พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40777
อ่าน  769

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 530

อัฏฐกวัคคิกะ

สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 66]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 530

สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

ว่าด้วยกระแสเสียงของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยองค์ ๘

    [๘๘๒] (ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่า) พระศาสดาผู้มีพระกระแสเสียงอันไพเราะ เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์อย่างนี้ ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใครๆ เลย.

    [๘๘๓] คำว่า แต่ก่อนนี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ความว่า ในกาลก่อนแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นด้วยจักษุนี้ ด้วยอัตภาพนี้เลย คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) ในภพดาวดึงส์อันหมู่เทวดาห้อมล้อมเสด็จลงสู่สังกัสสนคร โดยบันไดอันสำเร็จด้วยแก้วมณีในท่ามกลาง ในกาลนั้น ข้าพเจ้าเว้นการเห็นครั้งนี้ ไม่เคยเห็นในกาลก่อนเลย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย.

    [๘๘๔] บทว่า อิติ ในคำว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่าเป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ เป็นศัพท์ประชุมอักขระเป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความยำเกรง. คำว่า สารีบุตร เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายเป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นชื่อ เป็นความตั้งชื่อ เป็นความทรงชื่อเป็นเครื่องกล่าวถึง เป็นเครื่องแสดงความหมาย เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 531

แห่งพระเถระนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าว ดังนี้ว่า.

[๘๘๕] ศัพท์ว่า ในคำว่า ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใครๆ เลย เป็นปฏิเสธ. ศัพท์ว่า อุท เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ เป็นศัพท์ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็น ลำดับบท. คำว่า ต่อใครๆ คือ ต่อใครๆ ที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็น มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใครๆ เลย.

[๘๘๖] คำว่า พระศาสดาผู้มีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้ ความว่า พระศาสดามีพระกระแสเสียงอันไพเราะ คือมีพระกระแสเสียง อันเสนาะ มีพระกระแสเสียงเป็นที่ตั้งแห่งความรัก มีพระกระแสเสียง ดูดดื่มหทัย มีพระกระแสเสียงเพราะดังเสียงนกการเวก เสียงอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมเปล่งออกจากพระโอฐแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นคือ เป็นเสียงไม่ขัดข้อง ๑ เป็นเสียงผู้ฟังทราบได้ง่าย ๑ เป็นเสียง ไพเราะ ๑ เป็นเสียงน่าฟัง ๑ เป็นเสียงกลมกล่อม ๑ เป็นเสียงไม่ แปร่ง ๑ เป็นเสียงลึก ๑ เป็นเสียงก้องกังวาน ๑ เมื่อใดพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จะทรงยังบริษัทให้ทราบด้วยเสียง เมื่อนั้นเสียงของพระผู้- มีพระภาคเจ้านั้นย่อมไม่ออกไปนอกบริษัท ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มี เสียงเหมือนเสียงพรหม มีเสียงดังเสียงนกการเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก ชื่อว่า พระศาสดา บุคคลผู้นำพวก ย่อมนำพวกให้ข้ามทางกันดาร คือให้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามออก ข้ามพ้น ซึ่งทางกันดารแต่โจร ทางกันดารแต่สัตว์ร้าย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 532

ทางกันดารแต่ที่อดอยาก ทางกันดารแต่ที่ไม่มีน้ำ ให้ถึงพร้อมซึ่งภูมิภาค อันเกษม ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำออก ข้ามออก ข้ามพ้น ซึ่ง กันดารแต่ชาติ กันดารแต่พยาธิ กันดารแต่มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส กันดารแต่ราคะ กันดารแต่โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลสและทุจริต รกชัฏคือราคะ รกชัฏคือโทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ รกชัฏคือกิเลส ให้ถึงพร้อมซึ่งอมตนิพพานอันเป็นส่วนเกษม ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ผู้นำพวก.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ ผู้แนะนำ ผู้นำเนืองๆ ผู้ให้รู้ดี ผู้ให้พินิจ ผู้เพ่งดู ผู้ให้เลื่อมใส แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระ ภาคเจ้าจึงชื่อว่า ผู้นำพวก.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรง ยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ผู้ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงทราบมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทางฉลาดในมรรค ก็แหละในบัดนี้ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ดำเนินตามมรรค อยู่ เป็นผู้ประกอบศีลาทิคุณในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ผู้นำพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระศาสดา ผู้มีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้.

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าเป็นพระคณาจารย์

[๘๘๗] คำว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจุติจากชั้นดุสิต ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 533

ลงสู่พระครรภ์พระมารดา แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เสด็จจาก ภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์.

อีกอย่างหนึ่ง พวกเทวดาท่านกล่าวว่า ดุสิต เทวดาเหล่านั้นยินดี พอใจ ชอบใจ เบิกบาน เกิดปีติโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาก ดุสิตเทวโลกมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ดุสิต พระอรหันต์ เหล่านั้นยินดี พอใจ ชอบใจ มีความดำริบริบูรณ์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์.

คำว่า คณี ความว่า มีคณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็นคณี เพราะอรรถว่า เป็นพระคณาจารย์ เพราะอรรถว่า เป็นพระศาสดาของ คณะ เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงบริหารคณะ เพราะอรรถว่า พระองค์ ตรัสสอนคณะ เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงพร่ำสอนคณะ เพราะอรรถว่า พระองค์มีความองอาจเสด็จเข้าไปสู่คณะ เพราะอรรถว่า คณะย่อมตั้งใจ ฟังต่อพระองค์ เงี่ยโสตลงฟัง เข้าไปตั้งจิตเพื่อความรู้ เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงยังคณะให้ออกจากอกุศล ให้ตั้งอยู่ในกุศล เป็นคณาจารย์ ของคณะภิกษุ เป็นคณาจารย์ของคณะภิกษุณี เป็นคณาจารย์ของคณะ อุบาสก เป็นคณาจารย์ของคณะอุบาสิกา เป็นคณาจารย์ของคณะพระราชา เป็นคณาจารย์ของคณะกษัตริย์ เป็นคณาจารย์ของคณะพราหมณ์ เป็น คณาจารย์ของคณะแพศย์ เป็นคณาจารย์ของคณะศูทร เป็นคณาจารย์ของ คณะเทวดา เป็นคณาจารย์ของคณะพรหม พระศาสดาเป็นผู้มีหมู่ มีคณะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 534

เป็นพระคณาจารย์ เสด็จมา เข้าไป เข้าไปพร้อม ถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง สังกัสสนคร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็น พระคณาจารย์ เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า

(ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่า) พระศาสดาผู้มีพระกระแสเสียงอันไพเราะ เสด็จจากภพดุสิต มาสู่ความ เป็นพระคณาจารย์อย่างนี้ ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใครๆ เลย.

[๘๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัด แก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก พระองค์ทรงกำจัดมืดทั้งปวง เป็นบุคคลผู้เอก บรรลุแล้วถึงความยินดี.

[๘๘๙] คำว่า แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ความว่า แก่โลกพร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก.

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าปรากฏแก่เทวดาและมนุษย์

[๘๙๐] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏ เด่นชัด ความว่า พวกเทวดาย่อมเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแสดง ธรรมอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในภพดาวดึงส์ ฉันใด พวกมนุษย์ก็ย่อมเห็นฉันนั้น พวกมนุษย์ย่อมเห็นฉันใด พวก เทวดาก็ย่อมเห็นฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมปรากฏแก่พวกเทวดา ฉันใด ก็ย่อมปรากฏแก่พวกมนุษย์ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมปรากฏ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 535

แก่มนุษย์ฉันใด ก็ย่อมปรากฏแก่พวกเทวดาฉันนั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุย่อมปรากฏเด่นชัด อีกอย่าง หนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวกมิได้ฝึกตน ก็ปรากฏเพศแห่งบุคคล ผู้ฝึกตน มิได้สงบ ก็ปรากฏโดยเพศแห่งบุคคลผู้สงบ มิได้ระงับ ก็ปรากฏ โดยเพศแห่งบุคคลผู้ระงับ มิได้ดับ ก็ปรากฏโดยเพศแห่งบุคคลผู้ดับ

สมจริงดังภาษิตว่า๑

สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ ณ ภายใน งาม แต่ภายนอก เป็นผู้อันบริวารห้อมล้อมเที่ยวไปในโลก เหมือนหม้อน้ำทำด้วยดินหุ้มทองคำ และเหมือนเหรียญ มาสกโลหะชุบทองคำฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฝึกพระองค์แล้ว ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้ฝึกแล้ว ทรง สงบแล้ว ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้สงบแล้ว ทรงระงับแล้ว ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้ระงับแล้ว ทรงดับแล้ว ย่อมปรากฏ โดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้ดับแล้ว โดยความจริงโดย เป็นจริง โดยถ่องแท้ โดยความเป็นจริง โดยไม่วิปริต โดยสภาพ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นพระพุทธเจ้า มีพระอิริยาบถมิได้กำเริบ ทรงสมบูรณ์ด้วยปณิธิ (ความปรารถนา) แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏเด่นชัด.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระเกียรติอันบริสุทธิ์ ทรง เพียบพร้อมด้วยพระเกียรติยศและความสรรเสริญ เป็นเช่นนี้ เช่นนั้น และ


๑. สํ. ส. ๑๕/ข้อ ๓๕๘.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 536

อย่างยิ่ง ในภพนาค ภพครุฑ ภพยักษ์ ภพอสูร ภพคนธรรพ์ ภพมหาราช ภพอินทร์ ภพพรหม แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยพละ ๑๐ ย่อมปรากฏ ประจักษ์ รู้ได้ด้วย เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เดชธรรม พลธรรมคุณธรรม วิริยะ ปัญญา สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขา หิมวันต์ฉะนั้น อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏในที่นั้น เหมือนลูกศรที่ยิ่งไปในกลางคืนฉะนั้น.

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัด.

ว่าด้วยจักษุ ๕ ประการ

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุด้วยจักษุ ๕ ประการ คือมีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุ มี พระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุ มีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุ มีพระจักษุแม้ ด้วยพุทธจักษุ มีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร. สี ๕ อย่าง คือสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีดำ และสีขาว ย่อมปรากฏมีอยู่ในมังสจักษุ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขนพระเนตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งอยู่ในที่ใด ที่นั้นมีสีเขียว เขียวสนิท น่าชม น่าดู. เหมือนดอกผักตบ ต่อจากที่นั้น มีสีเหลือง เหลืองนวล สีเหมือนทองคำ น่าชมน่าดู เหมือนดอกกรรณิการ์ ขอบเบ้าพระเนตรทั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีสีแดง แดงงาม น่าชม

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 537

น่าดู. เหมือนสีปีกแมลงทับ ที่ท่ามกลางพระเนตรมีสีดำ ดำงาม ไม่หมองมัว ใสสนิท น่าชม น่าดู เหมือนสีสมอดำ (อิฐแก่ไฟ) ต่อจากที่นั้นมีสีขาว ชาวงาม เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู เหมือนสีดาวประกายพฤกษ์ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมังสจักษุนั้นเป็นปกติ เนื่องในพระวรกาย เกิด เฉพาะด้วยสุจริตกรรมในภพก่อน ทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบทั้ง กลางวันทั้งกลางคืน แม้เมื่อใด มีมืดประกอบด้วยองค์ ๔ คือพระอาทิตย์ อัสดงคต ๑ วันอุโบสถมีในกาฬปักษ์ ๑ แนวป่าทึบ ๑ ก้อนอกาลเมฆใหญ่ ตั้งขึ้น ๑ เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ในที่มืดอันประกอบด้วยองค์ ๔ แม้เห็นปานนี้ ที่หลุมก็ดี บานประตูก็ดี กำแพงก็ดี ภูเขาก็ดี กอไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี เป็นเครื่องบังการเห็นรูป ทั้งหลาย ย่อมไม่มี หากว่าบุคคลพึงเอางาเมล็ดหนึ่งทำเป็นเครื่องหมาย ใส่ลงในเกวียนบรรทุกงา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงทรงหยิบเอาเมล็ดงา นั้นแหละขึ้นได้ พระมังสจักษุเป็นปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์ อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ เหล่านั้นหนอ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย ไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบ ด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมา-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 538

ทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อคายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ และทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไป ตามกรรมด้วยประการดังนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงพระประสงค์ พึงเห็นแม้โลกธาตุหนึ่ง แม้โลกธาตุ ๒ แม้โลกธาตุ ๓ แม้โลกธาตุ ๔ แม้โลกธาตุ ๕ แม้โลกธาตุ ๒๐ แม้โลกธาตุ ๓๐ แม้โลกธาตุ ๔๐ แม้โลกธาตุ ๕๐ แม้โลกธาตุพันหนึ่งเป็นส่วนเล็ก แม้โลกธาตุสองพันเป็นส่วนกลาง แม้โลกธาตุ สามพัน แม้โลกธาตุหลายพัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระประสงค์ เท่าใด ก็พึงทรงเห็นเท่านั้น ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์ อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญารื่นเริง มี ปัญญาแล่นไป มีปัญญาคมกล้า มีปัญญาชำแรกกิเลส ทรงฉลาดในประเภท ปัญญา มีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔ ทรงทศพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษ นาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไปเป็นปกติ มีพระญาณ หาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงนำไปโดย วิเศษ นำเนืองๆ ให้รู้จักประโยชน์ ให้เพ่งพิจารณาให้เห็นประโยชน์ ให้แล่นไปด้วยปสาทะ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 539

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ให้มรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ให้เกิดขึ้นพร้อม ผู้ตรัส บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้ซึ่งมรรค ทรงทราบซึ่งมรรค ทรงฉลาด ในมรรค ก็แหละในบัดนี้ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้น เป็นผู้ดำเนินตามมรรคอยู่ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลาทิคุณในภายหลัง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรม ที่ควรเห็น มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม มีพรหมธรรม ผู้ตรัสบอก ผู้ตรัสบอกโดยประการ เป็นผู้นำออกซึ่งอรรถ ทรงประทานอมตธรรม ทรงเป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต สิ่งที่ไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรง ทราบ ไม่ทรงทำให้แจ่มแจ้ง ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ธรรมทั้งปวง รวมทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน ย่อมมาสู่คลองในมุข คือพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วโดย อาการทั้งปวง ชื่อว่าประโยชน์ที่ควรแนะนำทุกๆ อย่างอันชนควรรู้ มีอยู่ คือประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ประโยชน์มีใน ชาตินี้ ประโยชน์มีในชาติหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ ลี้ลับ ประโยชน์ที่ปกปิด ประโยชน์ที่ควรแน่ะนำ ประโยชน์ที่บัณฑิต แนะนำไปแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์อัน ผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปรอบใน ภายในพระพุทธญาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีต มี พระญาณไม่ขัดข้องในอนาคต มีพระญาณไม่ขัดข้องในปัจจุบัน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 540

ภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุดรอบ แห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีส่วนสุดรอบแห่ง พระญาณ พระญาณไม่เป็นไปรอบเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่ง บทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระญาณไป ธรรมเหล่านั้นมีความตั้งอยู่ ในส่วนสุดรอบของกันและกัน เมื่อชั้นผอบสองชั้นปิดกันสนิทพอดี ชั้น ผอบข้างล่างก็ไม่เกินผอบข้างบน ชั้นผอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผอบข้างล่าง ชั้นผอบทั้งสองนั้นมีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บท ธรรมที่ควรแนะนำก็ดี พระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรรู้แล้ว ผู้มีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำก็มี ส่วนสุดรอบแห่งพระญาณ พระญาณไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้น มีความ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน. พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบใน ธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยความนึก เนื่องด้วยความหวัง เนื่อง ด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว

พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบในสัตว์ ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต อธิมุตติ แห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 541

มีอาการทราม ผู้ควรแนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์.

โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปรอบในภายในพระพุทธญาณ ปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุดรวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และ ปลาติมิติมิงคละ ย่อมเป็นไปรอบในภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ย่อมเป็นไปรอบในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.

นกทุกชนิด โดยที่สุดรวมทั้งครุฑเวนไตยโคตร ย่อมเป็นไปรอบใน ประเทศอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอด้วยพระสารีบุตร โดยปัญญา ย่อมเป็นไปรอบในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือน กัน.

พระพุทธญาณย่อมแผ่ปกคลุมปัญญาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ พวกบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ มีปัญญา ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูยิงขนหางทรายแม่น เที่ยว ไปดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้น ปรุงแต่ง ปัญหาแล้ว เข้ามาเฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหาเหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสย้อนถาม และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงออก และทรงสลัดออก บัณฑิตเหล่านั้นเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญา ในที่นั้นโดยแท้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 542

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มี อินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ควรแนะนำ ได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลก อยู่ ในกอบัวเขียว ในกอบัวแดง หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัว แดง หรือดอกบัวขาว บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จม อยู่ในนำ อันน้ำล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่เสมอ น้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติดแม้ฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพระพุทธจักษุ ได้ทรง เห็นสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มี อินทรีย์กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดย ง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคล นี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคลนี้ เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต ทรงแนะนำบุคคล ผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในการเรียน ในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตาม กาลอันควร ในการสนทนาธรรมตามกาลอันควร ในการอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสบอกอานาปานสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต ย่อมตรัสบอกพระ-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 543

สูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่ง พระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็น ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต ย่อมตรัสบอกธรรม อันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนาซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการ เป็นอนัตตาแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า

บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระปัญญาดี มีพระจักษุโดยรอบ พระองค์มีความโศกไปปราศจากแล้ว ทรง ขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ขอจงทรงตรวจดูหมู่ชน ผู้อาเกียรณด้วยความโศก ถูกชาติและชราครอบงำฉันนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างไร. พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าไปใกล้ ไปใกล้ดี แล้วเข้าถึง เข้าถึงดีแล้ว เข้าไปถึงดีแล้ว ประกอบแล้วด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า

สิ่งอะไรๆ ในไตรโลกธาตุนี้ อันปัญญาจักษุของพระตถาคตนั้นไม่เห็นแล้ว ย่อมไม่มี อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ อันพระพุทธญาณไม่รู้แจ้งแล้วและที่ไม่พึงรู้ ย่อมไม่มี ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตทรงทราบแล้ว

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 544

ซึ่งธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า ผู้มีสมันตจักษุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏเด่นชัด.

[๘๙๑] คำว่า ทรงกำจัดมืดทั้งปวง ความว่า ทรงบรรเทา กำจัด ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะ โทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืดเพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริตทั้งปวงอันทำให้เป็นคนบอด ทำไม่ให้มีจักษุ ทำไม่ให้มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความ ลำบาก ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงกำจัดมืด ทั้งปวง.

พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลผู้เอก

[๘๙๒] คำว่า เป็นบุคคลเอก ทรงบรรลุแล้วซึ่งความยินดี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะส่วนแห่งบรรพชา ทรงเป็น บุคคลผู้เอก เพราะเป็นผู้ไม่มีเพื่อน ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะความละ ตัณหา ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากราคะโดย ส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโทสะ โดยส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโมหะ โดยส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสใด ส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายน-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 545

มรรค ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะส่วนแห่งบรรพชา อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงหนุ่มฉกรรจ์ มีพระเกศาดำสนิท ยัง หนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนา ให้ผนวช มีพระพักตร์ชุ่มด้วยน้ำพระเนตรทรงกัน แสงรำพันอยู่ ทรงสละ หมู่พระญาติ ทรงตัดความกังวลในยศทั้งหมด ทรงตัดความกังวลใน พระโอรสพระชายา ทรงตัดความกังวลในพระญาติ ทรงตัดความกังวล ในมิตรอำมาตย์ ทรงตัดกังวลในการสั่งสม ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสายะเสด็จออกผนวช ถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล เสด็จ- เที่ยวไป ยับยั้งอยู่ พักผ่อน ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ลำพัง พระองค์เดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะส่วนแห่ง บรรพชาอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะไม่มีเพื่อน อย่างไร. พระองค์ทรงผนวชแล้วอย่างนี้ พระองค์เดียว ซ่องเสพ เสนาสนะเป็นป่าและป่าใหญ่น้อยอันสงัด มีเสียงน้อย ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่วิเวก พระองค์ทรงพระดำเนินพระองค์เดียว ประทับยืนพระองค์เดียว ประทับ นั่งพระองค์เดียว ทรงบรรทมพระองค์เดียว เสด็จเข้าบ้านเพื่อทรงบิณฑ- บาตพระองค์เดียว เสด็จออกไปพระองค์เดียว ประทับอยู่ในที่ลับพระองค์ เดียว ทรงอธิษฐานจงกรมพระองค์เดียว ทรงเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ พักผ่อน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 546

ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะไม่มีเพื่อนอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอ เพราะความละตัณหา อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระองค์เดียว ไม่มีเพื่อนอย่างนี้ ไม่ทรงประมาท มีความเพียร มีพระทัยเด็ดเดี่ยว ทรงตั้งพระมหาปธาน อยู่ที่ควงโพธิพฤกษ์ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารทั้งเสนามารที่ไม่ให้ มหาชนพ้นไป เป็นเผ่าพันธุ์ผู้ประมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไปซึ่ง ตัณหาเพียงดังข่ายอันให้แล่นไป ให้เกาะเกี่ยวอารมณ์อยู่.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า

บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน แล่นไปสู่ความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นตลอดกาลนาน ไม่ล่วงพ้นสงสาร ไปได้ ภิกษุรู้จักโทษนี้ รู้จักตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความยึดถือ มีสติ พึง เว้นรอบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะความละตัณหา อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ ปราศจากราคะ โดยส่วนเดียวอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น บุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะ อรรถว่า ทรงละราคะเสียแล้ว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็น ผู้ปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโทสะเสียแล้ว ทรงเป็นบุคคล ผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 547

โมหะเสียแล้ว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสโดย ส่วนเดียว เพราะทรงละกิเลสทั้งหลายเสียแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ เสด็จไปตามเอกายนมรรคอย่างไร. สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เรียกว่า เอกายนมรรค (ธรรมเป็นหนทางเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว).

สมดังประพันธ์คาถาว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่ง ความสิ้นชาติ ผู้ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อม ทรงทราบมรรคเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว บัณฑิตทั้งหลาย ได้ข้ามก่อนแล้ว จักข้าม และย่อมข้ามซึ่งโอฆะด้วย มรรคนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ เสด็จไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ เดียวตรัสรู้ ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างไร ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ตรัสรู้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ ตรัสรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ตรัสรู้ว่า เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 548

ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ความดับทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ตรัสรู้ว่า เหล่านี้อาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้ความดับอาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทาให้ ถึงความดับอาสวะ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านั้นควรละ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านั้น ควรให้เจริญ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ความเกิด ความ ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตรัสรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง มหาภูตรูป ๔ ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ คามตรัสรู้ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้พร้อม ตรัสรู้ชอบ ทรงบรรลุ ทรงได้เฉพาะ ทรงถูกต้อง ทรง ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้พร้อม ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้งทั้งปวงด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่ง สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างนี้.

คำว่า ซึ่งความยินดี ในคำว่า บรรลุแล้วซึ่งความยินดี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุ ทรงถึงเฉพาะ ทรงถูกต้อง ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งความยินดีในเนกขัมมะ ความยินดีในความสงัด ความยินดีในความ สงบ ความยินดีในสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นบุคคลผู้เอก บรรลุแล้วซึ่งความยินดี เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 549

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัด แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง กำจัดมืดทั้งปวง เป็นบุคคลผู้เอก บรรลุแล้วซึ่งความยินดี.

[๘๙๓] เรามีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาถึงพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็น พระคณาจารย์ของคนหมู่มาก ซึ่งเนื่องในศาสนานี้.

ว่าด้วยพระนามว่าพุทธะ

[๘๙๔] ชื่อว่า พุทธะ ในคำว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่ อาศัย ผู้คงที่ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระสยัมภู ไม่มีใครเป็นอาจารย์ ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายอันพระองค์ไม่เคยสดับมาก่อน ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในเพราะความตรัสรู้นั้น และทรงถึงความ เป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย. คำว่า พุทฺโธ ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าอะไร? ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะ ทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะเป็นพระสัพพัญญู เพราะ เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง เพราะเป็นผู้ไม่มีผู้อื่นแนะนำ เพราะเป็นผู้เบิกบาน เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะ เพราะเป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่า เป็นผู้ ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโทสะโดยส่วน เดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายนมรรค เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอัน

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 550

ยอดเยี่ยม ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะเว้นจากความไม่รู้ เพราะได้เฉพาะ ความรู้ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตตผลใน ลำดับแห่งอรหัตตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำแจ่มแจ้ง ซึ่งพระอรหัตตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

[๘๙๕] ความอาศัย ในคำว่า ไม่อาศัย มี ๒ อย่าง คือความ อาศัยด้วยตัณหา ๑ ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ๑.

ความอาศัยด้วยตัณหาเป็นไฉน? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่ง ตัณหามีประมาณเท่าใด ความยึดถือว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น ว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของของ เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่อง นุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง เป็นของ ของเรา ความยึดถือว่าเป็นของเรา แม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้นด้วยสามารถ แห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา.

ว่าด้วยทิฏฐิ

ความอาศัยด้วยทิฏฐิเป็นไฉน? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 551

มีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยว คือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือ ทางผิด คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือว่าแน่นอน ว่าจริง ในสิ่งที่ไม่จริงอันใด เห็นปานนี้ และทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่า ความอาศัยด้วยทิฏฐิ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละ คืนความอาศัยด้วยทิฏฐิ เพราะทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความ อาศัยด้วยทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่อาศัย ไม่อิงอาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจถึง เป็นผู้ทรงออกไป สละ พันขาด ไม่เกี่ยว ข้องซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ธรรมารมณ์) สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กาม รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนรสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ทรงเป็นผู้ มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ นั้น เป็นผู้ไม่อาศัย.

ว่าด้วยผู้คงที่โดยอาการ ๕

[๘๙๖] คำว่า ผู้คงที่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 552

ผู้คงที่โดยอาการ ๕ คือ เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ๑ เป็นผู้ คงที่ เพราะอรรถว่า สละแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่ เพราะทรงแสดงออก ซึ่งธรรมนั้นๆ ๑.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ อย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ใน ความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในสรรเสริญ แม้ใน นินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ หากว่า ชนทั้งหลายพึงลูบไล้พระพาหา ข้างหนึ่งแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเครื่องหอม พึงถากพระพาหาข้างหนึ่ง ด้วยมีด พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ทรงมีความยินดีในการลูบไล้ด้วยเครื่อง หอมโน้น และไม่ทรงมีความยินร้ายในการถากด้วยมีดโน้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละความยินดีและความยินร้ายเสียแล้ว ทรงล่วงเลยความ ดีใจและความเสียใจแล้ว ทรงก้าวล่วงความพอใจและความพิโรธเสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฐารมณ์และอนิฐารมณ์อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า สละแล้ว. อย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสละ คาย ปล่อย ละ สละคืนราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความดีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลส ทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า สละแล้ว อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 553

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้วอย่าง ไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วย ดี ล่วงเลยแล้ว ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ และ คลองแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงอยู่จบแล้ว ทรงประพฤติจรณะแล้ว ดำเนินถึงทางไกลแล้ว ดำเนินถึงทิศแล้ว ดำเนินถึงที่สุด แล้ว ทรงรักษาพรหมจรรย์แล้ว ทรงบรรลุอุดมทิฏฐิแล้ว เจริญมรรคแล้ว ละกิเลสแล้ว มีการแทงตลอดมิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้ทุกข์ ทรงละสมุทัย ทรงเจริญมรรค ทรง ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งนิโรธ ทรงรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ทรงกำหนดรู้ธรรมที่ ควรกำหนดรู้ ทรงละธรรมที่ควรละ ทรงเจริญธรรมที่ควรเจริญ ทรง ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง ถอนอวิชชาอันเป็นดุจลิ่มสลักออกแล้ว ทรงเรี่ยรายกรรมอันเป็นดังคูเสีย แล้ว ทรงถอนตัณหาเป็นดังเสาระเนียดขึ้นแล้ว ไม่มีสังโยชน์เป็นบานประตู เป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก มีมานะเป็นดุจธงอันตกไปแล้ว ทรงปลงภาระเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ ๕ อันละเสียแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีสติเป็นธรรมเอกเครื่องรักษา มีธรรมเป็นเครื่อง อาศัย ๔ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งอันทรงบรรเทาเสียแล้ว มีการ แสวงหาอันชอบไม่หย่อนอันประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีกายสังขาร อันระงับแล้ว มีจิตพ้นดีแล้ว มีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงความบรรลุ เป็นอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดดำรงอยู่แล้ว มิได้ละ มิได้ถือมั่น ละแล้วดำรงอยู่ มิได้เย็บ มิได้ยาก เย็บแล้วดำรงอยู่

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 554

มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้ประกอบด้วย ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจแล้วดำรงอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้วจึง ดำรงอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะไม่ต้องไป ยึดถือเอายอดชัย แล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่ในความซ่องเสพวิมุตติ ดำรงอยู่ด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้าง ด้วยตัณหา ทิฏฐิ มานะ อันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ดำรงอยู่ใน ส่วนสุดรอบแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ดำรงอยู่ในภพอันมีในที่สุด ดำรงอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด ทรง ไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีอัตภาพนี้

เป็นทีหลัง มิได้มีชาติ มรณะและสงสาร ไม่มีภพใหม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าคงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้วอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้วอย่าง ไร? พระทัยของพระมีผู้พระภาคเจ้าพ้นแล้ว พ้นวิเศษ พ้นดีแล้ว จากราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความ แข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 555

เดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น ผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้วอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรม นั้นๆ อย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออก ว่า เป็นผู้มีศีล ในเมื่อศีลมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็น ผู้มีศรัทธา ในเมื่อศรัทธามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีวิริยะ ในเมื่อวิริยะมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีสติ ในเมื่อสติมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็น ผู้มีสมาธิ ในเมื่อสมาธิมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็น ผู้มีปัญญา ในเมื่อปัญญามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีวิชชา ๓ ในเมื่อวิชชามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในเมื่ออภิญญามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดง ออกว่า เป็นผู้มีพละ ๑๐ ในเมื่อพละมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น ผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่.

ว่าด้วยวัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง

[๘๙๗] ชื่อว่า ผู้ไม่ทรงหลอกลวง ในคำว่า ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ มีอธิบายว่า วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง คือ วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย ๑ วัตถุแห่งความ หลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ ๑ วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูด เลียบเคียง ๑.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 556

วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยเป็นไฉน? พวกคฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามก อันความ ปรารถนาครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก ย่อมบอกคืน จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก การที่สมณะเที่ยวเลือกเก็บ ผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อ หรือร้านตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ เป็น การสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตมีค่ามาก การที่สมณะ สำเร็จความเป็นอยู่ ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยความประพฤติ แสวงหา เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก การที่สมณะอยู่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่ที่แจ้ง เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก การที่สมณะ พึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ เป็นการสมควร ภิกษุนั้นอาศัย ความเป็นผู้อยากได้มาก จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่ เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่เศร้าหมอง พวกคฤหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่า สมณะนี้เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วย หมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นก็กล่าวว่า เพราะ ประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธา ก็ประสบบุญมาก คือ เพราะประจวบด้วยศรัทธา ๑ เพราะประจวบด้วยไทยธรรม ๑ เพราะ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 557

ประจวบด้วยทักขิไณยบุคคล ๑ ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้ อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก (ผู้ทักขิไณยบุคคล) ถ้าอาตมาจักไม่รับ ท่านทั้งหลายก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ ก็แต่ว่าอาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์ท่านทั้งหลาย จำเดิมแต่นั้น ภิกษุ นั้นก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่ง ความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย.

วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถเป็นไฉน? ภิกษุบาง รูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบาย อย่างนี้ จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมี สมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถกฌาน (เจริญฌานต่อหน้า พวกมนุษย์) การดังใจทำ การทำ ก้าวดำรงอิริยาบถ ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้ หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวอันตราย อิริยาบถ.

วัตถุแห่งดงามหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนา ครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใดทรงจีวร

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 558

อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ ... ทรงภาชนะ โลหะอย่างนี้ ... ทรงธมกรกอย่างนี้ ... ทรงผ้ากรองน้ำอย่างนี้ ... ถือ ลูกกุญแจอย่างนี้ ... สวมรองเท้าอย่างนี้ ... ใช้ประคดสำหรับคาดกาย อย่างนี้ ... ใช้สายโยกบาตอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะ ใด มีอุปัชฌายะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ ... มีพวกร่วมอุปัชฌายะอย่าง นี้ ... มีพวกร่วมอาจารย์อย่างนี้ ... มีมิตรอย่างนี้ ... มีพวกอย่างนี้ ... มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ ... มีสหายอย่างนี้ ... สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ ... อยู่ในเรือนมีหลังคาแถบเดียว อย่างนี้ ... อยู่ในปราสาทอย่างนี้ ... อยู่ในเรือนมีหลังคาโล้นอย่างนี้ ... อยู่ในถ้ำอย่างนี้ ... อยู่ในที่เร้นอย่างนี้ ... อยู่ในกุฎีอย่างนี้ ... อยู่ใน เรือนยอดอย่างนี้ ... อยู่ในซุ้มประตูอย่างนี้ ... อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ ... อยู่ในโรงที่พัก (ปะรำ) อย่างนี้ ... อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ ... อยู่ ในมณฑปอย่างนี้ ... อยู่ที่โคนต้นไม้อย่างนี้ ... สมณะนั้นมีศักดิ์มาก อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้ายู่ยี่ หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง อันผู้อื่นสรรเสริญ ด้วยความที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้ได้ วิหารสมบัติอันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้น ย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อัน ปฏิสังยุตด้วยโลกุตรธรรม และนิพพาน อันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบัง ความท่าหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่งควานหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง.

วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่างนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ แล้ว ทรงละ ตัดขาด ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 559

ด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระคณาจารย์

[๘๙๘] คำว่า ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า คณี เพราะอรรถว่า มีคณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า เป็นพระคณาจารย์ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า เป็น พระศาสดาของคณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงบริหาร คณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า พระองค์ตรัสสอนคณะ ชื่อว่า เป็น คณี เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงพร่ำสอนคณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะ อรรถว่า พระองค์มีความองอาจเสด็จเข้าไปสู่คณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะ อรรถว่า คณะย่อมฟังด้วยดีต่อพระองค์ เงี่ยโสตลงฟัง เข้าไปตั้งจิตเพื่อ ความรู้ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า พระองค์ยังคณะให้ออกจากอกุศล ให้ตั้งอยู่เฉพาะในกุศล. ชื่อว่า เป็นคณีของคณะภิกษุ ชื่อว่า เป็นคณีของ คณะภิกษุณี ชื่อว่า เป็นคณีของคณะอุบาสก ชื่อว่า เป็นคณีของคณะ อุบาสิกา ชื่อว่า เป็นคณีของคณะพระราชา ชื่อว่า เป็นคณีของคณะ กษัตริย์ ชื่อว่า เป็นคณีของคณะพราหมณ์ ชื่อว่า เป็นคณีของคณะแพศย์ ชื่อว่า เป็นคณีของคณะศูทร ชื่อว่า เป็นคณีของคณะเทวดา ชื่อว่า เป็น คณีของคณะพรหม พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีหมู่ มีคณะ เป็นพระคณาจารย์ เสด็จมา เข้ามา เข้ามาพร้อม ถึงพร้อมแล้วซึ่งสังกัสสนคร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 560

[๘๙๙] คำว่า ของคนหมู่มาก ในคำว่า ของคนหมู่มากซึ่งเนื่อง ในศาสนานี้ ความว่า ของกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์ เป็นอันมาก. คำว่า เนื่อง คือ เป็นผู้เนื่อง มีความประพฤติเนื่องกัน เป็นผู้บำรุง เป็นศิษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ของคนหมู่มากซึ่งเนื่องในศาสนานี้.

[๙๐๐] คำว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา ความว่า เราเป็นผู้มีความประสงค์ด้วยปัญหามาแล้ว คือเรามีความประสงค์เพื่อจะ ทูลถามปัญหามาแล้ว เรามีความประสงค์เพื่อจะฟังปัญหามาแล้ว แม้ด้วย เหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา. อีกอย่าง หนึ่ง ความมา ความก้าวไปเฉพาะ ความเข้าไปหา ความเข้าไปนั่งใกล้ พึงมีแก่ชนทั้งหลาย ผู้มีความต้องการด้วยปัญหา ผู้ถามปัญหา ผู้ประสงค์ เพื่อจะฟังปัญหา แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์ ด้วยปัญหาจึงมา. อีกอย่างหนึ่ง อาคม (สูตร) แห่งปัญหาของพระองค์มี อยู่ พระองค์เป็นผู้สามารถจะตรัสถาม กล่าวแก้กับข้าพระองค์ ข้อนี้จง เป็นภาระของพระองค์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกราบทูลว่า

ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ ผู้ไม่หลอกลวง ผู้ มาเป็นพระคณาจารย์ของคนหมู่มากซึ่งเนื่องในศาสนานี้.

[๙๐๑] เมื่อภิกษุเกลียดอยู่ ซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า รุกขมูล สุสาน หรือที่นั่งในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 561

ว่าด้วยปฏิปทาของภิกษุ

[๙๐๒] คำว่า เมื่อภิกษุ ในคำว่า เนื้อภิกษุเกลียดอยู่ ความว่า เมื่อภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือที่เป็นเสขชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุ. คำว่า เกลียดอยู่ คือ เกลียด อึดอัด ระอา เบื่อหน่าย ด้วยชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก ทุกข์ในดิรัจฉานกำเนิด ทุกข์ในเปรตวิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีความเกิด ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความคลอดจาก ครรภ์เป็นมูล ทุกข์ที่ติดตามสัตว์ผู้เกิด ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของตน ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ทุกข์ที่เกิดแต่ทุกขเวทนา (ทุกขเวทนามีในกายและใจ) ทุกข์เกิดแต่สังขาร ทุกข์เกิดแต่ความแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคจักษุ ทุกข์เพราะโรคหู ทุกข์เพราะโรคจมูก ทุกข์เพราะโรคลิ้น ทุกข์เพราะโรคกาย ทุกข์เพราะ โรคศีรษะ ทุกข์เพราะโรคในหู ทุกข์เพราะโรคปาก ทุกข์เพราะโรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไขหวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรค กลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู. โรคหิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมี เสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธ เกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิด แต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 562

เกิดแต่ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์ เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ทุกข์เพราะพี่หญิงน้องหญิงตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุเกลียด อยู่.

[๙๐๓] คำว่า ซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า ความว่า ที่ใดเป็นที่นั่ง คือเตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดด้วยหญ้า เครื่องลาดด้วยใบไม้ เครื่องลาดด้วยฟาง ที่นั้นเรียกว่าที่นั่ง ที่นั่งนั้น ว่าง เปล่า สงัด เงียบ จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย ว่าง เปล่า สงัด เงียบจากการได้ยินเสียง ไม่เป็นที่สบาย ฯลฯ ว่าง เปล่า สงัด เงียบจากเบญจกามคุณไม่เป็นที่ สบาย เมื่อภิกษุซ่องเสพ ซ่องเสพเสมอ เสพอาศัย ซ่องเสพเฉพาะที่ นั่งนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า.

[๙๐๔] คำว่า รุกขมูล สุสาน ความว่า รุกขมูล คือโคนต้นไม้ สุสานคือป่าช้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รุกขมูล สุสาน.

[๙๐๕] คำว่า หรือที่นั่งในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย ความว่า บรรพตคือภูเขา กันทระคือซอก คิริคุหาคือถ้ำในภูเขา ท้องภูเขาแห่ง ภูเขาทั้งหลาย เรียกว่า ระหว่างภูเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือที่นั่ง ในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

เมื่อภิกษุเกลียดอยู่ ซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า รุกขมูล สุสาน หรือที่นั่งในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 563

[๙๐๖] ในที่นอนทั้งหลายอันสูงและต่ำ ภิกษุร้องอยู่ เพราะ ในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่ พึงหวั่นไหว ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงก้อง.

ว่าด้วยที่นอนสูงต่ำ

[๙๐๗] คำว่า อันสูงและต่ำ ในคำว่า ในที่นอนอันสูงและต่ำ ความว่า สูงและตำ คือเลวประณีต ดีและชั่ว เสนาสนะ คือวิหาร เรือนมีหลังคาแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ เรียกว่า ที่นอน ในคำว่า ในที่นอนทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นอนทั้งหลายอันสูง และต่ำ.

[๙๐๘] คำว่า ร้องอยู่ ในคำว่า ภิกษุร้องอยู่ เพราะในนั้น มีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว ความว่า ภิกษุร้อง เรียกว่า บันลือ ออก เสียงอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า อารมณ์อันน่าหวาดเสียว มีเท่าไร มี อย่างไร มีประมาณเท่าไร มีกำหนดเท่าไร มีมากเท่าไร ชื่อว่าอารมณ์ น่าหวาดเสียวเหล่านั้น คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว หรือคนที่เตรียมทำกรรมชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุร้องอยู่ เพราะ ในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว.

[๙๐๙] คำว่า อารมณ์อันน่าหวาดเสียว ในคำว่า อันเป็นเหตุ ให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว ความว่า ภิกษุเห็นหรือได้ยินแล้วซึ่งอารมณ์อันน่า หวาดกลัวเหล่าใด อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่ตกใจ ไม่กลัว ไม่ถึงความ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 564

สยดสยอง ไม่พึงเป็นผู้ขลาด ไม่ขยาด ไห่หวาดหวั่น ไม่หนี ละความ กลัว ความหวาดเสียว ปราศจากขนลุกชูชัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว.

[๙๑๐] คำว่า ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงกึกก้อง ความว่า ใน เสนาสนะอันมีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงกึกก้อง เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตร เถระจึงทูลถามว่า

ในที่นอนทั้งหลายอันสูงและต่ำ ภิกษุร้องอยู่ เพราะ ในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่ พึงหวั่นไหว ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงกึกก้อง.

[๙๑๑] เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ภิกษุพึงปราบปราม อันตรายเหล่าใด ในที่นอนที่นั่งอันสงัด อันตรายเหล่านั้น มีเท่าไรในโลก.

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง

[๙๑๒] คำว่า มีเท่าไร ในคำว่า อันตรายเหล่านั้นมีเท่าไร ในโลก ความว่า มีเท่าไร มีประมาณเท่าไร มีกำหนดเท่าไร มีมาก เท่าไร ชื่อว่าอันตราย ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คืออันตรายปรากฏ ๑ อันตรายปกปิด ๑.

อันตรายปรากฏเป็นไฉน? ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 565

เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คน ที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมทำกรรมชั่ว โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคในหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไขหวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค มองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความ เพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน อันตรายเหล่านั้น เรียกว่า อันตรายปรากฏ.

อันตรายปกปิดเป็นไฉน? กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความ ลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา โอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อันตราย เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายปกปิด.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 566

ที่ชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่ากระไร จึงชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อ ความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศล ทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย.

เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างไร จึงชื่อว่า อันตราย. อันตราย เหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยี ซึ่ง บุคคลนั้น เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างไร จึงชื่อว่า อันตราย. อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศล ธรรมทั้งหลาย. อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความ เสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ ความประกอบ เนืองๆ ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความประกอบเนืองๆ ในการเจริญ สัมมัปปธาน ๔ ความประกอบเนืองๆ ในการเจริญอิทธิบาท ๔ ความ ประกอบเนืองๆ ในการเจริญอินทรีย์ ๕ ความประกอบเนืองๆ ในการ เจริญพละ ๕ ความประกอบเนืองๆ ในการเจริญโพชฌงค์ ๗ ความ ประกอบเนืองๆ ในการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อม

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 567

เป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านั้น เพราะ อรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างไร จึงชื่อว่า อันตราย. อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น อยู่ อาศัยในอัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู ที่อาศัยน้ำ ย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่าย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น อยู่อาศัยใน อัตภาพ ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรม ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ ลำบากไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัย ในภายใน อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบากไม่ผาสุกอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามกมีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูป ด้วยจักษุ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่ง ภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอัน อยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน อีก ประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามกมีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อัน เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมเกิดแก่ภิกษุ เพราะได้ยินเสียงด้วยหู ... เพราะสูด กลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ... เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 568

กาย ... เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึง เรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามก เหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่อยู่ร่วมกับกิเลส อันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบากไม่ผาสุก อย่างนี้แล เพราะฉะนั้น เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรม ทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ นี้ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็น ข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? คือโลภะ เป็นมลทินในภายใน ... เป็นศัตรูใน ภายใน โทสะ เป็นมลทินในภายใน ... เป็นศัตรูในภายใน โมหะ เป็น มลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌ- ฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ นี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

โลภะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิตให้ กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึก ภัยนั้น คนผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โลภย่อมไม่เห็น


๑. ขุ. อํ. ๒๕/ข้อ ๒๖๘.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 569

ธรรม ความโลภครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ ย่อมมีในขณะนั้น.

โทสะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยังจิตให้ กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึก ภัยนั้น คนผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โกรธย่อมไม่เห็น ธรรม ความโกรธครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ ย่อมมีในขณะนั้น.

โมหะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เถิด โมหะยังจิตให้ กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิดในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึก ภัยนั้น คนผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้หลงย่อมไม่เห็น ธรรม ความหลงครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ ย่อมมีในขณะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการแล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน? คือโลภะเมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก โทสะเมื่อเกิดขึ้นใน ภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ ความอยู่ไม่ผาสุก โมหะเมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ดูก่อนมหาบพิตร

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 570

ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า๑

โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัด บุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส๒ไว้ว่า

ราคะ และโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพ นี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ หำให้ขนลุกขนพอง บาปวิตกในใจตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้วผูกจิตไว้ เหมือน พวกเด็กผูกกาไว้ที่ข้อเท้า ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย. คำว่า ในโลก คือ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตรายเหล่านั้นมีเท่าไรในโลก.

ว่าด้วยทิศที่ไม่เคยไป (อมตนิพพาน)

[๙๑๓] คำว่า เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ความว่า อมตนิพพาน คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ สิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด


๑. ขุ. อิ. ๒๕/ข้อ ๒๒๘, ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๒๐.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 571

เรียกว่าทิศที่ไม่เคยไป ทิศที่ยังไม่เคยไปโดยกาลยืดยาวนี้ ชื่อว่าทิศที่ไม่ เคยไป บุคคลพึงประคองภาชนะน้ำมัน อันเต็มเสมอขอบปาก เต็มเปี่ยม ฉันใด พระโยคาวจรเมื่อปรารถนาทิศที่ยังไม่เคยไป ก็พึงรักษาจิตของตน เนืองๆ ฉันนั้น เมื่อภิกษุไป ดำเนินไป ก้าวไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป.

[๙๑๔] คำว่า ภิกษุพึงปราบปรามอันตรายเหล่าใด ความว่า ภิกษุพึงปราบปราม ครอบงำ กำจัด ขับไล่ ย่ำยีอันตรายเหล่าใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงปราบปรามอันตรายเหล่าใด.

[๙๑๕] คำว่า ในที่นอนที่นั่งอันสงัด ความว่า ในที่นอนที่นั่ง อันสงัดเป็นที่สุด ส่วนสุด ส่วนสุดรอบ เป็นส่วนสุดแห่งภูเขาหิน เป็น ส่วนสุดแห่งป่า เป็นส่วนสุดแห่งน้ำ หรือเป็นส่วนสุดแห่งแม่น้ำ เป็น สถานที่เขาไม่ไถ ไม่หว่าน ไม่เป็นอุปจารแห่งพวกมนุษย์ ล่วงเลยหมู่ ชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นอนที่นั่งอันสงัด เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ภิกษุพึงปราบปราม อันตรายเหล่าใด ในที่นอนที่นั่งอันสงัด อันตรายเหล่านั้น มีเท่าไรในโลก.

[๙๑๖] เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำ อย่างไร พึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร พึงเป็น ผู้มีศีลและวัตรอย่างไร.

[๙๑๗] คำว่า เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำอย่างไร ความว่า

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 572

พระเถระ ย่อมทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งวาจาว่า ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ ประกอบด้วยคลองแห่งถ้อยคำเช่นไร คือด้วยคลองแห่งถ้อยคำที่ดำรงไว้ อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร.

ว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจา

ความบริสุทธิ์แห่งวาจาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท คือพูดจริง ดำรงคำจริง มีถ้อยคำมั่นคง มี ถ้อยคำเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่โลก ละปิสุณาวาจา เป็นผู้เว้น ขาดจากปิสุณาวาจา คือฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลาย คนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อทำลายคนหมู่ โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี ยินดีในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน มีความ เพลิดเพลินในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้เขาพร้อมเพรียง กันด้วยประการดังนี้ ละผรุสวาจา เป็นผู้เว้นขาดจากผรุสวาจา คือกล่าว วาจาที่ไม่มีโทษ อันไพเราะโสต เป็นที่ตั้งแห่งความรัก หยั่งลงถึงหทัย เป็นคำของชาวเมือง ที่คนหมู่มากพอใจ ชอบใจ ละสัมผัปปลาปะ เป็น ผู้เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ คือพูดโดยกาลควร พูดจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐานมีที่อ้างอิง มีส่วนสุด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลควร เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ กล่าว วาจาปราศจากโทษ ๔ งด เว้น เว้น ขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่ประกอบ ด้วยติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่ ย่อมกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ อย่าง คืออัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 573

อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ย่อมกล่าวสติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทรียกถา พลกถา โพชฌงคกถา มรรคกถา ผลกถา นิพพานกถา เป็นผู้ประกอบ สำรวม สำรวมเฉพาะ คุ้มครอง ปกครอง รักษา ระวังด้วยวาจา นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งวาจา ภิกษุพึงเป็นผู้ ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจาเช่นนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เธอพึง เป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำอย่างไร.

[๙๑๘] คำว่า เธอพึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร ความว่า พระเถระย่อมทูลถามถึงโคจรว่า ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยโคจร เช่นไร คือด้วยโคจรที่ดำรงไว้อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบ อย่างไร อโคจรมีอยู่ โคจรมีอยู่.

ว่าด้วยอโคจร

อโคจรเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีหญิงแพศยา เป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร บ้าง เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจรบ้าง เป็น ผู้มีโรงสุราเป็นโคจรบ้าง อยู่คลุกคลีด้วยพวกพระราชา พวกมหาอำมาตย์ ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกของเดียรถีย์ ด้วยความคลุกคลี กับคฤหัสถ์อันไม่สมควร.

อนึ่ง สกุลบางแห่งไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มัก ด่า มักบริภาษ มุ่งความเสื่อม มุ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มุ่งความ ไม่สบาย มุ่งความไม่ปลอดโปร่งจากโยคกิเลส แก่พวกภิกษุ พวกภิกษุณี

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 574

พวกอุบาสก พวกอุบาสิกา ภิกษุย่อมซ่องเสพ คบหา ติดต่อกับสกุล เห็นปานนั้น นี้เรียกว่าอโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน เป็นผู้ ไม่สำรวมเดินไป คือแลดูช้าง แลดูม้า แลดูรถ แลดูพลเดินเท้า แลดู สตรี แลดูบุรุษ แลดูกุมาร แลดูกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุขเรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อยทิศใหญ่เดินไป แม้เช่นนี้ก็ เรียกว่าอโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุ ให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่ รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความไม่สำรวมในจักจุนทรีย์ ฯลฯ รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษามนินทรีย์ ย่อม ถึงความไม่สำรวมในมนินทรีย์ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าอโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์บางพวกฉัน โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้ คือการฟ้อน การขับ การประโคม มหรสพ มีการรำ เป็นต้น การเล่านิยาย เพลงปรบมือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน ไต่ราว การเล่นหน้าศพ ชนช้าง แข่งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ท่านสมณพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 575

บางพวก ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ แม้เช่นนี้ ก็เรียกว่าอโคจร.

แม้กามคุณ ๕ ก็ชื่อว่า อโคจร สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่ง เป็นอโคจร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่ง เป็นอโคจร มารจักได้ช่องได้อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แดนอื่น ซึ่งเป็นอโคจรของภิกษุ คืออะไร. คือกามคุณ ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน? คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา พอใจ ชอบใจ รักใคร่ ประกอยด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง ด้วยกาย อันน่าปรารถนา พอใจ ชอบใจ รักใคร่ ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า แดนอื่นเป็นอโคจรของภิกษุ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าอโคจร.

โคจรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็น โคจร ไม่เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่ เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีโรง สุราเป็นโคจร ไม่อยู่คลุกคลีด้วยพวกพระราชา พวกมหาอำมาตย์ของ พระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกของเดียรถีย์ ด้วยความคลุกคลีกับ คฤหัสถ์อันไม่สมควร.

อนึ่ง สกุลบางแห่งมีศรัทธาเลื่อมใส เป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วย ผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นที่เดินสวนกันเข้าออกแห่งภิกษุผู้แสวงหา มุ่งความ เจริญ มุ่งประโยชน์เกื้อกูล มุ่งความสบาย มุ่งความปลอดโปร่งจากโยค-

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 576

กิเลส แก่พวกภิกษุ พวกภิกษุณี พวกอุบาสก พวกอุบาสิกา ภิกษุย่อม ซ่องเสพ คบหา ติดต่อกันสกุลเห็นปานนั้น นี้เรียกว่าโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ย่อมเป็น ผู้สำรวมเดินไป คือไม่แลดูช้าง ไม่แลดูม้า ไม่แลดูรถ ไม่แลดูพลเดิน เท้า ฯลฯ ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ- พยัญชนะ ฯลฯ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่า โคจร.

อีกอย่างหนึ่งว่า เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ไม่ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึก แก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน การขัน การประโคม ฯลฯ กองทัพ ภิกษุเป็นผู้เว้นขาดจากการขวนขวายดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็น ปานนี้ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร.

แม้สติปัฏฐาน ๔ ก็ชื่อว่าโคจร สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนเป็นของ บิดาของตนซึ่งเป็นโคจร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไป ในแดนเป็นของบิดาของตนซึ่งเป็นโคจร มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้ อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แดนเป็นของบิดาของคนซึ่งเป็นโคจรของ ภิกษุคืออะไร คือสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มี ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 577

เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า แดนเป็นของบิดาของตนซึ่งเป็นโคจรของภิกษุ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยโคจรเช่นนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็น ผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร.

ว่าด้วยศีลและวัตร

[๙๑๙] คำว่า พึงเป็นผู้มีศีลและวัตรอย่างไร ความว่า พระเถระ ย่อมทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรว่า ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ประกอบ ด้วยศีลและวัตรอย่างไร คือด้วยศีลและวัตรที่ดำรงไว้อย่างไร มีชนิด อย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร.

ความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเป็นไฉน? บางแห่งเป็นศีลและ เป็นวัตร บางแห่งเป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล.

ศีลและวัตรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็น ภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วงในสิกขาบททั้งหลายนั้น นี่เป็น ศีล. ความสมาทาน ชื่อว่า เป็นวัตร เพราะอรรถว่า สำรวม จึงชื่อว่า ศีล เพราะอรรถว่า สมาทาน จึงชื่อว่า วัตร นี้เรียกว่าศีลและวัตร.

เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน? ธุดงค์ ๘ คืออารัญญิกังคธุดงค์ ๑ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๑ ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ๑ เตจีวริกังคธุดงค์ ๑ สปทาน-

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 578

จาริกังคธุดงค์ ๑ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ๑ เนสัชชิกังคธุดงค์ ๑ ยถาสันถติกังคธุดงค์ ๑ นี้เรียกว่าเป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล.

แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล กล่าว คือ พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ผลใดอัน บุรุษพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียร ของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้วหยุดความ เพียรเสียจักไม่มี ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตร ไม่เป็นศีล ภิกษุประคองตั้งจิตว่า

เมื่อลูกศรคือตัณหาเรายังถอนไม่ได้แล้ว เราจักไม่ กิน จักไม่ดื่ม จักไม่ออกจากวิหาร ทั้งจักไม่เอนข้าง [ไม่นอน] ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล. พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้จนตลอด เวลาที่จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้. แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล ภิกษุประคองตั้งจิตว่า จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ ไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้เพียงนั้น จิตของเราจักยัง ไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ลงจากที่ จงกรม จักไม่ออกจากวิหาร จักไม่ออกจากเรือนมีหลังคาแถบเดียว จัก ไม่ออกจากปราสาท จักไม่ออกจากเรือนโล้น จักไม่ออกจากเพิง จัก ไม่ออกจากถ้ำ จักไม่ออกจากกุฎี จักไม่ออกจากเรือนยอด จักไม่ออก

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 579

จากป้อม จักไม่ออกจากโรงกลม จักไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น จัก ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง จักไม่ออกจากมณฑป จักไม่ออกจากโคนต้นไม้ เพียงนั้น ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเวลาเช้านี้แหละ เราจักนำมา จักนำมาพร้อม จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเวลาเที่ยงนี้แหละ ในเวลาเย็นนี้แหละ ในกาล ก่อนภัตนี้แหละ ในกาลภายหลังภัตนี้แหละ ในยามต้นนี้แหละ ในยาม กลางนี้แหละ ในยามหลังนี้แหละ ในฤดูร้อนนี้แหละ ในตอนวัยต้น นี้แหละ ในตอนวัยกลางนี้แหละ ในตอนวัยหลังนี้แหละ เราจักนำมา จัก นำมาพร้อม จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์ แห่งศีลและวัตร ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยความ บริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เธอพึงเป็นผู้มีศีล และวัตรอย่างไร.

ว่าด้วยการอบรมตน

[๙๒๐] คำว่า อบรมตนอยู่ ในคำว่า เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ ความว่า ปรารภความเพียร มีความเพียรแรงกล้า มีความบากบั่นมั่นคง มิได้ปลงฉันทะ มิได้ทอดธุระ ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล อีกอย่างหนึ่ง ผู้ส่งตนไป คือตนอันภิกษุส่งไปในอรหัตตผลอันเป็นประโยชน์ของตน ใน

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 580

อริยมรรค ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะ และอฐานะ คือส่งตนไปว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ส่งตนไปว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ส่งตนไปว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ส่งตนไปว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ส่งตนไปว่า เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติดับชราและ มรณะจึงดับ ส่งตนไปว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ส่งตนไปว่า นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึง ความดับทุกข์ ส่งตนไปว่า เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ ส่งตนไปว่า นี้ปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับอาสวะ ส่งตนไปว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ส่งตนไปถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ส่งตนไปถึงความเกิด ความ ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ แห่งมหาภูตรูป ๔ ส่งตนไปว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า เมื่อภิกษุ ความว่า เมื่อภิกษุ ที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือเมื่อภิกษุที่เป็นพระเสขะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำ อย่างไร พึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร พึงเป็นผู้มี ศีลและวัตรอย่างไร.

[๙๒๑] ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิ เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทิน ของตน เหมือนช่างทองจำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 581

ว่าด้วยสมาทานสิกขา ๓

[๙๒๒] คำว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร ความว่า ภิกษุนั้น ถือเอา สมาทาน ยึดถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งสิกขาอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร. คำว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุด ขึ้น ในคำว่า จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ ความว่า มีจิตมีอารมณ์เดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ถูกอารมณ์ร้าย กระทบ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า มี ปัญญารักษาตน ความว่า มีปัญญารักษาตน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี ความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณา เห็นกายในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นเวทนาใน เวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นจิตในจิต ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ ซึ่งว่ามีสติ ภิกษุนั้น เรียกว่ามีสติ พระเถระย่อมทูลถามถึงอธิศีลสิกขา ด้วยคำว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร ทูลถามถึงอธิจิตสิกขาด้วยคำว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ทูลถามถึงอธิปัญญาสิกขาด้วยคำว่า มีปัญญา รักษาตน ทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งสติด้วยคำว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุด ขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 582

ว่าด้วยการกำจัดมลทิน

[๙๒๓] คำว่า พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทอง กำจัด มลทินแห่งทองฉะนั้น ความว่า คนทำทอง เรียกว่าช่างทอง ทองคำ เรียกว่าทอง ช่างทองย่อมเป่า ไล่ กำจัดมลทินอย่างหยาบแห่งทองบ้าง เป่า ไล่ กำจัดมลทินอย่างกลางแห่งทองบ้าง เป่า ไล่ กำจัดมลทิน อย่างละเอียดแห่งทองบ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสอย่างหยาบ ของตนบ้าง ซึ่งกิเลสอย่างกลางของตนบ้าง ซึ่งกิเลสอย่างละเอียดของตน บ้าง. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้น ไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งมลทินคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ของตน อันทำให้เป็นคนบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่ มีญาณ อันดับปัญญา อันเป็นไปในฝ่ายแห่งทุกข์ ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมิจฉาสังกัปปะ ด้วยสัมมาสังกัปปะ ซึ่งมิจฉาวาจา ด้วยสัมมาวาจา ซึ่งมิจฉากัมมันตะ ด้วยสัมมากัมมันตะ ซึ่ง มิจฉาอาชีวะ ด้วยสัมมาอาชีวะ ซึ่งมิจฉาวายามะ ด้วยสัมมาวายามะ ซึ่ง มิจฉาสติ ด้วยสัมมาสติ ซึ่งมิจฉาสมาธิ ด้วยสัมมาสมาธิ ซึ่งมิจฉาญาณ ด้วยสัมมาญาณ ซึ่งมิจฉาวิมุตติ ด้วยสัมมาวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ ย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่ง กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ด้วยอริยมรรค มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทอง กำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 583

ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็น ธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทิน ของตน เหมือนช่างทองกำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น.

[๙๒๔] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร) เราจะกล่าวซึ่งความผาสุกและธรรมตามสมควรนั้น ของ ภิกษุผู้เกลียด ผู้ซ่องเสพ ที่นั่งและที่นอนอันสงัด ผู้ ปรารถนาสัมโพธิแก่ท่าน ตามที่รู้.

ว่าด้วยความผาสุก

[๙๒๕] คำว่า ผู้เกลียด ในคำว่า ความผาสุก ... ของ ภิกษุ ผู้เกลียด ความว่า ผู้เกลียด ผู้อึดอัด ผู้เอือมระอา ด้วยชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ฯลฯ ทุกข์เพราะ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เกลียด. คำว่า ความผาสุก ความว่า เราจักบอกความผาสุก คือความอยู่เป็นผาสุก ความอยู่เป็น ผาสุกเป็นไฉน? ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่ เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบ เนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 584

นิพพานและปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพาน นี้ชื่อว่า ความอยู่เป็นผาสุก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความผาสุก ... ของภิกษุผู้เกลียด.

อธิบายคำว่า ภควา

[๙๒๖] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระนั้นโดยชื่อ. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ทรงทำลายราคะ ทรงทำลายโทสะ ทรงทำลายโมหะ ทรงทำลายมานะ ทรงทำลายทิฏฐิ ทรงทำลายเสี้ยนหนาม ทรงทำลาย กิเลส เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกวิเศษ ทรงจำแนกเฉพาะ ซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญา อันอบรมแล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่า ละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจาก คนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่วิเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 585

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์) อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ภควา พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิม ให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตตผลใน ลำดับ แห่งอรหัตตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยอาการทรงบรรลุ พระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร.

[๙๒๗] คำว่า ผู้ซ่องเสพที่นั่งและที่นอนอันสงัด ความว่า ที่ใด เป็นที่นั่ง คือเตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดด้วยหญ้า เครื่อง ลาดด้วยใบไม้ เครื่องลาดด้วยฟาง เรียกว่าที่นั่ง เสนาสนะ คือวิหาร เรือนมีหลังคาแถบเดียว ปราสาทเรือนมีหลังคาโล้น ถ้ำ ที่นอนและที่นั่ง

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 586

อันสงัด ว่าง เงียบ สงัด จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย จากการได้ยิน เสียงไม่เป็นที่สบาย ฯลฯ อันสงัด ว่าง เงียบสงัด จากเบญจกามคุณ อันไม่เป็นที่สบาย ผู้ซ่องเสพ อาศัยซ่องเสพ ซ่องเสพเสมอ ซ่องเสพเฉพาะ ซึ่งที่นอนและที่นั่งอันสงัด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ซ่องเสพที่นั่งและ ที่นอนอันสงัด.

ว่าด้วยสัมโพธิและธรรมอันควรแก่สัมโพธิ

[๙๒๘] คำว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ ... และซึ่งธรรมอันสมควร ความว่า ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ในมรรค ๔ เรียกว่า สัมโพธิ. ผู้ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้ ปรารถนาเพื่อจะตามตรัสรู้ ปรารถนา เพื่อจะตรัสรู้เฉพาะ ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้พร้อม ปรารถนาเพื่อจะบรรลุ ปรารถนาเพื่อจะถูกต้อง ปรารถนาเพื่อจะทำให้แจ้ง ซึ่งสัมโพธินั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ. คำว่า ซึ่งธรรมอันสมควร ความว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิเป็นไฉน? ความปฏิบัติชอบ ความ ปฏิบัติอันสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล ทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จัก ประมาณในโภชนะ ความประกอบเนื่องๆ ในความเป็นผู้อื่น สติสัมปชัญญะ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ. อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค ๔ เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ ... และซึ่งธรรมอันสมควร.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 587

[๙๒๙] คำว่า นั้น ในคำว่า เราจักกล่าว ... นั้น แก่ท่าน ตาม ที่รู้ ความว่า ธรรมอันสมควรแก่โพธิ. คำว่า เราจักกล่าว ความว่า จักบอกกล่าว ชี้แจง แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ. คำว่า ตามที่รู้ คือเรารู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด อย่างไร จักกล่าวซึ่งธรรมที่ประจักษ์แก่ตน อันตนรู้ยิ่งเอง มิใช่โดยต้อง เชื่อต่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยอ้างตำรา มิใช่โดยนึกเดาเอาเอง มิใช่โดยคาดคะเนเอาเอง มิใช่โดยตรึกตามอาการ มิใช่โดยเห็นว่าควรแก่ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักกล่าว ... นั้นแก่ท่าน ตามที่รู้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร) เราจักกล่าวซึ่งความผาสุก และธรรมตามสมควรนั้น ของ ภิกษุผู้เกลียด ผู้ซ่องเสพที่นั่งและที่นอนอันสงัด ผู้ ปรารถนาสัมโพธิแก่ท่าน ตามที่รู้.

[๙๓๐] ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด รอบ ไม่พึงกลัวต่อภัย ๕ ประการ คือตัวเหลือบ สัตว์ ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่ สัตว์สี่เท้า.

ว่าด้วยภิกษุเป็นธีรชน

[๙๓๑] คำว่า ผู้เป็นธีรชน ในคำว่า ผู้เป็นธีรชน ... ไม่พึงกลัว ต่อภัย ๕ ประการ ความว่า ผู้เป็นธีรชน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญา-

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 588

ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส ไม่พึงกลัว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงหวาดเสียว ไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงถึงความสยดสยอง ต่อภัย ๕ ประการ คือเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ครั้นคร้าม ไม่หวาดเสียว ไม่หนี เป็นผู้ละความกลัว ความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นธีรชน ... ไม่พึงกลัวต่อภัย ๕ ประการ.

[๙๓๒] คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ ... มีสติ ประพฤติธรรมเป็น ส่วนสุดรอบ คือภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุที่เป็นพระเสขะ. คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือเมื่อเจริญสติปัฏฐาน คือพิจารณาเห็นกายในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ. เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ. เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือ พิจารณาเห็นจิตในจิต ก็ชื่อว่ามีสติ. เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ. ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า เป็นผู้มีสติ. ธรรมเป็นส่วนสุดรอบ ในคำว่า ประพฤติธรรมเป็นส่วนสุดรอบ มี ๔ ประการ คือธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวร ๑ ธรรมเป็นส่วนสุดรอบ คืออินทรียสังวร ๑ ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา ๑ ธรรม เป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค ๑.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมอยู่ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย พิจารณาถึงความเสีย ณ ภายใน ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วน สุดรอบคือศีลสังวร ณ ภายใน มิได้ทำลายศีลอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวร.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 589

ธรรมเห็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรม วินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึง ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึง เป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อม รักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ พิจารณาอาทิตตปริยายเทศนา ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ คืออินทรียสังวรในภายใน มิได้ทำลายอินทรีสังวรอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบ คืออินทรียสังวร.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตาเป็นไฉน? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อ เล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพื่อ ความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อจะให้กายนี้เป็นไป เพื่อเว้นความลำบากแห่ง กายนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนา เก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความดำเนินของเรา ความที่เรา ไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเราจักมี ดังนี้ อย่างเดียวเท่านั้น พิจารณา อาหารเปรียบด้วยน้ำมันสำหรับหยอดเพลาเกวียน ผ้าสำหรับปิดแผลและ เนื้อบุตร (ของคนที่เดินทางกันดาร) ชื่อว่า ประพฤติในธรรมเป็นส่วน สุดรอบ คือโภชเนมัตตัญญุตา ย่อมไม่ทำลายโภชเนมัตตัญญุตาอันเป็น

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 590

เขตแดนในภายใน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคเป็นไฉน? ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดินการนั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดินการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อม สำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อม เท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึงสัญญาในความลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยาม แห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมทั้งหลายอันเป็น เครื่องกั้นกาง ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี พิจารณา ถึงความอยู่แห่งบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ชื่อว่า ประพฤติในธรรมเป็น ส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคในภายใน ย่อมไม่ทำลายชาคริยานุโยคอัน เป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค เพราะเหตุ นั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ... มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ.

ลักษณะตัวเหลือบเป็นต้น

[๙๓๓] แมลงมีตาเหลือง เรียกว่า เหลือบ ในคำว่า ตัวเหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน แมลงวันแม้ทั้งปวง เรียกว่าสัตว์ไต่ตอม เหตุไรแมลงวันแม้ทั้งปวง จึงเรียกว่าสัตว์ไต่ตอม สัตว์เหล่านั้น ย่อมบิน ตอม กัดกิน เหตุนั้น จึงเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม งูทั้งหลาย เรียกว่า สัตว์ เลื้อยคลาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัวเหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อย คลาน.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 591

[๙๓๔] คำว่า สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า ความว่า พวกโจร คนที่ทำกรรมชั่ว หรือคนที่เตรียมทำกรรมชั่ว เรียกว่า สัมผัส แต่มนุษย์ มนุษย์เหล่านั้น พึงถามปัญหาบ้าง พึงยกวาทะกะภิกษุบ้าง พึงด่า ค่อนว่า แช่ง เสียดสี เบียดเบียน ย่ำยี กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้า ไปฆ่า หรือทำความพยายามฆ่า ความกระทบกระทั่งแต่มนุษย์อย่างใด อย่างหนึ่ง ชื่อว่าสัมผัสแต่มนุษย์. คำว่า ภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า ความว่า ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง สัตว์ ๔ เท้าเหล่านั้น พึงย่ำยี กัดกิน เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้าไปฆ่า ทำความพยายามฆ่าภิกษุ ความกระทบกระทั่งแต่สัตว์ ๔ เท้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัมผัสแต่มนุษย์และภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วน สุดรอบ ไม่พึงกลัวภัย ๕ ประการ คือตัวเหลือบ สัตว์ ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่ สัตว์ ๔ เท้า.

[๙๓๕] ภิกษุไม่พึงหวาดเสียว แม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมากของคนที่ตั้งอยู่ใน ธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่นๆ.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 592

ว่าด้วยสหธรรมิก

[๙๓๖] คำว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก ของคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น นั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว ความว่า เว้นสหธรรมิกชน ๗ จำพวก (คือภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา) คนเหล่าใด เหล่าหนึ่งผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ เรียกว่า คนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น คนพวกนั้นถามปัญหา บ้าง พึงยกวาทะกะภิกษุบ้าง พึงด่า ค่อนว่า แช่ง เสียดสี เบียดเบียน ย่ำยี กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้าไปฆ่า ทำความพยายามฆ่า ภิกษุเห็นหรือ ได้ยินอารมณ์อันให้เกิดความขลาดเป็นอันมากของคนเหล่านั้นแล้ว ไม่ พึงหวั่นไหวสะทกสะท้าน ไม่พึงสะดุ้งดิ้นรนหวาดเสียว ครั่นคร้าม ไม่ พึงกลัว ไม่พึงถึงความสยดสยอง คือเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ครั่นคร้าม ไม่ หวาดเสียว ไม่หนีไป เป็นผู้ละความกลัว ความขลาดเสียแล้ว ปราศจาก ความเป็นผู้มีขนลุกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น เมื่อเห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก ของตนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว.

อันตราย ๒ อย่าง

[๙๓๗] คำว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล พึงย่ำยี อันตรายอื่น ความว่า อนึ่ง อันตรายแม้เหล่าอื่น อันภิกษุทั้งหลายผู้ตาม แสวงหากุศลพึงย่ำยี ครอบงำ ข่มขี่ กำจัด ขับไล่ มีอยู่ ชื่อว่าอันตราย ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คืออันตรายที่ปรากฏ ๑ อันตรายที่ปกปิด ๑ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 593

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ ชื่อว่า อันตราย. คำว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล ความว่า อันตราย ทั้งหลายอันผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพาน พึงย่ำยี ครอบงำ ข่มขี่ กำจัด ขับไล่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ผู้แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น แม้ เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก ของคนที่ตั้งอยู่ใน ธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตาม แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น.

[๙๓๘] ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระหายแล้ว พึง อดทนความหนาวและความร้อน ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส พึงทำความบากบั่น คือความเพียรให้มั่นไว้.

[๙๓๙] คำว่า ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทำแล้ว ความว่า ความกระทบคือโรค เรียกว่า ผัสสะคือโรค ภิกษุเป็นผู้อันผัสสะ คือโรคกระทบ ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ คือ เป็นผู้อันโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย ฯลฯ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและ สัตว์เลื้อยคลานกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำแล้ว ความอยากกิน

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 594

เรียกว่าความหิว ภิกษุเป็นผู้อันความหิวกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทบ แล้ว.

ความหนาวมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง

[๙๔๐] คำว่า ความหนาว ในคำว่า พึงอดทนความหนาวและ ความร้อน ความว่า ความหนาวย่อมมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ความหนาว ย่อมมีด้วยสามารถแห่งอาโปธาตุภายในกำเริบ ๑ ความหนาวย่อมมีด้วย สามารถแห่งฤดูภายนอก ๑. คำว่า ความร้อน ความว่า ความร้อนย่อมมี ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งเตโชธาตุภายใน กำเริบ ๑ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งฤดูภายนอก ๑. คำว่า พึง อดทนความหนาวและความร้อน ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้อดทนต่อความ หนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน พึงเป็นผู้มีปกติอดกลั้นต่อทางถ้อยคำที่เขา กล่าวชั่ว มาร้าย และทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นในสรีระที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สบาย ไม่ชอบใจ สามารถนำชีวิตไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงอดทน ความหนาวและความร้อน.

[๙๔๑] คำว่า ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุนั้นอัน ผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส ความว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้อันผัสสะคือโรค ความหิว ความหนาว และ ความร้อนกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว. คำว่า โดยอาการมากอย่าง

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 595

ความว่า กระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ โดยอาการมีชนิดเป็นอเนก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบเข้าแล้วโดย อาการมากอย่าง. คำว่า เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส ความว่า ย่อมไม่ทำโอกาส แก่วิญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขาร แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เปิด โอกาส อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่ทำโอกาสแก่กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เปิดโอกาส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่ เปิดโอกาส.

ว่าด้วยการทำความบากบั่น

[๙๔๒] คำว่า พึงทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้ ความว่า ความปรารถนาความเพียร ความก้าวหน้าไป ความบากบั่น ความดำเนิน ไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความหมั่น ความไม่ถอยหลัง ความ ออกแรง ความตั้งไว้ ความบากบั่นคือไม่ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความปกครองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ที่เป็นไปทางจิต เรียกว่า ความบากบั่นคือความเพียร ภิกษุพึง ทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้ คือ พึงเป็นผู้สมาทานมั่น มี สมาทานตั้งลงมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงทำความบากบั่นคือความ เพียรให้มั่นไว้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทบแล้ว พึง อดทนความหนาวและความร้อน ภิกษุนั้น อันผัสสะ

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 596

เหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิด โอกาส พึงทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้.

[๙๔๓] ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่ เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึง รู้ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียซึ่งความขุ่นใจด้วย มนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

[๙๔๔] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ในคำว่า ภิกษุไม่ พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละ อทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวัง ได้แต่ของที่เขาให้ พึงเป็นผู้มีจิตไม่เป็นขโมยเป็นจิตสะอาดอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย. คำว่า ไม่พึงพูดเท็จ ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท คือ พูดจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคงเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่ โลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูด เท็จ.

การแผ่เมตตา

[๙๔๕] ชื่อว่า เมตตา ในคำว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่ สะดุ้งและผู้มั่นคง คือ ความไมตรี กิริยาที่รัก ความเป็นผู้มีความรัก ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ความเป็นผู้เอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์ ความอนุเคราะห์ ความไม่พยาบาท ความไม่ปองร้าย ความไม่โกรธ

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 597

กุศลมูล สัตว์เหล่าใดยังละตัณหา อันทำให้สะดุ้งไม่ได้ และยังละความกลัว และความขลาดไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าผู้สะดุ้ง เพราะเหตุอะไร สัตว์ เหล่านั้นจึงเรียกว่าสะดุ้ง สัตว์เหล่านั้นย่อมสะดุ้งหวาดเสียว ครั้นคร้าม กลัว ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเรียกว่าผู้สะดุ้ง สัตว์ เหล่าใดละตัณหาอันทำให้สะดุ้งได้แล้ว และละความกลัวและความขลาด ได้แล้ว สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าผู้มั่นคง เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่า ผู้มั่นคง สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่ครั้นคร้าม ไม่กลัว ไม่ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเรียกว่าผู้มั่นคง. คำว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง ความว่า พึงถูกต้อง พึง แผ่เมตตา คือพึงเป็นผู้มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็น ใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและ ผู้มั่นคง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้ง และผู้มั่นคง.

คำว่าใจมีชื่อต่างๆ

[๙๔๖] คำว่า เมื่อใด ในคำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ ความว่า ในกาลใด. คำว่า ใจ คือ จิต ใจ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกันกับ ผัสสะเป็นต้นนั้น จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่ง วุ่น หวั่นไหว หมุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความ

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 598

ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง สุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. คำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ ความว่า ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว รู้วิเศษ รู้วิเศษเฉพาะ แทงตลอดความที่จิตขุ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ.

บรรเทาความขุ่นใจด้วยมนสิการ

[๙๔๗] ผู้ให้สัตว์ตาย ผู้มีกรรมดำ ผู้เป็นใหญ่ ผู้ให้สัตว์ถึงความ ตาย ผู้ไม่ให้สัตว์พ้นไป ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งผู้ประมาท ชื่อว่า ผู้มีกรรม ดำ ในคำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่าย แห่งมารผู้มีกรรมดำ. คำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่ เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ ความว่า พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายมาร เป็นบ่วงมาร เป็นเบ็ดมาร เป็นเหยื่อมาร เป็นวิสัยมาร เป็นเครื่องให้ เดือดร้อนของมาร เป็นอาหารมาร เป็นเครื่องผูกของมาร แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็น ฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ. อีกอย่างหนึ่ง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายมาร เป็นฝักฝ่ายอกุศล เป็นเครื่องให้เกิดทุกข์ เป็นสภาพมีวิบากเป็นทุกข์ เป็นเหตุให้เป็นไปในนรก เป็นเหตุให้เป็นไปในกำเนิดดิรัจฉาน เป็นเหตุ ให้เป็นไปในเปรตวิสัย แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึง

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 599

บรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่ เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่ เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

[๙๔๘] ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

ความโกรธและความดูหมิ่น

[๙๔๙] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ ความโกรธและความดูหมิ่น คือ ความอาฆาต ความมุ่งร้าย ฯลฯ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพราะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ชื่อว่า ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่น โดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่นๆ บ้าง. คำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ ความโกรธและความดูหมิ่น ความว่า ไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความ ดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโกรธ และความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธ และความดูหมิ่น.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 600

รากของความโกรธและความดูหมิ่น

[๙๕๐] รากแห่งความโกรธ ในคำว่า พึงขุดรากความโกรธและ ความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ เป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความโกรธ. รากแห่งความดูหมิ่นเป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความดูหมิ่น. คำว่า พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ ความว่า พึงขุด รื้อ ถอน ฉุด กระชาก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโกรธและความดูหมิ่นเสียดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงขุด รากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่.

ว่าด้วยที่รัก ๒ อย่าง

[๙๕๑] บทว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุ เมื่อปราบก็พึงปราบที่รัก และที่เกลียดชังเสียโดยแท้ เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ ศัพท์ที่ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับ บท. ชื่อว่าเป็นที่รัก ได้แก่ที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ สัตว์เป็น ที่รักเป็นไฉน สัตว์ในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาประโยชน์ เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส แก่บุคคลนั้น คือ เป็นมารดาบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง บุตร ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต (ผู้สืบสาย) สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าเป็น ที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อัน เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่รัก ชื่อว่าที่เกลียดชัง ได้แก่เป็น

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 601

ที่เกลียดชัง ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ สัตว์เป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน สัตว์ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ปลอดโปร่ง จากโยคกิเลส ปรารถนาจะปลงเสียจากชีวิต แก่บุคคลนั้น สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง. สังขารเป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง. คำว่า โดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองส่วน เป็น คำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวมิได้รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด. คำว่า โดยแท้นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบ ก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้ ความว่า ภิกษุเมื่อปราบก็พึง ปราบ เมื่อย่ำยีพึงย่ำยีซึ่งที่รักและที่เกลียดชัง ที่ยินดีและยินร้าย สุขและ ทุกข์ โสมนัสและโทมนัส อิฐารมณและอนิฐารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธ และความดูหมิ่น พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง ภิกษุเนื้อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

[๙๕๒] ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า มีปีติงาม พึงข่มอันตราย เหล่านั้น พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด พึง ปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน ๔ อย่าง.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 602

ว่าด้วยการทำปัญญาไว้เบื้องหน้าและมีปีติงาม

[๙๕๓] ชื่อว่า ปัญญา ในคำว่า ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า มีปีติงาม ได้แก่ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ฯลฯ อโมหะ ธรรมวิจยะ สัมมาทิฏฐิ. คำว่า ทำปัญญาไว้เบื้องหน้า ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ทำปัญญา ไว้เบื้องหน้าประพฤติ เป็นผู้มีปัญญา เป็นธงชัย มีปัญญาเป็นธงยอด มีปัญญาเป็นใหญ่ มีความเลือกเฟ้นมาก มีความเลือกเฟ้นทั่วมาก มีปัญญาเครื่องเห็นมาก มีความเสาะหามาก อยู่ด้วยความเป็นผู้ทำให้ แจ่มแจ้ง ประพฤติด้วยปัญญา มีปัญญามาก ตระหนักอยู่ด้วยปัญญา เอน ไปในปัญญา โอนไปในปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ทำปัญญาไว้ เบื้องหน้า.

อนึ่ง ภิกษุเมื่อเดินก็รู้ว่า เดิน เมื่อยืนก็รู้ว่า ยืน เมื่อนั่งก็รู้ว่า นั่ง หรือเมื่อนอนก็รู้ว่า นอน หรือว่ากายของเธอตั้งอยู่อย่างใดๆ ภิกษุนั้น ก็รู้กายนั้นอย่างนั้นๆ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ทำปัญญา ไว้เบื้องหน้า.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ทำความรู้สึกตัว ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 603

การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ทำปัญญาไว้เบื้องหน้า.

คำว่า มีปีติงาม ความว่า ปีติ ปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นด้วยความ สามารถแห่งพุทธานุสสติ ชื่อว่า ปีติงาม ปีติ ปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นด้วย สามารถธรรมานุสสติ ... สังฆานุสสติ ... สีลานุสสติ ... จาคานุสสติ ... เทวดานุสสติ ... อานาปานสติ ... มรณานุสสติ ... กายคตาสติ ... อุปสมานุสสติ ชื่อว่า ปีติงาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า มีปีติงาม.

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง

[๙๕๔] ชื่อว่า อันตราย ในคำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายปรากฏ อันตรายปกปิด ๑ ฯลฯ อันตรายเหล่านี้ ชื่อว่าอันตรายปรากฏ ฯลฯ อันตรายเหล่านี้ ชื่อว่าอันตราย ที่ปกปิด ฯลฯ เพราะอรรถว่า เป็นที่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย แม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย. คำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น ความว่า พึงข่ม ปราบปราม ครอบงำ กำจัด ย่ำยี ซึ่งอันตรายเหล่านั้น เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้นเสีย.

[๙๕๕] ชื่อว่า ความไม่ยินดี ในคำว่า พึงปราบความไม่ยินดี ในท่านอนอันสงัด คือ ความไม่ยินดี ความไม่ชอบใจ ความไม่ยินดียิ่ง ความไม่ยินดีเฉพาะ ความเบื่อ ความระอา. คำว่า ในที่นอนอันสงัด ความว่า พึงปราบ ข่ม ครอบงำ กำจัด ย่ำยี ซึ่งความไม่ยินดีใน

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 604

เสนาสนะอันสงัด หรือในธรรมทั้งหลายอันเป็นอธิกุศลอื่นๆ เพราฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด.

[๙๕๖] คำว่า พึงปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน ๔ อย่าง ความว่า พึงปราบ ข่ม ครอบงำ กำจัด ย่ำยี ซึ่งธรรมอันเป็นเหตุ แห่งความรำพัน ๔ อย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงปราบธรรมอันเป็น เหตุแห่งความรำพัน ๔ อย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสว่า

ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า มีปีติงาม พึงข่มอันตราย เหล่านั้น พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด พึง ปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน ๔ อย่าง.

[๙๕๗] เราจักฉันอะไร เราจักฉันที่ไหน วันนี้เรานอนลำบาก หนอ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน ภิกษุผู้เสขะ พึงบำบัด เสียซึ่งวิตกเหล่านี้อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน พึงเป็นผู้ ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป.

ว่าด้วยความวิตกอันเป็นที่ตั้งความรำพัน

[๙๕๘] คำว่า เราจักฉันอะไร ในคำว่า เราจักฉันอะไร เราจัก ฉันที่ไหน ความว่า เราจักฉันอะไร คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา หรือเนื้อ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักฉันอะไร. คำว่า เราจัก ฉันที่ไหน ความว่า เราจักฉันที่ไหน คือ ในสกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 605

สกุลแพศย์ หรือสกุลศูทร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักฉันอะไร เราจักฉันที่ไหน.

[๙๕๙] คำว่า วันนี้เรานอนลำบากหนอ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน ความว่า คืนนี้เรานอนลำบากบนแผ่นกระดาน บนเสื่อ บนท่อนหนัง บนเครื่องลาดด้วยหญ้า บนเครื่องลาดด้วยใบไม้ หรือบนเครื่องลาดด้วยฟาง คืนพรุ่งนี้เราจักนอนสบายที่ไหน คือที่เตียง ที่ตั้ง ที่ฟูก ที่หมอน ที่วิหาร ที่เรือนมีหลังคาแถบเดียว ที่ปราสาท ที่เรือนมีหลังคาโล้น หรือที่ถ้ำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วันนี้เรานอนลำบากหนอ พรุ่งนี้เราจักนอน ที่ไหน.

[๙๖๐] คำว่า ซึ่งวิตกเหล่านี้อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน ความ ว่า ซึ่งวิตกอันปฏิสังวยุตด้วยบิณฑบาต ๒ อย่าง ซึ่งวิตกอันปฏิสังยุตด้วย เสนาสนะ ๒ อย่าง อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน คือ เป็นฐานแห่งความ ปรับทุกข์ เป็นมูลฐานแห่งความรำพัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งวิตก เหล่านี้อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน.

อธิบายคำว่าเสขะและคำว่าศึกษา

[๙๖๑] ชื่อว่า เสขะ ในคำว่า ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย พึง เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป ความว่า เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า เสขะ เพราะศึกษาจึงชื่อว่า เสขะ ศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษา อธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุคำนึงถึงสิกขาสมมตินี้ ก็ชื่อว่า ศึกษา รู้ก็ชื่อว่า ศึกษา เห็นก็ชื่อว่า ศึกษา พิจารณาก็ชื่อว่า ศึกษา ตั้งจิตก็ชื่อว่า ศึกษา

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 606

น้อมใจไปด้วยศรัทธาก็ชื่อว่า ศึกษา ประคองความเพียรก็ชื่อว่า ศึกษา เข้าไปตั้งสติก็ชื่อว่า ศึกษา ตั้งจิตไว้ก็ชื่อว่า ศึกษา รู้ชัดด้วยปัญญาก็ชื่อว่า ศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งก็ชื่อว่า ศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ก็ชื่อว่า ศึกษา ละธรรมที่ควรละก็ชื่อว่า ศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ ควรทำให้แจ้งก็ชื่อว่า ศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญก็ชื่อว่า ศึกษา คือ ย่อม ประพฤติเอื้อเฟื้อ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี ย่อมสมาทานศึกษา เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เสขะ ภิกษุผู้เสขะศึกษาแม้อธิศีล แม้อธิจิต แม้อธิปัญญา เพื่อบำบัด กำจัด ละเว้น สงบ สละคืน ระงับเสีย ภิกษุผู้เสขะเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา ฯลฯ เมื่อ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา คือพึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้ เสขะพึงบำบัดเสีย.

ว่าด้วยการเที่ยวไปโดยไม่มีกังวล

[๙๖๒] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป ความว่า ภิกษุ เป็นผู้มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวลสกุล ด้วยความกังวลคณะ ด้วยความกังวลอาวาส ด้วยความกังวลจีวร ด้วยความกังวลบิณฑบาต ด้วยความกังวลเสนาสนะ ด้วยความกังวลคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุเป็นผู้มีกังวลท่องเที่ยวไป อย่างนี้.

ภิกษุเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวลสกุล ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวล

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 607

คณะ อาวาส จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุ เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างนี้.

สมจริงดังภาษิตว่า

ภิกษุทั้งหลายไปมคธรัฐ ไปโกศลรัฐ มีอยู่ ภิกษุที่ ไปมคธรัฐบางพวก เที่ยวไปต่างหมู่ แต่วัชชีภูมิ เป็นผู้ ไม่มีกังวลยู่ ความเที่ยวไปให้ประโยชน์สำเร็จ ความ เที่ยวไปดีให้ประโยชน์สำเร็จ ความเป็นผู้ไม่กังวลอยู่ ให้ ประโยชน์สำเร็จทุกเมื่อ การถามถึงประโยชน์เป็นกรรม ของผู้ขยัน นั่นเป็นความเสมอกันแห่งความไม่กังวล ดังนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย พึงเป็นผู้ไม่มีกังวล ท่องเที่ยวไป เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เราจักฉันอะไร เราจักฉันที่ไหน วันนี้เรานอนลำบาก หนอ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย ซึ่งวิตกเหล่านี้ อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน พึงเป็นผู้ ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป.

[๙๖๓] ภิกษุนั้นในธรรมวินัย ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มใน กาล พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ภิกษุนั้นสำรวมใน ปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน แม้ถูกเขาด่า ก็ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ.

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 608

ว่าด้วยได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มโดยธรรม

[๙๖๔] ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม ในกาล คือข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ. ชื่อว่า เครื่องนุ่งห่ม ได้แก่จีวร ๖ ชนิด คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าด้ายเจือไหม. คำว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาล ความว่า ภิกษุนั้นได้จีวรและบิณฑบาต มิใช่ได้ด้วยการหลอกลวง มิใช่ได้ด้วย การพูดเลียบเคียง มิใช่ได้ด้วยการบอกใบ้ มิใช่ได้ด้วยความกำจัดคุณเขา มิใช่ได้ด้วยการแสวงหาลาภด้วยลาภ มิใช่ได้ด้วยการให้ฟืน มิใช่ได้ด้วย การให้ไม้ไผ่ มิใช่ได้ด้วยการให้ใบไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้ดอกไม้ มิใช่ ได้ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้เครื่องอาบน้ำ มิใช่ได้ด้วยการ ให้จุรณ มิใช่ได้ด้วยการให้ดินเหนียว มิใช่ได้ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่ ได้ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก มิใช่ได้ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารักตน มิใช่ได้ด้วย ถ้อยคำเหลวไหลดังแกงถั่ว มิใช่ได้ด้วยกิริยาประจบเขา มิใช่ได้ด้วยความ เป็นผู้นั่งบนตั่ง (ด้วยความตีสนิทเขา) มิใช่ได้ด้วยวิชาดูพื้นที่ มิใช่ได้ด้วย ติรัจฉานวิชา มิใช่ได้ด้วยอังควิชา (รู้จักลักษณะดีร้ายของหญิงชาย) มิใช่ ได้ด้วยนักขัตวิชา (รู้จักฤกษ์ยาม) มิใช่ได้ด้วยการเดินเป็นทูต มิใช่ได้ ด้วยความเป็นผู้รับใช้ มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้เดินสาสน์ มิใช่ได้ด้วย เวชกรรม มิใช่ได้ด้วยนวกรรม มิใช่ได้ด้วยการให้ก้อนข้าวและก้อนข้าว ตอบแทน มิใช่ได้ด้วยการให้และการเพิ่มให้ ได้รับได้เฉพาะ โดยธรรม สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาล.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 609

ความรู้จักประมาณ ๒ อย่าง

[๙๖๕] คำว่า ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ ในคำว่า ภิกษุนั้นใน ธรรมวินัยนี้ ... พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ความว่า รู้จักประมาณโดย เหตุ ๒ อย่าง คือรู้จักประมาณโดยการรับ ๑ รู้จักประมาณโดยการ บริโภค ๑.

ภิกษุรู้จักประมาณโดยการรับอย่างไร เมื่อทายกถวายสิ่งของแม้ น้อย ภิกษุก็รับเพื่อความเอ็นดูแก่สกุล เพื่อความรักษาสกุล เพื่อ อนุเคราะห์แก่สกุล เมื่อทายกถวายสิ่งของแม้มาก ภิกษุรับจีวรพอบริหาร กาย รับบิณฑบาตพอบริหารท้อง ภิกษุรู้จักประมาณโดยการรับ อย่างนี้.

ภิกษุรู้จักประมาณโดยการบริโภคอย่างไร ภิกษุพิจารณาโดย อุบายอันแยบคายแล้วจึงใช้จีวร เพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความ ร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน เพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ เป็นกำหนดเท่านั้น ภิกษุ พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้ว จึงฉันบิณฑบาต ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉัน เพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพื่อความดำรงกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อเว้นความลำบากแห่งกายนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่ พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปสะดวก ความไม่มีโทษ ความผาสุกจักมีแก่เรา ดังนี้ เป็นกำหนดเท่านั้น ภิกษุพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย แล้วจึง เสพเสนาสนะ เพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัด สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน เพื่อความบรรเทา

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 610

อันตรายอันเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีในความหลีกเร้น เป็นกำหนด เท่านั้น ภิกษุพิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงใช้คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เพื่อบำบัดทุกขเวทนา อันเกิดเพราะธาตุกำเริบ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความลำบากเป็นอย่างยิ่งเป็นกำหนดเท่านั้น ภิกษุรู้จักประมาณโดย การบริโภคอย่างนี้.

คำว่า ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ คือ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด ซึ่งประมาณ โดยเหตุ ๒ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ.

[๙๖๖] คำว่า ในธรรมวินัยนี้ ... เพื่อสันโดษ ความว่า ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร และกล่าวคุณแห่งความสันโดษด้วย จีวรตามมีตามได้ ทั้งไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควรเพราะเหตุแห่ง จีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่ เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ ในจีวรสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่ โบราณ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และ กล่าวคุณแห่งความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ถึงความ แสวงหาผิดอันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่ สะดุ้ง และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 611

สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ ในบิณฑบาตสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่โบราณ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และกล่าว คุณแห่งความสันโดษด้วยเสนาสนะ ทั้งไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควร เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่สะดุ้ง และได้เสนาสนะแล้ว ก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมี ตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ ในเสนาสนะสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ดำรงอยู่ในวงศ์แห่งพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่โบราณ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี ตามได้ และกล่าวคุณแห่งความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี ตามได้ ทั้งไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่สะดุ้ง ได้คิลานปัจจัย เภสัชบริขารแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วย คิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจ- คร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ ในคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสันโดษนั้น ภิกษุ นี้เรียกว่า เป็นผู้ดำรงอยู่ในวงศ์แห่งพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่โบราณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ... พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ.

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 612

ว่าด้วยการสำรวม

[๙๖๗] คำว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุ นั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน ความว่า สำรวม คุ้มครอง รักษา ระวัง ในจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย เภสัชบริขารแม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัย เหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นสำรวม คุ้มครอง รักษา ระวังในอายตนะ ทั้งหลาย แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัย เหล่านั้น. คำว่า เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน ความว่า เป็นผู้สำรวม ระวัง ระวังเฉพาะ คุ้มครอง ครอบครอง รักษา สังวร เที่ยวไปในบ้าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวม เที่ยวไปในบ้าน.

ว่าด้วยการไม่ด่าตอบคนที่ด่า

[๙๖๘] คำว่า แม้ถูกเขาด่าก็ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ ความว่า ถูกเขาด่า แช่ง ดูหมิ่น เสียดสี ติเตียน ค่อนว่าเข้าแล้ว ไม่พึงกล่าว ตอบผู้ที่กล่าว ไม่พึงด่าตอบผู้ที่ด่า ไม่พึงแช่งตอบผู้ที่แช่ง ไม่พึงหมายมั่น ตอบผู้ที่หมายมั่นด้วยถ้อยคำหยาบ กระด้าง ไม่ควรทำความทะเลาะ ไม่ ควรทำความหมายมั่น ไม่ควรทำความแก่งแย่ง ไม่ควรทำความวิวาท ไม่ควรทำความทุ่มเถียง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงเป็นผู้งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก ปล่อยเสีย ไม่เกี่ยวข้องซึ่ง ความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาทและความทุ่มเถียง

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 613

พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ถูกเขาด่าก็ ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม ในกาล พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ภิกษุนั้นสำรวมใน ปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน แม้ถูกเขาด่า ก็ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ.

[๙๖๙] ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก พึงเป็น ผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น และพึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ.

ว่าด้วยการสำรวมจักษุ

[๙๗๐] พึงทราบอธิบาย ในคำว่า พึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึง เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ดังต่อไปนี้.

ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ โลเลเพราะจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะจักษุ คิดว่า เราพึง เห็นรูปที่ยังไม่ได้เห็น พึงผ่านเลยรูปที่ได้เห็นแล้ว ดังนี้ จึงเป็นผู้ประกอบ เนืองๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน เพื่อ เห็นรูป จากอารามนี้ ไปยังอารามโน้น จากสวนนี้ไปยังสวนโน้น จาก บ้านนี้ไปยังบ้านโน้น จากนิคมนี้ไปยังนิคมโน้น จากนครนี้ไปยังนคร โน้น จากแคว้นนี้ไปยังแคว้นโน้น จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น ภิกษุ เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 614

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ไม่สำรวม เดินไป เดินแลดูกองพลช้าง แลดูกองพลม้า แลดูกองพลรถ แลดู กองพลเดินเท้า แลดูพวกสตรี แลดูพวกบุรุษ แลดูพวกกุมาร แลดู พวกกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุขเรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้.

อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์จำพวกหนึ่ง ฉันโภชนะ ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็น ปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคมมหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย เพลงปรบมือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน ไต่ราว การเล่นหน้าศพ ชนช้าง แข็งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การบ การ ตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปแม้ อย่างนี้.

ภิกษุเป็นผู้ไม่ทอดจักษุอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ โลเลเพราะจักษุ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะจักษุ ไม่คิดว่า เราพึงเห็นรูปที่ยังไม่ได้เห็น พึงผ่านเลยรูปที่ได้เห็นแล้วดังนี้ เป็นผู้ไม่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน เพื่อเห็นรูป จากอารามนี้ไปยังอารามโน้น ... จากชนบทนี้ไปยังชนบท

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 615

โน้น ภิกษุไม่เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ ละแวกบ้าน เดินไปตามทาง ย่อมสำรวมเดินไป ไม่เดินแลดูกอง พลช้าง ฯลฯ ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุเป็นผู้ไม่ทอดจักษุไปแม้ อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย จักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ- พยัญชนะ ฯลฯ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุไม่เป็นผู้ทอด จักษุไปแม้อย่างนี้.

อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์จำพวกหนึ่ง ฉันโภชนะ ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ฯลฯ กองทัพ ภิกษุเว้นขาดจากดูการเล่นอัน เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ ภิกษุไม่เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ.

ว่าด้วยไม่โลเลเพราะเท้า

[๙๗๑] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ดังต่อไปนี้.

ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ เป็นผู้ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน จาก อารามนี้ไปยังอารามโน้น ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้ โลเลเพราะเท้า ในภายในแห่งสังฆาราม ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่ง ประโยชน์ ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่งการให้ทำ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิต

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 616

ไม่สงบ จากบริเวณนี้ไปยังบริเวณโน้น ฯลฯ พูดเรื่องความเจริญและ ความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.

คำว่า ไม่เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ พึงเป็น ผู้งดเว้น เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งความ เป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พึงเป็นผู้ชอบ ในความสงัด ยินดีในความสงัด ขวนขวายในความสงบจิต ณ ภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือน ว่างเปล่า เป็นผู้มีฌาน ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี อารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า.

ว่าด้วยผู้ขวนขวายในฌาน

[๙๗๒] คำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ในคำว่า พึงเป็นผู้ ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือเป็นผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบโดยเอื้อเฟื้อ มาประกอบด้วยดี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งคติยฌาน ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 617

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งปฐมฌานที่เกิด ขึ้นแล้ว ทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจตุตถฌาน ที่เกิดขึ้นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน.

คำว่า เป็นผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการ นั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึงสัญญา ในการลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้ บริสุทธิ์ จากกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอด ปัจฉิมยามแห่งราตรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่นอยู่มาก.

ว่าด้วยอุเบกขา

[๙๗๓] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความ ที่จิตสงบ ความที่จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน. ชื่อว่า อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความหยุด ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่มีใจกวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 618

มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้กวัดแกว่งได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น.

ว่าด้วยความตรึก ๙ อย่าง

[๙๗๔] ชื่อว่า ความตรึก ในคำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก ละความรำคาญ ได้แก่ความ ตรึก ๙ อย่าง คือความตรึกในกาม ความตรึกในความพยาบาท ความ ตรึกในความเบียดเบียน ความตรึกถึงญาติ ความตรึกถึงชนบท ความ ตรึกถึงเทพเจ้า ความตรึกอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ความ ตรึกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ความตรึกอัน ปฏิสังยุตด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก ๙ อย่าง. กามสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งกามวิตก พยาบาทสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่ง พยาบาทวิตก วิหิงสาสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งวิหญิงสาวิตก.

อีกอย่างหนึ่ง อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก คือความดำริทั้งหลาย ชื่อว่า ความรำคาญ คือความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญ มือและเท้าบ้าง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งควรว่า ไม่ควร ความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งมีโทษว่า ไม่มีเทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือด ร้อนจิต ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ เรียกว่า ความรำคาญ. อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ ประการ คือเพราะกระทำและไม่กระทำ.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 619

ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ กระทำ และเพราะไม่กระทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโนสุจริต เราทำปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติปาต เราทำอทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เรา ทำกาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่ ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ได้ทำ อนภิชฌา เราทำพยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เรา ไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจย่อม เกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญ สัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรค มีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 620

เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ. คำว่า พึงเข้ารูปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่ อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ ความว่า ภิกษุพึงเข้าไปตัด ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก พึงเป็น ผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น และพึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ.

[๙๗๕] ภิกษุลูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่ พึงคิดเพื่อธรรม คือการว่ากล่าวซึ่งชน.

ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน

[๙๗๖] คำว่า ถูกตักเตือน ในคำว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ ความว่า พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ พระเถระ ปูนอุปัชฌายะ พระเถระปูนอาจารย์ มิตรผู้เคยเห็นกัน ผู้ที่เคยคบกันมา หรือสหาย ตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุ กรรมนี้ไม่ควรแก่ท่าน กรรมนี้ยัง ไม่ถึงแก่ท่าน กรรมนี้ไม่เหมาะแก่ท่าน กรรมนี้ไม่งดงามแก่ท่าน ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 621

ผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น เหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นสาวเป็นหนุ่ม กำลังเจริญ ชอบแต่งตัว อาบน้ำ ดำเกล้าแล้ว ได้พวงมาลัยดอกบัวก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี พวงมาลัย ดอกลำดวนก็ดี รับด้วยมือทั้งสองแล้ว เอาวางไว้บนศีรษะ ซึ่งเป็นอวัยวะ สูงสุด พึงยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ฉันใด ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้ง สติยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญา ว่าเป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบหาบุคคล เช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณ อันประเสริฐ ไม่มีโทษลามกเลย บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ บุคคล นั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น เป็นที่ชังของพวก อสัตบุรุษ ดังนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ.

[๙๗๗] ชื่อว่า สพรหมจารี ในคำว่า พึงทำลายความเป็นผู้ กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย คือ บุคคลที่มีกรรมเป็นอันเดียวกัน มี อุเทศเป็นอันเดียวกัน มีสิกขาเสมอกัน. คำว่า พึงทำลายความเป็นผู้ กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย ความว่า พึงทำลายความเป็นผู้มีจิตอัน

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 622

ความโกรธกระทบเข้าแล้ว ความเป็นผู้มีจิตกระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย คือพึงทำลายความกระด้างแห่งจิตทั้ง ๕ พึงทำลายความกระด้างแห่งจิต ทั้ง ๓ พึงทุบ ทำลาย กำจัด ซึ่งความกระด้างเพราะราคะ ความกระด้าง เพราะโทสะ ความกระด้างเพราะโมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงทำลาย ความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย.

ว่าด้วยขอบเขตการเปล่งวาจา ๒ อย่าง

[๙๗๘] คำว่า พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกิน ขอบเขต ความว่า พึงเปล่งวาจาอันเกิดขึ้นแต่ญาณ คือ พึงเปล่ง เปล่งออก เปล่งออกดี ซึ่งวาจาอันประกอบด้วยอรรถ อันประกอบด้วย ธรรม ซึ่งเป็นวาจาประกอบด้วยประโยชน์ มีที่อ้างอิง มีที่สุด ตามกาล อันควร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาที่อันเป็นกุศล. ชื่อว่า ขอบ เขต ในคำว่า ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ได้แก่ ขอบเขต ๒ อย่าง คือขอบเขตกาล ๑ ขอบเขตศีล ๑.

ขอบเขตกาลเป็นไฉน ภิกษุไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาล ไม่พึง กล่าววาจาล่วงเกินเวลา ไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาลและเวลา ไม่พึง กล่าววาจาที่ยังไม่ถึงกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงเวลา ไม่พึงกล่าววาจา ที่ยังไม่ถึงกาลและเวลา.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ก็ผู้ใด เมื่อยังไม่ถึงกาลอันควร ย่อมกล่าววาจาเกิน เวลา ผู้นั้นย่อมถูกฆ่านอนอยู่ เหมือนลูกของนางนก

ดุเหว่าที่นางกาเลี้ยงไว้ฉะนั้น ดังนี้.

นี้ชื่อว่า ขอบเขตกาล.

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 623

ขอบเขตศีลเป็นไฉน บุคคลผู้กำหนัดไม่ควรกล่าววาจา ผู้โกรธ เคืองไม่ควรกล่าววาจา ผู้หลงไม่ควรกล่าววาจา แลไม่ควรกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งมุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ นี้ชื่อว่า ขอบเขตศีล. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่ พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต.

ไม่ควรคิดที่จะว่าเขาด้วยศีลวิบัติ

[๙๗๙] ชื่อว่า ชน ในคำว่า ไม่พึงคิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าว ซึ่งชน คือ บุคคลที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ ภิกษุไม่พึงคิด คือ ไม่พึงยังความคิดให้เกิดขึ้น ไม่พึงยังความดำริแห่งจิตให้เกิดขึ้น ไม่พึง ยังมนสิการให้เกิดขึ้นเพื่อการกล่าว การค่อนว่า การนินทา การติเตียน การไม่สรรเสริญ การไม่พรรณนาคุณแห่งชน ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ หรือด้วยอาชีววิบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง คิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าวซึ่งชน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่ พึงคิดเพื่อธรรม คือการกล่าวว่าซึ่งชน.

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 624

[๙๘๐] ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อกำจัด ราคะเหล่าใด ราคะเหล่านั้น เป็นธุลี ๕ ประการในโลก พึงปราบปราม ราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และ ผัสสะ.

ว่าด้วยธุลี ๕ ประการ

[๙๘๑] บทว่า อถ ในคำว่า ลำดับต่อไป ... ราคะเหล่านั้น เป็น ธุลี ๕ ประการในโลก เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ เป็นศัพท์ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับบท. คำว่า ธุลี ๕ ประการ คือราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ. อนึ่ง ได้แก่ราคะดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า

ราคะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี. คำว่า ธุลี เป็นชื่อของราคะ บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลี นี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โทสะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี. คำว่า ธุลี เป็นชื่อของโทสะ บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลี. นี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โมหะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี. คำว่า ธุลี เป็นชื่อของโมหะ. บัณฑิตทั้งหลายนั้น ละ ธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก ธุลี.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 625

คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลำดับต่อไป ... ราคะ เหล่านั้นเป็นธุลี ๕ ประการในโลก.

[๙๘๒] คำว่า ราคะเหล่าใด ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด ความว่า ราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ. คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ สติความระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้ถึง เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ไปใกล้ ไปใกล้พร้อม ประกอบด้วยสตินี้ ภิกษุนั้นเรียกว่า มีสติ.

สิกขา ในคำว่า พึงศึกษา มี ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า อธิปัญญา สิกขา.

คำว่า พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด ความว่า บุคคล ผู้มีสติ พึงศึกษาแม้อธิศีล ศึกษาแม้อธิจิต ศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อ กำจัด เพื่อกำจัดเฉพาะ เพื่อละ เพื่อสงบ เพื่อสละคืน เพื่อระงับ ซึ่ง ราคะเหล่าใด คือ ราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ นึกถึงอยู่ ชื่อว่า พึงศึกษาสิกขา ๓ นี้ รู้ก็ชื่อว่าพึง ศึกษา ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็ชื่อว่าพึงศึกษา พึง ประพฤติเอื้อเฟื้อ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทาน ประพฤติไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 626

[๙๘๓] คำว่า พึงปราบปรามราคะเหล่านั้น คือ ราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ความว่า พึงปราบ ปราบปราม ครอบงำ ครอบงำเฉพาะ กำจัด ย่ำยี ซึ่งราคะในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏ- ฐัพพะทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึ่งปราบปรามราคะเหล่านั้น คือ ราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะ เหล่าใด ราคะเหล่านั้นเป็นธุลี ๕ ประการในโลก ภิกษุ พึงปราบปรามราคะเหล่านั้น คือราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ.

[๙๘๔] ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พึงกำจัดฉันทะ ในธรรมเหล่านั้น ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรม โดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึง กำจัดความมืดเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้.

[๙๘๕] คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า พึงกำจัดฉันทะในธรรม เหล่านั้น ความว่า ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ. ชื่อว่าฉันทะ คือความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความ ปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลง ในกาม ความติดใจในกาม กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ในกามทั้งหลาย. คำว่า พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น ความว่า พึงกำจัด กำจัดเฉพาะ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 627

ความไม่มี ซึ่งฉันทะในธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัด ฉันทะในธรรมเหล่านั้น.

[๙๘๖] ชื่อว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษ ดีแล้ว คือภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุผู้เสขะ. คำว่า มีสติ ความว่า ความระลึก ความระลึกถึง ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง ฯลฯ ประกอบด้วยสตินี้ ภิกษุนั้น เรียกว่ามีสติ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ. คำว่า เป็นผู้มีจิต พ้นวิเศษดีแล้ว ความว่า จิตของภิกษุผู้เข้าปฐมฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากนิวรณ์ทั้งหลาย. จิตของภิกษุผู้เข้าทุติยฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากวิตกและวิจาร. จิตของภิกษุผู้เข้าตติยฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากปีติ. จิตของภิกษุผู้เข้าจตุตถฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากสุขและทุกข์. จิตของภิกษุผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา. จิตของภิกษุผู้เข้าวิญญานัญจายตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษ- ดีแล้วจากอากาสานัญจายตนสัญญา. จิตของภิกษุผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากวิญญาณัยจายตนสัญญา. จิตของภิกษุผู้ เข้าเนวสัญญานาสัญญาตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากอากิญจัญญจายตนสัญญา. จิตของพระโสดาบัน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้ว จากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ จากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับวิจิกิจฉาเป็นต้นนั้น. จิตของพระสกทาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับกามราคานุสัย

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 628

เป็นต้นนั้น. จิตของพระอนาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วน ละเอียด และจากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับกามราคสังโยชน์ เป็นต้นนั้น. จิตของพระอรหันต์ พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธจัจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และ จากสรรพนิมิตภายนอก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิต พ้นวิเศษดีแล้ว.

ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา

[๙๘๗] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณา ธรรมโดยชอบตามกาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตใน กาลอื่น ย่อมให้จิตรื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยตามกาล โยคีผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน ความข่มจิตควรมีใน กาลไหน กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน และ กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็น ที่วางเฉยแห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร เมื่อจิตของโยคี บุคคลย่อหย่อน เป็นกาลที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของ

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 629

โยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคีบุคคลพึงยัง จิตที่ถึงความแช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาล ใด กาลนั้นเป็นกาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน อุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็นธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีใน กาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉยไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่น แล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาดใน กาล พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น ... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณา ธรรมโดยชอบ ความว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.

[๙๘๘] คำว่า มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า เป็นผู้มีจิต เป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดังนี้ ความว่า เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ กวัดแกว่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า ภิกษุนั้นฟังคำจัดความมืด ความว่า พึงขจัด กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดคือราคะ ความมืดคือโทสะ ความมืดคือโมหะ ความมืดคือมานะ ความมืดคือทิฏฐิ ความมืดคือกิเลส

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 630

ความมืดคือทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีฌาน ดับ ปัญญา เป็นฝักฝ่ายความลำบาก ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำว่า ภควา เป็นคำเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลาย ทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรง แจกแจง ทรงจำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุด แห่งภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันทรงอบรมแล้ว มีศีลอัน อบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ และป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชน ผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออก เร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 631

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้ เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีใน อรหัตตผลในลำดับแห่งอรหัตตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการ ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุด ขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะใน ธรรมเหล่านั้น ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดย ชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัด ความมืด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ ฉะนี้แล.

จบสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

สุตตนิทเทส ๑๖ นิทเทสในอัฏฐกวรรคจบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 632

อรรถกถาสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖ มีคำเริ่มต้นว่า น เม ทิฏฺโ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อิโต ปุพฺเพ ก่อนแต่นี้ คือ ก่อนแต่พระศาสดาเสด็จหยั่งลงที่สังกัสสนครนี้. บทว่า วคฺคุวโท คือ มีกระแสเสียง อันไพเราะ. บทว่า ตุสิตา คณิมาคโต พระศาสดาเสด็จจากดุสิตมาสู่ ความเป็นคณาจารย์ คือเสด็จมาจากดุสิต เพราะเคลื่อนจากดุสิตมาสู่ครรภ์ พระมารดา. ชื่อว่า คณี เพราะเป็นคณาจารย์ หรือว่าเสด็จมาจากเทวโลก ชื่อว่า ดุสิต. เพราะเป็นที่ยินดี แล้วมาเป็นคณาจารย์. หรือว่าเสด็จมาเป็น คณาจารย์ของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้ยินดีแล้ว.

บทว่า อิมินา จกฺขุนา ด้วยจักษุนี้ คือ ด้วยมังสจักษุตามปกติอัน เนื่องอยู่ในอัตภาพนี้. บทว่า อิมินา อตฺตภาเวน คือ ด้วยอัตภาพครั้ง สุดท้ายนี้. บทว่า ตาวตึสภวเน คือ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. บทว่า ปาริจฺฉตฺตกมูเล ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ คือภายใต้ไม้ทองหลาง. บทว่า ปณฺฑุกมฺพลสิลายํ ปัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ คือหลังแผ่นหินเช่นกับผ้า กัมพลสีแดง. บทว่า วสฺสํ วุฏฺโ คือ ประทับจำพรรษา. บทว่า เทวคณปริวุโต อันหมู่เทวดาห้อมล้อมแล้ว. บทว่า โอติณฺโณ คือ เสด็จลงแล้ว. บทว่า อิมํ ทสฺสนํ ปุพฺเพ คือ เว้นการเห็นครั้งนี้ ไม่ เคยเห็นมาก่อนเลย. บทว่า น ทิฏฺโ คือ ไม่เคยเห็นในกาลอื่น. บทว่า ขตฺติยสฺส วา คือ ไม่เคยได้ยินต่อกษัตริย์ตรัสบอก. แม้ในพราหมณ์ เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 633

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า มธุรวโท มีพระกระแสเสียงอัน เสนาะดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า มีพระกระแสเสียงอันเสนาะ เพราะพระศาสดาตรัสไพเราะ สมบูรณ์ด้วยพยัญชนะ. ชื่อว่า มีกระแสเสียงเป็นที่ตั้งแห่งความรัก เพราะ พระองค์ตรัสชวนให้เกิดความรัก ควรแก่ความรัก. ชื่อว่า มีพระกระแส เสียงดูดดื่มหทัย เพราะพระองค์ตรัสดูดดื่มหทัยซึ้งเข้าไปในดวงจิต ชื่อว่า มีพระกระแสเสียงเพราะดุจนกการเวก เพราะพระองค์มีพระกระแสเสียง ไพเราะดุจนกการเวก. บทว่า วิสฺสฏฺโ จ เป็นเสียงไม่ขัดข้อง คือ ไม่แหบเครือ ไม่ติดขัด. บทว่า วิญฺเยฺโย จ เป็นเสียงที่ผู้ฟังรู้ ได้ง่าย คือชัดเจน. บทว่า มญฺชุ จ เป็นเสียงไพเราะ คืออ่อนหวาน. บทว่า สวนีโย จ เป็นเสียงน่าฟังคือเสนาะ. บทว่า พินฺทุ จ คือ เป็น เสียงกลมกล่อม. บทว่า อวิสารี จ เป็นเสียงไม่แปร่ง คือไม่พร่า. บทว่า คมฺภีโร จ เป็นเสียงลึก คือซึ้ง. บทว่า นินฺนาทิ จ เป็นเสียงก้อง คือมีกังวาน. บทว่า อสฺส คือ ของพระศาสดาพระองค์นั้น. บทว่า พหิทฺธา ปริสาย คือ ภายนอกบริษัท. บทว่า น นิจฺฉรติ คือ ไม่ออกไป. เพราะอะไร. เพราะพระผู้มีพระสุรเสียงเสนาะเห็นปานนี้ จงอย่าหายไปโดยไม่มีเหตุผล. บทว่า พฺรหฺมสโร มีพระสุรเสียงเหมือน พรหม คือชนเหล่าอื่นมีเสียงขาดไปบ้าง มีเสียงแตกไปบ้าง มีเสียงเหมือน กาบ้าง. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ มีพระสุรเสียงเช่นกับเสียงของ มหาพรหม. เพราะเสียงของมหาพรหมแจ่มใส เพราะไม่แหบเครือด้วยดี และเสมหะ. แม้กรรมที่พระองค์ทรงกระทำไว้ ก็ทำให้ที่ตั้งของเสียง บริสุทธิ์. เสียงตั้งขึ้นตั้งแต่พระนาภี เพราะเป็นที่ตั้งบริสุทธิ์จึงแจ่มใส

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 634

ตั้งขึ้นประกอบด้วยองค์ ๘ ชื่อว่า มีพระกระแสเสียงดุจเสียงนกการเวก เพราะตรัสดุจเสียงนกการเวก. อธิบายว่า มีพระสุรเสียงไพเราะเหมือน เสียงร้องของนกการเวก.

บทว่า ตาเรติ ให้ข้าม คือให้พ้นที่อันไม่ปลอดภัย. บทว่า อุตฺตาเรติ ข้ามขึ้น คือข้ามให้ถึงพื้นที่อันปลอดภัย. บทว่า นิตฺตาเรติ ข้ามออก คือข้ามให้เลยที่อัน ไม่ปลอดภัย. บทว่า ปตฺตาเรติ ข้ามพ้น คือกำหนดข้าม. อธิบายว่า ข้ามเหมือนเอามือจับ. การข้ามการข้ามขึ้น เป็นต้นทั้งหมดนี้ เป็นที่ตั้งในที่อันปลอดภัยนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ให้ถึงพื้นที่อันเป็นที่ปลอดภัย. บทว่า สตฺเต ได้แก่ เวไนยสัตว์. ความกันดารคือชาตินั่นแล ชื่อว่า ชาติกันดาร เพราะรกชัฏมาก เพราะไม่มีประโยชน์มาก และเพราะข้ามไปได้ยาก. ซึ่ง ชาติกันดารนั้น. บทว่า คณสฺส สุสฺสูสติ คือ คณะย่อมตั้งใจฟังพระองค์. บทว่า โสตํ โอทหติ เงี่ยหูฟัง คือเงี่ยหูประสงค์จะฟัง. บทว่า อญฺาจิตฺตํ อุปฏฺเปติ คือ เข้าไปตั้งใจเพื่อประสงค์จะรู้.

บทว่า คณํ อกุสลา วุฏฺาเปตฺวา พระองค์ยังคณะให้ออกจาก อกุศล คือยังหมู่ชนให้ออกจากอกุศล คือความไม่ฉลาด. บทว่า กุสเล ปติฏฺาเปติ คือ ให้ตั้งอยู่ในกุศลอันเป็นความฉลาด. บทว่า สงฺฆี ชื่อว่า สังฆี เพราะมีหมู่โดยเป็นชุมนุมใหญ่. ชื่อว่า คณี เพราะมีคณะโดยมี บริษัท. ชื่อว่า คณาจริโย เพราะเป็นอาจารย์ของคณะ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สอง ต่อไป.

บทว่า สเทวกสฺส โลกสฺส ยถา ทิสฺสติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมปรากฏแม้แก่มนุษย์ทั้งหลาย ดุจปรากฏแก่โลกพร้อมทั้ง

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 635

เทวโลก. หรือปรากฏโดยแท้จริง โดยไม่วิปริต ดุจปรากฏแก่โลกพร้อม ด้วยเทวโลก. บทว่า จกฺขุมา ผู้มีพระจักษุอุดม. บทว่า เอโก คือ เป็น บุคคลเอกด้วยคุณธรรมอันได้แก่บรรพชาเป็นต้น. บทว่า รตึ คือ มี ความยินดีต่อเนกขัมมะเป็นต้น.

บทว่า ปฏิรูปโก คือ กุณฑลที่ทำด้วยทองคำ. บทว่า มตฺติกากุณฺฑโล คือ ดุจกุณฑลที่ทำด้วยดิน. บทว่า โลหมาโสว สุวณฺณจฺฉนฺโน คือ เหมือนเหรียญมาสกโลหะหุ้มด้วยทองคำ. บทว่า ปริวารจฺฉนฺนา คือ อันบริวารห้อมล้อม. บทว่า อนฺโต อสุทฺธา คือ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ไม่บริสุทธิ์ ณ ภายใน ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า พหิ โสภมานา คือ งามแต่ภายนอกด้วยจีวรเป็นต้น. บทว่า อกปฺปิตอิริยาปถา จ มีพระอิริยาบถมิได้กำเริบ คือมีพระอิริยาบถมิได้สละออกไปแล้ว. บทว่า ปณิธิสมิปนฺนา ความว่า มีความปรารถนาบริบูรณ์. บทว่า วิสุทฺธสทฺโท ความว่า มีพระกิตติศัพท์บริสุทธิ์. อธิบายว่า มีชื่อเสียงยกย่องตามความ เป็นจริง. บทว่า ภฏกิตฺติสทฺทสิโลโก ทรงเพียบพร้อมด้วยพระเกียรติยศ และชื่อเสียง คือทรงได้รับพระเกียรติยศและความสรรเสริญเป็นปกติ. หากถามว่า มีพระกิตติศัพท์ในที่ไหน. ตอบว่า ในที่ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ในนาคพิภพ และสุบรรณพิภพ. บทว่า ตโต จ ภิยฺโย และยิ่งกว่านั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรากฏยิ่งกว่านั้น คือยิ่งกว่าที่ กล่าวแล้ว ด้วยอำนาจของเวไนยสัตว์.

บทว่า สพฺพํ ราคตมํ คือ ความมืด เพราะราคะทั้งสิ้น. แม้ใน ความมืด เพราะโทสะก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนฺธกรณํ อันทำให้ คนบอด คือทำการปิดกั้นโลกด้วยปัญญา. บทว่า อจกฺขุกรณํ ทำให้ไม่มี

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 636

จักษุ คือทำให้ไม่มีปัญญาจักษุ. บทว่า อญาณกรณํ คือ ทำให้ไม่รู้ด้วย ญาณ. บทว่า ปฺานิโรธิกํ คือ ทำให้ดวงตา คือปัญญาเสียไป. บทว่า วิฆาตปกฺขิกํ อันเป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก คือความเบียดเบียน. บทว่า อนิพฺพานสํตฺตนิกํ ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน คือไม่ให้ เป็นไปเพื่อนิพพานอันเป็นอมตะไม่มีปัจจัย.

บทว่า สพฺพนฺตํ เตน โพธิาเณน พุชฺฌิ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้ธรรมที่ควรตรัสรู้ทั้งปวงด้วยพระโพธิญาณ คือตรัสรู้ธรรมทั้งสิ้น นั้นด้วยอำนาจแห่งมรรคญาณ ๔. ทรงรู้ ตรัสรู้ตามด้วยอำนาจแห่งปฐมมรรค ได้ทรงรู้ทั่ว ทรงแทงตลอดด้วยทุติยมรรค ทรงบรรลุ ตรัสรู้ พร้อมซึ่งปฏิเวธ ด้วยอำนาจแห่งตติยมรรค ตรัสรู้โดยชอบด้วยแทงตลอด ไม่มีส่วนเหลือ ด้วยอำนาจแห่งจตุตถมรรค. ควรประกอบ ๓ บทนี้ คือ อธิคจฺฉิ ทรงบรรลุเฉพาะ ๑ ผุเสสิ ทรงถูกต้อง ๑ สจฺฉิกาสิ ทรง ทำให้แจ้ง ๑ ด้วยอำนาจแห่งผล. ทรงได้เฉพาะ ด้วยอำนาจแห่งปฐมมรรคและทุติยมรรค ทรงถูกต้องแล้ว ด้วยอำนาจแห่งตติยมรรค ทรงได้ กระทำให้ประจักษ์ ด้วยอำนาจแห่งจตุตถมรรค. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้ง ๓ บทนั้น ย่อมได้ผลอย่างหนึ่งๆ นั่นเอง.

บทว่า เนกฺขมฺมรตึ ความยินดีในเนกขัมมะ คือความยินดีเกิดขึ้น เพราะอาศัยบรรพชาเป็นต้น. บทว่า ปวิเวกรตึ ความยินดีในความสงัด คือความยินดีเกิดขึ้นในความสงัดกายเป็นต้น. บทว่า อุปสมรตึ ความ ยินดีในความสงบ คือความยินดีในความสงบกิเลส. บทว่า สมฺโพธิรตึ ความยินดีในสัมโพธิญาณ คือความยินดีเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณามรรค.

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 637

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า พหูนมิธ ปฏฺานํ๑ ของคนหมู่มากอันเนื่องในศาสนานี้ คือของคนหมู่มากมีกษัตริย์เป็นต้น ผู้เที่ยวปรารถนาอยู่ในโลกนี้. เพราะว่า ศิษย์ทั้งหลายท่านเรียกว่า พทฺธ ผู้เนื่อง เพราะมีความประพฤติเนื่องด้วย อาจารย์. บทว่า อตฺถี ปญฺเหน อาคมํ คือ เรามีความต้องการปัญหา จึงมา. หรือมาด้วยปัญหาของผู้มีความต้องการ หรือมีปัญหาจึงมา.

ท่านกล่าวว่า พุทฺโธ ด้วยประสงค์จะแสดงถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ในบทว่า ตํ พุทฺธํ แม้ไม่มีบทว่า พุทฺโธ.

บทว่า สยมฺภู ผู้เป็นพระสยัมภู คือเป็นเองไม่มีผู้แนะนำสั่งสอน. บทว่า อนาจริโย ไม่มีใครเป็นอาจารย์ เป็นคำขยายความของบทว่า สยมฺภู. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ไม่มีอาจารย์ ทรงรู้แจ้ง แทงตลอดอริยสัจด้วยพระองค์เอง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงชื่อ ว่า สยมภู พระผู้เป็นเอง. บทว่า ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ในธรรมทั้งหลาย อันพระองค์ไม่เคยสดับมาก่อนเป็นต้น เป็นบทประกาศความของความที่ พระองค์เป็นผู้ไม่เคยมีอาจารย์. บทว่า อนนุสฺสุเตสุ คือ ไม่เคยสดับมา แต่อาจารย์. บทว่า สามํ คือ พระองค์เอง. บทว่า อภิสมฺพุชฺฌิ ตรัสรู้ ยิ่ง คือตรัสรู้ธรรมอันยิ่งด้วยพระองค์เอง. บทว่า ตตฺถ จ สพฺพญฺญุตํ ปาปุณิ คือ ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในอริยสัจนั้น. ท่านกล่าว อย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ เหมือนพระพุทธเจ้า ทั้งหลายตรัสรู้อริยสัจ ทรงเป็นพระสัพพัญญู ปาฐะว่า สพฺพญฺุตํ ปตฺโต บ้าง.

บทว่า พเลสุ จ วสีภาวํ ทรงถึงความเป็นผุ้ชำนาญในพลธรรม


๑. บาลีเป็น พทฺธานํ.

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 638

ทั้งหลาย คือทรงถึงความเป็นใหญ่ในพลญาณของพระตถาคต ๑๐ ประการ. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ท่านเรียกว่า พุทฺโธ. พระพุทธเจ้าเป็นสัตว์วิเศษ เป็นการบัญญัติขึ้นเพราะ อาศัยพระญาณอัน อะไรๆ กำจัดไม่ได้ พระนิมิตอันยอดเยี่ยม การบรรลุ พระนิพพาน และพระขันธสันดานอบรมมาแล้วในธรรมทั้งปวง หรือ เป็นบัญญัติขึ้น เพราะอาศัยการตรัสรู้อริยสัจ อันเป็นปทัฏฐานแห่งพระสัพพัญญุตญาณ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันประกาศความเป็นพุทธะ แจ่มแจ้งแล้วโดยอรรถ.

บัดนี้ พระสารีบุตร เมื่อจะให้แจ่มแจ้งโดยพยัญชนะ จึงกล่าวคำ มีอาทิว่า พุทฺโธติ เกนตฺเถน พุทฺโธ. บทว่า พุทฺโธ ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าอะไร. ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้ อริยสัจ เหมือนอย่างพระผู้ตรัสรู้ ตรัสรู้แล้วในโลก. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ เหมือนพูดกันว่า ใบไม้แห้ง เพราะลมพัดให้ ใบไม้แห้ง. สองบทว่า สพฺพญฺณุตาย พุทฺโธ อธิบายว่า ชื่อว่า เป็น พระพุทธเจ้าด้วยปัญญาสามารถรับรู้ธรรมทั้งปวง. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะ ทรงเห็นธรรมทั้งปวง อธิบายว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรง เห็นธรรมทั้งปวงด้วยญาณจักษุ. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะไม่มีผู้อื่นแนะนำ อธิบายว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง มิใช่ ผู้อื่นทำให้ตรัสรู้. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเป็นผู้เบิกบาน อธิบายว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้เบิกบานดุจปทุมจากสวนชนิดที่มีคุณต่างๆ. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะ อธิบายว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตื่นจากหลับคือกิเลสทุกชนิด ด้วยละธรรมอันนำให้จิตกำเริบ

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 639

โดยปริยาย ๖ เป็นอาทิ เหมือนบุรุษตื่นจากสิ้นสุดการนอนหลับ. บทว่า สงฺขา สงฺขาตํ โดยอรรถมีความอย่างเดียวกัน. บทว่า สงฺขาเตน ความ ว่า โดยส่วนของคำพูด. ท่านกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว ทำให้วิเศษด้วยคำว่าโดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนา กล่าวคือไม่มีกิเลสเข้าไปฉาบทา เพราะไม่มีเครื่องฉาบทาคือตัณหาและ ทิฏฐิ. เป็นผู้ไม่มีกิเลสด้วยกิเลสทั้งปวงอันเหลือ คือราคะ โทสะ และ โมหะ. เพราะเป็นผู้เสด็จไปตามเอกายนมรรค (ทางทางเดียว) คือธาตุ ทั้งหลายเป็นประโยชน์ในการไป แม้เพราะตรัสรู้ เพราะรู้ธาตุอันเป็น ประโยชน์ในการไป เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะเสด็จไปสู่เอกายนมรรค. อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวเอกายนมรรคโดย ชื่อว่า มคฺค ที่กล่าวโดยชื่อว่า อยน ในหลายชื่อของ ทาง คือ

มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชสํ วฏุมายนํ นานา อุตฺตรเสตุ จ กุลฺโล จ ภิสิ สงฺกโม.

คำทั้งหมดนี้เป็นชื่อของทาง.

เพราะฉะนั้น ทางจึงเป็นทางเดียว. อธิบายว่า ไม่ใช่สองทาง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนมรรค เพราะเป็นทางอันบุคคลเดียวพึง ดำเนินไป. บทว่า เอเกน คือสงัดเพราะละการคลุกคลีด้วยหมู่. บทว่า อยิตพฺโพ คือ พึงดำเนินไป อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยโน เพราะเป็นเหตุ ไป. อธิบายว่า ไปสู่นิพพานจากสังสารวัฏฏ์. ชื่อว่า เอกายโน เพราะเป็น ทางไปของคนประเสริฐ. บทว่า เอเกสํ คือ คนประเสริฐ. ด้วยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่าสัตว์ทั้งปวง. เพราะฉะนั้น ท่านอธิบายไว้ว่า มรรคเป็นทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 640

เป็นทางไปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยโน เพราะไปถึง. อธิบายว่า ไป คือ เป็นไป. ชื่อว่า เอกายนมคฺโค เพราะเป็นทางไปในที่เดียว. ท่าน อธิบายว่า มรรคเป็นไปในพระพุทธสาสนาแห่งเดียวเท่านั้น ไม่เป็นไป ในที่อื่น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายโน เพราะไปทางเดียว. ท่าน อธิบายว่า ในเบื้องต้นแม้เป็นไปโดยมุขภาวหาและนัยต่างๆ ในเบื้อง ปลายก็ไปนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เอกายนมรรค อธิบายว่า เป็นทางไปสู่นิพพานอย่างเดียว. ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม มิใช่ ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้าเพราะตรัสรู้ด้วยผู้อื่น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ท่านอธิบายไว้ว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิ- ญาณอันยอดเยี่ยมด้วยพระองค์เองเท่านั้น. คำว่าชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะเว้นจากความไม่รู้ เพราะได้เฉพาะความรู้ นี้เป็นปริยายของบทว่า พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธ. ท่านอธิบายเพื่อให้รู้ว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า เหมือนอย่างพูดว่า ผ้าเขียว ผ้าแดง เพราะประกอบด้วยมีสีเขียวสีแดง.

นอกจากนั้น ศัพท์ว่า พุทฺโธ ในบทมีอาทิว่า พุทฺโธติ เนตํ นามํ พระมารดาเป็นต้นมิได้เฉลิมให้ นี้ท่านกล่าวไว้เพื่อให้รู้ว่านี้เป็นบัญญัติ ตามอรรถ. ในบทว่า พุทฺโธ พระมารดาเป็นต้นมิได้เฉลิมให้นั้น คือ มิตร สหาย อำมาตย์ คนเลี้ยงดู ญาติฝ่ายบิดา สาโลหิตฝ่ายมารดา สมณะ ผู้เข้าถึงบรรพชา โภวาทีพราหมณ์ ผู้สงบบาป ผู้ลอยบาป หรือ เทวดามีท้าวสักกะเป็นต้นและพรหม ก็มิได้เฉลิมให้. บทว่า วิโมกฺขนฺติกํ

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 641

เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตตผลและในลำดับแห่งอรหัตตมรรค) คืออรหัตตมรรคอันเป็นวิโมกข์. ที่สุดแห่งวิโมกข์ คืออรหัตตผล ความมี ในที่สุดแห่งวิโมกข์นั้น ชื่อว่า วิโมกขัตติกะ. เพราะว่าความเป็นพระสัพพัญญูย่อมสำเร็จด้วยอรหัตตมรรค. ความสำเร็จย่อมมีได้ในความเกิดขึ้น ของพระอรหัตตผล. เพราะฉะนั้น ความเป็นพระสัพพัญญู จึงมีในที่สุด แห่งวิโมกข์. แม้เนมิตตกนามนั้น ก็เป็นชื่อมีในที่สุดแห่งวิโมกข์ ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิโมกฺขนฺติกเมตํ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ. บทว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนามของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว

บทว่า โพธิยา มูเล สห สพฺพญฺญุตาณสฺส ปฏิลาภา ความว่า พร้อมกับได้พระสัพพัญญุตญาณ ในขณะตามที่กล่าวแล้ว ณ ควงไม้มหาโพธิ. บทว่า สจฺฉิกา ปญฺตฺติ คือ บัญญัติเกิดขึ้นด้วย การทำให้แจ้งพระอรหัตตผล หรือด้วยการทำให้แจ้งธรรมทั้งปวง คือ บัญญัติว่า พุทฺโธ. บทว่า พุทฺโธ นี้ โดยพยัญชนะ ได้แก่ การประกาศ ความเป็นพระพุทธเจ้า. ต่อจากนี้ บทสุดท้ายว่า วหสฺเสตํ ภารํ ข้อนี้ จงเป็นภาระของพระองค์ ย่อมดำเนินไปตามบาลี เพราะมีนัยดังได้กล่าว แล้วในที่นั้นๆ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า วิชิคุจฺฉโต เมื่อภิกษุเกลียดอยู่ คืออึดอัดด้วยชาติเป็นต้น. บทว่า ริตฺตมาสนํ ที่นั่งอันว่างเปล่า คือเตียงและตั่งอันสงัด. บทว่า ปพฺพตานํ คุหาสุ วา คือ ในถ้ำแห่งภูเขาทั้งหลาย. ควรเชื่อมบทว่า ริตฺตมาสนํ ภชโค เสพที่นั่งอันว่างเปล่า. บทว่า ชาติยา วิชิคุจฺฉโต คือ เกลียดชาติ. แม้ในบทว่า ชราย พฺยาธินา เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 642

พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า เสวโต เป็นต้นต่อไป.

บทว่า เสวโต คือ เสพ. บทว่า นิเสวโต คือ เสพเสมอ. บทว่า สํเสวโต คือ เสพบ่อยๆ. บทว่า ปฏิเสวโต คือ เข้าไปเสพ. บทว่า ภชโต คือ เสพที่นั่งอันว่างเปล่า. บทว่า ปพฺพตปพฺภรา คือ ท้องภูเขา.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อุจฺจาวเจสุ ในที่นอนสูงและต่ำ คือเลวและประณีต. บทว่า อาสเนสุ คือ เสนาสนะมีวิหารเป็นต้น. บทว่า คีวนฺโต คือ ร้องอยู่. ปาฐะว่า กีวนฺโต บ้าง. อธิบายว่า เพราะเหตุแห่งความกลัว ในที่นั้นมีประมาณเท่าไร. บทว่า คฺรีวนฺโต คือ ส่งเสียงอยู่. บทว่า กุชนฺโต คือ เรียกอยู่ ได้แก่ ทำเสียงเบาๆ. บทว่า นทนฺโต บันลืออยู่ คือทำเสียงดัง. บทว่า สทฺทํ กโรนฺโต คือ ออกเสียง. บทว่า กติ มีเท่าไร เป็นคำถาม. บทว่า กิตฺตกา มีประมาณเท่าไร เป็นคำถาม โดยประมาณ. บทว่า กีวตกา มีกำหนดเท่าไร เป็นคำถามกำหนด. บทว่า กีวพหุกา มีประมาณเพียงไร เป็นคำถามกำหนดประมาณ. บทว่า เต เภรวา อารมณ์น่ากลัวเหล่านั้น คืออันตรายเกิดแต่ความน่ากลัว เหล่านั้น คืออารมณ์น่ากลัว. บทว่า กีวพหุกา มีมากเท่าไร พระสารีบุตร เพื่อแสดงอารมณ์ที่ถาม จึงแก้ด้วยบทมีอาทิว่า สีหา พฺยคฺฆา ทีปิ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กตี ปริสฺสายา คือ อันตรายมีเท่าไร. บทว่า อคตํ ทิสํ ทิศที่ไม่เคยไปคือนิพพาน. จริงอยู่ นิพพานนั้น ชื่อว่า อคตํ เพราะไม่

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 643

เคยไป ชื่อว่า ทิสา เพราะควรชี้แจง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อคตํ ทิสํ ดังนี้. บาลีว่า อมตํ ทิสํ ก็มี. บทว่า อภิสมฺภเว ความว่า พึงบรรลุ. บทว่า ปนฺตมฺหิ สงัด คือสุดเขต. ทิศที่ไม่เคยไป แม้แต่ ฝันชื่อว่า อคตปุพฺพา. ทิศนั้นไม่เคยไป เพราะเหตุนั้น ทิศนั้น จึงชื่อ ว่า อคตปุพฺพา โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า อิมินา ทีเฆน อทฺธุนา คือ โดยกาลยาวนานนี้. บทว่า สนติตฺติกํ คือ ภาชนะน้ำมันเต็มถึงขอบปากภายใน. บทว่า อนวเสกํ คือ มิให้ไหลรด ได้แก่ ภาชนะน้ำมันที่ใส่น้ำมันลงไปจนเต็มทำมิให้ ไหลรด. บทว่า ปริหเรยฺย พึงประคอง คือพึงนำไป พึงถือเอาไป. บทว่า เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข พึงรักษาจิตของตนเนืองๆ ฉันนั้น คือภิกษุ วางจิตของตนดุจภาชนะเต็มด้วยน้ำมันนั้นไว้ในระหว่างธรรมทั้งสองอย่าง คือด้วยกายคตาสติและด้วยสติอันสัมปยุตในโคจร แล้วไม่ฟุ้งซ่านไปใน โคจรภายนอกแม้ครู่เดียวฉันใด พระโยคาวจรผู้ฉลาด พึงรักษา คุ้มครอง ฉันนั้น. เพราะอะไร. เพราะ

การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เบา มักตกไปในอารมณ์ใคร่ เป็นความดี จิตที่ฝึกแล้ว จะนำความสุขมาให้.

เพราะฉะนั้น

นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก ละเอียดยิ่งนัก มันตกไปในอารมณ์ใคร่ จิตที่คุ้มครองแล้ว จะนำความ สุขมาให้.

เพราะจิตนี้

ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำเป็น ที่อาศัย ผู้ใดสำรวมจิตไว้ได้ ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงมาร.

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 644

ปัญญาของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้สัทธรรม มีความ เลื่อมใสเลื่อนลอย ย่อมไม่บริบูรณ์.

อนึ่ง ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่ ผู้มีกรรมฐานมั่นคง เป็นสหาย มีจิตไม่ขวนขวาย มีจิตไม่ถูกกำจัด ละบุญ และบาปได้แล้ว.

เพราะฉะนั้น

นักปราชญ์ย่อมทำจิตนั้นซึ่งดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษา ยาก ห้ามยาก ให้ตรง เหมือนช่างศรดัดศรให้ตรงฉะนั้น.

เมื่อทำจิตให้ตรงอย่างนี้ พึงคามรักษาจิตตองตน. บทว่า ปตฺถยาโน ทิสํ อคตปุพฺพํ พระโยคาวจรเมื่อปรารถนาทิศที่ไม่เคยไป ความ ว่า เมื่อปรารถนาทิศที่ไม่เคยไปในสงสารอันไม่มีเบื้องต้นและที่สุด เพราะ ปรารถนากรรมในกรรมฐานคือกายคตาสตินี้ พึงรักษาจิตของตนโดยนัย ที่กล่าวแล้ว.

ก็อะไรชื่อว่าทิศนั้น ท่านกล่าวมารดาบิดาเป็นต้น ชื่อว่าทิศใน คาถาแม้ว่า

มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรและอำมาตย์เป็นทิศ เบื้องซ้าย ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง สมณพราหมณ์ เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์ผู้มีตนสมควรพึงนมัสการทิศ เหล่านี้ ดังนี้.

ทิศมีทิศบูรพาเป็นต้นท่านกล่าวว่า ทิศ ในคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 645

ทิศทั้งหลาย ๑๐ เหล่านี้ คือทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑ พระยานาคประดิษฐาน อยู่ทิศไหน จึงได้เห็นเขาสัตว์ทั้ง ๖ ในความฝัน ดังนี้.

ท่านกล่าวนิพพานว่าเป็นทิศในคาถานี้ว่า

ผู้ครองเรือนให้ข้าวน้ำและผ้าแก่ผู้มีชื่อทั้งหลาย ย่อม กล่าวถึงทิศ ผู้มีความทุกข์ทั้งหลาย ถึงทิศอันมีธงขาว อย่างยิ่ง ย่อมมีความสุข ดังนี้.

พระนิพพานนั้นแลท่านประสงค์เอาในที่นี้. พระนิพพานนั้นจัก ปรากฏ จักยืนยันได้ด้วยบทมีอาทิว่า ตณฺหกฺขยํ วิราคํ นิพพานเป็นที่ สิ้นตัณหา สำรอกกิเลส ดังนี้ เพราะฉะนั้น นิพพานจึงเรียกว่าทิศ. นิพพานท่านเรียกชื่อว่าทิศไม่เคยไป เพราะพาลปุถุชนไรๆ แม้แต่ฝันถึง ก็ไม่เคย. ผู้ปรารถนานิพพานนั้น ควรทำความเพียรด้วยกายคตาสติ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า วชโต ดังนี้ เมื่อภิกษุไปสู่ที่ใกล้ แต่การเกิดแห่งมรรค ดำเนินไปในขณะดำรงอยู่ ก้าวไปแต่การเห็นมรรค. บทว่า อนฺเต คือ ตั้งอยู่ในที่สุด. บทว่า ปนฺเต คือ ตั้งอยู่ลึกเข้าไป ในป่าชัฏ. บทว่า ปริยนฺเต คือ ตั้งอยู่ในที่สุดรอบเพราะความไกล. บทว่า เสลนฺเต คือ ส่วนสุดแห่งภูเขาหิน. บทว่า วนนฺเต คือ ส่วนสุด แห่งป่าทึบ. บทว่า นทนฺเต คือ ส่วนสุดแห่งแม่น้ำ. บทว่า อุทกนฺเต คือ ในที่สุดสายน้ำ. บทว่า น กสิยติ น วปิยติ คือ เป็นที่ที่เขาไม่ไถ ไม่หว่าน. บทว่า ชนนฺตํ อติกฺกมิตฺวา ิเต มนุสฺสานํ อนูปจารํ ไม่เป็นอุปจารแห่งมนุษย์ล่วงเลยหมู่ชน คือเสนาสนะที่มนุษย์ทั้งหลายไม่ เข้าไปทำมาหากินด้วยการไถและการหว่าน.

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 646

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กยาสฺส พฺยปฺปถโย อสฺสุ ภิกษุพึงเป็นผู้มีคลองแห่ง ถ้อยคำเช่นไร คือคำพูดของภิกษุนั้นพึงเป็นเช่นไร.

บทว่า มุสา ในบทนี้ว่า มุสาวาทํ ปหาย ละมุสาวาท คือ วจีประโยค หรือกายประโยคอันหักเสียซึ่งประโยชน์ของผู้มุ่งจะพูดให้ผิด. อนึ่ง เจตนาอันยังกายประโยคและวจีประโยคของผู้พูดให้คนอื่นเข้าใจผิด ตั้งขึ้นแก่เขาด้วยประสงค์จะพูดให้ผิด ชื่อว่า มุสาวาท. อีกนัยหนึ่ง บทว่า มุสา คือ วัตถุไม่จริง ไม่แท้. บทว่า วาโท คือ พูดให้เขารู้ โดยเป็นความจริง โดยเป็นความแท้. อนึ่ง เจตนาอันยังการบอกกล่าว อย่างนั้นให้ตั้งขึ้นแก่ผู้ประสงค์จะให้คนอื่นรู้วัตถุอันไม่เป็นจริง โดยเป็น ความจริง ชื่อว่า มุสาวาท. มุสาวาทนั้นหักเสียซึ่งประโยชน์ใด เพราะ ประโยชน์นั้นน้อย จึงมีโทษน้อย เพราะประโยชน์มากจึง มีโทษมาก อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทมีโทษน้อยแก่คฤหัสถ์เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ไม่เป็นมุสาวาท เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตน. ผู้เป็นพยานพูดเพื่อ หักเสียซึ่งประโยชน์มีโทษมาก มีโทษน้อยแก่บรรพชิตเป็นไปแล้วโดย นัยมีอาทิว่า ด้วยประสงค์จะให้ขบขัน เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยว่า วันนี้น้ำมันไหลเข้าไปในบ้านเหมือนแม่น้ำ. มีโทษมากแก่บรรพชิตผู้พูด โดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่เห็นได้เห็นแล้ว.

มุสาวาทนั้นมีองค์ ๔ คือ เรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะพูดให้ผิด ๑ พยายามจะพูดเรื่องนั้น ๑ ผู้อื่นรู้ความนั้น ๑.

มุสาวาทเป็นสาหัตถิกประโยค (ด้วยน้ำมือของตนเอง) เท่านั้น. พึง เห็นสาหัตถิกประโยคนั้น ในการกระทำกิริยาให้ผู้อื่นสำคัญผิด ด้วยกายก็ดี

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 647

ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี. หากผู้อื่นรู้ความนั้นด้วยกิริยานั้น เจตนาอันตั้งขึ้นด้วยกิริยานี้ ย่อมสำเร็จเป็นกรรมคือมุสาวาทในขณะนั้น เอง. ชื่อว่า สจฺจวาที เพราะพูดจริง. ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ ดำรงความ จริง เพราะติดต่อ สืบต่อ ความจริงด้วยความจริง. อธิบายว่า ไม่พูดเท็จ ในระหว่างๆ. คนใดบางครั้งพูดเท็จ บางครั้งพูดจริง ความจริงกับ ความจริงไม่ต่อเนื่องกัน เพราะความจริงนั้น เป็นไปในระหว่างด้วย มุสาวาท เพราะฉะนั้น คนนั้นไม่ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ ผู้ดำรงความจริง. อนึ่ง คนนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่พูดเท็จ แม้เพราะเหตุชีวิต ความจริงกับ ความจริงติดต่อกันไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สจฺจสนฺโธ.

บทว่า เถโต คือ ผู้มั่นคง. อธิบายว่า มีถ้อยคำมั่นคง. บุคคล คนหนึ่ง มีถ้อยคำไม่มั่นคง ดุจผ้าย้อมด้วยขมิ้น ดุจตอไม้ปักที่กองแกลบ และดุจลูกฟักวางไว้บนหลังม้า. บุคคลคนหนึ่งมีถ้อยคำมั่นคง ดุจจารึกบน แผ่นหิน และดุจเสาเขื่อน แม้จะเอาดาบตัดศีรษะก็ไม่พูดเป็นคำสอง บุคคลนี้เรียกว่าผู้มีถ้อยคำมั่น. บทว่า ปจฺจยิโก คือ มีถ้อยคำเชื่อถือได้. อธิบายว่า เชื่อได้. เพราะบุคคลบางคนเชื่อถือไม่ได้. ถามว่า คำนี้ใครพูด เมื่อเขาตอบว่า คนโน้นพูด ควรจะพูดว่า พวกท่านอย่าเชื่อถ้อยคำของ คนนั้น. บุคคลหนึ่งเป็นผู้เชื่อถือได้. ถามว่า คำนี้ใครพูด. ตอบว่า คน โน้นพูด ผิว่า คนนั้นพูด ถ้อยคำนี้เป็นประมาณได้ ไม่มีข้อควรสอบสวน ในบัดนี้ ควรจะพูดว่า ถ้อยคำนี้เป็นอย่างนั้นทีเดียว. บุคคลนี้เรียกว่า มี ถ้อยคำควรเชื่อถือได้. บทว่า อวิสํวาทโก โลกสฺส ไม่พูดให้คลาดเคลื่อน แก่โลก ความว่า ไม่ให้ชาวโลกเข้าใจผิด เพราะคำพูดจริงนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยบทมีอาทิว่า ปิสุณํ วาจํ ปหาย ละวาจา

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 648

ส่อเสียดต่อไป, กล่าววาจาของตนที่ทำความน่ารักในหัวใจ ของบุคคลนั้น และส่อเสียดบุคคลอื่น ชื่อว่า ปิสุณวาจา วาจาส่อเสียด. วาจาที่ทำตนบ้าง ผู้อื่นบ้างให้หยาบ หรือวาจาที่หยาบเองเพราะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุสวาจา วาจาหยาบ. คำพูดเพ้อเจ้อไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ. แม้เจตนาอันเป็นมูลเหตุของคำพูดเหล่านั้น ก็ได้ชื่อว่า ปิสุณวาจา เป็นต้นนั่นเอง. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปิสุณวาจานั่นเอง.

ในวาจาเหล่านั้น เจตนาอันยังกายประโยคและวจีประโยคให้ตั้งขึ้น ของผู้มีจิตเศร้าหมอง เพื่อทำลายผู้อื่นหรือเพราะประสงค์จะให้เขารักตน ชื่อว่า ปิสุณวาจา. ปิสุณวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ถูกทำ ความแตกกันมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้ที่ถูกทำความแตกกันมี คุณมาก.

ปิสุณวาจานั้นมีองค์ ๔ คนอื่นที่ควรให้แตกกันมุ่งจะให้แตกกัน ด้วยคิดว่าคนเหล่านี้จักแตกกันอย่างนี้ ๑ ใคร่ให้เป็นที่รัก ด้วยคิดว่า เราจักเป็นทั้รักเป็นผู้คุ้นเคยอย่างนี้ ๑ พยายามจะทำให้เขาแตกกัน ๑ ผู้นั้นรู้ความนั้น ๑.

บทว่า อิเมสํ เภทาย เพื่อทำลายคนหมู่นี้ คือเพื่อทำลายคนที่ฟัง ในสำนักของผู้ที่กล่าวว่า ฟังจากข้างนี้ดังนี้. บทว่า ภินฺนานํ วา สนิธาตา เป็นผู้สมานคนที่แตกกัน คือเมื่อมิตรสองคนหรือผู้ร่วมอุปัชฌาย์เดียวกัน แตกกันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เข้าไปหาคนหนึ่งๆ แล้วกล่าวว่า การแตก กันนี้ไม่สมควรแก่พวกท่านผู้เกิดในตระกูลเช่นนี้ ผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้ แล้วทำความสมานกัน. บทว่า อนุปฺปทาตา คือ ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกัน ความว่า เห็นคนสองคนสามัคคีกัน แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า เมื่อ

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 649

เกิดในตระกูลเห็นปานนี้ ประกอบด้วยคุณเห็นปานนี้ ข้อนี้เป็นความ สมควร แล้วทำให้มั่นคง. ชื่อว่า สมคฺคาราโม เพราะมีความพร้อมเพรียงกัน เป็นที่มายินดี. อธิบายว่า ความพร้อมเพรียงกันไม่มีในที่ใด ไม่ปรารถนาแม้จะอยู่ในที่นั้น. บาลีว่า สมคฺครโต บ้าง. ความ อย่างเดียวกัน. บทว่า สมคฺครโต คือ ยินดีแล้วในความพร้อมเพรียง. อธิบายว่า ไม่ปรารถนาจะละความพร้อมเพรียงเหล่านั้นไปอยู่ที่อื่น. ชื่อว่า สมคฺคนนฺที เพราะเห็นบ้าง ฟังบ้าง คนที่พร้อมเพรียงกันย่อมเพลิดเพลิน. บทว่า สมคฺคกรณึ วาจํ ภาสิตา กล่าววาจาทำให้เขาพร้อมเพรียงกัน คือกล่าววาจาแสดงคุณของความพร้อมเพรียงกัน อันทำให้สัตว์ทั้งหลาย พร้อมเพรียงกัน ไม่กล่าวคำนอกไปจากนี้.

เจตนาหยาบโดยส่วนเดียว ยังกายประโยคและวจีประโยคตัดส่วน สำคัญของร่างกายของตนอื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา. วจีประโยค แม้ตัดส่วน สำคัญของร่างกาย ก็ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะจิตละเอียดอ่อน. จริงอยู่ มารดาบิดา บางครั้งพูดกะบุตรอย่างนี้ว่า ขอให้โจรฟาดฟันพวกเจ้า ให้เป็นชิ้นๆ ทีเถิด ดังนี้ ทั้งๆ ที่มารดาบิดาไม่ปรารถนาแม้ใบบัวตก บนศีรษะของพวกลูกๆ เหล่านั้น. อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์บางครั้ง กล่าวกะศิษย์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า อะไรพวกนี้ไม่มีหิริโอตตัปปะเสียเลย พวกเจ้าจงไล่เขาออกไป. ที่แท้อาจารย์และอุปัชฌาย์ปรารถนาให้ศิษย์ ทั้งหลายถึงพร้อมด้วยอาคมและอธิคม. อนึ่ง เพราะจิตละเอียดอ่อนย่อม ไม่เป็นผรุสวาจาฉันใด เพราะคำพูดละเอียดอ่อนไม่เป็นผรุสวาจาหามิได้ ฉันนั้น. คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า จงให้ผู้นี้นอนให้สบายเถิด ดังนี้ ไม่เป็นผรุสวาจาหามิได้ เพราะจิตหยาบคาย ลำพูดนั้นจึงเป็นผรุส-

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 650

วาจาแท้. วาจามีโทษน้อย เพราะผู้ที่พูดหมายถึงมีคุณน้อย มีโทษมาก เพราะผู้ที่พูดหมายถึงมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้นมีองค์ ๓ คือคนอื่นที่พึงด่า ๑ จิตโกรธ ๑ การด่า ๑.

บทว่า เนลา โทษ ท่านเรียกว่า เอลา. ชื่อว่า เนลา เพราะ วาจาไม่มีโทษ. ดุจคำว่า เนล ที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท ราชรถไม่มีโทษคลุมด้วยสีขาว. บทว่า กณฺณสุขา ไพเราะหู คือวาจาเป็นสุขแก่หู เพราะไพเราะด้วยพยัญชนะ ไม่ทำให้เกิดเสียดแทงหู ดุจแทงด้วยเข็ม. วาจาชื่อว่า เปมนียา เพราะมิให้เกิดความโกรธแล้ว ให้เกิดความรักในสกลกาย เพราะไพเราะด้วยอรรถ. วาจาชื่อว่า หทยงฺ- คมา เพราะหยั่งลงถึงหทัย เข้าไปถึงจิตได้โดยง่ายไม่ติดขัด. วาจาชื่อว่า โปรี เพราะเป็นถ้อยคำของชาวเมืองบริบูรณ์ด้วยคุณธรรม. เพราะเป็น ถ้อยคำดีดุจนารีเจริญแล้วในเมือง. เพราะเป็นถ้อยคำของชาวเมือง จริงอยู่ ชาวเมืองย่อมเป็นผู้กล่าวถ้อยคำเหมาะสม กล่าวกะคนปูนพ่อว่า พ่อ คน ปูนพี่ว่า พี่. วาจา ชื่อว่า พหุชนกนฺตา เพราะถ้อยคำเห็นปานนั้น ชนหมู่มากพอใจ. ชื่อว่า พหุชนมนาปา เพราะชนหมู่มากชอบใจ ทำ ความเจริญแก่ใจด้วยความเป็นผู้พอใจ. อกุศลเจตนาอันยังกายประโยค และวจีประโยคที่จะให้เขารู้ไม่มีประโยชน์ตั้งขึ้น ชื่อว่า สมฺผปฺปลาโป. สัมผัปปลาปะนั้นมีโทษน้อย เพราะอาเสวนะ (การคบหา การเสพ) น้อย มีโทษมาก เพราะอาเสวนะมาก.

สัมผัปปลาปะมีองค์ ๒ คือมุ่งกล่าวคำไม่มีประโยชน์ มีเรื่อง ภารตยุทธ์และเรื่องชิงสีดาเป็นต้น ๑ กล่าวถ้อยคำแบบนั้น ๑.

ชื่อว่า กาลวาที เพราะพูดโดยกาลอันควร. อธิบายว่า พูด

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 651

กำหนดกาลที่ควรพูด. ชื่อว่า ภูตวาที เพราะพูดคำจริงแท้ ที่เป็นตาม สภาวะ. ชื่อว่า อตฺถวาที เพราะพูดอิงประโยชน์ในปัจจุบันและภพหน้า. ชื่อว่า ธมฺมวาที เพราะพูดอิงโลกุตรธรรม ๙. ชื่อว่า วินยราที เพราะพูด อิงสังวรวินัย (การสำรวม) และปหานวินัย (การละ). วาจาเป็นหลักฐาน เรียกว่า นิธาน. ชื่อว่า นิธานวาที เพราะพูดมีหลักฐานอ้างอิง อธิบายว่า กล่าววาจาอันควรจำไว้ในหทัย. บทว่า กาเลน โดยกาลอันควร คือแม้ กล่าววาจาเห็นปานนี้ว่า เราจักพูดวาจามีหลักฐานดังนี้ ก็ชื่อว่า ไม่กล่าวใน กาลอันไม่ควร อธิบายว่า พิจารณากาลอันควรแล้วจึงพูด. บทว่า สาปเทสํ มีที่อ้างอิง ความว่า มีเปรียบเทียบ และมีเหตุผล. บทว่า ปริยนฺตวตึ มีส่วนสุด อธิบายว่า แสดงหัวข้อ แล้วกล่าวโดยอาการที่หัวข้อของวาจา นั้นปรากฏ. บทว่า อตฺถสญฺหิตํ ประกอบด้วยประโยชน์ คือถึงพร้อม ด้วยประโยชน์ เพราะอันผู้จำแนกโดยนัยไม่น้อยไม่สามารถจะถือเอาได้. บุคคลผู้กล่าวประโยชน์นั้นย่อมกล่าวถึงประโยชน์ใด ย่อมกล่าววาจาอัน ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะตั้งอยู่ด้วยประโยชน์นั้น ท่านอธิบายว่า ไม่ยกอย่างอื่นแล้วกล่าวอย่างอื่น. บทว่า จตูหิ วจีสุจริเตหิ คือ ด้วยการ ประพฤติดี อันประกอบแล้วด้วยวาจา ๔ อย่างดังกล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า มุสาวาทํ ปหาย ละการพูดเท็จดังนี้. บทว่า สมนฺนาคโต ประกอบแล้ว คือไม่เสื่อม. บทว่า จตุทฺโทสาปคตํ วาจํ ภาสติ คือ กล่าววาจา ปราศจากโทษ ๔ อย่าง มีไม่เป็นที่รักเป็นต้น.

บทว่า อตฺถิ โคจโร พระเถระประสงค์จะกล่าวถึงสมณโคจรโดย แท้จึงยกบทว่า อโคจโร มีอยู่ โคจร ก็มีอยู่ ดังนี้. เหมือนอย่างว่า บุรุษ ผู้ฉลาดหนทาง เมื่อบอกหนทางย่อมบอกทางมีภัยอันเป็นทางมีอันตรายที่

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 652

ควรเว้นก่อนว่า ท่านจงเว้นทางซ้าย ถือเอาทางขวา ดังนี้ ภายหลังจึงบอก ทางตรงอันเป็นทางปลอดภัยที่ควรถือเอา ฉันใด พระธรรมเสนาบดี เช่นกับบุรุษผู้ฉลาดในทางก็ฉันนั้นเหมือนกัน บอกอโคจรที่พระพุทธเจ้า ทรงติเตียน ควรละก่อน แล้วประสงค์จะบอกโคจรในภายหลัง จึงกล่าวคำ มีอาทิว่า กตโม อโคจโร อโคจรเป็นไฉน. ทางที่บุรุษบอกจะถูกก็ได้ ผิดก็ได้. แต่ทางที่พระตถาคตตรัสบอกไม่ผิดหวัง ย่อมประชุมลงสู่นคร คือนิพพานนั่นเอง ดุจวชิระที่พระอินทร์ขว้างออกไปฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง คำนั้นเป็นชื่อของพระตถาคต ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. หรือเพราะการบำเพ็ญ กัลยาณธรรมของผู้ละบาปธรรมได้แล้ว ดุจวิธีการตกแต่งเครื่องประดับมี ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น ของบุคคลผู้ชำระเหงื่อมลทินและ สะเก็ด ด้วยการอาบน้ำตลอดศีรษะ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระบอกอโคจร ที่ควรละก่อน ดุจเหงื่อมลทินและสะเก็ด แล้วประสงค์จะบอกโคจรใน ภายหลัง ดุจวิธีตกแต่งเครื่องประดับมีดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ เป็นต้น ของบุคคลผู้ชำระเหงื่อมลทินและสะเก็ด ฉะนั้น จึงกล่าวคำมี อาทิว่า กตโม อโคจโร ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โคจโร ได้แก่ ที่สมควรเข้าไปเพื่อบิณฑบาต เป็นต้น. อโคจร คือที่ไม่ควรเข้าไป. ชื่อว่า เวสิยโคจโร เพราะมีหญิง แพศยาเป็นโคจร. อธิบายว่า ไม่เป็นที่ควรเข้าไปด้วยอำนาจความคุ้นเคย ฉันมิตร. หญิงอาศัยรูปเลี้ยงชีพชื่อว่า เวสิยะ. เข้าไปหาหญิงเหล่านั้น ร่วมประเวณีได้ง่าย ด้วยอำนาจมิตรสันถวสิเนหา ชื่อว่าเป็น เวสิยโคจร. เพราะฉะนั้น ไม่ควรเข้าไปอย่างนั้น. เพราะอะไร. เพราะวิบัติด้วยการ อารักขา. จริงอยู่ เมื่อภิกษุเข้าไปอย่างนั้น สมณธรรมที่รักษาคุ้มครองมา

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 653

เป็นเวลานานย่อมฉิบหายไปด้วยวันเล็กน้อยนั่นเอง แม้หากไม่ฉิบหายก็ได้ รับความติเตียน. เมื่อเข้าไปเกี่ยวกับทักษิณา ควรตั้งสติเข้าไป. หญิงผัว ตายหรือผัวทิ้ง ชื่อว่า วิธวา หญิงหม้าย.

บทว่า ถูลกุมาริโย สาวเทื้อ คือหญิงแก่ คือไม่มีความเป็นหญิงสาว เหลืออยู่. บทว่า ปณฺฑกา บัณเฑาะก์ คือพวกนปุงสกะ (กะเทย) มาก ไปด้วยคำพูดอิงโลก มีกิเลสหนา เร่าร้อนไม่หาย. โทษในการเข้าไป หากะเทยเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. แม้ในภิกษุณี ทั้งหลานก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง ธรรมดาภิกษุทั้งหลายย่อมเป็นผู้มี พรหมจรรย์สูง. ภิกษุณีก็เหมือนกัน. ภิกษุเหล่านั้นยังสมณธรรมที่รักษา คุ้มครองแล้วให้ฉิบหายไปโดยวันเล็กน้อย ด้วยการทำสันถวะกะกันและ กัน. แต่การไปถามเรื่องเจ็บป่วยควร. ได้ดอกไม้แล้วไป เพื่อบูชาบ้าง เพื่อโอวาทบ้าง ควรเหมือนกัน. บทว่า ปานาคารํ คือ โรงเหล้า โรง เหล้านั้นย่อมทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ เป็นที่ไม่สงัดจากพวกนักเลงเหล้า. การเข้าไปในที่นั้นด้วยความชอบพอกับพวกนักเลงเหล้าเหล่านั้นไม่ควร. ย่อมเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า สํสฏฺโ วิหรติ วาชูหิ อยู่คลุกคลี ด้วยพระราชา ต่อไป. บทว่า ราชาโน ได้แก่ ปกครองราชสมบัติ จะ อภิเษกแล้วหรือยังไม่อภิเษกก็ตาม เรียกว่า พระราชา ผู้ประกอบด้วย ความเป็นอิสระอันใหญ่ เช่นเดียวกับความเป็นอิสระของพระราชาทั้งหลาย เรียกว่า มหาอำมาตย์ของพระราชา. นักบวชนอกศาสนา มีความเห็น วิปริต เรียกว่า เดียรถีย์. ผู้ให้ปัจจัยแก่เดียรถีย์เหล่านั้นด้วยความภักดี เรียกว่า สาวกของเดียรถีย์. อธิบายว่า เป็นผู้คลุกคลีกับสาวกเดียรถีย์

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 654

เหล่านั้น. บทว่า อนนุโลมิเกน คิหิสํสคฺเคน ด้วยความคลุกคลีกับ คฤหัสถ์อันไม่สมควร คือภิกษุได้รับอันตรายของพรหมจรรย์ การล่วง บัญญัติ และความเสื่อมสัลเลขปฏิบัติ ด้วยความคลุกคลีอันเป็นข้าศึกไม่ สมควรแก่ไตรสิกขา ชื่อว่าความคลุกคลีอันไม่สมควร. เหมือนอย่างว่า ความเศร้าโศกร่วมกัน ความยินดีร่วมกัน ความมีสุขทุกข์ร่วมกัน กับพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา เมื่อกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ถึงความ ขวนขวายด้วยตน ความเป็นผู้มีอาจารย์ร่วมกันด้วยความพอใจความชอบ ใจเป็นอันเดียวกันกับสาวกของเดียรถีย์. การนำมาซึ่งความเป็นผู้มีอาจาระ เสมอกันด้วยความพอใจชอบใจเป็นอันเดียวกัน หรือความชื่นชมมีมาก ด้วยความเสน่หา. การคลุกคลีกับพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา เป็นการกระทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ การคลุกคลีกับเดียรถีย์นอกนี้เป็น การถือลัทธิ. อันผู้สามารถทำลายวาทะของเดียรถีย์เหล่านั้น แล้วให้ถือ ลัทธิของตน เข้าไปหาควร.

บัดนี้พระสารีบุตรเพื่อจะแสดงอโคจรโดยปริยายอื่น จึงเริ่มคำมี อาทิว่า ยานิ วา ปน ตานิ กุลานิ อนึ่ง ตระกูลบางตระกูล ดังนี้. ใน บทเหล่านั้น ว่า อสฺสทฺธานิ ไม่มีศรัทธา คือเว้นจากศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ตระกูลทั้งหลายย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู พระธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี ดังนี้. บทว่า อปฺปสนฺนานิ ไม่เลื่อมใส คือไม่สามารถทำจิตให้ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ได้. บทว่า อกฺโกสกปริภาสกานิ คือ มักด่ามักบริภาษ. อธิบายว่า ย่อมด่าด้วยอักโกสวัตถุ (เรื่องที่ด่า) ๑๐ อย่าง อย่างนี้คือ ท่านเป็นโจร เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นลา เป็นคนตกในอบาย

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 655

เป็นสัตว์นรก เป็นเดียรัจฉาน ท่านไม่มีสุคติ ท่านหวังทุคติอย่างเดียว และบริภาษด้วยการแสดงภัยอย่างนี้ว่า ช่างเถิด ประเดี๋ยวเราจักประหาร จักจองจำ จักฆ่าท่าน.

บทว่า อนตฺถกามานิ มุ่งความเสื่อม คือไม่ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาความเสื่อมอย่างเดียว. บทว่า อหิตกามานิ มุ่งสิ่งไม่มีประโยชน์ เกื้อกูล คือปรารถนาความไม่มีประโยชน์เกื้อกูลอย่างเดียว ไม่ปรารถนา ความมีประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อผาสุกามานิ มุ่งความไม่สบาย คือไม่ ปรารถนาความสบาย ปรารถนาความไม่สบายอย่างเดียว. บทว่า อโยคกฺ- เขมกามานิ มุ่งความไม่ปลอดโปร่งจากกิเลส คือไม่ปรารถนาความ ปลอดโปร่งจากโยคะ ๔ คือความไม่มีภัย ปรารถนาความมีภัยอย่างเดียว. แม้สามเณรทั้งหลายก็สงเคราะห์เข้าในบทนี้ว่า ภิกฺขูนํ ดังนี้. สิกขมานาก็ดี สามเณรีก็ดี สงเคราะห์เข้าในบทว่า ภิกฺขุนีนํ ดังนี้นี้. การมุ่งความเสื่อม เหล่านั้นแก่บริษัท ๔ ทั้งปวง ผู้บวชและถึงความเป็นสมณะ อุทิศพระผู้มี พระภาคเจ้า. บทว่า ตถารูปานิ กุลานิ คือ ตระกูลทั้งหลายมีตระกูลกษัตริย์ เป็นต้นเห็นปานนั้น. บทว่า เสวติ คือ อาศัยเป็นอยู่. บทว่า ภชติ คบหา คือเข้าไปใกล้. บทว่า ปยิรุปาสติ ติดต่อ คือเข้าไปใกล้บ่อยๆ. บทว่า อยํ วุจฺจติ พึงทราบว่า นี้เรียกว่า อโคจร เป็นโคจรอันไม่สมควร ๓ ประการ คืออโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น ของผู้เที่ยวหาหญิงแพศยา เป็นต้น อโคจรมีพระราชาเป็นต้น ของผู้คลุกคลีกับพระราชาเป็นต้น อโคจรมีตระกูลไม่มีศรัทธาเป็นต้น ของผู้คบตระกูลไม่มีศรัทธาเป็นต้น.

พึงทราบความเป็นอโคจรของภิกษุนั้นโดยปริยายแม้นี้. พึงทราบ อโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น ชื่อว่า อโคจร เพราะอาศัยในกามคุณ ๕ ก่อน. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อะไรเป็นแดนอื่น ซึ่งเป็น

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 656

อโคจรของภิกษุ คือกามคุณ ๕. พึงทราบอโคจรด้วยทำให้เกิดกิเลส ๔ อย่าง คืออโคจรมีพระราชาเป็นต้น ชื่อว่า อโคจร เพราะไม่เป็นอุปนิสัยแห่ง การประกอบเนืองๆ ในฌาน และเพราะเหตุแห่งการบีบด้วยวิตกอันข้อง อยู่ในลาภสักการะและเป็นเหตุให้ทิฏฐิวิบัติ ๑ อโคจรมีตระกูลไม่มีศรัทธา เป็นต้น ชื่อว่าอโคจร เพราะนำความเสื่อมศรัทธาและความประทุษร้าย ทางจิตมาให้ ๑ อโคจรมีการเข้าไปตามละแวกเรือนเป็นต้น ชื่อว่าอโคจร เพราะเห็นรูปด้วยจักษุแล้วถือเป็นนิมิต และบริโภคโภชนะที่เขาให้ด้วย ศรัทธาแล้วขวนขวายในการดูสิ่งอันเป็นข้าศึกแห่งกุศล ๑ กามคุณห้า ๑.

บทว่า มา ภิกฺขเว อโคจเร จรถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงอย่าเที่ยวไปในอโคจร คืออย่าเที่ยวไปในที่ที่ไม่ควรเที่ยวไป. บทว่า ปรวิสเย ในแดนอื่น คือแดนศัตรู. บทว่า อโคจเร ภิกฺขเว จรตํ คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเที่ยวไปในอโคจรอันเป็นที่ไม่สมควร. บทว่า ลจฺฉติ คือ จักได้ จักเห็น. บทว่า มาโร ได้แก่ เทวบุตรมารบ้าง มัจจุมาร บ้าง. บทว่า โอตารํ ได้แก่ ช่องโอกาส.

พึงทราบวินิจฉัยใน โคจรนิทเทส ดังต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า น เวสิยโคจโร โหติ ภิกษุไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจรดังนี้ พึงทราบ โดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวไว้แล้ว. แต่ความต่างกันมีดังนี้. บทว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา โคจโร คือ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโคจร ด้วยเป็นที่สมควร ประพฤติ. บทว่า สเก คือ เป็นของของตน. บทว่า เปตฺติเก วิสเย คือ เป็นแดนอันมาแล้วแต่บิดา.

บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ปรารภความเพียร คือมีความเพียรอัน ได้แก่สัมมัปปธาน ๔ เข้าไปตั้งไว้แล้วโดยชอบ. บทว่า ถามรโต คือ

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 657

มีกำลัง. บทว่า ทฬฺหปรกิกมสฺส คือ มีความเพียรมั่น. บทว่า ยสฺสตฺตา เปสิโต ตนอันภิกษุส่งไปแล้ว คือสละอัตภาพเพื่อพระอรหัต. บทว่า อตฺตตฺเถ จ คือ ในอรหัตตผลอันเป็นประโยชน์ของตน. บทว่า าเย จ คือ ในมรรคมีองค์ ๘ อัน เป็นอริยะ. บทว่า ลกฺขเณ จ คือ ในการ แทงตลอดลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น. บทว่า การเณ จ คือ ใน เหตุ. บทว่า านาาเน จ คือ ในฐานะและอฐานะ อธิบายว่า ในเหตุ และมิใช่เหตุ. บัดนี้พระสารีบุตรเพื่อแสดงให้พิสดาร จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้. บทว่า เอโกทิ นิปโก เป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น คือเป็นบัณฑิตมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า ชาตรูปสฺส โอฬาริกมฺปิ มลํ ธมติ ช่างทองกำจัดมลทินแม้อย่าง หยาบของทอง คือนำมลทินหยาบของทองออกด้วยใช้ไฟ. บทว่า สนฺธมติ คือ นำออกโดยชอบ. บทว่า นิทฺธมติ กำจัด คือนำออกไป ทำไม่ให้ เกิดอีก. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ณาเปติ คือ เผา. บทว่า มชฺณิมกมฺปิ อย่างกลางบ้าง คือละเอียดกว่านั้นบ้าง. บทว่า สุขุมกมฺปิ ละเอียดบ้าง คือละเอียดยิ่งบ้าง. บทว่า เอวเมว เป็นบทแสดงเปรียบเทียบ. บทว่า อตฺตโน โอฬาริเกปิ กิเลเส ธมติ กำจัดกิเลสอย่างหยาบของตน คือ นำกิเลสหยาบมีกายทุจริตเป็นต้นออกไปด้วยความเพียรเผากิเลส. บทว่า มชฺฌิมเกปิ กิเลเส กำจัดกิเลสอย่างกลาง คือกิเลสอย่างกลางระหว่าง กิเลสอย่างหยาบและอย่างละเอียด มีกามวิตกเป็นต้น. บทว่า สุขุมเกปิ กิเลสอย่างละเอียด คือกิเลสอย่างละเอียดยิ่งมีวิตกถึงญาติเป็นต้น. บทว่า สมฺมาทิฏฺิยา มิจฺฉาทิฏฺึ ธมติ กำจัดมิจฉาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 658

นำออกซึ่งมิจฉาทิฏฐิอันวิปริตด้วยสัมมาทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยมรรคพร้อมกับ วิปัสสนา. แม้ในสัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันท่านพระสารีบุตรสรรเสริญด้วยคาถา ๓ คาถา แล้วทูลถามถึงเสนาสนะ โคจร ศีลและพรต เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ศิษย์ทั้งหลาย ๕๐๐ เพื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงเริ่มวิสัชนา โดยนัยมีอาทิว่า วิชิคุจฺฉมานสฺส ของภิกษุผู้เกลียด ดังนี้.

ในคาถาเหล่านั้นพึงทราบความแห่ง คาถาต้น ก่อน. ดูก่อนสารีบุตร เราจะกล่าวซึ่งความผาสุกและธรรมตามสมควรนั้นของภิกษุผู้เกลียด ด้วยชาติเป็นต้น ผู้เสพ ที่นั่ง ที่นอน อันสงัด ผู้ปรารถนาสัมโพธิแก่เธอ ตามที่รู้ คือเรารู้อย่างใดก็จะกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า ยํ ผาสุวิหารํ คือ ความอยู่เป็นผาสุก. บทว่า อสปฺปายรูปทสฺสเนน จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย คือเห็นรูปไม่เป็นที่สบายของ สมณะมีรูปสตรีเป็นต้น. บทว่า ตํ สมฺโพธึ พุชฺณิตุกามสฺส ปรารถนา เพื่อจะตรัสรู้สัมโพธินั้น คือปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้สัมโพธิ อันได้แก่ มรรคญาณ ๔ นั้น. บทว่า อนุพุชฺฌิตุกามสฺส ปรารถนาจะตรัสรู้ตาม คือ ปรารถนาจะตรัสรู้ด้วยการปฏิบัติตามสมควร. บทว่า ปฏิวิชฺฌิตุกามสฺส ปรารถนาจะตรัสรู้เฉพาะ คือปรารถนาจะแทงตลอดทำไว้ในที่เฉพาะหน้า. บทว่า สมฺพุชฺฌิตุกามสฺส ปรารถนาจะตรัสรู้พร้อม คือปรารถนาจะ ตรัสรู้ชอบด้วยการไม่ให้กิเลสที่ละได้แล้วกลับมา. บทว่า อธิคนฺตุกามสฺส คือ ปรารถนาจะบรรลุ. บทว่า สจฺฉิกาตุกามสฺส ปรารถนาจะทำให้แจ้ง คือปรารถนาจะบรรลุด้วยการได้เฉพาะและการทำให้แจ้ง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้โสดาปัตติมรรคญาณ. บทว่า

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 659

อนุพุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้สกทาคามิมรรคญาณอีก. บทว่า ปฏิวิขฺณิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้ด้วยการแทงตลอดอนาคามิมรรคญาณ. บทว่า สนฺพุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้โดยชอบซึ่ง อรหัตตมรรคญาณ. ปรารถนาจะบรรลุแม้ทั้ง ๔ ญาณ. บทว่า ผุสิตุกามสฺส ปรารถนาจะถูกต้อง คือปรารถนาจะถูกต้องด้วยญาณ. บทว่า สจฺฉิกาตุ- กามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะทำให้ประจักษ์ด้วยการพิจารณา. บทว่า จตุนฺนํ มคฺคานํ ปุพฺพภาเค วิปสฺสนา วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่ง มรรค ๔ คือวิปัสสนาญาณมีอุทยัพพยญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความ เกิดและความดับ) เป็นต้น อันเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้นของอริยมรรค ๔.

พึงทราบความใน คาถาที่สอง ดังต่อไปนี้. บทว่า สปฺปริยนฺตจารี ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด คือประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด ๔ อย่าง มีศีลเป็นต้น. บทว่า ฑํสาธิปาตานํ ได้แก่ เหลือบและแมลงวัน. เพราะ เหลือบและแมลงวันเหล่านั้นบินออกจากที่นั้นๆ แล้วกัด เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อธิปาตา (สัตว์ไต่ตอม). บทว่า มนุสฺสผสฺสานํ สัมผัสแต่ มนุษย์ คือสัมผัสแต่โจรเป็นต้น.

บทว่า จตฺตาโร ปริยนฺตา ประพฤติธรรมเป็นส่วนสุดรอบมี ๔ อย่าง ได้แก่ศีลอันเป็นเขตแดน ศีลอันเป็นข้อกำหนด. บทว่า อนฺโต ปูติภาวํ ปจฺจเวกฺขมาโน พิจารณาความเสีย ณ ภายใน คือตรวจดูความ น่าเกลียดในภายใน ความเป็นผู้เว้นจากศีล. บทว่า อนฺโตสีลสํรรปริ- ยนฺเต จรติ ได้แก่ ประพฤติในธรรมภายในอันกำหนดด้วยศีลสังวร. บทว่า มริยาทํ น ภินฺทติ มิได้ทำลายศีลอันเป็นเขตแดน คือไม่ทำศีล

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 660

อันเป็นเขตแดน ศีลอันเป็นข้อกำหนดให้กำเริบ. บทว่า อาทิตฺตปริยายํ ปจฺจเวกฺขมาโน คือ พิจารณาอาทิตตปริยาเทศนา.

บทว่า อกฺขพฺภญฺชนวณปฏิจฺฉาทนปุตฺตมํสูปมํ ปจฺจเวกฺขมาโน พิจารณาอาหารเปรียบด้วยน้ำมันหยอดเพลาเกวียน ผ้าพันแผลและเนื้อ บุตร คือพิจารณาอาหารดุจน้ำมันหยอดเพลาของเกวียน อุปมาด้วยผ้าเก่า ชุบน้ำมันพันแผลของตนเป็นโรคเรื้อน และอุปมาด้วยการกินเนื้อบุตร ของผัวเมียที่เดินทางกันดาร. บทว่า ภทฺเทกรตฺตวิหารํ ปจฺจเวกฺขมาโน พิจารณาถึงความเป็นอยู่แห่งบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือพิจารณาภัทเทกรัตตวิหารธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงอดีต ไม่ควรหวังถึงอนาคต มุนี ผู้สงบ เรียกบุคคลนั้นแลว่า เป็นผู้มีราตรีเดียวเจริญ ดังนี้.

บทว่า ตา อุปฺปติตฺวา อุปฺปติตฺวา ขาทนฺติ แมลงวันเหล่านั้นย่อม บินตอมกัดกิน.

พึงทราบความแห่ง คาถาที่สาม ดังต่อไปนี้. คนภายนอกแม้ทั้ง หมดเว้นสหธรรมิก ๗ จำพวก ชื่อว่า ปรธมฺมิกา คนที่ตั้งอยู่ในธรรม อื่น. บทว่า กุสลานุเอสี ผู้แสวงหากุศล คือแสวงหากุศลธรรม. บทว่า สตฺต สหธมฺมิเก เปตฺวา เว้นสหธรรมิก ๗ จำพวก คือเว้นภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา. บทว่า อถาปรานิปิ อตฺถิ อภิสมฺโภตพฺพานิ คือ อนึ่ง อันตรายแม้เหล่าอื่น มีอยู่ ภิกษุทั้งหลายพึงย่ำยี.

พึงทราบความใน คาถาที่สี่ ดังต่อไปนี้. บทว่า อาตงฺกผสฺเสน ได้แก่ ผัสสะคือโรค. บทว่า สีตํ อถุณฺหํ ได้แก่ ความหนาวและความ

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 661

ร้อน. บทว่า โส เตหิ ผุฏฺโ พหุธา คือ ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่านั้นมี โรคเป็นต้น กระทบแล้วโดยอาการไม่น้อย. บทว่า อโนโก เป็นผู้ไม่เปิด โอกาส คือไม่ให้โอกาสแก่วิญญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขารเป็นต้น. บทว่า อพฺภนฺตรธาตุสงฺโกปวเสน วา ความหนาวย่อมมีด้วยสามารถแห่งอาโปธาตุภายในร่างกายกำเริบ คือด้วยสามารถแห่งอาโปธาตุภายในกำเริบ หรือ ด้วยสามารถแห่งธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งกำเริบ. บทว่า อุณฺหํ ความร้อน คือความร้อนย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งเตโชธาตุภายในร่างกายกำเริบ. บทว่า อภิสงฺขารสหคตวิญฺาณสฺส วิญญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขาร คือจิตที่สัมปยุตด้วยกุศลเจตนาและอกุศลเจตนา. บทว่า โอกาสํ น กโรติ ไม่เปิดโอกาส คือไม่เปิดช่องที่อาศัย. บทว่า อรฏฺิตสมาทาโน พึง เป็นผู้สมาทานมั่น คือหยั่งลงยึดไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแก้ความที่พระสารีบุตรถามด้วยคาถา ๓ คาถามีอาทิว่า เมื่อภิกษุเกลียดอยู่อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแก้ปัญหาที่พระสารีบุตรถามโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำอย่างไร จึง ตรัสคำมีอาทิว่า ภิกษุไม่พึงทำการขโมย ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผสฺเส คือ พึงแผ่. บทว่า ยทาวิลตฺตํ มนโส วิชญฺา ความว่า ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ พึงบรรเทาเสียซึ่งความ ขุ่นใจนั้นทั้งหมด ด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า อทินฺนาทานํ ปหาย ภิกษุละอทินนาทานเสีย ดังต่อไปนี้ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ชื่อว่า อทินนาทาน. การนำไปมีคำอธิบายว่า การขโมยของคนอื่นท่านกล่าวว่า เป็นโจร. ใน บทเหล่านั้น บทว่า อทินฺนํ คือ ของที่คนอื่นหวงแหน. คนอื่นถึงความเป็น

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 662

ผู้ทำตามความปรารถนา ไม่ควรลงอาชญา และไม่ควรว่ากล่าวติเตียน ใน ของที่ผู้อื่นหวงแหนใด โดยเจตนาอันยังความพยายามเพื่อถือเอาของที่ผู้ อื่นหวงแหนนั้น ตั้งขึ้น ของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนว่า เป็น ของอันผู้อื่นหวงแหนเป็นอทินนาทาน. อทินนาทานนั้นมีโทษน้อยในของ ผู้อื่นที่เลว มีโทษมากในของที่ประณีต. เพราะเหตุไร. เพราะวัตถุ ประณีต. เมื่อวัตถุสมบูรณ์มีโทษมาก ในวัตถุ อันเป็นของของผู้ยิ่งด้วย คุณธรรม. มีโทษน้อยในวัตถุอันเป็นของของผู้มีคุณเลวกว่าผู้ยิ่งด้วยคุณ นั้นๆ.

อทินนาทานั้นมีองค์ ๕ คือของอันผู้อันหวงแหน ๑ รู้อย่าว่าผู้อื่น หวงแหน ๑ จิตคิดจะขโมย ๑ พยายามที่จะขโมย ๑ นำไปได้ด้วย ความพยายามนั้น ๑.

บทว่า ปหาย คือ ละความเป็นผู้ทุศีล อันได้แก่เจตนาที่จะถือเอา ของที่เขาไม่ให้ตน. บทว่า ปฏิวิรโต คือ งดเว้นจากความเป็นผู้ทุศีลนั้น ตั้งแต่เวลาที่ละได้แล้ว. ชื่อว่า ทินฺนาทายี เพราะถือเอาแต่ของที่เขาให้ อย่างเดียว. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะหวังได้แต่ของที่เขาตั้งใจให้ อย่างเดียว. ชื่อว่า เถโน คือ ขโมย. พึงเป็นผู้มีจิตไม่เป็นขโมย. เป็นผู้มีจิตสะอาดเพราะเป็นผู้มีจิตไม่ขโมย. บทว่า อตฺตา คือ ด้วยความ เป็นตน. ท่านอธิบายว่า ทำความเป็นตนให้มีจิตสะอาดมีจิตไม่ขโมย. ต่อ จากนี้ มีนัยดังกล่าวแล้ว.

ความไมตรีด้วยอำนาจความเมตตา. อาการแห่งความเมตตา ชื่อว่า เมตตฺายนา. ความที่จิตมีความพร้อมเพรียงด้วยเมตตา ชื่อว่า เมตฺตายิตตฺตํ. ชื่อว่า อนุทฺทยนา เพราะย่อมเอ็นดู. อธิบายว่า ย่อมรักษา. อาการแห่งความเอ็นดู ชื่อว่า อนุทฺทยนา. ความเป็นผู้เอ็นดู ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 663

อนุทฺทายิตตฺตํ. การแสวงหาประโยชน์ด้วยอำนาจแห่งการหาประโยชน์ เกื้อกูล. ความอนุเคราะห์ด้วยอำนาจแห่งความช่วยเหลือ. ด้วยบทแม้ทั้ง หมดเหล่านี้ท่านกล่าวว่า เมตตา อันถึงอุปจาร (ใกล้เคียง) และอัปปนา (แนบแน่น). พึงเห็นความที่เมตตาไพบูลย์ด้วยการแผ่ไปในบทนี้ว่า วิปุเลน ด้วยความไพบูลย์. จิตนั้นถึงความเป็นใหญ่ด้วยอำนาจภูมิ. ไม่มีประมาณ ด้วยอำนาจความคล่องแคล่ว. อนึ่ง ไม่มีประมาณด้วยอำนาจสัตตารมณ์ (มีสัตว์เป็นอารมณ์) ไม่มีเวรด้วยการละข้าศึกคือพยาบาท ชื่อว่าไม่มี พยาบาทเพราะละโทมนัส. อธิบายว่า ไม่มีทุกข์. บทว่า อาวิลํ ขุ่นมัว คือไม่ผ่องใส. บทว่า ลุลิตํ เศร้าหมอง คือเป็นกลละ (เปือกตม). บทว่า เอริตํ ยุ่ง คือไม่ตกลง. บทว่า ฆฏฺฏิตํ วุ่น คือถึงความกระทบ ด้วยอารมณ์. บทว่า จลิตํ หวั่นไหว คือสั่นสะเทือน. บทว่า ภนฺตํ หมุนไป คือละหน้าที่. บทว่า อวูปสนฺตํ ไม่สงบ คือไม่ดับ.

พึงทราบวินิจฉัยบททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า โย โส มาโร ดังนี้ ต่อไป. ชื่อว่า มาร เพราะชักชวนมหาชนให้ประกอบความฉิบหายแล้ว ฆ่า. ชื่อว่า กณฺห เพราะมีกรรมดำ. ชื่อว่า อธิปติ เพราะเป็นใหญ่ ในกามาวจร. ชื่อว่า อนฺตคู เพราะให้สัตว์ถึงความตาย. ชื่อว่า นมุจิ เพราะไม่ให้สัตว์พ้นไปได้. ชื่อว่า มารพฬิสํ เพราะเป็นเบ็ดมาร. ชื่อว่า มารามิสํ เพราะเป็นเหยื่อมารโดยอาศัยวัฏฏะ. ชื่อว่า มารนิสโย เพราะ เป็นวิสัยแห่งมารโดยให้อยู่ในอำนาจ. ชื่อว่า มารนิวาโป เพราะเป็น เหยื่อของมารโดยเป็นอารมณ์. ชื่อว่า มารโคจโร เพราะเป็นอารมณ์ของ มารโดยเที่ยวไปสู่กาม. ชื่อว่า มารพนฺธนํ เพราะเป็นเครื่องผูกของมาร โดยแก้ออกได้ยาก. ชื่อว่า ทุกฺขพนฺธโน เพราะทำให้เกิดทุกข์.

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 664

บทว่า มูลมฺปิ เตสํ ปลิขญฺ ติฏฺเ ภิกษุพึงขุดรากความโกรธ และความดูหมิ่นเหล่านั้นตั้งอยู่ คือพึงขุดรากมีอวิชชาเป็นต้นของความ โกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้นตั้งอยู่. บทว่า อทฺธา ภวนฺโต อภิสมฺ- ภเวยฺย คือ ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังโดยส่วนเดียว เท่านั้น. อธิบายว่า ไม่พึงยินดีสิ่งที่รัก ไม่พึงเกลียดสิ่งที่ไม่น่ารัก.

บทว่า อวิชฺชา มูลํ คือ อวิชชาเป็นต้น เป็นมูลแห่งความโกรธ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัยและสหชาตปัจจัยเป็นต้น. ธรรมสองอย่างเหล่านี้ คือไม่ทำไว้ในใจโดยอุบาย ๑ การถือตัว ๑ เป็นมูลของความโกรธด้วย อำนาจอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมสามอย่างเหล่านี้ คือความไม่ละอาย ๑ ความ ไม่เกรงกลัว ๑ ความฟุ้งซ่าน ๑ เป็นมูลของความโกรธ ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัยและสหชาตปัจจัย. แม้แห่งอติมานะ (ความดูหมิ่น) ก็ เหมือนกัน.

บทว่า ปญฺํ ปุรกฺขิตฺวา คือ ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า. บทว่า กลฺยาณปีติ มีปีติงาม คือประกอบด้วยกัลยาณปีติ. บทว่า จตุโร สเหถ ปริเทวธมฺเม คือ พึงปราบปริเทวธรรม (ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความรำพัน) สี่อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้ในคาถาเป็นลำดับไป.

บทว่า วิจยพหุโล มีความเลือกเฟ้นมาก คือมีความไตร่ตรองมาก. บทว่า ปวิจยพหุโล มีความเลือกเฟ้นทั่วมาก คือมีความไตร่ตรองมาก เป็นพิเศษ. บทว่า โอกฺขายนพหุโล มีปัญญาเครื่องเห็นมาก คือมีความ เห็นมาก. บทว่า สเมกฺขายนพหุโล มีความเสาะหามาก คือมีการแสวง หามาก. บทว่า วิภูตวิหารี คือ อยู่ด้วยการทำความรู้ให้ปรากฏ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต ในการก้าวไป

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 665

ในการถอยกลับนี้ต่อไป. การเดินไปเรียกว่า ก้าวไป การเดินกลับเรียกว่า ถอยกลับ. แม้ทั้งสองนั้นก็ได้ในอิริยาบถ ๔ พึงทราบความในการเดิน ก่อน การนำกายไปข้างหน้า ชื่อว่า ก้าวไป การยังกายให้ถอยกลับ ชื่อว่า ถอยกลับ. ยืนอยู่กับที่น้อมกายไปข้างหน้า ชื่อว่า ก้าวไป ถอยไปข้างหลัง ชื่อว่า ถอยกลับ. นั่งอยู่กับที่ หันหน้าหมุนไปทางอาสนะ ชื่อว่า ก้าวไป หมุนอวัยวะไปข้างหลัง ชื่อว่า ถอยกลับ. แม้ในการนอนก็มีนัยนี้เหมือน กัน. บทว่า สมฺปชานการี โหติ คือ การทำกิจทั้งหมดด้วย สัมปชัญญะ. หรือว่าการทำความรู้สึกตัวนั่นเอง. จริงอยู่ ผู้มีสัมปชัญญะนั้นย่อมทำความ รู้สึกตัวในการก้าวไปเป็นต้น เป็นผู้ไม่เว้นจากความรู้สึกตัวไม่ว่าในที่ไหนๆ.

พึงทราบความในบทว่า อาโลกิเต วิโลกิเต ในการแลดูในการ เหลียวดูนี้ต่อไป. การเพ่งไปข้างหน้า ชื่อว่า การแลดู การเพ่งดูไปตาม ทิศ ชื่อว่า การเหลียวดู. แม้อย่างอื่นที่มีการก้มการแหงนการมองดูไปทั่วๆ ด้วยการเพ่งดูไปข้างล่างข้างบนข้างหลัง. ในที่นี้มิได้ถือเอาอย่างนั้น. แต่ โดยสรุปถือเอาสองอย่างเหล่านี้ หรือถือเอาทั้งหมดโดยเป็นหัวข้อนี้เท่านั้น. บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ได้แก่ ในการคู้เข้าการเหยียดออกซึ่งอวัยวะทั้งหลาย.

พึงทราบความในบทว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ ในการครอง สังฆาฏิ บาตร และจีวรนี้ต่อไป. การใช้ด้วยการนุ่งและการห่มสังฆาฏิ และจีวร ด้วยการรับภิกษาแห่งบาตร ชื่อว่า ธารณ (การครอง).

พึงทราบความในบทว่า อสิต การฉัน เป็นต้นต่อไป. บทว่า อสิเต คือ ในการฉันบิณฑบาต. บทว่า ปีเต คือ ในการดื่มข้าวยาคู. เป็นต้น. บทว่า ขายิเต คือ ในการเคี้ยวมีของเคี้ยวทำด้วยแป้งเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 666

บทว่า สายิเต คือ ในการลิ้มมีน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น. บทว่า อุจฺจารปสิสาวกมฺเม คือ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ.

พึงทราบในบทว่า คต เป็นต้นต่อไป. บทว่า คเต คือ ในการ เดิน. บทว่า ิเต คือ ในการยืน. บทว่า นิสินฺเน คือ ในการนั่ง. บทว่า สุตฺเต คือ ในการนอน. บทว่า ชาคริเต คือ ในการตื่น. บทว่า ภาสิเต คือ ในการพูด. ในบทว่า ภาสิเต นั้นมีความดังนี้. เมื่อสัททายตนะอันเป็นอุปาทายรูปเป็นไปไม่ได้ ก็ไม่ชื่อว่าพูด เมื่อ สัททายตนะยังเป็นไปได้ ก็ชื่อว่าพูดได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้กำหนด ชื่อว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการพูด. ภิกษุแสดงธรรมในหัวข้อ วิมุตตายตนะ (การหลุดพ้น) บ้าง ละติรัจฉานกถา ๓๒ กล่าวกถาอิงกถาวัตถุ ๑๐ บ้าง ก็ชื่อว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการพูด. บทว่า ตุณฺหีภาเว ในการนิ่ง คือไม่พูด. ในบทว่า ตุณฺหีภาเว นั้น มีความดังนี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้นิ่งย่อมไม่มี ในเมื่อสัททายตนะอันเป็นอุปาทายรูปยังเป็นไป ได้อยู่ ย่อมมีได้ในเมื่อสัททายตนะอันเป็นอุปาทายรูปเป็นไปไม่ได้ ด้วย เหตุนั้น ภิกษุผู้กำหนดจึงชื่อว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในความเป็นผู้นิ่ง. ภิกษุนั่งเรียนกัมมัฏฐานอันเป็นที่ชอบใจในอารมณ์ ๓๘ ก็ดี เข้าทุติยฌาน ก็ดี ชื่อว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในความเป็นผู้นิ่ง. อนึ่ง ในบทนี้ อิริยาบถ หนึ่งมาแล้วในฐานะสอง. ในบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้ เมื่อภิกษุ เดินไปเดินมายังบ้านเพื่อภิกษาจาร ท่านกล่าวถึงภิกษุนั้นในภายหลังด้วย การเดินทางไกล. ในบทว่า คเต ิเต นิสินฺเน พึงทราบว่า ท่านกล่าว ด้วยการยกเท้าอันมีฝุ่นละอองในวิหาร. บทมีอาทิว่า พุทฺธานุสฺสติวเสน ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุสสติ ท่านประกาศไว้แล้วในที่นั้นๆ ในหนหลัง.

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 667

บทว่า อรติ ความไม่ยินดี คือห้ามความยินดี. บทว่า อรติกา คือ อาการไม่ยินดี. บทว่า อนภิรติ คือ ความไม่ยินดียิ่ง. บทว่า อนภิรมนา คือ อาการไม่ยินดีเฉพาะ. บทว่า อุกฺกณฺิกา คือ อาการเบื่อ. บทว่า ปริตฺตสิกา ความระอา คือความระอาด้วยความเบื่อ.

บทว่า กึสุ อสิสฺสามิ คือ เราจักฉันอะไร. บทว่า กุวํ วา อสิสฺสํ คือ เราจักฉันที่ไหน. บทว่า ทุกฺขํ วต เสตฺถ กุวชฺช เสสฺสํ คือ วันนี้ เรานอนลำบากตลอดคืนนี้ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน. บทว่า เอเต วิตกฺเก ได้แก่ วิตก ๔ อย่าง คือวิตกอาศัยบิณฑบาต ๒ อย่าง อาศัยเสนาสนะ ๒ อย่าง. บทว่า อนิเกตจารี ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป ไม่มี ตัณหาท่องเที่ยวไป.

บทว่า ผลเก วา บนแผ่นกระดาน คือบนหลังกระดานมีกระดาน คดเป็นต้น. บทว่า อาคมนรตฺตึ คือ ราตรีที่จะมาถึง. บทว่า อาเทวเนยฺเย เป็นฐานแห่งความปรับทุกข์ คือปรับทุกข์เป็นพิเศษ. บทว่า ปริเทวเนยฺเย เป็นฐานแห่งความรำพัน คือรำพันไปรอบๆ.

บทว่า กาเล คือ ในเวลาออกบิณฑบาต. อธิบายว่า ได้ข้าว คือบิณฑบาตหรือเครื่องนุ่งห่ม คือจีวรโดยธรรมโดยเสมอ. บทว่า มตฺตํ โส ชญฺา ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ คือพึงรู้จักประมาณในการรับและ การบริโภค. บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. หรือบทว่า อิธ นี้ เป็น เพียงนิบาตเท่านั้น. บทว่า โตสนตฺถํ คือ เพื่อสันโดษ. ท่านอธิบายว่า พึงรู้จักประมาณเพื่อประโยชน์นั้น. บทว่า โส เตสุ คุตฺโต คือ ภิกษุ นั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น. บทว่า ยตจารี คือ เป็นผู้สำรวมเที่ยวไป. ท่านอธิบายว่า รักษาอิริยาบถ และรักษากายทวาร วจีทวาร มโนทวาร.

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 668

ปาฐะว่า ยติจารี บ้าง. มีความอย่างเดียวกัน. บทว่า รุสิโต คือ ถูกเขา ด่า. อธิบายว่า ถูกเขาเสียดสี.

บทว่า ทฺวีหิ การเณหิ มตฺตํ ชาเนยฺย คือ พึงรู้จักประมาณด้วย เหตุ ๒ อย่าง. บทว่า ปฏิคฺคหณโต วา โดยการรับ คือโดยกาลรับของ ที่ผู้อื่นถวาย. บทว่า ปริโภคโต วา โดยการบริโภค คือ โดยกาลบริโภค. บทว่า โถเกปิ ทียมาเน คือ เมื่อทายกถวายแม้น้อย. บทว่า กุลานุทฺทยาย คือ เพื่อความเอ็นดูแก่ตระกูล. บทว่า กุลานุรกฺขาย คือ เพื่อรักษา ตระกูล. บทว่า ปฏิคฺคณฺหาติ คือ รับแม้น้อย. บทว่า พหุเกปิ ทียมาเน คือ เมื่อทายกถวายแม้มาก.

พึงทราบความในบทว่า กายปริหาริยํ จีวรํ ปฏิคฺคณฺหาติ ภิกษุ รับจีวรพอบริหารกายนี้ต่อไป ชื่อว่า กายปริหาริยํ เพราะบริหารเลี้ยง ร่างกาย. ชื่อว่า กุจฺฉิปริหาริยํ เพราะบริหารเลี้ยงท้อง. บริขาร ๘ คือ ไตรจีวร บาตร มีดตัดไม้ชำระฟัน เข็ม ประคดเอว หม้อกรองน้ำ ย่อมควรแก่ ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยสันโดษในปัจจัยตามมีตามได้. สมดังที่ ท่านกล่าวไว้ว่า

บริขาร ๘ เหล่านี้ คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม ประคดเอว หม้อกรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบความ เพียร ดังนี้.

บริขารทั้งหมดนั้น เป็นทั้งการบริหารกาย เป็นทั้งการบริหารท้อง. อย่างไร. ไตรจีวร ย่อมบริหารเลี้ยงกายในเวลานุ่งและห่มเที่ยวไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นการบริหารกาย. ไตรจีวรบริหารเลี้ยงท้อง ในเวลา เอาชายจีวรกรองน้ำดื่ม และในเวลารับผลไม้น้อยใหญ่ที่ควรเคี้ยว เพราะ เหตุนั้น จึงเป็นการบริหารท้อง. แม้บาตรก็เป็นการบริหารกาย ในเวลา

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 669

เอาบาตรตักน้ำอาบ และในเวลาทำความสะอาดกุฏิ เป็นการบริหารท้อง ในเวลารับอาหารฉัน. แม้มีดก็เป็นการบริหารกาย ในเวลาเอามีดนั้นตัด ไม้สีฟัน และในเวลาแต่งเชิงเตียง และตั่ง จีวร และใช้ไม้ทำกุฏิ เป็น การบริหารท้อง ในเวลาตัดอ้อยและปอกมะพร้าว. เข็มเป็นการบริหารกาย ในเวลาเย็บจีวร เป็นการบริหารท้อง ในเวลาจิ้มขนมหรือผลไม้กิน. รัด ประคดเป็นการบริหารกาย ในเวลาพันกายเที่ยวไป เป็นการบริหารท้อง ในเวลามัดอ้อยเป็นต้นถือเอา. หม้อกรองน้ำเป็นการบริหารกาย ในเวลา เอาหม้อกรองนั้นกรองน้ำอาบ และในเวลาทำความสะอาดเสนาสนะ เป็น การบริหารท้อง ในเวลากรองน้ำดื่ม และในเวลารับงา ข้าวสาร ข้าวเม่า เป็นต้น ด้วยหม้อกรองน้ำนั้นฉัน.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส พิจารณาโดยแยบคาย อธิบายว่า พิจารณาโดยอุบาย คือโดยทำนองคลองธรรม. อนึ่ง ในบทนี้ พึงทราบ ว่า การพิจารณาโดยนัยมีอาทิว่า สีตสฺส ปฏิฆาตาย เพื่อกำจัดความหนาว เป็นการพิจารณาโดยแยบคาย ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า จีวรํ ได้แก่ จีวรผืนใดผืนหนึ่ง ในบรรดาอันตรวาสก (ผ้าสบง) เป็นต้น. บทว่า ปฏิเสวติ คือ ใช้. ได้แก่ นุ่งหรือห่ม. บทว่า ยาวเทว เป็นคำกำหนด เขตของประโยชน์ เพราะว่าประโยชน์ในการใช้จีวรของพระโยคีมีเพียง เท่านี้ คือเพื่อกำจัดความหนาวเป็นต้นไม่ยิ่งไปกว่านั้น. บทว่า สีตสฺส ความหนาว คือความหนาวอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเกิดขึ้นด้วยธาตุภายใน กำเริบ หรือความเปลี่ยนแปลงฤดูในภายนอก. บทว่า ปฏิฆาตาย คือ เพื่อกำจัด. เพื่อบรรเทาอาพาธโดยอาการที่ไม่ให้อาพาธนั้นเกิดในร่างกาย. เพราะเมื่อร่างกายถูกความหนาวเบียดเบียน ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่านไม่สามารถ

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 670

ตั้งความเพียรโดยแยบคายได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง อนุญาตว่า ภิกษุพึงใช้จีวรเพื่อกำจัดความหนาวดังนี้. ในบททั้งปวงก็มี นัยนี้. เพราะในบทนี้มีอย่างเดียว. บทว่า อุณฺหสฺส ความร้อน คือ ความร้อนของไฟ. ความร้อนของไฟนั้นพึงทราบว่า เกิดขึ้นในเพราะ ไฟไหม้ป่าเป็นต้น.

อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ว่า ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ สัมผัส เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลานต่อไป. บทว่า ฑํส คือ เหลือบ. ท่านเรียกว่า อนฺธมกฺขิกา บ้าง. บทว่า มกส คือยุง นั่นเอง. บทว่า วาต คือ ลมเกิดแต่เสียงและเกิดแต่การหมุนของวงล้อ. บทว่า อาตโป คือ ความร้อนจากดวงอาทิตย์. บทว่า สิรึสป คือ ทีฆชาติ ประเภทใดประเภทหนึ่ง มีงูเป็นต้น เลื้อยคลานไป. สัมผัสเหล่านั้น สัมผัส สองอย่าง คือทัฏฐสัมผัส (ถูกกัด) ๑ ผุฏฐสัมผัส (ถูกต้อง) ๑. สัมผัสแม้นั้น ย่อมไม่เบียดเบียนภิกษุผู้นั่งห่มจีวร. เพราะฉะนั้น ภิกษุใช้จีวรเพื่อกำจัด สัมผัสเหล่านั้น ในฐานะเช่นนั้น. จะกล่าวถึงบทว่า ยาวเทว อีก คือ เพื่อแสดงกำหนดเขตของประโยชน์ที่แน่นอน. เพราะประโยชน์ที่แน่นอน คือการปกปิดอวัยวะที่ยังความละอายให้กำเริบ. นอกนี้ย่อมเป็นบางครั้ง บางคราว. ในบทเหล่านั้น บทว่า หิริโกปินํ ยังหิริให้กำเริบ คืออวัยวะ นั้นๆ เป็นที่คับแคบ. เพราะเมื่ออวัยวะใดๆ เปิด หิริย่อมกำเริบคือเสียหาย ท่านจึงเรียกอวัยวะนั้นๆ ว่า หิริโกปิน เพราะยังหิริให้กำเริบ ชื่อว่า หิริโกปินปฏิจฺฉาทนตฺถํ เพราะปกปิดอวัยวะอันจะยังหิริให้กำเริบนั้น. ปาฐะว่า หิริโกปินํ ปฏิจฺฉาทนฺตฺถํ บ้าง ความอย่างเดียวกัน.

บทว่า ปิณฺฑปาตํ คือ อาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง. จริงอยู่ ท่าน

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 671

เรียกอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ปิณฺฑปาต เพราะตกไปในบาตรของ ภิกษุโดยความเป็นก้อน. หรือชื่อว่า ปิณฺฑปาโต เพราะก้อนข้าวตกลง ไป. อธิบายว่า รวบรวมภิกษาที่ได้ในที่นั้นๆ. บทที่เหลือมีนัยดังได้ กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า เสนาสนํ คือ ที่นอนและที่นั่ง. ก็ภิกษุนอนที่ใดๆ จะเป็น ในวิหาร หรือในเรือนมุงด้านเดียว ที่นั้นเรียกว่า เสนะ คือ ที่นอน. ภิกษุนั่งในที่ใดๆ ที่นั้นเรียกว่า อาสนะ คือ ที่นั่ง. ที่นอนที่นั่งเป็นอัน เดียวกัน เรียกว่า เสนาสนะ คือที่นอนที่นั่ง. บทว่า อุตุปริสฺสยวิโนทนปฏิสลฺลานารามตฺถํ เพื่อบรรเทาอันตรายเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีใน การหลีกเร้น คือฤดูนั่นแหละเป็นอันตราย จึงเรียกว่า อุตุปริสฺสย. เพื่อ บรรเทาอันตรายแต่ฤดู. และเพื่อความยินดีในการหลีกเร้น. ฤดูใดเป็นฤดู ไม่สบายทำให้ร่างกายและจิตใจผิดปกติ พึงบรรเทาฤดูนั้นด้วยการใช้ เสนาสนะ. เพื่อบรรเทาฤดูนั้น. อธิบายว่า เพื่อความสุขอัน เป็นเอกภาพ.

ท่านกล่าวการบรรเทาอันตรายเกิดแต่ฤดู ด้วยบทมีอาทิว่า สีตปฏิฆาต กำจัดความหนาวโดยแท้. ท่านกล่าวว่า ก็เพราะประโยชน์ที่ แน่นอน คือการปกปิดอวัยวะอันจะยังหิริให้กำเริบในการใช้จีวร นอกนั้น เป็นบางครั้งบางคราวฉันใด แม้ในบทนี้ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าว ดังนี้หมายถึงความแน่นอน คือการบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดู. อีก อย่างหนึ่ง ฤดูที่ได้กล่าวแล้วนี้คืออุตุเท่านั้น.

แต่อันตรายมีสองอย่าง คืออันตรายปรากฏ ๑ อันตรายปกปิด ๑ ในอันตรายสองอย่างนั้น อันตรายปรากฏ ได้แก่ ราชสีห์และเสือโคร่ง เป็นต้น. อันตรายปกปิด ได้แก่ ราคะและโทสะเป็นต้น. อันตราย

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 672

เหล่านั้นไม่ทำการเบียดเบียนด้วยการไม่คุ้มครอง และด้วยการเห็นรูปไม่ เป็นที่สบายเป็นต้น ในเสนาสนะใด ภิกษุรู้พิจารณาอย่างนี้แล้ว ใช้ เสนาสนะนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า พิจารณาเสนาสนะโดยแยบคาย ฯลฯ ใช้เสนาสนะเพื่อบรรเทาอันตรายเกิดแต่ฤดู.

พึงทราบความในบทนี้ว่า คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารํ บริขาร คือคิลานปัจจัยเภสัชต่อไป. ชื่อว่า ปจฺจโย เพราะต่อต้านโรค อธิบายว่า ถึงความเป็นข้าศึกกัน. บทนี้ เป็นชื่อแห่งความสบายอย่างใดอย่างหนึ่ง การกระทำของหมอ ชื่อว่า เภสัชชะ เพราะอนุญาตให้ใช้ยาเป็นปัจจัยแห่ง คนไข้. เภสัช ก็คือคิลานปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่า คิลานปัจจัยเภสัช. ท่าน อธิบายว่า การการทำของหมอ เป็นที่สบายของคนไข้ด้วยเภสัช มีน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ปริกฺขาโร ท่านเรียกว่า บริวารในประโยคมีอาทิว่า นครล้อมไว้เป็นอย่างดีด้วยการล้อมนคร ๗ ชั้น. เรียกว่าเครื่องประดับ ในประโยคมีอาทิว่า รถประดับด้วยสีขาว มีฌานเป็น เพลา มีวิริยะเป็นล้อ. เรียกว่าของใช้ ในบทมีอาทิว่า บรรพชิตควรหา ของใช้อันจำเป็นแก่ชีวิต. แต่ในที่นี้ เป็นของใช้บ้าง เป็นบริวารบ้างก็ ควร. อนึ่ง คิลานปัจจัยเภสัชนั้น ชื่อว่า เป็นบริวารของชีวิตบ้าง เพราะ ป้องกัน ไม่ให้ช่องเพื่อเกิดอาพาธ อันจะทำความเสียหายแก่ชีวิต, ชื่อว่า เป็นของใช้บ้าง เพราะเป็นเหตุให้ชีวิตเป็นไปได้นาน. เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ปริกฺขาโร. ชื่อว่า คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาโร เพราะเป็น คิลานปัจจัยเภสัช และเป็นบริขาร. ซึ่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น. ท่าน อธิบายว่า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น อันหมออนุญาตแล้วอย่างใด

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 673

อย่างหนึ่ง เป็นที่สบายของคนไข้ ชื่อว่าเป็น ชีวิตบริขาร. บทว่า อุปปนฺนานํ คือ เกิดแล้ว เป็นแล้ว บังเกิดแล้ว.

บทว่า พฺยาพาโธ ในบทว่า เวยฺยาพาธิกานํ นี้ คือ ธาตุกำเริบ. โรคเรื้อน ฝี ฝีหัวขาดเป็นต้น ซึ่งมีธาตุกำเริบเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า เวยฺยาพาธิกา เพราะเกิดจากธาตุกำเริบ. บทว่า เวทนา ได้แก่ ทุกขเวทนา คือเวทนาอันเป็นผลแห่งอกุศล. เพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดแต่ ธาตุกำเริบเหล่านั้น. บทว่า อพฺยาปชฺฌปรมตาย เพื่อความไม่ลำบาก เป็นอย่างยิ่ง คือเพื่อความไม่มีทุกข์เป็นอย่างยิ่ง. อธิบายว่า ตลอดเวลา ที่ละทุกข์ได้หมด.

บทว่า สนฺตุฏฺโ โหติ ภิกษุเป็นผู้สันโดษ คือสันโดษด้วยปัจจัย. บทว่า อิตรีตเรน จีวเรน ด้วยจีวรตามมีตามได้ คือไม่ใช่สันโดษด้วย จีวรผืนใดผืนหนึ่ง บรรดาจีวรเนื้อหยาบ ละเอียด เศร้าหมอง ประณีต ยังใหม่ และเก่า ที่แท้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรผืนใดผืนหนึ่งตามมีตามได้ ในบรรดาจีวรตามที่ได้แล้วเป็นต้น. จริงอยู่ ในจีวรมีสันโดษ ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ (สันโดษตามที่ได้) ๑ ยถาพลสันโดษ (สันโดษตาม กำลัง) ๑ ยถาสารุปปสันโดษ (สันโดษตามสมควร) ๑. แม้ในบิณฑบาต เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า วณฺณวาที กล่าวคุณ ความว่า ภิกษุ รูปหนึ่งเป็นผู้สันโดษย่อมไม่กล่าวคุณของความสันโดษ รูปหนึ่งเป็นผู้ไม่ สันโดษ ย่อมกล่าวคุณของความสันโดษ รูปหนึ่งทั้งเป็นผู้ไม่สันโดษ ทั้งไม่กล่าวคุณของความสันโดษ รูปหนึ่งทั้งเป็นผู้สันโดษ ทั้งเป็นผู้กล่าว คุณของความสันโดษ เพื่อแสดงถึงการกล่าวคุณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อิตรีตรสนฺตุฏฺิยา จ วณฺณวาที ผู้กล่าวคุณแห่งความสันโดษ

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 674

ด้วยจีวรตามมีตามได้ ดังนี้. บทว่า อเนสนํ การแสวงหาผิด คือการ แสวงหาไม่สมควรมีประการต่างๆ มีประเภทเช่นเป็นทูตส่งข่าว เดิน ส่งข่าว. บทว่า อปฺปฏิรูปํ คือ ไม่สมควร. บทว่า ลทฺธา จ คือ ได้แล้ว โดยธรรมโดยเสมอ. บทว่า อคธิโต ไม่อยาก คือปราศจากความโลภ. อนุจฺฉิโต ไม่หลง คือไม่หลงด้วยอยากได้ให้มาก. บทว่า อนชฺฌาปนฺโน ไม่พัวพัน คือไม่ถูกตัณหาท่วมทับ ไม่พัวพันด้วยตัณหา. บทว่า อาทีนวทสฺสาวี เห็นโทษ คือเห็นโทษในการแสวงหาไม่สมควร และ ในการบริโภคด้วยความอยาก. บทว่า นิสฺสรณปญฺโ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดทุกข์ คือรู้เครื่องสลัดทุกข์ ดังที่กล่าวแล้วว่า ยาวเทว สีตสฺส ปฏิฆาตาย เพียงเพื่อกำจัดความหนาว.

บทว่า อิตรีตรจีวรสนฺตุฏฺิยา คือ ด้วยความสันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้. บทว่า เนวตฺตานุกฺกํเสติ ไม่ยกตน คือไม่ยกตนว่าเรา เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เราถือปังสุกูลิกังคธุดงค์ในเรือนยอดตั้งแต่วัน อุปสมบท ไม่มีใครเช่นกับเรา. บทว่า น ปรํ วมฺเภติ ไม่ข่มผู้อื่น คือ ไม่ข่มผู้อื่นอย่างนี้ว่า ภิกษุอื่นเหล่านั้นไม่ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร หรือภิกษุ เหล่านั้นแม้เพียงถือผ้าบังกุกุลเป็นวัตรก็ไม่มี.

บทว่า โย หิ ตตฺถ ทกฺโข ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยันในจีวรสันโดษนั้น คือภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ฉลาด เฉียบแหลม ในการกล่าวคุณเป็นต้นใน จีวรสันโดษนั้น. บทว่า อนลโส ไม่เกียจคร้าน คือเว้นจากความเกียจ- คร้านด้วยการกระทำเนืองๆ. บทว่า สมฺปชาโน ปติสฺสโต มีสัมปชัญญะ มีสติ คือประกอบด้วยปัญญาคือความรู้สึกตัวและด้วยสติ. บทว่า โปราเณ มีมาแต่โบราณ คือมิใช่เพิ่งเกิดในบัดนี้. บทว่า อคฺคญฺเ

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 675

คือที่รู้กันว่าเป็นวงศ์เลิศ. บทว่า อริยวํเส ิโต คือ ดำรงอยู่ในวงศ์ของ พระอริยะทั้งหลาย.

อนึ่ง บทว่า อริยวํโส คือ อริยวงศ์ที่ ๘ แม้นี้ เป็นเชื้อสายของ พระอริยะ ชื่อว่า เป็นประเพณีของพระอริยะ เหมือนวงศ์กษัตริย์ วงศ์- พราหมณ์ วงศ์แพศย์ วงศ์ศูทร วงศ์สมณะ วงศ์ตระกูล ราชวงศ์ ฉะนั้น. อริยวงศ์นี้นั้นท่านกล่าวว่า เลิศกว่าวงศ์เหล่านี้ เหมือนกลิ่น กระลำพักเป็นต้น เลิศกว่ากลิ่นไม่มีกลิ่นที่รากเป็นต้น. ก็วงศ์ของ พระอริยะทั้งหลายเป็นใครบ้าง. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธะ ทั้งหลาย และสาวกของพระตถาคตทั้งหลาย ท่านเรียกว่าเป็นอริยะ วงศ์ ของพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า อริยวงศ์. จริงอยู่ ก่อนแต่นี้ไปในที่สุด สื่อสงไขยกับแสนกัป มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๔ พระองค์ คือพระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร. พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นอริยะ วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า อริยวงศ์. ต่อมาหลังจาก พระพุทธเจ้าเหล่านั้นปรินิพพานล่วงไปหนึ่งอสงไขย พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะทรงบังเกิด. ในกัปนี้พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ทรงอุบัติ คือพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระผู้มีพระภาคเจ้าของ พวกเราคือพระโคดม วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า อริยวงศ์. อนึ่ง วงศ์ของพระอริยะทั้งหลาย ผู้เป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่า อริยวงศ์. ประดิษฐานอยู่ในอริยวงศ์นั้น.

บทว่า อิตรีตเรน ปิณฺฑปาเตน คือ ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง. แม้ในเสนาสนะเป็นต้นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 676

บทว่า อายตเนสุ คือ ในอายตนะทั้งหลายมีจักขวายตนะเป็นต้น. บทว่า ยโต คือ สำรวมแล้ว. บทว่า ยตฺโต คือ ระวังแล้ว. บทว่า ปฏิยตฺโต คือ ระวังอย่างยิ่ง. บทว่า คุตฺโต คือ คุ้มครองแล้ว. บทว่า โคปิโต ครอบครองแล้ว คือตั้งไว้แล้วดุจตั้งไว้ในหีบ. บทว่า รกฺขิโต รักษาแล้ว คือเก็บไว้แล้ว. บทว่า สํวุโต สำรวมแล้ว คือปิดแล้วด้วย การกันทวาร. บทว่า ขุํสิโต คือ ถูกติเตียน. บทว่า วมฺภิโต ถูกเขา ดูหมิ่น คือถูกเขาไม่เลื่อมใส. ฆฏฺฏิโต คือ ถูกเขาเสียดสี. บทว่า ครหิโต คือ ถูกเขาเหยียดหยาม. บทว่า อุปวทิโต ถูกเขาค่อนว่า คือ ถูกเขาด่า. บทว่า ผรุเสน ด้วยถ้อยคำหยาบ คือด้วยคำตัดจุดสำคัญของ ร่างกาย. บทว่า กกฺขเฬน ด้วยถ้อยคำกระด้าง คือทารุณ บทว่า น ปฏิวชฺชา๑ คือ ไม่พึงกล่าวโต้ตอบ.

บทว่า ฌานานุยุตฺโต พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน คือประกอบด้วย ฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเสพฌานที่เกิดแล้ว. บทว่า อุเปกฺขมารพฺภ สมาหิตตฺโต พึงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นปรารภอุเบกขา คือพึงเป็นผู้ มีจิตดังมั่น ยังอุเบกขาในจตุตถฌานให้เกิด. บทว่า ตกฺกาสยํ กุกฺกุจฺจิ- ยูปจฺฉินฺเท พึงตัดวิตก ที่อยู่ของวิตกและความคะนอง คือพึงตัดวิตกมี กามวิตกเป็นต้น ที่อยู่ของวิตกมีกามสัญญาเป็นต้น และความคะนองมี คะนองมือเป็นต้น.

บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส วา ปมณานสฺส อุปฺปาทาย เพื่อความเกิด ขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิด คือเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิด ในอัตภาพนั้น หรือเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เพื่อได้เฉพาะในสันดานของตน


๑. ในบาลีไม่มี แต่ ม. ยุ. มีคำนี้.

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 677

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อุปฺปนฺนญฺจ ปมชฺฌานํ อาเสวติ เสพปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้วต่อไป ในบทนี้มีความว่า เสพโดยเอื้อเฟื้อ กระทำให้คล่องแคล่ว ทำให้เกิด ทำให้เจริญ ทำให้มาก ทำบ่อยๆ.

บทว่า อุเปกฺขา ความเพิกเฉย คือตัตรมัชฌัตตุเบกขาอันเกิดขึ้นในจตุตถฌาน. บทว่า อุเปกฺขา เป็นบทแสดงสภาวะ. บทว่า อุเปกฺขนา กิริยาที่เพิกเฉย คืออาการเห็นแต่การเข้าถึง. บทว่า อชฺฌุเปกฺขนา กิริยาเพิกเฉยยิ่ง คือเห็นเป็นอย่างยิ่ง. บทว่า จิตฺตสมตา ความที่จิตสงบ คือความที่จิตเสมอเว้นความหย่อนและความ มากเกินไป. บทว่า จิตฺตปสฺสทฺธตา ความที่จิตระงับ อธิบายว่า ความ ที่จิตไม่คะนอง จิตไม่กระด้าง. บทว่า มชฺฌตฺตตา จิตฺตสฺส ความที่จิต เป็นกลาง อธิบายว่า ความที่จิตไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล เป็นกลาง. ว่า จตุตฺเถ ฌาเน อุเปกฺขํ อารพฺภ ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน คืออาศัย ตัตรมัขฌัตตุเบกขา อันเกิดขึ้นในจตุตถฌาน. บทว่า เอกคฺคจิตฺโต คือเป็นผู้มีจิตเป็นไปแล้วในอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า อวิกฺขิตฺตจิตฺโต คือ เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านเว้นจากอุทธัจจะ วิตก ๙ มีนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า กามวิตกฺกานํ กามสญฺาสโย กามสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งกามวิตก. อธิบายว่า กามสัญญาอันเกิดขึ้นแก่ผู้ตรึกอยู่ด้วยกามวิตก เป็นที่อาศัย เป็น โอกาสที่อยู่ของวิตกเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กามสญฺาสโย. แม้ในพยาปาทวิตกเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า จุทิโต วจีภิ สติมาภินนฺเท ภิกษุถูกติเตียนด้วยวาจา พึง เป็นผู้มีสติชอบใจ คือภิกษุถูกติเตียนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติ ยินดีคำ ตักเตือนนั้น. บทว่า วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล คือเปล่ง

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 678

วาจาอันตั้งขึ้นด้วยญาณ. บทว่า นาติเวลํ ไม่เกินขอบเขต คือ ไม่พึง เปล่งวาจาเกินขอบเขต คือ เกินขอบเขตของกาล และขอบเขตของศีล. บทว่า ชนวาทธมฺมาย คือ เนื้อธรรม คือ การว่ากล่าวชน. บทว่า น เจตเยยฺย คือ ไม่พึงยังความคิดให้เกิด.

บทว่า อิทํ เต อปฺปตฺตํ คือ กรรมนี้ไม่ถึงแก่ท่าน. บทว่า อสารุปฺปํ คือ กรรมนี้ไม่สมควรที่ท่านจะประกอบ. บทว่า อสีลฏฺํ ไม่ดังอยู่ในศีล คือ ชื่อว่า อสีลฏฺํ เพราะไม่ตั้งอยู่ในศีลอันเป็นความขวนขวายของ ท่าน. อธิบายว่า กรรมนี้ไม่เป็นประโยคสมบัติของท่านผู้ตั้งอยู่ในศีล. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อสิลิฏฺํ คือ ไม่งดงาม. ท่านพรรณนาความไว้ ว่า มีวาจาไม่เกลี้ยงเกลา. บทว่า นิธีนํ ขุมทรัพย์ คือหม้อทรัพย์เต็มไป ด้วยเงินและทองที่เขาฝังตั้งเอาไว้. บทว่า ปวตฺตารํ ผู้บอก คือดุจผู้ทำ ความอนุเคราะห์มนุษย์เข็ญใจ มีความเป็นอยู่คับแค้น กล่าวว่า เจ้าจงมา เราจะบอกอุบายเลี้ยงชีพอย่างเป็นสุขแก่เจ้า แล้วนำไปยังที่ฝังทรัพย์ไว้ เหยียดมือบอกว่า เจ้าจงถือเอาทรัพย์นี้เลี้ยงชีพให้เป็นสุขเถิด.

บทว่า วชฺชทสฺสินํ ผู้แสดงโทษ ความว่า ผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือผู้คอยเสาะแสวงหาโทษด้วยประสงค์ว่า เราจักข่มภิกษุนั้นในท่ามกลาง สงฆ์ ด้วยกรรมอันไม่สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดนี้ และผู้ตั้งอยู่ ในสภาพที่จะชี้โทษด้วยการตรวจดูโทษนั้นๆ เพราะความเป็นผู้ใคร่ความ เจริญแก่เขาด้วยศีลเป็นต้น เพื่อให้รู้สิ่งที่ไม่รู้ เพื่ออนุเคราะห์สิ่งที่รู้แล้ว. ในที่นี้ประสงค์เอาข้อนี้. ภิกษุไม่ควรโกรธบุคคลผู้เห็นความไม่สมควรหรือ ความผิดพลาด แล้วบอกกล่าว พึงเป็นผู้มีความยินดีอย่างเดียว ควรขอร้อง ว่า ท่านขอรับ ท่านได้ทำกรรมแก่กระผมอย่างใหญ่หลวง ขอท่านพึงตั้งอยู่

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 679

ในฐานะอาจารย์และอุปัชฌาย์ของกระผม แล้วว่ากล่าวตักเตือนกระผม อีก ด้วยโอวาทดังนี้ เหมือนคนเข็ญใจ ไม่โกรธผู้คุกคาม แม้โบยตี แล้วแสดงขุมทรัพย์ให้ว่า เจ้าจงถือเอาทรัพย์นี้เถิด กลับพอใจเสียอีก ฉะนั้น.

บทว่า นิคฺคยฺหวาทึ กล่าวข่มขี่ คือ ภิกษุบางรูปเห็นความไม่ สมควร หรือความผิดพลาดของสัทธิวิหาริกเป็นต้นแล้ว ไม่ว่ากล่าวด้วย คิดว่า ภิกษุรูปนี้อุปัฏฐากเราด้วยการให้น้ำบ้วนปากเป็นต้นโดยเคารพ หากเราจักว่ากล่าวเธอ เธอก็จักไม่อุปัฏฐากเรา เราก็จักเสื่อมไปด้วย ประการฉะนี้ ดังนี้ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวข่มขี่. ภิกษุนั้นโปรยหยากเยื่อลงใน ศาสนานี้ ส่วนภิกษุใดเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว คุกคามตามสมควรแก่โทษ ประณามทำทัณฑกรรม นำออกจากวิหารให้ศึกษา ภิกษุนี้ชื่อว่า เป็นผู้ กล่าวข่มขี่ เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฉะนั้น. สมดังที่พระองค์ ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวข่มผู้ที่ควรข่ม เรากล่าวยกย่องผู้ที่ควร ยกย่อง ผู้ที่มีคุณความดีจักดำรงอยู่ได้.

บทว่า เมธาวึ ผู้มีปัญญา คือผู้ประกอบด้วยปัญญา มีโอชะเกิด แต่ธรรม. บทว่า ตาทิสํ คือ พึงคบ พึงเข้าใกล้บัณฑิตเห็นปานนั้น. เพราะว่าเมื่ออันเตวาสิกคบอาจารย์เช่นนั้น ย่อมมีแต่ความประเสริฐอย่าง เดียว ไม่มีความลามก มีแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อม ฉะนี้.

บทว่า โอวเทยฺย พึงกล่าวสอน คือ เมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้วกล่าวสอน ชื่อว่า โอวาท เมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้นพึงชี้ให้เห็นโทษในอนาคต ด้วยคำมี อาทิว่า แม้โทษก็จะพึงมีแก่ท่าน ดังนี้ ชื่อว่า อนุสาสน์ แม้กล่าวสอนต่อ

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 680

หน้าก็ชื่อว่า โอวาท ส่งทูตหรือคำสอนไปลับหลัง ชื่อว่า อนุสาสน์ กล่าว สอนแม้ครั้งเดียวก็ชื่อว่า โอวาท กล่าวสอนบ่อยๆ ชื่อว่า อนุสาสน์ หรือให้ โอวาทอย่างเดียวก็ชื่อว่า อนุสาสน์ เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงให้โอวาทและ อนุสาสน์ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อสพฺภา จากอสัตบุรุษ ความว่า พึง ห้ามจากอกุศลธรรม พึงให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรม. บทว่า สตํ หิ โส ปิโย โหติ เพราะว่าบุคคลนั้นย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ คือ บุคคลเห็นปานนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. อนึ่ง ภิกษุ ผู้ให้โอวาทอนุสาสน์ ย่อมไม่เป็นที่รักของภิกษุผู้เป็นอสัตบุรุษ ผู้ไม่เห็น ธรรม ผู้ข้ามปรโลกเสียแล้ว ผู้เพ่งต่ออามิส บวชเพื่อดำรงชีวิต ยังกล่าว ทิ่มแทงด้วยหอกคือปากว่า ท่านมิใช่อุปัชฌาย์อาจารย์ของพวกผม เพราะ เหตุไรจึงมาสั่งสอนพวกผม ดังนี้.

บทว่า เอกกมฺมํ คือ มีกรรมเป็นอันเดียวกัน มีอปโลกนกรรม คือ การบอกเล่าเป็นต้น. บทว่า เอกุทฺเทโส มีอุเทศเป็นอันเดียวกัน คือ มีนิทานุเทศเป็นต้นเป็นอันเดียว. บทว่า สมสิกฺขตา คือ มีสิกขาเสมอ กัน. บทว่า อาหตจิตฺตตํ คือ ความเป็นผู้มีจิตอันความโกรธกระทบแล้ว. บทว่า ขิลชตตํ คือ ความเป็นผู้มีจิตกระด้าง. บทว่า ปญฺจปิ เจโตขิเล คือ พึงทำลายความกระด้างแห่งจิต ในสิ่งทั้ง ๕ คือ ในพระพุทธเจ้า ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในเพื่อนพรหมจรรย์ ๑. บทว่า าณสมุฏฺิตํ วาจํ คือ พึงเปล่งวาจาอันเกิดขึ้นในจิตสัมปยุตด้วย ญาณ. บทว่า มุญฺเจยฺย คือ พึงเปล่ง. บทว่า อตฺถูปสํหิตํ คือ วาจา ประกอบด้วยอรรถ. บทว่า ธมฺมูปสํหิตํ คือ วาจาประกอบด้วยธรรม. บทว่า กาลาติกฺกนฺตํ วาจํ น ภาเสยฺย คือ ไม่พึงเปล่งวาจาเกินกาล

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 681

เพราะเวลานั้นล่วงไปแล้ว. บทว่า เวลาติกฺกนฺตํ เกินขอบเขต คือ ไม่พึงกล่าววาจาเกินขอบเขต เพราะขอบเขตของวาจาล่วงไปแล้ว. พึง ทราบกาลและเวลาด้วยบททั้งสอง.

บทว่า โย จ กาเล อสมฺปตฺเต ก็บุคคลใดยังไม่ถึงกาลอันควร คือ ยังไม่ถึงกาลที่ตนพูด. บทว่า อติเวลํ เกินเวลา คือ พูดเกินเวลาที่ กำหนด. บทว่า นิหโต เสติ คือ ถูกฆ่านอนอยู่. บทว่า โกกิลาเยว อตฺรโช คือ เหมือนลูกนกดุเหว่าเกิดแต่ดุเหว่า อันนางกาเลี้ยงไว้.

บทว่า อถาปรํ คือ ลำดับต่อไปนี้. บทว่า ปญฺจ รชานิ ธุลี ๕ ประการ คือ ธุลี ๕ มีรูปราคะเป็นต้น. บทว่า เยสํ สติมา วินยาย สิกฺเข ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา คือ พึงตั้งสติศึกษาไตรสิกขา เพื่อกำจัด กิเลส. เพราะเมื่อศึกษาอยู่อย่างนี้ ย่อมอดกลั้นความกำหนัดในรูป ฯลฯ ในผัสสะ ไม่อดกลั้นอย่างอื่น. บทว่า รูปรโช ธุลีในรูป คือ ธุลีมี ราคะเป็นต้น เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูป. แม้ในบทว่า สทฺทรโช เป็นต้นก็ มีนัยเหมือนกัน.

แต่นั้นภิกษุศึกษาเพื่อกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น พึงทราบคาถา ว่า เอเตสุ ธมฺเมสุ โดยลำดับ. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอเตสุ คือ ใน รูปเป็นต้น. บทว่า กาเลน โส สมฺมา ธมฺมํ ปริวิมํสมาโน ภิกษุนั้น พึงพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล คือ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาสังขตธรรม ทั้งปวง โดยนัยมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ตามกาลที่ท่านกล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ. บทว่า เอโกทิภูโต วิหเน ตมํ โส ภิกษุเป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืดเสีย

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 682

คือ ภิกษุนั้นมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง พึงกำจัดความมืดมีโมหะทั้งหมด เป็นต้นเสีย ไม่มีความสงสัยในข้อนี้.

บทว่า อุทฺธเต จิตฺเต เมื่อจิตฟุ้งซ่าน คือ เมื่อจิตไม่สงบด้วยอำนาจ แห่งวิริยินทรีย์. จริงอยู่ ความเพียรมีกำลัง สมาธิอ่อน ย่อมครอบงำ ความฟุ้งซ่าน เพราะความเพียรเป็นฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน เมื่อจิต ไม่ฟุ้งซ่านอย่างนี้. บทว่า สมถสฺส กาโล คือ เป็นกาลแห่งความเจริญ สมาธิ. บทว่า สมาหิเต จิตฺเต คือ เมื่อจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารและอัปปนา. จริงอยู่ สมาธิมีกำลัง ความเพียรอ่อน ย่อมครอบงำความเกียจคร้าน เพราะ สมาธิเป็นฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน สมาธิอันวิริยะผูกไว้แล้ว ย่อมไม่ตก ไปในความเกียจคร้าน. วิริยะอันสมาธิผูกไว้แล้ว ย่อมไม่ตกไปในความ ฟุ้งซ่าน. เพราะฉะนั้น ทั้งสองอย่างนั้นพึงทำให้เสมอกัน เพราะความที่ ธรรมทั้งสองเสมอกัน จึงเป็นอัปปนา. บทว่า วิปสฺสนาย กาโล เป็นกาล แห่งวิปัสสนา คือ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ เป็นกาลแห่งวิปัสสนาหลาย อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอนิจจลักษณะเป็นต้น ศรัทธาแม้มีกำลังก็ควรแก่ ผู้ประกอบสมาธิ. เมื่อเชื่อคือเชื่อมั่นอย่างนี้ ย่อมถึงอัปปนา. ศรัทธามีกำลัง ในสมาธิและปัญญา ย่อมควร เพราะผู้ประกอบสมาธิมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. จริงอยู่ ผู้นั้นย่อมถึงอัปปนาด้วยอาการอย่างนี้. ปัญญามีกำลังย่อมควรแก่ ผู้ประกอบวิปัสสนา. เพราะผู้นั้นย่อมบรรลุการแทงตลอดลักษณะด้วย ประการฉะนี้. แม้เมื่อทั้งสองอย่างเสมอกัน ก็เป็นอัปปนาแท้.

บทว่า กาเล ปคฺคณฺหติ จิตฺตํ ประคองจิตไว้ในกาลอันควร คือ ในสมัยใด จิตหดหู่เพราะความเพียรย่อหย่อนยิ่งนักเป็นต้น ในสมัยนั้น ประคองจิตไว้ด้วยการตั้งอยู่ในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 683

และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า นิคฺคณฺหาติ ย่อมข่ม คือ ในสมัยใด จิต ฟุ้งซ่านด้วยปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในสมัยนั้น ข่มจิตไว้ด้วย ตั้งอยู่ในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์. บทว่า สมฺปหํสติ กาเลน ย่อมให้จิตรื่นเริงโดยกาล คือ ในสมัยใด จิต ไม่มีอัสสาทะ (ความยินดี) เพราะความขวนขวายด้วยปัญญาอ่อน หรือ เพราะไม่ได้รับความสุขอันเกิดแต่ความสงบ ในสมัยนั้น ให้เกิดความสังเวช ด้วยพิจารณาสังเวควัตถุ (วัตถุให้เกิดความสังเวช) ๘ ประการ. สังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ รวมเป็น ๔ ทุกข์ใน อบายเป็นที่ ๕ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีตเป็นที่ ๖ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูล ในอนาคตเป็นที่ ๗ ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบันเป็นที่ ๘. ทำจิตให้เกิดความเลื่อมใสด้วยระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย. นี้เรียกว่า ให้จิตรื่นเริงตามกาล.

บทว่า จิตฺตํ สมาทเห พึงตั้งจิตไว้ คือ สมัยใด ความที่ศรัทธา และปัญญา สมาธิ และวิริยะ เสมอกัน สมัยนั้น พึงตั้งจิต คือ พึงให้ถึง อัปปนา. บทว่า อชฺฌุเปกฺขติ กาเลน วางเฉยตามกาล คือ สมัยใด จิต อาศัยสัมมาปฏิบัติ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มีอัสสาทะ เป็นไปเสมอในอารมณ์ ดำเนินสู่วิถีแห่งสมาธิ สมัยนั้น จิตนั้นย่อมไม่ถึงความขวนขวายในการ ประคอง ข่ม ให้ร่าเริง เหมือนสารถี เมื่อม้าวิ่งเรียบก็วางเฉยได้ นี้ เรียกว่า วางเฉยตามกาล. บทว่า โส โยคี กาลโกวิโท โยคีผู้นั้นชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในกาล คือ โยคีผู้นั้นเป็นผู้ประกอบแล้วในกรรมฐาน มี ประการดังกล่าว เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมในกาล คือ ยกย่อง ข่ม ให้ ร่าเริง ตั้งมั่น และวางเฉย.

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 684

พระผู้พระภาคเจ้าตรัสตามกาลมีการประคองเป็นต้น ด้วยพระดำรัส มีอาทิว่า กิมฺหิ กาลมฺหิ ในกาลไหน ดังนี้. บัดนี้ เมื่อจะทรง วิสัชนากาลมีการประคองเป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ลีเน จิตฺตมฺหิ เมื่อจิตหดหู่ ดังนี้.

เมื่อจิตถึงความหดหู่เพราะความเพียรย่อหย่อนยิ่งนักเป็นต้น เป็นกาล ที่ควรประคองไว้ด้วยการตั้งอยู่ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ แลปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า อุทฺธตสฺมึ วินิคฺคโห เมื่อจิตฟุ้งซ่านเป็นกาล ที่ควรข่มไว้ คือ เมื่อจิตฟุ้งซ่านเพราะปรารภความเพียรเกินไป เป็นกาล ที่ควรข่มด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขา สัมโพชฌงค์. บทว่า นิรสฺสาทคตํ จิตฺตํ สมฺปหํเสยฺย ตาวเท โยคีพึง ยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น คือ โยคีพึงยังจิตที่เว้นจาก ความแช่มชื่น เพราะขวนขวายทางปัญญาอ่อน หรือเพราะไม่ได้รับสุข อันเกิดแต่ความสงบ ให้รื่นเริงด้วยพิจารณาสังเวควัตถุ ๘ ประการ หรือ ด้วยระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในขณะนั้น.

บทว่า สมฺปหฏฺํ ยทา จิตฺตํ จิตรื่นเริงในกาลใด คือ ในกาลใดจิต เป็นธรรมชาติรื่นเริงตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. ว่า อลีนํ ภวติ นุทฺธตํ จิตเป็นธรรมชาติ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน คือ จิตเว้นจากความหดหู่และฟุ้งซ่าน เพราะผูกไว้ด้วยวิริยะและสมาธิ. บทว่า สมถนิมิตฺตสฺส ของสมถนิมิต คือ สมถะและนิมิตของกาลนั้น ชื่อว่าสมถนิมิต. ทว่า โส กาโล คือ กาลที่ท่านกล่าวถึงกาล ที่เว้นจากความหดหู่และฟุ้งซ่าน. บทว่า อชฺฌ- ตตํ รมเย มโน ใจพึงยินดีในภายใน คือ จิตสัมปยุตด้วยฌาน พึงยินดี พึงให้อภิรมย์ในภายในอารมณ์มีกสิณเป็นต้น. บทว่า เอเตน เมวุปาเยน

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 685

โดยอุบายนั้นนั่นแล คือ โดยอุบายดังที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล. อักษรท่านกล่าวด้วยบทสนธิ. บทว่า อชฺฌุเปกฺเขยฺย ตาวเท พึงวางเฉยในกาลนั้น คือ ในกาลใด จิตนั้นตั้งมั่นด้วยอุปจารและอัปปนา ในกาลนั้นชื่อว่า จิตตั้งมั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น โยคีรู้แล้วไม่พึงทำความขวนขวายในการประคอง การข่ม การให้ร่าเริง ควรกระทำการวางเฉยอย่างเดียวในขณะนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงย่อคาถาที่พระองค์ตรัสถามว่ากิมฺหิ กาลมฺหิ ปคฺคาโห ความประคองจิตควรมีในกาลไหน จึงตรัสพระดำรัส มีอาทิว่า เอวํ กาลวิทู ธีโร ธีรชนผู้รู้แจ้งกาลอย่างนี้ ดังนี้.

บทว่า กาเลน กาลํ จิติตสฺส นิมิตฺตมุปลกฺขเย พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิตตลอดกาลตามกาล ความว่า พึงกำหนด เข้าไปกำหนดอารมณ์ของจิตอันสัมปยุตด้วยสมาธิตามกาลอันสมควร. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัตด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสารีปุตตนิเทสที่ ๑๖

จบอรรถกถาอัฏฐกวรรคในมหานิทเทส

อรรถกถามหานิทเทส จบบริบูรณ์