พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗ ว่าด้วยปัญหาของท่านนันทะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40786
อ่าน  491

[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 211

ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

ปารายนวรรค

นันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗

ว่าด้วยปัญหาของท่านนันทะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 211

นันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗

ว่าด้วยปัญหาของท่านนันทะ

[๒๘๑] (ท่านนันทะทูลถามว่า)

ชนทั้งหลายย่อมกล่าวกันว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณว่าเป็นมุนี หรือว่าย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ว่าเป็นมุนี.

[๒๘๒] คำว่า สนฺติ ในอุเทศว่า สนฺติ โลเก มุนโย ดังนี้ ความว่า ย่อมมี คือ ย่อมปรากฏ ย่อมประจักษ์.

คำว่า ในโลก ความว่า ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก.

คำว่า มุนีทั้งหลาย ความว่า อาชีวก นิครนถ์ ชฎิล ดาบส ชื่อว่า มุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก.

คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา นนฺโท ดังนี้ เป็นบทสนธิ.

คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก.

คำว่า นนฺโท เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านนันทะทูลถามว่า.

[๒๘๓] คำว่า ชนทั้งหลาย ในอุเทศว่า ชนา วทนฺติ ตยิทํ กถํสุ ดังนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร บรรพชิต เทวดาและมนุษย์.

คำว่า ย่อมกล่าว ความว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 212

คำว่า ตยิทํ กถํสุ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถามด้วยความเคลือบแคลง เป็นคำถามสองแง่ ไม่เป็นคำถามโดยส่วนเดียวว่า เรื่องนี้เป็นอย่างนี้หนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอแล หรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าวกัน... ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร.

[๒๘๔] คำว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณว่า เป็นมุนีหรือ ความว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติซึ่งบุคคลผู้เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ หรือด้วยญาณ คือ อภิญญา ๕ ว่าเป็นมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่งบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณว่า เป็นมุนี.

[๒๘๕] คำว่า หรือชนทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่งบุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ว่าเป็นมุนี ความว่า หรือว่าชนทั้งหลายย่อมกล่าว... ประกอบด้วยความเพียรของบุคคลผู้เป็นอยู่เศร้าหมอง ผู้ทำกิจที่ทำได้ยากอย่างยิ่งยวดหลายอย่างว่าเป็นมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือว่าชนทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่งบุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ว่าเป็นมุนี เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

ชนทั้งหลายย่อมกล่าวกันว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณว่าเป็นมุนี หรือว่าย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ว่าเป็นมุนี.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 213

[๒๘๖] ดูก่อนนันทะ ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ ด้วยสุตะ ด้วยญาณ ว่าเป็นมุนี เราย่อมกล่าวว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวังเที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี.

[๒๘๗] คำว่า น ทิฏฺิยา ในอุเทศว่า น ทิฏฺิยา น สุติยา น าเณน ดังนี้ ความว่า ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวด้วยความหมดจดด้วยความเห็น.

คำว่า น สุติยา ความว่า ไม่กล่าวด้วยความหมดจด ด้วยการฟัง.

คำว่า น าเณน ความว่า ไม่กล่าวแม้ด้วยญาณ อันสัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ไม่กล่าวด้วยญาณอันผิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ ด้วยสุตะ ด้วยญาณ.

[๒๘๘] คำว่า กุสลา ในอุเทศว่า มุนีธ นนฺท กุสลา วทนฺติ ดังนี้ ความว่า ท่านผู้ฉลาดในขันธ์ ท่านผู้ฉลาดในธาตุ ท่านผู้ฉลาดในอายตนะ ท่านผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ท่านผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ท่านผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน ท่านผู้ฉลาดในอิทธิบาท ท่านผู้ฉลาดในอินทรีย์ ท่านผู้ฉลาดในพละ ท่านผู้ฉลาดในโพชฌงค์ ท่านผู้ฉลาดในมรรค ท่านผู้ฉลาดในผล ท่านผู้ฉลาดในนิพพาน ท่านผู้ฉลาดเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าว... ผู้ประกอบด้วยความหมดจดด้วยความเห็น ด้วยความหมดจดด้วยการฟัง ด้วยความหมดจดด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ หรือด้วยญาณอันผิด ว่าเป็นมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนนันทะ ท่านผู้ฉลาด ย่อมไม่กล่าว... ว่าเป็นมุนี.

[๒๘๙] คำว่า เราย่อมกล่าวชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว เป็นผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี ความ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 214

ว่า เสนามาร ตรัสว่า เสนา กายทุจริตเป็นเสนามาร วจีทุจริตเป็นเสนามาร มโนทุจริตเป็นเสนามาร ราคะเป็นเสนามาร โทสะเป็นเสนามาร โมหะเป็นเสนามาร ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวงเป็นเสนามาร.

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

กามท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๑ ของท่าน. ความไม่ยินดีท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๒ ของท่าน. ความหิวและความกระหายท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๓ ของท่าน. ตัณหาท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๔ ของท่าน. ถีนมิทธะท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๕ ของท่าน. ความขลาดท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๖ ของท่าน. วิจิกิจฉาท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๗ ของท่าน. ความลบหลู่ ความกระด้างท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๘ ของท่าน. ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ ยศที่ได้มาผิด ก็เป็นเสนา. ความยกตนและการข่มผู้อื่นก็เป็นเสนา. นี้เสนามารของท่าน (เป็นมารไม่ปล่อยท่านให้พ้นอำนาจไป) เป็นผู้ประหารท่านผู้มีธรรมดำ คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะเสนานั้นได้ คนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข ดังนี้.

เสนามารทั้งปวง กิเลสทั้งปวง ชนเหล่าใดชนะแล้ว ให้แพ้ ทำลาย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 215

กำจัดให้เบือนหน้าหนีแล้วด้วยอริยมรรค ๔ ในกาลใด ในกาลนั้น ชนเหล่านั้น เรากล่าวว่าผู้กำจัดเสนาเสียแล้ว.

คำว่า อนิฆา ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นความทุกข์ ความทุกข์เหล่านั้น ชนเหล่าใดละ ขาด ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชนเหล่านั้น ตรัสว่า ผู้ไม่มีความทุกข์.

ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า ความหวัง ในคำว่า นิราสา ดังนี้ ความหวัง คือ ตัณหานี้ ชนเหล่าใดละขาด... เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชนเหล่านั้นตรัสว่า ผู้ไม่มีความหวัง.

คำว่า เรากล่าวว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี ความว่า เราย่อมกล่าว... ย่อมประกาศว่า ชนเหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพ กำจัดเสนาเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ย่อมเที่ยวไป คือ เปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา ชนเหล่านั้นเป็นมุนีในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนนันทะ ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ ด้วยสุตะ ด้วยญาณ ว่าเป็นมุนี เราย่อมกล่าวว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 216

[๒๙๐] (ท่านพระนันทะทูลถามว่า)

สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความหมดจด ด้วยการเห็นและการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตรบ้าง ด้วยมงคลหลายชนิดบ้าง (ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า) ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สำรวมแล้ว ประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและชราบ้างหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[๒๙๑] คำว่า เยเกจิ ในอุเทศว่า เยเกจิเม สมณพฺราหฺมณาเส ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ.

คำว่า เยเกจิ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเข้าถึงการบวช คือถึงพร้อมด้วยการบวชภายนอกพุทธศาสนานี้ ชื่อว่า สมณะ. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งอ้างว่าตนมีวาทะเจริญ ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์.

บทว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา นนฺโท ดังนี้ เป็นบทสนธิ.

คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก.

คำว่า นนฺโท เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระนันทะทูลถามว่า.

[๒๙๒] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและการฟังบ้าง ความว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติความหมดจด คือ หมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 217

พ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการเห็นบ้าง... ด้วยการสดับบ้าง... ด้วยการเห็นและการสดับบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและด้วยการสดับบ้าง.

[๒๙๓] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง ความว่า ย่อมกล่าว... ย่อมบัญญัติความหมดจด... ความพ้นรอบด้วยศีลบ้าง... ด้วยวัตรบ้าง... ด้วยทั้งศีลและวัตรบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง.

[๒๙๔] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด ความว่า ย่อมกล่าว... ย่อมบัญญัติความหมดจด... ความพ้นรอบด้วยมงคลคือวัตรและความตื่นข่าวมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด.

[๒๙๕] คำว่า กจฺจิสฺส ในอุเทศว่า กจฺจิสฺส เต (ภควา) ตตฺถ ยตา จรนฺตา ดังนี้ เป็นการถามด้วยความสงสัย เป็นการถามด้วยความเคลือบแคลง เป็นการถามสองแง่ ไม่เป็นการถามส่วนเดียวว่า เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอแล หรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บ้างหรือ.

คำว่า เต คือ พวกสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิเป็นคติ.

คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ.

คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกสมณพราหมณ์นั้น... บ้างหรือ.

คำว่า ตตฺถ ในอุเทศว่า ตตฺถ ยตา จรนฺตา ดังนี้ ความว่า ใน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 218

ทิฏฐิของตน ในความควรของตน ในความชอบใจของตน ในลัทธิของตน.

คำว่า ยตา ความว่า สำรวม สงวน คุ้มครอง รักษา ระวัง.

คำว่า เที่ยวไป ความว่า เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า (ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า) สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สำรวมแล้วประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น... บ้างหรือ.

[๒๙๖] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์... ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและชรา ความว่า ได้ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้วซึ่งชาติชราและมรณะ.

คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก.

คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์... ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและชรา.

[๒๙๗] คำว่า ปุจฺฉามิ ตํ ในอุเทศว่า ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม ทูลขอ ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ประสาทซึ่งปัญหานั้นว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น.

คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ.

คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.

คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ขอพระองค์จงตรัส... จงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์เถิด เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 219

สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความหมดจด ด้วยการเห็นและการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตรบ้าง ด้วยมงคลหลายชนิดบ้าง (ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า) ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สำรวมแล้ว ประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและชราบ้างหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[๒๙๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนนันทะ)

สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความหมดจด ด้วยการเห็นและด้วยการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตรบ้าง ด้วยมงคลหลายชนิด เราย่อมกล่าวว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้เป็นผู้สำรวมแล้วประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น แต่ก็ข้ามซึ่งชาติและชราไปไม่ได้.

[๒๙๙] คำว่า เยเกจิ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ.

คำว่า เยเกจิ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเข้าถึงการบวช ถึงพร้อมด้วยการบวชภายนอกพุทธศาสนานี้ ชื่อว่าสมณะ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อ้างว่าตนมีวาทะเจริญ ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณ-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 220

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า นันทะ ในอุเทศว่า นนฺทาติ ภควา ดังนี้.

คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ.

คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนนันทะ.

[๓๐๐] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและการฟังบ้าง ความว่า ย่อมกล่าว ย่อมพูด ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการเห็นบ้าง... ด้วยการสดับบ้าง... ด้วยการเห็นและสดับบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและด้วยการสดับบ้าง.

[๓๐๑] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง ความว่า ย่อมกล่าว... ย่อมบัญญัติความหมดจด... ความพ้นรอบด้วยศีลบ้าง... ด้วยวัตรบ้าง... ด้วยศีลและวัตรบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง.

[๓๐๒] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด ความว่า ย่อมกล่าว... ย่อมบัญญัติด้วยมงคลคือวัตรและความตื่นข่าวมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด.

[๓๐๓] คำว่า กิญฺจาปิ ในอุเทศว่า กิญฺจาปิ เต ตตฺถ ยตา จรนฺติ เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นเครื่องทำบทให้เต็ม เป็นความพร้อมเพรียงแห่งอักขระ. เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ.

บทว่า กิญฺจาปิ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.

คำว่า เต คือ พวกสมณพราหมณ์ผู้มี

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 221

ทิฏฐิ.

คำว่า ตตฺถ ความว่า ในทิฏฐิของตน ในความควรของตน ในความชอบใจของตน ในลัทธิของตน.

คำว่า ยตา ความว่า เป็นผู้สำรวม สงวน คุ้มครอง รักษา ระวัง.

คำว่า จรนฺติ ความว่า เที่ยวไป... เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงแม้สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สำรวมแล้ว ประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น.

[๓๐๔] คำว่า เราย่อมกล่าวว่า... ข้ามชาติและชราไปไม่ได้ ความว่า เราย่อมกล่าว... ย่อมประกาศว่า ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งชาติ ชราและมรณะไปไม่ได้ คือ ไม่ออก ไม่สละ ไม่ก้าวล่วง ไม่เป็นไปล่วงจากชาติ ชราและมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่ภายในชาติ ชราและมรณะ วนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร ไปตามชาติ ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่เร้น ไม่มีสรณะ ไม่มีที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า ข้ามชาติและชราไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความหมดจด ด้วยการเห็นและด้วยการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตรบ้าง ด้วยมงคลหลายชนิด เราย่อมกล่าวว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้เป็นผู้สำรวมแล้วประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น แต่ก็ข้ามซึ่งชาติและชราไปไม่ได้.

[๓๐๕] (ท่านพระนันทะทูลถามว่า)

สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 222

หมดจด ด้วยการเห็นและการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตรบ้าง ด้วยมงคลหลายชนิดบ้าง ถ้าพระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า ข้ามโอฆะไปไม่ได้แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นอย่างนั้น บัดนี้ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามชาติและชราไปได้แล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.

[๓๐๖] คำว่า เยเกจิ ในอุเทศว่า เยเกจิ เม สมณพฺราหฺมณาเส ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ.

คำว่า เยเกจิ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด.

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเข้าถึงการบวช คือ ถึงพร้อมด้วยการบวชภายนอกพุทธศาสนานี้ ชื่อว่า สมณะ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งอ้างว่าตนมีวาทะเจริญ ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้.

คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา นนฺโท ดังนี้ เป็นบทสนธิ.

คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก.

คำว่า นนฺโท เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระนันทะทูลถามว่า.

[๓๐๗] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและการฟังบ้าง ความว่า ย่อมกล่าว ย่อมพูด ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการเห็นบ้าง... ด้วยการสดับบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและการสดับบ้าง.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 223

[๓๐๘] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง ความว่า ย่อมกล่าว... ย่อมบัญญัติความหมดจด... ความพ้นรอบด้วยศีลบ้าง... ด้วยวัตรบ้าง... ด้วยทั้งศีลและวัตรบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง.

[๓๐๙] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด ความว่า ย่อมกล่าว... ย่อมบัญญัติด้วยมงคลคือวัตรและความตื่นข่าวมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด.

[๓๑๐] คำว่า เต เจ ในอุเทศว่า เต เจ มุนี พฺรูสิ อโนฆติณฺเณ ดังนี้ ความว่า พวกสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิเป็นคติ. ญาณ ท่านกล่าวว่า โมนะ ในบทว่า มุนี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ล่วงแล้วซึ่งราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหาเป็นดังว่าข่าย เป็นมุนี.

คำว่า ย่อมตรัสว่า... ข้ามโอฆะไปไม่ได้แล้ว ความว่า ข้ามไม่ได้แล้ว คือ ข้ามขึ้นไม่ได้แล้ว ข้ามล่วงไม่ได้แล้ว ก้าวล่วงไม่ได้แล้ว เป็นไปล่วงไม่ได้แล้วซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ วนเวียนอยู่ภายในชาติชราและมรณะ วนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร ไปตามชาติ ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีสรณะ ไม่มีที่พึ่ง.

คำว่า ย่อมตรัส คือ ย่อมตรัส... ย่อมประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าพระองค์ผู้เป็นมุนีย่อมตรัสว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามโอฆะไปไม่ได้แล้ว.

[๓๑๑] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนั้น ในบัดนี้

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 224

ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามชาติและชราไปได้ ความว่า เมื่อเป็นดังนั้น ใครนั้นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้ามได้แล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว เป็นไปล่วงแล้วซึ่งชาติ ชราและมรณะ.

คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ.

คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนั้น ในบัดนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลกข้ามชาติและชราไปได้แล้ว.

[๓๑๒] คำว่า ปุจฺฉามิ ตํ ในอุเทศว่า ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ประสาทซึ่งปัญหานั้นว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น.

คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.

คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัส... โปรดประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความหมดจด ด้วยการเห็นและการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตร

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 225

บ้าง ด้วยมงคลหลายชนิดบ้าง ถ้าพระองค์ผู้เป็นพระมุนี ตรัสพราหมณ์เหล่านั้นว่า ข้ามโอฆะไปไม่ได้แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นอย่างนั้น บัดนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามชาติและชราไปได้แล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.

[๓๑๓] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนนันทะ)

เราย่อมไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อันชาติและชราหุ้มห่อแล้ว เราย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใด ละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นแล เป็นผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว.

[๓๑๔] คำว่า เราย่อมไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อันชาติและชราหุ้มห่อแล้ว ความว่า ดูก่อนนันทะ เราย่อมไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อันชาติและชราร้อยไว้แล้ว หุ้มไว้แล้ว คลุมไว้แล้ว ปิดไว้แล้ว บังไว้แล้ว ครอบไว้แล้ว เราย่อมกล่าว คือ ย่อมบอก... ทำให้ตื้นว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด ละชาติ ชราและมรณะแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีอยู่ เพราะ-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 226

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อันชาติและชราหุ้มห่อไว้แล้ว.

[๓๑๕] คำว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ความว่า นรชนเหล่าใดละแล้ว คือ สละแล้ว บรรเทาแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว ให้ถึงความไม่มีแล้ว ซึ่งความหมดจดด้วยการเห็นทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดด้วยการฟังทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดทั้งด้วยการเห็นและการฟังทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดด้วยการได้ทราบทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดด้วยศีลทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดด้วยวัตรทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดทั้งด้วยศีลและวัตรทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ หรือแม้ศีลและวัตรทั้งปวง.

[๓๑๖] คำว่า ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งปวง ความว่า ละแล้ว คือ ละขาดแล้ว บรรเทาแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว ให้ถึงความไม่มีแล้ว ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยมงคลคือวัตรและความตื่นข่าวมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งปวง.

[๓๑๗] คำว่า ตณฺหํ ในอุเทศว่า ตณฺหํ ปริญฺาย อนาสวา เย เต เว นรา โอฆติณฺณาติ พฺรูมิ ดังนี้ ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา.

คำว่า กำหนดรู้แล้ว ความว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 227

ญาตปริญญาเป็นไฉน นรชนย่อมรู้ชัด คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตัณหาว่า นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพตัณหา นี้ธรรมตัณหา นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.

ตีรณปริญญาเป็นไฉน นรชนทำตัณหาที่ตนรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาตัณหา คือ พิจารณาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นฝี ฯลฯ โดยความไม่ให้สลัดออก นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.

ปหานปริญญาเป็นไฉน นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในตัณหาใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้นเสีย เมื่อเป็นอย่างนี้ ตัณหานั้นจักเป็นธรรม อันท่านทั้งหลายละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ดังนี้ นี้ชื่อว่า ปหานปริญญา.

กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วยปริญญา ๓ นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้ซึ่งตัณหา.

คำว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ความว่า อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ นรชนเหล่าใดละอาสวะเหล่านี้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา นรชนเหล่านั้นตรัสว่าเป็นผู้ไม่มีอาสวะ.

คำว่า เหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย.

คำว่า เราย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นแล ข้ามโอฆะได้แล้ว ความว่า เรา

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 228

ย่อมกล่าวว่า... ย่อมประกาศว่า นรชนเหล่าใด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้น ข้ามแล้วซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ คือ ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามออก ล่วง ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้วซึ่งทางแห่งสังสารวัฏทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นแล ข้ามโอฆะได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราย่อมไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อันชาติและชราหุ้มห่อแล้ว เราย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใด ละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นแล เป็นผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว.

[๓๑๘] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ย่อมชอบใจพระวาจานั้น อันพระองค์ผู้เป็นพระมเหสี (ผู้แสวงหาธรรมใหญ่) ตรัสดีแล้ว ไม่มีอุปธิ แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นแล เป็นผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว.

[๓๑๙] เอตํ ในอุเทศว่า เอตาภินนฺทามิ วโจ มเหสิโน ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ย่อมยินดี คือ ยินดียิ่ง เบิกบาน อนุโมทนา

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 229

ปรารถนา พอใจ ประสงค์ รักใคร่ ติดใจ พระวาจา คือ ทางแห่งถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์.

คำว่า อันพระองค์ผู้เป็นพระมเหสี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระมเหสี ทรงแสวงหา คือ ทรงเสาะหา ทรงค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า มเหสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดาประทับที่ไหน พระนราสภประทับที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า มเหสี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ย่อมชอบใจในพระวาจานั้น อันพระองค์ผู้เป็นพระมเหสี.

[๓๒๐] คำว่า สุกิตฺติตํ ในอุเทศว่า สุกิตฺติตํ โคตม นูปธีกํ ดังนี้ ความว่า ตรัสบอกดีแล้ว คือ ทรงแสดงดีแล้ว ทรงบัญญัติดีแล้ว ทรงแต่งตั้งดีแล้ว ทรงเปิดเผยดีแล้ว ทรงทำให้ตื้นดีแล้ว ทรงประกาศดีแล้ว.

กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร ท่านกล่าวว่า อุปธิ ในอุเทศว่า โคตม นูปธีกํ ดังนี้ การละอุปธิ ความสงบอุปธิ ความสละคืนอุปธิ ความระงับอุปธิ อมตนิพพาน ท่านกล่าวว่า ธรรมไม่มีอุปธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระโคดม... ตรัสดีแล้ว เป็นธรรมไม่มีอุปธิ.

[๓๒๑] คำว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ความว่า นรชนเหล่าใดละแล้ว คือ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความหมดจดด้วยการเห็นทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดด้วยการฟังทั้งปวง ซึ่งความหมดจดด้วยการเห็นและการฟังทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดด้วยการได้ทราบทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดด้วยศีลทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดด้วย

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 230

วัตรทั้งปวง... ซึ่งความหมดจดทั้งด้วยศีลและวัตรทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง.

[๓๒๒] คำว่า ละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งปวง ความว่า ละ คือ ละขาด บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยมงคลคือวัตรและความตื่นข่าวมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งปวง.

[๓๒๓] คำว่า ตณฺหํ ในอุเทศว่า ตณฺหํ ปริญฺาย อนาสวา เย อหมฺปิ เต โอฆติณฺณาติ พฺรูมิ ดังนี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา.

คำว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหา ความว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.

ญาตปริญญาเป็นไฉน นรชนย่อมรู้ซึ่งตัณหา คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพตัณหา นี้ธรรมตัณหา นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.

ตีรณปริญญาเป็นไฉน นรชนทำตัณหาที่ตนรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาตัณหา คือ พิจารณาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความไม่ให้สลัดออก นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.

ปหานปริญญาเป็นไฉน นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา นี้ชื่อว่า ปหานปริญญา. กำหนด

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 231

รู้แล้วซึ่งตัณหานั้นด้วยปริญญา ๓ นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหา.

คำว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ความว่า อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ นรชนเหล่าใดละอาสวะเหล่านี้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา นรชนเหล่านั้นตรัสว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ.

คำว่า เหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลา

คำว่า แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว ความว่า แม้ข้าพระองค์ก็กล่าว คือ พูดว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้น เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ ข้ามแล้ว ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามออกแล้ว ล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ซึ่งทางสงสารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ข้าพระองค์ย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ย่อมชอบใจพระวาจานั้น อันพระองค์ผู้เป็นพระมเหสีตรัสดีแล้ว ไม่มีอุปธิ แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 232

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ นั่งประนมมืออัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.

จบนันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗

อรรถกถานันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในนันทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

พึงทราบความคาถาต้นต่อไป ชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นในโลก ย่อมกล่าวกันว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก หมายถึงอาชีวกและนิครนถ์เป็นต้น ข้อนี้เป็นอย่างไร ชนทั้งหลายย่อมกล่าวผู้ประกอบด้วยญาณว่าเป็นมุนี เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยญาณ หรือย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ กล่าวคือมีความเป็นอยู่เศร้าหมองมีประการต่างๆ ว่า เป็นมุนี.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.

บทว่า อฏฺสมาปตฺติาเณน วา คือ ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ มีปฐมฌานเป็นต้น.

บทว่า ปญฺจาภิญฺาาเณน วา ด้วย ญาณในอภิญญา ๕ คือ หรือด้วยญาณ คือการรู้ขันธปัญจกที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนเป็นต้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามแม้ทั้งสองอย่างของนันทมาณพนั้น เมื่อจะทรงแสดงความเป็นมุนี จึงตรัสคาถาว่า น ทิฏฺิยา

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 233

ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิว่าเป็นมุนี ดังนี้เป็นต้น.

บัดนี้ นันทมาณพเพื่อละความสงสัยในวาทะของผู้กล่าวอยู่ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยทิฏฐิเป็นต้น จึงทูลถามว่า เยเกจิเม สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรูเปน ด้วยมงคลหลายชนิด คือด้วย มงคลมีโกตุหลมงคล (มงคลเกิดจากการตื่นข่าว) เป็นต้น.

บทว่า ตตฺถ ยตา จรนฺตา สำรวมแล้วประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น คือคุ้มครองอยู่แล้วในทิฏฐิของตนนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีความบริสุทธิ์อย่างนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๔.

นันทมาณพครั้นสดับว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ประสงค์จะฟังถึงผู้ที่ข้ามได้แล้ว จึงทูลถามว่า เยเกจิเม ดังนี้เป็นต้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงผู้ที่ข้ามชาติชราได้ด้วยหัวข้อว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว แก่นันทมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๖.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิวุตา คือ เป็นผู้อันชาติและชราหุ้มห่อแล้ว รึงรัดแล้ว.

บทว่า เยสีธ ตัดบทเป็น เย สุ อิธ.

บทว่า สุ เป็นเพียง นิบาต.

บทว่า ตณฺหํ ปริญฺาย คือ กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วยปริญญา ๓.

บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังกล่าวมาแล้วในบทก่อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือ พระอรหัตด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 234

เมื่อจบเทศนา นันทมาณพพอใจพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก จึงกล่าวคาถาว่า เอตาภินนฺทามิ ข้าพระองค์ย่อมพอใจพระวาจานั้นดังนี้เป็นต้น.

ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้ว แม้ในนิเทศนี้และนิเทศก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถานันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗