อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕
[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 443
อัฏฐกวัคคิกะ
อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 66]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 443
อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕
[๗๘๙] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ท่านทั้งหลายจงดูคนที่ทุ่มเถียงกัน เราจักแสดงความสังเวชตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว.
ว่าด้วยภัย ๒ เกิดจากอาชญา ๓ อย่าง
[๗๙๐] ชื่อว่า อาชญา ในคำว่า ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ได้แก่อาชญา ๓ อย่าง คือ อาชญาทางกาย ๑ อาชญาทางวาจา ๑ อาชญาทางใจ ๑กายทุจริต ๓ ชื่อว่าอาชญาทางกาย วจีทุจริต ๔ ชื่อว่าอาชญาทางวาจามโนทุจริต ๓ ชื่อว่าอาชญาทางใจ. ชื่อว่าภัย คือ ภัย ๒ อย่าง ได้แก่ภัยมีในชาตินี้ ๑ ภัยมีในชาติหน้า ๑.
ภัยมีในชาตินี้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ฆ่าสัตว์บ้างลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นทุกหลังคาเรือนบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักแย่งชิงอยู่ที่หนทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาแห่งชายอื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง พวกราชบุรุษจับคนผู้นั้นได้แล้ว ทูลแด่พระราชาว่าขอเดชะ บุรุษผู้นี้เป็นโจร ประพฤติชั่ว พระองค์จงลงอาชญาที่ทรงพระประสงค์แก่บุรุษนี้เถิด พระราชากทรงตวาดบริภาษคนผู้นั้น คนนั้นของเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุที่ถูกบริภาษ ทุกข์โทมนัสนั้นเป็นภัยของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะปรากฏแต่อาชญาของตน. พระราชายังไม่พอพระทัย แม้ด้วยการบริภาษเท่านี้ ย่อมรับสั่งให้จองจำคนนั้นด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคาบ้าง ด้วยเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 444
จองจำคือเชือกบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือโซ่ตรวนบ้าง ด้วยเครื่องจองจำ คือหวายบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือเถาวัลย์บ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือการ ควบคุมบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือเครื่องล้อมบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือ บ้านบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือนครบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือแว่นแคว้นบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือชนบทบ้าง โดยที่สุดทรงบังคับว่า มันจะหนีจาก ถามที่จองจำนี้ไปไม่ได้ คนนั้นต้องเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุการ จองจำนั้น ภัยทุกข์โทมนัสของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน.
พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วยการจองจำนั้น ย่อมรับสั่งให้ ริบทรัพย์ของคนนั้นร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง แสนหนึ่งบ้าง คนนั้น ต้องเสวยทุกข์และโทมนัสแม้เพราะเหตุแห่งความเสื่อมทรัพย์ ทุกข์โทมนัส นั้นเป็นภัยของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน. พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วย การริบทรัพย์เท่านั้น ย่อมรับสั่งให้ทำกรรมกรณ์ต่างๆ กะคนนั้น คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ดีด้วยไม้พลองบ้าง ให้ ตัดมือบ้าง ให้ตัดเท้าบ้าง ให้ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ให้ตัดใบหูบ้าง ให้ตัด จมูกบ้าง ให้ตัดทั้งใบหูทั้งจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะออกแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง ใส่ไฟลุกโพลงเข้าไป ในปากจนโลหิตไหลออกเต็มปากเหมือนปากราหูบ้าง พันตัวด้วยผ้า ชุบน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็นบ้าง พันมือด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้วจุดไฟให้ลุก เหมือนประทีปบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอลงมาถึงข้อเท้าลากให้เดินเหยียบ หนังนั้นจนล้มลงบ้าง ถลกหนึ่งตั้งแต่คอลงมาถึงบั้นเอวทำให้เป็นดังนุ่งผ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 445
คากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าทั้งหมดแล้วเสียบหลาวเหล็ก ๔ ทิศตั้งไว้เผาไฟบ้าง เอาเบ็ดเกี่ยวหนังเนื้อเอ็นออกมาบ้าง เอามีดเฉือน เนื้อออกเป็นแว่นๆ ดังเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออกเหลือ แต่กระดูกบ้าง แทงหลาวเหล็กที่ช่องหูจนทะลุถึงกันเสียบติดดินแล้วจับ หมุนไปโดยรอบบ้าง ทุบให้กระดูกละเอียดแล้วถลกหนังออกเหลือแต่กอง เนื้อดังตั่งใบไม้บ้าง เอาน้ำมันเดือดพล่านรดตัวบ้าง ให้สุนัขกัดกินทั้งเป็น จนเหลือแต่กระดูกบ้าง เสียบหลาวยกขึ้นนอนหงายทั้งเป็นบ้าง เอาดาบ ตัดศีรษะบ้าง คนนั้นต้องเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุแห่งกรรมกรณ์ ภัยทุกข์โทมนัสนั้นของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน.
พระราชาเป็นใหญ่ในอาชญา ๔ อย่างเหล่านี้ คนนั้นเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมของตน พวกนาย นิรยบาลย่อมให้ทำกรรมกรณ์อันมีเครื่องจองจำ ๕ กะสัตว์นั้น คือ (ให้สัตว์ นั้นนอนหงายแล้ว) เอาหลาวเหล็กแดงตรึงไว้ที่มือขวา ๑ ที่มือซ้าย ๑ ที่เท้าขวา ๑ ที่เท้าซ้าย ๑ ที่ท่ามกลางอก ๑ สัตว์นั้นได้เสวยทุกขเวทนา แสบร้อนร้ายแรงในนรกนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้นยัง ไม่สิ้น ภัยทุกข์และโทมนัสนั้นของสัตว์นั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิด พร้อม บังเกิด เกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน.
พวกนายนิรยบาลให้สัตว์นั้นนอนลงแล้วเอาผึ่งถาก สัตว์นั้นได้ เสวยทุกขเวทนาแสบร้อนร้ายแรงในนรกนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอดเวลาที่ บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น พวกนายนิรยบาลจับสัตว์นั้นเอาเท้าชี้ขึ้นข้างบนเอา หัวห้อยลงข้างล่างแล้วเอามีดถาก เทียมสัตว์นั้นเข้าที่รถแล้ว ให้วิ่งไปข้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 446
หน้าบ้าง ให้วิ่งกลับมาข้างหลังบ้าง บนแผ่นดินที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุก โพลง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลไล่ต้อนให้สัตว์นั้นขึ้นบนภูเขาถ่านเพลิง ใหญ่ที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุกโพลงบ้าง ไล่ต้อนให้ลงจากภูเขานั้นบ้าง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลจับสัตว์นั้นเอาเท้าชี้ขึ้นข้างบน เอาหัวห้อยลงข้างล่าง แล้วเหวี่ยงลงไปในหม้อเหล็กอันร้อน ที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุกโพลง สัตว์นั้น เดือดพล่านอยู่ในหม้อเหล็กเหมือนฟองน้ำที่เดือด เมื่อเดือดพล่านอยู่ใน หม้อเหล็กเหมือนฟองน้ำที่เดือด บางครั้งก็เดือดพล่านไปข้างบน บางครั้ง ก็เดือดพล่าไปข้างล่าง บางครั้งก็เดือดพล่านไปทางขวาง สัตว์นั้นได้ เสวยทุกขเวทนา แสบร้อนร้ายแรงอยู่ในหม้อเหล็กนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น ภัย ทุกข์และโทมนัสของสัตว์นั้นเกิด แต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่ อาชญาของตน. พวกนายนิรยบาลโยนสัตว์นั้นลงไปในมหานรก
ว่าด้วยมหานรก
ก็แหละมหานรกนั้น มีมุมสี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตู สี่ช่อง ซึ่งจำแนกนับออกโดยส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ มีแผ่นเหล็กครอบไว้ มหานรกนั้นมีภาคพื้นสำเร็จ ด้วยเหล็ก มีเปลวไฟรุ่งโรจน์ ประกอบด้วยไฟร้อน แผ่ไป ร้อยโยชน์โดยรอบตั้งอยู่ตลอดกาลทั้งปวง มหานรกอัน เป็นที่น่าสยดสยองเผาผลาญสัตว์ให้มีทุกข์ร้ายแรง มี เปลวไฟ แสนยากที่จะเข้าใกล้ น่าขนลุกขนพอง น่า กลัว ให้เกิดภัย ให้เกิดทุกข์ กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 447
ด้านตะวันออกแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่าน ไปกระทบฝาด้านตะวันตก กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้าน ตะวันตกแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไป กระทบฝาด้านตะวันออก กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้าน เหนือแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบ ฝาด้านใต้ กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านใต้แล้วแผดเผา เหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาด้านเหนือ กอง เปลวไฟที่น่ากลัวตั้งขึ้นแต่ภาคพื้นข้างล่างแล้ว แผดเผา เหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาปิดข้างบน ของเปลวไฟที่น่ากลัวตั้งขึ้นแต่ฝาปิดข้างบนแล้ว แผดเผา เหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบภาคพื้นข้างล่าง แผ่นเหล็กที่ไฟติดทั่วร้อนอยู่เสมอ มีไฟลุกรุ่งโรจน์ ฉันใด อเวจีนรกข้างล่าง ข้าง และโดยรอบ ก็ฉันนั้น.
สัตว์ทั้งหลายในนรกนั้น มีกรรมหยาบมาก ทำกรรม ร้ายแรงมาก มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว ย่อมหมกไหม้ อยู่ แต่ไม่ตาย ร่างกายของเหล่าสัตว์ที่อยู่ในนรกนั้น เหมือนไฟที่ลุกอยู่ เชิญดูความมั่นคงของกรรม เถ้าและ เขม่ามิได้มีเลย เหล่าสัตว์วิ่งไปข้างตะวันออกแล้ว ก็วิ่ง ย้อนกลับมาข้างตะวันตก วิ่งไปข้างเหนือแล้ว ก็วิ่งย้อน กลับมาข้างใต้ วิ่งไปทิศใดๆ ประตูทิศนั้นๆ ก็ปิดเอง สัตว์เหล่านั้นมีความหวังเพื่อจะออก เป็นผู้แสวงหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 448
ประตูที่จะออก สัตว์เหล่านั้นไม่ได้เพื่อจะออกไปจากนรก นั้น เพราะบาปกรรมเป็นปัจจัย เพราะบาปกรรมที่สัตว์ เหล่านั้นทำไว้มาก ยังมิได้ให้ผลหมดสิ้น ดังนี้.
ทุกข์และโทมนัสนั้นเป็นภัยของสัตว์นั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน ทุกข์ที่มี ในนรกก็ดี ทุกข์ที่มีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ทุกข์ที่มีในเปรตวิสัยก็ดี ทุกข์ที่มีในมนุษย์ก็ดี ทุกข์เหล่านั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อะไร ทุกข์เหล่านั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภัยเกิดแต่อาชญา ของตน.
[๗๙๑] คำว่า คน ในคำว่า ท่านทั้งหลายจงดูคนที่ทุ่มเถียงกัน คือพวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์ คำว่า ที่ทุ่มเถียงกัน ความว่า ท่านทั้งหลายจงดู แลดู เหลียวดู เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งคนที่ทุ่มเถียงกัน คือคนที่ทะเลาะกัน คนที่ทำร้าย กัน คนที่ทำร้ายตอบกัน คนที่เคืองกัน คนที่เคืองตอบกัน คนที่ปองร้าย กัน คนที่ปองร้ายตอบกัน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า จงดูคนที่ทุ่มเถียงกัน.
[๗๙๒] คำว่า เราจักแสดงความสังเวช ความว่า เราจักแสดง ชี้แจง บอก เล่า บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ ซึ่งความสังเวช คือความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ความกลัว ความบีบคั้น ความกระทบ ความเบียดเบียน ความขัดข้อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักแสดงความสังเวช.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 449
[๗๙๓] คำว่า ตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว ความว่า ตามที่เรา ได้สังเวชมาแล้ว คือสะดุ้ง ถึงความหวาดเสียวมาแล้วด้วยตนทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ท่านทั้งหลายจงดูคนที่ ทุ่มเถียงกัน เราจักแสดงความสังเวชตามที่เราได้สังเวช มาแล้ว.
[๗๙๔] ภัยเข้ามาถึงแล้ว เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เหมือน ปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย และเพราะเห็นสัตว์ ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน.
ว่าด้วยทุกข์ต่างๆ
[๗๙๕] คำว่า ปชา ในคำว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เป็นชื่อของสัตว์ ซึ่งหมู่สัตว์ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วย ความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลสด้วยความดิ้นรนเพราะ ทุจริต ด้วยความดิ้นรนเพราะประโยค ด้วยความดิ้นในเพราะผลกรรม ด้วยราคะของผู้กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลง ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยทิฏฐิเป็นเครื่องถือมั่น ด้วยความฟุ้งซ่าน ที่ฟุ้งเฟ้อแล้ว ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วยอนุสัยที่ถึงกำลัง ด้วยลาภ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 450
ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส ทุกข์ อันมีในนรก ทุกข์อันมีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ทุกข์อันมีในเปรตวิสัย ทุกข์อันมีในมนุษย์ ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความอยู่ใน ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความคลอดจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์อันติดตามสัตว์ผู้ เกิดแล้ว ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นของสัตว์ผู้เกิดแล้ว ทุกข์อันเกิดแต่ความ ขวนขวายของตน ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ทุกข์อันเนื่อง แต่ทุกขเวทนา ทุกข์อันเกิดแต่สังขาร ทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรค ที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรค ลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรค หิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียน โลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็น สมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดเพราะฤดูแปรปรวน อาพาธเกิด เพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดเพราะทำความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดเพราะผลกรรม ด้วยความหนาว ความร้อน ความหิว ความ ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์เกิดแก่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ทุกข์เพราะพี่หญิงน้องหญิงตาย ทุกข์เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 451
บุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย ทุกข์เพราะญาติตาย ทุกข์เพราะความ ฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะ ความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ. คำว่า เพราะ เห็น คือเพราะประสบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้แจ่ม แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่.
[๗๙๖] คำว่า เหมือนปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย ความ ว่า ปลาทั้งหลายอันกา นกตะกรุม นกยาง จิกเฉี่ยวฉุดขึ้นกินอยู่ ย่อม ดิ้นรนกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่าย อยู่ในที่มีน้ำน้อย คือในที่มีน้ำเล็กน้อย ในที่มีน้ำจะแห้งไป ฉันใด หมู่ สัตว์ย่อมดิ้นรนกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับ กระส่ายไปมาด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ฯลฯ ด้วยทุกข์เพราะความ ฉิบหายแห่งทิฏฐิ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนปลา ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย.
[๗๙๗] คำว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน ความว่า สัตว์ ทั้งหลายทำร้ายกัน ทำร้ายตอบกัน เคืองกัน เคืองตอบกัน ปองร้ายกัน ปองร้ายตอบกัน คือแม้พวกพระราชาก็วิวาทกับพวกพระราชา แม้พวก กษัตริย์ก็วิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้พวกคฤหบดีก็วิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตร ก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้ พี่น้องชายก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้พี่น้องหญิงก็วิวาทกับพี่น้องหญิง แม้ พี่น้องชายก็วิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้ สหายก็วิวาทกับสหาย สัตว์เหล่านั้นถึงความทะเลาะ ความแก่งแย่งและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 452
ความวิวาทกัน ในเพราะการทำร้ายกันและกันนั้น ย่อมประทุษร้ายกัน และกันด้วยมือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาสตราบ้าง สัตว์เหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ย่อมถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในเพราะ ความประทุษร้ายกันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้าย กันและกัน.
[๗๙๘] คำว่า เพราะเห็น ในคำว่า ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะ เห็น ความว่า ภัย คือความเบียดเบียน ความกระทบกระทั่ง อุบาทว์ อุปสรรคเข้ามาถึงเราเพราะเห็น ประสบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้ แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะเห็น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เหมือนปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย และเพราะ เห็นสัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน.
[๗๙๙] โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร สังขารทั้งหลายหวั่นไหว แล้วตลอดทิศทั้งปวง เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆ อันไม่ลูกครองงำ.
ว่าด้วยโลก
[๘๐๐] คำว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร ความว่า โลกนรก โลกดิรัจฉานกำเนิด โลกเปรตวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา โลกขันธ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 453
โลกธาตุ โลกอายตนะ โลกนี้ โลกอื่น ทั้งโลกพรหม ทั้งโลกเทวดา นี้ชื่อว่าโลก โลกนรกไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยแก่นสารที่เป็นสุข โดยแก่นสารที่เป็น ตัวตน โดยความเป็นสภาพเที่ยง โดยความเป็นสภาพยั่งยืน โดยความ เป็นสภาพมั่นคง หรือโดยความเป็นธรรมไม่มีความแปรปรวน โลกดิรัจฉานกำเนิด โลกเปรตวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา โลกขันธ์ โลกธาตุ โลกอายตนะ โลกนี้ โลกอื่น ทั้งพรหมโลก ทั้งเทวโลกไม่เป็น แก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยแก่นสารที่เป็นสุข โดยแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นสภาพเที่ยง โดยความเป็นสภาพยั่งยืน โดยความเป็นสภาพมั่นคง หรือโดยความเป็น ธรรมไม่มีความแปรปรวน ต้นอ้อไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นละหุ่งไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นมะเดื่อไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นทองหลางไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต่อมฟองน้ำไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด พยับแดดไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นกล้วยไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด มายาไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจาก แก่นสาร ฉันใด โลกนรกไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจาก แก่นสาร ฯลฯ ทั้งพรหมโลก ทั้งเทวโลก ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มี แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง ... หรือโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 454
ความเป็นธรรมไม่มีความแปรปรวน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร.
ว่าด้วยสังขารไม่เที่ยง
[๘๐๑] คำว่า สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง ความว่า สังขารทั้งหลายในทิศตะวันออก แม้สังขารเหล่านั้นก็หวั่นไหว สะเทื้อน สะท้าน เอนเอียง เพราะเป็นสภาพไม่เที่ยงจึงเป็นสภาพอัน ชาติติดตาม ชราห้อมล้อม พยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ใน กองทุกข์ ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง สังขารทั้งหลายในทิศตะวันตก ในทิศเหนือ ในทิศใต้ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ในสิบทิศ แม้สังขารเหล่านั้น หวั่นไหว สะเทื้อน สะท้าน เอนเอียง เพราะเป็นของไม่เที่ยง จึงเป็นสภาพอันชาติติดตาม ชราห้อมล้อม พยาธิ ครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ ไม่มีที่ป้องกัน ไม่มีที่หลีก เร้น ไม่มีที่พึ่ง เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง สมจริงตามภาษิตนี้ว่า
ก็วิมานนี้ สว่างรุ่งเรืองอยู่ในทิศอุดรแม้โดยแท้ แต่ บัณฑิตเห็นความชั่ว (โทษ) ในรูปแล้ว หวั่นไหวทุกเมื่อ เพราะเหตุนั้น ท่านผู้มีปัญญาดีย่อมไม่ยินดีในรูป โลก อันมัจจุกำจัด อันชราห้อมล้อม ถูกลูกศร คือตัณหา แทงติดอยู่ ลุกเป็นควันเพราะความปรารถนาทุกเมื่อ โลก ทั้งปวงอันไฟติดทั่ว โลกทั้งปวงอันไฟให้ลุกสว่าง โลก ทั้งปวงอันไฟให้ลุกรุ่งโรจน์ โลกทั้งปวงหวั่นไหว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 455
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง.
[๘๐๒] คำว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ความว่า เมื่อเราปรารถนา ยินดี ประสงค์ รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งความเจริญ คือ ที่ป้องกัน ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง ที่ดำเนิน ที่ก้าวหน้า เพื่อตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน.
[๘๐๓] คำว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆ อันไม่ถูกครอบงำ ความว่า เราไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร อันไม่ถูกครองงำ คือได้เห็นฐานะ ทั้งปวงถูกครอบงำทั้งนั้น ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงถูกชราครอบงำ ความ เป็นผู้ไม่มีโรคทั้งปวงถูกพยาธิครอบงำ ชีวิตทั้งปวงถูกมรณะครอบงำ ลาภทั้งปวงถูกความเสื่อมลาภครอบงำ ยศทั้งปวงถูกความเสื่อมยศครอบงำ ความสรรเสริญทั้งปวงถูกความนินทาครอบงำ สุขทั้งปวงถูกทุกข์ครอบงำ.
สมจริงดังภาษิตว่า
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ เป็น ของไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆ อันไม่ถูกครอบงำ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร สังขารทั้งหลายหวั่นไหว แล้วตลอดทิศทั้งปวง เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆ อันไม่ถูกครอบงำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 456
[๘๐๔] เพราะได้เห็นที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความไม่ ยินดี อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรอันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย ในสัตว์ทั้งหลายนั้น.
[๘๐๕] คำว่า ที่สิ้นสุด ในคำว่า ที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น ความว่า ชรายังความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงให้สิ้นสุดไป พยาธิยังความเป็นผู้ไม่มีโรค ทั้งปวงให้สิ้นสุดไป มรณะยังชีวิตทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ความเสื่อมลาภยัง ลาภทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ความนินทายังความสรรเสริญทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ทุกข์ยังสุขทั้งปวงให้สิ้นสุดไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่สิ้นสุด. คำว่า ที่ สกัดกั้น ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความเป็นหนุ่มสาว ถูกชรา สกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความไม่มีโรค ถูกพยาธิสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาชีวิต ถูกมรณะสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนา ลาภ ถูกความเสื่อมลาภสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนายศ ถูกความ เสื่อมยศสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความสรรเสริญ ถูกความ นินทาสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความสุข ถูกความทุกข์สกัดกั้น ไว้ คือปิดไว้ มากระทบ มากระทบเฉพาะ ทำลาย ทำลายเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่สิ้นสุดที่สกัดกั้น.
[๘๐๖] คำว่า เพราะได้เห็น ในคำว่า เพราะได้เห็น ... เราจึง ได้มีความไม่ยินดี ความว่า เพราะเห็น ประสบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะได้เห็น. คำว่า เราจึงได้มีความไม่ยินดี ความว่า ความไม่ยินดี ความไม่ยินดี ยิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความระอา ความเบื่อ ได้มีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะได้เห็น ... เราจึงได้มีความไม่ยินดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 457
[๘๐๗] ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร ... ใน สัตว์ทั้งหลาย นั้น เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ว่า อถ นี้ เป็นไปตาม ลำดับบท. คำว่า ใน นั้น เพ่งความว่า ในสัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่า ลูกศร ได้แก่ ลูกศร ๗ ประการ คือลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือ โมหะ. ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความโศก ลูกศรคือ ความสงสัย. คำว่า เราได้เห็นแล้ว ความว่า ได้ประสบ ได้พบ ได้เห็น แทงตลอดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร ... ในสัตว์ ทั้งหลายนั้น.
[๘๐๘] คำว่า อันเห็นได้ยาก ในคำว่า อันเห็นได้ยาก อาศัย หทัย ความว่า เห็นได้ยาก ดูได้ยาก พบได้ยาก รู้ได้ยาก ตามรู้ได้ยาก แทงตลอดได้ยาก จิตได้แก่จิต ใจ มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินเทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสม กัน. เรียกว่าหทัย ในคำว่า อันอาศัยหทัย. คำว่า อันอาศัยหทัย คืออันอาศัยหทัย อาศัยจิต ร่วมอาศัยจิต ไปร่วม เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุตด้วยจิต เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์ เดียวกันกับจิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เพราะได้เห็นที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความ ไม่ยินดี อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรอันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย ในสัตว์ทั้งหลายนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 458
[๘๐๙] สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศ ทั้งปวง เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม.
ว่าด้วยลูกศร ๗ ประการ
[๘๑๐] ชื่อว่า ลูกศร ในคำว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้วย่อม แล่นพล่านไปสู่ทิศทั้งปวง ได้แก่ ลูกศร ๗ ประการ คือลูกศรราคะ ลูกศรโทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะ ลูกศรทิฏฐิ ลูกศรความโศก ลูกศรความสงสัย.
ลูกศรราคะเป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความยินดี ความชอบใจ ความเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน ความที่ จิตกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล นี้ชื่อว่า ลูกศรราคะ.
ลูกศรโทสะเป็นไฉน ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นได้ประพฤติ ความพินาศแก่เราแล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นย่อมประพฤติ ความพินาศแก่เรา ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นจักประพฤติความ พินาศแก่เรา ฯลฯ ความเป็นคนดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่ แช่มชื่นแห่งจิต นี้ชื่อว่า ลูกศรโทสะ.
ลูกศรโมหะเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ความไม่รู้ใน ปฏิปทาอันให้ถึงความดับทุกข์ ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้น ความไม่รู้ส่วน เบื้องปลาย ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ใน ธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็น ปัจจัย ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 459
ชอบ ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเหตุด้วยดี ความไม่หยั่งรู้เหตุ ความไม่เพ่งพินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความไม่ ผ่องแผ้ว ความเป็นคนโง่ ความหลง ความหลงทั่ว ความหลงพร้อม อวิชชา อวิชชาโอฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาลังคี (ลิ่มคืออวิชชา) โมหะ อกุศลมูล นี้ชื่อว่า ลูกศรโมหะ.
ลูกศรมานะเป็นไฉน ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ความถือตัวว่า เราเสมอเขา ความถือตัวว่า เราเลวกว่าเขา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทะนงตัว ความยกตัว ความที่จิตใฝ่สูง ดุจธง นี้ชื่อว่า ลูกศรมานะ.
ลูกศรทิฏฐิเป็นไฉน สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยวคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบ คือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือทางผิด คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือแน่นอนว่าจริงในสิ่งที่ไม่จริง อันใดเห็นปานนี้ และทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่า ลูกศรทิฏฐิ.
ลูกศรความโศกเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่โศก ความเป็นผู้โศก ความโศกในภายใน ความตรอมเตรียมในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน ความแห้งผากในภายใน ความตรอมเตรียมแห่งจิต ความโทมนัสแห่ง บุคคลที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูก ความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 460
ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง นี้ชื่อว่า ลูกศรความโศก.
ลูกศรความสงสัยเป็นไฉน ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยใน ทุกขสมุทัย ความสงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความสงสัยในส่วนเบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความ สงสัยในส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในธรรมทั้งหลายที่ อาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็นปัจจัย ความ สงสัย กิริยาที่สงสัย ความเป็นผู้สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล ความเป็นสองทาง ความไม่แน่ใจ ความไม่แน่นอน ความไม่ตกลงใจ ความไม่อาจตัดสิน ความไม่กำหนดถือเอาได้ ความที่จิตหวั่นไหวอยู่ ความติดขัดในใจ นี้ชื่อว่า ลูกศรความสงสัย.
ว่าด้วยภาวะของสัตว์ที่ถูกลูกศร
[๘๑๑] คำว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไป สู่ทิศทั้งปวง ความว่า สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติดเสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อม ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลัง เดียวบ้าง ดักแย่งชิงที่ทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาบุรุษอื่นบ้าง พูดเท็จ บ้าง สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือแทงเข้าไปถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 461
อนึ่ง สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ ย่อมแล่นไปสู่มหาสมุทร ด้วยเรือ ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูกสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์ เสือกคลานเบียดเบียน ถูกความหิวระหายเบียดเบียน ไปคุมพรัฐ ไปตักโกลรัฐ ไปตักกสิลรัฐ ไปกาลมุขรัฐ ไปมรณปารรัฐ ไปเวสุงครัฐ ไปเวราปถรัฐ ไปชวรัฐ ไปตัมพลิงครัฐ ไปวังกรัฐ ไปเอฬวันธนรัฐ ไปสุวรรณกูฏรัฐ ไปสุวรรณภูมิรัฐ ไปตัมพปัณณิรัฐ ไปสุปปารรัฐ ไปภรุกรัฐ ไป สุรัทธรัฐ ไปอังคเณกรัฐ ไปคังคณรัฐ ไปปรมคังคณรัฐ ไปโยนรัฐ ไป ปินกรัฐ ไปอัลลสัณฑรัฐ ไปมรุกันตารรัฐ เดินทางที่ต้องไปด้วยเข่า เดิน ทางที่ต้องไปด้วยแกะ เดินทางที่ต้องไปด้วยแพะ เดินทางที่ต้องโหนไป ด้วยเชือกและหลัก เดินทางที่ต้องโดดลงด้วยร่มหนังแล้วจึงเดินไปได้ เดิน ทางที่ต้องไปด้วยพะองไม้ไผ่ เดินทางตามทางนก เดินทางตามทางหนู เดินทางตามซอกภูเขา เดินทางตามลำธารที่ต้องได้ไปตามเส้นหวาย เมื่อ แสวงหาไม่ได้ ก็เสวยทุกข์โทมนัสแม้มีความไม่ได้เป็นมูล เมื่อแสวงหาได้ ครั้นได้แล้วก็เสวยทุกข์โทมนัสแม้มีความรักษาเป็นมูล ด้วยวิตกอยู่ว่า ด้วย อุบายอะไรหนอ พระราชาจึงจะไม่ริบทรัพย์ของเราไป พวกโจรจะไม่ ลักไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัดไป พวกทายาทที่ไม่เป็นที่รักไม่เอาไป เมื่อเขารักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ ทรัพย์เหล่านั้นย่อมวิบัติไป เขาก็เสวยทุกข์ โทมนัสแม้มีการพลัดพรากทรัพย์เป็นมูล สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่น พล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้ สัตว์อันลูกศรโทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะ ปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 462
อยู่แล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อม ประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักแย่งชิงที่ทาง เปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาบุรุษอื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง สัตว์อันลูกศรมานะปัก ติดแล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้.
สัตว์อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบ แน่น คาอยู่แล้ว ย่อมเป็นคนเปลือยกาย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญ ให้มาริบภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่รับภิกษาที่เขาเชื้อเชิญ ไม่รับภิกษา ปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณี ประตูนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาที่ บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของตน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่ รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็น กลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขา รับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษา ที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่ เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วย ภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหาร ที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 463
ความขวนขวายในการบริโภคอาหารที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง สัตว์ อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปอย่างนี้ อนึ่ง สัตว์อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูก เดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภิกษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มี โคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้า เปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้า คากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วย ผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยชนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ ยืน คือ ห้ามอาสนะ (การนั่ง) บ้าง เป็นผู้กระหย่ง คือ ประกอบความ เพียรในการกระหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบน หนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนิน ดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็น ผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือ ประกอบการขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือ ขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบ ความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการให้ กายเดือดร้อน เร่าร้อนหลายอย่างเช่นนี้ สัตว์อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 464
คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่น พล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้.
สัตว์อันลูกศรความโศกปักติดแล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้วในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ หญิงคนหนึ่งมารดาตายไป หญิงนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านเพราะมารดาตาย จากถนนนี้เข้าไปยังถนน โน้น จากตรอกนี้เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็น มารดาฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายเห็นมารดาฉันบ้างไหม ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้วในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ หญิงคนหนึ่งบิดาตายไป พี่ชายน้องชายตายไป ... พี่หญิงน้องหญิงตายไป ... บุตรตายไป ... ธิดา ตายไป ... สามีตายไป หญิงนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านเพราะสามีตาย จาก ถนนนี้เข้าไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็นสามีฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายเห็นสามีฉันบ้างไหม ดู ก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้วในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ บุรุษ คนหนึ่งมารดาตายไป บุรุษนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านเพราะมารดาตาย จากถนนนี้เข้าไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้ เข้าไปยังตรอกโน้น พูด อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็นมารดาฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายเห็นมารดาฉัน บ้างไหม ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้วในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ บุรุษคนหนึ่งบิดาตายไป ... พี่ชายน้องชายตายไป ... พี่หญิงน้องหญิงตาย ไป ... บุตรตายไป ... ธิดาตายไป ... ภรรยาตายไป บุรุษนั้นเป็นบ้า จิตฟุ้งซ่านเพราะภรรยาตาย จากถนนนี้เข้าไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 465
เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็นภรรยาฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายเห็นภรรยาฉันบ้างไหม ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ หญิงคนหนึ่งไปสู่สกุลแห่งญาติ พวกญาติ ของหญิงนั้น ปรารถนาจะพรากสามีเสีย แล้วยกหญิงนั้นให้แก่บุรุษอื่น หญิงนั้นไม่พอใจบุรุษอื่นนั้น ครั้งนั้นแหละ หญิงนั้นได้บอกกะสามีว่า ข้าแต่ท่านลูกเจ้า ญาติเหล่านี้ประสงค์จะพรากท่านแล้วยกฉันให้บุรุษอื่น เราทั้งสองจักพากันตาย ในทันใดนั้น บุรุษก็ฟันหญิงนั้นขาด ๒ ท่อน แล้วก็ฆ่าตนเองพร้อมด้วยหวังว่า เราทั้งสองจักมี (พบกัน) ในโลกหน้า สัตว์อันลูกศรความโศกปักติดแล้วคือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปอย่างนี้.
สัตว์อันลูกศรความสงสัยปักติดแล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว เป็นผู้แล่นไปสู่ความสงสัยเคลือบแคลงเป็นสองทาง ว่า ในอดีตกาล เราได้เป็นแล้วหรือหนอ๑ หรือเราไม่ได้เป็นแล้ว เรา ได้เป็นอะไรแล้วหรือหนอ เราได้เป็นแล้วอย่างไรหนอ เราได้เป็นอะไร มาแล้วจึงเป็นอะไรต่อมาหนอ ในอนาคตกาล เราจักเป็นหรือหนอ หรือ เราจักไม่เป็น เราจักเป็นอะไรหนอ เราจักเป็นอย่างไรหนอ เราจักเป็น อะไรแล้ว จึงจักเป็นอะไรต่อไปอีกหนอ ในปัจจุบันกาลบัดนี้ ก็มีความ สงสัยอยู่ ณ ภายในว่า เราย่อมเป็นหรือหนอ หรือเราย่อมไม่เป็น เรา ย่อมเป็นอะไรหรือหนอ เราย่อมเป็นอย่างไรหนอ เราเป็นสัตว์มาแต่ไหน หนอ เราจักเป็นสัตว์ไปเกิดที่ไหนหนอ สัตว์อันลูกศรความสงสัยปักติด
๑. ความสงสัย ๑๖ อย่าง คือ อดีตกาล ๕ อนาคตกาล ๕ ปัจจุบันกาล ๖ เรียกว่าโสฬสกังขา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 466
แล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปอย่างนี้ สัตว์นั้นย่อมปรุงแต่งให้ลูกศร เหล่านั้นเกิด ก็แล่นไปสู่ทิศตะวันออก แล่นไปสู่ทิศตะวันตก แล่นไปสู่ ทิศเหนือ แล่นไปสู่ทิศใต้ ด้วยสามารถแห่งการปรุงแต่งให้ลูกศรเกิด สัตว์ เป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรเหล่านั้นไม่ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขาร คือลูกศรไม่ได้ จึงแล่นไปในคติ แล่นไปในนรก แล่นไปในดิรัจฉานกำเนิด แล่นไปในเปรตวิสัย แล่นไปในมนุษยโลก แล่นไปในเทวโลก ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปจากคตินี้สู่คติโน้น จาก อุปบัตินี้สู่อุปบัติโน้น จากปฏิสนธินี้สู่ปฏิสนธิโน้น จากภพนี้สู่ภพโน้น จากสงสารนี้สู่สงสารโน้น จากวัฏฏะนี้สู่วัฏฏะโน้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไป สู่ทิศทั้งปวง.
[๘๑๒] คำว่า เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม ความว่า สัตว์ถอน ถอด ชัก ดึง ฉุด กระชากออก ละเว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งลูกศรราคะ ลูกศร โทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะ ลูกศรทิฏฐิ ลูกศรความโศก ลูกศร ความสงสัยนั้นได้แล้ว ย่อมไม่แล่นไปสู่ทิศตะวันออก ไม่แล่นไปสู่ทิศ ตะวันตก ไม่แล่นไปสู่ทิศเหนือ ไม่แล่นไปสู่ทิศใต้ สัตว์เป็นผู้ละ อภิสังขารคือถูกศรเหล่านั้นได้แล้วเพราะเป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรได้แล้ว จึงไม่แล่นไปในคติ ไม่แล่นไปในนรก ไม่แล่นไปในดิรัจฉานกำเนิด ไม่แล่นไปในเปรตวิสัย ไม่แล่นไปในมนุษยโลก ไม่แล่นไปในเทวโลก ไม่แล่นไป แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไป จากคตินี้สู่คติโน้น จาก อุปบัตินี้สู่อุปบัติโน้น จากปฏิสนธินี้สู่ปฏิสนธิโน้น จากภพนี้สู่ภพโน้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 467
จากสงสารนี้สู่สงสารโน้น จากวัฏฏะนี้สู่วัฏฏะโน้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป. คำว่า ย่อมไม่ล่มจม ความว่า ไม่ล่มจม ไม่จมพร้อม ไม่ล่มลง ไม่จมสง ไม่ตกลงไป ในกามโอฆะ ในภวโอฆะ ในทิฏฐิโอฆะ ในอวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศ ทั้งปวง เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม.
[๘๑๓] ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงการศึกษา ในเพราะกามคุณ เป็นที่พัวพันในโลก บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการ ศึกษาหรือในกามคุณเหล่านั้น รู้ชัดกามทั้งหลายโดย ประการทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาความดับของตน.
ว่าด้วยศึกษาเพื่อได้กามคุณ
[๘๑๔] ชื่อว่า การศึกษา ในคำว่า ชนทั้งหลายกล่าวถึงการ ศึกษา ในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก ได้แก่ การศึกษาเรื่องช้าง การศึกษาเรื่องม้า การศึกษาเรื่องรถ การศึกษาเรื่องธนู ความเป็นหมอ เสกเป่า ความเป็นหมอทางผ่าตัด ความเป็นหมอทางยา ความเป็นหมอทาง ภูตผี ความเป็นหมอทางกุมาร. คำว่า ย่อมกล่าวถึง ความว่า กล่าวถึง พูดถึง เล่าถึง แสดงถึง แถลงถึง อีกอย่างหนึ่ง ย่อมกล่าวถึง คือย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 468
เรียน เล่าเรียน ทรงจำ เข้าไปทรงจำ เข้าไปกำหนด เพื่อได้เฉพาะซึ่ง กามคุณเป็นที่พัวพัน. เบญจกามคุณ คือ๑รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา พอใจ ชอบใจ รักใคร่ อันประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เรียกว่ากามคุณเป็นที่พัวพัน. เหตุไร เบญจกามคุณ จึงเรียกว่ากามคุณ เป็นที่พัวพัน. เทวดาและมนุษย์ ย่อมปรารถนา ยินดี รักใคร่ ชอบใจ กามคุณโดยมาก เหตุนั้น เบญจกามคุณ จึงเรียกว่ากามคุณเป็นที่พัวพัน. คำว่า ในโลก คือในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก.
[๘๑๕] บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา หรือในกามคุณเหล่านั้น ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา หรือใน เบญจกามคุณเหล่านั้น คือพึงเป็นผู้ไม่น้อม ไม่โน้ม ไม่โอนเอน ไม่ น้อมใจไปในการศึกษาหรือในเบญจกามคุณเหล่านั้น ไม่พึงเป็นผู้มีการ ศึกษาหรือเบญจกามคุณเหล่านั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล พึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษาหรือในเบญจกามคุณเหล่านั้น.
[๘๑๖] คำว่า รู้ชัด ในคำว่า รู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการ ทั้งปวง ความว่า แทงตลอดแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขาร ทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า โดยประการทั้งปวง คือทั้งปวง โดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า โดยประการทั้งปวง เป็นเครื่องกล่าวรวมหมดโดย อุทานว่า กาม กามมี ๒ อย่าง คือวัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่า
๑. บาลีคงตกหายไป จึงมีแต่รูป น่าจะมีเสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 469
วัตถุกาม ฯลฯ นี้เรียกว่ากิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ชัดกาม ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง.
[๘๑๗] ชื่อว่า ศึกษา ในคำว่า พึงศึกษาความดับของตน ได้แก่ สิกขา ๓ อย่าง คืออธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา. คำว่า ความดับของตน ความว่า พึงศึกษา แม้อธิศีล ศึกษาแม้อธิจิต ศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความเข้าไปสงบวิเศษ เพื่อความดับ เพื่อความ สละคืน เพื่อความระงับ ซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร ทั้งปวงของตน เมื่อนึกถึงสิกขา ๓ เหล่านี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงศึกษาความดับของตน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ชนทั้งหลายกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณ เป็น ที่พัวพันในโลก บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา หรือในกามคุณเหล่านั้น รู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการ ทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาความดับของตน.
[๘๑๘] บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา ปราศ- จากตำส่อเสียด มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความ โลภอันลามก และความหวงแหน.
[๘๑๙] คำว่า พึงเป็นผู้มีสัจจะ ในคำว่า บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ความว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยสัจวาจา ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 470
สัมมาทิฏฐิประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็น ผู้มีสัจจะ. คำว่า ไม่คะนอง ความว่า ความคะนองมี ๓ อย่าง คือความ คะนองทางกาย ๑ ความคะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางจิต ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความคะนองทางจิต ความคะนอง ๓ อย่างนี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น เรียกว่าผู้ไม่คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงเป็นผู้มี สัจจะ ไม่คะนอง.
ว่าด้วยความเป็นผู้มีมายา
[๘๒๐] ความประพฤติลวงเรียกว่า มายา ในคำว่า ไม่มีมายา ปราศจากคำส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วย กาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมตั้งความปรารถนา ลามกเพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา (ว่าเราประพฤติชั่ว) ย่อมดำริว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา คิดว่า ใครๆ อย่า รู้จักเรา ดังนี้ แล้วก็กล่าววาจา (ว่าตนไม่มีความประพฤติชั่ว) คิดว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้วก็บากบั่นด้วยกาย (เพื่อจะปกปิดความประพฤติชั่วของตน).
ความลวง ความเป็นผู้ลวง กิริยาเป็นเครื่องปกปิด กิริยาที่ซ่อน ความจริง กิริยาบังความผิด กิริยาที่ซ่อนความผิด กิริยาที่พรางความชั่ว กิริยาที่ซ่อนความชั่ว ความทำให้ลับ ความไม่เปิดเผย กิริยาที่คลุมความผิด กิริยาที่ชั่ว นี้เรียกว่ามายา. มายานี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 471
เรียกว่า ผู้ไม่มีมายา. ชื่อว่า คำส่อเสียด ในคำว่า ปราศจากคำส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ฯลฯ บุคคล มุ่งให้เขาแตกกันย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้ คำส่อเสียดนี้ อันบุคคล ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น เรียกว่าผู้ปราศจากคำส่อเสียด คือมีคำ ส่อเสียดปราศจากไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีมายา ปราศจาก คำส่อเสียด.
[๘๒๑] ข้อว่า มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภ อันลามกและความหวงแหน ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่ มีความโกรธ ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน ความโกรธย่อมเกิดด้วย เหตุ ๑๐ อย่าง ฯลฯ ความโกรธนั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้น เรียกว่าผู้ไม่มีความโกรธ เพราะมุนีนั้นละความโกรธ กำหนดรู้วัตถุแห่ง ความโกรธ ตัดเสียซึ่งเหตุแห่งความโกรธแล้ว จึงชื่อว่าผู้ไม่มีความโกรธ ชื่อว่าความโลภ คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความตระหนี่ ๕ อย่าง เรียกว่าความหวงแหน ได้แก่ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความถือเอาไว้ เรียกว่าความตระหนี่. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. คำว่า มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกและความ หวงแหน ความว่า มุนีได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งความโลภอันลามกและความหวงแหน เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 472
จึงชื่อว่า มุนีมุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกหวงแหน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา ปราศจากคำส่อเสียด มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้น ความโลภอันลามก และความหวงแหน.
[๘๒๒] นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความ ย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความ ดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อม ปรนนิพพาน.
ว่าด้วยความเกียจคร้าน
[๘๒๓] ชื่อว่า ความหลับ ในคำว่า พึงปราบความหลับ ความ เกียจคร้าน ความย่อท้อ คือความที่กายเป็นไข้ ความที่กายไม่ควรแก่การ งาน อาการที่หยุด อาการที่พัก อาการที่พักผ่อน ณ ภายใน ความง่วง ความหลับ กิริยาที่โงกง่วง กิริยาที่หลับ ความเป็นผู้หลับ. ชื่อว่าความ เกียจคร้าน คือความคร้าน กิริยาที่คร้าน ความเป็นผู้มีใจคร้าน ความ เกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ความเป็นผู้เกียจคร้าน. ชื่อว่าความย่อท้อ คือความที่จิตเป็นไข้ ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน กิริยาที่หดหู่ กิริยา ย่นย่อ ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ ความที่จิตย่อท้อ ความหดหู่ กิริยา ที่หดหู่ ความที่จิตหดหู่. คำว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจ- คร้าน ความย่อท้อ ความว่า นรชนพึงปราบปราม ครอบงำ กดขี่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 473
กำจัด ซึ่งความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ.
[๘๒๔] ความประมาท ในคำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ความกล่าวถึง ความปล่อย หรือความเพิ่มเติมซึ่งความปล่อยซึ่งจิตใน เบญจกามคุณ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือการไม่ทำ ความเอื้อเฟื้อ การไม่ทำความติดต่อ การทำความหยุดเนืองๆ ความ ประพฤติย่อหย่อน ความปลงฉันทะ ความทอดธุระ ความไม่ซ่องเสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่หมั่นประกอบ ในการเจริญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ชื่อว่าความประมาท. ความประมาท กิริยาที่ประมาท ความเป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้ เรียกว่าความประมาท. คำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ความว่า ไม่พึงร่วม ไม่พึงอยู่อาศัย ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ ถึงความไม่มีซึ่งความประมาท พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัด ออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความประมาท พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดง กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท.
[๘๒๕] ชื่อ ความดูหมิ่น ในคำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น มีอธิบายว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดย โคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่า ธงชัย ความประคองจิตไว้ ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ เรียกว่า ความดูหมิ่น. คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น ความว่า ไม่พึง ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ในความดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 474
ความไม่มีซึ่งความดูหมิ่น พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น.
ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน
[๘๒๖] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน ความว่า นรชนบางคนในโลกนี้ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไป ตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาด้วยเครื่องหอมและ ดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักษิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่าง ใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ ก็ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งคติ ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุ แห่งวัฏฏะ เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้ม โอนไปในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาติใด คือ ความสงบแห่ง สังขารทั้งปวง สละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก ตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาติ นี้สงบ ประณีต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจ น้อมไปในนิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 475
สมจริงดังพระพุทธภาษิตว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข อันก่อให้เกิดอุปธิ แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทานเพื่อ ความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไป โดย ส่วนเดียว บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญฌานเพราะ เหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ เพื่อภพต่อไป แต่บัณฑิต เหล่านั้น ย่อมเจริญฌานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อ นิพพานอันไม่มีภพต่อไปโดยสิ้นเดียว บัณฑิตเหล่านั้น มุ่งนิพพาน มีจิตเอนไปในนิพพาน น้อมจิตไปในนิพพาน ย่อมให้พาน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีนิพพานเป็น เบื้องหน้า เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเลฉะนั้น.
เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความ ย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความ ดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
[๘๒๗] นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หา ในรูป พึงกำหนดรู้มานะ และพึงประพฤติเว้นจากความ ผลุนผลัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 476
ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาดาร ๓ ฯลฯ
[๘๒๘] มุสาวาท เรียกว่า ความพูดเท็จ ในคำว่า นรชนพึง ออกจากความพูดเท็จ บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในที่ประชุม อยู่ใน ประชุมชน อยู่ในท่ามกลางญาติ อยู่ในท่ามกลางข้าราชการ หรืออยู่ใน ราชสกุล เขาถูกนำไปถามเป็นพยานว่า บุรุษผู้เจริญ มาเถิด ท่านรู้สิ่งใด ก็จงบอกสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้บ้าง เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้บ้าง เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าเห็นบ้าง เมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็นบ้าง เป็นผู้กล่าว คำเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิส เล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ นี้เรียกว่า ความพูดเท็จ.
อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อาการ อาการ ๕ อาการ ๖ อาการ ๗ อาการ ๘ ฯลฯ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ นี้. คำว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ความว่า ไม่พึงดำเนิน ไม่พึง ประกอบ ไม่พึงนำเข้าไปด้วยความพูดเท็จ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความพูดเท็จ พึงเป็นผู้งด เว้น เว้น เฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความพูดเท็จ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจาก แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ.
[๘๒๙] ชื่อว่ารูป ในคำว่า ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป คือ มหาภูตรูป และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔. คำว่า ไม่พึงทำความเสน่หา ในรูป ความว่า ไม่ควรทำความเสน่หา ไม่ควรทำความพอใจ ไม่ควรทำ ความรัก ไม่ควรทำความกำหนัดในรูป คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ไม่พึงทำความ เสน่หาในรูป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 477
ว่าด้วยมานะลักษณะต่างๆ
[๘๓๐] ชื่อว่ามานะ ในคำว่า พึงกำหนดรู้มานะ คือ มานะ อย่างหนึ่ง ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิต. มานะ ๒ อย่าง ได้แก่มานะในความ ยกตน ๑ มานะในความข่มผู้อื่น ๑. มานะ ๓ อย่าง ได้แก่มานะว่า เราดี กว่าเขา ๑ มานะว่า เราเสมอเขา ๑ มานะว่า เราเลวกว่าเขา ๑. มานะ ๔ อย่าง ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ ๑ ให้มานะเกิดเพราะยศ ๑ ให้มานะเกิดเพราะสรรเสริญ ๑ ให้มานะเกิดเพราะสุข ๑. มานะ ๕ อย่าง ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ. ให้มานะเกิดว่า เรา ได้เสียงที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิด ว่า เราได้รสที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑. มานะ ๖ อย่าง ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งหู ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึง พร้อมแห่งจมูก ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑ ให้มานะ เกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งกาย ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่ง ใจ ๑. มานะ ๗ อย่าง ได้แก่ความถือตัว ๑ ความดูหมิ่น ๑ ความถือตัว และความดูหมิ่น ๑ ความถือตัวต่ำ ๑ ความถือตัวสูง ๑ ความถือตัวว่า เรามั่งมี ๑ ความถือตัวผิด ๑. มานะ ๘ อย่าง ได้แก่บุคคลให้ความถือ ตัวเกิดเพราะลาภ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ให้ ความถือตัวเกิดเพราะยศ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะ ความนินทา ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะ ทุกข์ ๑. มานะ ๙ อย่าง ได้แก่มานะว่า เราดีกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 478
เราเสมอกับคนที่ดี ๑ มานะว่า เราเลวกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่า เราดีกว่า ผู้เสมอกัน ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เสมอกัน ๑ มานะว่า เราเสมอ กับผู้เลว ๑ มานะว่า เราดีกว่าผู้เลว ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑ มานะว่า เราเลวกว่าผู้เลว ๑. มานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่บุคคลบางคนใน โลกนี้ ยังมานะ ให้เกิดเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะ วัตถุอื่นๆ บ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความ กำเริบขึ้น ความฟูขึ้น มานะดังว่า ธงชัย มานะอันประคองจิตไว้ ความ ที่จิตใคร่ดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า มานะ.
คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ ความว่า พึงกำหนดรู้มานะด้วย ปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
ญาตปริญญาเป็นไฉน นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ย่อมเห็นว่า นี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิต นี้เป็นมานะ ๒ อย่าง ได้แก่มานะในการยกตน มานะในการข่มผู้อื่นฯ ลฯ. นี้เป็นมานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิดเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะวัตถุอื่นๆ บ้าง นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.
ตีรณปริญญา เป็นไฉน นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยอุบายเป็นเครื่อง สลัดทุกข์ นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญาเป็นไฉน นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งมานะ นี้ชื่อว่า ปหานปริญญา.
คำว่า ฟังกำหนดรู้มานะ คือ พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำหนดรู้มานะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 479
[๘๓๑] ความประพฤติผลุนผลัน ในคำว่า พึงประพฤติเว้นจาก ความผลุนผลัน เป็นไฉน ความประพฤติด้วยราคะแห่งคนผู้กำหนัด. ความประพฤติด้วยโทสะแห่งคนผู้ขัดเคือง ความประพฤติด้วยโมหะแห่ง คนผู้หลง ความประพฤติด้วยมานะแห่งคนที่มานะผูกพัน ความประพฤติ ด้วยทิฏฐิแห่งคนผู้ถือมั่น ความประพฤติด้วยอุทธัจจะแห่งคนผู้ถึงความ ฟุ้งซ่าน ความประพฤติด้วยวิจิกิจฉาแห่งคนผู้ถึงความไม่ตกลง ความ ประพฤติด้วยอนุสัยแห่งคนผู้ถึงโดยเรี่ยวแรง ชื่อว่าความประพฤติผลุนผลัน (แต่ละอย่าง) นี้ชื่อว่า ความประพฤติผลุนผลัน.
คำว่า พึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน ความว่า นรชนพึงเป็น ผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยความ ประพฤติผลุนผลัน พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พึงประพฤติ เที่ยวไป ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นไปรักษา บำรุง เยียวยา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หา ในรูป พึงกำหนดรู้มานะ และพึงประพฤติเว้นจากความ ผลุนผลัน.
[๘๓๒] ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขาร ใหม่ เมื่อสังขารเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงเป็น ผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 480
[๘๓๓] คำว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ล่วงแล้ว เรียกว่า สังขารเก่า บุคคลไม่ควร ยินดี ไม่ควรบ่นถึง ไม่ควรติดใจ ซึ่งสังขารทั้งหลายที่ล่วงแล้วด้วยสามารถ แห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ ถึงความไม่มี ซึ่งความชอบใจ ความบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า.
[๘๓๔] คำว่า ไม่พึงทำความชอบใจสังขารใหม่ ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นปัจจุบัน เรียกว่า สังขารใหม่ ไม่ควรทำความชอบใจ ความพอใจ ความรัก ความกำหนัด ในสังขาร ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขารใหม่.
[๘๓๕] คำว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก ความว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงลำบากใจ ไม่พึงถือมั่น ไม่พึงร่ำไร ไม่พึงทุบอก คร่ำครวญ ไม่พึงถึงความหลงใหล คือ เมื่อจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เสื่อมไป เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงลำบากใจ ไม่พึงถือมั่น ไม่พึงร่ำไร ไม่พึงทุบอกคร่ำครวญ ไม่พึง ถึงความหลงใหล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึง เศร้าโศก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 481
ว่าด้วยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง
[๘๓๖] ตัณหา เรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ในคำว่า ไม่พึง เป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เหตุไรตัณหาจึงเรียกว่ากิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง บุคคลย่อม เกี่ยวข้อง เกาะเกี่ยว ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ด้วยตัณหาใด เหตุนั้น ตัณหานั้นจึงเรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง. คำว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลส เครื่องเกี่ยวข้อง ความว่า บุคคลไม่พึงเป็นผู้อาศัยตัณหา พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องตัณหา พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขาร ใหม่ เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงเป็นผู้ อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง.
[๘๓๗] เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าว ความว่องไว (อาชวะ) ว่า เป็นความปรารถนา กล่าว อารมณ์ว่า เป็นความหวั่นไหว เปือกตมคือกามเป็นสภาพ ล่วงได้โดยยาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 482
ว่าด้วยเรียกตัณหาว่าเป็นห้วงน้ำใหญ่
[๘๓๘] ตัณหา เรียกว่า ความกำหนัด ในคำว่า เราย่อมกล่าว ความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ ได้แก่ราคะ สารคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหา เรียกว่าห้วงน้ำใหญ่ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็น ห้วงน้ำใหญ่ ความว่า เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่.
[๘๓๙] ตัณหา เรียกว่า ความว่องไว ในคำว่า กล่าวความ ว่องไวว่า เป็นความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหา เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า กล่าวความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา ความว่า เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อ ว่า กล่าวความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา.
[๘๔๐] ตัณหา เรียกว่า อารมณ์ ในคำว่า กล่าวอารมณ์ว่า เป็น ความกำหนด ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหา เรียกว่าความกำหนด ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าวอารมณ์ว่า เป็นความกำหนด.
ว่าด้วยเปรียบกามเหมือนเปือกตม
[๘๔๑] คำว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 483
ว่า เปือกตมคือกาม หล่มคือกาม กิเลสคือกาม โคลนคือกาม ความ กังวลคือกาม เป็นสภาพล่วงได้โดยยาก ก้าวล่วงได้โดยยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นยาก ล่วงเลยได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เปือก ตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสว่า
เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าว ความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา กล่าวอารมณ์ว่า เป็นความกำหนด เปือกตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดย ยาก.
[๘๔๒] ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่ บนบก ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวง ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้ สงบ.
[๘๘๓] คำว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ ความว่า ไม่ก้าว ล่วงจากสัจวาจา ไม่ก้าวล่วงจากสัมมาทิฏฐิ ไม่ก้าวล่วงจากอริยมรรคมี องค์ ๘. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ๑ ได้แก่ปัญญา ความรู้ ทั่วๆ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้น ชื่อว่ามุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ.
ว่าด้วยอมตนิพพานเรียกว่าบก
[๘๔๔] อมตนิพพาน เรียกว่า บก ในคำว่า เป็นพราหมณ์ตั้ง อยู่บนบก ได้แก่ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
๑. ดูข้อ ๖๙๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 484
ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัด. คำว่า พราหมณ์๑ ความว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการๆ ฯลฯ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า เป็นพราหมณ์ตั้ง อยู่บนบก ความว่า เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่บนบก คือตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่ พึ่ง ตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่ป้องกัน ตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่พักพิง ตั้งอยู่ใน ธรรมเป็นสรณะ ตั้งอยู่ในธรรมไม่มีภัย ตั้งอยู่ในธรรมไม่มีความเคลื่อน ตั้งอยู่ในอมตะ ตั้งอยู่ในนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์ ตั้งอยู่บนบก.
[๘๔๕] คำว่า ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวงแล้ว ความว่า อายตนะ ๑๒ คือจักษุ รูป ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่าสิ่งทั้งปวง ฉันทราคะ ในอายตนะภายในและภายนอก เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาด แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความ ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อ ว่าอันผู้นั้นสละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว ตัณหาก็ดี ทิฏฐิก็ดี มานะก็ดี เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดัง ตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น ธรรมดา ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อว่าอันผู้นั้นสละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อเนญชาภิสังขารก็ดี เป็นสภาพอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น
๑. ดูข้อ ๖๘๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 485
ต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อว่าอันผู้นั้น สละ สำรอก ปล่อย ละ ละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น สลัดสิ่งทั้งปวงเสียแล้ว.
[๘๔๖] คำว่า ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ ความว่า ผู้นั้น เราย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไป สงบวิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่ บนบก ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวงแล้ว ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ.
[๘๔๗] ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครในโลกนี้.
[๘๔๘] คำว่า มีความรู้ ในคำว่า ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู ความว่า มีความรู้ ถึงวิชชา มีญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า เป็นเวทคู ความว่า ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า เวท ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในเวทนาทั้งปวง ล่วงเวทนา ทั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเป็นเวทคู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู.
[๘๔๙] คำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า รู้แล้ว คือ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สังขาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 486
ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า ไม่อาศัย ความว่า ความอาศัย ๒ ประการ คือ ความอาศัยด้วยตัณหา ๑ ความ อาศัยด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ผู้นั้นละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความอาศัยด้วย ทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่เยื่อใย ไม่น้อมใจไป ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็น ผู้มีจิตอันทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้ว ไม่อาศัย.
[๘๕๐] คำว่า ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ความว่า ฉันทราคะใน อายตนะภายในและภายนอก เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น ต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเที่ยวไป อยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่ในโลกโดยชอบ ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อาเนญชาภิสังขารก็ดี เป็นสภาพ อันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึง ความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ ด้วยเหตุเท่านี้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเที่ยวไป อยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นอยู่ ในโลกโดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 487
ว่าด้วยตัณหาเรียกว่าความใฝ่ฝัน
[๘๕๑] คำว่า ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครๆ ในโลกนี้ ความว่า ตัณหา เรียกว่าความใฝ่ฝัน ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาอันเป็นความใฝ่ฝันนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำ ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้นย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครๆ เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ดี เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครๆ ในโลกนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครๆ ในโลก นี้.
[๘๕๒] ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้อง ที่ล่วงได้ โดยยากในโลก ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโคก ย่อมไม่เพ่งเล็ง เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว มิได้มีเครื่องผูก.
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๘๕๓] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และ เครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากในโลก ความว่า ผู้ใด คือ เช่นใด ประกอบ อย่างไร ชนิดอย่างไร มีประการอย่างไร ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรม ใด เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 488
ตาม. โดยอุทานว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม ชื่อว่าเครื่องข้อง ได้แก่เครื่องข้อง ๗ ประการ คือ เครื่องข้องคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ที่ล่วงได้ โดยยาก ความว่า ผู้ใดได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไป ล่วงแล้ว ซึ่งกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยาก ล่วงไปได้ยาก ข้ามขึ้น ได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก เป็นไปล่วงได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากใน โลก.
[๘๕๔] คำว่า ผู้นั่นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง ความว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไป หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกถึง คือ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มารดา บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิต ของเรา แปรปรวน ไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศก. คำว่า ย่อมไม่เพ่งเล็ง ความว่า ย่อมไม่เพ่งเล็ง ไม่เพ่งถึง ไม่มุ่งถึง ไม่มุ่งหมายถึง อีกอย่าง หนึ่ง ผู้นั้นย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 489
ว่าด้วยตัณหาเรียกว่ากระแส
[๘๕๕] คำว่า เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ความว่า ตัณหาเรียกว่ากระแส ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหากระแสนั้น เป็นกิเลสชาติอันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว. คำว่า ไม่มีเครื่องผูก ความว่า เครื่องผูก ๗ ประการ คือ เครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต เครื่องผูกเหล่านี้อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำ ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่าไม่มีเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว ไม่มีเครื่องผูก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้องที่ล่วงได้ โดยยากในโลก ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว ไม่มีเครื่องผูก.
[๘๕๖] กิเลสชาติที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารใน กาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไปเสีย กิเลสชาตเครื่อง กังวลที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง ท่านจักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติไป.
[๘๕๗] คำว่า กิเลสชาตที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขาร ในกาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไปเสีย ความว่า กิเลสเหล่าใดพึงเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 490
ขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารทั้งหลายเป็นส่วนอดีต ท่านจงยังกิเลสเหล่านั้น ให้เหือดไป เหือดหายไป เหือดแห้งไป คือ จงละ บรรเทา ทำให้สิ้น ไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า กิเลสชาตที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภสังขารในกาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไป เสีย อีกอย่างหนึ่ง อภิสังขาร คือกรรมเป็นส่วนอดีตเหล่าใด ที่ยังมิได้ ให้ผล ท่านจงยังอภิสังขารคือกรรมเหล่านั้นให้เหือดไป เหือดหายไป เหือดแห้งไป คือ จงทำให้สิ้นพืช ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มีในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า กิเลสชาตที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในกาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไป.
ว่าด้วยอนาคตเรียกว่าภายหลัง
[๘๕๘] คำว่า กิเลสชาตเครื่องกังวลที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภ ถึงสังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ความว่า อนาคต เรียกว่า ภายหลัง กิเลสชาตเครื่องกังวลเหล่าใด คือ กิเลสชาตเครื่องกังวลคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภสังขาร ทั้งหลายในอนาคต กิเลสชาตเครื่องกังวลเหล่านี้ อย่าได้มีแก่ท่าน คือ ท่านอย่าทำให้ปรากฏ อย่าให้เกิด อย่าให้เกิดพร้อม อย่าให้บังเกิด อย่า ให้บังเกิดเฉพาะ จงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสชาตเครื่องกังวลที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภ ถึงสังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน.
[๘๕๙] คำว่า ถ้าท่านจักรไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นปัจจุบัน เรียกว่า ท่ามกลาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 491
ท่านจักไม่ถือเอา ไม่ยึด ไม่ถือ ไม่ยึดถือ ไม่ยินดี ไม่พูดถึง ไม่ติดใจ คือ จักละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความ ยินดี ความพูดถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ซึ่งสังขารทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่ง ทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง.
[๘๖๐] คำว่า ท่านจักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติไป ความว่า ท่านจักเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นสภาพสงบ สงบเงียบ เข้าไป สงบวิเศษ ถูกเผา ดับ ปราศไป ระงับ ประพฤติ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจักเป็นผู้ เข้าไปสงบประพฤติไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
กิเลสชาติที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารใน กาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไปเสีย กิเลสชาตเครื่อง กังวลที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง ท่านจักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติไป.
[๘๖๑] ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด โดย ประการทั้งปวง และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 492
ว่าด้วยนามและรูป
[๘๖๒] คำว่า โดยประการทั้งปวง ในคำว่าความถือว่า ของเรา ในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง ความว่า ทั้งปวงโดย กำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ คำว่า ทั้งปวงนั้น เป็นเครื่องกล่าวรวบหมด. อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่านาม มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่ารูป. คำว่า แก่ผู้ใด คือ แก่พระอรหันตขีณาสพ ชื่อว่าความถือว่าของเรา ได้แก่ความถือว่าของ เรา ๒ อย่าง คือความถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วย ทิฏฐิ ฯลฯ นี้ ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยตัณหาฯ ลฯ นี้ชื่อว่าความ ถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่ แก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง ความว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อม ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง คือ อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ ผู้ใดโดยประการทั้งปวง.
ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
[๘๖๓] คำว่า และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเรา ไม่มีอยู่ ความว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน หรือเมื่อวัตถุ แปรปรวนไปแล้วก็ย่อมไม่เศร้าโศกถึง คือ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ มานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 493
ลาภ ฯลฯ ญาติสาโลหิต ของเราแปรปรวนไปแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่.
อีกอย่างหนึ่งผู้ใดเป็นผู้อันทุกขเวทนาซึ่งไม่สำราญกระทบ ครอบงำ ย่ำยี มาถึงเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม้รำพัน ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด เป็นผู้อันโรคตากระทบ ครอบงำ ฯลฯ เป็นผู้อันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานกระทบ ครอบงำ ย่ำยี มาถึงเข้าแล้ว ย่อมไม่ เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเรา ไม่มีอยู่ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปนั้นไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ผู้ใด ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความ หลงใหลว่า นามรูปของเราได้มีแล้วหนอ นามรูปย่อมไม่มีแก่เราหนอ นามรูปของเราพึงมีหนอ เราย่อมไม่ได้นามรูปนั้นหนอ แม้ด้วยเหตุอย่าง นี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่.
ว่าด้วยความเสื่อมมีแก่ผู้ยึดถือ
[๘๖๘] คำว่า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก ความว่า ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของตน เหล่าอื่น ย่อมมีแก่ผู้ใด ความเสื่อมย่อมมีแก่ผู้นั้น สมจริงตามภาษิตว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 494
ท่านเสื่อมแล้วจากรถ ม้า แก้วมณี และกุณฑล เสื่อม แล้วจากบุตรและภรรยา ทั้งจากโภคสมบัติทั้งปวง ที่ไม่ ได้เสพ เหตุไร ท่านจึงไม่เดือดร้อนในเวลาเศร้าโศก โภคสมบัติทั้งหลาย ย่อมละสัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์ย่อมละ โภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ผู้ใคร่กามมีโภคสมบัติ ทั้งหลายเหล่าเป็นผู้ไม่มีอะไรเป็นของของตน เหตุนั้น เรา จึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อม เต็มดวง ย่อมเสื่อมไป ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้วก็ลับไป โลกธรรมทั้ง ๘ เรารู้แล้ว เหตุนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกใน เวลาเศร้าโศก.
ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจ ถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของตนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความเสื่อมก็ไม่มีแก่ผู้นั้น สมจริง ตามภาษิตว่า ดูก่อนสมณะ ท่านย่อมยินดีหรือ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เรา ได้อะไรเล่าจึงจะยินดี. ดูก่อนสมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านย่อมเศร้าโศกหรือ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สิ่งอะไรๆ เล่าเสื่อมไปแล้ว เราจึงจะเศร้าโศก. ดูก่อน สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านย่อมไม่ยินดี ย่อมไม่เศร้าโศกหรือ. เป็นอย่าง นั้น ท่านผู้มีอายุ.
และสมจริงตามภาษิตว่า
เป็นเวลานานหนอ เราจึงได้เห็นภิกษุผู้เป็นพราหมณ์ ตัดรอบแล้ว ไม่มียินดี ไม่มีทุกข์ ข้ามตัณหาเครื่อง เกาะเกี่ยวในโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 495
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดย ประการทั้งปวง และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก.
[๘๖๖] ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของ คนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความถือว่า ของเรา ก็ไม่เศร้าโศกว่าสิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา.
[๘๖๖] คำว่า แก่ผู้ใด ในคำว่า ความกังวลอะไรๆ ว่าสิ่งนี้ ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า แก่ พระอรหันตขีณาสพ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจถึงสังขารอะไรๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่ เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อม ไม่มีแก่ผู้ใด.
ว่าด้วยอิทัปปัจจยตา
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 496
กายนี้ อันกรรมเก่าควบคุมแล้ว อันจิตประมวลเข้าแล้ว ท่านทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว ย่อมมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละ โดยแยบคายเป็นอย่างดีในกาย นั้นว่า เพราะเหตุนี้ๆ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็ เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ กล่าวคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะ อวิชชานั้นแลดับด้วยสามารถความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่ง นี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาเห็นโลกโดย ความเป็นของสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงเป็นผู้ ข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอาการอย่างนี้ มัจจุราชย่อมไม่เห็น บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่ ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปเสียเถิด รูปนั้นที่ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 497
ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ วิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อ ประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หญ้า ไม้กิ่งไม้และใบไม้ในวิหารเชตวันนี้ คนพึงนำไป เผาเสีย หรือว่าทำตามปัจจัย ท่านทั้งหลายพึงมีความดำริ อย่างนี้ หรือว่าคนย่อมนำไป เผาเสีย ซึ่งเราทั้งหลาย หรือทำตามปัจจัย ความดำรินั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุ ว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตนหรือของเนื่องด้วยตนแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย เถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอด กาลนาน ฉันนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ... วิญญาณไม่ใช่ของท่าน ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นที่ท่านทั้งหลาย ละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน แม้ด้วยเหตุอย่าง นี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
และสมจริงตามภาษิตว่า
ดูก่อนคามณี เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง ธรรมล้วน และความสืบต่อแห่งสังขารล้วน ตามเป็นจริง ภัยก็ไม่มี เมื่อใด บุคคลเห็นขันธโลกเสมอด้วยหญ้าและ ไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่ปรารถนาอะไรๆ อื่น นอกจากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 498
นางวชิราภิกษุณีได้กล่าวคาถานี้กะมารผู้ลามก๑ว่า
ดูก่อนมาร ทิฏฐิของท่านย่อมเชื่อสิ่งอะไรหนอว่าสัตว์ ร่างกายนี้เป็นกองแห่งสังขารล้วน บัณฑิตย่อมไม่ได้ที่จะ เรียกว่าเป็นสัตว์ในกองสังขารล้วนนี้ เสียงว่ารถย่อมมี เพราะคุมกันเข้าแห่งส่วนประกอบ ฉันใด เมื่อขันธ์ ทั้งหลายมีอยู่ ความสมมติว่าสัตว์ก็มี ฉันนั้น ก็ทุกข์ อย่างเดียวย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และย่อมแปรไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ.
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมค้นหารูปอย่างนั้นแหละ ตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ ภิกษุย่อมค้น หาเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูปตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ เมื่อค้นหาเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ แม้ความ ถือว่าเราก็ดี ว่าของเราก็ดี ว่าเราย่อมมีก็ดี ความถือแม้นั้นก็มิได้มีแก่ภิกษุ นั้นๆ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
ว่าด้วยโลกสูญ
ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
๑. ส. ส. ๑๕/ข้อ ๕๕๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 499
ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึง กล่าวว่าโลกสูญ ดูก่อนอานนท์ ก็สิ่งอะไรที่สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่อง ด้วยตน ดูก่อนอานนท์ จักษุสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูป ก็สูญ ... จักษุวิญญาณ ... จักษุสัมผัส ... สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้น ก็สูญ หู ... เสียง ... จมูก ... กลิ่น ... ลิ้น ... รส ... กาย ... โผฏฐัพพะ ... ใจ ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูก่อนอานนท์ เพราะ โลกสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า โลกสูญ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่บุคคลใด.
[๘๖๗] ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ในคำว่า ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ ความถือว่าของเรา ได้แก่ ความถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความถือว่า ของเราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. ผู้นั้นละความถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ แล้ว เมื่อไม่ได้ ไม่พบ ไม่ประสบ ไม่ได้เฉพาะ ซึ่งความถือว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือว่าของเรา.
[๘๖๘] คำว่า ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา ความว่า ผู้นั้น ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไป หรือเมื่อวัตถุนั้นแปรปรวน ไปแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกถึง และไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 500
ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุของเราแปรปรวนไปแล้ว หูของเราแปรปรวนไปแล้ว ฯลฯ สาโลหิตของเราแปรปรวนไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของ คนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือ ว่าของเรา ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา.
[๘๖๙] บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มี ความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น.
ว่าด้วยผู้ไม่ริษยา
[๘๗๐] ความริษยา ในคำว่า เป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ริษยา คือ ย่อมริษยา ชิงชัง ผูกความริษยา ในลาภ สักการะ การเคารพ การนับถือ การไหว้และ การบูชาของบุคคลอื่น ความเป็นผู้ริษยา การทำความเป็นผู้ริษยา ความ ริษยา กิริยาที่ริษยา ความเป็นผู้ริษยา ความชิงชัง กิริยาที่ชิงชัง ความ เป็นผู้ชิงชัง นี้เรียกว่าความริษยา ความริษยานั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่า เป็นผู้ไม่ริษยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่ริษยา. คำว่า ไม่ตามติดใจ ความว่า ตัณหา เรียกว่าความตามติดใจ ได้แก่ ราคะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 501
สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความติดใจนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตามติดใจ ผู้นั้นไม่ติดใจ คือไม่ถึงความติดใจ ไม่หลง ไม่หมกมุ่นในรูป ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ ทราบและธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง คือเป็นผู้ปราศจากความติดใจ หายจาก ความติดใจ สละความติดใจ สำรอกความติดใจ ปล่อยความติดใจ ละ ความติดใจ สละคืนความติดใจแล้ว ปราศจากความกำหนัด หายจาก ความกำหนัด สละความกำหนัด สำรวมความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด ละความกำหนัด สละคืนความกำหนัดแล้ว หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุขมีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ ริษยา ไม่ตามติดใจ.
ว่าด้วยผู้ไม่หวั่นไหว
[๘๗๑] คำว่า ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง ความว่า ตัณหา เรียกว่าความหวั่นไหว ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว เพราะละความหวั่นไหวเสียแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว เอนเอียง ดิ้นรน ยุ่ง วุ่นไป แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความ เสื่อมยศ แม้ในความสรรเสริญ แม้ในความนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า เป็นผู้เสมอในอายตนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 502
ทั้งปวง ความว่า อายตนะ ๑๒ คือ จักษุ รูป ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่าอายตนะทั้งปวง เมื่อใด ฉันทราคะในอายตนะภายในและภายนอก อันบุคคลละ ตัดรากเสียแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความ ไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อนั้น ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้เสมอ คงที่ วางตนเป็นกลาง เพิกเฉย ในอายตนะทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง.
[๘๗๒] คำว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอก อานิสงส์นั้น ความว่า เราถูกถาม สอบถาม ขอให้บอก อัญเชิญให้ บอก ขอให้ประสาทถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์ ๔ นี้ คือ บอก ชี้แจง ฯลฯ ประกาศว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตาม ติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มี ความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น.
[๘๗๓] อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็น ความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง.
[๘๗๔] ตัณหา เรียกว่า ความหวั่นไหว ในคำว่า แก่บุคคล ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่ ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 503
อกุศลมูล ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่า ผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลชื่อว่าไห่หวั่นไหว เพราะละความหวั่นไหวเสียแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว เอนเอียง ดิ้นรน ยุ่ง วุ่นไป แม้ในลาภ แม้ ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในความสรรเสริญ แม้ในความนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่ บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า รู้แจ้งอยู่ ความว่า รู้ รู้ทั่ว รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอดว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่.
[๘๗๕] คำว่า อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มี ความว่า ปุญญาภิ- สังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร. ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อาเนญชาภิสังขารก็ดี อันบุคคลนั้นละ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ อภิสังขารทั้งหลายก็ ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มี.
[๘๗๖] คำว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ความว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร. ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร อันบุคคลนั้นละ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภาย-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 504
หลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ บุคคลชื่อว่า เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องอภิสังขาร เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร.
[๘๗๗] คำว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ กิเลสทั้งหลาย อันก่อให้เกิดภัย เพราะ ผู้นั้นเป็นผู้ละราคะ อันก่อให้เกิดภัย ฯลฯ ละกิเลสทั้งหลายอันก่อให้เกิด ภัยเสียแล้ว ชื่อว่าย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง คือ ย่อมเห็นความ ไม่มีภัย ไม่มีเสนียด ไม่มีอุบาทว์ ไม่มีอุปสรรค ความระงับ ในที่ทุก สถาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็น ความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง.
[๘๗๘] มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวก คนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ผู้ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้).
ว่าด้วยคุณสมบัติของมุนี
[๘๗๙] คำว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกตนที่เสมอกัน ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 505
พวกคนที่ตำกว่า ในพวกตนที่สูงกว่า ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหา เพียงดังข่ายดำรงอยู่ บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี มุนีย่อมไม่พูดถึง ไม่กล่าว ไม่ บอก ไม่แสดง ไม่แถลง ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา หรือว่าเราเลว กว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอ กัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า.
[๘๘๐] คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจาก ความตระหนี่ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร ทั้งปวง เป็นสภาพสงบ สงบเงียบ เข้าไปสงบวิเศษ ถูกเผา ดับ ปราศไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ.
คำว่า ปราศจากความตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเรียกว่า ผู้ปราศจากความ ตระหนี่ หายจากความตระหนี่ กำจัดความตระหนี่ สำรอกความตระหนี่ พ้นความตระหนี่ ละความตระหนี่ สละคืนความตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่.
[๘๘๑] คำว่า ย่อมไม่ยึดถือ ในควานว่า ย่อมไม่ยึดถือ ย่อม ไม่สลัด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้ ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ยึดถือ ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยึดถือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 506
คำว่า ย่อมไม่สลัด ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มี ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ย่อมไม่สลัด. คำว่า ภควา เป็นคำเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ. บทว่า ภควา นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวก คนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้).
จบอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕
อรรถกถาอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕
พึงทราบวินิจฉัยในอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕ ดังต่อไปนี้.
พึงทราบความในคาถาที่หนึ่ง มีคำเริ่มต้นว่า อตฺตทณฺฑา ภยํ ชาตํ ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ดังนี้.
ภัยใด เป็นไปในโลกปัจจุบัน หรือเป็นไปในสัมปรายภพเกิดแล้ว ภัยนั้นทั้งหมดเกิดแต่อาชญาของตน คือเกิดแต่เหตุประพฤติชั่วของตน เมื่อเป็นอย่างนี้ พวกท่านจงดูชนที่ทุ่มเถียงกัน คือจงดูชนมีเจ้าศากยะ เป็นต้นนี้ ทุ่มเถียงกันและกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอบรมชน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 507
ผู้ทำร้ายกัน ผู้ปฏิบัติผิดต่อกันนั้นอย่างนี้แล้ว เพื่อให้ชนนั้นเกิดความ สังเวชด้วยการแสดงถึงการปฏิบัติชอบของพระองค์ จึงตรัสว่า
เราจักแสดงความสังเวชตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว. อธิบายว่า เมื่อก่อนเราเป็นพระโพธิสัตว์ ระลึกได้แล้ว.
บทว่า ตโย คือ กำหนดจำนวน. บทว่า ทณฺฑา อาชญา คือ ทุจริต. บทว่า กายทณฺโฑ อาชญาทางกาย คือ กายทุจริต. แม้ในอาชญา ทางวาจาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ติวิธํ กายทุจฺจริตํ กายทุจริต มี ๓ อย่าง อันได้แก่ความประพฤติชั่วเป็นไปทางกาย มีปาณาติบาต เป็นต้น. หรือประพฤติชั่ว เพราะเน่าด้วยกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงได้ ชื่อว่า ทุจริต ๓ อย่าง. บทว่า จตุพฺพิธํ คือ วจีทุจริต ๔ อย่างมีมุสาวาท เป็นต้น. บทว่า ติวิธํ คือ มโนทุจริต ๓ อย่าง มีอภิชฌา (โลภอยาก ได้ของเขา) เป็นต้น. บทว่า ทิฏฺธมฺมิกํ ภัยในชาตินี้ คือภัยที่ได้รับใน ชาตินี้ คือในอัตภาพนี้. บทว่า สมฺปรายิกํ คือ ภัยที่ได้รับในอัตภาพยังมา ไม่ถึง. บทว่า อาคุจารี คือ เป็นผู้ประพฤติชั่วประพฤติผิด. บทว่า ตเมนํ ราชา ปริภาสติ พระราชาทรงบริภาษคนผู้นั้น คือพระราชาทรงบริภาษ คนทำชั่ว ให้เกิดความกลัว. บทว่า ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ปฏิสํเวเทติ ให้เสวย ทุกข์โทมนัส คือเสวยทุกข์ทางกาย โทมนัสทางใจ. บทว่า เอตํ ภยํ ทุกฺขํ โทมนสฺสํ คือ ภัยทุกข์และโทมนัสนั้น. บทว่า กุโต ตสฺส คือ เกิดแต่ อะไร. บทว่า อตฺตทณฺฑโต ชาตํ เกิดแต่อาชญา คือเกิดแต่ทุจริตที่ตน กระทำ. บทว่า อนฺตมโส คือ โดยอย่างต่ำ. บทว่า สวจนียมฺปิ กโรติ น เต ลพฺภา อิโต ปกฺกมิตุํ พระราชามีพระกระแตรับสั่งว่า มันจะหนีจากสถาน เป็นที่จองจำนี้ไปไม่ได้ คือทรงบังคับว่า โจรพวกนั้นมันจะไปจากบ้าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 508
เป็นต้นนี้ ออกไปภายนอกไม่ได้. บทว่า ธนชานิปจฺจยาปิ คือ แม้ เพราะเหตุแห่งความสูญเสียทรัพย์. พระราชารับสั่งให้ลงโทษโจรนั้นหลาย อย่าง. บทว่า กสาหิปิ ตาเฬนฺติ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง. เวตฺเตหิปิ ตาเฬนฺติ คือ ให้เฆี่ยนด้วยหวายมีหนามบ้าง. บทมีอาทิว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ ด้วยไม้พลอง มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺติ ให้สุนัขกัดกินบ้าง คือให้สุนัขที่หิวเพราะไม่ได้อาหารมา ๒ - ๓ วัน กัดกิน. สุนัขเหล่านั้น เพียงครู่เดียวก็กัดกินเหลือแต่ร่างกระดูกเท่านั้น. บทว่า สูเล อุตฺตาเสนฺติ คือ ให้นอนบนหลาวบ้าง. บทว่า ราชา อิเมสํ จตุนฺนํ ทณฺฑานํ อิสฺสโร พระราชาเป็นใหญ่ในอาชญา ๔ อย่างแหล่านี้ คือ พระราชาสามารถจะลงอาชญา ๔ อย่างเหล่านี้. บทว่า สเกน กมฺเมน คือ ด้วยกรรมที่ตนทำ. ในบทว่า ตเมนํ นิรยปาลา นี้ พระเถระบางพวก กล่าวว่า พวกนายนิรยบาลไม่มีให้ทำกรรมกรณ์ ดุจรูปยนต์เท่านั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกนายนิรยบาลมีในนรก. ในอภิธรรมรับรอง ไว้โดยนัยมีอาทิว่า เออ ผู้ลงกรรมกรณ์มีอยู่. พวกนิรยบาลในนรกมีเหมือน ในมนุษยโลก ที่มีพวกลงโทษ. บทว่า ตตฺตํ อโยขิลํ หลาวเหล็กร้อน คือให้สัตว์นรกมีร่างกาย ๓ คาวุต นอนหงายบนแผ่นดินโลหะ ไฟลุก โพลงแล้วเอาหลาวเหล็กประมาณเท่าลำตาลสอดเข้าไปที่มือขวา ในมือซ้าย เป็นต้นก็เหมือนกัน. ให้สัตว์นรกนอนคว่ำบ้าง ตะแคงซ้ายบ้าง ตะแคง ขวาบ้าง เหมือนให้นอนหงายลงกรรมกรณ์นั้น. บทว่า สํเวเสตฺวา ให้ นอนลง คือให้ร่างประมาณ ๓ คาวุต นอนลงบนแผ่นดินเหล็กอันลุก โพลง. บทว่า กุธารีหิ ด้วยผึ่ง คือเอาผึ่งใหญ่ประมาณปีกข้างหนึ่งของ หลังคาเรือนถาก. เลือดไหลเหมือนน้ำไหล. เปลวไฟลุกขึ้นจากแผ่นดิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 509
โลหะจดถึงที่ถาก. เกิดมหาทุกข์. อนึ่ง เมื่อถาก ถากไปตามเส้นบรรทัด เป็น ๘ เหลี่ยมบ้าง ๖ เหลี่ยมบ้าง เหมือนถากไม้. บทว่า วาสีหิ คือ ด้วยมีด ประมาณเท่ากระด้งใหญ่. บทว่า รเถ โยเชตฺวา เทียมเข้าที่รถ คือเทียมที่รถมีไฟลุกโพลงไปทั่วกับแอก เชือก กระพอง ล้อ ทูบ ปฏัก. บทว่า มหนฺตํ คือ ภูเขาถ่านเพลิงให้ประมาณเท่าเรือนยอด. บทว่า อาโรเปนฺติ ให้ขึ้น คือเอาค้อนเหล็กมีไฟลุกโพลงโบยให้ขึ้นภูเขาถ่าน เพลิง. บทว่า สกิมฺปิ อุทฺธํ บางครั้งก็เดือดพล่านไปข้างบน คือไปข้าง บนข้างล่างและทางขวาง เหมือนข้าวสารที่ใส่ไว้ในหม้ออันเดือดพล่าน. บทว่า มหานิรเย คือ ในอเวจีมหานรก.
บทว่า จตุกฺกณฺโณ มหานรกมี ๔ มุม คือเช่นกับหีบสี่เหลี่ยม จตุรัส. บทว่า วิภตฺโต คือ จำแนกออกโดยประตู ๔ ช่อง. บทว่า ภาคโส มิโต จำแนกออกโดยส่วน คือสร้างจำแนกออกโดยส่วนแห่งประตูและ ถนน. บทว่า ปริยตฺโต คือ ล้อมรอบ. บทว่า อยสา คือ มีแผ่นเหล็ก ประมาณ ๙ โยชน์ครอบไว้ข้างบน. บทว่า สนนฺตา โยชนสตํ ผริตฺวา ติฏฺติ แผ่ไปร้อยโยชน์ตั้งอยู่โดยรอบ คือแผ่ไปตั้งอยู่ โดยที่เมื่อบุคคล ยืนแลดูอยู่ในที่ร้อยโยชน์โคตรอบ ตาทั้งสองข้างจะถลนออกเหมือนลูกกลม คู่. บทว่า กทริยา ตปนา มหานรกอันเป็นที่น่าสยดสยองเผาผลาญ คือ มหานรก ๘ ขุม กับอุสสทนรก แม้ทั้งหมดเหล่านั้น เป็นที่น่าสยดสยอง เผาผลาญสัตว์อยู่เป็นนิจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กทริยา ตปนา. มหานรก ชื่อว่า ร้ายแรง เพราะให้เกิดทุกข์ร้ายแรง ชื่อว่า มีเปลวไฟ เพราะมีเปลวไฟตั้งอยู่ตลอดกัป ชื่อว่า แสนยากที่จะเข้าใกล้ เพราะทำได้ยากเพื่อจะให้ ขัดเคือง เพื่อกระทบกระทั่ง ชื่อว่า น่าขนลุกขนพอง เพราะเพียงเห็น หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 510
เพียงได้ยินขนก็ลุกชันเสียแล้ว ชื่อว่า น่ากลัว เพราะน่าครั่นคร้าม ชื่อว่า ให้เกิดภัย เพราะให้เกิดความกลัว ชื่อว่า ให้เกิดทุกข์ เพราะไม่มีความสุข.
พึงทราบความสังเขปแห่งคาถามีอาทิว่า ปุรตฺถิมาย จ ภิตฺติยา เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านทิศตะวันออกอย่างนี้ถึงอเวจีมหานรกเป็นที่สุด, มหานรกชื่ออเวจี เพราะไม่มีคลื่น๑ในระหว่างของเปลวไฟ หรือของสัตว์ ทั้งหลาย หรือของทุกข์ของสัตว์เหล่านั้น. เพราะว่าในอเวจีนั้น กลุ่ม เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านทิศตะวันออกเป็นต้น แล้วเผาบุคคลผู้มีกรรมชั่ว พังฝาด้านทิศตะวันตกออกไป. กลุ่มเปลวไฟทะลุฝาเหล่านั้นพุ่งไปข้างหน้า ๑๐๐ โยชน์. กลุ่มเปลวไฟตั้งอยู่ข้างล่างไปกระทบข้างบน ดังอยู่ข้างบนลง กระทบข้างล่าง. ในอเวจีนี้ชื่อว่าไม่มีคลื่นของเปลวไฟเลยอย่างนี้. ที่ ๑๐๐ โยชน์ในภายในอเวจีนั้น เต็มไปด้วยสัตว์นรกไม่มีช่องว่าง เหมือนทะนาน เต็มไปด้วยแป้งทำด้วยเถาน้ำนม. สัตว์นรกสุดแดนนรก ไม่มีกำหนดด้วย อิริยาบถ ๔. สัตว์นรกไม่เบียดเบียนกัน หมกไหม้อยู่ในที่เดียวกัน. ใน นรกอเวจีนี้ชื่อว่าไม่มีคลื่นของสัตว์นรกอย่างนี้. อนึ่ง หยาดน้ำผึ้ง ๖ หยาด บนปลายลิ้น ย่อมเป็นอัพโพหาริก เพราะหยาดน้ำทองแดงหยาดที่ ๗ มีกำลังเผาไหม้หมด ฉันใด อุเบกขาอกุสลวิบาก ๖ ที่เหลือ ย่อมเป็น อัพโพหาริก เพราะมีกำลังในการเผาผลาญในนรกนั้น. ทุกข์เท่านั้นปรากฏ ไม่มีระหว่าง. ในนรกอเวจีนี้ชื่อว่าไม่มีคลื่นของทุกข์เลยอย่างนี้. ชื่อว่า นรกเพราะปราศจากความยินดี.
บทว่า ตตฺถ สตฺตา มหาลุทฺทา คือ สัตว์ที่เกิดในนรกอเวจีนั้น มี กรรมหยาบมาก. บทว่า มหากิพฺพิสการิโน คือ ทำกรรมร้ายแรงมาก. บทว่า อจฺจนฺตปาปกมฺมนฺตา คือ มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว. บทว่า
๑. คือไม่มีความขาดตอน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 511
ปจฺจนฺติ น จ มิยฺยเร คือ หมกไหม้อยู่ในระหว่างเปลวไฟ แต่ไม่ตาย. บทว่า ชาตเวทสโม กาโย คือ ร่างกายของสัตว์นรกเหล่านั้น เช่นกับ ไฟ. บทว่า เตสํ นิรยวาสีนํ คือ สัตว์ผู้อยู่ในนรกเหล่านั้น เป็นผู้มีบาปกรรม. บทว่า ปสฺส กมฺมานํ ทฬฺหตฺตํ คือ จงดูความมั่นคงของบาปกรรม. บทว่า น ภสฺมา โหนฺติ นปิ มสิ คือ เถ้าและเขม่ามิได้มีเลย. บทว่า ปุรตฺถิเมน ข้างทิศตะวันออก คือตราบใดประตูยังไม่ปิด สัตว์ นรกก็วิ่งมุ่งหน้าไปทางประตูนั้น. ผิวหนังเป็นต้นของสัตว์นรกเหล่านั้น ย่อมไหม้ที่ประตูนั้น. เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นไปถึงใกล้ประตู ประตูนั้นก็ ปิด ประตูหลังปรากฏดุจไม่ได้ปิดไว้. ในบททั้งหมดก็มีนัยนี้. บทว่า นิกฺขมิตาสา เต คือ สัตว์นรกเหล่านั้นมีความหวังเพื่อจะออก จึงชื่อว่า นิกฺขมิตาสา. บทว่า โมกฺขํ คเวสิโน คือ แสวงหาอุบายที่จะออก. บทว่า น เต ตโต นิกฺขมิตุํ ลภนฺติ กมฺมปจฺจยา คือ สัตว์เหล่านั้นออก จากนรกนั้นไม่ได้ เพราะบาปกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า เตสญฺจ ปาปกมฺมนฺตํ อวิปกฺกํ กตํ พหุํ เพราะบาปกรรมที่สัตว์เหล่านั้นทำไว้มาก ยังมิได้ให้ผลหมดสิ้น คือกรรมลามกหยาบช้าที่สัตว์เหล่านั้นทำสะสมไว้มี อยู่มากมายนานัปการ ยังไม่ให้ผล.
บทว่า สํเวคํ ความสังเวช คือความระอา. บทว่า อุพฺเพคํ ความ สะดุ้ง คือไปจากที่ยืนอยู่. บทว่า อุตฺราสํ ความหวาดเสียว คือความ ยุ่งยากใจ ไม่ตกลงใจ. บทว่า ภยํ ความกลัว คือจิตสะดุ้ง. บทว่า ปีฬนํ ความบีบคั้น คือความเสียดสี. บทว่า ฆฏฺฏนํ ความกระทบ คือ ทำการบีบคั้น. บทว่า อุปทฺทวํ ความเบียดเบียน คือจัญไร. บทว่า อุปสคฺคํ ความขัดข้อง คือการปิดกั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 512
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงประการที่พระองค์ทรง สังเวชมาแล้ว จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ผนฺทมานํ หมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทมานํ คือ ดิ้นรนด้วยตัณหาเป็นต้น. บทว่า อปฺโปทเก คือ ในน้ำน้อย. บทว่า อญฺมญฺเหิ พฺยารุทฺเธ ทิสฺวา เห็นสัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน คือเห็นสัตว์ต่างๆ ทำร้ายกับ สัตว์อื่นๆ. บทว่า มํ ภยมามิสิ คือ ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว.
บทว่า กิเลสผนฺทนาย ผนฺทมานํ ดิ้นรนเพราะกิเลส คือหวั่นไหว ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า ปโยโค ได้แก่ กายประโยค วจีประโยค และมโนประโยค. บทว่า วิรุทฺธา ทำร้ายกัน คือถึงความพิโรธกัน. บทว่า ปฏิวิรุทฺธา ทำร้ายตอบกัน คือหันหน้าทะเลาะกัน. หรือตรงเข้า ทำร้ายกัน. บทว่า อาหตา เคืองกัน คือประกันประหารกันด้วยความ โกรธ. บทว่า ปจฺจาหตา เคืองตอบกัน คือเป็นมวยปล้ำต่อสู้กัน. บทว่า อาฆาติตา ปองร้ายกัน คือกระทบกระทั่งกัน. บทว่า ปจฺจาฆฏฺฏิตา ปองร้ายตอบกัน คือกระทบกระทั่งกันอย่างแรง. บทว่า ปาณีหิปิ อุปกฺกมนฺติ คือ ตบตีกันด้วยมือบ้าง.
บทว่า สมนฺตมสาโร โลโก โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร คือโลก ทั้งหมดตั้งแต่นรกเป็นต้น. ไม่เป็นแก่นสาร คือเว้นจากแก่นสารที่เป็น ของเที่ยงเป็นต้น. บทว่า ทิสา สพฺพา สเมริตา คือ สังขารทั้งหลาย หวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง เพราะความไม่เที่ยง. บทว่า อิจฺฉํ ภวนมตฺตโน เมื่อปรารถนาความเจริญเพื่อตน คือเมื่อปรารถนาความต้านทาน เพื่อตน. บทว่า นาทฺทสาสึ อโนสิตํ คือ ไม่ได้เห็นฐานะอะไรๆ อัน ไม่ถูกครอบงำด้วยชราเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 513
บทว่า อสฺสาโร คือ ไม่เป็นแก่นสารหรือเว้นจากแก่นสาร. บทว่า นิสฺสาโร คือ เว้นจากแก่นสารด้วยประการทั้งปวง. บทว่า สาราปคโต คือ ปราศจากแก่นสาร. บทว่า นิจฺจสารสาเรน วา โดยแก่นสารที่เป็น ของเที่ยง คือแก่นสารที่นับว่าเป็นแก่นสารตลอดไป. แม้สองบทต่อไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เย ปุรตฺถิมาย ทิสาย สงฺขารา สังขาร ทั้งหลายในทิศตะวันออก คือสังขารทั้งหลายที่ร่วมกันทำขึ้นด้วยปัจจัยใน ทิศตะวันออก. บทว่า เตปิ เอริตา คือ แม้สังขารเหล่านั้นก็หวั่นไหว. บทว่า สเมริตา สะเทือน คือหวั่นไหวยิ่ง. บทว่า จลิตา สะท้าน คือ ไปสู่ความหวั่นไหว. บทว่า ฆฏฺฏิตา เอนเอียง คือถูกความเกิดความดับ บีบคั้น. บทว่า อนิจฺจตาย คือ เพราะเป็นแล้วไม่เป็น. บทว่า ชาติยา อนุคตา อันชาติติดตาม คืออันความเกิดเข้าไปติดตาม. บทว่า ชราย อนุสฏา อันชราห้อมล้อม คือถูกเบียดเบียนเพราะความแก่หง่อม. บทว่า พฺยาธินา อภิภูตา อันพยาธิครอบงำ คือถูกพยาธิอันเกิดขึ้นเพราะความ เปลี่ยนแปลงของธาตุครอบงำ. บทว่า มรเณน อพฺภาหตา คือ ถูกมรณะ กำจัด. บทว่า อตาณา ไม่มีที่ต้านทาน คือเว้นจากการรักษา. บทว่า อเลณา ไม่มีที่หลีกเร้น คือเว้นจากที่หลีกเร้น. บทว่า อสรณา คือ ไม่ มีที่พึ่ง. บทว่า อสรณีภูตา เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง คือไม่ทำกิจของที่พึ่ง เอง. บทว่า อตฺตโน ภวนํ ความเจริญเพื่อตน เป็นบทยกขึ้นเพื่อขยาย ความ. บทว่า ตาณํ ที่ป้องกัน คือที่รักษา. บทว่า เลณํ คือ ที่หลีกเร้น. บทว่า สรณํ ที่พึ่ง คือที่ยังทุกข์ให้พินาศไป. บทว่า คตึ ที่ดำเนิน คือ ที่อาศัย. บทว่า ปรายนํ ที่ก้าวหน้า คือที่ไปในเบื้องหน้า ชื่อว่า ปรายนํ. บทว่า อชฺโณสิตํ เยว อทฺทสํ ได้เห็นฐานะทั้งปวงถูกครอบงำ คือได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 514
เห็นฐานะทั้งปวงถูกชราเป็นต้นย่ำยี. บทว่า สพฺพํ โยพฺพญฺํ คือ ความ เป็นหนุ่มสาวทั้งปวง ชื่อว่า โยพฺพญฺํ. ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงของ สัตว์ผู้ยังมีจิตใจ. บทว่า ชราย โอสิตํ ถูกชราครอบงำ คือถูกชรา คือ ความแก่หง่อมครอบงำย่ำยี. ในบททั้งปวงก็เป็นอย่างนี้.
บทว่า โอสาเน เตฺวว พฺยารุทฺเธ ทิสฺวา เม อรติ อหุ เพราะได้เห็นสัตว์ทั้งหลายมีที่สิ้นสุดมีที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความไม่ยินดี คือได้เห็นสัตว์ทั้งหลายมีที่สิ้นสุด มีที่ตั้งอยู่ไม่ได้ มีที่พินาศทั้งนั้น มีที่ สกัดกั้น มีจิตถูกกำจัดด้วยความชราเป็นต้นของความเป็นหนุ่มสาว เรา จึงได้มีความไม่ยินดี. บทว่า อเถตฺถ สลฺลํ อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรอันเห็น ได้ยากในสัตว์เหล่านั้น คือลูกศรมีราคะเป็นต้น ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้. บทว่า หทยนิสฺสิตํ คือ อาศัยจิต. บทว่า โยพฺพญฺํ ชรา โวสาเปติ ชรายังความหนุ่มสาวให้สิ้นสุด คือให้สัตว์อยู่ไม่ได้ ให้พินาศไป. ในบท ทั้งปวงก็มีนัยอย่างนี้.
ลูกศรมีอานุภาพอย่างไร. พึงทราบคาถาว่า เยน สลฺเลน โอติณฺโณ สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ทิสา สพฺพา วิธาวติ สัตว์ย่อมแล่นไปสู่ทิศทั้งปวง คือ สัตว์ย่อมแล่นไปสู่ทิศที่เป็นทุจริตบ้าง ทิศมีทิศตะวันออกเป็นต้นบ้าง ทิศที่เป็นคติบ้าง. บทว่า ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีหติ เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่จมลง. คือ เพราะ ถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไปสู่ทิศเหล่านั้น และไม่จมลงใน โอฆะ ๔.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อาณํ ความไม่รู้ต่อไป. ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 515
ไม่รู้ ความไม่เห็น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้ความเห็น ชื่อว่าไม่ ตรัสรู้ เพราะเป็นผู้มุ่งหน้าแล้วต่อญาณไม่รวมลงในธรรม คือไม่ประชุม กัน. ชื่อว่าตามตรัสรู้ เพราะรู้ธรรมตามสมควร. ชื่อว่าไม่ตามตรัสรู้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อการตามตรัสรู้นั้น. ชื่อว่าไม่ตรัสรู้ชอบ เพราะไม่ ตรัสรู้ประกอบด้วยพระไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ชื่อว่า ไม่ตรัสรู้ชอบ เพราะรู้ความไม่สงบ และความไม่เหมาะสมบ้าง. ชื่อว่าไม่ แทงตลอด เพราะไม่แทงตลอดอริยสัจ ๔. ชื่อว่าไม่ถือเหตุด้วยดี เพราะไม่ ถือธรรมอย่างหนึ่งในรูปเป็นต้น โดยความเป็นสามัญ ลักษณะมีความไม่ เที่ยงเป็นต้น. ชื่อว่าไม่หยั่งรู้เหตุ เพราะไม่หยั่งลงสู่ธรรมนั้นนั่นเอง. ชื่อว่า ความไม่เพ่งพินิจ เพราะไม่เพ่งโดยสม่ำเสมอ. ชื่อว่าความไม่พิจารณา เพราะไม่พิจารณาเฉพาะสภาวะของธรรมทั้งหลาย. ชื่อว่ากรรมที่ไม่ทำให้ ประจักษ์ เพราะไม่มีกรรมแม้อย่างเดียวให้ประจักษ์แก่โมหะนั้น เพราะ ประพฤติวิปริตในกุศลกรรมและอกุศลกรรม หรือเพราะไม่มีการถือความ เป็นจริงหรือไม่มีการการทำกรรมไรๆ ให้ประจักษ์เอง. ชื่อว่าความไม่ ผ่องแผ้ว เพราะเมื่อโมหะยังไม่เกิด จิตสันดานใดพึงเป็นความผ่องแผ้ว สะอาดบริสุทธิ์ จิตสันดานอันเป็นความผ่องแผ้วนั้นถูกโมหะนี้ประทุษร้าย. ชื่อว่าความเป็นคนโง่ เพราะความเป็นพาล. ชื่อว่าความหลง เพราะลุ่มหลง ความหลงมีกำลัง ชื่อว่าความหลงทั่ว. ชื่อว่าความหลงพร้อม เพราะหลง รอบด้าน. ชื่อว่า อวิชชา เพราะไม่รู้ โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้ อวิชชาโอฆะ (ห้วงอวิชชา) อวิชชาโยคะ (ประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา) ทั้งสองนี้มีความได้กล่าวไว้แล้ว. ชื่อว่า อนุสัย เพราะนอนเนื่องด้วยความ มีกำลัง ชื่อว่า ปริยุฏฐานะ เพราะท่วมทับครอบงำจิต. ชื่อว่า ลังคิ (ลิ่มคือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 516
อวิชชา) เพราะไม่สามารถจะมุ่งหน้าไปสู่ประโยชน์เกื้อกูลได้ เพราะไม่มี การถือประโยชน์ ย่อมติดแน่นอยู่โดยแท้ อธิบายว่า กะโผลกกะแผลก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าลังคิ เพราะกำจัดได้ยาก. แม้โมหะนี้ ก็ชื่อว่าลังคิ เพราะเป็นดุจลิ่ม. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบความในบทว่า ยา เอวรูปา กงฺขา ดังนี้เป็นต้นต่อไป ชื่อว่าความสงสัย ด้วยอำนาจแห่งความเคลือบแคลง. ชื่อว่ากิริยาที่สงสัย เพราะเดินไปสู่ความสงสัย. ความสงสัยยิ่งกว่าความสงสัยในก่อน ชื่อว่า กิริยาที่สงสัย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวบทนี้ด้วยอำนาจแห่งอาการ. จิต ที่เปี่ยมไปด้วยความสงสัย ชื่อว่าความเป็นไปกับด้วยความสงสัย เพราะ เนื่องด้วยความสงสัย. ความเป็นแห่งความเป็นไปกับด้วยความสงสัย ชื่อว่า ความเป็นผู้สงสัย. ไม่มีความเห็น ชื่อว่าความเคลือบแคลง. ชื่อว่าความ ลังเล เพราะเป็นเหตุค้นหาสภาวธรรมอยู่ยากลำบาก. วิจิกิจฉานั้น มี ความสงสัยเป็นรส มีความหวั่นไหวเป็นลักษณะ มีความไม่ตัดสินใจ เป็นเครื่องปรากฏ หรือมีความยึดถือหลายๆ ส่วนเป็นเครื่องปรากฏ มีการ ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่า ความสงสัยทำ อันตรายแก่การปฏิบัติ. ชื่อว่าความเป็นสองทาง เพราะเอนเอียงไป สองส่วนด้วยความหวั่นไหว. ชื่อว่าเป็นทางสองแพร่ง เพราะเป็นดุจทาง สองแยก ด้วยห้ามการปฏิบัติ. ชื่อว่าไม่แน่ใจ เพราะอยู่โดยรอบ เพราะ ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ในอาการอย่างเดียว ด้วยความเป็นไปมีอาทิว่า นี้เที่ยงหรือไม่เที่ยงดังนี้. ข้อว่าความไม่แน่นอน เพราะไม่ตกลงใจ เพราะ ไม่สามารถจะถือเอาส่วนเดียวได้. ชื่อว่าความไม่ตกลงใจ เพราะไม่สามารถ จะตัดสินใจถอยจากอารมณ์ได้. ชื่อว่าไม่อาจตัดสินใจ เพราะไม่สามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 517
จะหยั่งลงไปโดยรอบได้. ชื่อว่าไม่กำหนดถือเอาได้ เพราะไม่สามารถจะ กำหนดเอาได้. ชื่อว่าความที่จิตหวั่นไหว เพราะไม่สามารถเพื่อเป็นไป ในอารมณ์ ด้วยความแน่ใจได้. อธิบายว่า ความที่จิตผูกพัน. จริงอยู่ ความสงสัยเกิดขึ้นแล้วย่อมทำให้จิตผูกพัน. อนึ่ง เพราะความสงสัยนั้น เมื่อเกิดยึดอารมณ์ไว้ดุจขีดเขียนใจ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มโนวิเลโข ความติดขัดในใจ.
บทว่า วิทฺโธ แทงเข้าไป คือได้ประหารด้วยลูกศร. บทว่า ผุฏฺโ ถูกต้องแล้ว คือเสียบเข้าไป. บทว่า ปเรโต เสียบติดแน่น คือกดลงไป บทว่า ธาวติ ย่อมแล่น คือวิ่งไปข้างหน้า. บทว่า วิธาวติ แล่นพล่าน คือไปโดยวิธีต่างๆ. บทว่า สนฺธาวติ วนเวียน คือแล่นไปโดยเร็ว. บทว่า สํสรติ ท่องเที่ยวไป คือเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้. บทว่า อเจลโก คนเปลือย คือเปลือยไม่มีผ้านุ่ง. บทว่า มุตฺตาจาโร คือ ไร้มารยาท. ไม่ ประพฤติเยี่ยงกุลบุตรชาวโลก ในการถ่ายอุจจาระเป็นต้น ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ยืนเคี้ยวกินอาหาร. บทว่า หตฺถาวเลขโณ เลียมือ คือเมื่อ ก้อนข้าวในมือหมดก็เลียมือ. ถ่ายอุจจาระแล้วสำคัญว่าไม้ชำระอยู่ในมือ เอามือเช็ด. ได้ยินว่า พวกอเจลกเหล่านั้นบัญญัติไม้ชำระว่าเป็นสัตว์. ชื่อว่า นเอหิภทนฺติโก เพราะเมื่อเขากล่าวว่า เชิญมารับอาหารซิท่าน ก็ไม่มา. ชื่อว่า นติฏฺภทนิติโก เพราะแม้เมื่อเขากล่าวว่า ถ้ากระนั้นเชิญหยุด ก่อนซิท่าน ก็ไม่หยุด. นัยว่า ผู้ถูกศรทิฏฐิปักติดนั้นไม่ทำแม้ทั้งสองอย่าง ด้วยคิดว่า จักเป็นอันกระทำตามถ้อยคำของเขาแล้ว.
บทว่า นาภิหฏํ คือ ไม่รับภิกษุที่เขาแบ่งไว้ก่อน. บทว่า น อุทฺทิสฺส กตํ คือไม่รับภิกษาที่เขาบอกอย่างนี้ว่า นี้ทำเฉพาะท่าน. บทว่า น นิมนฺ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 518
ตนํ คือ ไม่ยินดี ไม่รับแม้ภิกษาที่เขานิมนต์อย่างนี้ว่า นิมนต์เข้าไปยัง ตระกูล ถนน หรือบ้านโน้นเถิด. บทว่า น ภุมฺภิมุขา คือ ไม่รับภิกษา ที่เขาคดจากหม้อถวาย. บทว่า น กโฬปิมุขา หม้อข้าวหรือกระจาด ชื่อว่า กโฬปิ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าวนั้น. เพราะเหตุไร. เพราะ หม้อข้าวทั้งหลายย่อมได้การกระทบด้วยทัพพี เพราะอาศัยเรา.
บทว่า น เอฬกมนฺตรํ คือ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตู ถวาย เพราะเหตุไร. เพราะผู้นี้อาศัยเราจึงยืนคร่อมประตู. แม้ในการยืน คร่อมท่อนไม้และสากก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บุทว่า ทฺวินฺนํ คือ ไม่รับภิกษา เมื่อคนสองคนกำลังบริโภคอาหารอยู่. คนหนึ่งลุกขึ้นมาถวาย. เพราะ เหตุไร. เพราะมีอันตรายจากดำข้าว. อนึ่ง พึงทราบความในบทมีอาทิว่า น คพฺภินิยา ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ดังนี้ต่อไป ทารกในท้องของ หญิงมีครรภ์ย่อมลำบาก. เมื่อทารกกำลังดื่มจะเป็นอันตรายเพราะน้ำนมได้. ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียกับบุรุษ เพราะจะเป็นอันตรายแก่ความ อภิรมย์ของหญิงที่อยู่กับชาย. บทว่า น สงฺกิตฺตีสุ คือ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะ กันทำไว้. ได้ยินว่า ในสมัยข้าวยาก พวกสาวกของอเจลกชวนกันให้นำ ข้าวสารเป็นต้นมาหุงข้าว เพื่อประโยชน์แก่พวกอเจลก. อเจลกที่เคร่งครัด ไม่ยอมรับจากอาหารนั้น. บทว่า น ยตฺถ สา คือ ไม่รับภิกษาที่เขาไม่ ให้แก่สุนัข ในที่ที่สุนัขคิดว่า เราจักได้ก้อนข้าว ซึ่งเขาเลี้ยงดูนำมาถวาย. เพราะเหตุไร. เพราะจะเป็นอันตรายแก่ก้อนข้าวของสุนัขนั้น.
บทว่า สณฺฑสณฺฑจารินี คือ ไม่รับอาหารที่มีแมลงวันไต่ตอม. เพราะหากว่ามนุษย์ทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว คิดว่า เราจักถวายภิกษาแก่ อเจลกนี้ จึงเข้าครัว เมื่อมนุษย์เข้าไป แมลงวันที่เกาะอยู่บนปากหม้อข้าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 519
เป็นต้น จะกระโดดบินเป็นกลุ่มๆ หนีไป. จึงไม่รับภิกษาที่นำมาจากหม้อ นั้น. เพราะเหตุไร. เพราะอาศัยเราจะเกิดอันตรายแก่อาหารของแมลงวัน ทั้งหลาย. บทว่า ถุโสทกํ คือ ยาดองทำด้วยเครื่องปรุงคือข้าวทุกชนิด. ในบรรดาสิ่งเหล่านี้สุราบานเท่านั้นมีโทษ. แต่อเจลกนี้ มีความสำคัญ ในวัตถุทุกชนิดว่ามีโทษ. บทว่า เอกาคาริโก รับภิกษาที่เรือนหลังเดียว คือได้ภิกษาในเรือนหลังเดียวเท่านั้นก็กลับ. บทว่า เอกาโลปิโก คือ ยัง อัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวคำเดียวเท่านั้น. แม้ในบทว่า ทฺวาคาริโก ยิ่ง อัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวสองคำเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา คือ ในถาดน้อยใบเดียว. ถาดเล็กๆ ใบหนึ่งชื่อว่า ทตฺติ. ใส่ภิกษาเลิศลงในถาดเล็กใบนั้น. บทว่า เอกาหิกํ คือ บริโภค อาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่ง. บทว่า อฑฺฒมาสิกํ คือ บริโภคอาหาร ที่เก็บไว้กึ่งเดือนบ้าง. บทว่า ปริยายภตฺตโภชนํ คือ บริโภคอาหาร ที่เวียนมาถึงตามวาระ. บริโภคอาหารที่มาถึงตามวาระอย่างนี้ วันหนึ่ง สองวัน เจ็ดวัน กึ่งเดือน. บทว่า สากภกฺโข มีผักดองเป็นภิกษาเป็นต้น มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า อุพฺภฏฺโก เป็นผู้ยืนตรง คือยืนตรง. บทว่า อุกฺกุฏิกปฺ- ปธานมนุยุตฺโต เป็นผู้ประกอบความเพียรในการกระหย่ง คือเดินกระหย่ง กระโดดไป. บทว่า กณฺฏกาปสฺสยิโก นอนบนหนาม คือปักหนามเหล็ก หรือหนามธรรมดาลงบนแผ่นดิน แล้วปูหนังลงบนนั้น ยืนและจงกรม เป็นต้น. บทว่า เสยฺยํ คือ แม้นอนก็สำเร็จการนอนบนหนามนั้นนั่นเอง. บทว่า ผลกเสยฺยํ คือ นอนบนแผ่นไม้กระดาน. บทว่า ถณฺฑิลเสยฺยํ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 520
คือ นอนบนเนินดินมีพื้นดินสูง. บทว่า เอกปสฺสสยิโก คือ นอนตะแคง ข้างเดียวเท่านั้น.
บทว่า รโชชลฺลธโร หมักหมมด้วยธุลี คือเอาน้ำมันทาร่างกาย แล้วยืนในที่ที่หมักหมมด้วยธุลี. แต่นั้นธุลีย่อมติดในร่างกายของเขาหมักหมมธุลีนั้นไว้. บทว่า ยถาสนฺถติโก นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้ คือ พอใจอาสนะที่ได้ แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้นั้นเป็นปกติ. ในบทว่า เวกฏิโก คูถเรียกว่า วิกฏํ คือ บริโภคคูถ. บทว่า อปานโก คือ ห้าม ดื่มน้ำเย็น. ชื่อว่า สายตติยกํ คือ อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง, ประกอบ ความขวนขวายในการลงอาบน้ำด้วยตั้งใจว่า เราจักลอยบาปวันละ ๓ ครั้ง คือเช้า กลางวัน เย็น.
บทว่า เต สลฺเล อภิสงฺขโรติ สัตว์นั้นย่อมปรุงแต่งลูกศรเหล่านั้น คือยังลูกศร ๗ ลูก มีราคะเป็นต้นให้เกิด. บทว่า อภิสงฺขโรนฺโต เมื่อ ปรุงแต่ง คือเมื่อให้เกิด. บทว่า สลฺลาภิสงฺขารวเสน ด้วยสามารถ แห่งการปรุงแต่งลูกศร คือเพราะเหตุให้ลูกศรเกิด. บทว่า ปุรตฺถิมํ ทิสํ ธาวติ คือ แล่นไปสู่ทิศตะวันออก. บทว่า สลฺลาภิสงฺขารานํ อปฺปหีนตฺตา เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรไม่ได้ คือเพราะละการ ประกอบลูกศรไม่ได้. บทว่า คติยา ธาวติ คือ แล่นไปในคติ. บทว่า คติยา คตึ คือ จากคตินี้สู่คติโน้น. บทว่า น สีทติ คือ ไม่จม. บทว่า น สํสีทติ คือ ไม่จมโดยรอบ. บทว่า น โอสีทติ คือ ไม่ล่มลง. บทว่า น อวสีทติ คือ ไม่จมลง. บทว่า น อวคจฺฉติ คือ ไม่ตกลงไปเบื้องต่ำ.
เมื่อสัตว์ทั้งหลายตกลงไปด้วยลูกศรมีอานุภาพใหญ่อย่างนี้ พึงทราบ คาถามีอาทิว่า ตตฺถ สิกฺขานคียนฺติ ยานิ โลเก คธิตานิ สัตว์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 521
ย่อมกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก ดังนี้.
บทนั้นมีอธิบายดังนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมกล่าวถึง หรือย่อมเรียนการ ศึกษาไม่น้อย มีการศึกษาเรื่องช้างเป็นต้น อันเป็นนิมิตในเพราะ กามคุณที่ท่านกล่าวว่าเป็นที่พัวพัน เพราะพัวพันด้วยกามคุณ ๕ ในโลก หรือเพราะพัวพันในกาลนาน ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต ตลอดเวลาที่ขวนขวายต่อสู้อยู่กับโลก ไม่พึงน้อมไปในความกำหนัดเหล่า นั้น หรือในการศึกษาเหล่านั้น พึงรู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง ด้วยการเห็นความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นโดยแท้ พึงศึกษาความดับของ คนเท่านั้น. บทว่า ปฏิวิชฺฌิตฺวา คือ แทงตลอดด้วยญาณ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อ การดับ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สจฺโจ สิยา บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สจฺโจ คือ ประกอบด้วยวาจาสัจ ญาณสัจ มรรคสัจ. บทว่า ริตฺตเปสุโณ ปราศจากคำส่อเสียด คือละคำส่อเสียด. บทว่า เวววิจฺฉํ คือ ความตระหนี่.
บทว่า นิทฺทํ ตนฺทึ สเห ถีนํ บุคคลพึงปราบความหลับ ความ เกียจคร้าน ความท้อแท้ คือพึงครอบงำธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ คือความ ง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความเกียจคร้านทางกาย ความเกียจคร้านทาง ใจ ๑. บทว่า นิพฺพานมนโส คือ เป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
บทว่า กายสฺส อกลฺยตา ความที่กายเป็นไข้ คือความที่นามกาย อันได้แก่ขันธ์ ๓ เป็นไข้. ก็เพราะความไข้ท่านเรียกว่า อกลฺลโก เป็นโรค. แม้ในวินัยท่านก็กล่าวไว้ว่า นาหํ ภนฺเต อกลฺลโก ท่านขอรับ ผมไม่ เป็นไข้. บทว่า อกมฺมญฺตา ความที่กายไม่ควรแก่การงาน คืออาการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 522
ไม่ควรแก่การงาน กล่าวคือความที่กายเจ็บป่วยลง. ชื่อว่า โอนาโห อาการที่หยุด เพราะยังกายให้หยุด ดุจเมฆยังอากาศให้หยุดฉะนั้น. อาการที่หยุดโดยทุกๆ ส่วนชื่อว่า ปริโยนาหะ คือ อาการที่พัก. ชื่อว่า อนฺโต สโมโรโธ เพราะพักผ่อนในภายใน. ชื่อว่า มิทฺธํ เพราะง่วง. อธิบายว่า ลำบากเพราะความไม่ควรแก่การงาน. ชื่อว่า สุปฺปํ เพราะ เป็นเหตุหลับ. ชื่อว่า ปจลายิกา เพราะทำให้หนังตาหลุบลง. บทว่า สุปนา สุปิตตฺตํ กิริยาที่หลับ คือความเป็นผู้หลับ แสดงถึงอาการ. บทว่า โอลิยนา ความหดหู่ คืออาการที่หดหู่ บททีสองเพิ่มอุปสัค. บทว่า ลีนํ ความท้อแท้ คืองอไม่ผึ่งผาย. อีกสองบทนอกนี้ แสดงถึงความเป็น อาการ. บทว่า ถีนํ ความหงอยเหงา คือตั้งอยู่เป็นก้อน เพราะไม่ กระจายเหมือนก้อนเนยใส. บทว่า ถียนา แสดงถึงอาการหงอยเหงา คือ ความเป็นผู้หงอยเหงา ชื่อว่า ถียิตตฺตํ อธิบายว่า ถูกผูกมัดไว้ไม่ผึ่งผาย. บทว่า สพฺพสงฺขารธาตุยา คือ สังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง. บทว่า จิตฺตํ ปฏิวาเปตฺวา คือ ยังจิตให้กลับ. บทว่า เอตํ สนฺตํ ธรรมชาตินี้สงบ คือนิพพานนี้ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากกิเลส ชื่อว่า ประณีต เพราะไม่เดือดร้อน.
บทว่า อุปธิสุขสฺส เหตุ เพราะเหตุ แห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ คือ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทาน เพราะเหตุแห่งกามสุขอัน เป็นความเกิดที่ ชั่ว. บทว่า กามญฺจ เต อุปธิ ปริกฺขยาย แต่บัณฑิตเหล่านั้นให้ทาน เพื่อความหมดสิ้นแห่งอุปธิโดยแท้ คือบัณฑิตเหล่านั้นให้ทานเพื่อความสิ้น กามโดยแท้. บทว่า อปุนพฺภวาย เพื่อไม่เกิดอีก คือเพื่อนิพพาน. บทว่า ฌานานิ ภาเวนฺติ เจริญฌาน คือยังปฐมฌานเป็นต้นให้เจริญ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 523
ปุนพฺภวาย คือ เพื่อเกิดใหม่. บัณฑิตเหล่านั้นเป็นผู้ให้เพราะมุ่งต่อ นิพพาน.
บทว่า สาหสา ความผลุนผลัน คือเพราะเหตุความผลุนผลันมี ราคจริตเป็นต้นของผู้กำหนัด.
บทว่า ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย คือ ไม่พึงพอใจรูปเป็นต้นในอดีต. บทว่า นเว คือ ในปัจจุบัน. บทว่า หียมาเน คือ พินาศ. บทว่า อากสฺสํ น สิโต สิยา ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสที่เกี่ยวข้อง คือไม่พึงเป็น ผู้อาศัยตัณหา. จริงอยู่ ตัณหาท่านเรียกว่า อากสฺส เพราะเกี่ยวข้องกับรูป เป็นต้น. บทว่า เวมาเน แปรไป คือไม่เป็นอยู่. บทว่า วิคจฺฉมาเน หายไป คือปราศจากไป. ปาฐะสองอย่าง คือ อากาสติ อากสฺสติ แปลว่า เกี่ยวข้อง.
หากถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เป็นผู้อาศัยกิเลสที่เกี่ยวข้อง พึง ทราบพระคาถาว่า เพราะเรากล่าวความกำหนัดนี้ว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ ดังนี้.
บทนั้น มีความดังนี้ เพราะเรากล่าวตัณหาคือความเกี่ยวข้องนี้ว่า เป็นความกำหนัด เพราะกำหนัดในรูปเป็นต้น และกล่าวว่า เคธะ ความอยาก. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก. มีดังต่อไปนี้ :- เรากล่าวความ กำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ เพราะอรรถว่า ท่วมทับ กล่าวว่า เป็นความ ว่องไว อรรถว่า ไปไว กล่าวว่า เป็นความปรารถนา เพราะคอยกระซิบว่า นี้ของเรา กล่าวว่า เป็นอารมณ์ เพราะอรรถว่า ปล่อยได้ยาก และกล่าว ว่า เป็นความหวั่นไหว เพราะอรรถว่า ทำความหวั่นไหว และกล่าวความ กำหนัดนั้นว่า เป็นเปือกตมคือกาม เป็นสภาพล่วงได้โดยยาก เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 524
อรรถว่า เป็นความห่วงใยของโลก และเพราะอรรถว่า ก้าวไปได้ยาก. บทว่า อาจมํ ชื่อว่า อาจมะ เพราะมาว่องไวตั้งแต่ปฏิสนธิ. บทนี้เป็น ชื่อของตัณหาให้ปฏิสนธิในภพใหม่อันมีวัฏฏะเป็นมูล. บทว่า ชปฺปนํ นี้เป็น ชื่อของตัณหาอันเป็นความปรารถนา. บทว่า อารมฺมณมฺปิ วุจฺจติ ตณฺหา แม้อารมณ์ก็เรียกว่าตัณหา คือท่านกล่าวว่า ตัณหาเกิดขึ้นในอารมณ์มีรูป เป็นต้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะไม่สามารถปล่อยไปได้. บทว่า กามปงฺโก เปือกตมคือกาม ชื่อว่าเปือกตม เพราะอรรถว่า จมลง บทว่า กทฺทโม ความว่า หล่มคือกาม ชื่อว่าหล่ม เพราะอรรถว่า ติดอยู่. ชื่อว่ากิเลส เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. ชื่อว่า ปลิโป โคลนคือกาม เพราะอรรถว่า ให้ติดแน่นดุจยาง. ชื่อว่า ปลิเคโธ ความกังวลคือกาม เพราะอรรถว่า ปิดทรงไว้. ความกังวลคือกามมิได้อาศัยช่องอันเป็น ปริยายมีความกำหนัดเป็นต้นนี้ ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบคาถา มีอาทิว่า สจฺจา อโวกฺกมํ เป็นมุนีไม่ก้าวล่วง สัจจะดังนี้ต่อไป. บทนั้นมีความดังนี้ ชื่อว่ามุนี เพราะปฏิบัติเพื่อความ เป็นมุนี ไม่ก้าวล่วงสัจจะแม้ ๓ อย่าง ดังที่กล่าวไว้แล้วในคราวก่อน เป็นพราหมณ์ ตั้งอยู่บนบกคือนิพพาน ผู้นั้นแล เรากล่าวว่าเป็นผู้สงบ เพราะสละเสียได้ซึ่งอายตนะทั้งปวง. ในนิเทศไม่มีข้อควรกล่าว. มีอะไร ยิ่งไปกว่านั้นอีก. พึงทราบคาถามีอาทิว่า สเว วิทฺธา ผู้นั้นแลมีความรู้ ดังนี้ต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวา ธมฺนํ คือ รู้สังขตธรรมโดยนัยมีอาทิ ว่า ความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า สมฺมา โส โลเก อิริยาโน ผู้นั้นอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 525
ในโลกโดยชอบ คือผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะละกิเลสอันทำให้อยู่ โดยมิชอบ.
ก็เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ พึงทรามความว่า โย จ กาเม ผู้ใดข้ามพ้น กามทั้งหลายดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺคํ เครื่องข้อง คือผู้ใดข้ามพ้นเครื่องข้อง ๗ อย่างได้. บทว่า นาชฺเฌติ คือ ย่อมไม่ เพ่งเล็ง เพราะฉะนั้น บรรดาเธอทั้งหลาย เรากล่าวถึงผู้ปรารถนา เพื่อจะเป็นอย่างนั้น.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า ยํ ปุพฺเพ ดังนี้ต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพิเพ คือ กิเลสชาตและกรรมในอดีต ที่พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึง สังขารในอดีต. บทว่า ปจฺฉา เต มาหุ กิญฺจนํ กิเลสชาตเครื่องกังวล มีราคะเป็นต้น อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภสังขารแม้ในอดีต อย่าได้มี แก่ท่าน. บทว่า มชฺเณ เจ โน คเหสฺสติ หากท่านไม่ถือเอาสังขารใน ท่ามกลาง คือหากท่านจักไม่ถือธรรมมีรูปเป็นต้นในปัจจุบันไซร้ ท่าน จักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติอย่างนี้.
บทว่า อพีชํ โรหิ จงทำให้สิ้นพืช ความว่า จงทำให้สิ้นพืช ด้วยมรรคญาณ. บทว่า ราคกิญฺจนํ กิเลสชาตเครื่องกังวลคือราคะ ความว่า บรรเทากิเลสคือราคะ แม้ในบทว่า โทหสกิฺจนํ เป็นต้น ก็นัยนี้ เหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ได้ตรัสคาถาทั้งหลายต่อจากนี้ ด้วยทรงสรรเสริญพระอรหัตต่อไป. ในบทเหล่านั้น พึงทราบความแห่งคาถามีอาทิว่า สพฺพโส โดย ประการทั้งปวงดังนี้ต่อไป. บทว่า มมายิตํ การถือว่าของเรา คือทำความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 526
ถือว่าเป็นตนของเรา. หรือถือวัตถุว่านี้เป็นของเรา. บทว่าอสตา จ น โสจติ และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ คือไม่เศร้าโศก เพราะเหตุไม่มีความยินดี เพราะความไม่มีอยู่เป็นเหตุ. บทว่า น ชียติ คือ ไม่ถึงความเสื่อม. บทว่า อหุ วต เม คือ นามรูปของเราได้มีแล้วหนอ. บทว่า ตํ วต เม นตฺถิ นามรูปย่อมไม่มีแก่เราหนอ คือนามรูปที่ได้ มีแล้วในอดีต บัดนี้ ไม่มีแก่เรา. บทว่า สิยา วต เม นามรูปของเรา พึงมีหนอ คือเราไม่ได้นามรูปที่จักมีแก่เราหนอ บัดนี้เราจะไม่บรรลุ โดยส่วนเดียว. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า ยสฺส นตฺถิ ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ดังนี้ต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจนํ ความกังวล คือธรรมชาติมีรูป เป็นต้นอะไรๆ. บทว่า อภิสงฺขตํ คือ อันกรรมควบคุมแล้ว. บทว่า อภิสญฺเจตยิกํ คือ อันจิตประมวลเข้าแล้ว. บทว่า อวิชฺชาย เตฺวว ตัดบท เป็น อวิชฺชาย ตุ เอว. บทว่า อเสสวิราคนิโรธา เพราะดับด้วยความ สำรอกโดยไม่เหลือ คือเพราะดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค อันได้แก่ความ สำรอก.
บทว่า สุญฺโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ จงพิจารณาเห็นโลกโดยความ เป็นของสูญ คือจงดูโลกโดยความเป็นของสูญด้วยอาการสองอย่าง คือ ด้วยการกำหนดความไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ ด้วยเข้าไปพิจารณาสังขารโดย ความเป็นของเปล่า ๑. บทว่า อตฺตานุทิฏฺึ โอหจฺจ ถอนอัตตานุสทิฏฐิ (ความเห็นเป็นตัวตน) เสียแล้ว คือถอนสักกายทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเหตุ ถือตัวถือตน). บทว่า เอวํ มจฺจุตโร สิยา พึงเป็นผู้ข้ามมัจจุราชได้ ด้วยอาการอย่างนี้ คือพึงเป็นผู้ข้ามมรณะได้ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า เอวํ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 527
โลกํ อเวกฺขนฺตํ มัจจุราชย่อมไม่เห็นผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้. บทว่า มจฺจุราชา น ปสฺสติ คือ มัจจุราชไม่เหลียวแลดู. บทว่า นาญฺํ ปฏฺยเต กิญฺจิ บุคคลไม่ปรารถนาอะไรๆ อื่น คือไม่ปรารถนาไม่ต้อง การอย่างอื่นแม้มีประมาณน้อย. บทว่า อญฺตฺร อปฺปฏิสนฺธิยา คือ นอก จากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวทำเป็นบทเดียวด้วย ประการฉะนี้. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า อนิฏฺฐุรี ไม่มีริษยา ดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิฏฺฐุรี คือ ไม่มีริษยา. อาจารย์บางพวกกล่าว ว่า อนิฏฺรี บ้าง. บทว่า สพฺพธิ สโม คือ เป็นผู้เสมอในอายตนะ ทั้งปวง. อธิบายว่า เป็นผู้วางเฉย. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ใดไม่เศร้าโศกว่า นั้นไม่มีแก่เรา เราถูกถามถึง บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์ ๔ อย่างในบุคคลนั้นนี้ว่า บุคคล เป็นผู้ไม่มีริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะ ทั้งปวง.
บทว่า นิฏฺฐุริโย คือ เป็นผู้ริษยา. ความเป็นผู้ริษยา ชื่อว่า นิฏฺฐุริยํ คือ เป็นผู้ริษยา. ความเป็นผู้ริษยา ชื่อว่า นิฏฺฐุริยํ อธิบายว่า คุณแม้มีประมาณน้อยก็ย่อมไม่มี เพราะอาศัยความเป็นผู้ริษยานั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เขฬปาตนํ ถ่มน้ำลาย. บทว่า นิฏฺฐุริยกมฺนํ คือ การทำความเป็นผู้ริษยา. จริงอยู่ คฤหัสถ์อาศัย คฤหัสถ์อยู่ หรือภิกษุอาศัย ภิกษุอยู่ ครั้นโกรธด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็พูดว่าอาศัยผู้นั้นแล้ว ไม่มีคุณแม้สักน้อย จึงทำเสมือนชื่อว่าความเป็นผู้ริษยา เสมือนถ่มน้ำลาย แล้วเอาเท้าขยี้ฉะนั้น การกระทำของผู้นั้นเรียกว่า นิฏฐุริยกรรม คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 528
การทำความเป็นผู้ริษยา. บทว่า อิสฺสา แสดงความเป็นสภาวะ คือ ความริษยาสองอย่าง ต่อจากนั้นเป็นการแสดงความเป็นอาการ. สามอย่าง นอกนั้น เป็นคำกล่าวโดยปริยาย. อนึ่ง ความริษยานั้น โดยลักษณะเป็นต้น มีความหวงสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ มีความไม่ยินดีในสมบัตินั้นเป็นรส มีความเพิกเฉยต่อสมบัติของผู้อื่นนั้นเป็นเครื่องปรากฏ มีสมบัติของผู้อื่น เป็นปทัฏฐาน. บทว่า ลาเภปิ น อิญฺชติ ไม่หวั่นไหวแม้ในลาภ คือไม่ หวั่นไหวในเพราะการได้ปัจจัย. บทว่า อลาเภปิ คือ แม้ในการไม่ได้ ปัจจัยทั้งหลาย. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า อเนชสฺส ผู้ไม่หวั่นไหว ดังนี้เป็นต้น ต่อไป. ในบทเหล่านั้นบทว่า นิสงฺขิติ ได้แก่ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอภิสังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น. เพราะอภิสังขารนั้นอันบุญ กรรมต่กแต่ง หรือย่อมตกแต่ง ฉะนั้น จึงเรียกว่า นิสงฺขิติ คือ อภิสังขาร. บทว่า วิยารมฺภา ได้แก่ อภิสังขาร มีปุญญาภิสังขารเป็นต้นหลายอย่าง. บทว่า เขมํ ปสฺสติ สพฺพธิ ย่อมเห็นความปลอดโปร่ง คือความ ไม่มีภัยในที่ทั้งปวง. บทา อารมฺภา คือ การพยายามทำกรรมครั้งแรก. บทว่า วิยารมฺภา คือ พยายามหลายอย่างสูงในรูป. บทนี้เป็นชื่อของ กรรมอันยังปฏิสนธิให้เกิดใน ๓ ภพ. เพราะฉะนั้น เว้นจากวิยารัมภะ (ความพยายามยิ่งขึ้นไป) จึงเห็นอย่างนี้.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า น สเมสุ ดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบท เหล่านั้น บทว่า น สเมสุ คือ มุนี ไม่พูดถึงตนแม้ในบุคคลผู้เสมอตนด้วย มานะมีอาทิว่า เราเป็นผู้เสมอกับเขา. แม้ในคนที่ต่ำกว่า ในคนที่สูงกว่า ก็ไม่พูด. บทว่า นาเทติ น นิรสฺสติ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 529
ไม่ยึดถือ ไม่สละธรรมอะไรๆ ในรูปเป็นต้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้นๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต.
จบอรรถกถาอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕