พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40775
อ่าน  717

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 277

อัฏฐกวัคคิกะ

ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 66]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 277

ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔

    [๗๐๐] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้สงัด แสวงหาคุณใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว จึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก ย่อมดับ.

ว่าด้วยปุจฉามี ๓ อย่าง

    [๗๐๑] ชื่อว่า ปุจฉา ในคำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ปุจฉามี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติฉทนาปุจฉา ๑.

    ทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะใดที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่พิจารณา ไม่เทียบเคียง ไม่กระจ่าง ไม่แจ่มแจ้งโดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อจะรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อเทียบเคียง เพื่อกระจ่างเพื่อแจ่มแจ้งซึ่งลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.

    ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะใดที่รู้ เห็น พิจารณาเทียบเคียง กระจ่าง แจ่มแจ้งแล้วโดยปกติ บุคคลย่อมถามเพื่อต้องการสอบสวนลักษณะนั้นกับบัณฑิตอื่นๆ นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.

    วิมติเฉทนาปุจฉาเป็นไฉน บุคคลเป็นผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยเป็นสองทางว่า เป็นอย่างนี้หรือหนอ หรือไม่เป็นอย่างนี้ เป็นอะไรหนอ หรือเป็นอย่างไร บุคคลนั้นถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความเคลือบแคลงสงสัย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา ปุจฉามี ๓ อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 278

ปุจฉาอีก ๓ อย่าง คือ มนุสสปุจฉา ๑ อมนุสสปุจฉา ๑ นิมมิตปุจฉา ๑.

มนุสสปุจฉาเป็นไฉน มนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา คือพวกภิกษุย่อมทูลถาม พวกภิกษุณีย่อม ทูลถาม พวกอุบาสกย่อมทูลถาม พวกอุบาสิกาย่อมทูลถาม พระราชาย่อม ทูลถาม กษัตริย์ย่อมทูลถาม พราหมณ์ย่อมทูลถาม แพศย์ย่อมทูลถาม ศูทรย่อมทูลถาม คฤหัสถ์ย่อมทูลถาม บรรพชิตย่อมทูลถาม นี้ชื่อว่า มนุสสปุจฉา.

อมนุสสปุจฉาเป็นไฉน พวกอมนุษย์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา คือนาคย่อมทูลถาม ครุฑย่อมทูลถาม ยักษ์ย่อมทูลถาม อสูรย่อมทูลถาม คนธรรพ์ย่อมทูลถาม ท้าวมหาราช ย่อมทูลถาม พระอินทร์ย่อมทูลถาม พรหมย่อมทูลถาม เทวดาย่อมทูล

ถาม นี้ชื่อว่าอมนุสสปุจฉา.

นิมมิตปุจฉาเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิตพระพุทธรูป ใด อันสำเร็จด้วยพระหฤทัย มีอวัยวะครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่วิการ พระพุทธนิมิตนั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ตรัสถาม ปัญหา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่านิมมิตปุจฉา ปุจฉามี ๓ อย่างนี้.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงประโยชน์ตน ๑ การถามถึง ประโยชน์ผู้อื่น ๑ การถามถึงประโยชน์ทั้งสองอย่าง ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงประโยชน์ในภพนี้ ๑ การถาม ถึงประโยชน์ในภพหน้า ๑ การถามถึงประโยชน์อย่างยิ่ง ๑.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 279

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงประโยชน์ไม่มีโทษ ๑ การ ถามถึงประโยชน์ไม่มีกิเลส ๑ การถามถึงประโยชน์แห่งธรรมขาว ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงธรรมส่วนอดีต ๑ การถามถึง ธรรมส่วนอนาคต ๑ การถามถึงธรรมส่วนปัจจุบัน ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงธรรมเป็นภายใน ๑ การถาม ถึงธรรมเป็นภายนอก ๑ การถามถึงธรรมทั้งเป็นภายในและภายนอก ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงกุศลธรรม ๑ การถามถึง อกุศลธรรม ๑ การถามถึงอพยากตธรรม ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงขันธ์ ๑ การถามถึงธาตุ ๑ การถามถึงอายตนะ ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงสติปัฏฐาน ๑ การถามถึง สัมมัปปธาน ๑ การถามถึงอิทธิบาท ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงอินทรีย์ ๑ การถามถึงพละ ๑ การถามถึงโพชฌงค์ ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงมรรค ๑ การถามถึงผล ๑ การถามถึงนิพพาน ๑.

คำว่า ขอทูลถามพระองค์ ความว่า ขอทูลถาม ขออ้อนวอน ขอเชื้อเชิญ ขอวิงวอนว่า ขอได้โปรดตรัสบอกธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถามพระองค์.

คำว่า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ความว่า พระสุริยะ เรียกว่า พระอาทิตย์ พระอาทิตย์เป็นโคดมโดยโคตร แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ เป็นโคดมโดยพระโคตร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 280

เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถามพระองค์ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์.

ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง

[๗๐๒] ชื่อว่า วิเวก ในคำว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณ ใหญ่ ดังนี้ วิเวกมี ๓ อย่าง คือ กายวิเวก ๑ จิตตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑.

กายวิเวกเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอัน สงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ เธอเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้ เดียว เข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่หลีกเร้นผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ผู้เดียวเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา นี้ชื่อว่ากายวิเวก.

จิตตวิเวกเป็นไฉน ภิกษุบรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุ ทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุ จตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิต สงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และมานัตตสัญญา บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นพระโสดาบัน มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น เป็นพระสกทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 281

กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็นพระอนาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียดๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็นพระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้น นั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่า จิตตวิเวก.

อุปธิวิเวกเป็นไฉน กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า อุปธิ อมตนิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอกตัณหา เป็นที่ดับตัณหา เป็นที่ออกไปจากตัณหาเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก. ก็กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้ว อย่างยิ่ง อุปธิวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็น วิสังขาร.

คำว่า สันติ ได้แก่สันติบ้าง สันติบทบ้าง โดยอาการอย่างเดียวกัน ก็สันติบทนั้นนั่นแล คือ อมตนิพพาน ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง... เป็นที่ออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัด สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บทใด คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง... เป็นที่ออกจาก ตัณหาเครื่องร้อยรัด บทนั้นเป็นความสงบ เป็นธรรมชาติประณีต อีกอย่างหนึ่ง โดยอาการอื่น ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ เพื่อถูกต้องความสงบ เพื่อทำให้แจ้งความสงบ คือ สติปัฏฐาน ๔

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 282

สัมมัปปธาน อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าสันติบท บทสงบ ตาณบท บทที่ ต้านทาน เลณบท บทที่ซ่อนเร้น สรณบท บทที่พึ่ง อภยบท บทไม่มีภัย อัจจุตบท บทไม่เคลื่อน อมตบท บทไม่ตาย นิพพานบท บทดับตัณหา.

คำว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสวงหาคุณใหญ่ คือทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ สมาธิขันธ์ใหญ่ ปัญญาขันธ์ใหญ่ วิมุตติขันธ์ใหญ่ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความทำลาย กองมืดใหญ่ ความทำลายวิปลาสใหญ่ ความถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ ความปลดเปลื้องโครงคือทิฏฐิใหญ่ ความกำจัดธงคือมานะใหญ่ ความระงับอภิสังขารใหญ่ ความปิดกั้นโอฆะใหญ่ ความปลงภาระใหญ่ ความดับสังสารวัฏใหญ่ ความดับความเดือดร้อนใหญ่ ความระงับความเร่าร้อนใหญ่ ความยกขึ้นซึ่งธงคือธรรมใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อมตนิพพานเป็นปรมัตถ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้อันสัตว์ทั้งหลายที่มีศักดิ์มาก แสวงหา เสาะหา ค้นหาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าเป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดาประทับอยู่ที่ไหน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 283

พระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ แสวงหาคุณใหญ่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหา คุณใหญ่.

[๗๐๓] คำว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว ... ย่อมดับ ความว่า ภิกษุ เห็น พบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง อย่างไรจึงดับ สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ระงับ ซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความ ริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริต ทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อน ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวงของตน. คำว่า ภิกษุ คือภิกษุที่เป็น กัลยาณปุถุชนหรือภิกษุที่เป็นเสขบุคคล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเห็น อย่างไรแล้ว ... ย่อมดับ.

[๗๐๔] คำว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก ความว่า ไม่ถือ มั่น ไม่ยึด ไม่จับต้องด้วยอุปาทาน ๔. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก อายตนโลก. คำว่า สังขารอะไร คือ สังขารอะไร ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถามว่า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณใหญ่ว่า ภิกษุเห็น อย่างไรแล้วจึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก ย่อมดับ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 284

[๗๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาป ธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่อง เนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ก็ตัณหาอย่างใดอย่าง หนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่ง ตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.

ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า

[๗๐๖] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัด บาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้านั่นแหละ ชื่อว่า ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหาและส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ.

รากเหง้าของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหาเป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้า แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา.

รากเหง้าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิเป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้า แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ.

คำว่า ภควา เป็นพระนามเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่าง หนึ่ง คำว่า ภควา ความว่า ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกพิเศษ ทรง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 285

จำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำซึ่งที่สุดแห่งภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิต อันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ ป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจาก เสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่วิเวก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง วิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์) อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง สัญญาภาวหา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมี ส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชชธรรม ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 286

พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตรอำมาตย์ พระญาติ- สาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนานมีในอรหัตตผลในลำดับแห่งอรหัตมัค) เป็น สัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่ง โพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว.

คำว่า พึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง ... อัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ปัญญา เรียกว่า มันตา ได้แก่ความรู้ ความรู้ชัด ฯลฯ ความ ไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. คำว่า อัสมิมานะ คือ อัสมิมานะ อัสมิฉันทะ อัสมิอนุสัย ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ภิกษุพึงกำจัด สกัด ดับ สงบ ปราบปราม ระงับ ซึ่งบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่ง ส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา.

[๗๐๗] คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่าง หนึ่งที่มี ณ ภายใน ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดย ประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า อย่างใด อย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหาคือ รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า มี ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 287

จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน (กับผัสสะเป็นต้น) ตัณหานั้น สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับ ร่วมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใด อย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.

ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ ๔

[๗๐๘] คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ ความว่า ในกาลทุกเมื่อ ใน กาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิตย์ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียว ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาล เป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบ เนื่อง ตลอดกาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด ในกาลก่อนภัต ใน กาลหลังภัต ในยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้าง ขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง ในตอนวัยหลัง.

คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือเมื่อเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานใน ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 288

อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ ไม่มีสติ เพราะเป็นผู้กระทำธรรมทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ เพราะเป็นผู้ กำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมอันเป็น นิมิตแห่งสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔.

อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วย สติ เป็นผู้อยู่ด้วยสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยสติ เพราะเป็นผู้ไม่ หวนกลับจากสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔.

อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ระลึกได้ เพราะ เป็นผู้สงบ เพราะเป็นผู้ระงับ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาตานุสสติ เทวดานุสสติ อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติ.

ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึก กิริยา ที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่าสติ บุคคล เป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสติ.

คำว่า พึงศึกษา ได้แก่สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

อธิศีลสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยใน โทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 289

น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องต้น เป็นเบื้องบาท เป็นความ สำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วย กุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่าอธิศีลสิกขา.

อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุด ขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด แต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ ให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา.

อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านั้นอาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับอาสวะ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา.

คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้น ใน กาลทุกเมื่อ ความว่า ภิกษุพึงศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง คือ เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา เมื่อเห็นก็ พึงศึกษา เมื่อพิจารณาก็พึงศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อน้อมใจเธอ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 290

ด้วยศรัทธาก็พึงศึกษา เมื่อประกอบความเพียรก็พึงศึกษา เมื่อเข้าไปตั้งสติ ก็พึงศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญาก็พึงศึกษา เมื่อรู้ยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งก็พึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ก็พึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละก็พึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญก็พึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา คือประพฤติ ประพฤติ เอื้อเฟื้อ ประพฤติด้วยดี สมาทานประพฤติ เพื่อกำจัด กำจัดเฉพาะ ละ สงบ สละคืน ระงับซึ่งตัณหาเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ เพราะเหตุ- นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุฟังคำจัดบาป ธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่อง เนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ก็ตัณหาอย่างใดอย่าง หนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อกำจัดซึ่ง ตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.

[๗๐๙] ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน หรือเป็นภายนอก ไม่พึงทำความถือตัวด้วยคุณธรรมนั้น เพราะการทำความถือตัวนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่า เป็นความดับกิเลส.

[๗๑๐] คำว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน ความว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมของตนอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นกุศลธรรม หรือ เป็นอัพยากตธรรม.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 291

คุณธรรมของตนเป็นไฉน? ภิกษุเป็นผู้ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออก บวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าคฤหัสถ์และ บรรพชิตทั้งหลาย เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย. เภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร บ้าง ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง ถือการทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง ถือการไม่ฉันภัตหน หลังเป็นวัตรบ้าง ถือการไม่นอนเป็นวัตรบ้าง ถือการอยู่ในเสนาสนะ ที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง ได้ทุติยฌานบ้าง ได้ตติยฌานบ้าง ได้จตุตถฌานบ้าง ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง คุณธรรมเหล่านี้เรียกว่า คุณธรรมของ ตน. ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง แทงตลอดซึ่งคุณธรรมของตน อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่าง หนึ่งที่เป็นภายใน.

คำว่า หรือเป็นภายนอก ความว่า คุณธรรมเหล่านั้น เป็นของ พระอุปัชฌายะหรืออาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือเป็นภายนอก.

[๗๑๑] คำว่า ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น ความว่า ภิกษุไม่พึงทำความรุนแรง คือไม่พึงทำความกระด้าง ไม่พึงทำความถือตัว ไม่พึงทำความเย่อหยิ่ง ไม่พึงทำความจองหอง ด้วยคุณธรรมของตน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 292

หรือด้วยคุณธรรมของคนเหล่าอื่น ไม่พึงให้ความถือตัวเกิดด้วยคุณธรรม นั้น ไม่พึงเป็นผู้กระด้างจองหองหัวสูงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น.

[๗๑๒] คำว่า เพราะทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลาย กล่าวว่าเป็นความดับกิเลส ความว่า การทำความรุนแรงนั้น อันพระพุทธเจ้า พระพุทธสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นสัตบุรุษ ไม่กล่าว ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่บัญญัติ ไม่แต่งตั้ง ไม่เปิดเผย ไม่จำแนก ไม่ทำให้ตื้น ไม่ประกาศว่าเป็นความดับกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะการทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็นความดับ กิเลส เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน หรือ ภายนอก ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะ การทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็น ความดับกิเลส.

[๗๑๓] ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่า เสมอเขา ด้วยคุณธรรมนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่.

ว่าด้วยมานะ (ความสำคัญตัว)

[๗๑๔] คำว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ... ด้วยคุณธรรม นั้น ความว่า ภิกษุไม่พึงยังความถือตัวให้เกิดว่า เราเป็นผู้ดีกว่าเขา ด้วย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 293

ชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความเป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยความเชื้อเชิญ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยหลักวิชา ด้วย วิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ... ด้วยคุณธรรมนั้น.

[๗๑๕] คำว่า ต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเสมอเขา ความว่า ภิกษุ ไม่พึงยังความถือตัว ตกต่ำให้เกิดว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา ด้วยชาติ ด้วย โคตร ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ ไม่พึงยังความถือตัวให้เกิดว่า เราเป็น ผู้เสมอเขา ด้วยขาด ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความ เป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยความเชื้อเชิญ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วย หลักวิชา ด้วยวิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเสมอเขา.

[๗๑๖] คำว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก ความว่า ผู้เพียบพร้อม ห้อมล้อม พรั่งพร้อม ประกอบด้วยอาการหลายอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก.

[๗๑๗] คำว่า ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่ ความว่า ตนเรียกว่า อาตมันไม่พึงกำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนดตน ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่า เสมอเขาด้วยคุณธรรมนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 294

[๗๑๘] ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ไม่พึงแสวงหา ความสงบโดยทางอื่น เมื่อภิกษุสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว อัตตทิฏฐิหรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ.

[๗๑๙] คำว่า ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ความว่า ภิกษุพึงสงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ ซึ่งกิเลส เป็น ภายใน คือราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ กระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงสงบกิเลส เป็นภายในนี้แหละ.

[๗๒๐] คำว่า ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น ความว่า ภิกษุไม่พึงแสวงหา ค้นหา เสาะหา ซึ่งความสงบ ความเข้าไปสงบ ความ เข้าไปสงบวิเศษ ความดับ ความระงับ โดยทางแห่งความไม่หมดจด โดยปฏิปทาผิด โดยธรรมไม่เป็นทางแห่งความพ้นทุกข์อย่างอื่น นอกจาก สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น.

[๗๒๑] คำว่า เมื่อสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว ความว่า เมื่อสงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ ซึ่งกิเลสเป็นภายใน คือราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อ สงบกิเลสเป็นภายในแล้ว.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 295

[๗๒๒] คำว่า นตฺถิ ในคำว่า อัตตทิฏฐิ หรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อม ไม่มีแต่ที่ไหนๆ ดังนี้ เป็นปฏิเสธ. คำว่า อัตตทิฏฐิ คือสัสสตทิฏฐิก็ไม่มี คำว่า นิรัตตทิฏฐิ คืออุจเฉททิฏฐิก็ไม่มี ความถือว่าตนย่อมไม่มี ความ ปล่อยว่าไม่มีตนก็ไม่มี ความถือไม่มีแก่ภิกษุใด ความปล่อยก็ไม่มีแก่ภิกษุ นั้น ความปล่อยไม่มีแก่ภิกษุใด ความถือก็ไม่มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุผู้เป็น อรหันต์ ก้าวล่วงความถือและความปล่อยเสียแล้ว ล่วงเลยความเจริญ และความเสื่อมเสียแล้ว ภิกษุนั้นอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีจรณะอัน ประพฤติแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นมิได้มีความเกิดใหม่ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิ หรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ไม่พึงแสวงหา ความสงบโดยทางอื่น เมื่อภิกษุสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว อัตตทิฏฐิหรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ.

[๗๒๓] คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรสงบ อยู่ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว ฉันนั้น ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหนๆ.

[๗๒๔] คำว่า คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทร สงบอยู่ฉันใด ความว่า โดยส่วนลึก สมุทรลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ น้ำข้าง ล่าง ๔๐,๐๐๐ โยชน์ ย่อมหวั่นไหวเพราะปลาและเต่าทั้งหลาย น้ำข้างบน ๔๐,๐๐๐ โยชน์ ย่อมหวั่นไหวเพราะลม น้ำระหว่างกลาง ๔๐,๐๐๐ โยชน์

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 296

ย่อมไม่หวั่นไหวกำเริบวนไปวนมา ปั่นป่วน ปั่นป่วนพร้อม เป็นสมุทรไม่ หวั่นไหว ไม่เกลื่อนกล่น ไม่กำเริบ ไม่วน ไม่ป่วน ไม่ปั่น สงบอยู่ คลื่นไม่เกิดในระหว่างกลางแห่งสมุทรนั้น เป็นสมุทรนิ่งอยู่ แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าคลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร สมุทรหยุดอยู่ ฉันใด อีกอย่างหนึ่ง สมุทรสีทันดรมีอยู่ในระหว่างภูเขาทั้ง ๗ น้ำใน สมุทรสีทันดรนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวกำเริบ วนไปวนมา ปั่นป่วน ปั่นป่วนพร้อม เป็นสมุทรไม่หวั่นไหว ไม่เกลื่อนกล่น ไม่กำเริบ ไม่วน ไม่ป่วน ไม่ปั่น สงบอยู่ คลื่นไม่เกิดในสมุทรสีทันดรนั้นเป็นสมุทรนิ่งอยู่ แม้ด้วย เหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าคลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร สมุทรหยุด อยู่ ฉันใด.

[๗๒๕] คำว่า เอวํ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ไม่มีความหวั่น ไหวฉันนั้น เป็นอุปไมยเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม. คำว่า เป็นผู้หยุดอยู่ คือภิกษุไม่หวั่นไหว กำเริบ วุ่นวาย สะเทือน สะท้าน ปั่นป่วน แม้ใน เพราะลาภ แม้ในเพราะความเสื่อมลาภ แม้ในเพราะยศ แม้ในเพราะ ความเสื่อมยศ แม้ในเพราะความสรรเสริญ แม้ในเพราะความนินทา แม้ ในเพราะสุข แม้ในเพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุด อยู่ ฉันนั้น. ตัณหาเรียกว่าความหวั่นไหว ในคำว่า ไม่มีความหวั่นไหว ได้แก่ ราคะ สาราคะฯ ลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาที่ชื่อว่า ความหวั่นไหวนั้น อันภิกษุใดละ. ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นเรียกว่า ไม่มีความหวั่นไหว เพราะ เป็นผู้ละความหวั่นไหวเสียแล้ว ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 297

ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหว วุ่นวาย สะเทือน สะท้าน ปั่นป่วน แม้ใน เพราะลาภ ... แม้ในเพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุด อยู่ ไม่มีความหวั่นไหว ฉันนั้น.

กิเลสเครื่องฟู ๗ ประการ

[๗๒๖] ชื่อว่ากิเลสเครื่องฟูขึ้น ในคำว่า ภิกษุไม่ควรทำกิเลส เครื่องฟูขึ้นในที่ไหนๆ ได้แก่ กิเลสเครื่องฟู ๗ ประการ คือกิเลสเครื่อง ฟูขึ้น คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส กรรม ภิกษุไม่ควร ทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นนั้น ไม่พึงให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด เฉพาะ. คำว่า ในที่ไหนๆ คือในที่ไหนๆ ในที่ใดๆ ในที่ทุกๆ แห่ง ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหนๆ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรสงบ อยู่ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว ฉันนั้น ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหนๆ.

[๗๒๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดงสักขิธรรมเครื่องกำจัด อันตราย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสตอบ ปฏิปทา คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 298

ว่าด้วยจักษุ ๕

[๗๒๘] คำว่า ได้ทรงแสดง ในคำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มี พระจักษุแจ่มแจ้งได้ทรงแสดง ความว่า ได้ทรงแสดง แสดงรอบ ตรัส บอก เทศนา บัญญัติ แต่ตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ทรงแสดงแล้ว. คำว่า ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพระจักษุ ๕ ประการ คือมีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยมังสจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วย พุทธจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยสมันตจักษุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร? สี ๕ อย่าง คือสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีดำ และสีขาว มีอยู่ใน พระมังสจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขนพระเนตรทั้งหลายตั้งอยู่เฉพาะใน ที่ใด ที่นั้นมีสีเขียว เขียวสนิท น่าชม น่าดู เหมือนดอกผักตบ ต่อจาก ที่นั้น มีสีเหลือง เหลืองนวล สีเหมือนทองคำ น่าชม น่าดู. เหมือนดอก กรรณิการ์ เบ้าพระเนตรทั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีสีแดง แดงงาม น่าชม น่าดู. เหมือนสีปีกแมลงทับ ที่ท่ามกลางพระเนตร มีสีดำ ดำงาม ไม่หมองมัว สนิท น่าชม น่าดู เหมือนสีสมอดำ (อิฐแก่ไฟ) ต่อจาก ที่นั้น มีสีขาว ขาวงาม เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู เหมือนสีดาว ประกายพรึก พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมังสจักษุนั้นเป็นปกติ เนื่องใน พระวรกาย เกิดขึ้นเพราะสุจริตกรรมในภพก่อน จึงทรงเห็นตลอดโยชน์ หนึ่งโดยรอบทั้งกลางวันทั้งกลางคืน.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 299

แม้เมื่อใด มีมืด ประกอบด้วยองค์ ๔ คือพระอาทิตย์อัสดงคต ไป ๑ วัน อุโบสถมีในกาฬปักษ์ ๑ แนวป่าทึบ ๑ อกาลเมฆใหญ่ตั้งขึ้น ๑ เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ในที่มืด ประกอบด้วยองค์ ๔ แม้เห็นปานนี้ ที่หลุมก็ดี บานประตูก็ดี กำแพงก็ดี ภูเขาก็ดี กอไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี เป็นเครื่องบังการเห็นรูปทั้งหลายย่อมไม่มี หากว่า บุคคลพึงเอางาเมล็ดหนึ่งทำเป็นเครื่องหมายใส่ลงในเกวียนบรรทุก งานั้นแหละขึ้นได้ พระมังสจักษุเป็นปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์ อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยมังสจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณงาม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย ไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านั้นประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ และทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย ประการดังนี้ ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประสงค์ พึงทรงเห็น แม้โลกธาตุหนึ่ง แม้โลกธาตุสอง แม้โลกธาตุสาม แม้โลกธาตุสี่ แม้

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 300

โลกธาตุห้า แม้โลกธาตุสิบ แม้โลกธาตุยี่สิบ แม้โลกธาตุสามสิบ แม้ โลกธาตุสี่สิบ แม้โลกธาตุห้าสิบ แม้โลกธาตุพันหนึ่งเป็นส่วนเล็ก แม้ โลกธาตุสองพันเป็นส่วนปานกลาง แม้โลกธาตุสามพัน แม้โลกธาตุ หลายพัน หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์เท่าใด ก็พึงทรง เห็นเท่านั้น ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยปัญญาจักษุ อย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญารื่นเริง มีพระปัญญาแล่นไป มีพระปัญญาเฉียบแหลม มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ทรงฉลาดในประเภทปัญญา มีพระญาณแตก ฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชญาณ ๔ ทรงทศพลญาณ ทรงเป็นบุรุษผู้องอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็น บุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไปเป็นปกติ มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีปัญญาเป็นทรัพย์ เป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ นำเนืองๆ ผู้ให้รู้จัก ประโยชน์ ผู้ให้เพ่งพิจารณา ผู้เห็นประโยชน์ ผู้ให้แล่นไปด้วยปสาทะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ให้มรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดขึ้นพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มี ใครบอก ทรงรู้ซึ่งมรรค ทรงทราบซึ่งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละ ในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ ดำเนินตามมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสีลาทิคุณในภายหลัง

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 301

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็น ธรรมที่ควรเห็น มีพระจักษุ มีธรรม มีญาณ มีพรหมธรรม ผู้ตรัสบอก ทรงแนะนำ ทรงนำออกซึ่งอรรถ ทรงประทานอมตธรรม เป็นธรรมสามี เป็นพระคถาคต สิ่งที่ไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ในทรงทราบ ไม่ทรงทำให้ แจ่มแจ้ง ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ธรรมทั้งปวง รวมทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมมาสู่ คลองแห่งพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่าประโยชน์ที่ควรแนะนำทุกๆ อย่างที่ควรรู้มีอยู่ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ใน ชาติหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ ประโยชน์ที่ปกปิด ประโยชน์ที่ควรแนะนำ ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์อันผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีต มี พระญาณไม่ขัดข้องในอนาคต มีพระญาณไม่ขัดข้องในปัจจุบัน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพร.่ ภาคจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว บทแห่งธรรมที่ควรแน่ะนำเท่าได้ พระญาณก็เท่านั้นพระญาณเท่าใด บทแห่งธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุด รอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแน่ะนำมีส่วนสุดรอบแห่ง พระญาณ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทแห่งธรรมที่ควรแนะนำ ทาง แห่งบทธรรมที่ควรแน่ะนำก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วน สุดรอบของกันและกัน เมื่อชั้นผอบทั้งสองปิดกันสนิทพอดี ชั้นผอบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 302

ข้างล่างก็ไม่เกินชั้นผอบข้างบน ชั้นผอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผอบข้างล่าง ชั้นผอบทั้งสองชั้น ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บทธรรม ที่ควรแนะนำก็ดี พระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ตั้ง อยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณ ก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมี ส่วนสุดรอบแห่งธรรมที่ควรแนะนำ บทแห่งธรรมที่ควรแนะนำก็มีส่วน สุดรอบแห่งพระญาณ พระญาณไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ใน ส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันนั้น พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วย ความนึก เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว.

พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบใน สัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต อธิมุตติ แห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ใน ปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์ อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายใน พระพุทธญาณ ปลาและเต่าทุกชนิด รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและ ปลาติมิติมิงคละ โดยที่สุด ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร ฉันใด โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 303

เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้น นกทุก ชนิดรวมทั้งครุฑเวนไตรโคตร โดยที่สุดย่อมเป็นไปในประเทศอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอด้วยพระสารีบุตรเถระโดยปัญญา ย่อมเป็นไปในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้น. พระพุทธญาณย่อมแผ่ ปกคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกบัณฑิตที่เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ เหมือน นายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วย ปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้น ปรุงแต่งปัญญาแล้วเข้ามาเผ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหา ปัญหาเหล่านั้น อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสย้อนถามและตรัส แก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงออกและทรงสลัดออก บัณฑิต เหล่านั้น ย่อมเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง ไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญาในที่นั้นโดยแท้แล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยพุทธจักษุ อย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรง เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญา จักษุ มีอินทรีย์แก่กล้ามีอินทรีย์อ่อน มีอาหารดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลก อยู่ ในกอบัวเขียวก็ดี ในกอบัวแดงก็ดี ในกอบัวขาวก็ดี บางเหล่าเกิด ในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัว เขียวก็ดี ดอกบัวแดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่เสมอน้ำ ดอกบัวเขียวก็ดี ดอกบัวแดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่า

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 304

เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ น้ำมิได้ติด แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์ แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ ฉันนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลเหล่านั้นเป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคล นี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอก อสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้ เป็นโทสจริต ย่อมทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเรียน ในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ในการอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสบอกอานาปานสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความ เป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลาย ของตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต ย่อม ตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการ เป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.

สมจริงดังประพันธคาถาว่า

บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ แม้ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดี มีจักษุ โดยรอบ พระองค์มีความโศกไปปราศแล้ว ทรงขึ้นสู่

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 305

ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ขอจงทรงพิจารณาเห็นหมู่- ชนผู้อาเกียรณด้วยความโศก ถูกชาติชราครอบงำอยู่ แล้ว ฉันนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยสมันตจักษุ อย่างไร? พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไปใกล้ ไปไกลดีแล้ว เข้าถึง เข้าถึงดีแล้ว เข้าไปถึง เข้าไปถึงดีแล้ว ประกอบแล้วด้วยสัพพัญญุตญาณ.

สมจริงดังประพันธคาถาว่า

สิ่งอะไรๆ ในไตรโลกธาตุนี้ อันพระปัญญาจักษุของ พระตถาคตนั้นไม่เห็น ย่อมไม่มี อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้ อันพระพุทธญาณไม่รู้แจ้งย่อมไม่มี ธรรมชาติที่ ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตทรงทราบแล้วซึ่งธรรมชาติ ที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึง ชื่อว่า ผู้มีสมันตจักษุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งได้ทรง แสดงแล้ว.

ว่าด้วยสักขิธรรม

[๗๒๙] คำว่า ซึ่งสักขิธรรม ในคำว่า ซึ่งสักขิธรรม เครื่อง กำจัดอันตราย ความว่า ธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์ อันพระองค์ทรง

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 306

ทราบดีเอง มิใช่โดยต้องเชื่อผู้อื่น ว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยได้ยิน ต่อๆ กันมา มิใช่โดยถือตามลำดับสืบๆ กันมา มิใช่โดยอ้างตำรา มิใช่ โดยนึกเดาเอา มิใช่โดยคาดคะเน มิใช่โดยตรึกตามอาการ มิใช่โดยชอบ ว่าควรแก่ทิฏฐิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สักขิธรรม. ชื่อว่าอันตราย ในคำว่า เป็นเครื่องกำจัดอันตราย ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คืออันตราย ปรากฏ ๑ อันตรายปกปิด ๑.

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง

อันตรายปรากฏเป็นไฉน? ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คน ที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว และโรคจักษุ โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลม สลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมงคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิตด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏ- ฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแก่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวด

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 307

ปัสสาวะ ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน อันตรายเหล่านี้เรียกว่า อันตรายปรากฏ.

อันตรายปกปิดเป็นไฉน? กายทุจริต วจีทุริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธไว้ ความลบลู่คุณท่าน ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโออวด ความหัวดื้อ ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความมัวเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวน กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง ลกุสลาภิ- สังขารทั้งปวง อันตรายเหล่านี้เรียกว่า อันตรายปกปิด. ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อะไรจึงชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถ ว่า ครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึง

ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่าอันตรายอย่างไร อันตราย เหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้.

เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตรายอย่างไร? อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ เสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 308

ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ใน ศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติ สัมปชัญญะ ความประกอบเนืองๆ ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไป แห่งกุศลเหล่านี้ เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย อย่างนี้.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย อย่างไร? อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อม เป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู ที่อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่าย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่ที่ ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เพราะ อรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับอาจารย์ ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับอาจารย์ ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอัน ลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิด ขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอันลามก เหล่านั้น ย่อมซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 309

เรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุนี้นั้น ท่านจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วม กับอาจารย์ อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความดำริซ่านไป ในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะได้ยินเสียงด้วย หู เพราะสูดดมกลิ่นด้วยจมูก เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น เพราะถูกต้องโผฏ- ฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามก เหล่านั้น ย่อมซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุนี้นั้น ท่านจึง เรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ ร่วมกับอาจารย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก ผู้อยู่ ร่วมกับอาจารย์ ย่อมอยู่ลำบากไม่ผาสุกอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น เพราะ อรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้.

ธรรม ๓ ประการเป็นมลทินภายใน

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกใน ภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน? คือโลภะเป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็น ข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน โทสะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็น เพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน โมหะเป็นมลทินในภายใน เป็น อมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็น ศัตรูในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็น

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 310

มลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌ- ฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบ ลงแล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

โลภะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิตให้ กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่ รู้สึกภัยนั้น คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็น ธรรม ความโลภย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืด ตื้อย่อมมีในขณะนั้น โทสะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้ เกิด โทสะยังจิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภาย ใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม ความโกรธย่อมครอบงำนรชน. ในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น โมหะยังสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยังจิตให้กำเริบ โมหะ เป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คน หลงย่อมไม่รู้อรรถ คนหลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลง ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีใน ขณะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรม ๓ ประการเป็น

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 311

ไฉน? ได้แก่ธรรมคือโลภะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิด ขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรมคือ โทสะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรมคือโมหะแล เมื่อเกิดขึ้น ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ ความอยู่ไม่ผาสุก ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้น ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ ความอยู่ไม่ผาสุก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัด บุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย อย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ราคะและโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ ทำให้ขนลุก วิตกทางใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้วผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่ ข้อเท้าไว้ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 312

คำว่า เป็นเครื่องกำจัดอันตราย คือเป็นเครื่องกำจัดอันตราย เป็นเครื่องละอันตราย เป็นเครื่องสงบอันตราย เป็นเครื่องสละคืนอันตราย เป็นเครื่องระงับอันตราย เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่ง สักขิธรรมเป็นเครื่องกำจัดอันตราย.

[๗๓๐] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอก ปฏิปทา ความว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา คือขอพระองค์โปรด ตรัสบอก ชี้แจง แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศซึ่งปฏิปทาชอบ ปฏิปทาสมควร ปฏิปทาไม่เป็นข้าศึก ปฏิปทา เป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้ บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบเนืองๆ ในความเป็น ผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และ ปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก ปฏิปทา. พระพุทธนิมิตนั้นทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วว่า ภทฺทนฺเต. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ภัตทันเต ความว่า พระองค์ตรัสบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย ทำให้ตื้น ประกาศแล้วซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นทั้งหมด เป็นธรรมดี เจริญ งาม ไม่มีโทษ ควรซ่องเสพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา.

[๗๓๑] คำว่า ปาติโมกข์ ในคำว่า ปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ ความว่า ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย. คำว่า

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 313

หรือแม้สมาธิ ได้แก่ความตั้งมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งลง ความไม่ แล่นไป ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความเป็นผู้มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้แล่น ไปได้ ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คือปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตจึง ตรัสถามว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรง แสดงสักขิธรรม เครื่องกำจัดอันตราย ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ.

[๗๓๒] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย พึงป้องกันหู จากคามกถา ไม่พึงติดใจในรส ไม่พึงยึดถือสังขาร อะไรๆ ว่าของเราในโลก.

ว่าด้วยผู้โลเลด้วยจักษุ

[๗๓๓] คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ความว่า ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ โลเลด้วยจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุคิดว่า รูปที่ยังไม่ เคยดูเราควรดู รูปที่เคยดูเราควรผ่านไป ดังนี้ เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม สู่สวนแต่สวน สู่บ้านแต่บ้าน สู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้น

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 314

แต่แว่นแคว้น สู่ชนบทแต่ชนบท เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้ไม่ สำรวม เดินไป คือแลดูช้าง แลดูม้า แลดูรถ แลดูพลเดินเท้า แลดู สตรี แลดูบุรุษ แลดูกุมาร แลดูกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุข เรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อย ทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุ เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย จักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถือ อนุพยัญชนะ. ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้ โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้ว ย่อมขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน การขับ การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย เพลงปรบมือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน เล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพ ชนช้าง แข็งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชน นกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้ ฉันนั้น.

ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไป สู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน เป็นผู้สำรวมเดินไป ไม่แลดูช้าง ไม่

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 315

แลดูม้า ไม่แลดูรถ ไม่แลดูคนเดินเท้า ไม่แลดูสตรี ไม่แลดูบุรุษ ไม่ แลดูกุมาร ไม่แลดูกุมารี ไม่แลดูร้านตลาด ไม่แลดูหน้ามุขเรือน ไม่ แลดูข้างบน ไม่แลดูข้างล่าง ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุไม่ เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่ไม่สำรวมแล้วจะเป็น เหตุให้อกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษา จักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วย จักษุ แม้อย่างนี้.

อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้ว ย่อมขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน การขับ การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย ฯลฯ กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้เว้นขาดจากการขวนขวายในการดูการเล่นอัน เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ ภิกษุเป็นผู้ไม่โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

คำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ความว่า พึงละ บรรเทา ทำ ให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือเป็นผู้งดเว้น เว้นขาด ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้นไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความเป็นผู้ โลเลด้วยจักษุ เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ.

ว่าด้วยติรัจฉานกถา

[๗๓๔] ติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ คือเรื่องพระราชา เรื่องโจร

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 316

เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องยาน เรื่อง ที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่อง ทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้น เรียกว่า คามกถา ในคำว่า พึงป้องกันหูจากคามกถา เพราะฉะนั้น จ่งชื่อว่า จากคามกถา. คำว่า พึงป้องกันหู คือพึงป้องกัน ห้าม สกัดกั้น รักษา คุ้มครอง ปิด ตัดขาด ซึ่งหู จากคามกถา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงป้องกันหูจาก คามกถา.

ว่าด้วยรสต่างๆ

[๗๓๕] ชื่อว่า รส ในคำว่า ไม่พึงติดใจในรส ได้แก่รสที่ราก รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รส หวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน มีสมณพราหมณ์บางพวก ติดใจในรส เที่ยวแสวงหารสอันเลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่ เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสงหารสเปรี้ยว ฯลฯ ได้รสเย็นแล้วก็ แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนแล้วก็แสวงหารสเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ได้รสใดๆ แล้ว ย่อมไม่พอใจด้วยรสนั้นๆ ย่อมเที่ยวแสวงหารสอื่นๆ เป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ หลงใหล เกี่ยวข้อง พัวพัน ในรสที่ชอบใจ ความอยากในรสนั้น อันภิกษุใดละ ตัดขาด ฯลฯ เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ย่อมฉันอาหาร

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 317

ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตบแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ฯลฯ ความอยู่ สบายของเราจักมีด้วยอุบายดังนี้ บุคคลทาแผลเพื่อให้แผลหาย หยอด น้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ กินเนื้อบุตรเพื่อจะออกจากทางกันดาร อย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จึงฉันอาหาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ฉันเพื่อเล่น ฯลฯ ความไม่มีโทษและความอยู่ สบายจักมีด้วยอุบายดังนี้ ภิกษุพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มี ซึ่งความอยากในรส คือเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความอยากในรส พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดน กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงติดใจในรส.

ว่าด้วยความถือว่าของเรา

[๗๓๖] ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ในคำว่า ไม่พึงถือสังขาร อะไรๆ ว่าของเราในโลก ได้แก่ความถือ ๒ อย่าง คือความถือว่าของ เราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ ถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ภิกษุ ละความถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่ถือ ไม่จับ ไม่ยึดถือ ไม่ถือมั่นจักษุว่าของเรา ไม่ถือ ไม่จับ ไม่ยึดถือ ไม่ถือมั่น หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 318

อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ว่าของเรา. คำว่า สังขาร อะไรๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรๆ. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงถือสังขารอะไรๆ ว่าของเราในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย พึงป้องกันหู จากคามกถา ไม่พึงติดใจในรส ไม่พึงถือสังขารอะไรๆ ว่าของเราในโลก.[๗๓๗] ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด เมื่อนั้น ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาภพ และ ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว.

ว่าด้วยโรคต่างๆ

[๗๓๘] คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะ คือโรคถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้าแล้ว คือเป็นผู้ถูกโรคจักษุ โรคตา โรคจมูก โรคลิ้น โรค ทางร่างกาย โรคทางศีรษะ โรคในหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรค หืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 319

มงคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดขึ้นแต่ ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดขึ้น แต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดขึ้นแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้าแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะ กระทบเข้าแล้ว เมื่อใด.

[๗๓๙] คำว่า เมื่อนั้น ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหนๆ ความว่า ภิกษุนั้นไม่ควรทำความรำพัน ความร่ำไห้ อาการรำพัน อาการพูดถึง ความเป็นผู้รำพัน ความเป็นผู้พูดถึง ความร่ำไร ความเพ้อ ความ บอกเล่า อาการที่บอกเล่า ความเป็นผู้บอกเล่า คือไม่พึงให้เกิด ไม่ให้ เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ. คำว่า ในที่ไหนๆ คือใน ที่ไหนๆ ในที่ทุกแห่งในภายใน ในภายนอก ทั้งในภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อนั้น ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหนๆ.

[๗๔๐] คำว่า ไม่พึงปรารถนาภพ ความว่า ไม่พึงปรารถนา ไม่พึงปรารถนาทั่ว ไม่พึงปรารถนาเฉพาะ ซึ่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงปรารถนาภพ.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 320

ว่าด้วยภัยและความขลาดกลัว

[๗๔๑] ชื่อว่า ความขลาดกลัว ในคำว่า และไม่หวั่นไหว ในเพราะความขลาดกลัว ความว่า ภัยก็ดี ความขลาดกลัวก็ดี โดย อาการก็อย่างเดียวกัน สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภัย ความ ขลาดกลัวนี้นั้น ย่อมมีมาแน่ ภัยนั้นท่านกล่าวว่ามีวัตถุภายนอกเป็น อารมณ์ คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียม จะทำกรรมชั่ว อนึ่ง โดยอาการอื่น ความกลัว กิริยาที่กลัว ความหวาด หวั่น ความเป็นผู้มีขนลุก อันเกิดแก่จิตในภายใน ความหวาดเสียว ความ สะดุ้งแห่งจิต ภัยแต่ชาติ ภัยแต่ชรา ภัยแต่พยาธิ ภัยแต่มรณะ ภัยแต่ พระราชา ภัยแต่โจร ภัยแต่ไฟ ภัยแต่น้ำ ภัยแต่ความติเตียนตน ภัย แต่ความติเตียนผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ทุคติ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่วังวน ภัยแต่ปลาร้าย ภัยแต่การเลี้ยงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัย แต่ความครั่นคร้ามในประชุมชน ความขลาด ความหวาดหวั่น ความ เป็นผู้มีขนลุก ความหวาดเสียว ความสะดุ้งแห่งจิต เรียกว่าภัย.

คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว คือภิกษุเห็นหรือ ได้ยินวัตถุที่น่ากลัว ไม่พึงสะดุ้งสะทกสะท้าน หวั่นไหว หวาดเสียว ครั้นคร้าม เกรงกลัว ถึงความสะดุ้งกลัว คือพึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป พึงเป็นผู้ละความกลัวความขลาดเสีย ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง หวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสตอบว่า

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 321

ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด เมื่อนั้น ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาภพ และ ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว.

[๗๔๒] ภิกษุได้แล้วซึ่งข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้า ก็ดี ไม่ควรทำการสั่งสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้น ก็ไม่ พึงสะดุ้ง.

ว่าด้วยข้าวน้ำและของควรเคี้ยว

[๗๗๓] คำว่า ข้าว ในคำว่า ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี ได้แก่ ข้าวสุก ขนมกุมมาส สัตตู ปลา เนื้อ. คำว่า น้ำ ได้แก่ ปานะ ๘ อย่าง คือน้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า น้ำผลกล้วยมีเมล็ด น้ำผล กล้วยไม่มีเมล็ด น้ำผลมะซาง น้ำผลจันทน์ น้ำรากบัว น้ำผลลิ้นจี่.

ปานะ ๘ อีกอย่างหนึ่ง คือน้ำผลสะคร้อ น้ำผลกระเบา น้ำผล พุทรา ปานะที่ทำด้วยเปรียง น้ำมัน น้ำข้าวยาคู น้ำนม ปานะที่ทำ ด้วยรส. คำว่า ของควรเคี้ยว ได้แก่ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง ของ ควรเคี้ยวที่ทำเป็นขนม ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยเหง้าไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำ ด้วยเปลือกไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยใบไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยดอกไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยผลไม้. คำว่า ผ้า ได้แก่จีวร ๖ ชนิด คือ ผ้า เปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ เป็นต้น เจือกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยว ก็ดี ผ้าก็ดี.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 322

ว่าด้วยการได้โดยธรรม

[๗๔๔] คำว่า ได้แล้ว ในคำว่า ได้แล้ว ... ไม่ควรทำการสั่งสม ความว่า ได้แล้ว รับแล้ว ได้มาแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว มิใช่ ได้ด้วยความโกหก มิใช่ได้ด้วยความพูดเลียบเคียง มิใช่ได้ด้วยการทำนิมิต มิใช่ได้ด้วยความกำจัดคุณเขา มิใช่ได้ด้วยความแสวงหาลาภด้วยลาภ มิใช่ ได้ด้วยการให้ไม้จริง มิใช่ได้ด้วยการให้ไม้ไผ่ มิใช่ได้ด้วยการให้ใบไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้ดอกไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้ เครื่องอาบน้ำ มิใช่ได้ด้วยการให้จุรณ มิใช่ได้ด้วยการให้ดินเหนียว มิใช่ ได้ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่ได้ด้วยการให้น้ำล้างหน้า มิใช่ได้ด้วยคำพูด มุ่งให้เขารักตน มิใช่ได้ด้วยถ้อยคำเหลาะแหละ มิใช่ได้ด้วยกิริยาประจบ เขา มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้นั่งบนตั่ง (ความตีสนิทเขา) มิใช่ได้ด้วยวิชา ดูพื้นที่ มิใช่ได้ด้วยดิรัจฉานวิชา มิใช่ได้ด้วยวิชาดูลักษณะ มิใช่ได้ด้วย วิชาดูฤกษ์ยาม มิใช่ได้ด้วยการเดินเป็นทูต มิใช่ได้ด้วยความเป็นคนรับใช้ มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้เดินสาสน์ มิใช่ได้ด้วยเวชกรรม มิใช่ได้ด้วยนวกรรม มิใช่ได้ด้วยการให้ก้อนข้าวตอบแทน มิใช่ได้ด้วยการให้และการ เพิ่มให้ แต่ว่าได้แล้ว รับแล้ว ได้มาแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว โดยธรรมสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้แล้ว.

คำว่า ไม่ควรทำการสั่งสม คือ ไม่พึงทำการสั่งสมข้าว การสั่งสม น้ำ การสั่งสมผ้า การสั่งสมยาน การสั่งสมที่นอน การสั่งสมเครื่องหอม การสั่งสมอามิส คือ ไม่ยังการสั่งสมนั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้แล้ว ... ไม่ควรทำการสั่งสม.

[๗๔๕] คำว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง ความว่า

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 323

ภิกษุไม่พึงตกใจ ตื่นเต้น สะดุ้ง กลัว ถึงความหวาดเสียวไปว่า เรา ไม่ได้ข้าว ไม่ได้น้ำ ไม่ได้ผ้า ไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานุปัฏฐาก ไม่ เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏดังนี้ คือ ภิกษุไม่พึงเป็นผู้ขลาด หวาดเสียว ไม่ สะดุ้งกลัว ไม่หนีไป พึงเป็นผู้ละความกลัวและความขลาดเสีย ปราศจาก ความเป็นผู้ขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้น นั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุได้แล้วซึ่งข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้า ก็ดี ไม่ควรทำการสั่งสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้น ก็ไม่ พึงสะดุ้ง.

[๗๔๖] ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึง เว้นขาดจากความคะนอง ไม่พึงประมาทและพึงอยู่ในที่ นั่ง ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย.

ว่าด้วยผู้มีฌาน

[๗๔๗] คำว่า มีฌาน ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึง เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยปฐมฌาน พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยทุติยฌาน พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยตติยฌาน พึงเป็น ผู้มีฌานแม้ด้วยจตุตถฌาน พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานมีวิตกวิจาร พึง

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 324

เป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานไม่มีวิตกมีแต่วิจาร พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌาน ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานมีปีติ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ ด้วยฌานไม่มีปีติ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอันสหรคตด้วยปีติ พึงเป็น ผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอันสหรคตด้วยสุข พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอัน สหรคตด้วยอุเบกขา พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นสุญญตะ พึงเป็นผู้มี ฌานแม้ด้วยฌานเป็นอนิมิตตะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นอัปปณิหิตะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นโลกิยะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็น โลกุตระ คือ เป็นผู้ยินดีแล้วในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี อารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า พึงเป็นผู้มีฌาน.

ว่าด้วยผู้โลเลเพราะเท้า

คำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะ เท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือประกอบ ด้วยความโลเลเพราะเท้า เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม สู่สวนแต่สวน สู่บ้านแต่ บ้าน สู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้นแต่แว่นแคว้น สู่ชนบท แต่ชนบท ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยความโลเลเพราะเท้าในภายใน สังฆาราม ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่งการทำ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ เดินไปสู่บริเวณแต่บริเวณ เดินไปสู่วิหารแต่วิหาร เดินไปสู่เรือนมีหลังคา แถบเดียวแต่เรือนมีหลังคาแถบเดียว เดินไปสู่ปราสาทแต่ปราสาท เดิน

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 325

ไปสู่เรือนหลังคาโล้นแต่เรือนหลังคาโล้น เดินไปสู่ถ้ำแต่ถ้ำ เดินไปสู่ที่ หลีกเร้นแต่ที่หลีกเร้น เดินไปสู่กุฎีแต่กุฎี เดินไปสู่เรือนยอดแต่เรือนยอด เดินไปสู่ป้อมแต่ป้อม เดินไปสู่โรงปะรำแต่โรงปะรำ เดินไปสู่เรือนที่พัก แต่เรือนที่พัก เดินไปสู่เรือนที่เก็บของแต่เรือนที่เก็บของ เดินไปสู่โรงฉัน แต่โรงฉัน เดินไปสู่โรงกลมแต่โรงกลม เดินไปสู่โคนต้นไม้แต่โคนต้นไม้ หรือเดินไปในสถานที่ภิกษุทั้งหลายนั่งกัน เธอเป็นที่สองของภิกษุหนึ่งรูป เป็นที่สามของภิกษุสองรูป เป็นที่สี่ของภิกษุสามรูป ย่อมพูดเรื่องเพ้อเจ้อ มากในที่นั้นๆ คือ เรของพระราชา เรื่องโจร ... เรื่องทะเล เรื่องความ เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้ อย่างนี้.

คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือพึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วย ความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดงกิเลสอยู่ ประพฤติ เอื้อเฟื้อ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติไป รักษา บำรุง เยียวยา ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ชอบในความสงัด ยินดีในความสงัด ขวนขวายในความสงบจิต ณ ภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ใน เรือนว่างเปล่า เป็นผู้มีฌาน ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า.

[๗๔๘] คำว่า ความคะนอง ในคำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท ความว่า แม้ความคะนองมือ ความคะนองเท้า ความ

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 326

คะนองมือและเท้าก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความ เป็นผู้รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ นี้เรียกว่าความรำคาญ.

ว่าด้วยความรำคาญเกิดเพราะเหตุ ๒ ประการ

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ ประการคือเพราะกระทำและไม่การทำ ความ รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและ เพราะไม่การทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโนสุจริต เราทำ ปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำ อทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เราทำกามสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำ มุสาวาท เราไม่ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา เราไม่ได้ ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำเจตนา เครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ได้ทำอนภิชฌา เราทำ พยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำ และไม่กระทำอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 327

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีล เราเป็นผู้ไม่คุ้มครอง ทวารในอินทรีย์ เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่ได้ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ได้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เรา ไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่ได้ กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค เราไม่ได้ทำให้ แจ้งซึ่งนิโรธ.

คำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ความว่า พึงงด เว้น เว้นขาด จากความคะนอง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความ คะนอง คือพึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง กับความคะนอง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า พึงเว้นจากความคะนอง.

ว่าด้วยความไม่ประมาท

คำว่า ไม่พึงประมาท ความว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ไม่ ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ความพอใจ ความพยายาม ความ อุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความ ระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความ เพียรอันพึงตั้งไว้ ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 328

เมื่อไร เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์ ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรม ทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรม นั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึง อนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรม นั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเรา พึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรม นั้นว่า เมื่อไรเราพึงยังวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึง อนุเคราะห์วิมุตติขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรม นั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความ มีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียร เป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรอันพึงตั้งใจ ความตั้งใจ ความ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 329

ประกอบเนืองๆ ในกุศลนั้นว่า เมื่อไร เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่ กำหนดรู้ เราพึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ เราพึงยังมรรคที่ยังไม่เจริญ ให้เจริญ หรือว่าเราพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ดังนี้ ชื่อว่า ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พึง เว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท.

[๗๔๙] บทว่า อถ ในคำว่า และภิกษุพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย เป็นบทสนธิ ฯลฯ ภิกษุย่อมนั่งในที่ใด ที่นั้นเรียกว่าที่ นั่ง ได้แก่ เตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดหญ้า เครื่อง ลาดใบไม้ เครื่องลาดฟาง เสนาสนะเรียกว่าที่นอน ได้แก่ วิหาร เรือน หลังคาแถบเดียว ปราสาทเรือนมีหลังคาโล้น. ถ้ำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นั่ง ในที่นอน. คำว่า ภิกษุพึงอยู่ ... ที่มีเสียงน้อย ความว่า ภิกษุ พึงเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียว า ในเสนาสนะที่มีเสียงน้อย คือมีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากชนผู้สัญจรไป มา ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และภิกษุพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย. เพราะเหตุ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึง เว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาทและพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย.

[๗๕๐] ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียร ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 330

ลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับ ด้วยการประดับ.

ว่าด้วยการแบ่งเวลา

[๗๕๑] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก ความว่า ภิกษุ พึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอน หลับ ๑ ส่วน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก.

[๗๕๒] คำว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม เป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่ง ราตรี พึงสำเร็จสีหไสยา โดยช้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ สัมปชัญญะ ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วย การเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี.

คำว่า ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น คือพึงซ่องเสพ ซ่องเสพพร้อม ซ่องเสพเฉพาะ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงซ่องเสพ ความเป็นผู้ตื่น.

คำว่า มีความเพียร ความว่า วิริยะเรียกว่าความเพียร ได้แก่การ ปรารภความเพียร ความก้าวออก ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง ความทรงไว้ ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความ

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 331

ประคองธุระไว้ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไป ทางจิต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ภิกษุนั้นเรียกว่า มีความ เพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.

ว่าด้วยความเกียจคร้าน

[๗๕๓] ชื่อว่า ความเกียจคร้าน ในคำว่า พึงละเว้นความ เกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไป กับด้วยการประดับ ได้แก่ ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ความ เป็นผู้เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีใจเกียจคร้าน ความขี้เกียจ กิริยาที่ขี้เกียจ ความเป็นคนขี้เกียจ นี้เรียกว่าความเกียจคร้าน. คำว่า ความลวง ความว่า ความประพฤติลวง เรียกว่าความลวง บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติ ทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว ตั้ง ความปรารถนาลามกเพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือย่อมปรารถนาว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา (ว่าเราประพฤติชั่ว) ย่อมดำริว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา คิดว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้ว กล่าววาจา (ว่าตนไม่มีความ ประพฤติชั่ว) คิดว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้ว ก็บากบั่นด้วยกาย.

ความลวง ความเป็นผู้ลวง กิริยาเป็นเครื่องปิดบัง กิริยาที่ซ่อน ความจริง กิริยาที่บังความผิด กิริยาที่ปกปิดความผิด กิริยาที่เลี่ยงความผิด กิริยาที่หลบความผิด กิริยาที่ซ่อนความชั่ว กิริยาที่พรางความชั่ว กิริยา ที่บังความชั่ว กิริยาที่ปกปิดความชั่ว ความทำให้ลับ ความไม่เปิดเผย กิริยาที่คลุมความผิด กิริยาที่ชั่ว นี้เรียกว่าความลวง.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 332

ว่าด้วยการเล่น ๒ อย่าง

คำว่า ความหัวเราะ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม หัวเราะเกินประมาณจนฟันปรากฏ สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหัวเราะเกินประมาณจนฟันปรากฏนี้เป็น กิริยาของเด็ก ในอริยวินัย. ชื่อว่าการเล่น ได้แก่การเล่น ๒ อย่าง คือการ เล่นทางกาย ๑ การเล่นทางวาจา ๑

การเล่นทางกายเป็นไฉน ชนทั้งหลายย่อมเล่นช้างบ้าง เล่นม้า บ้าง เล่นรถบ้าง เล่นธนูบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง เล่น หมากรุกแถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่น หมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เห็นรูปต่างๆ บ้างๆ เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นกังหันบ้าง เล่นตวงทรายบ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่น ธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายกันบ้าง เล่นทายใจกันบ้าง เล่นเลียนคน ขอทานบ้าง นี้ชื่อว่าการเล่นหางกาย.

การเล่นทางวาจาเป็นไฉน เล่นตีกลองปาก เล่นพิณพาทย์ปาก เล่นรัวกลองด้วยปาก เล่นผิวปาก เล่นกระเดาะปาก เล่นเป่าปาก เล่น ซ้อมเพลง เล่นโห่ร้อง เล่นร้องเพลง เล่นหัวเราะกัน นี้ชื่อว่าการเล่น ทางวาจา.

ว่าด้วยเมถุน

ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาวบ้าน ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำชำระเป็นส่วนสุด ธรรมที่

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 333

ทำในที่ลับ ธรรมเป็นความถึงพร้อมแห่งคนคู่ๆ กัน เพราะเหตุไร บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม ธรรมของคนคู่กันผู้กำหนัด กำหนัดนัก ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียว กันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม คน สองคนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความหมายมั่นกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความอื้อฉาว เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนพูดกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนปราศรัย กัน เรียกว่าคนคู่กัน ฉันใด ธรรมของคนคู่กันผู้กำหนัด กำหนัดนัก ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียว กันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม ฉันนั้น.

ว่าด้วยการประดับ ๒ อย่าง

ชื่อว่าการประดับ ได้แก่การประดับมีอยู่ ๒ อย่าง คือการประดับ ของคฤหัสถ์ ๑ การประดับของบรรพชิต ๑

การประดับของคฤหัสถ์เป็นไฉน การแต่งผม การแต่งหนวด การทัดดอกไม้ การประพรมเครื่องหอม การย้อมผิว การแต่งเครื่อง ประดับ การแต่งเครื่องแต่งตัว การนุ่งห่มผ้าสวยงาม การประดับข้อมือ การทรงผ้าโพก การอบตัว การนวดตัว การอาบน้ำ การตัดตัว การ ส่องกระจก การแต้มตา การสวมพวงดอกไม้ การทาปาก การเจิมหน้า การผูกข้อมือ การเกล้าผม การใช้ไม้เท้า การใช้ทะนาน การใช้ดาบ การใช้ร่ม การสวมรองเท้าที่งาม การสวมเขียงเท้า การติดกรอบหน้า

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 334

การปักปิ่น การใช้พัด การนุ่งห่มผ้าขาว การนุ่งห่มผ้าชายยาว นี้ชื่อว่า การประดับของคฤหัสถ์.

การประดับของบรรพชิตเป็นไฉน การตกแต่งจีวร การตกแต่ง บาตร หรือการตกแต่ง การประดับ การเล่นสนุก ในการประดับ การ เพลินในการประดับ การปรารถนาในการประดับ ความชอบใจในการ ประดับ กิริยาที่ประดับ ความเป็นแห่งการประดับ ซึ่งกายอันเปื่อยเน่านี้ หรือบริขารทั้งหลายอันเป็นภายนอก นี้ชื่อว่าการประดับของบรรพชิต.

คำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การ เล่นเมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ ความว่า พึงละเว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ คือทั้งบริวาร ทั้ง บริภัณฑ์ ทั้งบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการ ประดับ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียร ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความ ลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับ ด้วยการประดับ.

[๗๕๔] ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การ ทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ไม่พึงซ่อง-

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 335

เสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และ การรักษาโรค.

ว่าด้วยการทำอาถรรพณ์

[๗๕๕] คำว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ความว่า พวกคน ที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ ย่อมประกอบการทำอาถรรพณ์ คือเมื่อนครถูกล้อม หรือเมื่อสงครามตั้งประชิดกัน ย่อมทำให้เสนียดจัญไรเกิดขึ้น ให้อุปัทวะ เกิดขึ้น ให้โรคเกิดขึ้น ให้โรคจุกเสียดเกิดขึ้น ให้โรคลงรากเกิดขึ้น ให้โรคไข้เชื่อมซึมเกิดขึ้น ให้โรคบิดเกิดขึ้น ในพวกข้าศึกที่เป็นศัตรูกัน พวกชนที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ ย่อมประกอบการทำอาถรรพณ์อย่างนี้.

ว่าด้วยการทำนายฝัน

พวกชนที่ทำนายฝัน ย่อมทำนายฝันว่า คนฝันเวลาเช้า จะมีผล อย่างนี้ คนฝันเวลาเที่ยง จะมีผลอย่างนี้. คนฝันเวลาเย็น จะมีผลอย่างนี้ คนฝันยามต้น จะมีผลอย่างนี้ คนฝันยามกลาง จะมีผลอย่างนี้ คนฝัน ยามหลัง จะมีผลอย่างนี้ คนนอนข้างขวาฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอน ข้างซ้ายฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอนหงายฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอน คว่ำฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นพระจันทร์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝัน เห็นพระอาทิตย์ จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นพาสมุทร จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นขุนเขาสิเนรุราช จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นช้าง จะมีผลอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 336

ฝันเห็นรถ จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นพลเดินเท้า จะมีผลอย่างนี้ คน ฝันเห็นหมู่เสนา จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นสระที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ พวกชนที่ ทำนายฝัน ย่อมทำนายฝันอย่างนี้.

ว่าด้วยการทำนายลักษณะ

พวกชนที่ทำนายลักษณะ ย่อมทำนายลักษณะ คือลักษณะแก้ว ลักษณะไม้เท้า ลักษณะผ้า ลักษณะดาบ ลักษณะศร ลักษณะธนู ลักษณะ อาวุธ ลักษณะสตรี ลักษณะบุรุษ ลักษณะกุมารี ลักษณะกุมาร ลักษณะ ทาสี ลักษณะทาส ลักษณะช้าง ลักษณะม้า ลักษณะกระบือ ลักษณะ โค ลักษณะแพะ ลักษณะแกะ ลักษณะไก่ ลักษณะนกคุ่ม ลักษณะเหี้ย ลักษณะช่อฟ้า ลักษณะเต่า ลักษณะมฤค พวกชนที่ท่านายลักษณะ ย่อม ทำนายลักษณะอย่างนี้.

ว่าด้วยการดูฤกษ์

พวกชนที่ดูฤกษ์ ย่อมตรวจดูฤกษ์ว่า ฤกษ์มีอยู่ ๒๘ ฤกษ์ งาน มงคลขึ้นบ้านใหม่ พึงทำโดยฤกษ์นี้ งานมงคลผูกเครื่องประดับ พึงทำ โดยฤกษ์นี้ งานมงคลแต่งงาน พึงทำโดยฤกษ์นี้ งานมงคลปลูกพืช พึง ทำโดยฤกษ์นี้ งานมงคลอยู่เรือน พึงทำโดยฤกษ์นี้ พวกชนผู้ดูฤกษ์ ย่อมตรวจดูฤกษ์อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 337

คำว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทาย ลักษณะ และการดูฤกษ์ ความว่า ไม่พึงประกอบ คือไม่พึงประพฤติ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงยึดถือประพฤติ ซึ่งการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ อีกอย่างหนึ่ง ไม่ควรยึด ไม่ควรถือ ไม่ควรทรงจำไว้ ไม่ควรเข้าไปทรงจำไว้ ไม่ควรเข้าไปกำหนด ไม่ควรประกอบ ซึ่งการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์.

ว่าด้วยการทำนายเสียงนกและเนื้อ

[๗๕๖] เสียงเนื้อและเสียงนก เรียกว่าเสียร้อง ในคำว่า ภิกษุ ผู้นับถือไม่พึงซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค ความว่า พวกชนที่รู้เสียงเนื้อและนก ย่อมทำนายเสียง เนื้อและนก คือย่อมรู้เสียงร้องเสียงเจรจากัน แห่งนกหรือสัตว์สี่เท้า พวก ชนที่รู้เสียงเนื้อและนก ย่อมทำนายเสียงเนื้อและนกอย่างนี้.

ว่าด้วยครรภ์ไม่ตั้งด้วยเหตุ ๒ ประการ

พวกชนปรุงยาให้ตั้งครรภ์ ย่อมยังครรภ์ให้ตั้งขึ้น ครรภ์ย่อมไม่ ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือด้วยเหล่าตัวสัตว์ ๑ ด้วยลมกำเริบ ๑ พวก ชนที่ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ ย่อมให้ยาเพื่อบำบัดเหล่าตัวสัตว์ หรือเพื่อบำบัด ลมกำเริบ พวกชนที่ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ ย่อมยังครรภ์ให้ตั้งขึ้นอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 338

ว่าด้วยการรักษาโรค

ชื่อว่าการรักษาโรค ได้แก่การรักษาโรค ๕ อย่าง คือรักษาทางตา รักษาทางผ่าตัด รักษาทางยา รักษาทางภูตผี รักษาทางกุมาร. คำว่า ภิกษุผู้นับถือ คือภิกษุผู้นับถือพระพุทธเจ้า ผู้นับถือพระธรรม ผู้นับถือ พระสงฆ์ ภิกษุผู้นับถือนั้น ย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรับบุคคลนั้น สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หลอกลวง กระด้าง พูด เหลาะแหละ ชอบตกแต่ง มีมานะสูง เหมือนไม้อ้อ ไม่มีสมาธิ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไม่นับถือเรา เป็นผู้ปราศไปจาก ธรรมวินัยนี้ และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ไม่หลอกลวง ไม่พูดเหลาะ แหละ มีปัญญา ไม่กระด้าง มีสมาธิดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้นับถือเรา เป็นผู้ไม่ปราศไปจากธรรมวินัย และย่อมถึงความ เจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

พวกภิกษุผู้หลอกลวง กระด้าง พูดเหลาะแหละ ชอบ เครื่องประดับ มีมานะสูงดังไม้อ้อ ไม่มีสมาธิ ภิกษุ เหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามในธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วนพวกภิกษุผู้ไม่หลอกลวง ไม่พูดเหลาะแหละ มีปัญญา ไม่กระด้าง มีสมาธิดี

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 339

ภิกษุเหล่านั้น ย่อมงอกงามในธรรมรินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

คำว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การ ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค ความว่า ภิกษุผู้นับถือไม่พึงเสพ ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงซ่องเสพเฉพาะ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงประพฤติ โดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงยึดถือประพฤติ ซึ่งการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยา ให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงยึด ไม่พึงถือ ไม่พึง ทรงไว้ ไม่พึงเข้าไปทรงไว้ ไม่พึงเข้าไปกำหนด ไม่พึงประกอบ ซึ่งการ ทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงซ่องเสพการทา เสียงสัตว์ร้อง การปรุงยา ให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสตอบว่า

ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การ ทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ไม่พึง ซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค.

[๗๕๗] ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ถูกเขา สรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น พึงบรรเทาความโลภ พร้อม กับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด.

ว่าด้วยไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ

[๗๕๘] คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ความว่า

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 340

คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมนินทา ติเตียน ค่อนขอดภิกษุโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงาม บ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยความเชื้อเชิญบ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดย ศิลปศาสตร์บ้าง โดยวิทยฐานะบ้าง โดยการศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง โดยวัตถุอื่นๆ บ้าง ภิกษุถูกนินทาติเตียนค่อนขอดแล้ว ไม่พึงหวั่น หวั่นไหว เอนเอียง สะดุ้ง ดิ้นรน กระวนกระวายกลัว ถึงความหวาด เสียว คือไม่พึงเป็นผู้ขลาด ครั่นคร้าม หวาดเสียว หนีไป ในเพราะ ความนินทา ติเตียน ค่อนขอด เสื่อมเสียเกียรติ ถูกกล่าวโทษพึงเป็น ผู้ละความกลัวความขลาด ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา.

[๗๕๙] คำว่า ภิกษุถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น ความว่า คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณภิกษุ โดยชาติบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่นๆ บ้าง ภิกษุถูกเขาสรรเสริญ ชมเชย ยกย่องพรรณนาคุณแล้ว ไม่ควรทำความฟูขึ้น ไม่ควรทำความกำเริบขึ้น ไม่ควรทำความถือตัว ไม่ควรทำความกระด้าง คือไม่ควรเป็นผู้จองหอง เป็นผู้ปั้นปึ่ง เป็นผู้หัวสูง เพราะความสรรเสริญ เพราะความชมเชย เพราะความยกย่อง เพราะความพรรณนาคุณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น.

ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ

[๗๖๐] ชื่อว่า ความโลภ ในคำว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อม กับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด ได้แก่ความโลภ

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 341

กิริยาที่โลภ ความกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่าความตระหนี่ คือความตระหนี่ ๕ ประการ ได้แก่ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่าความตระหนี่. ชื่อว่าความโกรธ คือความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความ ขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความ ชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความ เป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความ พิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความโกรธจนร้องไห้ ความ ไม่แช่มชื่นแห่งจิต. คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือได้ฟังจากข้างนี้แล้ว ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือได้ฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลาย คนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกัน บ้าง ชอบคนที่เป็นก๊กกัน ยินดีคนที่เป็นก๊กกัน เพลินกับคนที่เป็น ก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่าความเป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน ๑ บุคคล นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร บุคคลนำคำส่อเสียด เข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นผู้สนิท เป็นคนภายใน เป็นที่ดีใจของบุคคลนี้ บุคคลเป็นผู้มีความ ประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร บุคคลมีความประสงค์ ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 342

เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก เป็นสองฝ่าย คนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่ ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบากไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ดังนี้ บุคคลผู้มี ความประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้.

คำว่า พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด ความว่า ภิกษุพึงบรรเทา พึงสละ กำจัด ทำให้ สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโลภ ความตระหนี้ ความโกรธ และ การพูดส่อเสียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับ ความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับ ความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด.

[๗๖๑] ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ไม่พึงทำกิเลส เป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ.

[๗๖๒] คำว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ความว่า การ ซื้อการขายเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้ในวินัย การซื้อ การขายเหล่านั้นมิได้ทรงพระประสงค์เอาในอรรถนี้ ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อ การขายอย่างไร ภิกษุทำความลวง หรือปรารถนาความเจริญ ย่อมแลก เปลี่ยนบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอื่นอะไรๆ ก็ดี กับสหธรรมิก ๕ จำพวก ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 343

ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างไร ภิกษุไม่ทำความลวง หรือไม่ปรารถนาความเจริญ ย่อมแลกเปลี่ยนบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขาร อื่นอะไรๆ ก็ดี กับสหธรรมิก ๕ จำพวก ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อขาย อย่างนี้. คำว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อ การขาย ความว่า ภิกษุไม่ พึงตั้งอยู่ ไม่พึงดำรงอยู่ในการซื้อ การขา พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้น ไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งการซื้อการขาย พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออกไป สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง กับการซื้อการขาย พึงเป็นผู้มีจิต ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อ การขาย.

ว่าด้วยกิเลส

[๗๖๓] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลส เป็นเครื่องค่อนขอดในที่ ไหนๆ ความว่า กิเลสเป็นเครื่องทำความค่อนขอดเป็นไฉน มีสมณพราหมณ์บางพวกผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จักจิตผู้อื่น สมณพราหมณ์ พวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง พวกเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จักจิตผู้อื่น เทวดาพวกนั้น คนเห็น ได้แก่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง สมณพราหมณ์ และเทวดาเหล่านั้น ย่อมค่อนขอดด้วยกิเลสหยาบบ้าง ด้วยกิเลสปานกลาง บ้าง ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง. กิเลสหยาบเป็นไฉน กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เหล่านี้เรียกว่า กิเลสหยาบ. กิเลสปานกลางเป็นไฉน กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เหล่านั้นเรียกว่า กิเลสปานกลาง. กิเลสละเอียด เป็นไฉน ความวิตกถึงญาติ ความวิตกถึงชนบท ความวิตกถึงอมรเทพ

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 344

ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ความวิตกอันปฏิสังยุต ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญ ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความ ไม่ถูกดูหมิ่น วิตกเหล่านี้เรียกว่า กิเลสละเอียด.

สมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้น พึงค่อนขอดด้วยกิเลสหยาบบ้าง ด้วยกิเลสปานกลางบ้าง ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็น เครื่องค่อนขอด คือไม่ควรทำกิเลสทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด ไม่ควรยังกิเลสเหล่านั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด เฉพาะ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออกไป สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยกิเลสอันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด พึง เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่. คำว่า ในที่ไหนๆ คือในที่ไหนๆ ในที่ทุกๆ แห่ง ภายในบ้าง ภายนอกบ้าง ทั้งภายในและภายนอกบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหน.

[๗๖๔] พึงทราบวินิจฉัยคำว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน ดังต่อ ไปนี้ ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องในบ้านอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่ เกี่ยวข้อง ร่วมยินดี ร่วมเศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์ในบ้าน เมื่อพวก คฤหัสถ์มีสุขก็สุขด้วย มีทุกข์ก็ทุกข์ด้วย มีธุรกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น ก็ถึง ความช่วยเหลือด้วยตน ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้ อีกอย่าง หนึ่ง เวลาเช้า ภิกษุนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังบ้านหรือ นิคมเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่ ตั้งสติมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอย่อมเกี่ยวข้องในที่นั้นๆ ย่อมรับในที่

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 345

นั้นๆ ย่อมติดอยู่ในที่นั้นๆ ถึงความฉิบหายในที่นั้นๆ ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้ ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านอย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่อยู่เกี่ยวข้อง ไม่ร่วมยินดี ไม่ร่วมเศร้าโศก กับพวก คฤหัสถ์ในบ้าน เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็มีสุขด้วย มีทุกข์ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อมีธุรกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น ก็ไม่ถึงความช่วยเหลือด้วยตน ภิกษุย่อมไม่ เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง เวลาเช้าภิกษุนุ่งสบงแล้ว ถือ บาตรและจีวรเข้าไปยังบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต ตั้งสติมั่น สำรวมอินทรีย์ ย่อมไม่เกี่ยวข้องในที่นั้นๆ ย่อม ไม่รับในที่นั้นๆ ย่อมไม่ติดอยู่ในที่นั้นๆ ไม่ถึงความฉิบหายในที่นั้นๆ ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้.

คำว่า ไม่เกี่ยวข้องในบ้าน ความว่า ภิกษุไม่พึงเกี่ยวข้อง ไม่รับ ไม่ติด ไม่พัวพันในบ้าน ไม่พึงเป็นผู้กำหนัดยินดีหลงใหลติดใจในบ้าน พึงเป็นผู้หายกำหนัด ปราศจากกำหนัด สละกำหนัดเสียแล้ว ฯลฯ พึง เป็นผู้มีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน.

ว่าด้วยการพูดเลียบเคียง

[๗๖๕] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ ดังต่อไปนี้

การพูดเลียบเคียงเป็นไฉน การพูดหว่านล้อม การพูดเลียบเคียง การพูดเลียบเคียงด้วยดี การพูดยกย่อง การพูดยกย่องด้วยดี การพูดผูก พัน การพูดผูกพันด้วยดี การพูดอวดอ้าง การพูดอวดอ้างด้วยดี การ พูดฝากรัก ความเป็นผู้พูดมุ่งให้เขารักตน ความเป็นผู้พูดเหลวไหลดังว่า

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 346

แกงถั่ว ความเป็นผู้พูดประจบ ความเป็นผู้พูดแคะได้ (ดุจกินเนื้อหลัง ผู้อื่น) ความเป็นผู้พูดอ่อนหวาน ความเป็นผู้พูดไพเราะ ความเป็นผู้พูด ด้วยไมตรี ความเป็นผู้พูดไม่หยาบคายแก่ชนเหล่าอื่น แห่งภิกษุผู้มั่นหมาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนา ครอบงำ เป็นผู้เห็นแก่อามิส หนักอยู่ในโลกธรรม กิริยานี้เรียกว่า การพูดเลียบเคียง.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพูดเลียบเคียงกะชนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชน ๑ ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียง กะชน ๑.

ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร ภิกษุ ตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดกะชนอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายมีอุปการะมาก แก่ฉัน ฉันได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะอาศัยท่านทั้งหลาย แม้คนอื่นๆ ย่อมสำคัญเพื่อจะให้หรือเพื่อจะทำ แก่ฉัน คนเหล่านั้น อาศัยท่านทั้งหลาย เห็นแก่ท่านทั้งหลาย จึงให้ จึงทำแก่ฉัน แม้ชื่อเก่าเป็นของมารดาและบิดา ชื่อแม้นั้นของฉันหายลับ ไป ฉันย่อมปรากฏเพราะท่านทั้งหลายว่า เป็นกุลุปกะของอุบาสกโน้น เป็นกุลุปกะของอุบาสิกาโน้น ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียง กะชนอย่างนี้.

ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร ภิกษุ ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้ว่า ฉันมีอุปการะมาก แก่พวกท่าน พวกท่านอาศัยฉันจึงถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้น

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 347

ขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากเหตุที่เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัย ฉันย่อมบอกให้พระบาลี ย่อมบอกให้คำอธิบายพระบาลี ย่อม บอกอุโบสถ ย่อมอำนวยการก่อสร้าง แก่ท่านทั้งหลาย ก็แต่เมื่อท่าน ทั้งหลายลืมฉันเสียแล้ว ย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาภิกษุเหล่าอื่น ภิกษุ ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้.

คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชนเพราะความอยากได้ลาภ ความ ว่า ภิกษุเมื่อจะให้ลาภสำเร็จ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน คือพึงละบรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งการพูดเลียบเคียงกะชน เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องการพูดเลียบเคียงเพราะ เหตุแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ เพราะความบังเกิดขึ้นแห่งลาภ พึง เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อขาย ไม่พึงทำกิเลสเป็น เครื่องค่อนขอดในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน ไม่ พึงพูดเลียบเคียงกะชนเพราะความอยากได้ลาภ.

[๗๖๖] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง และไม่พึงกล่าวถ้อยคำ แก่งแย่ง.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 348

ว่าด้วยการพูดโอ้อวด

[๗๖๗] พึงทราบอธิบายในคำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ดังต่อไปนี้.

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พูดโอ้อวด อวดอ้าง ภิกษุนั้น ย่อมพูดโอ้อวด อวดอ้างว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อม ด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึง พร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วย ความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยความเชื้อ เชิญบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยศิลปศาสตร์บ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วย ปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอื่นๆ บ้าง เราออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่ง ใหญ่บ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ภิกษุไม่พึงพูดโอ้อวดอย่างนี้ คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความพูดโอ้อวด พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดโอ้อวด พึงเป็น ผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูด โอ้อวด.

ว่าด้วยการกล่าววาจามุ่งได้

[๗๖๘] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ดัง ต่อไปนี้

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 349

วาจามุ่งได้เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าววาจา มุ่งได้จีวร กล่าววาจามุ่งได้บิณฑบาต กล่าววาจามุ่งได้เสนาสนะ กล่าว วาจามุ่งได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร วาจานี้เรียกว่า วาจามุ่งได้. อีกอย่าง หนึ่ง ภิกษุพูดจริงบ้าง พูดเท็จบ้าง พูดส่อเสียดบ้าง พูดไม่ส่อเสียดบ้าง พูดหยาบบ้าง พูดไม่หยาบบ้าง พูดเพ้อเจ้อบ้าง พูดไม่เพ้อเจ้อบ้าง พูด ด้วยปัญญาบ้าง เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุ แห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้วาจานี้ก็เรียกว่า วาจามุ่งได้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุมีจิตเลื่อมใส แสดงธรรมแก่ชนทั้งหลาย อื่นด้วยคิดว่า โอหนอ ขอชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสธรรม ครั้นเลื่อมใสแล้วพึงทำอาการของคนผู้เลื่อมใสต่อเรา วาจานี้ก็เรียกว่า วาจามุ่งได้.

คำว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ความว่า ภิกษุไม่พึงกล่าว ไม่พึง บอก ไม่พึงพูด ไม่พึงแสดง ไม่พึงแถลงวาจามุ่งได้ ตลอดถึงวาจาแสดง ธรรมเป็นที่สุด คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่ง วาจามุ่งได้ พึงเป็นผู้งดเว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่ เกี่ยวข้องกับวาจามุ่งได้ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้.

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง

[๗๖๙] ชื่อว่า ความคะนอง ในคำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้ คะนอง ได้แก่ความคะนอง ๓ อย่าง คือความคะนองทางกาย ๑ ความ คะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางใจ ๑

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 350

ความคะนองทางกายเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน สงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะก็ดี อยู่ในโรงฉันก็ดี อยู่ในเรือนไฟก็ดี อยู่ที่ท่าน้ำ ก็ดี กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดง ความคะนองทางกาย.

ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็น เถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้า บ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง (ยืนตัวแข็ง) ยืนไม่ก้ม พูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกาย อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในคณะ ไม่ทำความยำเกรง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระ ไม่สวมรองเท้าเดินอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินไป เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดิน อยู่ในที่จงกรมต่ำ ก็เดินในที่จงกรมสูง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดินอยู่ บนแผ่นดิน ก็เดินในที่จงกรม ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้า บ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัว แข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทาง กายอย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในโรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบาง รูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในโรงฉัน ไม่ทำความยำเกรง นั่งแทรกแซงพวก ภิกษุที่เป็นเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะพวกภิกษุที่เป็นนวกะบ้าง ยืนเบียด บ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 351

นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ใน โรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบาง รูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในเรือนไฟ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุ ที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบัง หน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่บอกก่อน แล้วปิดประตูบ้าง. ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ท่าน้ำ ไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดพวกภิกษุที่เป็น เถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดบ้าง อาบข้างหน้าบ้าง อาบข้าง เหมือน้ำบ้าง ขึ้นเบียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นข้างเหมือน้ำบ้าง ภิกษุ อยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน แสดงความคะนองทางกาย อย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำ ความยำเกรง เดินเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง เดินข้างหน้าบ้าง เดิน ขึ้นหน้าพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน แสดง ความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุเข้าไปในละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาไม่บอกว่า เข้าไปเถิด พระคุณเจ้า ก็เข้าไป เมื่อเขาไม่บอกว่า ยืนอยู่เถิด พระคุณเจ้า ก็ยืน เมื่อเขาไม่บอกว่า นั่งเถิด พระคุณเถิด ก็นั่ง เข้าไปสู่ที่เป็นโอกาส

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 352

ไม่ควรบ้าง ยืนอยู่ในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง นั่งอยู่ในที่เป็นโอกาสไม่ ควรบ้าง ถลันเข้าไปในห้องเล็กลับปิดบังของสกุล อันเป็นที่นั่งอยู่แห่ง พวกหญิงของสกุล ธิดาของสกุล สะใภ้ของสกุล กุมารีของสกุลบ้าง ภิกษุ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความ คะนองทางกาย.

ความคะนองทางวาจาเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน สงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดงความคะนอง ทางวาจา.

ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ไม่ทำความยำเกรง ไม่นอกพวกภิกษุที่เป็น เถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง สวดปาติโมกข์เอง ยืนตัวแข็งพูด บ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจา อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในคณะไม่แสดงความยำเกรง ไม่บอกพวกภิกษุที่เป็น เถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็ง พูดบ้าง แกว่งแขนพูด บ้าง แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสก ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะ แสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 353

ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางวาจา อย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว พูดกะ สตรีบ้าง กุมารีบ้าง และพูดฟุ้งไปว่า ดูก่อนหญิงมีชื่ออย่างนี้ มีโคตร อย่างนี้ สิ่งอะไรมีหรือ ยาคูมีไหม ภัตมีไหม ของควรเคี้ยวมีไหม พวก เราจักดื่มอะไร จักฉันอะไร จักเคี้ยวอะไร สิ่งอะไรมีหรือ หรือพวกท่าน จะให้อะไรแก่เรา ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทาง วาจาอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความคะนองทางวาจา.

ความคะนองทางใจเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ใช่ เป็นผู้ออกบวชจากสกุลสูง ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจาก สกุลสูง ไม่ใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุ ที่ออกบวชจากสกุลใหญ่ ไม่ใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก ไม่ใช่ เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุ ที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ก็มี จิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ทรงจำพระสูตร ไม่ใช่เป็นผู้ทรงวินัย ... ไม่ใช่ เป็นพระธรรมกถึก ... ไม่ใช่เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถือ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... ไม่ใช่ เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถือไม่ ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถือเนสัชชิกธุดงค์เป็นวัตร ... ไม่ใช่ เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้ทุติยฌาน ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้ตติยฌาน ... ไม่ใช่เป็น ผู้ได้จตุตถฌาน ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... ไม่ใช่เป็น

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 354

ผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญาตนสมาบัติ ก็มีจิตวางตนเหมือนภิกษุ ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าความคะนองทางใจ.

คำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง คือภิกษุไม่พึงศึกษา ไม่พึง ประพฤติเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี ไม่พึงสมาทานประพฤติ ซึ่งความเป็นผู้คะนอง คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้คะนอง พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ. ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้คะนอง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดน กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง.

[๗๗๐] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงกล่าวคำแก่งแย่ง ดัง ต่อไปนี้

ถ้อยคำแก่งแย่งเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กล่าว ถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขถ้าท่าน สามารถ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เมื่อ ถ้อยคำที่แก่งแย่งกันมีอยู่ ก็ต้องพูดมาก เมื่อพูดมาก ก็ต้องมีความฟุ้งซ่าน เมื่อฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวมก็ต้องมี เมื่อไม่สำรวม จิตก็ห่างไกลจาก สมาธิ ดังนี้.

คำว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง ความว่า ไม่พึงกล่าว พูด แสดง แถลง ถ้อยคำแก่งแย่ง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มี ซึ่งถ้อยคำแก่งแย่ง พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับถ้อยคำแก่งแย่ง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 355

อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกล่าว ถ้อยคำแก่งแย่ง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง และไม่พึงกล่าวถ้อยคำ แก่งแย่ง.

[๗๗๑] ภิกษุพึงเว้นจากความพูดเท็จ เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำ ความโอ้อวด อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร.

ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ

[๗๗๒] คำว่า พึงเว้นจากความพูดเท็จ ความว่า มุสาวาทเรียกว่า ความพูดเท็จ บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมชน ก็ดี ฯลฯ เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งที่รู้สึกตัว เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย บ้าง นี้เรียกว่าความพูดเท็จ.

อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่าง คือในเบื้องต้น บุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๑ เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลัง พูดเท็จ ๑ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๑ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่างนี้.

อนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๔ ด้วยอาการ ๕ ด้วยอาการ ๖ ด้วยอาการ ๗ ด้วยอาการ ๘ คือในเบื้องต้น บุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๑ เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๑ เมื่อพูดแล้ว

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 356

ก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๑ ปกปิดทิฏฐิ ๑ ปกปิดความควร ๑ ปกปิด ความชอบใจ ๑ ปกปิดสัญญา ๑ ปกปิดความจริง ๑ มุสาวาทย่อมมีด้วย อาการ ๘ อย่างนี้.

คำว่า พึงเว้นจากความพูดเท็จ ความว่า ภิกษุพึงเว้นจากความ พูดเท็จ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความพูดเท็จ เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความ พูดเท็จ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึง พ้นจากความพูดเท็จ.

[๗๗๓] คำว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด ความว่า ความ เป็นผู้โอ้อวดเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้ อวดอ้างความโอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด ความเป็นผู้โอ้อวด ความเป็นผู้ กระด้าง กิริยาที่กระด้าง ความเป็นผู้เห่อ กิริยาที่เห่อ ที่มีในบุคคลนั้น ลักษณะนี้เรียกว่าความเป็นผู้โอ้อวด.

คำว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด ความว่า เมื่อเป็นผู้รู้สึก ตัว ไม่พึงทำความเป็นผู้โอ้อวด ไม่พึงยังความโอ้อวดให้เกิด ไม่ให้เกิด พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความเป็นผู้โอ้อวด พึงเป็นผู้มีจิตปราศจาก แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด.

[๗๗๘] ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วย ความเป็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ว่า

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 357

อถ นี้เป็นไปตามลำดับบท. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นอยู่อย่าง เศร้าหมอง ย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างประณีตว่า ก็ภิกษุนี้ ทำไม่ จึงมีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย ย่อมได้ฉันพืชทั้งปวง คือพืชแต่ราก พืช แต่ลำต้น พืชแต่ผล พืชแต่ยอด พืชแต่พืชเป็นที่ ๕ ภิกษุนี้ข้าม (ทุกข์) ไม่ได้แล้วเพราะความที่ตนมีความเพียร เสมอด้วยฟ้าแลบและพะเนินเหล็ก ภิกษุนั้นย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างประณีต ด้วยความเป็นอยู่เศร้าหมอง ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นอยู่อย่างประณีต ย่อมดูหมิ่นภิกษุ อื่นที่เป็นอยู่อย่างเศร้าหมองว่า ภิกษุนี้ทำไมจึงมีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้น ย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างเศร้าหมอง ด้วยความเป็นอยู่อย่าง ประณีต.

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ใครถาม ปัญหาแล้ว ก็แก้ได้ เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ปัญญา ส่วนภิกษุอื่นเหล่าอื่น ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญา เธอก็ดูหมิ่นภิกษุ อื่น ด้วยความถึงพร้อมด้วยปัญญานั้น.

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สำรวมแล้ว ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย เธอมีความดำริอย่างนี้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่น เหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม เธอก็ดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วยความถึงพร้อม ด้วยศีลนั้น.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 358

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร คือเป็นผู้ถือ อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสกุล เป็นวัตร เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตาม ลำดับตรอกเป็นวัตร เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร เป็นผู้ถือ เนสัชชิกธุดงค์เป็นวัตร หรือเป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไร เป็นวัตร เธอมีความดำริอย่างนี้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ส่วนภิกษุ อื่นเหล่านี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร เธอก็ดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วยความถึง พร้อมด้วยวัตรนั้น.

คำว่า อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วย ศีลและวัตร ความว่า ไม่ควรดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ประณีต ด้วยความถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความถึงพร้อมด้วยศีล หรือด้วยความ ถึงพร้อมด้วยวัตร คือไม่พึงให้ความถือตัวเกิดขึ้นด้วยความเป็นอยู่เป็นต้น นั้น ไม่พึงเป็นผู้หัวดื้อ หัวแข็ง หัวสูง ด้วยความเป็นอยู่เป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงเว้นจากความพูดเท็จ เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำ ความโอ้อวด อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็น อยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร.

[๗๗๕] ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ หรือของพวกคนผู้มีถ้อยลำมาก ไม่พึงโต้ตอบกะคน

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 359

เหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำ ผู้อื่นให้เป็นศัตรู.

[๗๗๖] คำว่า ถูกประทุษร้าย ในคำว่าภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ ฟังวาจามากของพวกสมณะ หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก ความว่า คนอื่นประทุษร้าย ด่า เสียดสี เหยียดหยาม ติเตียน ค่อนว่าเข้าแล้ว. คำว่า ของพวกสมณะ คือพวกชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้เข้าถึงการบวช ยอมตัวบวช ในภายนอกแต่ศาสนานี้. คำว่า ของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก คือพวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์ ชนเหล่านั้นพึงด่า บริภาษ ติเตียน สาปแช่ง เบียดเบียน ย่ำยี ให้ฆ่า เข้าไปฆ่าเอง ทำความเข้าไปฆ่า ด้วยวาจาเป็นอันมาก อันไม่น่า ปรารถนารักใคร่ชอบใจ ภิกษุได้ฟัง ได้ยิน จำไว้ เข้าไปทรงจำไว้ กำหนดแล้วซึ่งวาจามาก ของชนเหล่านั้น อันไม่น่าปรารถนารักใคร่ ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจาของพวก สมณะ หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก.

[๗๗๗] คำว่า ด้วยคำหยาบ ในคำว่า ไม่พึงโต้ตอบกะคน เหล่านั้นด้วยคำหยาบ ความว่า ด้วยคำหยาบคาย. คำว่า ไม่พึงโต้ตอบ คือไม่พึงกล่าวตอบ ไม่พึงด่าตอบคนที่ด่า ไม่พึงแช่งตอบคนที่แช่ง ไม่ พึงขัดเคืองตอบคนที่ขัดเคือง ไม่พึงทำความทะเลาะ ไม่พึงทำความ ขัดเคือง ไม่พึงทำความแก่งแย่ง ไม่พึงทำความวิวาท ไม่พึงทำความ ทุ่มเถียง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความทะเลาะ ความขัดเคือง ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงงด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับความทะเลาะ ความ

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 360

ขัดเคือง ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงเป็นผู้มีจิต ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงโต้ตอบกะคนเหล่านั้น ด้วยคำหยาบ.

[๗๗๘] คำว่า ผู้สงบ ในคำว่า เพราะภิกษุผู้สงบย่อมไม่ทำผู้ อื่นให้เป็นศัตรู ความว่า ภิกษุชื่อว่าผู้สงบ เข้าไปสงบ สงัด ดับ ระงับ เพราะราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิ- สังขารทั้งปวง เป็นบาปธรรมสงบ ถึงความสงบ สงัด ไหม้ ดับ หายไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้สงบ. คำว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำ ผู้อื่นให้เป็นศัตรู ความว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู ให้ เป็นข้าศึก ให้เป็นเวร ให้เป็นปฏิปักษ์ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อม ไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก ไม่พึงโต้ตอบกะชน เหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่น ให้เป็นศัตรู.

[๗๗๙] ก็ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้วค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษา ในกาลทุกเมื่อ ภิกษุรู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว ไม่ พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม.

[๗๘๐] คำว่า นั้น ในคำว่า ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้ว คือธรรมที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส บอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 361

ทำให้ตื่นประกาศแล้ว. คำว่า รู้ธรรมนั้นแล้ว ความว่า รู้ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่ารู้ธรรมนั้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ซึ่งธรรมอันเสมอ ธรรมอันไม่เสมอ ธรรมเป็นทาง ธรรมไม่เป็นทาง ธรรมมีโทษ ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลว ธรรมประณีต ธรรมดำ ธรรมขาว ธรรมที่วิญญูชนติเตียน ธรรมที่วิญญูชนสรรเสริญ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่ารู้ธรรมนั้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำความ บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความหมั่นประกอบความเพียรเป็น เครื่องตื่นอยู่ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน ธรรม เป็นข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงนิพพาน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่ารู้ ธรรมนั้นแล้ว.

[๗๘๑] คำว่า ค้นคว้าอยู่ ในคำว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็น ผู้มีติ ศึกษาในกาลทุกเมื่อ ความว่า ค้นคว้าอยู่ คือค้นหา พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็น ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ค้นคว้าอยู่. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 362

คำว่า มีสติ คือมีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือเมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณา กายในกาย ก็มีสติ ฯลฯ ภิกษุนั้นเรียกว่าเป็นผู้มีสติ. คำว่า พึงศึกษา ความว่า สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ก็พึงศึกษา ฯลฯ พึงศึกษา คือพึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทาน ประพฤติไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษา ในกาลทุกเมื่อ.

[๗๘๒] คำว่า รู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว ความว่า รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งความดับราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ว่าเป็นความสงบ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว.

[๗๘๓] คำว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ความว่า ในศาสนาของพระโคดม คือในพุทธศาสนา ในศาสนาของพระชินเจ้า ในศาสนาของพระตถาคต ในศาสนาของท่านผู้เป็นเทพ ในศาสนาของ พระอรหันต์. คำว่า ไม่พึงประมาท ความว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำ ติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ฝ่ายกุศล ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผุ้ขยัน ความเป็นผู้มีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรอันพึงตั้งไว้ ความตั้งใจ ความหมั่นประกอบในกุศลธรรมนั้น ว่า เมื่อไรเราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ ฯลฯ เมื่อไรเรา พึงยังสมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่ยังไม่

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 363

บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ เมื่อไรเราฟังกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ก็ดี พึง ละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ก็ดี พึงเจริญมรรคที่ยังไม่เจริญก็ดี พึงทำ ให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งแล้วก็ดี ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรม ทั้งหลายฝ่ายกุศล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของ พระโคดม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้วค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษา ในกาลทุกเมื่อ ภิกษุรู้ความดังว่าเป็นความสงบแล้ว ไม่ พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม.

[๗๘๕] ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครองงำได้เห็นแล้ว ซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มีพระภาค เจ้านั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้.

[๗๘๕] คำว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ความว่า ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำ เพราะครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นผู้ไม่ถูกกิเลสอะไรครอบงำ อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ครอบงำ เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง อันให้เกิดในภพใหม่ ให้มี ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์อันเป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะ ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ.

[๗๘๖] คำว่า ซึ่งสักขิธรรม ในคำว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรม โดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น ความว่า ได้เห็น เห็นทั่ว พบเห็น แทงตลอด

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 364

แล้วซึ่งธรรมที่ประจักษ์แก่ตน อันตนรู้ยิ่งเอง มิใช่โดยต้องเชื่อต่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยได้ฟังต่อๆ กันมา มิใช่โดย ถือตามลำดับสืบๆ กันมา มิใช่โดยได้อ้างตำรา มิใช่โดยนึกเดาเอาเอง มิใช่โดยคาดคะเนเอา มิใช่โดยได้ตรึกตามอาการ มิใช่โดยเห็นว่าควรแก่ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้อง เชื่อต่อผู้อื่น.

[๗๘๗] คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้นแหละ ... ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ความว่า เพราะฉะนั้น เพราะ การณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น. คำว่า ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ความว่า ในศาสนาของพระผู้มี พระภาคเจ้านั้น คือในศาสนาของพระโคดม ในพุทธศาสนา ในศาสนา ของพระชินเจ้า ในศาสนาของพระตถาคต ในศาสนาของท่านผู้เป็นเทพ ในศาสนาของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแหละ ... ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

[๗๘๘] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ ไม่ประมาท นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้ ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ทำโดยความเคารพ ฯลฯ ไม่ ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า นมัสการอยู่ ความว่า นมัสการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิต ด้วยปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์หรือด้วยความปฏิบัติธรรม. คำว่า พึงหมั่น ศึกษา ความว่า สิกขา ๓ คืออธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 365

ฯลฯ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ฯลฯ ทำให้ แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งอยู่ ก็พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ. คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ ฯลฯ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ... นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นแล้ว ซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล.

จบตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔

อรรถกถาตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยในตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔ ดังต่อไปนี้.

แม้บทว่า ปุจฺฉามิ ตํ นี้ ในมหาสมัยนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศความนั้นแก่เทวดาทั้งหลายบางพวก ผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า การปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตเป็นอย่างไรหนอ จึงทรงให้พระพุทธนิมิต ตรัสถามพระองค์ แล้วตรัสโดยนัยก่อนนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบความคาถาที่เป็นคำถามต้นก่อน ท่าน จำแนกคำถามด้วย อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นต้น ไว้ในบทนี้ว่า ปุจฺฉามิ

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 366

ข้าพระองค์ขอทูลถามดังนี้. บทว่า อาทิจฺจพนฺธุ คือผู้เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์. บทว่า วิเวกํ สนฺติปทญฺจ ได้แก่ ผู้สงัด และผู้ดำเนิน สู่ความสงบ. บทว่า กถํ ทิสฺวา คือภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว. ท่านอธิบายว่า เป็นผู้เห็นความเป็นไปอย่างไร.

บทว่า ติสฺโส ปุจฺฉา คำถามมี ๓ คำถาม เป็นการกำหนดจำนวน. คำถามเพื่อทำสิ่งที่ยังไม่เห็น ยังไม่แทงตลอดให้ปรากฏ ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.

คำถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้วด้วยญาณจักษุ ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.

คำถามเพื่อตัดความสงสัย ชื่อว่า วิมติจเฉทนาปุจฉา.

บทว่า ปกติยา ลกฺขณํ อาตํ คือ ลักษณะที่แท้ของธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่รู้โดยปกติ. บทว่า อทิฏฺํ คือ ไม่เห็น.

บทว่า อตุลิตํ ไม่พิจารณา คือไม่พิจารณาดุจพิจารณาด้วยเครื่องชั่ง.

บทว่า อติริตํ ไม่เทียบเคียง คือไม่เทียบเคียงด้วยการไตร่ตรอง.

บทว่า อวิภูตํ ไม่กระจ่าง คือไม่ปรากฏ. บทว่า อวิภาวิตํ ไม่ แจ่มแจ้ง คือไม่เจริญด้วยปัญญา. บทว่า ตสฺส าณาย เพื่อรู้ธรรม นั้น คือเพื่อประโยชน์แก่การรู้ลักษณะของธรรมนั้น. บทว่า ทสฺสนาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การเห็น.

บทว่า ตุลนาย เพื่อพิจารณา คือเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา. บทว่า ติรณาย เทียบเคียง คือเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง. บทว่า วิภาวนาย เพื่อกระจ่าง คือเพื่อทำความกระจ่าง. บทว่า อญฺเหิ

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 367

ปณฺฑิเตหิ ด้วยบัณฑิตเหล่าอื่น คือด้วยผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้เหล่าอื่น. บทว่า สํสยปกฺขนฺโน๑ บุคคลผู้แล่นไปสู่ความสงสัย คือเข้าไปสู่ความ สนเท่ห์.

บทว่า มนุสฺสปุจฺฉา คือ คำถามของมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า อมนุสฺสปุจฺฉา คือ คำถามของอมนุษย์ มีนาคและครุฑเป็นต้น. บทว่า คหฏฺา คือ คฤหัสถ์ที่เหลือ.

บทว่า ปพฺพชิตา บรรพชิตทั้งหลายกล่าวโดยเพศ. บทว่า นาคา ได้แก่ นาค ชื่อว่าสุปัสสะเป็นต้น. บทว่า สุปณฺณา ครุฑ พึงทราบ โดยที่รู้จักกันว่าเป็นครุฑ. บทว่า ยกฺขา พึงทราบโดยที่รู้จักกันว่าเป็น ยักษ์. บทว่า อสุรา ได้แก่ อสูรทั้งหลาย มีปหาราทอสูรเป็นต้น. บทว่า คนฺธพฺพา ได้แก่ พวกคนธรรพ์มีบุตรคนธรรพ์ ชื่อว่า ปัญจสิกขะ เป็นต้น. บทว่า มหาราชาโน ได้แก่ มหาราชทั้ง ๔.

บทว่า อหินินฺทฺริยํ มีอินทรีย์ไม่เลว คือมีอินทรีย์ไม่วิการ. บทว่า โส นิมฺมิโต คือ พระพุทธเจ้า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเนรมิต. บทว่า โวทานตฺถปุจฺฉา การถามถึงประโยชน์แห่งธรรมขาว คือถาม ธรรมอันวิเศษ. บทว่า อตีตปุจฺฉา การถามถึงส่วนอดีต คือการถาม ปรารภธรรมอันเป็นอดีต. แม้ในธรรมอันเป็นอนาคต ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า กุสลปุจฺฉา ถามถึงกุศลธรรม คือถามธรรมที่ไม่มีโทษ. บทว่า อกุสลปุจฺฉา ถามธรรมที่เป็นอกุศล คือถามธรรมที่มีโทษ. บทว่า อพฺยากตปุจฺฉา ถามถึงอัพยากตธรรม คือถามถึงธรรมอันตรงกันข้าม กับธรรมทั้งสองนั้น. บทว่า อชฺเฌสามิ ตํ คือ ข้าพระองค์ขอวิงวอน พระองค์. บทว่า กถยสฺสุ เม คือ ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกธรรม


๑. ม. สํสยปกฺขนฺโท.

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 368

นั้นแก่ข้าพระองค์. บทว่า โคตฺตาตโก คือ ผู้เป็นญาติโดยโคตร. บทว่า โคตฺตพนฺธุ เป็นเผ่าพันธุ์โดยโคตร คือเป็นญาติใกล้ชิดโดยโคตร.

บทว่า เอเกนากาเรน คือ โดยส่วนเดียว. บทว่า สนฺติปทํ สันติบท คือบทคือนิพพาน กล่าวคือสันติ. บทว่า เย ธมฺมา สนฺตาธิคมาย ธรรม เหล่าใดเป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ คือธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้นเหล่าใด เป็นไปเพื่อได้นิพพาน. บทว่า สนฺติผุสนาย เพื่อถูกต้องความสงบ คือเพื่อถูกต้องนิพพานด้วยความถูกต้องคือญาณ. บทว่า สจฺฉิกิริยาย เพื่อทำให้แจ้ง คือเพื่อทำให้ประจักษ์. บทว่า มหนฺตํ สีลกฺขนฺธํ ศีลขันธ์ใหญ่ คือกองศีลใหญ่. แม้ในสมาธิขันธ์เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ศีลขันธ์เป็นต้นเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ. วิมุตติญาณทัสสนะเป็นโลกิยะ อย่างเดียว.

บทว่า ตโมกายสฺส ปทาลนํ ทำลายกองมืด คือกำจัดกองอวิชชา. บทว่า วิปลฺลาสสฺส เภทนํ ทำลายวิปัลลาส คือทำลายวิปัลลาส ๔ อย่าง. บทว่า ตณฺหาสลฺลสฺส อพฺพุหณํ คือ ถอนลูกศรคือตัณหา. บทว่า อภิสงฺขารสฺส วูปสมํ ระงับอภิสังขาร คือดับอภิสังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น. บทว่า ภารสฺส นิกฺเขปนํ การปลงภาระ คือวางภาระ อันได้แก่เบญจขันธ์. บทว่า สํสารวฏฺฏสฺส อุปจฺเฉทํ การตัดสังสารวัฏฏ์ คือตัดความเป็นไปแห่งสังสารวัฏฏ์. บทว่า สนฺตาปสฺส นิพฺพาปนํ ดับความ เดือดร้อน คือดับความร้อนคือกิเลส. บทว่า ปริฬาหสฺส ปฏิปสฺสทฺธึ ระงับความเร่าร้อน คือสงบความเร่าร้อน คือกิเลส. บทว่า เทวเทโว คือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเมื่อทรงเห็น จึงทรงกำจัด

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 369

กิเลสทั้งหลายเสียได้ด้วยประการใด ครั้นทรงเห็นด้วยประการนั้นแล้ว ทรงเห็นความเป็นไปอย่างนั้น จึงเสด็จปรินิพพาน ฉะนั้นเมื่อจะทรงทำ ความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงทรงชักชวนเทพบริษัทนั้นในการละกิเลสด้วย ประการทั้งปวง ทรงเริ่มตรัสคาถา ๕ คาถา มีอาทิว่า มูลํ ปปญฺจสงฺขาย กิเลสเป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า ดังนี้.

ในคาถานั้น พึงทราบความโดยสังเขปแห่งคาถาต้นก่อน. บทว่า ปปญฺจ ในบทว่า ปปญฺจสงฺขา ส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือตัณหาที่ท่าน บอกไว้. ปปญฺจา คือ ตัณหานั้นแล ชื่อว่า ปปญฺจสงฺขา ส่วนแห่งธรรม เครื่องเนิ่นช้า. กิเลสทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น เป็นรากเหง้าแห่งปปัญจ- ธรรมนั้น. ภิกษุพึงกำจัดกิเลสทั้งปวงอันเป็นไปอยู่ คือกิเลสที่เป็นรากเหง้า แห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะด้วยปัญญา ก็ตัณหาที่มี ณ ภายในอย่างใดอย่างหนึ่งพึงเกิดขึ้น ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อ กำจัดเพื่อละตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ คือพึงเป็นผู้มีสติตั้งมั่นศึกษา.

บทว่า อชฺฌตฺตสมุฏฺานา วา มีตัณหาในภายในเป็นสมุฏฐาน คือตัณหาเกิดขึ้นในจิต. บทว่า ปุเรภตฺตํ ในกาลก่อนภัต คือก่อนอาหาร กลางวัน. บทว่า ปุเรภตฺตํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ แปลว่าสิ้นกาลก่อนภัต. แต่โดยอรรถเป็นสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ในกาล ก่อนภัต. ในภายหลังภัตเป็นต้นก็มีนัยนี้. บทว่า ปจฺฉาภตฺตํ ในภายหลัง ภัย คือหลังอาหารกลางวัน. บทว่า ปุริมยานํ ในยามต้น คือส่วนแรก ของราตรี. มชฺฌิมยามํ ในยามกลาง คือส่วนที่สองของราตรี. บทว่า ปจฺฉินยามํ ในยามหลัง คือส่วนที่สามของราตรี. บทว่า กาเฬ คือ ในข้างแรม. บทว่า ชุณฺเห คือ ในข้างขึ้น. บทว่า วสฺเส ในฤดูฝน

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 370

คือในฤดูฝน ๔ เดือน. บทว่า เหมนฺเต ในฤดูหนาว คือในฤดูหนาว ๔ เดือน. บทว่า คิมฺเห ในฤดูร้อน คือในฤดูร้อน ๔ เดือน. บทว่า ปุริเม วโยกฺขนฺเธ ในขันธ์วัยต้น คือในส่วนของวัยแรก ได้แก่ใน ปฐมวัย. ก็ใน ๓ วัยเหล่านั้น สำหรับคนมีอายุ ๑๐๐ ปีเป็นเกณฑ์ ในวัย หนึ่งๆ ก็มีอายุ ๓๓ ปี กับ ๔ เดือน.

พึงทราบความในคาถาแรกอย่างนี้ก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรง แสดงเทศนาประกอบด้วยไตรสิกขา ด้วยธรรมเป็นยอด คืออรหัตแล้ว เพื่อทรงแสดงด้วยการละความถือตัวอีก จึงตรัสคาถา มีอาทิว่า ยํกิญฺจิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํกิญฺจิ ธมฺมมภิชญฺา อชฺฌตฺตํ ภิกษุ พึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน คือพึงรู้คุณธรรมของตน มีความเป็นผู้มีตระกูลสูงเป็นต้น. บทว่า อถวาปิ พหิทฺธา คือ หรือพึง รู้คุณของอาจารย์และอุปัชฌาย์ในภายนอก. บทว่า น เตน ถามํ กุพฺเพถ ไม่พึงทำความถือตัวด้วยคุณธรรมนั้น. บทว่า สตานํ อันผู้สงบทั้งหลาย คือผู้มีคุณธรรมคือความสงบ. บทว่า สนฺตานํ คือ เป็นผู้ดับมานะ. บทว่า น วุตฺตา แปลว่า ไม่กล่าว. บทว่า นปฺปวุตฺตา คือ ไม่แก้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงวิธีไม่ทำความถือตัว นั้น จึงตรัสคาถาว่า เสยฺโย น เตน ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขาด้วยคุณ ธรรมนั้น ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ ภิกษุไม่พึงสำคัญว่า เราดีกว่าเขา เราต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเราเสมอเขาด้วยมานะนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็น

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 371

อันมาก มีความเป็นผู้มีตระกูลสูงเป็นต้นเหล่านั้น ไม่พึงกำหนดตนดำรง อยู่โดยนัยมีอาทิว่า เราบวชแล้วจากตระกูลสูง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง แม้ด้วยการละมานะอย่างนี้ บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงด้วยการสงบกิเลสทั้งปวง จึงตรัสคาถาว่า อฺฌตฺตเมว กิเลสภายในนี้แล ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺตเมว อุปสเม ภิกษุพึงสงบกิเลส ภายในนี้แล คือพึงสงบกิเลสทั้งหมดมีราคะเป็นต้นในตนนั่นแล. บทว่า น อญฺโต ภิกขุ สนฺตฺเมเสยฺย ภิกษุไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น คือไม่พึงแสวงหาความสงบโดยอุบายอื่น นอกจากสติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า กุโต นิรตฺตํ วา ความว่า ความไม่มีด้วยตนย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ. บทว่า น เอเสยฺย คือ ไม่พึงแสวงหาด้วยศีลและพรตเป็นต้น. บทว่า น คเวเสยฺย ไม่พึงค้นหา คือ ไม่พึงมองดู. บทว่า น ปริเยเสยฺย ไม่พึงเข้าหา คือไม่พึงเห็นบ่อยๆ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้คงที่ของ พระขีณาสพผู้สงบแล้วในภายใน จึงตรัสคาถาว่า มชฺเฌ ยถา เหมือน คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางประมาณ ๔,๐๐๐ โยชน์ คืออยู่ระหว่างกลางส่วนบนและส่วนล่างของมหาสมุทร หรือใน ท่ามกลางสมุทรที่ตั้งอยู่ในระหว่างภูเขา สมุทรนั้นสงบไม่หวั่นไหวฉันใด ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหวฉันนั้น ภิกษุ เช่นนั้นไม่พึงทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้นในที่ไหนๆ.

บทว่า อุพฺเพเธน คือ โดยส่วนเบื้องล่าง บทว่า คมฺภีโร คือ

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 372

มหาสมุทรลึกประมาณ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ตั้งแต่หลังน้ำ. ปาฐะว่า อุพฺเพโธ บ้าง. บทนั้นไม่ดี. บทว่า เหฏฺา น้ำข้างล่าง คือน้ำภายใน. บทว่า อุปริ น้ำข้างบน คือน้ำเบื้องบน. บทว่า มชฺเฌ คือ ระหว่างกลาง. บทว่า น กมฺปติ คือ ไม่หวั่นไหวจากที่ตั้ง. บทว่า น วิกมฺปติ คือไม่วนไปวนมา. บทว่า น จลติ คือ ไม่ปั่นป่วน. บทว่า น เวธติ คือ ไม่กระเพื่อม. บทว่า นปฺปเวธติ คือ ไม่ซัดไปมา. บทว่า น สมฺปเวธติ คือไม่ม้วนไปมา. บทว่า อเนริโต คือ เป็นสมุทรไม่หวั่นไหว. บทว่า อฆฏฺฏิโต คือ ไม่ กำเริบ. บทว่า อจลิโต คือ ไม่หวั่นไหว. บทว่า อนาลุลิโต ไม่ขุ่นมัว คือไม่มีเปือกตม. บทว่า ตตฺร อุมิ โน ชายติ คลื่นไม่เกิดในที่นั้น. บทว่า สตฺตนฺนํ ปพฺพตานํ อนฺตริกาสุ คือ สมุทรสีทันดร มีอยู่ในระหว่าง ภูเขาทั้ง ๗ มีภูเขายุคันธรเป็นต้น. บทว่า สีทนฺตรา สมุทรสีทันดร ชื่อว่า สีทา เพราะแม้ที่สุดปุยนุ่นตกไปในสมุทรเหล่านั้นก็จม. ชื่อว่า อนฺตรา เพราะเกิดในระหว่างภูเขา. ปาฐะว่า สีตนฺตรา๑ ก็มี

บัดนี้ พระพุทธนิมิต เมื่อจะทรงอนุโมทนาพระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัตให้ยิ่งขึ้นไป เมื่อ ตรัสถามปฏิปทาเบื้องต้น ของพระอรหัตนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า อกิตฺตยิ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น อกิตฺตยิ แปลว่า ได้ทรงแสดงแล้ว. วิวฏจกฺขุ ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง คือประกอบด้วยจักษุ ๕ แจ่มแจ้ง คือไม่มีเครื่อง กั้น. บทว่า สกฺขิธมฺมํ สักขิธรรม คือธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์ อันพระองค์ได้รู้ยิ่งแล้วเพื่อประกาศ. บทว่า ปริสฺสยินยํ ธรรมเครื่อง กำจัดอันตราย คือเพื่อกำจัดอันตราย. บทว่า ปฏิปทํ วเทหิ คือ ขอ


๑. ม. อนฺตรสีทา.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 373

พระองค์จงตรัสตอบข้อปฏิบัติในบัดนี้เถิด. บทว่า ภทฺทนฺเต ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ คือพระพุทธนิมิตตรัสเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอ ความเจริญจงมีแด่พระองค์เถิด. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ขอพระองค์จงทรงตอบปฏิปทาอันเจริญดีแก่ข้าพระองค์เถิด. บทว่า ปาฏิโมกฺขํ อถวาปิ สมาธึ คือ ปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ พระพุทธนิมิตตรัสถามแบ่ง ปฏิปทานั้นนั่นเอง. ตรัสถามมรรคด้วยบทว่า ปฏิปทํ. ตรัสถามศีล และสมาธิด้วยบทนอกนี้.

บทว่า มํสจกฺขุนาปิ แม้ด้วยมังสจักษุ คือแม้ด้วยมังสจักษุอันเป็น ไปกับด้วยบารมีธรรมที่สะสมมา. บทว่า ทิพฺพจกฺขุนาปิ แม้ด้วยทิพยจักษุ จักษุชื่อว่า ทิพฺพ เพราะเป็นเช่นกับของทิพย์. จริงอยู่ เทวดาทั้งหลาย มีปสาทจักขุเป็นทิพย์ เกิดขึ้นเพราะกรรมสุจริต ไม่เกลือกกลั้วด้วยดี เสมหะและเลือดเป็นต้น สามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกลได้เพราะพ้นจาก สิ่งเศร้าหมอง. แม้ทิพยจักษุนี้ก็เกิดขึ้นด้วยกำลังการบำเพ็ญความเพียร ญาณจักษุก็เช่นเดียวกัน เพราะเหตุนั้นชื่อว่า ทิพฺพ เพราะเป็นเช่นกับ ของทิพย์ เพราะได้มาด้วยทิพพวิหารธรรม เพราะอันตนอาศัยอยู่ใน ทิพพวิหารธรรมบ้าง เพราะรุ่งเรืองมากด้วยกำหนดอาโลกสัญญาบ้าง. ทั้งหมดพึงทราบโดยทำนองเดียวกันกับศัพทศาสตร์. ชื่อว่าทิพยจักษุเพราะ มีจักษุเป็นทิพย์. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักกษุ นั้น.

บัดนี้ พระสังคีติกาจารย์เพื่อจะกล่าวจักษุ ๕ อย่างโดยพิสดาร จึง กล่าวคำมีอาทิว่า กถํ ภควา มํสจกฺขุนา วิวฏจกฺขุ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยมังสจักขุ เป็นอย่างไรดังนี้.

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 374

พึงทราบความในบทนี้ว่า มํสจกฺขุมฺหิ ภควโต ปญฺจ วณฺณา สํวิชฺชนฺติ สี ๕ สีมีในพระมังสจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ สี ๕ สี ย่อมได้เฉพาะพระองค์ ในพระจักษุอันประกอบด้วยพระบารมีธรรมที่ สะสมมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. บทว่า นีโล จ วณฺโณ สีเขียว คือสี ดอกผักตบ. บทว่า ปีตโก จ วณฺโณ สีเหลือง คือสีดอกกรรณิการ์. บทว่า โลหิตโก จ วณฺโณ สีแดง คือสีปีกแมลงทับ. บทว่า กณฺโห จ วณฺโณ สีดำ คือสีดอกอัญชัน. บทว่า โอหาโต จ วณฺโณ สีขาว คือสีดาวประกายพรึก. บทว่า ยตฺถ จ อกฺขิโลมานิ ปติฏฺิตานิ คือ ขนพระเนตรทั้งหลายตั้งอยู่ เฉพาะที่ใด. บทว่า นีลํ ในบทนี้ว่า ตํ นีลํ โหติ สุนีลํ ที่นั้นมีสีเขียว เขียวสนิทดังนี้ ท่านกล่าวโดยรวมไว้ทั้งหมด. บทว่า สุนีลํ คือ เขียวสนิท เว้นช่องว่าง. บทว่า ปาสาทิกํ น่าชม คือให้เกิดความน่าชม. บทว่า ทสฺสนียํ น่าดู. บทว่า อุมฺมารปุปฺผสมานํ เหมือนดอกผักตบ คือเช่น กับดอกบัวจงกลนี. บทว่า ตสฺส ปรโต ต่อจากนั้น คือที่ข้างภายนอก โดยรอบขนพระเนตรนั้น. บทว่า ปีตกํ สีเหลือง ท่านกล่าวรวบยอด. บทว่า สุปิตกํ เหลืองนวล คือเหลืองสนิทเว้นช่องว่าง. บทว่า อุภยโต จ อกฺขิกูฏานิ เบ้าพระเนตรทั้งสอง คือท้ายพระเนตรทั้งสองข้าง. บทว่า โลหิตกานิ มีสีแดงกล่าวรวบยอด. บทว่า สุโลหิตกานิ คือ แดงสนิท ไม่ปรากฏช่อง. บทว่า มชฺเณ ภณฺหํ ท่ามกลางพระเนตรมีสีดำ คือดำ คล้ายดอกอัญชันตั้งอยู่กลางพระเนตร. บทว่า สุกณฺหํ ดำงาม คือดำสนิท เว้นช่องว่าง. บทว่า อลูขํ ไม่หมองมัว คือมีสิริ. บทว่า สินิทฺธํ สนิท คือประณีต. บทว่า อฬาริฏฺกสมานํ ๑ เหมือนสีสมอดำ คือเช่นกับ ผลสมอดำที่เอาเปลือกออกแล้ว. บาลีว่า อทฺทาริฏฺกสมานํ เหมือนลูก


๑. ม. ภทฺทาริฏฺฐฺกสสมานํ คล้ายเมล็ดในผลมะคำดีควายที่ปอกเปลือก.

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 375

ประคำดีควายดังนี้ก็มี. อธิบายความบาลีนั้นว่า เช่นกับกาเปียกชุ่ม. บทว่า โอทาตํ สีขาว ท่านกล่าวโดยรวม. บทว่า สุโวทาตํ ขาวงาม คือขาวสนิท เช่นเงินกลมเว้นช่องว่าง. ท่านแสดงความเป็นสีขาวยิ่งด้วยสองบทว่า เสตํ ปณฺฑรํ คือ ขาวผ่อง. บทว่า ปากติเกน มํสจกฺขุนา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมังสจักขุเป็นปกติ. บทว่า อตฺตภาวปริยาปนฺเนน คือ อาศัย อยู่ในพระวรกาย. บทว่า ปุรินสุจริตกมฺมาภินิพฺพตฺเตน เกิดขึ้นเพราะ สุจริตกรรมในภพก่อน คือเกิดขึ้นเพราะกรรมมีกายสุจริตเป็นต้น ใน อัตภาพที่เกิดแล้วในภพก่อน. บทว่า สมนฺตา โยชนํ ปสฺสติ ทรงเห็น โยชน์หนึ่งโดยรอบ คือทรงเห็นที่อยู่ภายในฝาเป็นต้น ในที่โยชน์หนึ่ง ประมาณ ๔ คาวุตโดยรอบ เว้นจากเครื่องกีดกั้นด้วยมังสจักขุปกติ. บทว่า ทิวา เจว รตฺตึ คือ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน. บทว่า จตุรงฺคสมนฺนาคโต คือ มีมืดเค็มที่เว้นแสงสว่างประกอบด้วยองค์ ๔. บทว่า สุริโย จ อตฺถงฺ- คมิโต พระอาทิตย์อัสดงคต คือพระอาทิตย์เกิดแสงกล้าดังขึ้นแล้วตกไป. บทว่า กาฬปกฺโข จ อุโปสโถ วันอุโบสถข้างแรม คือวันอุโบสถ แรม ๑๕ ค่ำ ในกาฬปักษ์. บทว่า ติพฺโพ จ วนสณฺโฑ แนวป่าทึบ คือแนวไม้รกชัฏ. บทว่า มหา จ อกาลเมโฆ อพฺภุฏฺิโต อกาลเมฆใหญ่ ตั้งขึ้น คือพื้นหมอกดำใหญ่ตั้งขึ้น. บทว่า กุฑฺโฑ วา ฝาก็ดี คือฝา ก่อด้วยอิฐ. บทว่า กวาฏํ วา บานประตูก็ดี คือบานประตูและบานหน้าต่าง ก็ดี. บทว่า ปากาโร วา กำแพงก็ดี คือกำแพงดินเหนียวเป็นต้นก็ดี. ปพฺพโต วา ภูเขาก็ดี คือภูเขามีภูเขาดินเป็นต้นก็ดี. บทว่า คจฺฉํ วา กอไม้ก็ดี คือกอไม้อ่อนก็ดี. บทว่า ลตา วา เถาวัลย์ก็ดี คือเถาวัลย์ มีสีดำเป็นต้นก็ดี. บทว่า อาวรณํ รูปานํ ทสฺสนาย เป็นเครื่องบังการเห็น

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 376

รูปทั้งหลาย คือเป็นเครื่องกั้นเพื่อเห็นรูปารมณ์ทั้งหลาย. บทว่า เอกติลผลํ นิมิตฺตํ กตฺวา คือ เอาเมล็ดงาเมล็ดหนึ่งทำเป็นเครื่องหมาย. บทว่า ติลวาเห ปกฺขิเปยฺย คือ ใส่สงในเกวียนบรรทุกงา. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กระพองช้างและเกวียนสองเล่ม ชื่อว่าวาหะ. บทว่า ตญฺเว ติลผลํ อุทฺธเรยฺย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยิบเอาเมล็ดงานั้นแหละขึ้นมาได้ คือ ทรงหยิบเมล็ดงาที่ทำเครื่องหมายไว้นั้นขึ้นมาได้.

บทว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา นี้ มีความได้กล่าวไว้แล้ว. บทว่า วิสุทฺ- เธน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ คือด้วยการเห็นจุติและอุปบัติอันบริสุทธิ์ เพราะเหตุมีทิฏฐิบริสุทธิ์ จริงอยู่ ผู้ใดเห็นเพียงจุติอย่างเดียว ไม่เห็น อุปบัติ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ. ผู้ใดเห็นอุปบัติอย่างเดียว ไม่เห็นจุติ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมถือเอาซึ่งสัสสตทิฏฐิ เพราะปรากฏสัตว์เกิดใหม่. ส่วนผู้ใดเห็นทั้งสองอย่างนั้น เพราะผู้นั้นก้าวล่วงทิฏฐิแม้ทั้งสองอย่างนั้น เสีย ฉะนั้น ความเห็นของเขาจึงเป็นเหตุแห่งความเห็นบริสุทธิ์. ส่วน พระพุทธบุตรทั้งหลายย่อมเห็นทั้งสองอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ความเห็นชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเป็นเหตุแห่งความเห็นบริสุทธิ์. เห็นความ บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ เพราะเห็นรูปล่วงอุปจารของมนุษย์. อีก อย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อว่าล่วงจักษุของมนุษย์ เพราะล่วงมังสจักษุอัน เป็นของมนุษย์. ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์นั้น. บทว่า สตฺเต ปสฺสติ ทรงเห็นหมู่สัตว์ คือทรงแลดูหมู่สัตว์ ดุจมนุษย์ทั้งหลาย ดูด้วยตาเนื้อฉะนั้น. ในบทว่า จวมาเน อุปปชฺชมาเน นี้ พึงทราบ ความดังนี้ ในขณะจุติก็ดี ขณะอุปบัติก็ดี ไม่สามารถจะเห็นได้ด้วยทิพยจักษุ ท่านประสงค์เอาว่า ก็สัตว์เหล่าใดใกล้จะจุติ จักจุติเดี๋ยวนี้ สัตว์

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 377

เหล่านั้นก็กำลังจุติอยู่. ส่วนสัตว์เหล่าใดถือปฏิสนธิและเกิดแล้วในทันที สัตว์เหล่านั้นกำลังเกิดอยู่. ท่านแสดงไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง เห็นสัตว์เหล่านั้นที่กำลังจุติ และกำลังอุปบัติ. บทว่า หีเน เลว คือเลว เพราะประกอบด้วยผลอันเกิดแต่โมหะ. ประณีตตรงกันข้ามกับเลวนั้น. บทว่า สุวณฺเณ มีผิวพรรณดี คือมีผิวพรรณน่าปรารถนา น่าใคร่น่าเอ็นดู เพราะประกอบด้วยผลอันเกิดแต่อโทสะ. ผิวพรรณชั่วตรงกันข้ามกับผิวพรรณดีนั้น คือมีรูปพิกลตรงข้ามกับรูปสวย. บทว่า สุคเต ได้ดี คือมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก เพราะประกอบด้วยผลอันเกิดแต่อโลภะ. บทว่า ทุคฺคเต ได้ชั่ว คือยากจน ไม่มีข้าวและน้ำ เพราะประกอบด้วยผลอันเกิดแต่โลภะ. บทว่า ยถากมฺมูปเค หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม คือเข้าถึงกรรมที่ตน สะสมไว้.

ในบทเหล่านั้น ท่านกล่าวถึงกิจของทิพยจักษุ ด้วยบทมีอาทิว่า จวมาเน อันมีในบทก่อน. แต่ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงกิจ คือความรู้หมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม. นี้เป็นลำดับของการเกิดขึ้นแห่งญาณนั้น ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เจริญอาโลกสัญญามุ่งถึงนรก เห็นหมู่สัตว์นรกกำลัง เสวยทุกข์ใหญ่. การเห็นนั้นเป็นกิจต้องทิพยจักษุเท่านั้น. ภิกษุนั้นกระทำ ไว้ในใจอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรไว้หนอจึงเสวยทุกข์นี้ ดังนี้. ลำดับนั้น ภิกษุนั้นก็เกิดญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ว่า เพราะทำกรรม อย่างนี้ๆ ดังนี้. อนึ่ง ภิกษุเจริญอาโลกสัญญามุ่งสู่เทวโลกในเบื้องบน เห็นหมู่สัตว์ในสวนนันทวัน มิสสกวันและปารุสกวันเป็นต้น เสวยมหาสมบัติอยู่. แม้ความเห็นนั้นก็เป็นกิจของทิพยจักษุเหมือนกัน. ภิกษุนั้น กระทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้นทำกรรมอะไรไว้หนอ จึงเสวยสมบัติ นี้ ดังนี้. ลำดับนั้น ภิกษุนั้นก็เกิดญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ว่า

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 378

เพราะทำกรรมอย่างนี้ๆ ดังนี้. นี้ชื่อว่า ยถากัมมูปคญาณ (รู้ว่าสัตว์เป็น ไปตามกรรม). ญาณนี้ไม่มีบริกรรมต่างหาก. ญาณนี้ฉันใด แม้อนาคตังสญาณ ก็ฉันนั้น. เพราะว่าญาณเหล่านั้นมีทิพยจักษุเป็นบาท จึงย่อมสำเร็จ พร้อมกับทิพยจักษุนั่นเอง.

บทว่า อิเม ในบทมีอาทิว่า อิเม วต โภนฺโต สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นคำแสดงถึงการเห็นด้วยทิพยจักษุ บทว่า วต เป็นนิบาตลงในอรรถ แห่งความเศร้า. บทว่า โภนฺโต คือ ผู้เจริญ. ชื่อว่า ทุจริต เพราะ ประพฤติชั่วหรือประพฤติประทุษร้าย เพราะมีใจเน่าด้วยกิเลส. ชื่อว่า กายทุจริต เพราะประพฤติชั่วทางกาย หรือประพฤติชั่วเกิดแต่กาย. แม้ ในบทนอกนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สมนฺนาคตา คือ มีความพร้อม.

บทว่า อริยานํ อุปวาทกา ติเตียนพระอริยเจ้า คือเป็นผู้ประสงค์ ความพินาศต่อพระอริยเจ้าผู้เป็นพุทธะ ปัจเจกพุทธะ และสาวกพุทธะ โดยที่สุดแม้พระโสดาบันผู้เป็นคฤหัสถ์ กล่าวติเตียนด้วยอันติมวัตถุ (โทษ มีในที่สุด) หรือด้วยกำจัดคุณ. ท่านอธิบายว่า ได้แก่ด่า ติเตียน. กล่าวว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่มีสมณธรรม ภิกษุเหล่านี้ ไม่ใช่สมณะ ดังนี้ ชื่อว่าติเตียน ด้วยอันติมวัตถุ. กล่าวว่าภิกษุเหล่านี้ไม่มีฌาน วิโมกข์ มรรค หรือผล ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าติเตียนด้วยกำจัดคุณ อนึ่ง ภิกษุนั้นรู้อยู่ก็ดี ไม่รู้ อยู่ก็ดี พึงติเตียน ย่อมเป็นอันติเตียนพระอริยเจ้าแม้ทั้งสองอย่างนั้น. กรรมหนัก เช่นอนันตริยกรรม ที่ห้ามสวรรค์และห้ามมรรค ยังแก้ไขได้. เพราะฉะนั้น ผู้ใดติเตียนพระอริยเจ้า ผู้นั้นควรไป หากตนเป็นผู้ใหญ่กว่า ควรนั่งน้อมกาย แล้วกล่าวขอขมาว่า ผมได้กล่าวอย่างนี้ๆ กะท่าน ขอ ท่านได้ยกโทษให้แก่ผมด้วยเถิด ดังนี้ หากตนอ่อนกว่าพึงไหว้น้อมกาย

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 379

ประคองอัญชลี แล้วขอขมาว่า กระผมได้กล่าวอย่างนี้ๆ ขอพระคุณเจ้า โปรดยกโทษให้แก่กระผมด้วยเถิด ดังนี้. แม้หากว่าท่านไปที่อื่น ควร ไปเองหรือส่งสัทธิวิหาริกเป็นต้นไป ให้ท่านยกโทษ. หากไม่สามารถจะ ไปได้หรือไม่สามารถจะส่งไปได้. ก็ไปหาภิกษุที่อยู่ในวิหารนั้น หากว่าภิกษุ เหล่านั้นอ่อนกว่า พึงนั่งน้อมกาย หากแก่กว่าควรปฏิบัติตามนัยที่กล่าว แล้วในภิกษุผู้ใหญ่นั้นแล แล้วกล่าวขอขมาว่า ท่านผู้เจริญ กระผมได้กล่าว อย่างนี้ๆ กะพระคุณเจ้าชื่อโน้น ขอพระคุณเจ้านั้นจงยกโทษให้แก่กระผม ด้วยเถิด ดังนี้. แม้เมื่อไม่ขอขมาต่อหน้า ก็ควรทำเช่นเดียวกัน. หาก ภิกษุเที่ยวไปรูปเดียว ที่อยู่ที่ไปของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ. พึงไปหาภิกษุ ผู้ฉลาดรูปหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมได้กล่าวอย่างนี้ๆ กะท่าน ผู้มีอายุชื่อโน้น เมื่อกระผมนึกไปๆ ถึงท่านก็มีความเดือดร้อน กระผม จะทำอย่างไรดี. ภิกษุผู้ฉลาดรูปนั้นก็จักกล่าวว่า คุณอย่าคิดมากไปเลย พระเถระยกโทษให้แก่คุณ ขอให้คุณสงบใจเสียเถิด. พึงประคองอัญชลี มุ่งตรงไปยังทิศที่พระอริยเจ้านั้นไป แล้วพึงกล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าโปรด ยกโทษเถิด ดังนี้. ผิว่า พระอริยเจ้านั้นนิพพานไปแล้ว ควรไปยังที่ตั้ง เตียงที่ท่านนิพพาน แล้วไปขอขมาจนถึงอัฐิที่บรรจุไว้. เมื่อทำอย่างนี้แล้ว จึงเป็นอันไม่ห้ามสวรรค์ไม่ห้ามมรรค ย่อมเป็นเหมือนเดิมนั่งเอง.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกา คือ มีความเห็นวิปริต. บทว่า มิจฺฉาทิฏฐิกมฺมสมาทาน ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ คือยึดถือการกระทำต่างๆ หลายอย่างด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ อนึ่ง ผู้ใดชักชวนแม้ผู้อื่นในกายกรรม เป็นต้น อันเป็นมูลแห่งมิจฉาทิฏฐิ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นผู้ยึดถือการกระทำ ต่างๆ หลายอย่าง. อนึ่ง ในบทนี้ แม้เมื่อมิจฉาทิฏฐิสงเคราะห์ด้วยการ

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 380

ถือเอาวจีทุจริต และด้วยการถือเอามโนทุจริตในการติเตียนพระอริยเจ้า คำกล่าวของทั้งสองอย่างเหล่านั้นพึงทราบว่า เพื่อแสดงความมีโทษมาก เพราะผู้ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นผู้มีโทษมาก เช่นเดียวกับอนัตริยกรรม

แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุถึง พร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา พึงให้ผู้อื่นยินดีในทิฏฐธรรมด้วย แม้ ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น เรากล่าวว่าผู้ไม่ละคำพูด นั้น ไม่ละจิตนั้น ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเก็บสะสมไว้ เหมือนยินดีใน นรก.

ไม่มีอย่างอื่นที่มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิเลย. เหมือนอย่างที่พระผู้- มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้ สักอย่างเดียว ที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.

บทว่า กายสฺส เภทา กายแตก คือสละขันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่. บทว่า ปรมฺมรณา เมื่อตายไป คือยึดขันธ์อันจะเกิดในลำดับนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กายสฺส เภทา คือ ตัดชีวิตินทรีย์. บทว่า ปรมฺมรณา เบื้องหน้า แต่จุติจิต. บทว่า อปายํ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนรกทั้งหมด. เพราะ ว่านรกชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความเจริญที่สมมติว่าบุญ อันเป็น เหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน หรือเพราะไม่มีความเจริญแห่งความสุข ทั้งหลาย. นรกชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุคติ เพราะเกิด คือถึงด้วยกรรมชั่วอันมากไปด้วยโทษ. นรก ชื่อว่า วินิปาตะ เพราะเป็นที่ที่อวัยวะน้อยใหญ่แตกพินาศไป. ชื่อว่า นิรยะ เพราะเป็นที่ที่ไม่มีความเจริญที่รู้กันว่าเป็นความชอบใจ.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 381

ท่านแสดง กำเนิดเดียรัจฉาน ด้วย อปาย ศัพท์. จริงอยู่ กำเนิด เดียรัจฉาน ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจาก สุคติ ไม่ชื่อ ทุคติ. เพราะ ยังเป็นที่เกิดของนาคราชเป็นต้น ผู้มีศักดิ์ใหญ่.

ท่านแสดง ปิตติวิสัย (ที่อยู่ของเปรต) ด้วย ทุคคติ ศัพท์. จริงอยู่ ปิตติวิสัย ชื่อว่า อบายและทุคติ เพราะปราศจากสุคติและเพราะไปหา ทุกข์ ส่วนนรกชื่อว่า วินิบาต. ส่วนวินิบาตไม่ชื่อว่า ปิตติวิสัย เพราะ ไม่ตกไปเช่นอสูร.

ท่านแสดง อสุรกาย ด้วย วินิปาต ศัพท์. จริงอยู่ อสุรกายนั้นชื่อว่า อบายและทุคติตามความที่กล่าวไว้แล้ว และท่านเรียกว่า วินิบาต เพราะ ตกไปทั้งร่างกาย.

ท่านแสดง นรก มีหลายอย่าง มีอเวจีเป็นต้น ด้วย นิรย ศัพท์. บทว่า อุปฺปนฺนา เข้าไปถึงแล้ว. ในบทนั้นท่านประสงค์เอาว่าเกิดแล้ว.

พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. แต่ความต่าง กันมีดังต่อไปนี้. ในบทนั้น แม้มนุษยคติท่านก็สงเคราะห์ด้วย สุคติ ศัพท์. เทวดาก็เหมือนกันท่านสงเคราะห์ด้วย สัคค ศัพท์. ในบทนั้น ชื่อว่า สุคติ เพราะมีทางไปดี. ชื่อว่า สัคคะ เพราะเลิศไปด้วยอารมณ์มีรูปเป็นต้นดี. แม้ทั้งหมดนั้นมีความว่า ชื่อว่า โลก เพราะแตกสลาย. บททั้งปวงว่า อิติ ทิพฺเพน จกฺขุนา เป็นต้นเป็นคำสรุป. ความสังเขปในบทนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นด้วยทิพยจักขุด้วยประการฉะนี้แล.

ทิพยจักษุญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๔ ด้วยอำนาจแห่งปริตตอารมณ์ ปัจจุบันอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์และพหิทธอารมณ์. ยถากัมมู-

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 382

ปคญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๕ ด้วยอำนาจแห่งปริตตอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ อดีตอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์ และพหิทธอารมณ์ อนาคตังสญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๘ ด้วยอำนาจแห่งปริตตอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ อัปปมาณอารมณ์ มรรคอารมณ์ อนาคตอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์ พหิทธอารมณ์ และนวัตตัพพอารมณ์.

บทว่า อากงฺขมาโน จ ภควา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนา อยู่. บทว่า เอกมฺปิ โลกธาตุํ ปสฺเสยฺย พึงทรงเห็นแม้โลกธาตุหนึ่ง คือพึงทรงเห็นจักรวาลหนึ่ง. ในบทว่า สหสฺสิมฺปิ จูฬนิกา แม้โลกธาตุ พันหนึ่งเป็นส่วนเล็กนี้ พึงทราบดังต่อไปนี้ โลกธาตุนี้ชื่อว่าพันหนึ่ง เป็นส่วนเล็กในอาคตสถานว่า

โลกทรงไว้ซึ่งโลกธาตุพันหนึ่ง ตลอดเวลาที่พระจันทร์ และพระอาทิตย์ยังเดินอยู่ ยังสว่างไสว หมุนไปทั่วทิศ อำนาจของท่านย่อมเป็นไปในโลกนี้.

บทว่า จูฬนิกํ คือ เล็กน้อย. ในบทว่า ทฺวิสหสฺสิมฺปิ มชฺฌิมิกํ โลกธาตุํ แม้โลกธาตุสองพันเป็นส่วนปานกลางนี้ พึงทราบความดังนี้ ปริมาณจักรวาลล้านหนึ่งคูณจักรวาลพันหนึ่ง ด้วยส่วนของพัน รวมเป็น หนึ่งล้าน ชื่อว่าโลกธาตุสองพันเป็นส่วนปานกลาง. ด้วยโลกธาตุนี้ ท่านแสดงถึงเขตอันเป็นกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. จริงอยู่ ที่ ประมาณเท่านี้ย่อมหวั่นไหว ในวันเคลื่อนจากเทวโลกในภพสุดท้ายของ พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย แล้วถือปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา ในวันประสูติ จากครรภ์ ในวันเสด็จออกผนวช และในวันตรัสรู้ ในวันแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ในวันปลงอายุสังขาร และในวันเสด็จปรินิพพาน.

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 383

บทว่า ติสหสฺสึ มหาสหสฺสิมฺปิ โลกธาตุ โลกธาตุสามพัน เพราะ คูณด้วยหลายพัน แม้โลกธาตุหลายพัน คือชื่อว่า มหาสหสฺสี หลายพัน เพราะคูณโลกธาตุตั้งแต่พันหนึ่ง สามพันที่สาม พันที่หนึ่ง แล้วคูณโลกธาตุพันหนึ่งเป็นส่วนปานกลาง. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านแสดงถึงโลกมี ปริมาณแสนโกฏิจักรวาล. อนึ่ง พระคณกปุตตติสสเถระกล่าวไว้อย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ปริมาณของโลกธาตุสามพันและหลายพัน เพราะปริมาณนี้ ชื่อว่า โลกธาตุสามพันหลายพัน เป็นความงมงายในการท่องบ่นของอาจารย์ ทั้งหลาย เป็นที่เสื่อมของวาจา เป็นที่กำหนดจักรวาลล้านโกฏิ. ก็ด้วย เหตุมีประมาณเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงถึงอาณาเขตของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อานุภาพของอาฏานาฏิยปริตร อิสิคิลิปริตร ธชัคคปริตร โพชฌังคปริตร ขันธปริตร โมรปริตร เมตตปริตร และรัตนปริตร ย่อม แผ่ไปในระหว่างนี้. บทว่า ยาตา วา ปน อากงฺเขยฺย คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาเท่าใด. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านแสดงวิสัยเขต (เขตของวิสัย) จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีการกำหนดปริมาณของ วิสัยเขต. พระสังคีติกาจารย์ นำข้ออุปมาในความไม่มีวิสัยเขตนี้มา ดัง ต่อไปนี้.

หากใครๆ เอาเมล็ดผักกาดมาให้เต็มในแสนโกฏิจักรวาล ตลอดถึง พรหมโลก แล้วเอาเมล็ดผักกาดเมล็ดหนึ่งใส่ลงในจักรวาลหนึ่งทางทิศ ตะวันออก เมล็ดผักกาดเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็ถึงความสิ้นไป ส่วนจักรวาล ทั้งหลายทางทิศตะวันออกไม่สิ้นไป. แม้ในทิศใต้เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือน กัน. ชื่อว่าความไม่มีวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในการกำหนดประมาณ นั้นย่อมไม่มี. บทว่า ตาวตกํ ปสฺเสยฺย คือ พึงทรงเห็นได้เท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 384

ทิพยจักษุกถาก็จบลงด้วยบทว่า ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์ อย่างนี้.

บทว่า กถํ ภควา ปญฺาจกฺขุนา วิวฏจกฺขุ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างไร คือมีพระจักษุอันปัญญา จักษุไม่ปิดแล้วด้วยเหตุไร.

บทว่า มหาปญฺโ ปุถุปญฺโ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวางเป็นต้น. บทสุดท้ายว่า ตตฺถ อติโรจติ ยทิทํ ปญฺาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไพโรจน์ยิ่ง ด้วยพระปัญญาในที่นั้น ดังนี้ มีความ ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า พุทฺธจกฺขุนา ด้วยพุทธจักษุ คือด้วยอินทรียปโรปริยัตตญาณ (ปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย) และ ด้วยอาสยานุสยญาณ (ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัยดีเลว และอนุสัยกิเลสอัน นอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย). มีญาณสองเหล่านี้ จึงชื่อว่า พุทธจักษุ. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าสมันตจักษุ (จักษุรอบตอบ). มรรคญาณ ๓ ชื่อว่าธรรมจักษุ. บทว่า โลกํ โวโลเกนฺโต อทฺทส สตฺเต คือ ทรงตรวจดูโลก ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย. พึงทราบความในบทว่า อปฺปรชกฺเข มีกิเลสเป็นเพียงดังธุลีน้อยเป็นต้น ธุลีมีราคะเป็นต้น ในปัญญาจักษุ โดยนัยที่กล่าวแล้วของสัตว์เหล่าใดน้อย สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกิเลสน้อย. ธุลีมีราคะเป็นต้นของสัตว์เหล่านั้นมาก สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกิเลสเพียงดัง ธุลีมาก. อินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นของสัตว์เหล่าใดกล้า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า มีอินทรีย์กล้า. อินทรีย์เหล่านั้นของสัตว์เหล่าใดอ่อน สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามี อินทรีย์อ่อน. อาการศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้นของสัตว์เหล่าใดดี สัตว์เหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 385

ชื่อว่ามีอาการดี. สัตว์เหล่าใดกำหนดเหตุที่กล่าวแล้วสามารถรูได้โดยง่าย สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าแนะนำได้โดยง่าย. สัตว์เหล่าใดเห็นปรโลกและวัฏฏะ โดยความเป็นภัย สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเห็นภัยในปรโลกและวัฏฏะ. บทว่า อุปฺปลินิยํ คือ ในกอบัว. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนฺโต นิมุคฺคโปสินี คือ จมอยู่ในน้ำอันน้ำหล่อเลี้ยงไว้. บทว่า อุทกา อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺนฺติ โผล่ขึ้นจากน้ำ คือตั้งขึ้นพ้นน้ำ. ในดอกบัวเหล่านั้น ดอกบัวใดโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ดอกบัวนั้นรอต้องแสงพระอาทิตย์ ก็จะบานใน วันนี้. ดอกบัวใดตั้งอยู่เสมอน้ำ ดอกบัวนั้นจะบานในวันรุ่งขึ้น. ดอกบัว ใดยังไม่พ้นจากน้ำจมอยู่ในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้ ดอกบัวนั้นจะบานในวันที่สาม นั่นแล. ดอกบัวใดไม่บานเลยก็จักเป็นอาหารของปลาและเต่าไปเท่านั้น เอง ดอกบัวนั้นท่านแสดงไว้ว่ามิได้ยกขึ้นสู่บาลี แต่ก็ควรนำมากล่าวไว้.

ท่านแสดงถึงบุคคล ๔ จำพวก คืออุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ เหมือนดอกบัว ๔ ชนิดฉะนั้น. บุคคลใดรู้ธรรมในเวลาที่ท่าน ยกขึ้นมากล่าว บุคคลนี้ท่านเรียกว่า อุคฆติตัญญู.

บุคคลใด เมื่อท่านขยายความโดยพิสดารแห่งภาษิตที่ยกขึ้นกล่าว โดยย่อ จึงรู้ธรรม บุคคลนี้ท่านเรียกว่า วิปจิตัญญู.

บุคคลใด สอบถามใส่ใจ เสพคบนั่งใกล้กัลยาณมิตร จึงรู้ธรรม บุคคลนี้ท่านเรียกว่า เนยยะ.

บุคคลใด แม้บอกมาก กล่าวมาก ทรงไว้มาก สอนมาก ก็ไม่รู้ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้ท่านเรียกว่า ปทปรมะ.

ในบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุ เช่นกับดอกบัวเป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า วันนี้

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 386

อุคฆติตัญญูจะบาน วันนี้วิปจิตัญญูจะบาน ดังนี้. พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะสำเร็จประโยชน์แก่บุคคล ๓ จำพวกในอัตภาพนี้แล พระธรรมเทศนาก็จะเป็นวาสนาแก่บุคคลผู้เป็นปทปรมะในอนาคต.

พึงทราบความในบทว่า ราคจริโต เป็นราคจริตเป็นต้นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าเป็นราคจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ด้วยความกำหนัด. ชื่อว่าเป็นโทสจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ด้วยความประทุษร้าย. ชื่อว่าเป็นโมหจริต เพราะมีความประพฤติด้วยความหลง. ชื่อว่า เป็นวิตกจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ ด้วยความวิตกด้วยความ ตรึก. ชื่อว่าเป็นศรัทธาจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ด้วยความ เชื่อง่าย. ชื่อว่าเป็นญาณจริต เพราะมีความประพฤติเป็นความรู้ ประพฤติ ด้วยความรู้ ประพฤติโดยความรู้ หรือประพฤติเพื่อความรู้. บทว่า ราคจริตสฺส แก่บุคคลผู้เป็นราคจริต คือราคะหนา ราคะจัด. แม้บทอื่น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อสุภกถํ กเถติ ตรัสอสุภกถา คือทรงบอกกถาปฏิสังยุต ด้วยอสุภะ ๑๐ อย่าง มีอุทธุมาตกะ (ขึ้นอืด) เป็นต้น. ดังที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ควรเจริญอสุภะเพื่อละราคะ ดังนี้. บทว่า เมตฺตาภาวนํ อาจิกฺขติ คือ ตรัสบอกเมตตาภาวนา คือตรัสเมตตาภาวนาอันจับจิต. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงเจริญเมตตา เพื่อละพยาบาท ดังนี้.

บทว่า อุทฺเทเส ในการเรียน คือในการท่องบ่น. บทว่า ปริ- ปุจฺฉาย ในการไต่ถาม คือในการกล่าวเนื้อความ. บทว่า กาเลน ธมฺมสฺสวเน ในการฟังธรรมตามกาล คือในการฟังปริยัติธรรมให้ยิ่งใน

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 387

เวลาเรียน. บทว่า ธมฺมสากจฺฉา ในการสนทนาธรรม คือในการ สนทนากับผู้อื่น. บทว่า คุรุสํวาเส ในการอยู่ร่วมกับครู คือในการเข้า ใกล้ครู. บทว่า นิเวเสติ ให้อยู่ คือให้ตั้งอยู่ในสำนักของอาจารย์. บทว่า อานปานสฺสตึ กเถติ บอกอานาปานสติ คือบอกกรรมฐาน สัมปยุตด้วยอานาปานสติ (กำหนดลมหายใจเข้าออก) ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงเจริญอานาปานสติเพื่อกำจัดวิตก. บทว่า ปาสาทนียํ นิมิตฺตํ อาจิกฺขติ ตรัสบอกพระสูตรอัน เป็นนิมิตดี คือตรัสบอก พระสูตรอันให้เกิดความเลื่อมใส มีจุลลเวทัลลสูตรและมหาเวทัลลสูตร เป็นต้น.

บทว่า พุทฺธสุโพธึ ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า คือการตรัสรู้ ความเป็นพุทธะของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. บทว่า ธมฺมสุธมฺมํ ความ เป็นธรรมดีแห่งพระธรรม คือความที่โลกุตรธรรม ๙ อย่าง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว. บทว่า สงฺสุปฏิปตฺตึ การปฏิบัติของพระสงฆ์ คือการปฏิบัติดี มีการปฏิบัติชอบของพระอริยสงฆ์ ๘ จำพวก.

บทว่า สีลานิ จ อตฺตโน ศีลของตน คือทรงบอกศีลอันเป็นของ ตน. บทว่า วิปสฺสนานิมิตฺตํ ธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา คือทรง บอกธรรมอันปฏิสังยุตด้วยวิปัสสนา มีความเกิดและความดับเป็นต้น. บทว่า อนิจฺจาการํ มีอาการไม่เที่ยง คือมีอาการมีแล้วไม่มี. บทว่า ทุกฺขาการํ มีอาการเป็นทุกข์ คือมีอาการบีบคั้น คือความเกิดและความ ดับ. บทว่า อนตฺตาการํ มีอาการไม่เป็นไปในอำนาจ.

บทว่า เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺิโต คือ บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขา ศิลาหนาทึบ. เมื่อยืนบนภูเขานั้นก็ไม่มีกิจที่จะขึ้นต้นไม้เพื่อดูเลย. บทว่า

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 388

ตถูปมํ เปรียบเหมือนภูเขานั้น คือเปรียบด้วยภูเขาศิลาอันปฏิภาคกันนั้น. ในบทนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้

บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดเขาศีลา พึงเห็นหมู่ชน โดยรอบฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดี คือมีปัญญาประเสริฐ มีพระจักษุโดยรอบ พระองค์มี ความโศกไปปราศแล้ว ทรงขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วย ธรรม สำเร็จด้วยปัญญา ขอจงทรงพิจารณาใคร่ครวญ ไตร่ตรองถึงหมู่ชนผู้อาเกียรณด้วยความโศก และถูกชาติ ชราครอบงำแล้วฉันนั้น.

ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายทำพื้น ที่อันใหญ่โดยรอบเชิงภูเขา แล้วปลูกกระท่อมไว้ที่แนวพื้นที่อันเหมาะแก่ การเพาะปลูก ณ ที่นั้น นึกก่อไฟในเวลากลางคืน และพึงมีความมืด ประกอบด้วยองค์ ๔ ทีนั้นเมื่อบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขานั้นมองดู พื้นที่ พื้นที่ไม่ปรากฏ แนวเพาะปลูกไม่ปรากฏ กระท่อมไม่ปรากฏ มนุษย์ที่นอนในกระท่อมไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เพียงเปลวไฟในกระท่อม ฉันใด เมื่อพระตถาคตทรงขึ้นสู่ธรรมปราสาททรงตรวจดูหมู่สัตว์ สัตว์ เหล่าใดไม่ทำความดีไว้ สัตว์เหล่านั้นแม้นั่ง ณ ข้างพระชานุเบื้องขวาใน วิหารเดียวกัน ก็ไม่มาสู่คลองแห่งพุทธจักษุ เหมือนลูกศรที่ซัดไปใน ตอนกลางคืนฉะนั้น ส่วนสัตว์เหล่าใด ทำความดีไว้ เป็นเวไนยบุคคล สัตว์เหล่านั้นแม้อยู่ไกลพระตถาคตก็ย่อมมาสู่คลองพุทธจักษุ สัตว์เหล่านั้น ดุจไฟ และดุจภูเขาหิมวันตะ. ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 389

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขา หิมวันตะ อสัตบุรุษทั้งหลายไม่ปรากฏในที่นี้ เหมือน ลูกศรที่ซัดไปในตอนกลางคืนฉะนั้น.

พึงทราบความในบทว่า สพฺพญฺญุตาณํ พระสัพพัญญุตญาณนี้ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า สัพพัญู เพราะรู้ทั่วถึงสิ่งทั้งปวงอันเป็นคลองแห่งธรรม ที่ควรแน่นำ ๕ ประการ. ธรรมทั้งปวงมีประเภทเป็นสังขตธรรมและ อสังขตธรรม ชื่อว่าเป็นคลองแห่งธรรมที่ควรแนะนำ ๕ ประการ คือ สังขาร ๑ วิการ ๑ ลักษณะ ๑ นิพพาน ๑ บัญญัติ ๑ ความเป็นแห่ง สัพพัญญู ชื่อว่าสัพพัญญุตา. สัพพัญญุตานั่นเอง คือาณํ ควรจะกล่าว ว่า สพฺพญฺญุตาาณํ ท่านก็กล่าวว่า สพฺพญฺญุตาณํ. บทว่า สพฺพญฺญู รู้สิ่งทั้งปวง คือพึงถึงเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง ๕ อย่าง คือกมสัพพัญญู (รู้สิ่ง ทั้งปวงตามลำดับ) ๑. สกึสัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวงคราวเดียว) ๑. สตตสัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวงเนืองๆ ) ๑. สัตติสัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวงตาม ความสามารถ) ๑. ญาตสัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวงที่รู้แล้ว) ๑.

ในสัพพัญญู ๕ อย่างนั้น เพราะไม่มีกาลอันจะรู้สิ่งทั้งปวงตามลำดับ จึงไม่ชื่อว่า กมสัพพัญญู. เพราะไม่มีการยึดถืออารมณ์คราวเดียว จึง ไม่ชื่อว่า สกึสัพพัญญู. เพราะมีจิตมีอารมณ์แน่นอนในจักขุวิญญาณ เป็นต้น เพราะดับภวังคจิต และเพราะไม่มีการประกอบ จึงไม่ชื่อว่า สตตสัพพัญญู. เพราะสามารถรู้สิ่งทั้งปวงโดยไม่เหลือ พึงเป็นสัตติ- สัพพัญญู หรือเพราะรู้แจ้งธรรมทั้งปวง พึงเป็นญาตสัพพัญญู. การ รู้สิ่งทั้งปวงไม่มีในสัตติสัพพัญญู ด้วยประการฉะนี้. แม้ข้อนั้นก็ไม่ถูก

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 390

เพราะท่านกล่าวไว้ว่า สิ่งอะไรๆ ในโลกนี้ อันพระปัญญาจักษุของพระตถาคตนั้นไม่เห็น ย่อมไม่มี ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า ผู้มีสมันตจักษุ. ญาตสัพพัญญูนั่นแลถูก. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้สัพพัญญู ย่อมมี โดยกิจ โดยไม่หลง โดยสำเร็จแต่การณะ โดยอาศัยอาวัชชนะ. บทว่า เตน าเณน ด้วยญาณนั้น คือด้วยญาณอันรู้สิ่งทั้งปวงนั้น. เพื่อ สำเร็จความเป็นสัพพัญญูโดยปริยายอื่นอีก ท่านจึงกล่าวคาถาว่า น ตสฺส ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น ตสฺส อทิฏฺมิธตฺถิ กิญฺจิ อะไรๆ ใน โลกนี้ อันพระปัญญาจักษุของพระตถาคตไม่เห็นย่อมไม่มี ความว่า อะไรๆ ในไตรโลกนี้ อันพระปัญญาจักษุของพระตถาคตนั้น ไม่เห็นในกาล ปัจจุบันนี้ แม้ประมาณน้อยย่อมไม่มี. บทว่า อตฺถิ นี้ เป็นบทอาขยาต เป็นไปในปัจจุบันแล. ด้วยบทนี้ ท่านจึงแสดงความที่ธรรมทั้งปวงอัน เป็นไปในปัจจุบันกาล อันพระตถาคตรู้แล้ว. ก็ในคาถานี้ประกอบ เข้าไป เพื่อสะดวกในการแต่งคาถา. อโถ ศัพท์ ในบทว่า อโถ วิญฺาตํ อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้ นี้เป็นนิบาตลงในความรับรองคำพูด. บทว่า อวิญฺาตํ มีปาฐะที่เหลือว่า ธรรมชาติอะไรๆ ชื่อว่า อันพระพุทธญาณไม่รู้แจ้ง อันเป็นกาลในอดีต มิได้มี. แม้เว้นปาฐะที่เหลือใน การถือเอา อัตถิ ศัพท์ อันเป็นอัพยยศัพท์ ก็ควรเหมือนกัน. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงความที่ธรรมทั้งปวง อันเป็นอดีตกาลอัน พระตถาคตรู้แล้ว. บทว่า อชานิตพฺพํ ไม่ควรรู้ คือธรรมชาติที่ไม่ควรรู้ อันเป็นอนาคตกาล จักไม่มีหรือย่อมไม่มี. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงความที่ธรรมทั้งปวงอันเป็น

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 391

อนาคตกาล อันพระตถาคตทรงรู้แล้ว. อ อักษรในบทว่า อชานิตพฺพํ นี้ เพียงเป็นวิเสสนะของกิริยารู้นั่นเอง.

ในบทว่า สพฺพํ อภิญฺาสิ ยทตฺถิ เนยฺยํ พระตถาคตทรงทราบ แล้วซึ่งธรรมชาติ ที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด นี้พึงทราบดังนี้.

ธรรมชาติอะไรๆ อันใดที่ควรแนะนำ ควรรู้ เป็นไปใน ๓ กาล หรือพ้นกาลไปแล้วมีอยู่ พระตถาคตทรงทราบ คือทรงรู้ทรงแทงตลอด ธรรมชาตินั้นทั้งหมด ด้วยพระสัพพัญญุตญาณอันยิ่ง. ในบทนี้พึงเห็นว่า อัตถิ ศัพท์ เป็นอัพยยศัพท์ในกาล โดยถือเอา ๓ กาลและพ้นกาลด้วย อัตถิ ศัพท์. บทว่า ตถาคโต เตน สมนฺตจกฺขุ ด้วยเหตุนั้นพระตถาคตจึง ชื่อว่าผู้มีสมันตจักษุ คือชื่อว่า สมันตจักษุ เพราะมีญาณจักษุอันเป็นไปแล้ว โดยรอบคือโดยประการทั้งปวง เพราะแสดงโดยไม่เหลือด้วยกาลด้วย โอกาส. ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะเหตุตามที่กล่าวแล้วนั้น พระตถาคต จึงเป็นพระสัพพัญญูผู้มีสมันตจักษุ พระสัพพัญญุตญาณ สำเร็จลงแล้วด้วย เทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐานด้วยคาถานี้.

บทว่า น อิติหิติหํ คือ มิใช่โดยต้องเชื่อต่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็น ดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้. บทว่า น อิติกิริยาย คือ มิใช่โดยได้ยินต่อๆ กันมาว่า ได้ยินว่านี้เป็นอย่างนี้. บทว่า น ปรมฺปราย คือ มิใช่โดยถือตาม ลำดับสืบๆ กันมา. บทว่า น ปิฏกสมฺปทาย มิใช่โดยอ้างตำรา คือมิใช่ โดยอ้างว่านี้เหมาะสมกับตำราพระไตรปิฎกของเรา. บทว่า น ตกฺกเหตุ มิใช่โดยนึกเอา คือมิใช่โดยคาคคะเนเอา บทว่า น อาการปริวิตกฺเกน มิใช่โดยตรึกตามอาการ คือมิใช่ตรึกตามเหตุอย่างนี้ว่า เหตุการณ์นี้ดี.

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 392

บทว่า น ทิฏฺินินชฺฌานกฺขนฺติยา มิใช่โดยชอบว่าควรแก่ทิฏฐิของตน คือ มิใช่ว่าเหมาะสมกับทิฏฐิที่เราชอบแล้วถือเอา.

พึงทราบความในบทว่า อถวาปิ สมาธึ นี้ดังนี้ บทว่า สมาธึ คือ ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นกุศลมีอารมณ์เดียว. ชื่อว่าสมาธิด้วยอรรถว่า กระไร. ด้วยอรรถว่าตั้งใจมั่น. ชื่อว่าการตั้งใจมั่นนี้เป็นอย่างไร. คือการ ตั้งจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์เดียวเสมอและโดยชอบ. ท่านอธิบายว่า การตั้งไว้. เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกทั้งหลาย ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วุ่นวาย ตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว ด้วยอานุภาพแห่งธรรมใดเสมอและโดยชอบ นี้พึง ทราบว่าการตั้งใจมั่น.

ท่านกล่าวถึงสมาธินั้นเป็นคาถาประพันธ์ว่า

สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ มีความกำจัด ความฟุ้งซ่านเป็นรส มีความไม่หวั่นไหวเป็นเครื่องปรากฏ มีความสุข ความเจริญเป็นปทัฏฐาน.

สมาธิ ชื่อว่าตั้งมั่น เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โดยความไม่ขุ่นมัวไม่ หวั่นไหว. สองบทต่อไปเพิ่มอุปสัค. ชื่อว่าตั้งอยู่พร้อม เพราะรวบรวม แม้อารมณ์ในสัมปยุตธรรมตั้งอยู่. ซึ่งว่าตั้งลง เพราะไม่เข้าไปเกาะอารมณ์ ตั้งอยู่. จริงอยู่ ในฝ่ายกุศลธรรมมี ๔ อย่าง คือศรัทธา สติ สมาธิและปัญญา ย่อมหยั่งลงในอารมณ์. ด้วยเหตุนั้นแล ศรัทธาท่านจึงกล่าวว่าแน่วแน่. สติท่านกล่าวว่าไม่เลื่อนลอย. สมาธิท่านกล่าวว่าตั้งลงดิ่ง. ปัญญาท่าน กล่าวว่าหยั่งลง. ส่วนในฝ่ายอกุศลธรรมมี ๓ อย่าง คือ ตัณหา ทิฏฐิและ อวิชชาย่อมหยั่งลงในอารมณ์. ด้วยเหตุนั้นธรรมเหล่านั้นท่านจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 393

เป็น โอฆะ. อนึ่ง ในฝ่ายอกุศลนี้ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ แต่ไม่มีกำลัง. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคลเอาน้ำรดในที่เปรอะด้วยธุลีแล้วถู ธุลีหายไป ชั่วขณะเล็กน้อย เมื่อแห้งแล้วธุลีก็ปรากฏตามเดิมอีกฉันใด ความที่จิตมี อารมณ์เป็นหนึ่งในฝ่ายอกุศล จึงไม่มีกำลังฉันนั้นเหมือนกัน. ชื่อว่าไม่ มีความฟุ้งซ่าน เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน อันเป็นไปแล้วด้วย อำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัย. จิตแล่นไปด้วยอำนาจความฟุ้งซ่าน และความสงสัยนั่นแล ชื่อว่าย่อมฟุ้งซ่าน. แต่สมาธินี้ไม่ฟุ้งซ่านอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่ฟุ้งซ่าน. จิตแล่นไป คือแล่นไปข้างโน้นข้างนี้ ด้วยอำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัย. แต่ความเป็นผู้มีใจอันอะไรๆ ไม่ ให้ฟุ้งซ่านไปได้อย่างนี้ ชื่อว่า อวิสาหฏมานสตา ความมีใจไม่ฟุ้งซ่าน. บทว่า สมโถ ความสงบ มี ๓ อย่างคือจิตตสมถะ (ความสงบจิต) ๑ อธิกรณสมถะ (ความสงบอธิกรณ์) ๑ สัพพสังขารสมถะ (ความสงบสังขาร ทั้งปวง) ๑. ในสมถะ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่าจิตตสมถะ เพราะจิตมีอารมณ์ เป็นหนึ่งในสมาบัติ ๘. เพราะจิตหวั่นไหว จิตดิ้นรน สงบระงับเพราะ อาศัยสมถะนั้น ฉะนั้น สมถะนั้นท่านจึงเรียกว่า จิตตสมถะ.

ชื่อว่า อธิกรณสมถะ (ความสงบอธิกรณ์) มี ๗ อย่าง มี สัมมุขาวินัย (ในที่พร้อมหน้าบุคคล วัตถุ และธรรม) เป็นต้น. อธิกรณ์ ทั้งหลายนั้นๆ สงบระงับไปเพราะอาศัยสมถะนั้น เพราะฉะนั้น สมถะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อธิกรณสมถะ แต่เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวงสงบระงับ ไป เพราะอาศัยนิพพาน ฉะนั้น นิพพานนั้นท่านจึงเรียกว่า สัพพสังขารสมถะ. ในความนี้ท่านประสงค์เอาจิตตสมถะ. ชื่อว่า สมาธินทริยะ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะของสมาธิ. ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะ

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 394

ไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ บทว่า สมฺมาสมาธิ ได้แก่ สมาธิแน่นอน สมาธินำสัตว์ออกไป.

ลำดับนั้น เพราะอินทรีย์สังวรเป็นการรักษาศีล หรือเพราะเทศนานี้ ที่พระองค์ทรงแสดงตามลำดับนี้ เป็นที่สบายของเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเริ่มตั้งแต่อินทรีย์สังวรไป จึงทรงปรารภคำมีอาทิว่า จกฺขูหิ ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขูหิ เนว โลลสฺส ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเล ด้วยจักษุทั้งหลาย คือไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ด้วยอำนาจมีรูปที่ เราไม่เคยดู ควรดูเป็นต้น. บทว่า คามกถาย อาวรเย โสตํ พึงป้องกันหู จากคามกถา (คำพูดของชาวบ้าน) คือพึงป้องกันหูจากติรัจฉานกถา.

บทว่า จกฺขุโลลิเยน ความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือความเป็นผู้ โลเลด้วยจักษุ ด้วยอำนาจความโลภอันเกิดขึ้นแล้วในจักษุทวาร. บทว่า อทิฏฺํ ทกฺขิตพฺพํ รูปที่เราไม่เคยดู ควรดู คือรูปารมณ์ที่เราไม่เคยดูควร เพื่อจะดู. บทว่า ทิฏฺํ สมติกฺกมิตพฺพํ รูปที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป คือรูปารมณ์ที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป. บทว่า อาราเมน อารามํ สู่สวน แต่สวน คือสู่สวนผลไม้ สวนดอกไม้เป็นต้น แต่สวนมีสวนดอกไม้เป็น ต้น. บทว่า ทีฆจาริกํ คือ เที่ยวไปนาน. บทว่า อนวฏฺิตจาริกํ เที่ยวไป ไม่แน่นอน คือเที่ยวไปโดยไม่ตกลงใจ. บทว่า อนุยุตฺโต โหติ รูปทสฺสนาย เป็นผู้ขวนขวายเพื่อจะดูรูป คือเป็นผู้ขวนขวายบ่อยๆ เพื่อจะดูรูปารมณ์. บทว่า อนฺตรฆรํ ปวิฏฺโ เข้าไปสู่ละแวกบ้าน คือ เข้าไปถึงภายในธรณีประตู. บทว่า วีถึ ปฏิปนฺโน เดินไปตามถนน คือ ก้าวไประหว่างถนน. บทว่า ฆรมุขานิ โอโลเกนฺโต แลดูหน้ามุขเรือน

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 395

คือมองดูประตูเรือน. บทว่า อุทฺธํ โอโลเกนฺโต แลดูข้างบน คือแหงน หน้ามองดูเบื้องบน. บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถเห็นรูป ที่เรียกว่าจักษุด้วยอำนาจของ เหตุ. แต่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า จักษุไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจิต จิตไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ ย่อมเห็นด้วยจิตอันมีปสาทจักษุกระทบ อารมณ์ทางทวาร. ก็กถาเช่นนี้ชื่อว่าสสัมภารกถา (กล่าวรวมกัน) ดุจใน ประโยคมีอาทิว่า ยิงด้วยธนูเพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีว่า เห็นรูป ด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี เป็นผู้ถือนิมิต คือถือนิมิตหญิง และชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส มีสุภนิมิตเป็นต้นด้วยอำนาจ ฉันทราคะ. เพียงเห็นเท่านั้นนิมิตไม่ปรากฏ. บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี ถืออนุพยัญชนะ คือถืออากาหันต่างด้วยมือ เท้า หัวเราะ ขบขัน พูด ชำเลืองดูและการเหลียวดูเป็นต้น เรียกว่าอนุพยัญชนะเพราะทำให้ปรากฏ โดยเป็นเหตุให้กิเลสทั้งหลายปรากฏ. พึงทราบความในบทว่า ยตฺวาธิ- กรณเมนํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ พึงครอบงำติดตามบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ด้วยประตูคือสติ ผู้ไม่ปิด จักษุทวารอันเป็นเหตุแห่งการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ บทว่า ตสฺส สํรราย น ปฏิปชฺชติ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ คือย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ ปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ. ท่านกล่าวว่า ภิกษุเป็นอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์บ้าง. ในบทนั้น การสำรวมหรือไม่สำรวม ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์โดยแท้. เพราะสติหรือ การหลงลืมย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย จักษุประสาท อีกอย่างหนึ่ง เมื่อใด รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปสองครั้ง

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 396

กิริยามโนธาตุยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. แต่นั้นจักษุ- วิญญาณก็ทำหน้าที่เห็น. แต่นั้นวิปากมโนธาตุ ทำหน้าที่รับ. แต่นั้น วิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ทำหน้าที่พิจารณา. แต่นั้นกิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. ในลำดับนั้น ชวนจิตย่อมแล่นไป. ความไม่สำรวมหรือความสำรวมย่อมไม่มีในสมัย แห่งภวังคจิตแม้นั้น ย่อมไม่มีในสมัยใดสมัยหนึ่ง บรรดาอาวัชชนจิตเป็น ต้น. ก็ในขณะชวนจิต หากว่า ความเป็นผู้ทุศีล ความหลงลืม ความไม่รู้ ความไม่อดทน หรือความเกียจคร้านเกิดขึ้น ความไม่สำรวมย่อมมี. ภิกษุ เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์. เพราะเหตุ ไร. เพราะเมื่อไม่มีการสำรวมในจักขุนทรีย์มีอยู่ แม้ทวารก็ไม่เป็นอัน คุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิต มีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านในนครไม่ปิด แม้จะปิดประตู เรือนซุ้มและห้องเป็นต้นข้างในก็ตาม ถึงดังนั้นก็ไม่เป็นอันรักษาคุ้มครอง ทรัพย์ทั้งหมดภายในนครนั่นเอง โจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูนคร พึง ทำตามความต้องการฉันใด เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เกิดขึ้นในชวนจิต เมื่อไม่มีการสำรวมนั้น แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถี จิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.

บทว่า สทฺธาเทยฺยานิ โภชนะอันเขาถวายด้วยศรัทธา คือโภชนะ อันเขาเชื่อกรรม ผลของกรรม โลกนี้โลกหน้าแล้วถวาย. อธิบายว่า ไม่ ได้ถวายด้วยอาการอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้เป็นญาติ เป็นมิตรของเรา จักทำสิ่งนี้ หรือเขาเคยทำสิ่งนี้ ดังนี้. การถวายอย่างนี้ ไม่ชื่อว่าถวายด้วยศรัทธา. อนึ่ง บทว่า โภชนานิ นี้ เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. แต่โดยอรรถ ท่านกล่าว

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 397

คำทั้งหมดนี้ว่า ภิกษุบริโภคโภชนะที่เขาถวายด้วยศรัทธา ห่มจีวร เสพ เสนาสนะ บริโภคบริขารคือยาอันเป็นปัจจัยแห่งคนไข้. บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต มีความว่า นั้นเป็นไฉน. การฟ้อนอย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่า นัจจะ. ภิกษุแม้เดินไปบ้านก็ไม่ควรแหงนดู. บทว่า คีตํ การขับ ได้แก่ การขับย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า วาทิตํ ได้แก่ การประโคมอย่างใด อย่างหนึ่ง. บทว่า เปกฺขํ ได้แก่ มหรสพมีการรำเป็นต้น. บทว่า อกฺขานํ การเล่านิยาย คือเล่าเรื่องภารตะและรามายณะเป็นต้น (เรื่องรามเกียรติ์) ภิกษุไม่ควรไปในที่ที่เขาเล่านิยายกัน. บทว่า ปาณิสฺสรํ คือ เพลงปรบมือ. บทว่า เวตาฬํ คือ ฆ้อง. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า การร่ายมนต์บนร่าง ของผู้ตาย. บทว่า กุมฺภถูนํ ระนาด คือการตีบนราง ๔ เหลี่ยม. บทว่า โสภนครกํ คือ หนัง. ท่านอธิบายว่า นครงาม คือมีผู้ทำให้วิจิตรด้วย ความเฉียบแหลม. บทว่า จณฺฑาลํ เล่นตีคลี. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กีฬาชักเปลือกไม้ของคนจัณฑาล. บทว่า วํสํ เล่นไต่ราว คือยกไม้ไผ่ ขึ้นเล่น. บทว่า โธวนํ คือ การเล่นหน้าศพ. ได้ยินว่า ในชนบทบางแห่ง เมื่อญาติตายเขาไม่เผา ขุดหลุมฝัง. ญาติรู้เวลาที่ผู้ตายนั้นจะเน่า จึงนำ ออกแล้วล้างกระดูกเอาของหอมทาเก็บไว้. ครั้นถึงวันนักขัตฤกษ์ พวก ญาติตั้งกระดูกไว้ในที่หนึ่ง ตั้งสุราเป็นต้นไว้ในที่หนึ่ง แล้วพากันร้องไห้ คร่ำครวญไป ดื่มสุราไป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ในทักขิณาชนบทมีตำบลหนึ่งชื่อโธวนะ ทำตำบลนั้นมีข้าวน้ำ ลงเคี้ยว ของบริโภค ของลิ้มมากมาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตำบลโธวนะ นั้นยังมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ดังนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าว การล้าง

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 398

กระดูกด้วยการเล่นกล ชื่อโธวนะ. ในการยุทธหัตถีเป็นต้น ภิกษุไม่ควร รบด้วยช้างเป็นต้น ไม่ควรให้เขารบกัน ไม่ควรดูเขารบกัน.

บทว่า นิพฺพุทฺธํ คือ มวยปล้ำ. บทว่า เสนาพฺยูหํ การจัดกระบวน ทัพ คือค่ายทหารที่พักนักรบ มีกองทัพเกวียนเป็นต้น. บทว่า อนีกทสฺสนํ กองทัพ คือดูกองทัพที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า กองทัพช้างมีช้าง ๓ เชือกเป็นที่สุด.

บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ ภิกษุไม่ถือนิมิต คือไม่ถือนิมิตดังที่ กล่าวแล้วด้วยอำนาจฉันทราคะ. แม้บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม กับที่กล่าวแล้ว. อนึ่ง ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังว่า เมื่อความเป็นผู้ทุศีล เกิดขึ้นแล้วในชวนจิต เมื่อไม่มีความสำรวม แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครอง ไม่ได้ แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็คุ้มครองไม่ได้ฉันใด ในที่นี้ก็ฉันนั้น เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วในภิกษุนั้น แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครอง ได้ แม้ภวังคจิตก็เป็นอันคุ้มครองได้ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็คุ้มครองได้. เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อปิดประตูนครแล้ว แม้ภายในเรือน เป็นต้น ไม่ได้ปิดก็จริง ถึงดังนั้นทรัพย์สินทั้งหมดในภายในนครก็เป็น อันรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วนั่นเอง เมื่อประตูนครปิดแล้ว โจรทั้ง หลายก็เข้าไปไม่ได้ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นเกิดแล้วในชวนจิต แม้ทวารก็ เป็นอันคุ้มครองได้ แม้ภวังคจิตก็คุ้มครองได้ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็คุ้มครองได้. เพราะฉะนั้น ความสำรวมแม้เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต ท่านก็กล่าวว่า เป็นความสำรวมในจักขุนทรีย์. ต่อจากนี้ทั้งข้างหลังข้าง หน้าพึงทราบความโดยปริยายที่ท่านกล่าวแล้ว. บทว่า วิสูกทสฺสนา คือ การดูสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 399

บทว่า คามกถา คือ คำพูดของชาวบ้าน. บทว่า พตฺตึส คือ ๓๒. คำพูดอันเป็นเครื่องปิดกั้นทางไปสวรรค์และทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า ติรัจฉานกถา เพราะเป็นคำพูดที่ไม่นำสัตว์ออกไป. ในคามกถาเหล่านั้น คำพูดที่ปรารภพระราชาเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า พระมหาสมมตราช พระเจ้ามันธาตุราช พระเจ้าธรรมาโศกราช มีอานุภาพอย่างนี้ๆ ชื่อว่า ราชกถา พูดเรื่องพระราชา. ใน โจรกถา (พูดเรื่องโจร) เป็นต้นก็มีนัยนี้. ใน คามกถา เหล่านี้ คำพูดอาศัยเคหะโดยนัยมีอาทิว่า พระราชาพระองค์โน้น มีพระโฉมงามน่าชม ดังนี้ เป็น ติรัจฉานกถา. อนึ่ง คำพูดที่เป็นไปอย่าง นี้ว่า แม้พระราชาพระองค์นั้นมีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ก็ยังสวรรคต ชื่อว่า ตั้งอยู่ในความเป็นกรรมฐาน. แม้ในพวกโจรคำพูดอาศัยเคหะว่า อัศจรรย์ โจรผู้กล้าหาญทั้งหลายอาศัยการกระทำของพวกโจร ว่ามูลเทพ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ เมฆมาล มีอานุภาพมากอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ติรัจฉานกถา. แม้ในการรบคำพูดด้วยความชอบใจในเรื่องภารตยุทธ์เป็นต้นว่า ทหารชื่อ โน้นถูกทหารชื่อโน้นฆ่าอย่างนี้ ถูกแทงอย่างนี้ ก็ชื่อว่า ติรัจฉานกถา. ส่วนคำพูดที่เป็นไปอย่างนี้ว่า แม้คนนั้นก็ยังตาย ดังนี้ ย่อมเป็นกรรมฐาน ในที่ทั้งหมด.

อีกอย่างหนึ่งในอาหารมีข้าวเป็นต้น ไม่ควรพูดด้วยความชอบใจ ในกามว่า เราเคี้ยว กิน ดื่มบริโภค อาหารมีสี มีกลิ่น มีรส ถึงพร้อม ด้วยผัสสะ อย่างนี้ ดังนี้. อนึ่ง ควรทำให้ประกอบด้วยประโยชน์แล้วพูด ว่า เมื่อก่อน เราได้ถวายข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ดอกไม้กลิ่นหอมอัน สมบูรณ์ด้วยสีเป็นต้นอย่างนี้ แก่ท่านผู้มีศีลทั้งหลาย เราได้กระทำการ บูชาพระเจดีย์ ดังนี้. แม้ใน ญาติกถา (พูดเรื่องญาติ) เป็นต้น ก็ไม่ ควรพูดด้วยความชอบใจว่า ญาติของเราเป็นผู้สามารถ หรือเมื่อก่อนเรา

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 400

ได้เที่ยวไปด้วยยานอันวิจิตรอย่างนี้ ดังนี้. อนึ่ง ควรพูดว่าญาติทั้งหลาย ได้ทำแต่สิ่งที่มีประโยชน์ไว้ แม้ญาติทั้งหลายของเราก็ตายเสียแล้ว หรือ เมื่อก่อนเราได้ถวายรองเท้าอย่างนี้แก่สงฆ์. แม้ในคามกถา (คำพูดของ ชาวบ้าน) เป็นต้น ก็ไม่ควรพูดด้วยความชอบใจอย่างนี้ว่า พวกที่อยู่ บ้านโน้นเป็นคนกล้า มีความสามารถด้วยการมีหลักฐานดี ยากจน หากินง่าย หากินลำบาก ดังนี้. ควรพูดว่า คนนั้นทำสิ่งมีประโยชน์มี ศรัทธา เลื่อมใส หรือคนนั้นได้ตายเสียแล้ว แม้ในนิคมกถา (พูดเรื่อง นิคม) นครกถา (พูดเรื่องนคร) ชนนพกถา (พูดเรื่องชนบท) ก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. แม้อิตถีกถา (พูดเรื่องสตรี) ก็ไม่ควรพูดด้วยความชอบใจ เกี่ยวกับผิวและรูปร่างเป็นต้น. ควรพูดอย่างนี้อย่างเดียวว่า หญิงผู้มี ศรัทธาเลื่อมใสได้ตายเสียแล้ว. แม้ สูรกถา (พูดเรื่องคนกล้า) ก็ไม่ควร พูดด้วยความชอบใจว่า นักรบชื่อว่านันทิมิตรเป็นคนกล้า. ควรพูดอย่าง นี้อย่างเดียวว่า นักรบผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้ตายเสียแล้ว ดังนี้. แม้วิสิขากถา (พูดเรื่องตรอก) ก็ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า ตรอกโน้นเรียบ ไม่เรียบ. แม้สุรกถา (พูดเรื่องคนกล้า) ก็ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า คนโน้นเป็นผู้กล้าเป็นผู้สามารถ ดังนี้. ควรพูดได้อย่างเดียวว่า คนกล้าที่มี ศรัทธาเลื่อมใสได้ตายไปเสียแล้ว ดังนี้. บทว่า กุมฺภฏฺานกถา (พูด เรื่องท่าน้ำ) ท่านกล่าวว่า อุทกติฏฺกถา บ้าง ได้แก่ กุมฺภทาสีกถา (พูดเรื่องนางกุมภทาสี). ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า แม้นางกุมภาสี นั้น น่าเลื่อมใสเป็นหญิงฉลาดเพื่อฟ้อนรำ เพื่อขับร้อง. ควรพูดโดยนัยมี อาทิว่า นางกุมภทาสีนั้นเป็นหญิงมีศรัทธาเลื่อมใส. บทว่า ปุพฺพเปตกถา (พูดเรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว) คือพูดถึงญาติที่ตายไปแล้ว. ในบทนั้นพึง ทราบวินิจฉัยเช่นเดียวกับพูดถึงญาติที่กำลังเป็นอยู่. บทว่า นานตฺตกถา

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 401

(พูดเรื่องเบ็ดเตล็ด) คือพูดไรประโยชน์พ้นจากกถาก่อนและกถาหลัง ที่ เหลือมีสภาพต่างๆ กัน. บทว่า โลกกฺขายิกา (พูดเรื่องโลก) คือพูดให้ ชาวโลกหลงเชื่อมีอาทิอย่างนี้ว่า โลกนี้ใครสร้าง คนโน้นสร้าง กามีสีขาว เพราะกระดูกขาว นกยางโทนมีสีแดง เพราะเลือดแดง. สมุทฺทกฺขายิกา (พูดเรื่องทะเล) เพราะเหตุไรจึงชื่อว่า สมุทฺทกฺขายิกา. การพูดเรื่อง สมุทรมีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่าสาครเพราะเทพเจ้าประจำสาครขุด ชื่อสมุทร เพราะประกาศให้รู้ด้วยการชี้นิ้วว่า สาครเราขุด. บทว่า ภโว คือ ความเจริญ. บทว่า อภโว คือ ความเสื่อม. การพูดถึงเหตุอันไรประโยชน์ธรรมดาๆ ว่า ความเจริญเป็นอย่างนี้ ความเสื่อมเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า อิติภวาภวกถา (พูดเรื่องความเจริญ และความเสื่อม). บทว่า อาวเรยฺย พึงป้องกัน คือ พึงทำการป้องกัน. บทว่า นิวาเรยฺย พึงห้าม คือพึงกั้นจากอารมณ์. บทว่า สนฺนิวาเรยฺย พึงสกัดกั้น คือพึงกั้นทำให้ไม่มีเหลือโดยชอบ. บทว่า รกฺเขขฺย พึงรักษา คือพึงทำการรักษา. บทว่า โคเปยฺย พึง คุ้มครอง คือพึงคุ้มครองเสมอ. บทว่า ปิทเหยฺย พึงปิด คือพึงทำการ ปิด. บทว่า ปจฺฉินฺเทยฺย พึงตัดขาด คือพึงตัดกระแสคือตัณหา. บทว่า เตน เตน น ตุสฺสิ ไม่พอใจด้วยรสนั้นๆ คือไม่พอใจด้วยรสมีรส เปรี้ยวเป็นต้นนั้นๆ. บทว่า อปราปรํ ปริเยสนฺติ ย่อมเที่ยวแสวงหารส อื่นๆ คือย่อมแสวงหารสสูงๆ ขึ้นไป.

บทว่า ผสฺเสน ได้แก่ ผัสสะคือโรค. บทว่า ภวญฺจ นาภิชปฺเปยฺย ไม่พึงปรารถนาภพ คือไม่พึงปรารถนาภพมีกามภพเป็นต้น เพื่อบรรเทา ผัสสะนั้น. บทว่า เภรเวสุ จ น สมฺปเวเธยฺย ไม่พึงหวั่นในเพราะ ความขลาดกลัว คือไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว มีราชสีห์และ

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 402

เสือโคร่งเป็นต้น อันเป็นปัจจัยแห่งผัสสะนั้น. หรือไม่พึงหวั่นไหวใน อารมณ์ อันเป็นวิสัยแห่งฆานินทรีย์และมนินทรีย์ที่เหลือ. ด้วยประการ ฉะนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความสำรวมอินทรีย์ด้วยบทก่อนแล้ว ด้วยบทนี้จึงทรงแสดง ว่า อันภิกษุผู้อยู่ในป่า ได้เห็นหรือได้ยินสิ่งที่น่ากลัว ไม่พึงหวั่นไหวดังนี้.

บทว่า เอเกนากาเรน คือ ด้วยเหตุอย่างเดียวกัน บทว่า ภยมฺปิ เภรวมฺปิ ตญฺเว ภัยก็ดี ความขลาดกลัวก็ดีนั้นแล คือภัยก็ดีความขลาดกลัวก็ดี ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ก็เป็นนิมิตแห่งความหวาดสะดุ้งเหมือนกัน. เพื่อ แสดงความนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า วุตฺตญฺเหตํ สมจริงดังที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้. บทว่า ภยํ คือ ภัยเกิดขึ้นเพราะความขลาดกลัวเป็นเหตุ. บทว่า ภยานกํ แสดงถึงอาการ คือกิริยาที่กลัว. บทว่า ฉมฺภิตตฺตํ ความหวาดหวั่น คือมีกายหวั่นไหวด้วยอำนาจความกลัว. บทว่า โลมหํโส ความเป็นผู้มีขนลุก คือขนลุกชัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นแสดงภัยโดย กิจด้วยบททั้งสองนี้แล้ว ทรงแสดงโดยสภาวะอีกว่า ความหวาดเสียว ความ สะดุ้งแห่งจิต. บทว่า อุพฺเพโค ความหวาดเสียว คือความขลาด. บทว่า อุตฺราโส ความสะดุ้ง คือความกำเริบแห่งจิต. บทว่า ชาติภยํ ภัยแต่ ชาติ คือภัยเกิดขึ้นเพราะอาศัยชาติ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ภัยเกิดแด่พระราชา ชื่อ ราชภัย. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺตานุวาทภยํ ภัยแต่การติเตียนตน คือภัยเกิดแต่การติเตียนตน ผู้ทำกรรมชั่ว. บทว่า ปรานุวาทภยํ คือ ภัยเกิดแต่การติเตียนของผู้อื่น. บทว่า ทณฺฑภยํ ภัยแต่อาชญา คือภัยเกิดขึ้นเพราะอาศัยพระราชอาชญาหรือโทษทางวินัยของนักบวช. บทว่า ทุคฺคติภยํ ภัยแต่ทุคติ คือภัย

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 403

เกิดขึ้นเพราะอาศัยอบาย ๔. บทว่า อูมิภยํ ภัยแต่คลื่น คือภัยเกิดแก่ ผู้ลงน้ำในมหาสมุทร. นัยว่า ในมหาสมุทรมีคลื่นชื่อมหินทะผุดพลุ่งขึ้น ประมาณ ๕๐ โยชน์ คลื่นซึ่งว่าโรหิณี ผุดพลุ่งขึ้นประมาณ ๔๐ โยชน์ ภัยเกิดเพราะอาศัยคลื่นชื่อว่า อูมิภัย. ภัยเกิดจากจระเข้ ชื่อว่า กุมภีลภัย ภัยแต่จระเข้. ภัยแต่วังวน ชื่อว่า อาวัฏฏภัย. ปลาดุเรียกว่า สุํสุกา ภัยแต่ปลาดุนั้น ชื่อว่า สุงสุกาภัย. บทว่า อาชีวกภยํ ภัยแต่การเลี้ยงชีพ ชื่อว่า อาชีวกภัย. บทว่า อสิโลกภยํ คือ ภัยแต่ความติเตียน.

บทว่า ลทฺธา น สนฺธึ กยิรา ได้แล้วไม่ควรทำการสะสม คือได้ อย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาข้าวเป็นต้นเหล่านั้นแล้ว ไม่ควรคิดว่า อันภิกษุ ผู้อยู่ในป่าหาได้ยากแล้วทำการสะสม. บทว่า โอทโน ได้แก่ ข้าวสุกเกิด จากข้าวสารของข้าวเปลือก และอนุโลมด้วยข้าวเปลือก ๗ อย่าง คือข้าว สาลี ๑ ข้าวเปลือก ๑ ข้าวเหนียว ๑ ข้าวละมาน ๑ ข้าวฟ่าง ๑ ลูกเดือย ๑ หญ้ากับแก้ ๑. บทว่า กุมฺมาโส ขนมกุมมาส คือเกิดจากข้าวเหนียว. บทว่า สตฺตุ ข้าวสัตตู คือข้าวสัตตุทำด้วยข้าวสาลีเป็นต้น. สัตว์เกิดใน น้ำ ชื่อว่าปลา. เนื้อความชัดอยู่แล้ว. บทว่า อมฺพปานํ น้ำผลมะม่วง ได้แก่น้ำที่ทำด้วยผลมะม่วงดิบหรือสุก. เมื่อจะทำด้วยผลดิบ ควรผ่าผล มะม่วงอ่อนแล้วแช่น้ำผึ่งแดด กรองผสมกับน้ำผึ้ง น้ำตาลกรวดและ การบูรเป็นต้นทำปานะ. บทว่า ชมฺพุปานํ คือ น้ำทำด้วยผลหว้า. บทว่า โจจปานํ คือ น้ำทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด. บทว่า โมจปานํ คือ น้ำทำด้วย ผลกล้วยไม่มีเมล็ด. บทว่า มธุกปานํ น้ำผลมะซาง คือน้ำทำด้วยรสชาติ แห่งผลมะซาง. อนึ่ง น้ำผลมะซางนั้นควรผสมน้ำ ล้วนๆ ไม่ควร. บทว่า มุทฺทิกปานํ น้ำผลจันทน์ คือน้ำที่ขยำผลจันทน์ลงในน้ำ แล้ว

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 404

ทำเหมือนน้ำผลมะม่วง. บทว่า สาลุภปานํ น้ำรากบัว คือน้ำที่ทำขยำ รากบัวของบัวแดงและบัวเขียวเป็นต้น. บทว่า ผารุสกปานํ น้ำผลลิ้นจี่ คือน้ำที่ทำด้วยผลลิ้นจี่ดุจน้ำผลมะม่วง. บทว่า โกสมฺพปานํ คือ น้ำทำ ด้วยผลสะคร้อ. บทว่า โกลปานํ คือ น้ำทำด้วยผลกระเบา. บทว่า พทรปานํ น้ำผลพุทรา คือนำทำด้วยผลพุทราลูกใหญ่ เหมือนน้ำผล มะม่วง. ปานะ ๑๑ อย่างเหล่านี้ เย็นบ้าง สุกด้วยแสงอาทิตย์บ้างก็ควร. บทว่า ฆฏปานํ ปานะที่ทำด้วยเปรียง ได้แก่ น้ำเนยใส. บทว่า เตลปานํ น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันงาเป็นต้น. บทว่า ปโยปานํ ได้แก่ น้ำนม. บทว่า ยาคุปานํ น้ำข้าวยาคู คือนำข้าวยาตูมีรสเปรี้ยวเป็นต้น. บทว่า รสปานํ คือ ปานะที่ทำด้วยรสมีรสผักเป็นต้น. บทว่า ปิฏฺขชฺชกํ ของ ควรเคี้ยวทำด้วยแป้ง คือของควรเคี้ยวทำด้วยแป้งมีอาทิอย่างนี้ คือแป้ง ขนุน แป้งขนุนสำมะลอ แป้งมะกอก แป้งเมล็ดผักกาดและแป้งเถาน้ำนม. ปูวขัชชกะ แม้ของควรเคี้ยวที่ทำเป็นขนม ก็ทำด้วยแป้งเหล่านี้เหมือน หัน. บทว่า มูลขชฺชกํ ของควรเคี้ยวทำด้วยเหง้าไม้ มีอาทิอย่างนี้คือ เหง้าเผือก เหง้าไม้ช้างน้าว เหง้ามัน. บทว่า ตจขชฺชกํ ของควรเคี้ยว ทำด้วยเปลือกไม้ มีเปลือกอ้อยเป็นต้น. บทว่า ปตฺตขชฺชกํ ของควร เคี้ยวทำด้วยใบไม้ มีใบสะเดา ใบมวกเหล็ก ใบกระดอม และใบอัญชัน เขียวเป็นต้น. บทว่า ปุปฺผขชฺชกํ ของเคี้ยวทำด้วยดอกไม้ มีดอกเผือก ดอกไม้ช้างน้าว กุ่มขาว มะรุม อุบลและปทุมเป็นต้น. บทว่า ผลขชฺชกํ ของเคี้ยวทำด้วยผลไม้มีขนุน ขนุนสำมะลอ มะพร้าว มะกอก มะขาม มะงั่ว มะขวิด น้ำเต้า ฟักผลขาว มะพลับ แตงกวา มะเขือ กล้วยมี เมล็ด กล้วยไม่มีเมล็ด เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 405

บทว่า น กุหนาย มิใช่ได้ด้วยความโกหก คือมิใช่ได้ด้วยความ พิศวง. บทว่า น ลปนาย ไม่ใช่ได้ด้วยความพูดเลียบเคียงเพื่อปัจจัย คือมิใช่เห็นพวกมนุษย์มาวิหารแล้วพูดเลียบเคียงอย่างนี้ว่า พวกท่านมา เพื่ออะไร มาเพื่อนิมนต์ภิกษุหรือ ผิว่าอย่างนั้นพวกท่านกลับไปก่อน อาตมาจะตามไปทีหลัง. อีกอย่างหนึ่งมิใช่จะแน่ะนำตน แล้วพูดเลียบเคียง อย่างนี้ว่า อาตมาชื่อติสสะ พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา มหาอำมาตย์ ของพระราชาชื่อโน้นๆ ก็เลื่อมใสในอาตมา ดังนี้. บทว่า น เนมิตฺติ- กตาย คือมิใช่ได้ด้วยทำนิมิตทางกายและวาจาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คนอื่น ให้เกิดความรู้สึกจะถวายปัจจัย. บทว่า น นิปฺเปสิกตาย มิใช่ได้ด้วยกำจัด คุณเขา คือแสดงกิริยามีการด่าผู้อื่นเป็นต้น ชื่อว่ากำจัดครอบงำคุณของ ผู้อื่นอย่างไม่มีดี ดุจไม้ไผ่ชิ้นเล็กๆ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะการบดขยี้คุณของ ผู้อื่นให้แหลกรานแล้วแสวงหาลาภ ดุจบดคันธชาตแล้วหากลิ่นหอมฉะนั้น ดังนั้นท่านจึงเรียกว่า นิปฺเปสิกตา กำจัดคุณเขา. มิใช่ได้ด้วยกำจัดคุณเขา เห็นปานฉะนี้. บทว่า นิชิคึสนตา ในบทว่า น ลาเภน ลาภํ นิชิคุสนตาย มิใช่ได้ด้วยแสวงหาลาภด้วยลาภนี้ คือการแสวงหา. การแสวงหาลาภด้วย ด้วยการนำลาภที่ได้แล้วจากที่อื่นไปแลกเปลี่ยนในที่อื่น. มิใช่ได้ด้วยการ แสวงหาลาภด้วยลาภเห็นปานฉะนี้. บทว่า น ทารุทาเนน มิใช่ได้ด้วยการ ให้ไม้จริง คือมิใช่ได้ด้วยการให้ไม้จริงอันเป็นเหตุเป็นปัจจัย. จริงอยู่ ไม่ ควรให้ไม้จริงที่ขึ้นในวิหาร หรือที่นำมาจากที่อื่นแล้วรักษาคุ้มครองไว้ แก่อุปัฏฐากทั้งหลายด้วยคิดว่า อุปัฏฐากเหล่านั้นจักให้ปัจจัยแก่เราด้วย อาการอย่างนี้. เพราะเมื่อภิกษุสำเร็จชีวิตอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นอยู่โดยมิจฉาชีพ การแสวงหาที่ไม่สมควร. ภิกษุนั้นย่อมได้รับความติเตียนในปัจจุบัน

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 406

และจะต้องจมอยู่ในอบายในภพหน้า. ภิกษุให้ไม้จริงอันเป็นส่วนของตน เพื่อสงเคราะห์ตระกูล ย่อมต้องอาบัติทุกกฏ ชื่อว่า กุลทูสกะ ให้ของ คนอื่นด้วยไถยจิตถูกปรับเป็นภัณฑไทย. แม้ในของสงฆ์ก็มีนัยนี้เหมือนกัน แต่ถ้าให้ของนั้นเพราะคนเป็นผู้มีอำนาจ ย่อมต้องอาบัติข้อสละครุภัณฑ์. ก็ไม้จริงอย่างไหนเป็นครุภัณฑ์ อย่างไหนไม่เป็นครุภัณฑ์. ไม้ที่ไม่ได้ ปลูกไว้ก่อน เกิดเองในที่ที่สงฆ์กำหนดเขตไว้นั้นแลเป็นครุภัณฑ์. นอก จากนั้นไม่เป็นครุภัณฑ์. ไม้ในที่ที่ปลูกไว้ก็เป็นครุภัณฑ์ทั้งหมด. ไม้มี ประมาณเท่าเล่นเข็มโดยประมาณก็เป็นครุภัณฑ์.

แม้ในบททั้งหลายมีอาทิว่า น เวฬุทาเนน มิใช่ได้ด้วยให้ไม้ไผ่ พึงทราบบททั้งปวงมีอาทิว่า ไม่ใช่ได้ด้วยการให้ไม้ไผ่อันเป็นเหตุเป็น ปัจจัยโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในบทนี้ว่า น ทารุทาเนน ดังนี้. อนึ่ง ไม้ไผ่ มีประมาณเท่าหลอดน้ำมันโดยประมาณเป็นครุภัณฑ์ ต่ำกว่านั้นไม่เป็น มนุษย์ทั้งหลายไปวิหารขอไม้ไผ่. ภิกษุให้ไม่ได้เพราะเป็นของสงฆ์. มนุษย์ ทั้งหลายอ้อนวอนหรือแค่นไค้บ่อยๆ ภิกษุทั้งหลายควรพูดว่า พวกท่าน ทำทัณฑกรรมแล้วถือเอาเถิด. ไม่มีการให้ไม้ไผ่. หากมนุษย์ทั้งหลาย เหล่านั้นถวายมีดและขวานเป็นต้น หรือของเคี้ยวของฉันก็ไม่ควรรับ. แต่ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาวินัยว่า มนุษย์ถูกไฟเผาเรือน ถือเอาไปไม่ควร ห้าม หากจอมปลวกเกิดที่กอไผ่ของสงฆ์ เมื่อไม่ทำลายจอมปลวกนั้น ไม้ ไผ่จะเสียหาย ควรทำอย่างไร. ควรบอกพวกมนุษย์ในเวลาออกบิณฑบาต. หากพวกมนุษย์ไม่ปรารถนาจะทำลาย ควรกล่าวว่า พวกท่านจักทำให้ พื้นเสมอกันได้ไหม. พวกมนุษย์ก็ไม่ปรารถนาอยู่นั่นเอง ควรบอกว่า พวกท่านจักได้สองส่วน. แม้อย่างนี้พวกมนุษย์ก็ยังไม่ปรารถนาอยู่อีก

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 407

ควรกล่าวว่า ไม่มีประโยชน์ที่ทำให้เสียหาย เมื่อพวกท่านมีเวลาพวกท่าน จักทำฑัณฑกรรม ทำลายแล้วเอาไปเถิด. ไม่มีการให้ไม้ไผ่. แม้เมื่อกอไผ่ ถูกไฟไหม้ แม้ไม้ไผ่ที่ลอยน้ำมาก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยนี้ในการให้ใบไม้ เพราะเป็นครุภัณฑ์ต่อไป.

ก็ในที่ใดเขาขายใบไม้กัน ผู้ต้องการกลิ่นเอาไปเพื่ออบกลิ่นเป็นต้น ในที่ที่หายากเช่นนั้น ใบไม้ก็เป็นครุภัณฑ์. พึงทราบวินิจฉัยในใบทองกวาวและใบตาลใช้เป็นเครื่องประดับหูเป็นต้นก่อน. แม้ใบตาลก็ควร กล่าวไว้ในที่นี้เหมือนกัน. เพราะใบตาลในป่าตาลที่เกิดขึ้นเอง ก็เป็น ครุภัณฑ์ในที่ที่สงฆ์กำหนดเขตไว้เหมือนกัน. ออกจากนั้นไม่เป็น. ใบ ตาลที่ปลูกแม้ทั้งหมดก็เป็นครุภัณฑ์. ใบลานเปล่าแม้ประมาณ ๘ องคุลี ในที่สุดเบื้องต่ำ ก็เป็นประมาณของครุภัณฑ์นั้น. แม้หญ้าก็ควรนำมา กล่าวไว้ในที่นี้เหมือนกัน ก็ในที่ใดไม่มีหญ้า มนุษย์ทั้งหลายก็เอาฟาง ใบมะพร้าวปกคลุมในที่นั้น. เพราะฉะนั้น แม้ฟางและใบมะพร้าวเหล่านั้น ก็สงเคราะห์เข้าด้วยหญ้าได้เหมือนกัน. ด้วยเหตุนี้ บรรดาหญ้าปล้อง ฟางเป็นต้น หญ้าอย่างใดอย่างหนึ่งประมาณกำมือหนึ่ง และบรรดาใบ มะพร้าวเป็นต้น แม้ใบเดียวที่เขาถวายแก่สงฆ์ก็ดี เกิดเองในที่นั้นก็ดี หญ้าที่เกิดในพื้นที่ของสงฆ์นอกวัด หญ้าที่สงฆ์รักษาคุ้มครองไว้แล้วก็ดี ย่อมเป็นครุภัณฑ์. อนึ่ง เมื่อสงฆ์จะทำสังฆกรรมและเจติยกรรม ควรให้ ครุภัณฑ์นั้นในบุคลิกกรรม (ส่วนบุคคล) ดีกว่า. แม้ในไม้จริงและไม้ไผ่ ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังก็มีนัยเหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในการให้ดอกไม้ดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 408

ดอกไม้ที่กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย จงสละดอกไม้ใน ต้นไม้ประมาณเท่านี้ แล้วนำเข้าไปเพื่อข้าวยาคูและภัตร ในต้นไม้ประมาณเท่านี้จงนำเข้าไปในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะดังนี้ ย่อมเป็นครุภัณฑ์. ผิว่า สามเณรทั้งหลายเก็บดอกไม้แล้วทำให้เป็นกองไว้ ภิกษุผู้แบ่งดอกไม้ ประกอบด้วยองค์ ๕ นับสงฆ์แล้วทำให้เป็นส่วนๆ ภิกษุนั้นย่อมได้ เพื่อที่จะไม่ต้องบอกสงฆ์ในที่ประชุมแล้วให้. ส่วนภิกษุที่ยังไม้ได้รับ สมมติ ควรบอกก่อนแล้วจึงให้. ก็ภิกษุย่อมได้เพื่อจะให้ดอกไม่แก่ใคร ไม่ได้เพื่อจะให้แก่ใคร. ภิกษุแม้ไปเรือนมารดาบิดา เรียกมารดาบิดา ออกจากเรือนแล้วกล่าวว่า โยมจงเอาไปบูชาพระ ดังนี้ ย่อมได้เพื่อจะให้ ย่อมไม่ได้ เพื่อเอาไปประดับศิวลึงค์ อนึ่ง ไม่ควรนำไปใหญ่ญาติที่เหลือ ควรเรียกมาแล้วจึงให้เพื่อเอาไปบูชาพระ. เมื่อชนที่เหลือไปพร้อมกันยังที่ บูชา คนที่ไม่หวังจะได้ก็ควรให้. ไม่มีการให้ดอกไม้. ดอกไม้ในวิหาร บานมาก. ภิกษุผู้ไปเที่ยวบิณฑบาตเห็นมนุษย์ทั้งหลายพึงกล่าวว่า พวก ท่านจงบูชาดอกไม้เป็นอันมากในวิหารเถิด. เพียงพูดไม่มีโทษ. แต่ไม่ ควรพูดด้วยคิดว่า พวกมนุษย์จักถือเอาของเคี้ยวของบริโภคมาถวาย. หาก ภิกษุพูด ไม่ควรฉันของเคี้ยวของฉัน. พวกมนุษย์ถามว่า ดอกไม้ในวิหาร ยังมีตามธรรมดาหรือ แล้วกล่าวว่า ในวันโน้นพวกข้าพเจ้าจักมาวิหาร พระคุณเจ้าทั้งหลายอย่าให้สามเณรเก็บดอกไม้เลย. ภิกษุลืมบอกสามเณร. สามเณรพากันเก็บดอกไม้. พวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุกล่าวว่า ในวันโน้น พวกข้าพเจ้าได้เรียนพระคุณเจ้าทั้งหลายว่า อย่าให้สามเณรเก็บดอกไม้ ทำไมพระคุณเจ้าไม่ห้ามเหล่า. ควรกล่าวว่า อาตมาลืมไป ดอกไม้เพียง

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 409

เก็บเท่านั้น ยังไม่ได้ทำการบูชาเลย. ไม่ควรกล่าวว่า พวกท่านเอาไป บูชากันเถิด หากภิกษุพูด ไม่ควรฉันอาหาร. ภิกษุอีกรูปหนึ่งบอกแก สามเณรทั้งหลายว่า ชาวบ้านโน้นพูดว่า อย่าเก็บดอกไม้ แม้มนุษย์ ทั้งหลายก็นำอาหารมาถวายท่านแล้วกล่าวว่า พวกมนุษย์ของพวกกระผม ไม่มาก ขอพระคุณเจ้าโปรดสั่งให้สามเณรทั้งหลายเก็บดอกไม้กับพวก กระผมเถิด, ควรกล่าวว่า อุบาสก พวกสามเณรได้ภิกษาแล้ว พวกที่ ไม่ไปบิณฑบาตอุบาสกจักรู้ด้วยตนเอง ดังนี้. ได้นัยเพียงเท่านี้ แล้วทำ สามเณรผู้เป็นบุตรหรือเป็นพี่น้องชายให้เก็บดอกไม้ ไม่มีโทษ. ไม่มีการ ให้ดอกไม้.

พึงทราบวินิจฉัยการให้ผลไม้ดังนี้. แม้ผลไม้ที่กำหนดไว้เหมือน ดอกไม้ ก็เป็นครุภัณฑ์. เมื่อมีผลาผลมากในวิหาร พวกมนุษย์ไม่มีความ สบายพากันมาขอ ภิกษุให้ไม่ได้เพราะเป็นของสงฆ์ พวกมนุษย์เดือดร้อน พากันแช่งด่า ควรทำอย่างไรในเรื่องนั้น. ควรกำหนดผลไม้หรือต้นไม้ แล้วทำกติกาว่า ในต้นไม้ต้นโน้นๆ ถือเอาผลไม้ได้ประมาณเท่านี้ หรือ ในต้นไม้ประมาณเท่านี้ถือเอาผลไม้ได้ไม่ควรห้าม. พวกโจรหรืออิสรชน ถือเอาด้วยพลการไม่ควรห้าม. เพราะพวกนั้นโกรธ แม้วิหารทั้งสิ้นก็จะ เสียหาย. แต่ควรกล่าวถึงความผิด.

พึงทราบวินิจฉัยในการให้เครื่องอาบน้ำดังต่อไปนี้. จุณที่ใช้อาบน้ำ บดแล้วไม่เป็นครุภัณฑ์. เปลือกไม้ที่อยู่ในต้นไม้เป็นครุภัณฑ์. แต่จุณ สำหรับใช้ย้อมควรแก่ภิกษุไม่เป็นไข้. จุณอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมควรแก่ ภิกษุไข้ทั้งนั้น. มิใช่ได้ด้วยการให้จุณไม้ซึกเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน บทว่า น จุณฺณทาเนน มิใช่ได้ด้วยการให้จุณ.

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 410

พึงทราบวินิจฉัยการให้ดินเหนียวดังนี้. ก็ในที่ใดหาดินเหนียว ได้ยาก ดินเหนียวในที่นั้นแลเป็นครุภัณฑ์. แม้ดินเหนียวนั้นอย่างต่ำที่สุด มีประมาณเท่าลูกตาลและงบน้ำอ้อย ต่ำกว่านั้นไม่เป็นครุภัณฑ์

พึงทราบวินิจฉัยในการให้ไม้สีฟันดังนี้. ไม้สีฟันที่ยังไม่ได้ตัดเป็น ครุภัณฑ์. สามเณรเหล่าใดถึงวาระที่จะได้ไม้สีฟันจากสงฆ์ สามเณรเหล่านั้น จะให้แก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ของตนเฉพาะตัวไม่ได้. อนึ่ง สามเณรเหล่า ใดกำหนดไว้ว่า พึงนำไม้สีฟันมาประมาณเท่านี้ดังนี้ แล้วถือเอาตามวาระ สามเณรเหล่านั้นจะให้ไม้สีฟันยิ่งกว่านั้นแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ได้. ภิกษุ รูปเดียวไม่ควรถือเอาไม้สีฟันมาจากต้นไม้ที่ใช้เป็นไม้สีฟัน ควรถือเอาอัน เดียวเท่านั้นทุกๆ วัน. แม้ภิกษุอยู่รูปเดียวนับภิกษุสงฆ์แล้วควรถือเอาไม้ สีฟันเท่าที่ถึงแก่ตนเท่านั้น. เมื่อภิกษุทั้งหลายกำลังมาในระหว่างหรือมา แล้ว ควรหลีกไปสู่ทิศ นำไม้สีฟันมาเก็บไว้ในที่ที่ตนเอาไป. บทว่า น มุโขทกทาเนน คือ มิใช่ได้ด้วยการให้น้ำล้างหน้า.

ท่านกล่าว จาฏุกมฺยตา ในบทว่า น จาฏุกมฺยตาย มิใช่ได้ด้วย คำพูดมุ่งให้เขารักตนเป็นต้น คือวางคนไว้ในที่ต่ำดุจเป็นทาส แล้วอ้าง คำพูดที่ได้พูดพลาดพลั้งแก่คนอื่น กล่าวยกย่องมุ่งให้เขารักคน บทว่า มุคฺคสูปตาย คือ ด้วยถ้อยคำที่เหลาะแหละ. บทว่า มุคฺคสูปตา นี้ เป็นชื่อ ของการสำเร็จชีวิตอยู่ได้ด้วยคำพูดเหลาะแหละ. ในบุคคลผู้สำเร็จชีวิตอยู่ ได้ด้วยคำพูดเหลาะแหละ. มีคำพูดเหลาะแหละมาก มีคำพูดจริงน้อย เหมือนเช่นการต้มแกงถั่ว ถั่วเขียวส่วนมากสุก ส่วนน้อยไม้สุกฉะนั้น. หรือคนผู้มีปกติพูดถ้อยคำเหลาะแหละ ย่อมไม่มั่นคง เหมือนที่น้ำไม่เข้าสู่

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 411

ภายในของแกงถั่วฉะนั้น. คนพูดถ้อยคำเหลาะแหละ ย่อมตั้งอยู่ในสาย ทางที่ตนปรารถนาแล้ว เหมือนทางสี่แพร่งฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ความที่ บุคคลนั้นพูดเท็จ ท่านจึงเรียกว่า มุคฺคสูปตา ความเป็นผู้มีถ้อยคำเหลาะแหละ เหมือนแกงถั่ว. บทว่า น ปาริภฏฺยตาย มิใช่ได้ด้วยกิริยาประจบเขา คือมิใช่ได้ด้วยความเป็นบ่าว. การงานของบ่าว ชื่อว่า ปาริภัฏยะ ความ เป็นผู้ทำการงานเป็นบ่าว ชื่อว่า ปาริภัฏยตา. บทนี้เป็นชื่อของการทำของ เล่นให้เด็ก ด้วยการทำเครื่องประดับเป็นต้น. บทว่า น ปีมทฺทิกตาย มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้นั่งบนตั่ง (ความตีสนิทเขา) คือไม่ใช่ได้ด้วยความ เป็นผู้รีบร้อนเข้าไปเรือนแล้วนั่งบนตั่ง.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า น วตฺถุวิชฺชาย มิใช่ได้ด้วยวิชา ดูพื้นที่ดังนี้ ตำรารู้ถึงหลักฐานมั่นคงไม่มั่นคง ของชาวบ้าน ชาวนิคม และชาวเมืองเป็นต้น ชื่อว่า วัตถุวิชชา. วิชาที่เหลือมีศาสตร์ว่าด้วยลักษณะ และตำราทำนายฝันเป็นต้น อันปิดกั้นทางสวรรค์และทางไปสู่ความหลุด พ้น เพราะไม่นำสัตว์ออกไปจากทุกข์ได้ ชื่อว่า ติรัจฉานวิชชา. การรู้ ลักษณะความมีบุญไม่มีบุญของหญิงและชาย ชื่อว่า อังควิชชา. ตำรารู้ การประกอบของนักษัตรทั้งหลาย ชื่อว่า นักขัตตวิชชา วิชาดูฤกษ์.

บทว่า น ทูตคมเนน คือ มิใช่ได้ด้วยการเดินเป็นทูต. บทว่า น ปหิณคมเนน มิใช่ได้ด้วยความเป็นคนรับใช้ คือมิใช่ด้วยการรับสาสน์ ของคฤหัสถ์แล้วออกจากเรือนไปส่งถึงเรือน. บทว่า น ชงฺฆเปสนีเยน มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้เดินสาสน์ คือมิใช่ได้ด้วยการนำสาสน์และตอบ สาสน์ของคฤหัสถ์เหล่านั้นๆ ในละแวกบ้านหรือในละแวกท้องถิ่นเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 412

ชื่อว่า ความเป็นผู้เดินสาสน์นี้ สมควรด้วยการรับสาสน์ของผู้ที่บำรุงมารดา บิดาของภิกษุนั้น แล้วไปส่งให้แก่มารดาบิดาของตน. การนำสาสน์ของ ช่างไม้ผู้กระทำการงานแก่เจดีย์ก็ดี แก่สงฆ์ก็ดี แก่ตนก็ดี ควร. มนุษย์ ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักให้ทาน ข้าพเจ้าจักทำการบูชา ขอพระคุณ เจ้าจงแจ้งแก่ภิกษุสงฆ์ ดังนี้. ถวายบิณฑบาต ยา หรือจีวรโดยกล่าวว่า พระคุณเจ้าจงถวายแก่ภิกษุรูปโน้น มอบดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ เป็นต้น หรือธงชัยธงแผ่นผ้าเป็นต้นให้ โดยกล่าวว่า พระคุณเจ้าจงทำ การบูชา ดังนี้. นำไปทั้งหมดควร. ไม่มีการเดินสาสน์. เมื่อภิกษุถือ สาสน์นอกเหนือไปจากนี้ เป็นอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ก้าว.

บทว่า น เวชฺชกมฺเมน มิใช่ได้ด้วยเวชกรรม คือมิใช่ได้ด้วยเป็น แพทย์ปรุงยามียารักษาร่างกายเป็นต้น. แต่ควรปรุงยาแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี. เพราะจะไม่ปรุงยา แก่สหธรรมิกเหล่านั้น ผู้มีศีลศรัทธาและปัญญาเสมอกัน ผู้ประกอบแล้ว ในไตรสิกขาไม่ได้. จะปรุงยาแม้แก่คนทั้ง ๕ เหล่านี้ คือมารดาบิดา ผู้บำรุงมารดาบิดา ตนเอง ไวยาจักร ผู้เป็นโรคผอมเหลือง ก็ควร. อันภิกษุผู้จะปรุงยาให้แก่คน ๑๐ จำพวก แม้เหล่านี้ คือ พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว น้าสาว ป้า อา ลุง อาน้องสาวของพ่อ น้า ควร ถือเอาเภสัชอันเป็นของชนเหล่านั้นปรุงให้อย่างเดียว. หากไม่พอ ควรให้ ตาวกาลิก (ของบริโภคชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง) อันเป็นของตน. เมื่อ ภิกษุให้นำปัจจัย ๔ มา ให้แก่ชนเหล่านั้น สืบมาตั้งแต่บุตรจนถึง ๗ ชั่ว ตระกูล ชื่อว่า ไม่ทำวิญญัติ (พูดแกมขอ) เมื่อภิกษุปรุงยาให้แก่คน

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 413

เหล่านั้นก็ไม่เป็นเวชกรรม หรือไม่เป็นอาบัติเพราะทำลายตระกูล (กูลทุสกะ). บทว่า น ปิณฑปฏิปิณฺฑเกน มิใช่ได้ด้วยการให้ก้อนข้าว ตอบแทน. ก้อนข้าวในบทนี้ ควรให้แก่ใคร ไม่ควรให้แก่ใคร. ควรให้แก่ มารดาบิดา ผู้บำรุงมารดาบิดา ไวยาวัจกร คนเป็นโรคผอมเหลือง โจรทามริกะมาประจันหน้า (โจรขบถ) แม้แก่อิสรชน. แม้ให้แก่ชนเหล่านี้ แล้วกลับได้ในภายหลัง ก็ไม่เป็น ปิณฺฑปฏิปิณฺฑํ ให้ก้อนข้าวตอบแทน. บทว่า น ทานานุปฺปทาเนน มิใช่ได้ด้วยการให้และการเพิ่มให้ คือมิใช่ได้ ด้วยการให้ตอบแก่คนที่ให้แก่ตน. บทว่า ธมฺเมน คือ เกิดขึ้นโดยธรรม. บทว่า สเมน โดยเสมอ คือโดยกายสุจริตเป็นต้น. บทว่า ลทฺธา ได้ แล้ว คือได้แล้วทางกาย. บทว่า ลภิตฺวา รับแล้ว คือถึงแล้วทางใจ. บทว่า อธิคนฺตฺวา ได้มาแล้ว คือถึงพร้อมแล้ว. บทว่า วินฺทิตฺวา ประสบแล้ว คือประสบแล้วด้วยญาณ. บทว่า ปฏิลภิตฺวา ได้เฉพาะแล้ว คือได้บ่อยๆ.

ในบทว่า อนฺนสนฺนิธึ การสะสมข้าวนี้ พึงทราบกถาสองอย่าง คือ โดยทางวินัย และโดยทางขัดเกลากิเลส. พึงทราบโดยทางวินัยก่อน ข้าว อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้รับในวันนี้ ทำการสะสมไว้ในวันอื่นอีก ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ในเพราะฉันข้าวนั้น. แต่ให้ข้าวที่ตนได้แก่สามเณรทั้งหลาย แล้ว เก็บข้าวที่สามเณรเหล่านั้นได้ไว้ฉันในวันที่สอง ควร, แต่ไม่เป็นการขัด เกลากิเลส. แม้ในการสะสมน้ำดื่มก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ชื่อว่า ปานะ ใน บทนี้ ปานะ ๘ อย่างมีปานะทำด้วยผลมะม่วงเป็นต้น อนุโลมเข้ากันได้ กัปปานะเหล่านี้.

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 414

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า วตฺถสนฺนิธึ สะสมผ้า ดังนี้. ผ้า ที่มิได้อธิษฐานและมิได้วิกัป จัดเป็นสันนิธิ คือการสะสม และยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ. นี้พูดโดยนิปริยายไม่อ้อมค้อม. แต่โดยปริยายคืออ้อมค้อม ภิกษุควรเป็นผู้สันโดษในไตรจีวร. ได้ผืนที่สี่มา ควรให้แก่ภิกษุรูป อื่น. หากไม่สามารถจะให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งได้ ประสงค์จะให้แก่รูปใด รูปนั้นไปเพื่อเรียนหรือเพื่อสอบถาม ควรให้ในทางที่ท่านกลับมา. ไม่ให้ ไม่ควร. อนึ่ง เมื่อจีวรไม่พอ เมื่อมีความหวัง ควรกำหนดเวลาที่อนุญาต ไว้. เพราะไม่ได้ภิกษุผู้ทำจีวรโดยเย็บด้วยด้วยและเข็ม แม้ต่อจากนั้นก็ควร ทำวินัยกรรมเก็บไว้. เมื่อจีวรเก่าจะเก็บไว้ด้วยคิดว่า เราจักได้จีวรเช่นนี้ แต่ไหนอีกเล่า ไม่ควร. เป็นทั้งสันนิธิ ทั้งยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ.

พึงทราบวินิจฉัยในการสะสมยานดังนี้. ชื่อว่า ยาน ได้แก่ ล้อ เลื่อน รถ เกวียน ระแทะ วอ เก้าอี้. นั่นมิใช่ยานของบรรพชิต. แต่รองเท้าเป็นยาน. รองเท้าสองคู่อย่างดีควรแก่ภิกษุรูปหนึ่ง คือคู่หนึ่ง สำหรับไปป่า คู่หนึ่งสำหรับล้างเท้า, ได้คู่ที่สามควรให้แก่ภิกษุรูปอื่น. เมื่อรองเท้าเก่าจะเก็บไว้ด้วยคิดว่า เราจักได้รองเท้าอื่นแต่ไหนอีก ไม่ ควร. เป็นทั้งสันนิธิและทั้งยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ.

พึงทราบวินิจฉัยในการสะสมที่นอนดังนี้. บทว่า สยนํ ที่นอน คือเตียง. เตียงสองเตียงอย่างดี ย่อมควรแก่ภิกษุรูปหนึ่ง คือในห้องหนึ่ง เตียง ในที่พักกลางวันหนึ่งเตียง. ได้เกินกว่านั้นควรให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือแก่คณะ. ไม่ให้ ไม่ควร. เป็นทั้งสันนิธิ ทั้งยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ.

พึงทราบวินิจฉัยในการสะสมเครื่องหอมดังนี้. เมื่อมีอาพาธด้วย โรคฝี หิด อันเป็นโทษแก่ผิวหนังเป็นต้น เครื่องหอมย่อมควรแก่ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 415

เมื่อโรคสงบด้วยเครื่องหอมนั้น ควรให้แก่ภิกษุอาพาธรูปอื่นๆ หรือนำ ไปเจิมเรือนที่ประตู. จะเก็บไว้ด้วยคิดว่าเผื่อจะมีโรคอีก ดังนี้ไม่ควร. เป็นทั้งคันธสันนิธิเป็นทั้งยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ.

พึงทราบบทว่า อามิสํ เป็นต้น นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว. เช่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ให้นำ งา ข้าวสาร ถั่วเขียว ถั่วทอง มะพร้าว เกลือ ปลา เนื้อแห้ง เนยใส น้ำมัน ภาชนะดิน เป็นต้น มาเก็บไว้ ด้วยคิดว่า ของเหล่านั้นจักมีประโยชน์ในกาลนั้นๆ. ภิกษุนั้นในฤดูฝนให้ สามเณรต้มข้าวยาคูแต่เช้ามืดแล้วฉัน ส่งสามเณรไปสั่งว่า สามเณร การ เข้าไปบ้านในขณะน้ำเฉอะแฉะลำบาก เธอจงไปยังตระกูลโน้นบอกว่า เรามานั่งอยู่ในวิหารแล้ว เธอจงนำนมส้มเป็นต้นมาแต่ตระกูลโน้น ดังนี้. เมื่อภิกษุทั้งหลายถามว่า ทำไมท่านไม่เข้าไปสู่บ้านเล่าขอรับ ภิกษุนั้น ตอบว่า เดี๋ยวนี้บ้านนั้นเข้าไปลำบากซิคุณ. ภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า ไม่เป็น ไรดอกขอรับ ท่านอยู่เถิด พวกผมจะหาภิกษามาเอง แล้วพากันไป. ลำดับนั้นสามเณรนำนมส้มเป็นต้นมา นำเข้าไปถวายพร้อมทั้งภัตรและผัก. เมื่อภิกษุฉันอาหารนั้นอยู่นั่นเอง พวกอุปัฏฐากก็ส่งภัตรไปถวาย. แต่นั้น ภิกษุนั้นก็ฉันอย่างเอร็ดอร่อย. ต่อมาภิกษุทั้งหลายรับบิณฑบาตแล้วกลับ มา. ภิกษุนั้นก็ยังฉันอย่างเอร็ดอร่อยจนล้นคอหอยนั่นเอง. แม้สี่เดือน ล่วงไป. ภิกษุนี้ท่านเรียกว่ามีชีวิตอยู่อย่างกุฎุมพีโล้น มิใช่อยู่อย่างสมณะ. ภิกษุเห็นปานนี้ชื่อว่า เป็นผู้สะสมอามิส. แต่ในที่อยู่ของภิกษุ การเก็บ อามิสมีประมาณเท่านี้ คือข้าวสารทะนานหนึ่ง น้ำอ้อยงบหนึ่งก้อน เนยใส ประมาณ ๔ ส่วน ควร เพื่อประโยชน์แก่โจรที่มาถึงในเวลาอันไม่ควร. เพราะโจรเหล่านั้นเมื่อไม่ได้ปฏิสันถารด้วยอามิส มันก็จะฆ่าเสีย. เพราะ-

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 416

ฉะนั้น หากไม่มีอามิสเท่านี้ก็ควรหามาเก็บไว้. อนึ่ง ในเวลาไม่สบาย จะฉันอามิสที่เป็นกัปปิยะ. แม้ด้วยตนเองก็ควร. อนึ่ง แม้เก็บอามิสมาก ไว้ในกัปปิยกุฏิก็ไม่เป็นสันนิธิ.

บทว่า ฌายี น ปาทโลลสฺส ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน และ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า. บทว่า วิรเม กุกฺกุจฺจํ นปฺปมชฺเชยฺย พึง เว้นขาดจากความคะนองไม่พึงประมาท คือพึงบรรเทาความคะนอง มี คะนองมือเป็นต้น และไม่พึงประมาทในที่นี้ เพราะภิกษุเป็นผู้ที่เขาทำ ความเคารพอยู่แล้ว.

บทว่า เอกตฺตมนุยุตฺโต คือ ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์ เป็นหนึ่ง. บทว่า สทตฺถครุโถ เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน คือ หนักในประโยชน์อันสูงสุด. ปาฐะว่า สกตฺถครุโก ก็มี แปลว่า หนักอยู่ ในประโยชน์ของตน. บทว่า ปฏิสลฺลานาราโม พึงเป็นผู้ชอบในความ หลีกเร้น คือสถานที่ชอบใจ ชื่อว่า อาราม. ภิกษุรวบรวมจากอารมณ์ นั้นๆ แล้วชอบใจในความหลีกเร้น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่า ปฏิสลฺลานาราโม. บทว่า อสฺส คือ พึงเป็น. ภิกษุยินดีแล้วใน ความหลีกเร้นนั้น ชื่อว่า ปฏิสลฺลานรโต. ท่านแสดงถึงความเป็นผู้ บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายด้วยบทเหล่านี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะแม้ ภิกษุผู้มีศีลวิบัติ มีอารมณ์เป็นหนึ่งก็ยังไม่สำเร็จ. บทว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนุยุตฺโต ขวนขวายในความสงบจิต ณ ภายใน คือขวนขวายใน ความสงบจิตของตน. บทว่า อชฺฌตฺตํ ในภายในก็ดี อตฺตโน ของตนก็ดี มีความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน. บทว่า เจโตสมถํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ในความสงบจิต.

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 417

สำเร็จรูปด้วยการประกอบด้วยอุปสัคนี้ว่า อนุ. บทว่า อนิรากตชฺฌาโน ไม่เหินห่างจากฌาน คือไม่นำฌานออกไปภายนอก หรือไม่ยังฌานให้ เสื่อม. อนึ่ง พึงเห็นประโยคในบทมีอาทิว่า นี้ชื่อว่า มิใช่ไม่กระทำเพื่อ ความนำออกและเพื่อความเสื่อม เป็นความประพฤติสุภาพ เพราะไม่ หัวดื้อ. บทว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคโต ประกอบด้วยวิปัสสนา คือ ประกอบด้วยอนุปัสสนา ๗ อย่าง.

อนุปัสสนา ๗ คืออนิจจานุปัสสนา พิจารณาเนืองๆ ในความ ไม่เที่ยง ๑ ทุกขานุปัสสนา พิจารณาเนืองๆ ในความเป็นทุกข์ ๑ อนัตตานุปัสสนา พิจารณาเนืองๆ ในความเป็นอนัตตา ๑ นิพพิทานุ- ปัสสนา พิจารณาเนืองๆ ในความเบื่อหน่าย ๑ วิราคานุปัสสนา พิจารณาเนืองๆ ในความคลายกำหนัด ๑ นิโรธานุปัสสนา พิจารณา เนืองๆ ในความดับตัณหา๑ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา พิจารณาเนืองๆ ใน ความสละคืน ๑, วิปัสสนาเหล่านั้นพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า พฺรูเหตา สุญฺาคารานํ คือ เพิ่มพูนสุญญาคาร. ก็ในบทนี้ พึงทราบว่า ภิกษุเรียนกรรมฐานทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน แล้ว เข้าไปนั่งยังสุญญาคารตลอดคืนและวัน ชื่อว่า เพิ่มพูนสุญญาคาร. แม้บำเพ็ญอยู่ในปราสาท อันมีพื้นชั้นเดียวเป็นต้น ก็พึงเห็นว่าเพิ่มพูน สุญญาคาร.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สกฺกจฺจการี พึงเป็นผู้ทำโดยความเคารพ ดังต่อไปนี้. พึงเป็นผู้ทำความเคารพ ด้วยทำความเคารพต่อบุคคลหรือ ต่อไทยธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมมีทานเป็นต้น. บทว่า อสฺส คือ พึง เป็น. ความเป็นผู้ทำเนืองๆ ชื่อว่า สาตจฺจ ความทำติดต่อชื่อว่า สาตจฺจ-

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 418

การี เป็นผู้ทำเนืองๆ. เพราะทำติดต่อไม่มีระหว่าง ชื่อว่า อฏิิตการี เป็น ผู้ทำไม่หยุด. บุคคลใดให้ทาน ทำการบูชา ฟังธรรม หรือบำเพ็ญสมณธรรมวันหนึ่ง อีกนานจึงทำอีก ไม่เป็นไปติดต่อกัน บุคคลนั้นท่านเรียกว่า ิตการี ทำแล้วหยุด เหมือนปูเดินไปได้หน่อยหนึ่ง หยุดหน่อยหนึ่ง ไม่เดินต่อไปฉะนั้น. ส่วนบุคคลใดไม่ทำอย่างนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า อฏฺิตการี ทำไม่หยุด. บทว่า อโนลีนวุตฺติโก มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน คือมีความประพฤติย่อหย่อนหามิได้ เพราะมีความแผ่ขยายออกไป อัน ได้แก่ ทำติดต่อกันไป. บทว่า อนิกฺขิตฺตฉนฺโท ไม่ปลงฉันทะ คือชื่อว่า ไม่ปลงฉันทะ เพราะความเป็นผู้ไม่ปลงฉันทะในการทำความเพียร เพื่อ กุศลกิริยา. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ไม่ทอดธุระ คือไม่วางธุระในการทำ ความเพียร อธิบายว่า ไม่มีใจท้อถอย. บทว่า อปฺปฏิวาณี คือ ความไม่ ถอยกลับ. บทว่า อธิฏฺานํ ความตั้งใจ คือมีความตั้งมั่นในการทำกุศล. บทว่า อนุโยโค คือความประกอบเนืองๆ. บทว่า อปฺปมาโท คือ ความไม่อยู่ปราศจากสติ.

บทว่า ตนฺทึ มายํ หสึ ขิฑฺฑํ คือ ความเกียจคร้าน ความหลอกลวง ความหัวเราะ และการเล่นทางกาย และวาจา. บทว่า สวิภูสํ คือ กับด้วยเครื่องประดับ.

บทว่า รตฺตินฺทิวํ ฉโกฏฺาสํ กริตฺวา ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและ กลางวันให้เป็น ๖ ส่วน คือพึงแบ่งออกเป็น ๖ ส่วน กลางคืน ๓ ส่วน คือยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย กลางวันก็เหมือนกัน. บทว่า ปญฺจ- โกฏฺาสํ ชาคเรยฺย พึงตื่น ๕ ส่วน คือพึงสละยามกลางในกลางคืนแล้ว ไม่หลับ ใน ๕ ส่วนที่เหลือ. บทว่า เอกํ โกฏฺานํ นิปชฺเชยฺย นอนหลับ ๑

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 419

ส่วน คือมีสติสัมปชัญญะ นอนหลับตอนยามกลาง ๑ ส่วน. บทว่า อิธ ภิกฺขุ ทิวสํ คือ แบ่งกลางวันออกเป็น ๓ ส่วน คือเช้า กลางวัน เย็น. บทว่า จงฺกเมน นิสชฺชาย ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง คือบริหารด้วย อิริยาบถทั้งสองนี้ตลอดวัน พึงชำระจิตจากธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต หรือ จากอกุศลธรรมทั้งปวงอันได้แก่นิวรณ์ ๕. บทว่า จิตฺตํ ปริโสเธยฺย พึง ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเหล่านั้น. ในที่นี้มิได้กำหนดการยืนไว้ก็จริง ถึงดังนั้นก็ควรกำหนดเอาการยืน อาศัยการเดินจงกรมและการนั่งนั่นแล. บทว่า ปมํ ยามํ คือ ตลอดยามต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เสยฺยํ การนอน ดังนี้. การนอนมี ๔ อย่าง คือ กามโภคีเสยฺยา ๑ เปตเสยฺยา ๑ สีหเสยฺยา ๑ ตถาคต เสยฺยา ๑.

ในการนอน ๔ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย คนบริโภคกามโดยมากนอนโดยข้างซ้าย นี้ชื่อว่า กามโภคีไสยา. จริงอยู่ คนบริโภคกามเหล่านั้นย่อมไม่นอนโดยข้างขวา. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรตโดยมากนอนหงาย นี้ชื่อว่า เปตไสยา. จริงอยู่ เพราะเปรตมีเนื้อและเลือดน้อย เปรตห่อหุ้มด้วยโครงกระดูก จึงไม่อาจ จะนอนโดยข้างหนึ่งได้ จึงต้องนอนหงาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราชสำเร็จการนอนโดยข้างขวา ฯลฯ จึงพอใจ นี้ชื่อว่า สีหไสยา. จริงอยู่ สีหมฤคราชเพราะมีอำนาจสูง วางเท้าทั้งสองไว้ที่เท้าหลังข้างหนึ่ง ในที่เดียวกัน สอดหางไว้หว่างขา กำหนดโอกาสที่เท้าหน้าเท้าหลังและ หางตั้งอยู่ แล้ววางศีรษะลงบนที่สุดเท้าหน้าทั้งสองนอนแม้นอนหลับตลอด วัน เมื่อตื่นก็ตื่นอย่างไม่หวาดสะดุ้ง เงยศีรษะสังเกตโอกาสที่เท้าหน้า

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 420

เป็นต้นตั้งอยู่. หากที่ไรๆ ละไปตั้งอยู่ไม่เรียบร้อย สีหมฤคราชก็เสียใจว่า นี้ไม่สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงนอนต่อไปในที่นั้น ไม่ไปแสวงหาอาหาร แต่ครั้นเมื่อไม่ละ ตั้งอยู่เรียบร้อย สีหะก็ดีใจว่า นี้สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงลุกบิดกายอย่างสีหะ สลัด ขนที่คอ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วจึงไปหาอาหาร. ส่วนการนอน ด้วยจตุตถฌานเรียกว่า ตถาคตไสยา (พระตถาคตนอน). ในไสยา ๔ อย่างเหล่านั้น ในที่นี้หมายเอาสีหไสยา. เพราะไสยานี้ ชื่อว่าเป็นไสยา อย่างสูงที่สุด เพราะเป็นอิริยาบถที่มีอำนาจสูง.

บทว่า ปาเท ปาทํ ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า คือเท้าซ้ายทับเท้าขวา. บทว่า อจฺจาธาย คือ ตั้งเท้าเหลื่อมเท้าเลยไปนิดหน่อย. เพราะเมื่อข้อเท้า เสียดสีกับข้อเท้า เข่าเสียดสีกับเข่า นอนไม่สบาย. เมื่อตั้งเท้าเลยไปโดยที่ไม่ เสียดสีกันเวทนาย่อมไม่เกิดจิตก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนสบาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า. บทว่า สโต สมฺปชาโน คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ. ด้วยบทนี้ กล่าวถึงสติ สัมปชัญญะที่กำหนดไว้ดีแล้ว. บทว่า อุฏฺานสญฺญํ มนสิการิตฺวา ทำ สัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ คือตั้งอุฏฐานสัญญากำหนดเวลาตื่นขึ้นไว้ใน ใจอย่างนี้ว่า เราจักตื่นขึ้นในเวลาโน้นดังนี้. เพราะทำอย่างนี้แล้วนอน จะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้เป็นแน่.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งวิริยินทรีย์ ดังต่อไปนี้. บทว่า เจตสิโก นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่าความเพียรเป็นไปทางจิตโดยแน่นอน. เพราะความเพียรนี้ท่านกล่าวว่า เจตสิก ก็เพื่อแสดงว่า ความเพียรเป็นไป ทางกายไม่มี มีแต่เป็นไปทางจิตเท่านั้น ดุจกายวิญญาณ แม้กล่าวว่าเป็น

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 421

ไปทางกาย เพราะเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำจงกรมเป็นต้น ในพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเพียรเป็นไปทางกายแม้ใด ความเพียรนั้นก็คือวิริยสัมโพชฌงค์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเพียรเป็น ไปทางจิตแม้ใด ความเพียรนั้นก็คือวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ความเพียรนี้ย่อมมาสู่อุเทศด้วยประการฉะนี้.

บทว่า วิริยารมฺโภ ความว่า อารัมภะคือวิริยะ.

จริงอยู่ อารัมภศัพท์นี้มาแล้วในเนื้อความไม่น้อย คือในกรรม ใน อาบัติ ในกิริยา ในวิริยะ ในความเบียดเบียน ในการทำร้าย.

อารัมภะ มาในความว่า กรรม ในคาถานี้ว่า

ทุกข์ทั้งปวงอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิด เพราะมี อารัมภะ (กรรม) เป็นปัจจัย ความเกิดทุกข์ไม่มี เพราะ ดับอารัมภะเสียได้.

อารัมภะ มาในความว่า อาบัติ ในบทนี้ว่า ย่อมปรารภ และย่อม เป็นความเดือดร้อน.

อารัมภะ มาในความว่า กิริยา มีอุปกรณ์ในการบูชายัญเป็นต้น ใน บทนี้ว่าบรรดาทั้งหลายมีความเพียรมากมหายัญเหล่านั้นไม่มีผลมากเลย

อารัมภะ มาในความว่า วิริยะ ในบทนี้ว่า ท่านทั้งหลา จงพยายาม จงออกไป จงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด.

อารัมภะ มาในความว่า ความเบียดเบียน ในประโยคนี้ว่า ชน ทั้งหลายย่อมเบียดเบียนสัตว์ เจาะจงพระสมณโคดม.

อารัมภะ มาในความว่าการประทุษร้าย มีการตัดและทำลายเป็นต้น ในบทนี้ว่า เป็นผู้เว้นจากการทำลายพืชคาม (เมล็ดพันธุ์ไม้) ภูตคาม

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 422

ไม้ที่งอกแล้ว). ในที่นี้ท่านประสงค์เอาวิริยะเท่านั้น. ที่ท่านกล่าวว่า บทว่า กิริยารมฺโภ ได้แก่ อารัมภะ คือความเพียร.

จริงอยู่ ความเพียร ท่านเรียกว่า อารัมภะ ด้วยสามารถแห่งความ พยายาม. บทว่า วิริยารมฺโภ นี้ เป็นบทแสดงถึงสภาวะของความเพียร นั้น. การก้าวออกด้วยการออกไปจากความเกียจคร้าน. การก้าวหน้าด้วย การก้าวไปสู่ฐานะอื่นๆ. ความขวนขวายด้วยการย่างขึ้นไป. ความพยายาม ด้วยการไปไม่หยุด. ความอุตสาหะด้วยความขะมักเขม้น. ความขยันด้วย ความขะมักเขม้นอย่างสูง. ความมั่นคงด้วยตั้งอยู่ในความหนักแน่น. ความ ทรงไว้ เพราะทรงไว้ด้วยสามารถการทรงจิตและเจตสิกไว้ได้ หรือทรง ความสืบต่อแห่งกุศลไว้ด้วยสามารถความเป็นไปโดยไม่ขาดตอน.

อีกนัยหนึ่ง ความก้าวออกนี้เพื่อบรรเทากามทั้งหลาย. ความ ก้าวหน้านี้เพื่อตัดความผูกพัน. ความขวนขวายนี้เพื่อถอนโอฆะ. ความ พยายามนี้เพื่อไปถึงฝั่ง. ความอุตสาหะนี้เพื่อไปข้างหน้า. ความขยันนี้ เพื่อความยิ่งขึ้นไป. ความมั่นคงนี้เพื่อถอนกิเลสเพียงดังกลอนเหล็ก. ความ ทรงไว้นี้เพื่อไม่หยุดยั้ง. ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ด้วยสามารถการ ก้าวไปไม่หยุดในกาลอันเป็นไปอย่างนี้ว่า หนังเอ็นและกระดูกจงเหลืออยู่ ก็ตาม. อธิบายว่า ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง. อนึ่ง เพราะความเพียรนี้ ไม่ปลงฉันทะ ไม้ทอดธุระ ไม่ข้ามไป ไม่สละ นำมาซึ่งความเป็นผู้ไม่ ท้อถอย ในที่ที่ทำกุศลกรรม ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ดังนี้. เหมือนอย่างว่าชนทั้งหลายกล่าวว่า พวกท่าน จงคอ จับโคนำสินค้าไปในที่ที่เจิ่งไปด้วยน้ำใกล้ฝั่งคงคา โคนั้นแม้คุกเข่า ลงที่พื้นก็ยังนำสินค้าไปได้ ไม่ให้สินค้าตกลงที่พื้นฉันใด ภิกษุไม่ทอด

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 423

ธุระ ประคองความเพียรไว้ในที่ที่ทำกุศลกรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประคองธุระไว้ ชื่อว่า วิริยินทรีย์ เพราะ ทำความเป็นใหญ่ในลักษณะประคองไว้. ชื่อว่า วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะพยายามในกุศล อันนำสัตว์ออกไปจากทุกข์ได้แน่นอน.

บทว่า ตนฺทิ ความเกียจคร้าน. บทว่า ตนฺทิยา คือ อาการเกียจ- คร้าน. บทว่า ตนฺทิมนกตา ความเป็นผู้เกียจคร้าน คือความเป็นผู้มีจิต ถูกความเกียจคร้านครอบงำ. ความเป็นแห่งความขี้เกียจ ชื่อว่า อาลสิยํ ความขี้เกียจ. อาการแห่งความขี้เกียจ ชื่อว่า อาลสายนา กิริยาที่ขี้เกียจ. ความเป็นแห่งคนขี้เกียจ ชื่อว่า อาลสายิตตฺตํ ความเป็นคนขี้เกียจ. ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมด ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ขี้เกียจทางกายด้วย อำนาจกิเลส. บทว่า วญฺจนิกา จริยา คือ กิริยาหลอกลวง. บทว่า มา มํ ชญฺาติ วาจํ ภาสติ กล่าววาจาคิดว่าใครๆ อย่ารู้จักเรา คือภิกษุทั้งๆ รู้อยู่ ล่วงข้อบัญญัติทำกรรมหนัก แต่กล่าวทำเป็นเหมือนผู้สงบว่า เรา ไม่มีการละเมิดเลย. บทว่า กาเยน ปรกฺกมติ บากบั่นด้วยกาย คือทำ ความปกปิดทางกายว่า ใครๆ อย่ารู้บาปกรรมที่เราทำนี้เลย. ความลวง คือทำเป็นลวงให้หลงทางตา โดยปกปิดโทษที่มีอยู่. ความเป็นแห่งความ เป็นผู้หลอกลวง ชื่อว่า มายาวิตา ความเป็นผู้ลวง. ชื่อว่า อจฺจสรา เพราะทำความชั่วแล้วปิดบัง. ชื่อว่า วญฺจนา เพราะซ่อนความจริงโดย ให้เห็นเป็นอย่างอื่น ด้วยวาจาและกิริยา. ชื่อว่า นิกติ เพราะบังความผิด. อธิบายว่า ทำผิด. ชื่อว่า นิกิรณา เพราะปิดความผิดด้วยคิดว่า เราจะ ไม่ทำอย่างนี้อีก. ชื่อว่า ปริหรณา เพราะเลี่ยงความผิดด้วยคิดว่า เราจะ

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 424

ไม่ทำอย่างนี้อีก. ชื่อว่า คูหณา ซ่อนความผิดโดยสำรวมกายเป็นต้น. ชื่อว่า ปริคูหณา คือ ซ่อนผิดทุกส่วนโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่า ฉาทนา เพราะปิดบังความชั่วด้วยกายกรรมและวจีกรรม ดุจปิดบังคูถด้วยใบหญ้า ฉะนั้น. ชื่อว่า ปริจฺฉาทนา เพราะปิดบังทุกส่วนโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่า อนุติตานีกมฺมํ เพราะไม่แสดงเปิดเผย. ชื่อว่า อนาวิกมฺมํ เพราะไม่แสดง ให้ปรากฏ. ชื่อว่า โวจฺฉาทนา เพราะคลุมความผิดไว้อย่างดี. ชื่อว่าปาปกิริยา เพราะทำชั่วใหม่อีก โดยปกปิดความชั่วที่ทำมาแล้ว. บทว่า อยํ วุจฺจติ คือ นี้เรียกว่าความลวง มีลักษณะปกปิดความชั่วที่ทำมาแล้ว. บุคคลมีมายาดุจถ่านปกปิดด้วยขี้เถ้า ดุจตอปกปิดด้วยน้ำ และดุจศัสตรา ปกปิดด้วยเอาผ้าเก่าพัน.

บทว่า อติเวลํ ทนฺตวิทํสกํ หสติ บุคคลย่อมหัวเราะเกินประมาณ จนฟันปรากฏ คือเปิดฟันแสดงแก่คนอื่น ยังความชื่นชมโสมนัสให้เกิด แล้วหัวเราะเกินประมาณ. บทว่า กายิกา จ ขิฑฺฑา การเล่นทางกาย คือการเล่นอันเป็นไปทางกาย. แม้ในทางวาจาก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า หตฺถีหิปิ กีฬนฺติ เล่นช้าง คือเล่นด้วยการเล่นมีนั่งเป็นต้นบนหลัง ให้ วิ่งให้กระโดดไปข้างหน้าโดยให้ช้างเล่น. แม้ในม้าและรถก็มีนัยนี้. บทว่า อฏฺปเทปิ กีฬนฺติ เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง คือชื่อว่า อฏฺปทํ เพราะแถวหนึ่งๆ มี ๘ ตา. ในแถวละ ๘ ตานั้น. แม้ในแถวละ ๑๐ ตา ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อากาเส คือ เล่นหมากเก็บเหมือนเล่นหมากรุก แถวละ ๘ ตานั่นแล. บทว่า ปริหารปเถหิปิ เล่นชิงนางบ้าง คือขีด เส้นลงบนดินทำให้เป็นวงกลม แล้วเล่นไล่จับกันในที่นั้น. บทว่า สนฺติ- กายปิ กีฬนฺติ คือ เล่นหมากไหวบ้าง. เอาตาสกาหรือก้อนกรวดตั้งไว้

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 425

รวมกันไม่ให้ไหว เอาเล็บเขี่ยออกและเขี่ยเข้า. หากก้อนกรวดอะไรๆ ในที่ นั้นไหวเป็นแพ้. บทว่า ขลิกาย คือ เล่นโยนบ่วงบนกระดานพนัน. บทว่า ฆฏิกาย เล่นไม้หึ่ง คือเล่นโดยเอาท่อนไม้ยาวตีกับท่อนไม้สั้น เรียกว่า ฆฏิกา. บทว่า สลากหตฺเถน เล่นฟาดให้เห็นรูปร่างๆ คือเอาเส้นหญ้า ชุบด้วย ครั่ง ฝาง หรือแป้งเปียก แล้วฟาดเส้นหญ้านั้นลงบนพื้นดิน หรือที่ฝา ดูว่าจะเป็นรูปอะไร แล้วเล่น แสดงให้เห็นเป็นรูปช้างและม้า เป็นต้น. บทว่า อกฺเขน คือ เล่นสกา. บทว่า ปงฺกจีเรน เล่นเป่าใบ ไม้ ใบไม้เรียกว่า ปงฺกจีรํ เล่นเป่าใบไม้นั้น. บทว่า วงฺกเกน เล่นไถ น้อยๆ คือไถเล็กๆ สำหรับเด็กชาวบ้านเล่น. บทว่า โมกฺขจิกาย คือ เล่นหกคะเมน. ท่านอธิบายว่า กระโดดรับท่อนไม้บนอากาศ หรือวาง หัวลงกับพื้นดินแล้วเล่นหกคะเมน. บทว่า จิงฺคุลเกน เล่นกังหัน คือเล่น เครื่องหมุนตีลมทำด้วยใบตาลเป็นต้นเรียกว่า จิงฺคุลกํ. บทว่า ปตฺตาฬฺ- หเกน เล่นตวงทราย คือ เล่นตวงทรายเป็นต้นด้วยทะนานใบไม้ เรียกว่า ปตฺตาฬฺหกํ. บทว่า รถเกน คือ รถน้อยๆ. บทว่า ธนุเกน คือ ธนู น้อยๆ. บทว่า อกฺขริกาย เล่นเขียนทายกัน คือเล่นเขียนอักษรบน อากาศ หรือบนหลังทายกัน เรียกว่า อกฺขริกา. บทว่า มเนสิกาย เล่นทายใจกัน คือเล่นให้รู้ความคิดทางใจ เรียกว่า มเนสิกา. บทว่า ยถาวชฺเชน เล่นเลียนคนขอทาน คือเล่นเลียนคำพูดของตนตาบอด คน ง่อย คนกระจอก เป็นต้น เรียกว่า ยถาวชฺชํ.

บทว่า มุขเภริยํ เล่นตีกลองปาก คือ เป่าเสียงออกทางปากเหมือน กลอง บทว่า มุขาฬมฺพทํ๑ คือ เล่นพิณพาทย์ทางปาก. บทว่า มุขเฑณฺ- ฑิมกํ คือ เล่นรัวกลองทางปาก. บทว่า มุขวลิมกํ เล่นผิวปาก คือทำลิ้น


๑. สี. ม. มุขาลมฺพรํ

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 426

ที่เนื้อริมฝีปากให้มีเสียง. ปาฐะว่า มุขวาลิกํ บ้าง. คือผิวรอบๆ ปาก. บทว่า มุขเภรุฬกํ เล่นกระเดาะปาก คือเป่าเป็นกลองทางปาก บทว่า นาฏกํ เล่นซ้อมเพลง คือแสดงให้เรียนท่าใหม่ๆ ปาฐะว่า นฏฺฏกํ บ้าง บทว่า ลาสํ เล่นโห่ร้อง คือทำเสียงตะโกน. บทว่า คีตํ เล่นร้องเพลง คือขับร้อง. บทว่า ทวกมฺมํ คือ เล่นหัวเราะกัน. บทว่า อยํ วาจสิกา ขิฑฺฑา คือ นี้ชื่อว่าการเล่นเกิดทางวาจา คือเกิดแล้วในวจีทวาร.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เกสา จ มสฺสุ จ เป็นอาทิ ดังต่อไปนี้. เอากรรไกรตัดผมไม่ให้แหว่ง, แต่งหนวดให้เป็นเขี้ยว, กำดอกไม้มีก้าน เป็นกำเดียวกันเป็นต้น ของหอมมีกลิ่นที่รากเป็นต้น เครื่องลูบไล้ทำการ ย้อมผิว เครื่องประดับตกแต่งที่คอเป็นต้น เครื่องประดับตกแต่งสวมศีรษะ ผ้านุ่งอย่างวิจิตร สร้อยสังวาล เครื่องรัดและเครื่องประดับผ้าโพกศีรษะ. พึงทราบวินิจฉัยในการอบตัวเป็นต้น ดังนี้. กลิ่นกายของทารก ที่เกิดจากครรภ์มารดา จะหมดไปในเมื่ออายุได้ประมาณ ๑๒ ปี. เพื่อนำ กลิ่นกายของทารกกลับมา มารดาบิดาจึงอบด้วยจุณขมิ้นเป็นต้น การอบ อย่างนี้ไม่ควร. แต่บิดามารดาให้ทารกมีบุญนอนบนขาอ่อนทั้งสอง แล้ว ทาด้วยน้ำมันนวด เพื่อให้ส่วนต่างๆ มีมือ เท้า ขาอ่อน และต้องเป็นต้น สมบูรณ์. การนวดอย่างนี้ก็ไม่ควร. บทว่า นหาปนํ คือ การอาบน้ำ คือ อาบทารกเหล่านั้นด้วยของหอมเป็นต้น. บทว่า สมฺพาหนํ คือ การดัดตัว คือเอาไม้ค้อนเป็นต้นทุบเบาๆ ที่มือและเท้า ดุจของนักมวยปล้ำ แล้วดัด แขน. บทว่า อาทาสํ คือ การส่องกระจก การส่องกระจกอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควร. บทว่า อญฺชนํ คือ แต้มตา. บทว่า มาลา คือ สวมพวงดอกไม้ หรือไม่สวม. บทว่า วิเลปนํ คือ ทำการย้อมผิวอย่างใดอย่างหนึ่ง บทว่า

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 427

มุขจุณฺณกํ มุขาเลปํ การเจิมหน้าการทาปาก ชนทั้งหลายเพื่อจะเอาไฝดำ ที่ใบหน้าออก จึงใช้ยางเหนียวของดินแต้ม เมื่อเลือดออกด้วยยางเหนียว ของดินนั้น ใช้ยางเหนียวของเมล็ดผักกาดแต้ม เมื่อเมล็ดผักกาดนั้นกัด ฝีดำที่เป็นโทษแล้ว ให้ยางเหนียวของงา เมื่อเลือดสงบด้วยยางเหนียว ของงา จึงให้ยางเหนียวของขมิ้น เมื่อผิวพรรณผ่องด้วยยางเหนียวของ ขมิ้นนั้น จึงเจิมหน้าด้วยเครื่องเจิมหน้า.

พึงทราบวินิจฉัยในการผูกข้อมือเป็นต้น ดังต่อไปนี้.

ชนทั้งหลายผูกสังข์และกระเบื้องอันวิจิตรที่ข้อมือเที่ยวไป. เครื่อง ประดับข้อมือทั้งหมดนั้นหรืออย่างอื่นไม่ควร. ชนอีกพวกหนึ่ง ผูกแหยม เที่ยวไป และล้อมแหยมนั้นด้วยป่านทองวลัยมุกดา. ทั้งหมดนั้นไม่ควร. ชนอีกพวกหนึ่ง ถือไม้เท้า ๔ ศอก หรือไม้เท้าประดับอย่างอื่นเที่ยวไป. อนึ่ง ชนทั้งหลาย คล้องขวดยาวิจิตรไปด้วยรูปหญิงและชายเป็นต้น ล้อมรอบเป็นอย่างดีที่บ่าข้างซ้าย. ชนอีกพวกหนึ่ง คล้องดาบอันคมกริบ มีฝักวิจิตรตระการตา กางร่มวิจิตรด้วยเขี้ยวมังกรเย็บด้วยด้าย ๕ สี สวม รองเท้าล้อมด้วยแววหางนกยูงเป็นต้น วิจิตรด้วยทองและเงิน. บางคน ไว้ผมยาวประมาณศอกหนึ่งกว้าง ๔ องคุลี สวมกรอบหน้าที่หน้าผากดุจ สายฟ้าที่ปากเมฆ แล้วปักปิ่น ใช้พัดจามรีและพัดวาลวิชนี. ทั้งหมดนั้น ไม่ควร.

บทว่า อิมสฺส วา ปูติกายสฺส กายอันเปื่อยเน่านี้ คือร่างของศพ อันสำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้. บทว่า เกฬนา คือ การเล่นสนุก. บทว่า ปริเกฬนา การเล่นเพลิน คือเล่นได้ทุกส่วนโดยประการทั้งปวง. บทว่า เคธิตตา คือ การปรารถนา. บทว่า เคธิตตฺตํ คือ ความชอบ ความ

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 428

ปรารถนา. บทว่า จปลนา กิริยาที่ประดับ คือทำการประดับ. บทว่า จาปลฺยํ คือ ความเป็นแห่งการประดับ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สวิภูสํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. เป็นไป กับด้วยความประดับ ชื่อว่า สวิภูสํ. เป็นไปกับด้วยบริวาร คือการทำการ ย้อมผิว ชื่อว่า สปริวารํ. เป็นไปกับด้วยของใช้ ชื่อว่า สปริภณฺฑํ. เป็นไปกับด้วยบริขาร ชื่อว่า สปริกฺขารํ.

บทว่า อาถพฺพณํ อาถรรพณ์ คือประกอบมนต์ทำอาถรรพณ์. บทว่า สุปินํ คือ ตำราทำนายฝัน. บทว่า ลกฺขณํ การทายลักษณะ คือมีการ ทายลักษณะตัว แก้วมณีเป็นต้น. บทว่า โน วิเทเห คือ ไม่พึงประกอบ. บทว่า วิรุทญฺจ การทายเสียงสัตว์ร้อง คือเสียงร้องของสัตว์มีเนื้อเป็นต้น.

บทว่า อาถพฺพณิกา พวกคนที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ คือรู้มนต์เพื่อ ฆ่าผู้อื่น. ชื่อว่า อาถพฺพณิกา เพราะประกอบอาถรรพณ์ ได้ยินมาว่า พวกประกอบอาถรรพณ์ บริโภคของไม่เค็มตลอด ๗ วัน ปูหญ้าคานอน บนพื้นดินประพฤติตบะ ในวันที่ ๗ เตรียมพื้นสุสาน ยืนอยู่บนทางที่ ๗ ชูมือร่ายวิชา. ที่นั้นการงานของพวกเขาก็สำเร็จ. พระสังคติกาจารย์ กล่าวว่า ประกอบอาถรรพณ์ หมายถึงพวกรู้มนต์ทำอาถรรพณ์พวกนี้ แหละ. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปโยเชนฺติ คือ เป็นผู้ขวนขวายในการ ประกอบอาถรรพณ์. บทว่า นคเร วา รุทฺเธ เมื่อนครถูกล้อม คือเมื่อ นครถูกปิดกั้นไว้โดยรอบ. บทว่า สงฺคาเม วา ปจฺจุปฏฺิเต คือ หรือเมื่อ สงครามตั้งประชิดกัน. บทว่า ปจฺจติถิเกสุ ปจฺจามิตฺเตสุ คือ ในพวก ข้าศึกที่เป็นศัตรูกัน. บทว่า อีตึ อุปฺปาเทนฺติ ยังจัญไรให้เกิดขึ้น คือ ทำความหวั่นไหวปั่นป่วนให้เกิดขึ้นแก่ข้าศึก. บทว่า อุปทฺทวํ อันตราย

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 429

คือทำการบีบคั้นทางกาย. บทว่า โรคํ คือ พยาธิ. บทว่า ปชฺชรกํ คือ โรคไข้เชื่อมซึม. บทว่า สุลํ คือ โรคจุกเสียด. บทว่า วิสูจิกํ คือ โรค ลงราก. บทว่า ปกฺขนฺทิกํ คือ โรคบิด. บทว่า กโรนฺติ คือ ให้เกิดขึ้น.

บทว่า สุปินปากา คือ พวกทำนายฝัน. บทว่า อาทิสนฺติ คือ พยากรณ์. ในบทมีอาทิว่า โย ปุพฺพณฺหสมยํ สุปินํ ปสฺสติ ผู้ใดเห็น ฝันในเวลาเช้า เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ในเวลาเช้า. บทว่า เอวํ วิปาโก โหติ จะมีผลอย่างนี้ คือจะมีผลเห็น ปานนี้ โดยเป็นผลที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา. บทว่า อวกุชฺชนิปนฺโน คนนอนคว่ำ คือนอนคว่ำฝัน พวกทำนายฝันจะท่านายฝัน อย่างนี้.

อนึ่ง ผู้ฝันย่อมฝันด้วยเหตุ ๔ ประการ คือธาตุโขภะ ธาตุกำเริบ ๑ อนุภูตปุพพะ เคยเสพมาก่อน ๑ เทวโตปสังหาระ เทวดาดลใจ ๑ ปุพพนิมิต ลางบอกเหตุ ๑.

ในความฝัน ๔ ประการนั้น ผู้มีธาตุกำเริบ เพราะดีเป็นต้นกำเริบ ชื่อว่าฝันโดยธาตุกำเริบ. ผู้ฝันโดยเคยเสพมาก่อนแล้ว ย่อมเห็นอารมณ์ ที่เคยเสพมาแล้วในกาลก่อน. ฝันโดยเทวดาดลใจ ย่อมเห็นอารมณ์ ทั้งหลายด้วยอานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. ฝันโดยบอกเหตุล่วงหน้า ย่อม ฝันเห็นลางบอกเหตุล่วงหน้าแห่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ อันประสงค์จะให้เกิดด้วยอำนาจบุญและบาป. ในความฝัน เหล่านั้น ฝันโดยธาตุกำเริบและโดยที่เคยเสพมาก่อนแล้ว ไม่เป็นจริง. ฝันโดยเทวดาดลใจ จริงบ้างไม่จริงบ้าง. เพราะเทวดาโกรธ ประสงค์จะ ให้ถึงความพินาศโดยอุบาย ก็แสดงทำให้วิปริต. ฝันโดยบอกเหตุล่วง หน้า จริงโดยสิ้นเดียว.

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 430

ประเภทแห่งความฝัน ย่อมมีโดยประเภทแห่งความเกี่ยวข้องกันของ มูลเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ ปุถุชนผู้เป็นเสกขะย่อมฝัน ๔ อย่างนี้ เพราะยัง ละความวิปลาสไม่ได้. พระอเสกขะไม่ฝัน เพราะละวิปลาสได้แล้ว เมื่อฝัน หลับฝันหรือตื่นฝัน หรือไม่หลับไม่ตื่น. ในข้อนี้ ผิว่าหลับฝัน ผิดทาง อภิธรรมโดยแท้ เพราะว่าฝันด้วยจิตเข้าสู่ภวังค์ (ไม่รู้สึกตัว) ความฝัน นั้นไม่มีอารมณ์มีรูปนิมิตเป็นต้น หรือไม่สัมปยุตตด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น. อนึ่ง เมื่อฝันจิตเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ตื่นฝันจึงผิดทางวินัย เพราะว่าตื่นฝัน ย่อมฝันด้วยจิตเป็นอัพโพหาริก (มีเหมือนไม่มี) ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติในเพราะทำการละเมิดด้วยจิตเป็นอัพโพหาริกไม่มี เมื่อผู้ฝัน ทำการละเมิด ไม่เป็นอาบัติโดยส่วนเดียวเท่านั้น ดังนั้นไม่หลับไม่ตื่นฝัน ใครๆ ก็ไม่ฝัน เมื่อเป็นอย่างนี้ ความฝันก็ไม่มี ไม่ฝันก็ไม่มี. เพราะเหตุไร. เพราะฝันเช่นเดียวกับลิงหลับ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า มหาบพิตร ฝันย่อมเห็นเช่นกับลิงหลับแล. บทว่า กปิมิทฺธปเรโต คือ ประกอบ แล้วด้วยการนอนหลับของลิง. การหลับใดเปลี่ยนไปเร็ว เพราะเจือด้วยจิต เป็นกุศลเป็นต้นบ่อยๆ การออกจากภวังคจิตบ่อยๆ ย่อมมีในความเป็นไป ของการหลับใด ย่อมฝันประกอบด้วยการหลับนั้น เหมือนการหลับของลิง เปลี่ยนแปลงไปได้เร็วฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ความฝันนี้ จึงเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง. ในความฝันนั้นพึงทราบว่า ความฝันของ บุคคลผู้กระทำการไหวพระเจดีย์ การฟังธรรม และแสดงธรรมเป็นต้น เป็นกุศล ความฝันของบุคคลผู้กระทำปาณาติบาตเป็นต้นเป็นอกุศล ความ ฝันนอกเหนือจากสองอย่างนั้นเป็นอัพยากฤต ในขณะที่อารมณ์นั้นเป็น

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 431

อาวัชชนะ. ความฝันนั้นไม่สามารถฉุดรั้งปฏิสนธิได้ เพราะมีกำลังน้อย แต่กุศลอกุศลอื่นค้ำจุน ย่อมให้วิบากได้ในเพราะยังเป็นไปอยู่.

พึงทราบวินิจฉัยในลักษณะแก้วมณี ดังต่อไปนี้. พวกทำนาย ลักษณะ ย่อมทำนายลักษณะของแก้วมณีเป็นต้น ด้วยสีและสัณฐานเป็นต้น อย่างนี้ว่า แก้วมณีอย่างนี้ประเสริฐ อย่างนี้ไม่ประเสริฐ ย่อมเป็นเหตุ แห่งความไม่มีโรคและความเป็นใหญ่แก่เจ้าของ. ในลักษณะเหล่านั้น บทว่า อาวุธลกฺขณํ ลักษณะอาวุธ คืออาวุธที่เหลือเว้นดาบเป็นต้น. แม้ลักษณะหญิงเป็นต้น ก็พึงทราบด้วยอำนาจความเจริญและความเสื่อม ของตระกูลที่หญิงและชายเป็นต้นอยู่. ส่วนในลักษณะแพะเป็นต้น ควร ทราบความต่างกัน คือเนื้อของแพะเป็นต้นอย่างนี้ควรกิน อย่างนี้ไม่ควร กิน. ในลักษณะเหี้ย พึงทราบความวิเศษดังนี้ บรรดาจิตรกรรมและเครื่อง ประดับเป็นต้น เมื่อเหี้ยเห็นปานนี้มีอยู่. สิ่งนี้ย่อมมี. ลักษณะช่อฟ้าพึง ทราบด้วยอำนาจแห่งช่อฟ้า เครื่องประดับบ้าง ช่อฟ้าเรือนบ้าง แม้ ลักษณะเต่าก็เช่นเดียวกับลักษณะเหี้ยนั่นแล. ลักษณะเนื้อ ท่านกล่าว สงเคราะห์เนื้อทุกชนิด ด้วยอำนาจแห่งลักษณะของสัตว์ ๔ เท้าทั้งหมด. บทว่า เอวํ ลกฺขณปากา ลกฺขณํ อาทิสนฺติ คือ ผู้บอกตำราทายลักษณะ ย่อมทายคือย่อมบอกลักษณะอย่างนี้.

บทว่า นกฺขตฺตานิ คือ ฤกษ์ ๒๘ อย่างมีกัตติกาฤกษ์เป็นต้น. บทว่า อิมินา นกฺขตฺเตน ฆรปฺปเวโส กตฺตพฺโพ คือ งานมงคลขึ้นบ้านใหม่ ควรทำด้วยฤกษ์นี้. บทว่า มกุฏํ พนฺธิตพฺพํ คือ งานมงคลผูกเครื่อง ประดับ. บทว่า วาเรยฺยํ งานมงคลแต่งงาน คือ พวกดูฤกษ์ถึงการทำ อาวาหมงคลว่า ท่านทั้งหลายจงนำหญิงจากตระกูลโน้นมาให้แก่ชายด้วย

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 432

ฤกษ์โน้น และบอกการทำวิวาหมงคลว่า พวกท่านจงให้หญิงนี้แก่ชายชื่อ โน้นด้วยฤกษ์โน้น ความเจริญจักมีแก่เขาทั้งสองด้วยประการฉะนี้ แล้ว ทายว่า พึงทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคล คือการแต่งงาน. บทว่า พีชนีหาโร งานมงคลปลูกพืช คือการนำพืชออกไปภายนอกเพื่อจะหว่าน. บาลีว่า นิหาโร ก็มี.

บทว่า มิคจกฺกํ เสียงเนื้อและเสียงนกนี้ เป็นชื่อรวมสัตว์ทุกชนิด ท่านกล่าวด้วยสามารถการรู้เสียงร้องของนกและสัตว์สี่เท้าทุกชนิด. บทว่า มิคจกฺกปากา ผู้รู้เสียงเนื้อและเสียงนก คือผู้ทายเสียงของนกและสัตว์ สี่เท้า. บทว่า มิคจกฺกํ อาทิสนฺติ ย่อมทายเสียงเนื้อและนก คือฟังเสียง สัตว์เหล่านั้นแล้วทาย. บทว่า รุทํ คือ เสียง. บาลีว่า รุตํ ก็มี. บทว่า วสฺสิตํ คือ คำพูด. บทว่า คพฺภกรณียา พวกชนปรุงยาให้ตั้งครรภ์ คือปรุงยาให้ตั้งครรภ์ด้วยการให้ยาเพื่อมิให้แพ้. จริงอยู่ ครรภ์ย่อมแพ้ ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือด้วยลม ๑ ด้วยสัตว์ทั้งหลาย ๑ ด้วยกรรม ๑. ในเหตุ ๓ ประการนั้นเมื่อแพ้ด้วยลม ก็ให้ยาเย็นเพื่อแก้ลม. เมื่อแพ้ด้วย สัตว์ก็ทำการต่อต้านสัตว์ทั้งหลาย. แต่เมื่อแพ้ด้วยกรรม แม้พระพุทธเจ้า ทั้งหลายก็ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่ถึงอาการแพ้ ด้วยกรรมนั้น. บทว่า สาลากิยํ คือ รักษาทางตา. บทว่า สลฺลกฺกิตฺติยํ คือ รักษาทางผ่าตัด. บทว่า กายติกิจฺฉา รักษาทางกา คือประกอบยา ด้วยรากไม้เป็นต้นแล้วรักษากาย. บทว่า ภูติยํ คือ รักษาทางภูตผี. บทว่า โกมารกเวชฺชํ รักษาโรคเด็ก.

บทว่า กุหา คือ เป็นผู้หลอกลวง. บทว่า ถทฺธา กระด้าง คือมีร่าง กายกระด้างเหมือนท่อนไม้. บทว่า ลปา พูดเหลาะแหละ คือพูดเกี่ยวกับ

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 433

ปัจจัย. บทว่า สิงฺคี คือ ชอบเครื่องประดับเป็นปกติ. บทว่า อุนฺนฬา คือ มีมานะยกขึ้นสูงดังไม้อ้อ. บทว่า อสมาหิตา ไม่มีสมาธิ คือเว้น จาก อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า น คณฺเหยฺย เป็นต้น ดังต่อไปนี้ ไม่พึง ถือเอาด้วยการยกขึ้นแสดง. ไม่พึงยึดถือด้วยการท่อง. ไม่พึงทรงไว้ด้วย การตั้งไว้ในจิต. ไม่พึงเข้าไปทรงไว้ด้วยการตั้งไว้ใกล้. ไม่พึงเข้าไป กำหนดด้วยการสอบสวน. ไม่พึงประกอบด้วยการบอกแก่คนเหล่าอื่น.

บทว่า เปสุเณยฺยํ คือ การพูดส่อเสียด. การชี้แจงที่เหลือมีความ ได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า กยวิกฺกเย ในการซื้อและการขาย คือไม่ควรตั้งอยู่ด้วยการ หลอกลวงกับ ด้วยสหธรรมิกทั้ง ๕ หรือด้วยปรารถนาความเจริญ. บทว่า อุปวาทํ ภิกฺขุ น กเรยฺย ภิกษุไม่ควรทำความค่อนขอด คือไม่ให้เกิด กิเลสทำความค่อนขอด ไม่พึงยังความค่อนขอดด้วยสมณะและพราหมณ์ อื่นเกิดขึ้นในตน. บทว่า คาเม จ นาภิสชฺเชยฺย ไม่พึงเกี่ยวข้องใน บ้าน คือไม่พึงเกี่ยวข้องด้วยความคลุกคลีกับคฤหัสถ์เป็นต้นในบ้าน. บทว่า ลาภมฺยตา ชนํ น ลเปยฺย คือ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความ อยากได้ลาภ.

บทว่า เย กยวิกฺกยา วินเย ปฏิกิขิตฺตา การซื้อและการขาย เหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้ในวินัย คือการซื้อและการขาย เหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้ใน กยวิกฺกยสิกขาบท ด้วย การให้และการรับ ว่าไม่ควร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงการซื้อและการขายที่ประสงค์

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 434

ในที่นี้ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ปญฺจนฺนํ สทฺธึ ปตฺตึ วา จีวรํ วา ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจนินํ สทฺธึ คือ กับด้วยสหธรรมิก ๕ จำพวก. สหธรรมิก ๕ จำพวกได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และ สามเณรี. บทว่า จญฺจนิยํ วา ความหลอกลวง คือแสดงความหลอกลวง ว่าสมควร. บทว่า อุทยํ วา ปฏฺยนฺโต คือ ปรารถนาความเจริญ. บทว่า ปริวตฺเตติ คือ ทำการแลกเปลี่ยน.

บทว่า อิทฺธิมนฺโต มีฤทธิ์ คือมีอำนาจให้เกิดความสำเร็จ. บทว่า ทิพฺพจกฺขุกา คือ มีญาณจักขุเช่นกับทิพย์. อีกอย่างหนึ่ง ได้ญาณจักษุด้วย ธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัยพร้อมด้วยทิพพวิหารธรรม. บทว่า ปรจิตฺตวิทุโน รู้จิตผู้อื่น คือรู้จิตของผู้อื่นด้วยจิตของตน. บทว่า เต ทูรโตปิ ปสฺสนฺติ สมณพราหมณ์พวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง คือเห็นแต่จักรวาลโยชน์ หนึ่งบ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๑,๐๐๐ โยชน์บ้าง ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์บ้าง จักรวาลหนึ่งบ้าง ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๑๐- ๒๐- ๔๐ - ๑,๐๐๐ จักรวาลบ้าง ยิ่ง กว่านั้นบ้าง. บทว่า อาสนฺนาปิ น ทิสฺสนฺติ อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง คือยืนอยู่ใกล้บ้าง นั่งอยู่ใกล้บ้าง ย่อมไม่ปรากฏ. บทว่า เจตสาปิ จิตฺตํ ปชานนฺติ คือ รู้จิตผู้อื่นแม้ด้วยจิตของตน. บทว่า เทวตาปิ โข สนฺติ อิทฺธิมนฺตินิโย พวกเทวดาผู้มีฤทธิ์ คือเทวดาผู้มีอำนาจให้ความสำเร็จมี อยู่อย่างนี้. บทว่า ปรจิตตวิทุนิโย คือ รู้จิตของผู้อื่น

บทว่า โอฬาริเกหิ วา กิเลเสหิ ด้วยกิเลสหยาบ คือด้วยความ เดือดร้อนมีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า มชฺฌิมเกหิ วา กิเลสปานกลาง มีกามวิตกเป็นต้น. บทว่า สุขุมเกหิ วา กิเลสละเอียดมีวิตกถึงญาติเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 435

พึงทราบกายทุจริตเป็นต้น ด้วยกรรมบถ. พึงทราบกามวิตกเป็นต้น ด้วย กิเลสอันมีวัฏฏะเป็นมูล.

พึงทราบวินิจฉัยในวิตกถึงญาติเป็นต้น ดังต่อไปนี้ :- วิตกเกิดขึ้น เพราะปรารภญาติทั้งหลายด้วยความรัก อาศัยกามคุณ ๕ อย่างนี้ว่า ญาติ ทั้งหลายของเรามีความเป็นอยู่สบายมีสมบัติดังนี้ ชื่อว่าวิตกถึงญาติ. แต่ วิตกเป็นไปอย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายมีศรัทธาเลื่อมใสได้ถึงความสิ้นไป เสื่อมไปเสียแล้วดังนี้ ไม่ชื่อว่าวิตกถึงญาติ. วิตกเกิดขึ้นด้วยความรัก อาศัยเรือนของผู้มีใจยินดีว่า ชนบทของเรามีภิกษาหาได้ง่าย มีข้าวกล้า สมบูรณ์ดังนี้ ชื่อว่าวิตกถึงชนบท. วิตกเป็นไปอย่างนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลาย ในชนบทของเรา ที่มีศรัทธาเลื่อมใสได้ถึงความสิ้นไป ความเสื่อมไป เสียแล้วดังนี้ ไม่ชื่อว่าวิตกถึงชนบท. วิตกถึงความไม่ตาย หรือว่าความ วิตกถึงอมรเทพ ชื่อว่าวิตกถึงอมรเทพ. วิตกประกอบแล้วด้วยการทำ ทุกรกิริยานั้น ของทำทุกข์กิริยาด้วยคิดว่า ตนจะมีความสุขไม่ตายในภพ หน้า ถึงจะแก่แล้ว ด้วยทุกข์ทั้งหลายมีการทำความเพียรด้วยการนั่งกระหย่ง เป็นต้น ชื่อว่าวิตกถึงความไม่ตาย. ส่วนเจ้าทิฏฐิถูกเขาถามคำมีอาทิว่า ท่านจงบอกถึงสัสสตทิฏฐิดังนี้ ย่อมถึงความลำบากใจว่า เราไม่รู้ว่า อย่างนี้ก็ใช่ เราไม่รู้ว่า อย่างนั้นก็ใช่ อย่างอื่นก็ใช่ เราก็ไม่รู้ว่า ไม่มี ก็ใช่ เราไม่รู้ว่า ไม่มีหามิได้ก็ใช่ ดังนี้ วิตกของเจ้าทิฏฐินั้น เป็นวิตก ประกอบด้วยทิฏฐิ. เทพชื่ออมรเพราะไม่ตาย โดยไม่มีสัณฐานแม้ในส่วน เดียว เหมือนปลาชื่อว่าอมร ใครๆ ไม่อาจจบในน้ำเอามาฆ่าได้ ว่ายไป ข้างโน้น ช้างนี้จนจับไม่ได้ฉะนั้น แม้ทั้งสองนั้น ท่านกล่าวรวมเป็นอันเดียว กันว่า อมรวิตกฺโก วิตกถึงเทพอมร. บทว่า ปรานุทฺทยตาปฏิสํยุตฺโต

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 436

วิตกประกอบด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น คือประกอบด้วยความรักอาศัย เรือนเหมือนกันกับความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น คือเมื่ออุปัฏฐากยินดีและเศร้าโศก ภิกษุย่อมยินดีและเศร้าโศกสองเท่ากับด้วยอุปัฏฐากเหล่านั้น เมื่ออุปัฏฐาก เหล่านั้นมีความสุข ภิกษุก็มีความสุขสองเท่า เมื่ออุปัฏฐากมีความทุกข์ ภิกษุก็มีความทุกข์สองเท่า เมื่อกิจที่จะต้องทำเกิดขึ้น ภิกษุขวนขวายย่อม ทำกิจนั้นให้สำเร็จ ย่อมล่วงบัญญัติ ยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ. วิตกใด อาศัยเรือนในเพราะอยู่เกี่ยวข้องกัน หรือในเพราะขวนขวายช่วยเหลือกัน นั้น นี้ชื่อว่าวิตกประกอบด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น. บทว่า ลาภสกฺ- การสิโลกปฏิสํยุตฺโต วิตกประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ คือวิตกประกอบด้วยทำความยินดีกับด้วยลาภมีจีวรเป็นต้น ด้วยสักการะ และด้วยชื่อเสียง. บทว่า อนวญฺตฺติปฏิสํยุตฺโต วิตกประกอบด้วยความ ไม่ถูกดูหมิ่น คือวิตกเกิดกับความปรารถนาความไม่ถูกดูหมิ่นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ คนอื่นจะไม่พึงดูหมิ่นเรา ไม่พึงพูดทักท้วงข่มเหงเรา. วิตก เกิดขึ้นอาศัยเรือนคือกามคุณ ๕ ในเมื่อจิตเกิดขึ้นว่าคนอื่นอย่าได้ดูหมิ่น เราเลยดังนี้ ชื่อว่าวิตกประกอบด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น.

บทว่า ตตฺถ ตตฺถ สชฺชติ คือ ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องในที่นั้นๆ คือ ติดอยู่ในอารมณ์นั้นๆ. บทว่า ตตฺถ ตตฺถ คณฺหาติ ย่อมรับในที่นั้นๆ คือเข้าไปสู่อารมณ์ดังกล่าวแล้ว. บทว่า พชฺฌติ ผูกพัน คือย่อมผูกพัน ย่อมเป็นอันเดียวกันกับด้วยอารมณ์นั้นๆ. บทว่า อนยพฺพยสนํ ความ ฉิบหาย คือความไม่เจริญและความพินาศในที่นั้นๆ. บทว่า อาปชฺชติ แปลว่า ย่อมถึง.

บทว่า อามิสฺสจกฺขุกสฺส ภิกษุผู้เห็นแก่อามิส คือผู้โลเลด้วย

 
  ข้อความที่ 161  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 437

อามิสมีจีวรเป็นต้น. บทว่า โลกธมฺมครุกสฺส หนักอยู่ในโลกธรรม คือ ละโลกุตรธรรม พูดหนักอยู่แต่โลกธรรมมีรูปเป็นต้นเท่านั้น. บทว่า อาลปนา การพูดหว่านล้อม คือเห็นมนุษย์ทั้งหลายมาวิหาร แล้วพูด เลียบเคียงตั้งแต่ต้นอย่างนี้ว่า ผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านมาเพื่ออะไร หรือจะมานิมนต์ภิกษุ หากว่าเป็นอย่างนั้น เชิญพวกท่านไปเถิด อาตมา จะมารับภายหลัง.

อีกอย่างหนึ่ง พูดแนะนำคนแล้วพูดเลียบเคียง แนะนำตนอย่างนี้ว่า อาตมาชื่อติสสะ พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา มหาอำมาตย์ของพระราชาชื่อโน้นๆ ก็เลื่อมใสในอาตมา ดังนี้ ชื่อว่าพูดหว่านล้อม. บทว่า ลปนา พูดเลียบเคียง คือเมื่อถามแล้วก็พูดเลียบเคียงดังที่ได้กล่าวแล้ว นั้นแล. บทว่า สลฺลปนา พูดเลียบเคียงด้วยดี. คือหาโอกาสให้ของที่ดี เลิศแก่คหบดีทั้งหลายแล้วพูดเลียบเคียงด้วยดี. บทว่า อุลฺลปนา การพูด ยกย่อง คือพูดยกให้สูงอย่างนี้ว่า เป็นมหากุฎุมพี เป็นผู้ให้ทานมาก เป็นมหาทานบดีดังนี้. บทว่า สมุลฺลปนา พูดยกย่องด้วยดี คือพูดยก ให้สูงในทุกส่วนด้วยประการทั้งปวง. บทว่า อุนฺนหนา การพูดผูกพัน คือภิกษุพูดว่า อุบาสกทั้งหลาย เมื่อในกาลเช่นนี้พวกท่านให้ทานใหม่ เพราะเหตุไรเดี๋ยวนี้ไม่ให้เล่า พวกอุบาสกกล่าวคำเป็นต้นว่า พระคุณเจ้า กระผมจักถวายตลอดเวลา แต่พวกกระผมยังไม่ได้โอกาส. ชื่อว่าพูด ผูกพันให้สูงไว้ก่อน.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นเขาถืออ้อย ถามว่า อุบาสกเอาอ้อยมาจาก ไหน. เขาตอบว่า เอามาจากไร่อ้อย ขอรับ. ถามว่า อ้อยที่ไร่นั้นมีรส อร่อยดีดอกหรือ. เขาตอบว่า พระคุณเจ้าฉันแล้วจะรู้เอง. ควรพูดว่า

 
  ข้อความที่ 162  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 438

อุบาสก พวกท่านอย่าถวายอ้อยแก่ภิกษุเลย. การพูดผูกพันแม้ของภิกษุ ผู้ไขความอย่างนี้ ก็ชื่อว่าพูดผูกพัน. การพูดผูกพันบ่อยๆ ทุกส่วนโดย ประการทั้งปวง ชื่อว่าการพูดผูกพ้นด้วยดี. บทว่า อุกฺกาจนา การพูด อวดอ้าง คือพูดอวดอย่างนี้ว่า ตระกูลนั้นรู้จักเราดี หากไทยธรรมเกิด ขึ้นในที่นี้ ก็จะให้เราแน่นอน. อธิบายว่า การอวดอ้าง. การพูดอวด บ่อยๆ ทุกๆ ส่วนโดยประการทั้งปวง ชื่อว่าการพูดอวดอ้างด้วยดี.

บทว่า อนุปฺปิยภาณิณา การพูดฝากรัก คือพูดด้วยคำน่ารัก บ่อยๆ ด้วยอำนาจปัจจัย. บทว่า สณฺหวาจตา การพูดอ่อนหวาน คือ พูดอ่อนโยน. บทว่า สขิลราจตา พูดไพเราะ คือพูดพอดีๆ หรือพูด แต่น้อย. บทว่า ลิตฺตวาจตา คือ พูดหนักแน่น. บทว่า อผรุสวาจตา พูดไม่หยาบ คือพูดไพเราะ. บทว่า โปราณํ มาตาเปตฺติกํ คือ ชื่อ ครั้งที่เกิดเป็นของมารดาบิดาตั้งให้. บทว่า อาหิตํ คือ ชื่อนั้นปกปิด เป็นเรื่องภายใน. บทว่า ายามิ คือ ฉัน ย่อมปรากฏ. บทว่า อสุกสฺส กุลุปโก เป็นกุลูปกะ (ผู้เข้าสู่ตระกูล) ของอุบาสกโน้น คือเป็นผู้เข้าถึง ตระกูลของอำมาตย์โน้น. บทว่า อสุกาย คือ อุบาสิกาโน้น. บทว่า มํ อุสฺสชิชิตฺวา คือ ลืมฉันเสียแล้ว.

บทว่า ปยุตฺตํ คือ มุ่งแต่จะได้ด้วยจีวรเป็นต้น. หรือมุ่งประโยชน์ นั้น. การขยายความคาถานี้ทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า โมสฺชเชน นิยฺเยถ คือ ภิกษุพึงเว้นจากการพูดเท็จ บทว่า ชีวิเตน คือ ด้วยความเป็นอยู่. บทว่า สโ เป็นผู้โอ้อวด คือไม่พูด ชอบ เพราะแสดงคุณที่ไม่มี. เป็นผู้โอ้อวดทุกๆ ส่วนโดยประการทั้งปวง ชื่อว่าเป็นผู้อวดอ้าง. บทว่า ยํ ตตฺถ คือ ที่มีในบุคคลนั้น. บทว่า สํ

 
  ข้อความที่ 163  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 439

ความโอ้อวด คือหลอกลวงแสดงคุณที่ไม่มี. บทว่า สตา กิริยาที่ โอ้อวด คืออาการโอ้อวด. ทว่า สาเยฺยํ คือ ความเป็นผู้โอ้อวด. บทว่า กกฺกรตา ความเป็นผู้พูดกระด้าง คือความเป็นผู้หยาบคาย ไม่ กล้าจับต้องดุจความระคายของก้านบัวฉะนั้น. แม้บทว่า กกฺกริยํ ก็เป็น ไวพจน์ของบทว่า กกฺกรตา นั้นนั่นเอง. ท่านกล่าวความหลอกลวง อย่างหนักแน่นดุจฝังไว้ด้วยสองบทว่า ปริกฺขตฺตตา ปริกฺขตฺติยํ ความ เป็นผู้เห่อเหิม กิริยาที่เห่อเหิม. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาความนี้ว่า บทว่า กกฺกรตา คือ พูดยกย่อง. บทว่า กกฺกริยํ กิริยาที่พูดยกย่อง. บทว่า ปริกฺขตฺตตา คือ อาการตกแต่ง. บทว่า ปริกฺขติติยํ คือ กิริยาที่ ตกแต่ง. บทว่า อิทํ วุจฺจติ คือ นี้ท่านเรียกว่าเป็นผู้โอ้อวด มีลักษณะ ประกาศคุณที่ไม่มีอยู่แก่ตน. ต้องหรือหลังของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ โออวดนั้น ใครๆ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้. เช่นเดียวกับยักขสุกรกล่าวไว้ อย่างนี้ว่า

สุกร เป็นอยู่โดยเบื้องซ้าย แพะและเนื้อเป็นอยู่ โดยเบื้องขวา แกะเป็นอยู่ด้วยเสียง โคแก่เป็นอยู่ ด้วยเขา.

บทว่า อติมญฺติ ย่อมดูหมิ่น คือล่วงเกิน. บทว่า กึ ปนายํ พหุลาชีโว คือ ภิกษุนี้ทำไมจึงมีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย. บทว่า สพฺพํ สมฺภกฺเขติ ย่อมฉันพืชทั้งปวง คือฉันพืชที่ได้แล้วๆ. บทว่า อปฺปปุญฺโ คือ มีบุญน้อย. บทว่า อปฺเปสกฺโข มีศักดิ์น้อย คือไม่มีบริวาร. บทว่า ปญฺาสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือมีปัญญาสมบูรณ์บริบูรณ์ บทว่า ปญฺหํ วิสชฺเชติ คือ กล่าวแก้ปัญหาได้.

 
  ข้อความที่ 164  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 440

บทว่า สุตฺวา ทฺสิโต พหุํ วาจํ สมณานํ วา ปุถุชนานํ ภิกษุ ถูกประทุษร้ายได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ หรือของคนผู้มีถ้อยคำมาก คือถูกประทุษร้าย เสียดสี ได้ฟังวาจาที่ไม่น่าปรารถนาแม้มากของสมณะ เหล่านั้น หรือของปุถุชนเหล่าอื่นมีกษัตริย์เป็นต้น. บทว่า น ปฏิวชฺช คือ ไม่พึงโต้ตอบ. เพราะอะไร. เพราะภิกษุผู้สงบย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู.

บทว่า กกฺขเลน คือ ด้วยคำหยาบ. บทว่า สนฺโต ผู้สงบ คือดับ กิเลสได้แล้ว. บทว่า ปฏิเสนึ คือ ศัตรู. บทว่า ปฏิมลฺลํ คือ ข้าศึก. บทว่า ปฏิกณฺฏํ คือ เป็นเวร. บทว่า ปฏิปกฺขํ เป็นปฏิปักษ์ คือเป็น ปฏิปักษ์ด้วยกิเลส. อธิบายว่า ไม่ทำความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจกิเลส.

บทว่า เอตญฺจ ธมฺมมญฺาย รู้ธรรมนั้นแล้ว คือรู้ธรรมตาม ที่กล่าวแล้วนั้นทั้งหมด. บทว่า วิจินํ คือ ค้นคว้าอยู่. บทว่า สนฺตึติ นิพฺพุตึ ตฺวา คือ รู้ความดับราคะเป็นต้นว่า เป็นความสงบ.

บทว่า สมญฺจ ธรรมอันเสมอ คือกายสุจริตเป็นต้น. บทว่า วิสมญฺจ ธรรมอันไม่เสมอมีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า ปถญฺจ ธรรมเป็นทาง คือ กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า วิปถญฺจ ธรรมไม่เป็นทาง คืออกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า สาวชฺชญฺจ ธรรมมีโทษ คืออกุศล. บทว่า อนวชฺชญฺจ ธรรมไม่มีโทษ คือกุศล. แม้บทว่า หีนปฺปณีตกณฺหสุกฺกวิญฺญูครหิตปฺปสตฺถํ ธรรมเลว ธรรมประณีต ธรรมดำ ธรรมขาว ธรรมที่วิญญูชนติเตียน ธรรมที่วิญญูชนสรรเสริญแม้นี้ ก็เป็นกุศลและ อกุศลนั่นเอง. ในธรรมเป็นกุศลและอกุศลเหล่านั้น กายสุจริตเป็นต้นเป็น ธรรมอันเสมอ เพราะทำให้เสมอ. กายทุจริตเป็นต้นเป็นธรรมอันไม่เสมอ เพราะทำให้ไม่เสมอ. กุศลกรรมบถเป็นทาง เพราะเป็นทางไปสุคติ.

 
  ข้อความที่ 165  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 441

อกุศลกรรมบถไม่เป็นทาง เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อการไปสุคติ เพราะเป็น ทางไปอบาย. อกุศลชื่อว่า เป็นธรรมมีโทษ เพราะเป็นไปกับด้วยโทษ. กุศลชื่อว่า เป็นธรรมไม่มีโทษ เพราะมีโทษออกไปแล้ว. อนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อว่า เป็นธรรมเลว เพราะประกอบด้วยโมหะบ้าง โมหะและโทสะบ้าง โมหะและโลภะบ้าง. ชื่อว่า เป็นธรรมประณีต เพราะประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ และอโมหะ. ชื่อว่า เป็นธรรมดำ เพราะมีวิบากดำ. ชื่อว่า เป็นธรรมขาว เพราะมีวิบากขาว. ชื่อว่า เป็นธรรมอันวิญญูชนติเตียน เพราะวิญญูชนมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงติเตียน. ชื่อว่า เป็นธรรมอัน วิญญูชนสรรเสริญ เพราะอันวิญญูชนเหล่านั้นนั่นแล สรรเสริญ.

หากถามว่า เพราะเหตุไร ภิกษุไม่พึงประมาท. พึงทราบคาถาว่า อภิภู หิ โส เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิภู คือ เป็นผู้ครอบงำรูปเป็นต้น. บทว่า อนภิภูโต ไม่ถูกครองงำ คือไม่ถูกรูปเป็นต้น เหล่านั้นครอบงำ. บทว่า สกฺขิธมฺมํ อนีติหมทสฺสี ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น คือได้เห็นธรรมแจ่มแจ้งแล้วโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น. บทว่า สทา นมสฺสมนุสิกฺเข นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ คือนมัสการอยู่ พึงศึกษาสิกขา ๓.

บทว่า เกหิจิ กิเลเสหิ คือ ด้วยกิเลสอันทำให้เร่าร้อนมีราคะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อธิโภสิ เน คือ ครอบงำกิเลสเหล่านั้นได้แล้ว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว.

แต่ในที่นี้พึงทราบการสำรวมอินทรีย์ ด้วยบทมีอาทิว่า ไม่เป็นผู้ โลเลด้วยจักษุอย่างเดียวเท่านั้น. พึงทราบปัจจยปฏิเสวนศีล (ศีลคือการ

 
  ข้อความที่ 166  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 442

เสพปัจจัย) มีการห้ามการสะสมเป็นหลัก ด้วยบทมีอาทิว่า แห่งข้าวหรือ แห่งน้ำทั้งหลาย. พึงทราบปาติโมกขสังวรศีล (ศีลคือการสำรวมในปาติ- โมกข์) ด้วยบทมีอาทิว่า เว้นการพูดเท็จ. พึงทราบอาชีวปาริสุทธศีล (ศีลคืออาชีวะบริสุทธิ์) ด้วยบทมีอาทิว่า ทำอาถรรพณ์ ทำนายฝัน ทำนาย ลักษณะ พึงทราบสมาธิด้วยบทนี้ว่า พึงเป็นผู้เพ่ง. พึงทราบไตรสิกขา โดยสังเขปด้วยบทมีอาทิว่า พึงเป็นผู้มีสติศึกษาทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการสงเคราะห์และการบรรเทา อันเป็นอุปจาระแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยบทมีอาทิว่า ภิกษุพึงอยู่ในที่นั่งที่นอนอันมีเสียงน้อย ไม่พึง เห็นแก่นอนมากนัก. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสปฏิปทาบริบูรณ์แก่พระพุทธนิมิตอย่างนี้แล้ว ทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นเดียวกันกับที่กล่าวไว้แล้วใน ปุราเภทสูตรนั้นแล.

จบอรรถกถาตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔