ์เหล่านั้นระลึกตรึกเอาเอง คือสมณพราหมณ์เหล่านั้นพูดเอาเอง หรือไปตามเพียงความตรึกของตนเอง. บทว่า ตกฺกปริยาหฏํ รวบรวม ไว้ด้วยความตรึก คือตรึกเอาเอง. บทว่า วิมํสานุจริตํ ที่ตนคิดกันด้วย ความพิจารณา คือคิดด้วยปัญญาอันเข้าไปปรากฏแก่ตน. บทว่า สยํ ปฏิภาณํ คือ รู้ด้วยตนเอง.
พึงทราบความในคาถาที่เป็นคำตอบว่า น เหว มิได้มีเลย ดังนี้. บทว่า อญฺตฺร สญฺาย นิจฺจานิ เว้นสัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญา คือ เว้นจากการยึดถือว่าเที่ยงเพียงสัญญา. บทว่า ตกฺกญฺจ ทิฏฺีสุ ปกปฺปยิตฺวา ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย คือเพียงความดำริเป็นนิจของตนให้ เกิดในทิฏฐิทั้งหลาย. ก็เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหลายยังความตรึกในทิฏฐิ ทั้งหลายให้เกิด แม้ยังทิฏฐิให้เกิดอีก ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส คำมีอาทิว่า สมณพราหณ์ทั้งหลายยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม. บทว่า ชเนนฺติ ให้เกิด คือยังทิฏฐิให้เกิดสูงขึ้นๆ ชื่อว่าให้เกิด. บทมี อาทิว่า สญฺชเนนฺติ ให้เกิดพร้อม ท่านเพิ่มบทอุปสัคขึ้นกล่าว. บทว่า มยฺหํ สจฺจํ คือ คำพูดของเราจริง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 212
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อสัจจะต่างไม่มีอยู่ เพื่อจะทรงแสดง ถึงการปฏิบัติผิดของพวกสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ ระลึกถึงเพียงความตรึก จึงได้ตรัสคาถามีอาทิว่า ทิฏฺเ สุเต รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺเ อธิบายว่า รูปที่ได้เห็นเป็นความ เห็นอันบริสุทธิ์. ในเสียงที่ได้ฟังเป็นต้นก็มีดังนี้. บทว่า เอเต จ นิสฺสาย วิมานทสฺสี เป็นผู้แสดงอารมณ์ดูหมิ่นผู้อื่นเพราะอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ แสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม อันได้แก่ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ เพราะอาศัย ธรรมคือทิฏฐิเหล่านี้. บทว่า วินิจฺฉเย ตฺวา ปหสฺสมาโน พาโล ปโร อกุสโลติ จาห ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ กล่าวว่าคนอื่นว่า เป็นคนพาลไม่ฉลาด ความว่า แม้แสดงความดูหมิ่นอย่างนี้ ก็ยังตั้งอยู่ใน ทิฏฐิที่วินิจฉัยนั้น (คือวินิจฉัยด้วยทิฏฐิ) เป็นผู้ยินดี ร่าเริง กล่าวอย่างนี้ ว่าคนอื่นเลวและโง่ ดังนี้.
บทว่า นสมฺมาเนตีติปิ วิมานทสฺสี เจ้าทิฏฐินั้นไม่นับถือแม้เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้แสดงความดูหมิ่น คือไม่ทำการนับถือมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น คือไม่แสดงความนับถืออย่างมาก. บทว่า โทมนสฺสํ ชเนตีติปิ ยังความโทมนัสให้เกิด ความว่า ยังความ โทมนัสให้เกิดในเวลาที่ติดแน่นซึ่งทิฏฐิวินิจฉัยก่อน แล้วได้ความโสมนัส ภายหลังจึงตั้งอยู่ในทิฏฐิวินิจฉัย. บทว่า วินิจฺฉิตทิฏฺิยา ตฺวา ตั้งอยู่ ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว คือตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ลงความเห็นถือเอาแล้ว. พึง ทราบคาถาว่า เยเนว เป็นต้นดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สยมตฺตนา คือ ด้วยตนเอง. บทว่า วิมาเนติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 213
ดูหมิ่น คือติเตียน. บทว่า ตเทว ปาวา คือ พูดคำนั้น ทิฏฐินั้น หรือบุคคลนั้น.
พึงทราบความแห่งคาถาว่า อติสารทิฏฺิยา ทิฏฐิล่วงแก่นสาร เป็นต้นดังนี้. เจ้าทิฏฐินั้นมีความถือด้วยเต็มที่อย่างนี้ว่า เราสมบูรณ์ บริบูรณ์ พองด้วยความพองอันเป็นทิฏฐิล่วงสาระ ล่วงสาระอันเป็นลักษณะอย่างนี้ และสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยทิฏฐิมานะนั้นสิ้นเชิง. อภิเษกตนเองด้วยใจว่า เราเป็นบัณฑิต. เพราะอะไร. เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สพฺพา ทิฏฺิโย ลกฺขณาติกฺกนฺตา ทิฏฐิทั้งปวงล่วงลักษณะ คือทิฏฐิ ๖๒ ทั้งหมดเหล่านั้นล่วงลักษณะ. บทว่า อติยนฺติ ก้าวล่วงแล้ว. บทว่า อโนโม คือ ไม่บกพร่อง.
พึงเชื่อมความคาถาว่า ปรสฺส เจ แห่งบุคคลอื่นดังนี้. อนึ่ง มี ความอะไรที่ยิ่งไปอีก มีดังนี้ เจ้าทิฏฐินั้นตั้งอยู่ในวินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ กล่าวว่าคนอื่นเป็นพาลไม่ฉลาด. ก็หากว่า บุคคลนั้นกล่าวว่าเลวเพราะคำ ของคนอื่นนั้น. บทว่า ตุโม สหา โหติ นิหีนปญฺโ บุคคลนั้นย่อม เป็นคนมีปัญญาทราม พร้อมด้วยบุคคลอื่นนั้น คือบุคคลแม้นั้นย่อมเป็น ผู้มีปัญญาทรามพร้อมด้วยบุคคลนั้น แม้เขาจะพูดว่าบุคคลนั้นเป็นพาล. เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้อยคำของเขาเอาประมาณไม่ได้. แต่บุคคลนั้นเป็นผู้ถึง เวท เป็นธีรชนด้วยตนเอง. เมื่อเป็นอย่างนั้นใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ย่อมไม่เป็นคนพาล เพราะทั้งหมดเหล่านั้นเป็นบัณฑิตตามความ ปรารถนาของตน. บทว่า วาจาย คือ เพราะคำ. บทว่า วจเนน คือ เพราะถ้อยคำ. บทว่า นินฺทิตการณา คือ เพราะเหตุนินทา. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 214
ครหิตการณา คือ เพราะเหตุติเตียน. บทว่า อุปวทิตการณา คือ เพราะ เหตุค่อนว่า.
พึงทราบการเชื่อมและความของคาถาว่า อญฺํ อิโต ธรรมอื่นจาก ธรรมนี้ต่อไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงเวทเป็น ธีรชนเอง ใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ย่อมไม่มีคนพาลดังนี้ พึงมี คำถามว่า เพราะเหตุ เพื่อใครๆ. ในข้อนั้นขอตอบว่า เพราะชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่ง ความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนั้นโดย ทิฏฐิมาก คือชนเหล่าใดย่อมสรรเสริญทิฏฐิอื่นจากทิฏฐินี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ฉลาด คือล้มเหลวทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ฉะนั้น ท่านอธิบายว่า เดียรถีย์ทั้งหลายย่อมกล่าวอย่างนี้. หากถามว่า เพราะเหตุไร จึงกล่าวอย่างนี้. ตอบว่า เพราะพวกเดียรถีย์เหล่านั้นเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วย ความกำหนัดเพราะทิฏฐิของตน.
บทว่า เต สุทฺธิมคฺคํ ทางแห่งความหมดจด คืออัญญเดียรถีย์ เหล่านั้น ย่อมพลั้งพลาด คลาด ทางอันไม่เศร้าหมอง. บทว่า วิสุทฺธิมคฺคํ ทางแห่งความหมดจดวิเศษ คือทางที่ไม่มีโทษ. บทว่า ปริสุทฺธิมคฺคํ ทางแห่งความหมดจดรอบ คือทางแห่งธรรมขาว. บทว่า โอทาตมคฺคํ ทางแห่งความผ่องแผ้ว คือทางผ่องใส. บทว่า ปริโยทาตมคฺคํ ทาง ผ่องแผ้วรอบ คือทางมีแสงสว่าง. บทว่า วิรทฺธา พลั้ง คือพลั้งจากทาง ที่กล่าวแล้วดำรงอยู่. บทว่า อปรทฺธา พลาด คือพลาดไปแล้วดำรงอยู่. บทว่า ขลิตา คลาด คือเสื่อม. บทว่า คลิตา เคลื่อน คือตกจากที่นั้น. บทว่า อญฺาย คือ ด้วยไม่รู้. บทว่า อปรทฺธา พลาด คือถึงความปราชัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 215
อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ายาปรทฺธา บ้าง ความว่า พลาดจากทางที่ควรรู้ พวกเดียรถีย์ยินดียิ่งอย่างนี้.
พึงทราบคาถาว่า อิเธว สุทฺธึ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจด ว่ามีในธรรมนี้เท่านั้น ดังต่อไปนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สกายเน คือ ในทางของตน. บทว่า ทฬฺหํ วทานา กล่าวยืนยัน คือกล่าวหนักแน่น. บทว่า ถิรวาทา กล่าวมั่นคง คือกล่าวลงความเห็น. บทว่า พลิกวาทา คือ กล่าวแข็งแรง. บทว่า อรฏฺิตวาทา กล่าวเที่ยงแท้ คือกล่าวด้วย ความมั่นใจ.
บรรดาเดียรถีย์ผู้วาทะมั่นคงอย่างนี้ เดียรถีย์คนใดคนหนึ่ง เป็นผู้ พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน พึงเห็นใครอื่นว่าเป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ผู้พูดยืนยันว่านี้เท่านั้นจริง ใน ทางดำเนินของตน อันมีอาทิว่าโดยสังเขป ได้แก่ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ โดยพิสดาร ได้แก่ นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี) อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าหาเหตุมิได้) อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอัน ทำ) พึง เห็นใครอื่นโดยธรรมร่วมกัน ว่าเป็นคนพาลในทิฏฐินี้ แม้เดียรถีย์ทั้งหมด ก็เป็นบัณฑิต เป็นผู้ปฏิบัติชอบตามความเห็นของเขามิใช่หรือ เมื่อเป็น อย่างนี้ เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่น ว่าเป็นพาล มีความไม่หมดจดเป็น ธรรมดา พึงนำมาซึ่งความบาดหมางกันเอง เพราะเจ้าทิฏฐินั้นกล่าวคน อื่นว่า ผู้นี้เป็นพาล และมีธรรมไม่บริสุทธิ์ พึงนำความทะเลาะมาด้วย ตนเอง. เพราะเหตุไร. เพราะเจ้าทิฏฐิทั้งหมดก็เป็นบัณฑิตเหมือนกัน และเป็นผู้ปฏิบัติชอบเหมือนกัน ตามความเห็นของเขา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 216
แม้ในบททั้งหมดพึงทราบอย่างนี้ว่า เจ้าทิฏฐินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตก ลงใจ นับถือเองแล้ว ย่อมถึงความวิวาทในโลกยิ่งๆ ขึ้นไป. ก็สัตว์ครั้น รู้โทษในทิฏฐิที่ตกลงใจอย่างนี้แล้ว ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงด้วยอริยมรรค ไม่ทำความบาดหมางกันในโลก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบ เทศนาด้วยธรรมอันเป็นยอด คือพระอรหัต.
บทว่า สยํ ปมาย คือ นับถือตนเอง บทว่า ปมินิตฺวา คือ ทำการ คาดคะเน. ปาฐะว่า ปจินิตฺวา บ้าง บทนั้นไม่ดี. บทว่า อุทฺธํ วาเทน สทฺธึ คือ ทำความทุ่มเถียงกับบุคคลอื่นผู้กล่าวในข้างหน้าของตน.
เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้ตรัสรู้ธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วในปุราเภทสูตร นั่นแล.
จบอรรถกถาจูฬวิยูหสุตตนิเทสที่ ๑๒