อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖ ว่าด้วยปัญหาของท่านอุปสีวะ
[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 187
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
ปารายนวรรค
อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖
ว่าด้วยปัญหาของท่านอุปสีวะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 187
อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖
ว่าด้วยปัญหาของท่านอุปสีวะ
[๒๔๒] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์เป็นผู้เดียว ไม่อาศัยแล้ว ไม่อาจข้ามโอฆะใหญ่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ขอพระองค์จงตรัสบอกอารมณ์ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามโอฆะได้.
[๒๔๓] คำว่า เอโก ในอุเทศว่า เอโก อหํ สกฺก มหนฺตโมฆํ ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ไม่มีบุคคลเป็นเพื่อน หรือไม่มีธรรมเป็นเพื่อน ข้าพระองค์อาศัยบุคคลหรืออาศัยธรรมแล้ว พึงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ ใหญ่ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เดียว.
คำว่า สกฺก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศากยราช พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงชื่อว่าสักกะ พระองค์มีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ฯลฯ ทรัพย์คือนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้ามั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ด้วยทรัพยรัตนะหลายอย่างนี้ แม้เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อาจ ผู้องอาจ มีความสามารถ อาจหาญ ผู้กล้า ผู้มีความแกล้วกล้า ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 188
ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า เป็นพระสักกะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์เป็นผู้เดียว... โอฆะใหญ่ได้.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า "อิจฺจายสฺมา อุปสีโว" ดังนี้ เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก.
คำว่า อุปสีโว เป็นชื่อฯ ลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านอุปสีวะทูลถามดังนี้.
[๒๔๔] คำว่า อนิสฺสิโต ในอุเทศว่า "อนิสฺสิโต โน วิสหามิ ตาริตุํ" ดังนี้ ความว่า ไม่อาศัยบุคคลหรือไม่อาศัยธรรมแล้ว.
คำว่า ไม่อาจ คือ ไม่อุตสาหะ ไม่อาจ ไม่สามารถ.
คำว่า ข้าม คือ ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่อาศัยแล้วไม่อาจข้ามได้.
[๒๔๕] คำว่า "อารมฺมณํ พฺรุหิ" ในอุเทศว่า "อารมฺมณํ พฺรูหิ สมนฺตจกฺขุ" ความว่า ขอพระองค์ตรัส คือ บอก... ประกาศซึ่งอารมณ์คือ ที่ยึดเหนี่ยว ที่อาศัย ที่เข้าไปอาศัย พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้า เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั้น.
พระตถาคตพระองค์นั้น ไม่ทรงเห็นอะไรๆ น้อยหนึ่งในโลกนี้ อนึ่ง ไม่ทรงรู้อะไรๆ ที่ไม่ทรงรู้แล้ว ไม่มีเลย พระตถาคต ทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ธรรมชาติใดที่ควรแนะนำมีอยู่ พระตถาคต ทรงรู้ยิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 189
ซึ่งธรรมชาตินั้น เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ขอพระองค์ตรัสบอกอารมณ์.
[๒๔๖] คำว่า ยํ นิสฺสิโต ในอุเทศว่า "ยํ นิสฺสิโต โอฆมิมํ ตเรยฺยํ" ดังนี้ ความว่า อาศัยบุคคล หรืออาศัยธรรมแล้ว.
คำว่า พึงข้ามโอฆะนี้ได้ คือ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยอันใดแล้วพึงข้ามโอฆะนี้ได้ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์เป็นผู้เดียว ไม่อาศัยแล้วไม่อาจข้ามโอฆะใหญ่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ขอพระองค์ตรัสบอกอารมณ์ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามโอฆะนี้ได้.
[๒๔๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ)
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยสมาบัติอันเป็นไปว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มีดังนี้แล้ว จงข้ามโอฆะเถิด ท่านจงละกามทั้งหลาย เว้นจากความสงสัยทั้งหลาย พิจารณาดูความสิ้นไปแห่งตัณหาตลอดคืนและวันเถิด.
[๒๔๘] คำว่า ท่านจงเป็นผู้มีสติเพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัติ ความว่า พราหมณ์นั้นได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ โดยปกติ ไม่รู้ว่าเป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 190
อาศัยว่า สมาบัตินี้เป็นที่อาศัยของเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอกสมาบัติเป็นที่อาศัยและธรรมเป็นทางที่ออกยิ่งขึ้นไป แก่พราหมณ์นั้นว่า ท่านเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัติแล้ว จงเพ่งดู คือ ตรวจดู พินิจดู พิจารณาดู ซึ่งธรรม คือจิต และเจตสิกที่เกิดในสมาบัตินั้น โดยความเป็นธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นฝี เป็นลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นของไม่สำราญ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของทำลาย เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่เร้น เป็นของไม่เป็นสรณะ เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นวิปริณามธรรม เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นของไม่เจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นดังเพชฌฆาต เป็นธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาสเป็นธรรมดา เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา เป็นของมีความดับเป็นธรรมดา เป็นของไม่น่าพอใจ เป็นของมีอาทีนพโทษ เป็นของไม่มีเครื่องสลัดออก.
คำว่า มีสติ ความว่า ความระลึก ความตามระลึก ความระลึกเฉพาะ ฯลฯ ความระลึกชอบ นี้เรียกว่า สติ.
พราหมณ์นั้นผู้เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ ตรัสว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีสติเพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 191
พราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อุปสีวะ ในอุเทศว่า อุปสีวาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ.
[๒๔๙] คำว่า อาศัยสมาบัติอันเป็นไปว่า อะไรๆ น้อยหนึ่ง ไม่มีดังนี้แล้ว จงข้ามโอฆะเถิด ดังนี้ ความว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มี อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มี เพราะเหตุไร พราหมณ์นั้นเป็นผู้มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่ยังวิญญาณนั้นนั่นแหละให้เจริญ ให้เป็นแจ้ง ให้หายไป ย่อมเห็นว่าอะไรๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มี ท่านจงอาศัย คือเข้าไปอาศัยสมาบัตินั้น ทำให้เป็นอารมณ์ ให้เป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยว แล้วจงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะเถิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยสมาบัติอันเป็นไปว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มีดังนี้แล้ว ข้ามโอฆะเถิด.
[๒๕๐] โดยหัวข้อว่า กามา ในอุเทศว่า กาเม ปหาย วิรโต กถาหิ ดังนี้ ความว่า กามมี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม.
คำว่า ละกามทั้งหลาย ความว่า กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลสกามทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละกามทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 192
วิจิกิจฉาเรียกว่า ความสงสัย ในอุเทศว่า วิรโต กถาหิ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความที่จิตครั่นคร้าม ใจสนเท่ห์ งด เว้น ขาด ออก สลัด หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องด้วยความสงสัย ย่อมมีใจทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เว้นจากความสงสัยทั้งหลาย.
อีกอย่างหนึ่ง งด เว้น เว้นขาด ออก สลัด หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องด้วยดิรัจฉานกถา ๓๒ ประการ ย่อมมีใจทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เว้นจากความสงสัยทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละกามทั้งหลายแล้ว เว้นจากความสงสัยทั้งหลาย.
[๒๕๑] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า "ตณฺหกฺขยํ รตฺตมหาภิปสฺส" ดังนี้.
กลางคืนชื่อว่า รัตตะ กลางวันชื่อว่า อหะ ท่านจงดู คือ พิจารณา แลดู ตรวจดู พินิจ พิจารณา ซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา คือ ความสิ้นแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ทั้งกลางคืนกลางวัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงพิจารณาดูความสิ้นแห่งตัณหาตลอดกลางคืนและกลางวัน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยสมาบัติอันเป็นไปว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้แล้ว จงข้ามโอฆะเถิด ท่านจงละกามทั้งหลายแล้ว เว้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 193
จากความสงสัยทั้งหลาย พิจารณาดูความสิ้นไปแห่งตัณหาตลอดคืนและวันเถิด.
[๒๕๒] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นหรือหนอ.
[๒๕๓] คำว่า สพฺเพสุ ในอุเทศว่า "สพฺเพสุ กาเมสุ โย วีตราโค" ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือไม่มีส่วนเหลือ.
คำว่า สพฺเพสุ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวม โดยหัวข้อว่า กาเมสุ.
กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม.
คำว่า ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ความว่า ผู้ใดปราศจากความกำหนัด คือ สละ คาย ปล่อย ละ สละคืน ข่มความกำหนัดในกามทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา อุปสีโว เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก.
คำว่า อุปสีโว เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านอุปสีวะทูลถามว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 194
[๒๕๔] คำว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ความว่า ละ เว้น สละ ล่วง ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งสมาบัติ ๖ชั้นต่ำแล้วอาศัย คือ แอบอิง เข้ามา เข้ามาพร้อม ชอบใจ น้อมใจไปสู่อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ.
[๒๕๕] คำว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ความว่า สัญญาสมาบัติ ๗ ท่านกล่าวว่า สัญญาวิโมกข์. บรรดาสัญญาสมาบัตินั้น อากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นวิโมกข์เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธานอุดมและอย่างยิ่ง น้อมใจไป ในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง เลิศ ประเสริฐวิเศษเป็นประธาน อุดม อย่างยิ่ง ด้วยอธิมุตติวิโมกข์ คือ น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์นั้น ปล่อยใจไปในสัญญาวิโมกข์นั้น ประพฤติในสัญญาวิโมกข์ มากอยู่ในสัญญาวิโมกข์ หนักอยู่ในสัญญาวิโมกข์ โอนไปในสัญญาวิโมกข์ เงื้อมไปในสัญญาวิโมกข์ มีสัญญาวิโมกข์นั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง.
[๒๕๖] คำว่า ติฏฺเ นุ ในอุเทศว่า "ติฏฺเ นุ โส ตตฺถ อนานุยายี" ดังนี้ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถามสองแง่ ไม่เป็นคำถามส่วนเดียวว่า เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอแล หรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงดำรงอยู่หรือหนอ.
คำว่า ตตฺถ คือ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ.
คำว่า อนานุยายี ความว่า ไม่หวั่นไหว คือ ไม่พรั่นพรึง ไม่ไปปราศ ไม่อันตรธานไป ไม่เสื่อมไป อีกอย่างหนึ่ง ไม่กำหนัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 195
ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ไม่มัวหมอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นหรือหนอ เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นหรือหนอ.
[๒๕๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ)
ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง สะสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในสัญญาวิโมกข์นั้น.
[๒๕๘] คำว่า สพฺเพสุ ในอุเทศว่า "สพฺเพสุ กาเมสุ โย วีตราโค" ดังนี้ ความว่า... ไม่มีส่วนเหลือ.
คำว่า สพฺเพสุ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวม.
โดยหัวข้อว่า กาเมสุ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม.
คำว่า ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ความว่า ผู้ใดปราศจากความกำหนัด... เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 196
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อุปสีวะ ในอุเทศว่า "อุปสีวาติ ภควา" ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ.
[๒๕๙] คำว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ความว่า ละเว้น น้อมใจไปสู่อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ.
[๒๖๐] คำว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ความว่า สัญญาสมาบัติ ๗ ท่านกล่าวว่า สัญญาวิโมกข์... มีสัญญาวิโมกข์นั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง.
[๒๖๑] คำว่า ติฏฺเยฺย ในอุเทศว่า "ติฏฺเยฺย โส ตตฺถ อนานุยายี" ดังนี้ ความว่า พึงตั้งอยู่หกหมื่นกัป.
คำว่า ตตฺถ คือ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ.
คำว่า อนานุยายี ความว่า ไม่หวั่นไหว... เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปแล้วในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 197
[๒๖๒] ถ้าผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในสมาบัตินั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้นนั่นแหละแม้มากปี วิญญาณของบุคคลเช่นนั้นพึงมีหรือ.
[๒๖๓] คำว่า ติฏฺเ เจ โส ในอุเทศว่า "ติฏฺเ เจ โส ตตฺถ อนานุยายี" ดังนี้ ความว่า ถ้าผู้นั้นพึงดำรงอยู่หกหมื่นกัป.
คำว่า ตตฺถ คือ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ.
คำว่า อนานุยายี ความว่า ไม่หวั่นไหว... ไม่เศร้าหมอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ ในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น.
[๒๖๔] คำว่า ปูคมฺปิ วสฺสานํ ในอุเทศว่า "ปูคมฺปิ วสฺสานํ สมนฺตจกฺขุ" ดังนี้ ความว่า แม้มากปี คือ แม้หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี หลายร้อยกัป หลายพันกัป หลายแสนกัป. พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ฯลฯ เหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ... แม้มากปี.
[๒๖๕] คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้นนั่นแหละ วิญญาณของบุคคลเช่นนั้นพึงมีหรือ ความว่า ผู้นั้นถึงความเป็นผู้เย็น ยั่งยืน เป็นผู้เที่ยง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาในสมาบัตินั้นนั่นแหละ พึงอยู่ในสมาบัตินั้นนั่นแหละเที่ยงแท้.
อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์นั้นย่อมถามถึงความเที่ยงแท้และความขาดสูญของบุคคลผู้บังเกิดในอากิญจัญญายตนภพว่า วิญญาณของผู้นั้นพึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 198
เคลื่อนไป พึงขาดสูญ พินาศไป ไม่พึงมี ปฏิสนธิวิญญาณไม่พึงเกิดในกามธาตุ ในรูปธาตุ หรือในอรูปธาตุดังนี้ หรือว่าย่อมถามถึงปรินิพพานและปฏิสนธิของบุคคลผู้เกิดแล้วในอากิญจัญญายตนภพว่า บุคคลนั้น ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในอากิญจัญญายตนภพนั้นนั่นแหละ หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นพึงเคลื่อนไป ไม่พึงเกิดปฏิสนธิวิญญาณในกามธาตุ รูปธาตุ หรืออรูปธาตุอีก.
คำว่า ตถาวิธสฺส ความว่า ของบุคคลชนิดอย่างนั้น คือ ของบุคคลเช่นนั้น ผู้ดำรงอยู่ดังนั้น ผู้มีประการดังนั้น ผู้มีส่วนดังนั้น ผู้เกิดแล้วในอากิญจัญญายตนภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้นนั่นแหละ วิญญาณของบุคคลเช่นนั้นพึงมีหรือ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ถ้าผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในสมาบัตินั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้นนั่นแหละแม้มากปี วิญญาณของบุคคลเช่นนั้นพึงมีหรือ.
[๒๖๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ)
เปลวไฟดับไปแล้วเพราะกำลังลม ย่อมถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ ฉันใด มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ ฉันนั้น.
[๒๖๗] เปลวไฟตรัสว่า อัจจิ ในอุเทศว่า "อจฺจิ ยถา วาตเวเคน ขิตฺตํ" ดังนี้ ลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 199
ลมมีธุลี ลมไม่มีธุลี ลมเย็น ลมร้อน ลมแรง ลมบ้าหมู ลมแต่ปีกนก ลมแต่ปีกครุฑ ลมแต่ใบตาล ลมแต่พัด ชื่อว่า วาตา.
คำว่า ดับแล้วเพราะกำลังลม ความว่า ดับ คือ สูญหาย หายไป สิ้นไป หมดไป หมดสิ้นไปแล้วเพราะกำลังลม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เปลวไฟดับไปแล้วเพราะกำลังลม... ฉันใด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดย ชื่อว่า อุปสีวะ ในอุเทศว่า "อุปสีวาติ ภควา" ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ.
[๒๖๘] คำว่า อตฺถํ ปเลติ ในอุเทศว่า อตฺถํ ปเลติ น อุเปติ สงฺขํ ดังนี้ ความว่า ย่อมดับไป คือ ถึงความสิ้นไป ถึงความหมดไป ดับไป สงบไป ระงับไป.
คำว่า ไม่เข้าถึงความนับ ความว่า ไม่เข้าถึงความนับ คือ ไม่เข้าถึงความอ้าง ความคาดคะเน ความบัญญัติว่า เปลวไฟนั้นไปสู่ทิศชื่อโน้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ.
[๒๖๙] คำว่า เอวํ ในอุเทศว่า "เอวํ มุนิ นามกายา วิมุตฺโต" ดังนี้ เป็นเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม.
ญาณ ตรัสว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ฯลฯ มุนีนั้นล่วงแล้วซึ่งราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังว่าข่าย.
คำว่า พ้นแล้วจากนามกาย ความว่า มุนีนั้นพ้นจากนามกายและรูปกายก่อนแล้วโดยปกติ คือ มุนีนั้นละนามกายและรูปกายแล้ว ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 200
การละ คือความล่วงและความข่ม ด้วยองค์นั้นๆ อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้อริยมรรค ๔ เพราะเป็นผู้ได้อริยมรรค ๔ จึงกำหนดรู้นามกายและรูปกาย เพราะเป็นผู้กำหนดรู้นามกายและรูปกาย จึงพ้น คือ พ้นวิเศษจากนามกายและรูปกายด้วยความพ้นวิเศษส่วนเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีพ้นแล้วจากนามกาย... ฉันนั้น.
[๒๗๐] คำว่า ย่อมถึงความไม่มี ในอุเทศว่า "อตฺถํ ปเลติ น อุเปติ สงฺขํ" ดังนี้ ความว่า มุนีนั้นย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
คำว่า ย่อมไม่เข้าถึงความนับ ความว่า มุนีนั้นย่อมไม่เข้าถึงความนับ คือ ไม่เข้าถึงความอ้าง ความคาดคะเน ความบัญญัติว่า เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือว่าเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มุนีนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณ์ เครื่องให้ถึงการนับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เปลวไฟดับไปแล้วเพราะกำลังลม ย่อมถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ ฉันใด มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ ฉันนั้น.
[๒๗๑] มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นย่อมไม่มี หรือว่ามุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความเป็นผู้เที่ยง ขอพระองค์ผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 201
เป็นพระมุนี โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยดี พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง.
[๒๗๒] คำว่า มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นย่อมไม่มี ความว่า มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือว่ามุนีนั้นย่อมไม่มี คือ มุนีนั้นดับแล้ว ขาดสูญแล้ว หายไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นย่อมไม่มี.
[๒๗๓] คำว่า หรือว่ามุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความเป็นผู้เที่ยง ความว่า หรือว่ามุนีนั้นเป็นผู้ยั่งยืน คือ เป็นผู้เที่ยง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงตั้งอยู่เที่ยงแท้ในอากิญจัญญายตนภพนั้นนั่นแหละ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือมุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความเป็นผู้เที่ยง.
[๒๗๔] คำว่า ตํ ในอุเทศว่า ตมฺเม มุนี สาธุ วิยากโรหิ ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ย่อมทูลถาม ทูลขอ ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาทปัญหาใด.
ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ฯลฯ มุนีนั้นล่วงแล้วซึ่งราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังว่าข่าย.
คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก... ด้วยดี ความว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก... ขอจงทรงประกาศด้วยดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์ผู้เป็นมุนีโปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยดี.
[๒๗๕] คำว่า พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง ความว่า พระองค์ทรงทราบ คือ ทรงรู้ ทรงเทียบเคียง ทรงพิจารณา ทรงให้แจ่มแจ้ง ทรงให้ปรากฏแล้วแท้จริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 202
ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นย่อมไม่มี หรือว่ามุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความเป็นผู้เที่ยง ขอพระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยดี พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง.
[๒๗๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ)
บุคคลผู้ดับไปแล้วย่อมไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น เมื่อธรรมทั้งปวงอันบุคคลนั้นถอนเสียแล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งปวง บุคคลนั้นก็ถอนเสียแล้ว.
[๒๗๗] คำว่า บุคคลผู้ดับไปแล้วย่อมไม่มีประมาณ ความว่า บุคคลผู้ดับไปแล้ว คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมไม่มี ย่อมไม่ปรากฏ ย่อมไม่ประจักษ์ประมาณแห่งรูป ประมาณแห่งเวทนา ประมาณแห่งสัญญา ประมาณแห่งสังขาร ประมาณแห่งวิญญาณ ประมาณแห่งรูปเป็นต้นนั้น อันบุคคลผู้ดับไปแล้ว ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว ให้สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำให้ไม่อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ดับไปแล้วย่อมไม่มีประมาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อุปสีวะ ในอุเทศว่า อุปสีวาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 203
เคารพ ฯลฯ.
คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ.
[๒๗๘] คำว่า ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น ดังนี้ ความว่า ชนทั้งหลายพึงว่า (บุคคลนั้น) ด้วยราคะ ด้วยโทสะ ด้วยโมหะ ด้วยมานะ ด้วยทิฏฐิ ด้วยอุทธัจจะ ด้วยวิจิกิจฉา ด้วยอนุสัยใดว่า บุคคลนั้นเป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้มีมานะผูกพัน เป็นผู้ถือมั่น เป็นผู้ถึงความฟุ้งซ่าน เป็นผู้ถึงความไม่ตกลง หรือว่าเป็นผู้ถึงกำลังอภิสังขารเหล่านั้น บุคคลนั้นละเสียแล้ว เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ละอภิสังขารเสียแล้ว ชนทั้งหลายพึงว่าโดยคติด้วยเหตุใดว่า บุคคลนั้นเป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เป็นผู้เกิดในปิตติวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือว่าเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องให้ชนทั้งหลายพึงว่า พึงกล่าว พึงพูดถึงได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น.
[๒๗๙] คำว่า เมื่อธรรมทั้งปวงอันบุคคลนั้นถอนเสียแล้ว ความว่า เมื่อธรรมทั้งปวง คือ เมื่อขันธ์ อายตนะ ธาตุ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ทั้งปวง อันบุคคลนั้นถอนขึ้นแล้ว คือ ถอนขึ้นพร้อมแล้ว ฉุดขึ้นแล้ว ฉุดขึ้นพร้อมแล้ว เพิกขึ้นแล้ว เพิกขึ้นพร้อมแล้ว ละขาดแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 204
ขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อธรรมทั้งปวงอันบุคคลนั้นถอนเสียแล้ว.
[๒๘๐] คำว่า แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งปวง บุคคลนั้นก็ถอนเสียแล้ว ความว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร ตรัสว่า ถ้อยคำ ทางแห่งถ้อยคำ ชื่อ ทางแห่งชื่อ นิรุตติ ทางแห่งนิรุตติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติ อันบุคคลนั้นถอนขึ้นแล้ว ถอนขึ้นพร้อมแล้ว ฉุดขึ้นแล้ว ฉุดขึ้นพร้อมแล้ว เพิกขึ้นแล้ว เพิกขึ้นพร้อมแล้ว ละขาดแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำให้ไม่อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งปวง บุคคลนั้นก็ถอนเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลผู้ดับไปแล้วย่อมไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น เมื่อธรรมทั้งปวง อันบุคคลนั้นถอนเสียแล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งปวง บุคคลนั้นก็ถอนเสียแล้ว.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของพวกข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบอุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 205
อรรถกถาอุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖
พึงทราบวินิจฉัยใน อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
บทว่า มหนฺตโอฆํ คือ โอฆะใหญ่.
บทว่า อนิสฺสิโต ไม่อาศัยแล้ว คือ ไม่ติดบุคคลหรือธรรม.
บทว่า โน วิสหามิ คือ ข้าพระองค์ไม่อาจ.
บทว่า อารมฺมณํ อารมณ์ คือ นิสัย.
บทว่า ยํ นิสฺสิโต คือ อาศัยธรรมหรือบุคคลใด.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า กาโมฆํ พึงข้ามกาโมฆะได้ด้วยอนาคามิมรรค พึงข้ามภโวฆะได้ด้วยอรหัตตมรรค พึงข้ามทิฏโฐฆะได้ด้วยโสดาปัตติมรรค พึงข้ามอวิชโชฆะได้ด้วยอรหัตตมรรค.
บทว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต ออกบวชจากตระกูลศากยะ ท่านกล่าวด้วยอำนาจการแสดงตระกูลสูงของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า อาลมฺพณํ คือ ที่ยึดเหนี่ยว.
บทว่า นิสฺสยํ ที่อาศัย คือ ที่เกี่ยวเกาะ.
บทว่า อุปนิสฺสยํ ที่เข้าไปอาศัย คือ ที่พึ่ง.
บัดนี้ เพราะพราหมณ์นั้นเป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนะ จึงไม่รู้นิสัยแม้มีอยู่นั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงนิสัยนั้น และทางออกไปให้ยิ่งขึ้นแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสคาถาว่า อากิญฺจญฺํ ดังนี้ เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เปกฺขมาโน เพ่งดู คือ มีสติเพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ทั้งเข้าและออกโดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น.
บทว่า นตฺถีติ นิสฺสาย อาศัยว่าไม่มี คือ กระทำสมาบัติอันเป็นไปแล้วว่า ไม่มีอะไรดังนี้ ให้เป็นอารมณ์.
บทว่า ตรสฺสุ โอฆํ พึงข้ามโอฆะ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 206
พึงข้ามโอฆะ ๔ อย่าง ตามสมควรแห่งวิปัสสนาอันเป็นไปแล้ว จำเดิมแต่นั้น.
บทว่า กถาหิ คือ จากความสงสัย.
บทว่า ตณฺหกฺขยํ รตฺตมหาภิปสฺส จงพิจารณาดูความสิ้นไปแห่งตัณหาตลอดคืนและวัน คือ จงพิจารณาดูทำนิพพานให้แจ้งตลอดคืนและวัน. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสุขวิหารธรรมในปัจจุบันแก่พราหมณ์นั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า ตญฺเว วิญฺาณํ อภาเวติ ไม่ยังวิญญาณนั้นนั่นแลให้เจริญ คือ กระทำอากาสานัญจายตนะนั้นให้เป็นที่ยึดเหนี่ยว แล้วไม่ยังวิญญาณอันเป็นมหัคคตะอันเป็นไปแล้วให้เจริญ คือ ให้ถึงความไม่มี.
บทว่า วิภาเวติ ให้เป็นแจ้ง คือ ให้ถึงความไม่มีหลายๆ อย่าง.
บทว่า อนฺตรธาเปติ ให้หายไป คือ ให้ถึงความไม่เห็น.
บทว่า นตฺถิ กิญฺจีติ ปสฺสติ เห็นว่า ไม่มีอะไร คือ เห็นว่า ไม่มี โดยที่สุดแม้เพียงความแตกดับของเราเอง.
บัดนี้ อุปสีวมาณพสดับแล้วว่า กาเม ปหาย ละกามทั้งหลาย เมื่อพิจารณาเห็นกามทั้งหลายที่ตนละแล้วด้วยการข่มไว้ จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า สพฺเพสุ ในกามทั้งปวงดังนี้.
บทว่า หิตฺวมญฺํ ละสมาบัติอื่น คือ ละสมาบัติ ๖ อย่างอื่นเบื้องต่ำจากนั้น.
บทว่า สญฺาวิโมกฺเข ปรเม น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ได้แก่ ในสัตตสัญญาวิโมกข์ คือ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติอันสูงสุด.
บทว่า ติฏฺเ นุ โส ตตฺถ อนานุยายี คือ บุคคลนั้นไม่หวั่นไหวพึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นหรือหนอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 207
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า อเวธมาโน ไม่หวั่นไหว คือ ไม่ข้อง.
บทว่า อวิคจฺฉมาโน คือ ไม่ถึงความพลัดพราก.
บทว่า อนนฺตรธายมาโน คือ ไม่ถึงความอันตรธาน.
บทว่า อปริหายมาโน คือ ไม่ถึงความเสื่อมในระหว่าง.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงรู้ตามถึงฐานะในที่สุดหกหมื่นกัปของอุปสีวมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๓. อุปสีวมาณพครั้นสดับถึงฐานะในสมาบัตินั้นของบุคคลนั้น บัดนี้ เมื่อจะทูลถามถึงความเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิของบุคคลนั้น จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ติฏฺเ เจ หากผู้นั้นพึงดำรงอยู่ในสมาบัตินั้น ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปูคมฺปิ วสฺสานํ แม้มากปี ความว่า นับปี แม้ไม่น้อย.
ปาฐะว่า ปูคมฺปิ วสฺสานิ บ้าง.
ในบทนั้นแปลงฉัฏฐีวิภัตติเป็นปฐมาวิภัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปูคํ แปลว่า มีมาก. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปูคานิ บ้าง.
ปาฐะแรกดีกว่า.
บทว่า ตตฺเถว โสสีติ สิยา วิมุตฺโต ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้น คือ บุคคลนั้นพ้นแล้วจากทุกข์ต่างๆ ในอากิญจัญญายตนะนั้น พึงถึงความเป็นผู้เย็น อธิบายว่า เป็นผู้เที่ยงที่จะถึงนิพพานดำรงอยู่.
บทว่า ภเวถ วิญฺาณํ ตถาวิธสฺส วิญญาณของผู้นั้นพึงมีหรือ หรือถามถึงความขาดสูญว่า วิญญาณของผู้นั้นพึงดับโดยไม่ยึดมั่นหรือ. ย่อมถามถึงแม้ปฏิสนธิของผู้นั้นว่า พึงมีเพื่อถือปฏิสนธิหรือ.
บทว่า ตสฺส วิญฺาณํ จเวยฺย วิญญาณของผู้นั้นพึงเคลื่อนไป คือ วิญญาณของผู้เกิดในอากิญจัญญายตนะนั้น พึงถึงความเคลื่อนไป.
บทว่า อุจฺฉิชฺเชยฺย คือ พึงขาดสูญ.
บทว่า วินสฺ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 208
เสยฺย คือ พึงถึงความพินาศ.
บทว่า น ภเวยฺย คือ ถึงความไม่มี.
บทว่า อุปฺปนฺนสฺส คือ เกิดแล้วด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงความดับ โดยไม่ยึดมั่นของพระอริยสาวก ผู้ไม่อาศัยอุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ในที่นั้นจึงตรัสพระคาถา มีอาทิว่า อจฺจิ ยถา เหมือนเปลวไฟ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถํ ปเลติ ย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ คือ ถึงความไม่มี.
บทว่า น อุเปติ สงฺขยํ ไม่เข้าถึงความนับ คือ ไม่ถึงการพูดไปว่า ไปแล้วสู่ทิศโน้น.
บทว่า เอวํ มุนิ นามกายา วิมุตฺโต มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ฉันนั้น คือ พระเสกขมุนีเกิดแล้วในที่นั้น ตามปกติเป็นผู้พ้นแล้วจากรูปกายมาก่อน ยังจตุตถมรรค (อรหัตตมรรค) ให้เกิดในที่นั้นแล้ว พ้นแม้จากนามกายอีก เพราะกำหนดรู้นามกายเป็นพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุตติ (พ้นทั้งสองส่วน) ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมไม่ถึงการนับว่าเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
บทว่า ขิตฺตา ซัดไป คือ ดับ.
บทว่า อุกฺขิตฺตา ซัดขึ้นไปแล้ว คือ สูญหาย.
บทว่า นุนฺนา หายไป คือ ไล่ออกไป.
บทว่า ปนุนฺนา สิ้นไป คือ ทำให้ไกล.
บทว่า ขมฺภิตา หมดไป คือ ถอยไป.
บทว่า วิกฺขมฺภิตา หมดสิ้นไปแล้ว คือ ไม่เข้าไปใกล้อีกแล้ว.
บัดนี้ อุปสีวมาณพครั้นสดับว่า อตฺถํ ปเลติ ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ มิได้กำหนดถึงการตั้งอยู่ไม่ได้โดยแยบคายของมุนีนั้น จึงกล่าวคาถาว่า อตฺถงฺคโต โส มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 209
บทนั้นมีความดังนี้ มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นไม่มี หรือมุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรค มีความไม่ปรวนแปรไปเป็นธรรมดา โดยความเป็นผู้เที่ยง ขอพระองค์ผู้เป็นมุนีโปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยดี พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
บทว่า นิรุทฺโธ ดับแล้ว คือ ถึงความดับ.
บทว่า อุจฺฉินฺโน ขาดสูญแล้ว คือ มีสันดานขาดสูญแล้ว.
บทว่า วินฏฺโ หายไปแล้ว คือ ถึงความพินาศ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงถ้อยคำที่ไม่ควรกล่าวอย่างนั้นแก่อุปสีวมาณพ จึงตรัสคาถาว่า อตฺถงฺคตสฺส ผู้ดับไปแล้ว ดังนี้ เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถงฺคตสฺส คือ ดับ เพราะไม่ถือมั่น.
บทว่า น ปมาณมตฺถิ ไม่มีประมาณ คือ ไม่มีประมาณในรูปเป็นต้น.
บทว่า เยน นํ วชฺชุํ คือ ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลส มีราคะเป็นต้นใด.
บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปนี้.
บทว่า อธิวจนา จ ถ้อยคำยิ่ง คือ ที่พูดทำให้ยิ่งเพียงพูดว่า สิริวัฑฒกะ (เจริญด้วยสิริ) ธนวัฑฒกะ (เจริญด้วยทรัพย์) เป็นต้น ชื่อว่า อธิวจนา (ถ้อยคำยิ่ง).
ทางแห่งถ้อยคำยิ่ง ชื่อว่า อธิวจนปถา ถ้อยคำที่พูดเจาะจงลงไปทำให้มีเหตุผลอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่ง ฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขาร ดังนี้ ชื่อว่า นิรุตติ. ทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 210
แห่งนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปถา.
ชื่อว่า บัญญัติ เพราะบัญญัติขึ้นโดยประการนั้นๆ อย่างนี้ว่า ตกฺโก (ตรึก) วิตกฺโก (การตรึก) สงฺกปฺโป (ความดำริ).
ทางแห่งบัญญัติทั้งหลาย ชื่อว่า คลองแห่งบัญญัติ.
บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตร แม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาอุปสีวมาณวกนิทเทสที่ ๖