มหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓ ว่าด้วยทิฏฐิ
[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 217
อัฏฐกวัคคิกะ
มหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓
ว่าด้วยทิฏฐิ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 66]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 217
มหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๖๐๑] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สมณพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีความอยู่รอบในทิฏฐิ ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้ แหละจริง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว ย่อม ถูกนินทา หรือย่อมได้สรรเสริญ ในเพราะทิฏฐินั้น.
[๖๐๒] คำว่า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในคำว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งนี้ มีความอยู่รอบในทิฏฐิ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เหล่า ใดเหล่าหนึ่งนี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิ ความว่า มีสมณพราหมณ์เหล่าหนึ่งผู้ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ สมณพราหมณ์ เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ ๖๒ อย่าง อย่างใด อย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ เปรียบ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่าย่อมอยู่ในเรือน พวกบรรพชิต ผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือพวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้มีความ อยู่รอบในทิฏฐิ.
[๖๐๓] คำว่า ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง ความว่า ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อม กล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 218
ตายไป ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่ง อื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง.
[๖๐๔] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมถูก นินทา ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมถูกความนินทา ติเตียน ไม่สรรเสริญเลย คือเป็นผู้ถูกชนทั้งหลายนินทาติเตียนไม่สรรเสริญ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อม ถูกนินทา. [๖๐๕] คำว่า หรือย่อมได้สรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น ความว่า หรือว่าย่อมได้ ได้เฉพาะ ประจวบ ประสบ ซึ่งความสรรเสริญ ความ ยกย่อง ความชมเชย เกียรติคุณ ในเพราะทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ ลัทธิของตนนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือย่อมได้สรรเสริญในเพราะ ทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ มีความอยู่รอบใน ทิฏฐิ ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมถูกนินทา หรือย่อมได้สรรเสริญ ในเพราะทิฏฐินั้น.
[๖๐๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็ควรสรรเสริญ นั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ข้าพระองค์ย่อม กล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น ๒ อย่าง บุคคลเห็นโทษแม้ นั้นแล้ว เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า เป็นธรรมชาติ เกษม ไม่พึงวิวาท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 219
[๖๐๗] คำว่า ก็ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ในคำว่า ก็ความ สรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ความว่า ความสรรเสริญ นั้นเป็นส่วนน้อย ต่ำช้า นิดหน่อย ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย. คำว่า ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ความว่า ไม่พอเพื่อยังราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ มัวเมา กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ให้สงบ เข้าไปสงบ ดับ สละคืน ระงับไปทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ให้ สงบ เข้าไปสงบ ดับ สละคืน ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความ สรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส.
ว่าด้วยผลแห่งความวิวาท ๒ อย่าง
[๖๐๘] คำว่า ย่อมกล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น ๒ อย่าง ความว่า ความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่ง กันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกัน เพราะทิฏฐิ ความทุ่มเถียงกันเพราะทิฏฐิ มีผล ๒ อย่าง คือความชนะและแพ้ ความมีลาภและความเสื่อมลาภ ความ มียศและความเสื่อมยศ ความนินทาและความสรรเสริญ สุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัส อารมณ์ที่น่าปรารถนา และอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ความชอบและความชัง ความฟูขึ้นและความฟุบลง ความยินดีและความ ยินร้าย อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์ย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 220
เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศว่ากรรมนั้นให้เป็นไปในนรก เป็น ไปในกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปในวิสัยแห่งเปรต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น ๒ อย่าง.
[๖๐๙] คำว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ในคำว่า บุคคลเห็นโทษแม้ นั้นแล้ว ... ไม่พึงวิวาท ความว่า เห็นพบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้ แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งโทษนั้น ในความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกัน เพราะทิฏฐิ ความทุ่มเถียงกัน เพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษ แม้นั้นแล้ว. คำว่า ไม่วิวาท ความว่า ไม่พึงทำความทะเลาะกัน ไม่พึง ทำความหมายมั่นกัน ไม่พึงทำความแก่งแย่งกัน ไม่พึงทำความวิวาทกัน ไม่พึงทำความทุ่มเถียงกัน คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออกไป สลัดออก พ้น ขาด ไม่เกาะเกี่ยว มีจิตอันทำให้ปราศจากเขตแดน จากความทะเลาะ ความหมายมั่น ความ แก่งแย่ง ความวิวาทและความทุ่มเถียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษ แม้นั้นแล้ว ... ไม่พึงวิวาท.
[๖๑๐] คำว่า เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า เป็นธรรมชาติเกษม ความว่า อมตนิพพาน ได้แก่ความสงบสังขารทั้งปวง ความ สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เรียกว่า ภูมิแห่งความไม่วิวาท. บุคคลเห็น ดู แลดู พินิจ พิจารณาซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทนั้น โดย ความเป็นธรรมชาติเกษม เป็นที่ต้านทาน เป็นที่ลี้ภัย เป็นที่พึ่ง เป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 221
ไม่มีภัย เป็นที่ไม่เคลื่อน เป็นที่ไม่ตาย เป็นที่ดับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า เป็นธรรมชาติเกษม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ข้าพระองค์ย่อมกล่าวผลแห่งวิวาทเป็น ๒ อย่าง บุคคล เห็นโทษแม้นั้นแล้ว เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า เป็นธรรมชาติเกษม ไม่พึงวิวาท.
[๖๑๑] สมมติ (ทิฏฐิ) เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ที่เกิดแต่ปุถุชน บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่ถึงสมมติทั้งปวงเหล่านั้น บุคคล ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงนั้น ไม่ทำความชอบใจในรูป ที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน พึงถึงสังขารธรรมอันควรเข้าถึง อะไรเล่า.
[๖๑๒] คำว่า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในคำว่า สมมติเหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ที่เกิดแต่ปุถุชน ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดย ประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เหล่าใดเหล่า หนึ่งนี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า สมมติ คือทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่าสมมติ. คำว่า ที่เกิดแต่ปุถุชน คือสมมติเหล่านั้นอันปุถุชนให้เกิด หรือว่าอันชนเจ้าทิฏฐิต่างๆ มากให้เกิด ฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่เกิดแต่ปุถุชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมมติเหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ที่เกิดแต่ปุถุชน.
[๖๑๓] คำว่า บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่ถึงสมมติทั้งปวงเหล่านั้น ความว่า บุคคลผู้มีความรู้ ถึงวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 222
ทำลายกิเลส ย่อมไม่ถึง ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งสมมติทั้งปวงเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่ ถึงสมมติทั้งปวงเหล่านั้น.
ว่าด้วยกิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง
[๖๑๔] ชื่อว่า กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึง ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มี กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงนั้น ... พึงถึงสังขารธรรมอันควรเข้าถึงอะไรเล่า ได้แก่ กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง คือ กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือ ตัณหา ๑ กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่อง เข้าถึงคือตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ บุคคลนั้น ละกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ละกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเป็นเครื่องเข้า ถึงคือทิฏฐิ ชื่อว่าไม่มีกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึง พึงเข้าถึง เข้าไปถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูปอะไร เวทนาอะไร สัญญาอะไร สังขารอะไร วิญญาณ อะไร คติอะไร อุปบัติอะไร ปฏิสนธิอะไร ภพอะไร สงสารอะไร วัฏฏะอะไร ว่าเป็นตนของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ไม่มี กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงนั้น ... พึงถึงสังขารธรรมอันควรเข้าถึงอะไรเล่า.
[๖๑๕] คำว่า ไม่ทำความชอบใจในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ความว่า ไม่ทำความชอบใจ ความพอใจ ความรัก ความกำหนัด คือ ไม่ยังความชอบใจเป็นต้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด เฉพาะ ในรูปที่เห็น หรือในความหมดจดเพราะรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ ยิน หรือในความหมดจดเพราะในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 223
ในความหมดจด เพราะอารมณ์ที่ทราบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำ ความชอบใจในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
สมมติเหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ที่เกิดแต่ปุถุชน บุคคลผู้มี ความรู้ ย่อมไม่ถึงสมมติทั้งปวงเหล่านั้น บุคคลผู้ไม่มี กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงนั้น ไม่ทำความชอบใจในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน พึงถึงสังขารธรรมอันควรเข้าถึงอะไร เล่า.
[๖๑๖] พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม สมาทานวัตร แล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวม ว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และความหมดจด แห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้เข้าถึงภพ และ กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด.
ว่าด้วยผู้มีกุศลถึงพร้อมประกอบด้วยธรรม ๔
[๖๑๗] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม ... ได้กล่าว ความหมดจดด้วยความสำรวม ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้ กล่าวอ้างว่าศีลอุดม สมณพราหมณ์พวกนั้นได้กล่าว ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล ด้วย เหตุสักว่าความสำรวม ด้วยเหตุสักว่าความระวัง ด้วยเหตุสักว่าความไม่ ล่วง เหมือนดังปริพาชกบุตรของนางปริพาชิกา ชื่อสมณมุณฑิกา กล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 224
อย่างนี้ว่า ดูก่อนช่างไม้เราย่อมบัญญัติปุริสบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการแลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัต อันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใครๆ ต่อสู้ไม่ได้ ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนช่างไม้ บุคคลในโลกนี้ ย่อมไม่ทำบาปกรรมด้วยกาย ๑ ย่อมไม่กล่าววาจาอันลามก ๑ ย่อมไม่ดำริถึงเหตุที่พึงดำริอันลามก ๑ ย่อม ไม่อาศัยอาชีพอันลามกเป็นอยู่ ๑ ดูก่อนช่างไม้ เราย่อมบัญญัติปุริสบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศล เป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใครๆ ต่อสู้ไม่ได้ฉันใด มีสมณพราหมณ์บางพวกผู้กล่าวอ้างว่าศีลอุดม สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าว ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่ง ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความ พ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล ด้วยเหตุสักว่าความสำรวม ด้วยเหตุสักว่าความระวัง ด้วยเหตุสักว่าความไม่ล่วงฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม ... กล่าวความ หมดจดด้วยความสำรวม.
ว่าด้วยการสมาทานวัตรต่างๆ
[๖๑๘] คำว่า วัตร ในคำว่า สมาทานวัตรแล้วเข้าไปตั้งอยู่ ความว่า สมาทาน ถือเอา รับ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งหัตถิวัตร (ประพฤติ อย่างกิริยาช้าง) อัสสวัตร โควัตร อชวัตร กุกกุรวัตร กากวัตร วาสุ- เทววัตร ปุณณภัททวัตร มณิภัททวัตร อัคคิวัตร นาควัตร สุปัณณวัตร ยักขวัตร อสุรวัตร คันธัพพวัตร มหาราชวัตร จันทวัตร สุริยวัตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 225
อินทวัตร พรหมวัตร เทววัตร หรือทิศวัตร แล้วเข้าไปตั้งอยู่ เข้าไป ตั้งอยู่เฉพาะ. พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมาทานวัตรแล้วเข้าไปตั้งอยู่.
[๖๑๙] คำว่า ในทิฏฐินี้ ในคำว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐิ นี้แหละ และความหมดจดแห่งวัตรนั้น ความว่า ศึกษา ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเต็มใจ สมาทานแล้วประพฤติ ในทิฏฐิ ความควร ความ ชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ศึกษาในทิฏฐินี้แหละ. คำว่า และความหมดจดแห่งวัตรนั้น ความว่า และความหมดจด ความ หมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แห่งวัตรนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และ ความหมดจดแห่งวัตรนั้น.
[๖๒๐] คำว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ ในคำว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ และ กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ เข้าไปใกล้ภพ ติดใจอยู่ใน ภพ น้อมใจไปในภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ. คำว่า และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า มีวาทะว่าเป็นผู้ฉลาด มีวาทะว่าเป็น บัณฑิต มีวาทะว่าเป็นธีรชน มีวาทะว่าเป็นผู้มีญาณ มีวาทะโดยเหตุ มี วาทะโดยลักษณะ มีวาทะโดยการณ์ มีวาทะโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม สมาทานวัตร แล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 226
ว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และความหมดจด แห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เข้าถึงภพ และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด.
[๕๒๑] ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต บุคคลนั้น พลาดกรรมแล้วย่อมหวั่นไหว ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา ถึงความหมดจด เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทัน พวกฉะนั้น.
ว่าด้วยเหตุให้เคลื่อนจากศีลและพรต
[๖๒๒] คำว่า ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต ความว่า บุคคลย่อมเคลื่อนจากศีลและพรตเพราะเหตุ ๒ ประการ คือย่อมเคลื่อน เพราะความชี้ขาดของผู้อื่น ๑ ไม่บรรลุจึงเคลื่อน ๑.
บุคคลย่อมเคลื่อนเพราะความ ขาดของผู้อื่นอย่างไร ผู้อื่นย่อม ชี้ขาดว่า ศาสดานั้นไม่ใช่เป็นสัพพัญญู ธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไม่ดี หมู่คณะไม่ปฏิบัติดี ทิฏฐิไม่เจริญ ปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติไม่ดี มรรค ที่เป็นมรรคนำออกจากทุกข์ ความหมดจดก็ดี ความหมดจดวิเศษก็ดี ความหมดจดรอบก็ดี ความพ้นก็ดี ความพ้นวิเศษก็ดี ความพ้นรอบก็ดี ไม่มีในธรรมนั้น ชนทั้งหลายไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ ไม่พ้นรอบ ในธรรมนั้น คือเป็นผู้เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ผู้อื่นย่อมชี้ขาดอย่างนี้ บุคคลเมื่อผู้อื่นขี้ขาด อย่างนี้ ย่อมเคลื่อนจากศาสดา เคลื่อนจากธรรมที่ศาสดากล่าว เคลื่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 227
จากหมู่คณะ เคลื่อนจากทิฏฐิ เคลื่อนจากปฏิปทา เคลื่อนจากมรรค บุคคลย่อมเคลื่อนเพราะความชี้ขาดของผู้อื่นอย่างนี้.
บุคคลไม่บรรลุย่อมเคลื่อนอย่างไร บุคคลไม่บรรลุศีล ย่อมเคลื่อน จากศีล ไม่บรรลุพรต ย่อมเคลื่อนจากพรต ไม่บรรลุศีลและพรต ย่อม เคลื่อนจากศีลและพรต บุคคลไม่บรรลุย่อมเคลื่อนอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต.
[๖๒๓] คำว่า บุคคลนั้น ... ย่อมหวั่นไหว ในคำว่า บุคคล นั้นพลาดกรรมแล้ว ย่อมหวั่นไหว ความว่า หวั่นไหวสะทกสะท้านอยู่ ว่า ศีลก็ดี พรตก็ดี ศีลและพรตก็ดี เราผิดพลาดคลาดไปแล้ว เราพลั้ง พลาดไปจากอรหัตตผล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้น ... ย่อมหวั่นไหว. คำว่า พลาดกรรม คือบุคคลนั้นย่อมหวั่นไหวสะทกสะท้านอยู่ว่า ปุญญาภิ- สังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อเนญชาภิสังขารก็ดี เราผิดพลั้งพลาด คลาดไปแล้ว เราพลั้งพลาดจากอรหัตตผล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล นั้นพลาดกรรมแล้ว ย่อมหวั่นไหว.
[๖๒๔] คำว่า ย่อมเพ้อถึง ในคำว่า ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา ถึงความหมดจด ความว่า ย่อมเพ้อถึง รำพันถึง ใฝ่ฝันถึงศีลบ้าง พรตบ้าง ศีลและพรตบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเพ้อถึง. คำว่า และปรารถนาถึงความหมดจด ความว่า ปรารถนา ชอบใจ ใฝ่ฝันถึง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง ความหมดจดเพราะพรตบ้าง ความหมดจด เพราะศีลและพรตบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา ถึงความหมดจด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 228
[๖๒๕] คำว่า เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทันพวก ฉะนั้น ความว่า บุรุษผู้ออกจากเรือน อยู่กับพวก ย่อมติดตามพวกนั้น ไป หรือว่าย่อมกลับมาเรือนของตน ฉันใด บุคคลนั้น ผู้ดำเนินไปโดย ทิฏฐิ ย่อมถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งศาสดานั้น หรือศาสดาอื่น ธรรมที่ ศาสดาบอกนั้น หรือธรรมที่ศาสดาบอกอื่น หมู่คณะนั้น หรือหมู่คณะ อื่น ทิฏฐินั้น หรือทิฏฐิอื่น ปฏิปทานั้น หรือปฏิปทาอื่น มรรคนั้น หรือมรรคอื่น ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือน ตามไปไม่ทันพวกฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ถ้าบุคคลผู้เคลื่อนจากศีลหรือพรต บุคคลนั้นพลาด กรรมแล้ว ย่อมหวั่นไหว ย่อมเพ้อถึงและปรารถนาถึง ความหมดจด เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทัน พวกฉะนั้น.
[๖๒๖] อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง ละกรรมนั้นอันเป็น สาวัชชกรรม และอนวัชชกรรม ไม่ปรารถนาความ หมดจด และความไม่หมดจด เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึดถือ ทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป.
[๖๒๗] คำว่า ละศีลและพรตทั้งปวง ความว่า ละ เว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความหมดจดเพราะศีลทั้งหมด ความ หมดจดเพราะพรตทั้งหมด ความหมดจดเพราะศีลและพรตทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละศีลและพรตทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 229
ว่าด้วยสาวัชชกรรม อนวัชชกรรม
[๖๒๘] คำว่า ละกรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม ความว่า กรรมคำมีผลดำ เรียกว่า สาวัชชกรรม กรรมขาวมี ผลขาว เรียกว่า อนวัชชกรรม ละ เว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีซึ่งสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละ กรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม.
[๖๒๙] คำว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด ความว่า พวกปุถุชนย่อมปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาเบญจกามคุณ ย่อม ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรมและเบญจกามคุณ ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาทิฏฐิ ๖๒ ย่อมปรารถนาความ ไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณและทิฏฐิ ๖๒ ย่อม ปรารถนาความหมดจด คือปรารถนากุศลธรรมอันทีในไตรธาตุ ย่อม ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณ ทิฏฐิ ๖๒ และกุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ พวกกัลยาณปุถุชนย่อมปรารถนา ความหมดจด คือปรารถนาความย่างเข้าสู่อริยมรรค พระเสขะย่อม ปรารถนาอรหัตตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้วพระอรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาอกุศลธรรม ไม่ปรารถนาเบญจกามคุณ ไม่ ปรารถนาทิฏฐิ ๖๒ ไม่ปรารถนากุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ ไม่ปรารถนา ความย่างเข้าสู่อริยมรรค ไม่ปรารถนาอรหัตตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ พระอรหันต์ก้าวล่วงความปรารถนาแล้ว ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อม เสียแล้ว ท่านอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 230
มีภพใหม่ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและ ความไม่หมดจด.
[๖๓๐] คำว่า เป็นผู้เว้นแล้ว ในคำว่า เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึดถือทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป ความว่า ละเว้น งดเว้น ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความหมดจดและความไม่หมดจด เป็นผู้มีจิต ทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เว้นแล้ว. คำว่า พึงประพฤติไป ความว่า พึงประพฤติ พึงเที่ยวไป ผลัดเปลี่ยน ดำเนิน ไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เว้นแล้ว ... พึงประพฤติไป. คำว่า ไม่ยึดถือทิฏฐิที่มีอยู่ คือทิฏฐิ ๖๒ เรียกว่าทิฏฐิ ที่มีอยู่ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง ละกรรมนั้นอันเป็น สาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม ไม่ปรารถนาความหมดจด และความไม่หมดจด เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึดถือทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป.
[๖๓๑] พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะที่เกลียดชังนั้น อาศัย รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ผู้กล่าวความ หมดจดในสงสารข้างหน้า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพ น้อยภพใหญ่ ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.
[๖๓๒] คำว่า พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะที่เกลียดชังนั่น ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะเกลียดชังตบะ มีความเกลียด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 231
ชังตบะเป็นสาระ อิง อาศัย พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปสู่ตบะ ที่เกลียดชัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะที่ เกลียดชังนั้นๆ.
[๖๓๓] คำว่า อาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ ทราบ ความว่า อาศัย เข้าไปอาศัย ถือยึดมั่น ถือมั่นรูปที่เห็น หรือ ความหมดจดเพราะรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรือความหมดจดเพราะเสียงที่ ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบหรือความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ.
[๖๓๔] คำว่า ผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า ... ย่อม พร่ำพูดถึงความหมดจด ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกผู้กล่าวความ หมดจดในสงสารข้างหน้า สมณพราหมณ์พวกไหนผู้กล่าวความหมดจดใน สงสารข้างหน้า คือพวกสมณพราหมณ์ผู้ถือความหมดจดโดยส่วนเดียว ถือความหมดจดโดยสงสาร ผู้เป็นกิริยทิฏฐิ ผู้เป็นสัสสตวาทะ สมณพราหมณ์พวกนี้ ชื่อว่าผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า สมณพราหมณ์เหล่านั้น พร่ำถึง กล่าว บอก พูด แสดง แถลงความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น รอบโดยสงสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้าง หน้า ... ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.
[๖๓๕] ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพ น้อยภพใหญ่ คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏ- ฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ความว่า ในภพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 232
น้อยและภพใหญ่ คือในกรรมวัฏฏ์ และวิปากวัฏฏ์ ในกรรมวัฏฏ์เป็นเครื่อง เกิดในกามภพ ในวิปากวัฏฏ์เป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏฏ์เป็น เครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏฏ์เป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏฏ์ เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏฏ์เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความ เกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในความบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อยๆ.
คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา ความว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา ยังไม่หมดตัณหา ยังไม่สละตัณหา ยังไม่สำรอกตัณหา ยังไม่ปล่อยตัณหา ยังไม่ละตัณหา ยังไม่สละคืนตัณหา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยังไม่ปราศจาก ตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ตอบว่า
พวกสมณพราหมณ์ อาศัยตบะที่เกลียดชังนั้น อาศัย รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ผู้กล่าว ความหมดจดในสงสารข้างหน้า ยังไม่ปราศจากตัณหา ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.
[๖๓๖] วัตถุทั้งหลายเป็นของอันผู้ปรารถนาชอบใจ อนึ่ง ความหวั่นไหว ย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนด แล้ว ความเคลื่อนและความเข้าถึงมิได้มีแก่ภิกษุใดใน ธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจ ในที่ไหน (ไม่หวั่นไหว ไม่ชื่ออะไรๆ).
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 233
[๖๓๗] คำว่า วัตถุทั้งหลาย เป็นของอันบุคคลผู้ปรารถนา ชอบใจ ความว่า เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ปรารถนา ความว่า ปรารถนา อยากได้ ยินดี รักใคร่ ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนา. คำว่า ชอบใจ ความว่า ตัณหา เรียกว่าความชอบใจ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นของอันบุคคลผู้ ปรารถนาชอบใจ.
[๖๓๘] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า ความหวั่นไหว ย่อมมี ในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนดแล้ว ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ กำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ แม้บุคคลผู้มีความ หวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุ ย่อมหวั่นไหว คือแม้เมื่อวัตถุกำลังถูก แย่งชิงเอาไป ก็ย่อมหวั่นไหว แต่เมื่อวัตถุถูกแย่งชิงเอาไปแล้ว ก็ย่อม หวั่นไหว แม้บุคคลผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุ ย่อมหวั่นไหว คือแม้เมื่อวัตถุกำลังแปรปรวนไปก็ย่อมหวั่นไหว แม้เมื่อ วัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ย่อมหวั่นไหว สะทกสะท้าน เอนเอียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนดแล้ว.
[๖๓๙] คำว่า แก่ภิกษุใด ในคำว่า ความเคลื่อนและความ เข้าถึงมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ ความว่า ความมา ความไป ความไปและความมา ความตาย คติ ภพน้อยและภพใหญ่ ความเคลื่อน ความเข้าถึง ความเกิด ความแตก ชาติ ชราและมรณะ มิได้มี คือ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่พระอรหันตขีณาสพ คือความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 234
เคลื่อนและความเข้าถึงนั้น อันพระอรหันตขีณาสพตัดขาด สงบ ระงับ แล้ว ทำไม่ควรให้เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความเคลื่อนและความเข้าถึงมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้.
[๖๔๐] คำว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจ ในที่ไหน ความว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรว่า เป็นผู้กำหนัดบ้าง ประทุษร้าย บ้าง หลงใหลบ้าง มีมานะเป็นเครื่องผูกพันบ้าง ยึดถือบ้าง ถึงความ ฟุ้งซ่านบ้าง ถึงความไม่แน่ใจบ้าง ถึงโดยเรี่ยวแรงบ้าง และภิกษุนั้นละ อภิสังขารเหล่านั้นเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารแล้ว พึงหวั่นไหว โดยคติด้วยเหตุอะไรว่า เป็นผู้ไปเกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัญญีสัตว์ เป็นอสัญญีสัตว์ ภิกษุนั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเหตุให้หวั่นไหวสะทกสะท้าน เอนเอียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร. คำว่า พึงชอบใจในที่ไหน ความว่า พึงชอบใจ รักใคร่ พอใจในที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจใน ที่ไหน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
วัตถุทั้งหลาย เป็นของอันบุคคลผู้ปรารถนาชอบใจ อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนด แล้ว ความเคลื่อนและความเข้าถึง มิได้มีแก่ภิกษุใดใน ธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึง ชอบใจในที่ไหน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 235
[๖๔๑] สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็นเยี่ยม แต่สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่า เลว วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริง เล่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตน ว่าเป็นผู้ฉลาด.
[๖๔๒] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็น เยี่ยม ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด อย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็นเยี่ยม.
[๖๔๓] คำว่า แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่าเลว ความว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง แถลงซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นแหละ อย่างนี้ว่า ธรรมนี้ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่ สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่า เลว. [๖๔๔] คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะ จริงเล่า ความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริง แท้ แน่ เป็นจริง เป็นยามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะของ สมณพรหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริงเล่า.
[๖๔๕] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้าง ตนว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งปวงต่างก็อ้าง ตนว่าเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน อ้างตนเป็นผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 236
ญาณ อ้างตนว่ากล่าวโดยเหตุ อ้างตนว่ากล่าวโดยลักษณะ อ้างตนว่ากล่าว โดยการณะ อ้างตนว่ากล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า.
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็นเยี่ยม แต่สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่า เลว วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริงเล่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็น ผู้ฉลาด.
[๖๔๖] ก็สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว พวกสมณพราหมณ์ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน พวก สมณพราหมณ์กล่าวทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง.
[๖๔๗] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์ ความว่า ก็สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน อย่างนี้ว่า ธรรมนี้ บริบูรณ์ เต็มรอบไม่บกพร่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์ บางพวก กล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์.
[๖๔๘] คำว่า แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว ความว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ- ปฏิปทา มรรค ของสมณพราหมณ์อื่น อย่างนี้ว่า ธรรมนี้ เลว ทราม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 237
ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่กล่าวธรรม ของสมณพราหมณ์อื่นว่าเลว.
[๖๔๙] คำว่า ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน ความว่า ถือ ยึดถือ ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิอย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน คือย่อม ทำความทะเลาะกัน ทำความหมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความ วิวาทกัน ทำความทุ่มเถียงกันว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าทานสามารถ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถือทิฏฐิ แม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน.
[๖๕๐] คำว่า กล่าวทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง ความว่า กล่าวว่า โลกเที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่ เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าวทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ตอบว่า
ก็สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว พวกสมณพราหมณ์ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน พวก สมณพราหมณ์กล่าวทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง.
[๖๕๑] หากว่าบุคคลย่อมเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิ ไซร้ ใครๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะ ว่า ปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นธรรมเลว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 238
ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของ ตน.
[๖๕๒] คำว่า หากว่าบุคคลพึงเป็นคนเลวเพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิ ไซร้ ความว่า หากว่าบุคคลอื่นย่อมเป็นคนโง่ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะเหตุถ้อยคำที่ผู้อื่นตำหนิติเตียนค่อนว่าไซร้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หากว่าบุคคลย่อมเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิไซร้.
[๖๕๓] คำว่า ใครๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย ความว่า ใครๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวรในธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษ ในธรรมทั้งหลาย.
[๖๕๔] คำว่า เพราะว่าปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความ เป็นธรรมเลว ความว่า ปุถุชนแม้มากย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนธรรมของปุถุชนมาก ย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนคำของ ปุถุชนคนเดียว โดยความเป็นธรรมเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ปุถุชนแม้คนเดียวย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนธรรม ของปุถุชนมากคน โดยความเป็นธรรมเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ปุถุชนแม้คนเดียวย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนธรรม ของปุถุชนคนเดียว โดยความเป็นธรรมเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะว่าปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่น โดยความเป็นธรรมเลว.
[๖๕๕] ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทาง ดำเนินของตนๆ ในคำว่า ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 239
ทางดำเนินของตน ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าว แข็งแรง กล่าวเที่ยงแท้ในธรรมเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
หากว่าบุคคลย่อมเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิ ไซร้ ใครๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะ ว่าปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นธรรมเลว ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของ คน.
[๖๕๖] ก็การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวก สมณพราหมณ์เป็นของจริง เหมือนดังพวกสมณพราหมณ์ สรรเสริญธรรมเป็นทางดำเนินของตน วาทะทั้งปวงก็พึง เป็นของจริง เพราะความหมดจดของพวกพราหมณ์ เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น.
[๖๕๗] การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ในคำว่า ก็การ บูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวกสมณพราหมณ์ เป็นของ จริง เป็นไฉน พวกสมณพราหมณ์ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ศาสดาของตนว่า ศาสดานี้เป็นสัพพัญญู นี้ชื่อว่าการบูชาธรรมเป็นทาง ดำเนินของตน พวกสมณพราหมณ์ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ธรรมที่ศาสดาของตนบอก หมู่คณะของตน ทิฏฐิของตน ปฏิปทาของ ตน มรรคของตนว่า มรรคนี้เป็นทางให้พ้นทุกข์ นี้ชื่อว่าการบูชาธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 240
เป็นทางดำเนินของตน. คำว่า การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน เป็นของจริง ความว่า การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน เป็นของ จริง แท้ แน่นอน เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวกสมณพราหมณ์ เป็นของจริง.
[๖๕๘] ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทาง ดำเนินของตน ในคำว่า เหมือนดังพวกสมณพราหมณ์สรรเสริญธรรม เป็นทางดำเนินของตน พวกสมณพราหมณ์ย่อมสรรเสริญ ชม ยกย่อง พรรณนาธรรมเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนดัง พวกสมณพราหมณ์สรรเสริญธรรมเป็นทางดำเนินของตน.
[๖๕๙] คำว่า วาทะทั้งปวงก็พึงเป็นของจริง ความว่า วาทะ ทั้งปวงก็พึงเป็นของจริง แท้ แน่นอน เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่ วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะทั้งปวงก็พึงเป็นของจริง.
[๖๖๐] คำว่า เพราะความหมดจดของพวกสมณพราหมณ์ เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น ความว่า ความหมดจด ความ หมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น รอบ ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะความหมดจดของพวกสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น ของเฉพาะตัวเท่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ก็การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวก สมณพราหมณ์เป็นของจริง เหมือนดังพวกสมณพราหมณ์ สรรเสริญธรรมเป็นทางดำเนินของตน วาทะทั้งปวงก็พึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 241
เป็นของจริง เพราะความหมดจดของพวกสมณพราหมณ์ เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น.
[๖๖๑] ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์ (พระอรหันต์) ความตัดสินใจแล้วจึงถือมั่นในธรรม ทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์ จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้วซึ่งความวิวาททั้งหลาย เพราะ พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่น โดยความเป็นธรรม ประเสริฐ.
[๖๖๒] ศัพท์ว่า น ในคำว่า ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำย่อม ไม่มีแก่พราหมณ์ เป็นปฏิเสธ. ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ คือบุคคลชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ ๑ อัน ตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า ญาณอัน บุคคลอื่นพึงแนะนำย่อมไม่มีแก่พราหมณ์ ความว่า ความเป็นผู้มีญาณ อันบุคคลอื่นพึงแน่ะนำย่อมไม่มีแก่พราหมณ์ คือพราหมณ์เป็นผู้มีญาณ อันผู้อื่นไม่ต้องแน่ะนำ ไม่ต้องอาศัยผู้อื่น ไม่เชื่อผู้อื่น ไม่ดำเนินเนื่อง ด้วยผู้อื่น เป็นผู้ไม่หลงใหล มีความรู้สึก มีความระลึกได้ ย่อมรู้ ย่อม เห็นว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็น อนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความ ดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์.
๑. ดูข้อ ๓๕๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 242
[๖๖๓] คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า ความตัดสินใจแล้ว จึงถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่พราหมณ์ ความว่า ในทิฏฐิ ๖๒ ประการ. คำว่า ตัดสินใจแล้ว คือตัดสินใจแล้ว ชี้ขาด ค้นหา แสวงหา เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้วจึงจับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ ถือ ความถือ ความยึดถือ ความ ยึดมั่น ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แน่ แท้ เป็นตาม สภาพ เป็นตามจริง ไม่วิปริตดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นธรรมอันพราหมณ์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ แล้ว ทำให้ไม่ควร เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความตัดสินใจ แล้วจึงถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่พราหมณ์.
[๖๖๔] คำว่า เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้วซึ่ง ความวิวาททั้งหลาย ความว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะการณะ เหตุ ปัจจัย นิทานนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงพร้อม เป็นไปล่วง ซึ่งความทะเลาะ ด้วยทิฏฐิ ความหมายมั่นด้วยทิฏฐิ ความแก่งแย่งด้วย ทิฏฐิ ความวิวาทด้วยทิฏฐิ ความทุ่มเถียงด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้วซึ่งความวิวาททั้งหลาย.
[๖๖๕] คำว่า เพราะพราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความ เป็นธรรมประเสริฐ ความว่า พราหมณ์ย่อมไม่เห็น ไม่พบ ไม่แลเห็น ไม่พินิจ ไม่พิจารณาเห็นซึ่งธรรม คือศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค อื่น นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ ว่าเป็นธรรมประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะพราหมณ์ย่อมไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 243
เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นธรรมประเสริฐ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์ ความตัดสินใจแล้วจึงถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่ พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้ว ซึ่งความวิวาททั้งหลาย เพราะพราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรม อื่น โดยความเป็นธรรมประเสริฐ.
[๖๖๖] สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมเชื่อความหมดจดด้วย ทิฏฐิว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความหมดจดนั้นจริงแท้ หากว่าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ ผู้เห็นนั้นจะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นเล่า พวก สมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วย ทัศนะอื่น.
[๖๖๗] คำว่า ย่อมรู้ ในคำว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความหมด จดนั้นแท้จริง ความว่า เราย่อมรู้ด้วยญาณเครื่องรู้จิตของผู้อื่น หรือย่อม รู้ด้วยญาณเครื่องรู้ระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน คำว่า ย่อมเห็น ความว่า เราย่อมเห็นด้วยมังสจักษุหรือย่อมเห็นด้วยทิพยจักษุ. คำว่า ซึ่ง ความหมดจดนั้นจริงแท้ ความว่า ซึ่งความหมดจดนั้นแน่แท้ เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความ หมดจดนั้นจริงแท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 244
[๖๖๘] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความหมดจดด้วย ทิฏฐิ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยทิฏฐิ คือสมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความหมดจด ความหมดจด วิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วย ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่ง อื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความ หมดจดด้วยทิฏฐิ.
[๖๖๙] คำว่า ได้เห็นแล้ว ในคำว่า หากว่าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่ง ได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้เห็นนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็น นั้นเล่า ความว่า ได้เห็นแล้วด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น ได้รู้แล้วด้วยญาณ เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน ได้เห็นแล้วด้วยมังสจักษุ หรือ ได้เห็นแล้วด้วยทิพยจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หากว่าสมณพราหมณ์ผู้ หนึ่งได้เห็นแล้ว. คำว่า สมณพราหมณ์ผู้เห็นนั้น จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นนั้นเล่า ความว่า สมณพราหมณ์นั้นจะมีประโยชน์อะไรด้วย การเห็นนั้น คือความกำหนดรู้ทุกข์จะมีได้อย่างไร ความละสมุทัยก็ไม่มี ความเจริญมรรคก็ไม่มี ความทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาด ซึ่งราคะก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาดซึ่งโทสะก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาด ซึ่งโมหะก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาดซึ่งกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี ความตัดขาด ซึ่งสังสารวัฏฏ์ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หากสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้ เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้นั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นเล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 245
[๖๗๐] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อนกล่าวความ หมดจดด้วยทัศนะอื่น ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความหมดจดวิเศษ ทางแห่งความหมดจดรอบ ทางขาว ทางขาวรอบ ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ อื่นจากสติปัฏฐาน อื่นจาก สัมมัปปธาน อื่นจากอิทธิบาท อื่นจากอินทรีย์ อื่นจากพละ อื่นจาก โพชฌงค์ อื่นจากอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยทิฏฐิ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าพวกสมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยทัศนะ อื่น อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระพุทธสาวกทั้งหลายก็ดี พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายก็ดี ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งทาง แห่งความไม่หมดจด ทางแห่งความไม่หมดจดวิเศษ ทางแห่งความไม่ หมดจดรอบ ทางแห่งความไม่ขาว ทางไม่ขาวรอบ โดยทิฏฐิแห่งสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ พ้นรอบ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึง ชื่อว่าพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความ หมดจดด้วยธรรมอื่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมเชื่อความหมดจดด้วย ทิฏฐิว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นความหมดจดนั้นจริงแท้ หาก ว่าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้เห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 246
นั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นเล่า พวกสมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยทัศนะ อื่น.
[๖๗๑] นรชนเมื่อเห็นก็เห็นนามรูป หรือเห็นแล้วก็จักรู้นามรูปเหล่านั้นเท่านั้น นรชนเห็นนานรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยแท้ ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความ หมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้นเลย.
[๖๗๒] คำว่า นรชนเมื่อเห็น ในคำว่า นรชนเมื่อเห็นก็เห็นนามรูป ความว่า นรชนเมื่อเห็นด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น เมื่อเห็นด้วยญาณ เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน เมื่อเห็นด้วยมังสจักษุ หรือเมื่อ เห็นด้วยทิพยจักษุ ก็เห็นนามรูปเท่านั้นโดยเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นอัตตา มิได้เห็นความเกิด ความดับ คุณ โทษ หรืออุบาย เครื่องสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อเห็น นามรูป.
[๖๗๓] คำว่า หรือเห็นแล้วก็รู้จักนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น ความว่า ครั้นเห็นแล้วด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น เห็นแล้วด้วยเครื่องระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน เห็นแล้วด้วยมังสจักษุ หรือเห็นแล้วด้วยทิพยจักษุ ก็เห็นเพียงนามรูปเท่านั้น แล้วจักรู้โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็น สุข โดยความเป็นอัตตา จักไม่รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบาย เครื่องสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือเห็นแล้ว ก็จักรู้นามรูปเหล่านั้นเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 247
[๖๗๔] คำว่า เห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยแท้ ความว่า เมื่อเห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง ก็เห็นโดยความเป็นของเที่ยง โดยความ เป็นสุข โดยความเป็นอัตตา โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นนามรูป มากบ้าง น้อยบ้าง โดยแท้.
[๖๗๕] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาด ทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้น ความว่า พวกผู้ฉลาดในขันธ์ ผู้ฉลาดในธาตุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาดใน ปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน ผู้ฉลาด ในอิทธิบาท ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์ ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ พ้นรอบ เพียงความเห็นนามรูป ด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น ด้วยญาณ เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน ด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าว ความหมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้นเลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
นรชนเมื่อเห็นก็เห็นนามรูป หรือเห็นแล้วก็จักรู้นามรูปเหล่านั้นเท่านั้น นรชนเห็นนานรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยแท้ ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความ หมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้นเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 248
[๖๗๕] ก็นรชนผู้กล่าวด้วยถือมั่น เป็นผู้อันใครๆ ไม่พึง แนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิกำหนดไว้ในเบื้องหน้า อาศัยวัตถุใด ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิ นรชน ผู้กล่าวความหมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น.
[๖๗๗] คำว่า ก็นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใครๆ ไม่พึงแนะนำให้ดีได้ ความว่า นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ผู้กล่าวด้วยความถือมั่นว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่ง นี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า เป็นผู้อันใครๆ ไม่พึงแนะนำให้ดีได้ ความว่า นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใครๆ ยากที่จะแนะนำ ได้ ยากที่จะให้รู้ได้ ยากที่จะให้เข้าใจได้ ยากที่จะให้เห็นได้ ยากที่จะ ให้เลื่อมใสได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใครๆ ไม่พึงแนะนำให้ดีได้.
[๖๗๘] คำว่า เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดไว้ในเบื้องหน้า ความว่า เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนด ปรุงแต่ง ตั้งอยู่ดีแล้ว ไว้ในเบื้องหน้า คือทำ ทิฏฐิออกหน้าเที่ยวไป มีทิฏฐิเป็นธงชัย มีทิฏฐิเป็นธงยอด มีทิฏฐิเป็น ใหญ่ ถูกทิฏฐิห้อมล้อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่ กำหนดไว้ในเบื้องหน้า.
[๖๗๙] คำว่า อาศัยวัตถุใด ในคำว่า อาศัยวัตถุใด ก็กล่าว วัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐินั้น ความว่า อาศัย อิงอาศัย พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจ ถึงแล้ว ซึ่งวัตถุ คือศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 249
ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยวัตถุใด. คำว่า ใน เพราะทิฏฐนั้น ความว่า ในเพราะทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ ลัทธิ ของตน. คำว่า ก็กล่าววัตถุนั้นว่างาม ความว่า เป็นผู้กล่าววัตถุนั้นว่างาม กล่าวว่าดี กล่าวว่าเป็นบัณฑิต กล่าวว่าเป็นธีรชน กล่าวว่ามีญาณ กล่าว โดยลักษณะ กล่าวโดยการณะ กล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยวัตถุใด ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิ.
[๖๘๐] คำว่า ผู้กล่าวความหมดจด ในคำว่า ผู้กล่าวความ หมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น ความว่า กล่าวความหมดจด กล่าวความหมดจดวิเศษ กล่าวความหมดจดรอบ กล่าวความขาว กล่าวความขาวรอบ อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีความเห็นความหมดจด มีความ เห็นหมดจดวิเศษ มีความเห็นความหมดจดรอบ มีความเห็นความขาว มีความเห็นความขาวรอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้กล่าวความหมดจด. คำว่า ในทิฏฐินั้น คือในทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน. คำว่า ได้เห็นว่าแท้ ความว่า ได้เห็น ได้พบ ได้ประสบ ได้แทงตลอด ว่า แท้ แน่นอน จริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนผู้กล่าวความหมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ก็นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใครๆ ไม่ พึงแนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดไว้ในเบื้องหน้า อาศัยวัตถุใดก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐินั้น นรชน ผู้กล่าวความหมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 250
[๖๘๑] พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความ กำหนด ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มีตัณหาหรือ ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ย่อม วางเฉยซึ่งสมมติทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือมั่น.
[๖๘๒] ศัพท์ว่า น ในคำว่า พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้วย่อม ไม่เข้าถึงความกำหนด เป็นศัพท์ปฏิเสธ ชื่อว่าพราหมณ์ คือบุคคลชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ อัน ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า ความ กำหนด ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. ญาณ เรียกว่าสังขาร ได้แก่ความรู้ ความ รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. คำว่า พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด ความว่า พราหมณ์ทราบ พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งด้วยญาณ ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความกำหนด ด้วยตัณหา หรือความกำหนด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์ ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด.
[๖๘๓] คำว่า ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 251
เป็นเครื่องผูกเพราะญาณ ความว่า พราหมณ์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ซึ่งทิฏฐิ ๖๒ ประการ ไม่ดำเนิน ไม่ออก ไม่เลื่อน ไม่เคลื่อนไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ถึง ไม่กลับ มาถึงทิฏฐินั้นโดยความเป็นสาระ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้แล่นไป ด้วยทิฏฐิ. คำว่า ทั้งไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ ความ ว่า พราหมณ์ย่อมไม่ทำตัณหาเป็นเครื่องผูก หรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูก คือ ไม่ยังตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้ บังเกิดเฉพาะ เพราะญาณในสมาบัติ ๘ เพราะญาณในอภิญญา ๕ หรือ เพราะญาณที่ผิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มี ตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ.
[๖๘๘] คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ... ซึ่งสมมติ ทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด ความว่า รู้ ทราบ พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไป เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ทิฏฐิ ๖๒ประการ เรียกว่า สมมติ. ทิฏฐิทั้งหลายชื่อว่า ปุถุชชา เพราะทิฏฐิเหล่านั้น อัน ปุถุชนให้เกิด หรือเพราะชนต่างๆ มากให้เกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ... ซึ่งสมมติทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด.
[๖๘๕] คำว่า ย่อมวางเฉย ส่วนพวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือมั่น ความว่า พวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือ ยึดมั่น ถือมั่น ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ส่วนพระอรหันต์ย่อมวาง เฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมวางเฉย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 252
ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือมั่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสตอบว่า
พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความ กำหนด ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มีตัณหาหรือ ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ย่อม วางเฉยซึ่งสมมติทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด ส่วนพวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือมั่น.
[๖๘๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบอีกว่า) มุนีสละแล้วซึ่ง กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อชนทั้งหลายเกิด วิวาทกัน ย่อมไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยธรรมที่ทำให้เป็นพวก มุนีนั้นเมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือมั่น.
[๖๘๗] ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า มุนีสละแล้ว ซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้ ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง คือกิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา พยาบาท สีลัพพัตตปรามาส ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง. ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา. ความอาฆาต ความไม่ยินดี ในถ้อยคำของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คือพยาบาท. ความ ยึดถือศีลพรต หรือทั้งศีลและพรตของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัด ทางกาย คือสีลัพพัตตปรามาส. ทิฏฐิของตน ชื่อว่าเครื่องร้อยรัดทาง กาย คืออิทังสัจจาภินิเวสะ ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง. คำว่า สละแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 253
ความว่า ปล่อยหรือวางแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ความว่า แก้แล้วหรือคลายแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดที่ผูก รัด พัน เหนี่ยว รั้ง เกาะเกี่ยว พัวพัน คล้องไว้ เหมือนชนทั้งหลาย ทำความปลดปล่อย คานหาม รถ หรือเกวียนฉะนั้น. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ความรู้ ความรู้ชัด ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. คำว่า ในโลกนี้ คือในทิฏฐินี้ ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเป็น เครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้.
[๖๘๘] คำว่า เมื่อชนทั้งหลายเกิดวิวาทกัน ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วย ธรรมที่ทำให้เป็นพวก ความว่า เมื่อชนทั้งหลายมีความวิววาทกันเกิดขึ้น เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ คือเมื่อชนทั้งหลายถึงฉันทาคติ ถึงโทสาคติ ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ มุนีย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยสามารถราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ย่อมไม่ดำเนิน ออก เคลื่อน เคลื่อนไป ด้วยธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อชนทั้งหลาย เกิดวิวาทกัน ย่อมไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยธรรมที่ทำให้เป็นพวก.
[๖๘๙] คำว่า สงบ ในคำว่า มุนีนั้น เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบเงียบ ดับ ระงับแล้ว เพราะเป็นผู้มีราคะ โทสะโมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง สงบ เงียบ เข้าไปสงบ เย็น ดับ หายไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบ. คำว่า เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ คือเมื่อชนทั้งหลาย ไม่สงบ ไม่เข้าไปสงบ ไม่เงียบ ไม่ดับ ไม่ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ. คำว่า มุนีนั้น ... เป็นผู้วาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 254
เฉย ความว่า พระอรหันต์เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ คือเห็น รูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติ มีสัมปชัญญะ ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ บุคคลนั้นเป็นผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ฝึกดี แล้ว รอคอยกาลมรณะอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้น เมื่อชนทั้งหลาย ไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย.
[๖๙๐] คำว่า เป็นผู้ไม่ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือ มั่น ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือ ยึดมั่น ถือมั่น ด้วยสามารถ ตัณหา ด้วยสามารถทิฏฐิ พระอรหันต์ย่อมวางเฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือมั่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อชนทั้งหลายเกิดวิวาทกัน ย่อมไม่เป็นผู้แล่นไปด้วย ธรรมที่ทำให้เป็นพวก มุนีนั้น เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือมั่น.
[๖๙๑] มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ไม่เป็น ผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความ ถือมั่น มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดอยู่ในโลก.
[๖๙๒] คำว่า มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ความ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนอดีต เรียกว่า อาสวะอันมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 255
ในก่อน กิเลสเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึงสังขารส่วนอดีต มุนีละ สลัด บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละอาสวะอันมีในก่อน. คำว่า ไม่ทำอาสวะใหม่ ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนปัจจุบัน เรียกว่า อาสวะใหม่. มุนีไม่ทำความพอใจ ไม่ทำความรักใคร่ ไม่ทำความกำหนัด ปรารภถึง สังขารส่วนปัจจุบัน คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้ บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำ อาสวะใหม่.
[๖๙๓] คำว่า ไม่เป็นผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ในคำว่า ไม่ เป็นผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น ความว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยสามารถราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ไม่ดำเนิน ออก เลื่อน เคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็น พวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ดำเนินด้วยความพอใจ. คำว่า ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น ความว่า นรชนเป็นผู้กล่าวด้วยความ ถือมั่นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้แหละ จริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ (ไม่เป็นผู้ กล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนั่น) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ดำเนิน ด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น.
[๖๙๔] คำว่า มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิ ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ อันมุนีนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 256
เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเป็นผู้พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่. คำว่า เป็นธีรชน คือเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทรงจำ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย.
ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี ๒ อย่าง
[๖๙๕] ชื่อว่า ความติด ในคำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อม ติดในโลก ได้แก่ความติด ๒ อย่าง คือความติดด้วยตัณหา ๑ ความติด ด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดตัวตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติด ด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ จึงเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่เข้าไปติด ย่อมไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คือเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่ เกี่ยวข้องแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ติดในโลก. คำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ความว่า บุคคลย่อมติเตียน ได้ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือเพราะกระทำอย่างหนึ่ง เพราะไม่การทำอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างไร บุคคลย่อม ติเตียนตนได้ว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต เราไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ทำมโนสุจริ เราทำปาณาติบาต ฯลฯ เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ทำสัมมาทิฏฐิ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 257
กระทำและเพราะไม่การทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมติเตียนตนว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่ หมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยสติ สัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่ กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ละสมุทัย เราไม่เจริญมรรค เราไม่ทำให้แจ้งซึ่ง นิโรธ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้ มุนี ไม่กระทำกรรมเป็นเหตุ ติเตียน คือไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ติเตียนตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
มุนีละอาสระอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ไม่เป็น ผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความ ถือมั่น มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดอยู่ในโลก.
[๖๙๖] มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่ เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็น ผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มีความกำหนด ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 258
เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าดังนี้.
[๖๙๗] มารเสนา เรียกว่า เสนา ในคำว่า มุนีนั้น กำจัดเสนา แล้วในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความ ผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความ เมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวาย ทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขาร ทั้งปวง ชื่อว่ามารเสนา สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑ ของท่าน ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๒ ของท่าน ความหิวกระหาย เรากล่าวว่าเห็นมารเสนาที่ ๓ ของท่าน ตัณหาเรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๔ ของท่าน ความง่วงเหงาหาวนอน เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๕ ของท่าน ความขลาด เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๖ ของท่าน ความ ลังเลใจ เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๗ ของท่าน ความ ลบหลู่ ความกระด้าง เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๘ ของ ท่าน ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ และยศ ที่ได้ มาโดยหางผิด เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๙ ของท่าน ความยกตนและข่มคนอื่น เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 259
ของท่าน ดูก่อนพระยามาร เสนาของท่านนี้เป็นผู้มีปกติ กำจัดบุคคลผู้มีธรรมดำ คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะมารเสนา นั้นได้ ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้ ความสุข ดังนี้.
เมื่อใด มารเสนาทั้งหมด และกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด อันมุนีชนะ ให้พ่ายแพ้ ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วย อริยมรรค ๔ เมื่อนั้น มุนีนั้น เรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนาแล้ว มุนีนั้น กำจัดเสนาในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ ในอารมณ์ ที่รู้แจ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรม ทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ.
ว่าด้วยภาระ ๓ อย่าง
[๖๙๘] ชื่อว่าภาระ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาด ได้แก่ภาระ ๓ อย่าง คือ ขันธภาระ ๑ กิเลสภาระ ๑ อภิสังขารภาระ ๑.
ขันธภาระเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่า ขันธภาระ.
กิเลสภาระเป็นไฉน ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร ทั้งปวง นี้ชื่อว่า กิเลสภาระ.
อภิสังขารภาระเป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่า อภิสังขารภาระ. ขันธภาระ กิเลสภาระ และ อภิสังขารภาระ เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้ มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 260
ต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อใด เมื่อนั้น มุนีนั้นเรียกว่า เป็นผู้ปลงภาระ ลงแล้ว มีภาระตกไปแล้ว มีภาระอันปลดแล้ว มีภาระอันปล่อยแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีภาระระงับแล้ว.
ว่าด้วยโมเนยยะ ๓ อย่าง
คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความ เป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก ปัญญาเป็นเครื่องคิด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวาง ดุจแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญา เป็นเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญา เป็นเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นดัง ศาสตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคลประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี คือ ผู้ถึงญาณ ที่ชื่อว่าโมนะ โมเนยยะ (ธรรมเครื่องทาความเป็นมุนี) มี ๓ อย่า คือ โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรม ทางใจ ๑.
โมเนยยธรรมทางกายเป็นไฉน การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ความ กำหนดรู้กาย มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในกาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 261
ความดับแห่งการสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย.
โมเนยยธรรมทางวาจาเป็นไฉน การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ความ กำหนดรู้วาจา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา.
โมเนยยธรรมทางใจเป็นไฉน การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า โมเนยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ ความ กำหนดรู้จิต มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในจิต ความ ดับแห่งจิตตสังขาร ความบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนี ผู้เป็นมุนีทางกาย เป็น มุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนี ทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว.
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนีเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นมุนีมี ๖ จำพวก คือ อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี มุนิมุนี. อาคารมุนีเป็นไฉน ชนเหล่าใดเป็นผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 262
อันเห็นแล้วมีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่าอาคารมุนี. อนาคารมุนี เป็นไฉน ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนา อันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่า อนาคารมุนี. พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า เสขมุนี. พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสขมุนี. พระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจเจกมุนี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง เป็นแต่ผู้เปล่า มิใช่ผู้รู้ ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคนที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ฉะนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นมุนี เรียกว่ามุนีโดยเหตุนั้น บุคคลใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ บุคคลนั้นเรียกว่ามุนีโดยเหตุนั้น บุคคล ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษ ในโลก ทั้งปวงทั้งภายในและภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่อง ข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่ายดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดา และมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นมุนี.
คำว่า พ้นขาดแล้ว ความว่า จิตของมุนีพ้น พ้นขาด พ้นวิเศษดี แล้วจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว.
[๖๙๙] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า ไม่มีความกำหนด ไม่ เข้ารูปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ความกำหนด ด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 263
กำหนดด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนด ด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนด ด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดความกำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนด ด้วยทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิด เฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด. คำว่า ไม่เข้าไปยินดี ความว่า พาลปุถุชน ทั้งปวงย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวกรวมทั้ง กัลยาณปุถุชน ย่อมยินดี ยินดียิ่ง ยินดียิ่งเฉพาะ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ส่วนพระอรหันต์เป็นผู้ยินดี ยินดียิ่ง ยินดียิ่งเฉพาะแล้ว คือ เป็นผู้ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี. คำว่า ไม่มีความ ปรารถนา ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ ราคสาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความปรารถนานั้น อันมุนีใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือญาณ มุนีนั้น เรียกว่าผู้ไม่มีความปรารถนา. คำว่า ภควา เป็นเครื่อง กล่าวด้วยความเคารพ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะแล้ว ทำลายโทสะแล้ว ทำลายโมหะแล้ว ทำลายมานะแล้ว ทำลายทิฏฐิแล้ว ทำลายเสี้ยนหนามแล้ว ทำลายกิเลสแล้ว เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก วิเศษ ทรงจำแนกเฉพาะแล้ว ซึ่งธรรมรัตนะ. ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ทรงทำซึ่งที่สุดแห่งภพทั้งหลาย มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 264
ซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อยปราศจาก เสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของ มนุษย์ ควรแก่วิเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์) ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตรอำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 265
พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตตผลใน ลำดับแห่งอรหัตตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำให้แจ่มแจ้งซึ่งอรหัตตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความ ปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือ ในรูป ที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็น ผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มีความกำหนด ไม่ เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าดังนี้ ฉะนี้แล.
จบมหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓
อรรถกถามหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓
พึงทราบวินิจฉัยในมหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้.
แม้บทนี้ว่า เยเกจิเม ทิฏฺิปริพฺพสานา สมณพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งมีความอยู่รอบในทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงทำความ นั้นให้แจ้งแก่เทวดาทั้งหลาย บางพวกที่มีจิตเกิดขึ้นว่า สมณพราหมณ์ เหล่านั้น มีความอยู่รอบในทิฏฐิย่อมได้รับนินทาอย่างเดียวหรือ หรือว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 266
ได้รับความสรรเสริญด้วย จากสำนักของท่านผู้รู้ทั้งหลาย จึงทรงให้ พระพุทธนิมิตตรัสถามพระองค์ แล้วจึงตรัสโดยนัยก่อนนั่นแล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺวานยนฺติ ความว่า ย่อมติดความเนืองๆ ย่อมนำมาบ่อยๆ. บทว่า นินฺทเมว อนฺเวนฺติ ย่อมถูกนินทาอย่างเดียว คือ ย่อมเข้าถึงการติเตียน.
บัดนี้ เพราะพวกเจ้าทิฏฐิทั้งหลาย แม้กล่าวอยู่ว่า นี้เท่านั้นจริง ย่อมได้รับแม้ความสรรเสริญในบางครั้งบางคราว ผลแห่งวาทะ คือความ สรรเสริญนั้นน้อยไม่สามารถเพื่อสงบกิเลสมีราคะเป็นต้นได้ จะกล่าวอะไร ถึงผลแห่งการนินทาครั้งที่สอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง แสดงความนั้น จึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อน มีอาทิว่า ก็ความสรรเสริญนั้นเป็น ของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ข้าพระองค์กล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น ๒ อย่าง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุเว วิวาทสฺส ผลานิ ผลแห่งวิวาท ๒ อย่าง ได้แก่ นินทา และสรรเสริญ หรือความชนะและความแพ้ เป็นต้น อันมีส่วนเสมอกันกับนินทาและสรรเสริญนั้น. บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา คือ เห็นโทษในผลแห่งวิวาทแม้นั้นว่า นินทาเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา เลย ความสรรเสริญน้อยไม่พอเพื่อสงบกิเลสได้เลย. บทว่า เขมาภิปสฺสํ อวิวาทภูมึ๑ คือ เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาท คือนิพพานว่าเป็นธรรมชาติเกษม.
บทว่า อปฺปกํ คือ น้อย. บทว่า ปริตฺตกํ คือ นิดหน่อย. บทว่า โอมกํ คือ ต่ำช้า. บทว่า ลามกํ คือ ลามก. บทว่า สมาย คือ เพื่อ ความสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า อุปสมาย เพื่อเข้าไปสงบ คือเพื่อ
๑. บาลีว่า อวิวาทภุมฺมํ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 267
ความสงบสูงขึ้นรูป. บทว่า วูปสมาย เพื่อสงบวิเศษ คือเพื่อให้จมหายไป. บทว่า นิพฺพาปนาย เพื่อดับ คือเพื่อประโยชน์แก่อมตมหานิพพาน. บทว่า ปฏินิสฺสคฺคาย เพื่อสละคืน คือเพื่อสละกิเลสทั้งหลายด้วยมรรค. บทว่า ปฏิปสฺสทฺธิยา เพื่อระงับ คือไม่พอเพื่อไม่ให้เกิดความระงับ ด้วยผล. เพราะอย่างนี้จึงไม่วิวาทกัน.
พึงทราบคาถาว่า ยากาจิมา ทิฏฐิเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นต้นดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมติโย คือ ทิฏฐิทั้งหลาย. บทว่า ปุถุชฺชา คือ ที่เกิดแต่ปุถุชน. บทว่า โส อุปยํ กิเมยฺย บุคคลนั้น พึงถึงสังขาร ธรรมอันควรเข้าถึงอย่างไรเล่า ความว่า บุคคลนั้น พึงเข้าถึงธรรมแม้ อย่างหนึ่งในบรรดารูปเป็นต้น อันควรเข้าถึงอย่างไรเล่า หรือพึงเข้าถึง ด้วยเหตุไรเล่า. บทว่า ทิฏฺเฐ สุเต ขนฺติมกุพฺพมาโน คือ ไม่ทำความ ชอบใจในรูปที่เห็นและในเสียงที่ฟังอันหมดจดทั้งหลาย.
บทว่า ปุถุชฺชเนหิ ชนิตา วา คือ สมมติเหล่านั้นอันปุถุชนให้เกิด.
บทว่า ตา สมฺมติโย ได้แก่ ทิฏฐิเหล่านั้น. บทว่า ปุถุนานาชเนหิ ชนิตา วา คือ หรือว่าอันเป็นเจ้าทิฏฐิต่างๆ มากให้เกิด. บทว่า เนติ ตัดบทเป็น น เอติ คือ ไม่ถึง. บทว่า น อุเปติ ไม่เข้าถึง คือ ไม่เข้าไปใกล้. บทว่า น อุปคจฺฉติ ไม่เข้าไปถึง คือกลับ. บทว่า นาภินิวิสติ ไม่ยึดมั่น คือไม่เข้าไปตั้งมั่น. นอกเหนือไปจากนี้ พึงทราบ คาถาว่า สีลุตฺตมา สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้สำคัญว่า ศีลอุดม ดังนี้ เป็นต้น ต่อไป.
บทนั้นมีความดังนี้ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกสำคัญว่า ศีลอุดม สมาทานวัตรมีวัตรของช้างเป็นต้น แล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 268
ด้วยความสำรวมว่า ความหมดจดของศาสดานั้น ในทิฏฐินี่แหละ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เข้าถึงภพ สยบอยู่ในภพ ย่อมกล่าวว่าเป็น ผู้ฉลาด. อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่า เป็นผู้ฉลาด คือ มีวาทะ อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ฉลาด. บรรดาสมณพราหมณ์ผู้มีศีลอุดม อย่างนี้ เหล่านั้น สมณพราหมณ์คนใดคนหนึ่งปฏิบัติอย่างนั้น พึงทราบคาถาว่า สเจ จุโต ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรตนี้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป.
บทนั้นมีความดังนี้ ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต คือเป็นผู้ เคลื่อน ด้วยการตัดขาดจากบุคคลอื่น หรือไม่บรรลุ บุคคลนั้นพลาดมรรค คือศีลและพรตนั้น หรือกรรมมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น แล้วย่อมหวั่นไหว ถึงภพ อนึ่ง ย่อมอยาก เพ้อเจ้อ และปรารถนาถึงความหมดจดของศีล และพรตนั้น. เหมือนอะไร. เหมือนบุรุษออกจากเรือนตามไปไม่ทันพวก ฉะนั้น เขาปรารถนาเรือนนั้นหรือพวก ด้วยการชี้ขาดของคนอื่น ถูกคนอื่น ห้ามหรือไม่บรรลุ เพราะเหตุนั้นจึงไม่ยังการปฏิบัตินั้นให้สมบูรณ์ได้. บทว่า ายาปรทฺโธ พลาดจากอรหัตตผล คือ เสื่อมจากนิพพาน หรือจากมรรค.
บทว่า ตํ วา สตฺถํ อนุพนฺธติ คือ ติดตามพวกนั้นไปข้างหลัง ในทุกแห่งหน. พึงทราบคาถาว่า อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง อันเป็นเหตุให้ศีลอุดมหวั่นไหวได้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สาวชฺชานวชฺชํ ละกรรมอันมีโทษและ ไม่มีโทษ คือ อกุศลทั้งหมด และกุศลที่เป็นโลกิยะ. บทว่า เอตํ สุทธึ อสุทฺธินฺติ อปฏฺยาโน ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจดนี้ คือ ไม่ปรารถนาความหมดจด อันได้แก่กามคุณ ๕ เป็นต้น และความ ไม่หมดจด อันได้แก่อกุศลเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 269
บทว่า วิรโต จเร เป็นผู้เว้นแล้ว จึงประพฤติ คือ เป็นผู้เว้นแล้ว จากความหมดจดและความไม่หมดจด พึงปฏิบัติ. บทว่า สนฺติมนุคฺคหาย คือ ไม่ยึดถือทิฏฐิ.
บทว่า กณฺหํ กณฺหวิปากํ กรรมดำมีผลดำ คือ อกุศลกรรมให้ผล เป็นอกุศลวิบาก. บทว่า สุกฺกํ สุกฺกวิปากํ กรรมขาวมีผลขาว คือ กุศล เป็นโลกิยะให้ผลขาว เช่นเดียวกับด้วยตน. บทว่า นิยามาวกฺกนฺตึ คือ ปรารถนาเข้าสู่อริยมรรค.
บทว่า เสกฺขา คือ พระเสขะ ๗ จำพวก. บทว่า อคฺคธมฺมํ คือ ธรรมสูงสุด ได้แก่อรหัตตผล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงการกำจัดวาทะอันหมดจด ด้วยการสำรวมในศีลอุดม ภายนอกจากนี้อย่างนี้ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น และการปฏิบัติของพระอรหันต์ผู้ละศีลและพรตแล้ว บัดนี้เพื่อทรงแสดง วาทะอันบริสุทธิ์ภายนอกโดยประการอื่น จึงตรัสคาถานี้ว่า ตมูปนิสฺสาย พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะนั้น ดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีความดังนี้ มีสมณพราหมณ์แม้พวกอื่นอาศัยตบะที่เกลียด ชังนั้น หรืออาศัยอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดารูปที่เห็นอันหมดจดเป็นต้น เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้าด้วยอกิริยทิฏฐิ ยังไม่ปราศจาก ตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.
บทว่า ตโปชิคุจฺฉวาทา มีวาทะเกลียดชังตบะ คือ สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย มีวาทะละอายต่อบาปด้วยทำความเพียรมีทรมานร่างกายเป็นต้น.
บทว่า ตโปชิคุจฺฉสารา มีความเกลียดชังตบะเป็นสาระ คือมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 270
ความละอายด้วยตบะนั้นเป็นสาระ. บทว่า อุทฺธํสราวาทา คือ กล่าวความ หมดจดด้วยสงสาร.
อธิบายว่า เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้ยังไม่ปราศจากตัณหาอย่างนี้ ยังกล่าวถึงความหมดจด แม้ผู้ใดสำคัญตนว่าถึงความหมดจดแล้ว เมื่อ ผู้นั้นยังปรารถนาวัตถุนั้นๆ ในภพน้อยภพใหญ่ เพราะยังไม่ปราศจาก ตัณหา ย่อมมีความอยากได้อยู่บ่อยๆ นั่นเอง. จริงอยู่ ตัณหาที่บุคคลเสพ เป็นอาจิณ ย่อมเพิ่มความทะเยอทะยานหนักขึ้น ไม่เพียงความอยากอย่าง เดียว แม้ความหวั่นไหวก็ย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนดไว้แล้ว. ท่านอธิบายว่า แม้ความหวั่นไหวก็ย่อมมี ในเพราะวัตถุที่กำหนดไว้ ด้วยตัณหาและทิฏฐิ. พึงเชื่อมความแห่งคาถานี้ว่า การจุติและอุปบัติ ต่อไป ไม่มีแก่ภิกษุใดในศาสนานี้ เพราะปราศจากตัณหาแล้วในภพน้อย และภพใหญ่ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจในที่ไหน ดังนี้.
บทว่า อาคมนํ คือ มาบ่อยๆ. บทว่า คมนํ คือ ไปในภพอื่น จากภพนี้. บทว่า คมนาคมนํ ไปและมา คือไปจากนี้แล้วกลับมาอีก. บทว่า กาลํ คือ ความตาย. บทว่า คติ คือ ควรไปตามคติด้วย อำนาจแห่งการไป.
บทว่า ยมาหุ ธมฺมํ สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็น เยี่ยมดังนี้. เป็นคาถาถาม. เพราะในวาทะเหล่านี้วาทะจริงไม่มีแม้แต่อย่าง เดียว เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นพูดเพียงแต่เห็นอย่างเดียว ฉะนั้น บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนั้น จึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อน ว่า สกํ หิ ธรรมของตนบริบูรณ์ ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 271
ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมตึ คือ ทิฏฐิ. บทว่า อโนนํ คือ ไม่พร่อง. เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านี้ กล่าวธรรมของตนว่า เป็นธรรมบริบูรณ์ กล่าว ธรรมของตนอื่นว่าเลว พึงทราบความว่า หากว่าบุคคลเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีความดังนี้ ผิว่า บุคคลพึงเป็นคนเลว เพราะเหตุที่ผู้อื่น ตำหนิไซร้ ใครๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษ คือ เลิศในธรรมทั้งหลาย เพราะ อะไร เพราะปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่น โดยความเป็นธรรมเลว ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตนเท่านั้น.
บทว่า วมฺภยิตการณา เพราะเหตุที่ผู้อื่นตำหนิ คือ เพราะถูกกำจัด.
บทว่า ครหิตการณา เพราะเหตุที่ผู้อื่นติเตียน คือ เพราะเหตุที่ตน ทำความลามกไว้. บทว่า อุปวทิตการณา เพราะเหตุที่ผู้อื่นค่อนคือด่า.
บทว่า สกายนํ คือ ทางดำเนินของตน. มีอะไรที่จะกล่าวอีก มีดังต่อไปนี้.
พึงทราบคาถาว่า สธมฺมบูชา การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของ ตนต่อไป. บทนั้นมีความดังนี้ ก็แม้การบูชาธรรมของสมณพราหมณ์ เหล่านั้นย่อมเป็นของจริง เหมือนดังพวกเดียรถีย์เหล่านั้นสรรเสริญธรรม เป็นทางดำเนินของตน เพราะพวกเขานับถือบูชาศาสดาเป็นต้นอย่างยิ่ง ผิว่า พวกเขาพึงถือเป็นประมาณในข้อนั้นได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น วาทะ ทั้งหมดก็พึงเป็นของจริง. เพราะอะไร. เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น. ความสำเร็จนั้นย่อมไม่สำเร็จ ในบุคคลอื่น แม้โดยปรมัตถ์ก็ไม่มี. เพราะความหมดจดนั้นเป็นเพียง ยึดถือด้วยความเห็นเท่านั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีปัญญาอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 272
บุคคลอื่นพึงแนะนำ. บทว่า ปจฺจตฺตเมว คือ เฉพาะตัวเท่านั้น. อนึ่ง โดยตรงกันข้าม ผู้ใดชื่อว่า เป็นสมณพราหมณ์ เพราะลอยบาปได้แล้ว พึงทราบคาถาว่า ญาณอันบุคคลอื่นแน่ะนำย่อมไม่มีแก่พราหมณ์นั้น.
บทนั้นมีความดังนี้ ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่ พราหมณ์ เพราะเป็นผู้เห็นชอบแล้วโดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยงดังนี้ แม้ความตัดสินใจแล้วยึดมั่นในธรรม คือทิฏฐิทั้งหลายว่า นี้เท่านั้นจริงดังนี้ก็ไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงก้าวล่วง เสียแล้วซึ่งความทะเลาะกันด้วยทิฏฐิ เพราะพราหมณ์นั้นย่อมไม่เห็นธรรม อื่นโดยความเป็นธรรมประเสริฐ นอกจากสติปัฏฐานเป็นต้น.
บทว่า น ปรเนยฺโย คือ พราหมณ์ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นแนะนำ คือให้รู้. บทว่า ปรปตฺติโย น ปรปจฺจโย คือ ไม่เชื่อผู้อื่น. บทว่า น ปรปฏิพทฺธคู คือ ไม่ดำเนินเนื่องด้วยผู้อื่น.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ชานามิ เราย่อมรู้ดังนี้ เป็นต้นต่อไป. เพราะพราหมณ์ชั้นเยี่ยม (ปรมัตถพราหมณ์) ย่อมไม่เห็น ธรรมอื่น โดยความเป็นธรรมประเสริฐอย่างนี้ก่อน ส่วนเดียรถีย์พวกอื่น รู้อยู่ด้วยปรจิตตญาณ (ญาณรู้ใจผู้อื่น) เป็นต้น แม้เห็นอยู่ แม้กล่าวอยู่ อย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นความหมดจดนี้เป็นของจริง ชื่อว่าย่อมเห็นความ หมดจดด้วยทิฏฐิ. เพราะเหตุไร. เพราะบรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้นหาก ว่าแม้สมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้ได้เห็นเนื้อความ ตามเป็นจริงด้วยปรจิตตญาณเป็นต้นนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็น นั้นของสมณพราหมณ์นั้นเล่า จะทำอะไรได้เล่า จะกำหนดรู้ทุกข์ให้สำเร็จ ได้อย่างไรเล่า หรือว่าพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ล่วงอริยมรรคแม้โดยประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 273
ทั้งปวงอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาการละเหตุแห่งทุกข์เป็นต้น ย่อมกล่าว ความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่น พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงก้าวล่วงเดียรถีย์ เหล่านั้น ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่นนั่นแล.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ปสฺสํ นโร นรชนเมื่อ เห็นดังนี้เป็นต้น. มีอะไรที่จะกล่าวยิ่งกว่านี้อีก มีดังต่อไปนี้. นรชนใด ได้เห็นด้วยปรจิตตญาณเป็นต้น นรชนนั้นเมื่อเห็นก็ย่อมเห็นนามรูปไม่อื่น ไปจากนั้น หรือเห็นแล้วก็รู้จักนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น โดยความเป็นของ เที่ยงหรือโดยความเป็นสุข ไม่เห็นเป็นอย่างอื่น นรชนเมื่อเห็นอย่างนี้ เห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยความเป็นของเที่ยง และโดยเป็นสุข โดยแท้ ถึงอย่างนั้นผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวความหมดจดด้วยความ เห็นนามรูปนั้นเลย.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า นิวิสฺสวาที นรชนผู้กล่าว ด้วยความถือมั่นดังนี้เป็นต้นต่อไป. แม้เมื่อความบริสุทธิ์ไม่มีด้วยความ เห็นนั้น นรชนใดกล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น ความ บริสุทธิ์นั้นเป็นจริง หรืออาศัยความเห็นนั้น ถือความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ กล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง นรชนนั้นเป็นผู้อันใครๆ ไม่พึงแนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดปรุงแต่งแล้วไว้ในเบื้องหน้า นรชนั้นนอาศัยวัตถุใดมีศาสดาเป็นต้น ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะ ทิฏฐินั้น สำคัญตนว่า เราเป็นผู้มีวาทะหมดจด มีวาทะบริสุทธิ์ดังนี้ ได้ เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น คือได้เห็นความไม่วิปริตในทิฏฐิของตนนั้น. อธิบาย ว่า ทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างใด ได้เห็นทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างนั้น ไม่ปรารถนา จะเห็นโดยประการอื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 274
บทว่า นิวสฺสวาที คือ กล่าวเพราะความมั่นใจ. บทว่า ทุพฺพินโย คือ ยากที่จะแนะนำได้. บทว่า ทุปฺปญฺาปโย คือ ยากที่จะให้รู้ คือ ให้ได้อย่างใจได้.
บทว่า ทุนฺนิชฺฌาปโย ยากที่จะให้เข้าใจได้ คือ ยากที่จะให้เข้าใจ บ่อยๆ เพื่อทดสอบใจแล้วถือเอาได้. บทว่า ทุปฺเปกฺขาปโย คือ ยาก ที่จะให้เห็นได้. บทว่า ทุปฺปสาทโย คือ ยากที่ให้จิตเกิดความเลื่อมใส ได้. บทว่า อปสฺสิ ได้เห็นแล้ว คือได้บรรลุปฏิเวธด้วยญาณ. บทว่า ปฏิวชฺฌิ ได้แทงตลอด คือได้บรรลุความตรัสรู้ด้วยจิต. พึงทราบความ ในเดียรถีย์ทั้งหลาย ผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดไว้ในเบื้องหน้าดังต่อไปนี้.
พึงทราบคาถาว่า น พฺราหฺมโณ กปฺปมุเปติ สงฺขํ๑ พราหมณ์ ทราบด้วยญาณแล้วย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความกำหนด ดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขํ๒ ความว่า ทราบแล้ว คือรู้แล้ว. บทว่า นปิ าณพนฺธุ ไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพันเพราะญาณ คือไม่ ทำตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยสมาปัตติญาณเป็นต้น. ในบท นั้นมีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพันเพราะญาณ เพราะมีวิเคราะห์ว่า ไม่มีตัณหาและทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพันอันทำแล้วด้วย ญาณ. บทว่า สมฺมติโย ได้แก่ สมมติคือทิฏฐิ. บทว่า ปุถุชฺชา คือ เป็นแดนเกิดของปุถุชน. บทว่า อุคฺคหณนฺติ มญฺเ คือ สมณพราหมณ์ เหล่าอื่นย่อมถือมั่น. อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือมั่นทิฏฐิ เหล่านั้น. บทว่า อุเปกฺขติ ย่อมวางเฉย คือไม่เพ่งดูตั้งแต่เกิด. มีอะไร ที่กล่าวให้ยิ่งไปอีก มีดังต่อไปนี้.
๑. ๒. ม. สงฺขา แก้เป็น สงฺขาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 275
พึงทราบคาถาว่า วิสชฺช คนฺถานิ มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุคฺคโห คือเว้นจากความถือมั่น. ชื่อ อนุคฺคโห เพราะไม่มีการถือมั่น หรือเพราะ ไม่ถือมั่น. บทว่า คนฺเถ โวสฺสชฺชิตฺวา วา วางกิเลสเครื่องร้อยรัด ทั้งหลาย คือสละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า วิสชฺช สละแล้ว คือละโดยไม่ยึดมั่นอีก. บทว่า คถิเต รัด คือผูกแน่น. บทว่า คนฺถิเต พัน คือพันไว้เหมือนจับด้าย. บทว่า พนฺเธ เหนี่ยวรั้ง คือรั้งไว้อย่างดี. บทว่า วิพนฺเธ เกาะเกี่ยว คือเกาะเกี่ยวหลายอย่าง. บทว่า ปลิพุทฺเธ พัวพัน คือผูกติดกันโดยรอบ. บทว่า พนฺธเน ผูก ไว้ คือผูกไว้ด้วยกิเลส. บทว่า โผฏยิตฺวา คือ คลายแล้ว. บทว่า สชฺชํ๑ วิสชฺชํ กโรนฺติ ทำการปลดปล่อย คือทำให้เป็นของใช้ไม่ได้. บทว่า วิโกปนฺติ คือ ทำให้แหลกไปเป็นชิ้นๆ. มีอะไรที่จะกล่าวยิ่งกว่านั้นอีก มีดังต่อไปนี้.
นรชนเห็นปานนั้นพึงทราบคาถาว่า ปุพฺพาสเว มุนีละอาสวะอันมี ก่อน ดังนี้เป็นต้นต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพาสเว ได้แก่ กิเลสอันเกิดขึ้นปรารภ รูปในอดีตเป็นต้น. บทว่า นเว ไม่ทำอาสวะใหม่ ได้แก่ กิเลสอันเกิดขึ้น ปรารภรูปในปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า น ฉนฺทคู ไม่เป็นผู้ดำเนินไปด้วย ความพอใจ คือไม่ไปด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้น. บทว่า อนตฺตครหี ไม่ เป็นผู้ติเตียนคน คือไม่ติเตียนคนด้วยการกระทำและไม่กระทำ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ติเตียนตน. พึงทราบคาถาต่อไปว่า ส สพฺพธมฺเมสุ มุนีนั้น กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง.
๑. ม. สจฺจํ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 276
ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธมฺเมสุ คือ ในธรรมอันได้แก่ทิฏฐิ ๖๒ อันมีประเภทอย่างนี้ว่า รูปที่เห็นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ปนฺนภาโร คือ เป็นผู้ปลงภาระแล้ว. บทว่า น กปฺปิโย คือ ไม่มี กำหนด. อธิบายว่า ไม่ทำความกำหนดแม้ ๒ อย่าง. บทว่า นูปรโต ไม่เข้าไปยินดี คือไม่มีความพร้อมที่จะเข้าไปยินดีดุจพระเสกขะผู้เป็น กัลยาณปุถุชน. บทว่า น ปตฺถิโย ไม่มีความปรารถนา คือไม่มีความ ทะเยอทะยาน. จริงอยู่ ตัณหา ชื่อว่า ปตฺถิยา เพราะมีความปรารถนา. ชื่อว่า น ปตฺถิโย เพราะไม่มีความปรารถนา. ก่อนหลังจากนี้มี ความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้นๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต. เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุเช่นกับที่กล่าวแล้วใน ปุราเภทสูตร นั่นแล.
จบอรรถกถามหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓