เหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๘ ว่าด้วยปัญหาของท่านเหมกะ
[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 235
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
ปารายนวรรค
เหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๘
ว่าด้วยปัญหาของท่านเหมกะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 235
เหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๘
ว่าด้วยปัญหาของท่านเหมกะ
[๓๒๔] (ท่านเหมกะทูลถามว่า)
ในกาลอื่นก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม พวกอาจารย์เหล่านี้พยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้ คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดีในคำนั้น.
[๓๒๕] คำว่า เย ในอุเทศว่า เยเม ปุพฺเพ วิยากํสุ ดังนี้ ความว่า พาวรีพราหมณ์และพราหมณ์อื่น ซึ่งเป็นอาจารย์ของพาวรีพราหมณ์ พยากรณ์แล้ว คือ บอกแล้ว... ประกาศแล้ว ซึ่งทิฏฐิของตน ความควรของตน ความชอบใจของตน ลัทธิของตน อัธยาศัยของตน ความประสงค์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในกาลอื่นก่อน... พวกอาจารย์เหล่านี้พยากรณ์แล้ว.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา เหมโก ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ.
คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง.
คำว่า เหมโก เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านเหมกะทูลถามว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 236
[๓๒๖] คำว่า ในกาลอื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ความว่า ในกาลอื่นแต่ศาสนาของพระโคดม คือ อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ก่อนกว่าศาสนาของพระโคดม กว่าศาสนาของพระพุทธเจ้า กว่าศาสนาของ พระชินเจ้า กว่าศาสนาของพระตถาคต กว่าศาสนาของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในกาลอื่นแต่ศาสนาของพระโคดม.
[๓๒๗] คำว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้ ความว่า ได้ยินว่า เรื่องนี้มีแล้วอย่างนี้ ได้ยินว่า เรื่องนี้จักมีอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้.
[๓๒๘] คำว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา ความว่า คำทั้งปวงนั้นเป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา คือ อาจารย์เหล่านั้น กล่าวธรรมอันไม่ประจักษ์แก่ตน ที่ตนมิได้รู้เฉพาะเอง โดยบอกตามที่ได้ยินกันมา บอกตามลำดับสืบๆ กันมา โดยอ้างตำรา โดยเหตุที่นึกเดาเอาเอง โดยเหตุที่คาดคะเนเอาเอง ด้วยความตรึกตามอาการ ด้วยความชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา.
[๓๒๙] คำว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ ความว่า คำทั้งปวงนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ คือ เป็นเครื่องยังวิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความดำริให้เจริญ เป็นเครื่องยังกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงญาติให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงชนบทให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงเทวดาให้เจริญ เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเอ็นดูผู้อื่นให้เจริญ เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญให้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 237
เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความปรารถนามิให้ใครดูหมิ่นให้เจริญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ.
[๓๓๐] คำว่า ข้าพระองค์ไม่ยินดียิ่งในคำนั้น ความว่า ข้าพระองค์ไม่รู้ ไม่เข้าถึง ไม่ได้เฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่ยินดีในคำนั้น เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ในกาลอื่นก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม พวกอาจารย์เหล่านี้พยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้ คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา คำทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดีในคำนั้น.
[๓๓๑] ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องกำจัดตัณหา ที่บุคคลรู้แล้วเป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกแก่ข้าพระองค์เถิด.
[๓๓๒] พราหมณ์นั้นกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์ ในอุเทศว่า ตฺวญฺจ เม ธมฺมมกฺขาหิ ดังนี้.
คำว่า ธมฺมํ ในอุเทศว่า ธมฺมมกฺขาหิ ดังนี้ ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัส... โปรดทรงประกาศพรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และข้อปฏิบัติอันให้ถึงนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 238
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... แก่ข้าพระองค์.
[๓๓๓] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหานิคฺฆาตนํ มุนิ ดังนี้.
คำว่า เป็นเครื่องกำจัดตัณหา ความว่า เป็นเครื่องปราบตัณหา เป็นเครื่องละตัณหา เป็นเครื่องสงบตัณหา เป็นเครื่องสละคืนตัณหา เป็นเครื่องระงับตัณหา เป็นอมตนิพพาน.
ญาณ ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนิ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงแล้วซึ่งราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังว่าข่าย จึงเป็นมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระมุนี... เครื่องกำจัดตัณหา.
[๓๓๔] คำว่า ที่บุคคลรู้แล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ความว่า บุคคลทำธรรมใดให้ทราบแล้ว คือ เทียบเคียงแล้ว พิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือ ทำให้ทราบแล้ว... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า เป็นผู้มีสติ คือ เป็นผู้มีสติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือเป็นผู้มีสติเจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ ผู้นั้นท่านกล่าวว่า เป็นผู้มีสติ.
คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา เยียวยา ให้เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 239
[๓๓๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในอุเทศว่า ตเร โลเก วิสตฺติกํ ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ เพราะอรรถว่าแผ่ไป ซ่านไป ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ความว่า พึงเป็นผู้มีสติข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่าน ไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องกำจัดตัณหาที่บุคคลรู้แล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก แก่ข้าพระองค์เถิด.
[๓๓๖] ดูก่อนเหมกะ บทนิพพานเป็นที่บรรเทาฉันทราคะในปิยรูปทั้งหลาย ที่ได้เห็น ที่ได้ยินและที่ได้ทราบ (ที่รู้แจ้ง) เป็นที่ไม่เคลื่อน.
[๓๓๗] คำว่า ทิฏฺํ ในอุเทศว่า อิธ ทิฏฺสุตมุตํ วิญฺาเตสุ ดังนี้ ความว่า ที่ได้เห็นด้วยจักษุ.
คำว่า สุตํ ความว่า ที่ได้ยินด้วยหู.
คำว่า มุตํ ความว่า ที่ทราบ คือ ที่สูดด้วยจมูก ลิ้มด้วยลิ้น ถูกต้องด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 240
กาย.
คำว่า วิญฺาตํ คือ ที่รู้ด้วยใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า... ที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ ที่รู้แจ้ง.
[๓๓๘] คำว่า ดูก่อนเหมกะ... ในปิยรูปทั้งหลาย ความว่า สิ่งอะไรเป็นปิยรูป (เป็นที่รัก) สาตรูป (เป็นที่ยินดี) ในโลก. จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในปิยรูปทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่าเหมกะ.
[๓๓๙] ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ตัณหาในกาม ความสิเน่หาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 241
หลงในกาม ความชอบใจในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ชื่อว่า ฉันทราคะ ในอุเทศว่า ฉนฺทราควิโนทนํ ดังนี้.
คำว่า เป็นที่บรรเทาฉันทราคะ ความว่า เป็นที่ละฉันทราคะ เป็นที่สงบฉันทราคะ เป็นที่สละคืนฉันทราคะ เป็นที่ระงับฉันทราคะ เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่บรรเทาฉันทราคะ.
[๓๔๐] คำว่า บทนิพพาน... ไม่เคลื่อน ความว่า บทนิพพาน คือ บทที่ต้านทาน บทที่เร้น บทที่ยึดหน่วง บทที่ไม่มีภัย.
คำว่า ไม่เคลื่อน คือ เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง เป็นธรรมไม่แปรปรวน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บทนิพพาน... ไม่เคลื่อน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนเหมกะ บทนิพพานเป็นที่บรรเทาฉันทราคะในปิยรูปทั้งหลาย ที่ได้เห็น ที่ได้ยิน และที่ได้ทราบ (ที่รู้แจ้ง) เป็นที่ไม่เคลื่อน.
[๓๔๑] พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้นแล้ว เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก.
[๓๔๒] คำว่า เอตํ ในอุเทศว่า เอตทญฺาย เย สตา ดังนี้ คือ อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกําหนัด ความดับตัณหา ความออกจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 242
คำว่า รู้ทั่วถึง ความว่า รู้ทั่ว คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง คือ รู้ทั่ว ทราบ... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า เย คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐาน คือพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นตรัสว่า เป็นผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนี้ เป็นผู้มีสติ.
[๓๔๓] คำว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว ความว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว คือ มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันเทียบเคียงแล้ว มีธรรมอันพิจารณาแล้ว มีธรรมอันแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันปรากฏแล้ว มีธรรมอันเห็นแล้ว... มีธรรมอันปรากฏแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว เพราะเป็นผู้ยังราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวงให้ดับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว.
[๓๔๔] คำว่า เข้าไปสงบแล้ว ในอุเทศว่า อุปสนฺตา จ เต สทา ดังนี้ ความว่า ชื่อว่าเข้าไปสงบแล้ว คือ สงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เข้าไปสงบวิเศษแล้ว ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นธรรมชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 243
สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว ไหม้แล้ว ดับแล้ว ปราศจากไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว.
คำว่า เต คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า ทุกสมัย คือ ทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง สิ้นกาลทั้งปวง สิ้นกาลเป็นนิตย์ กาลยั่งยืน เนืองๆ ติดต่อ ไม่เจือกับเหตุอื่นสืบต่อโดยลำดับ เหมือนระลอกน้ำมิได้ว่างสืบต่อไม่ขาดสาย กาลมีประโยชน์ กาลที่ถูกต้อง กาลเป็นปุเรภัต กาลเป็นปัจฉาภัต ยามต้น ยามกลาง ยามหลัง ข้างแรม ข้างขึ้น คราวฝน คราวหนาว คราวร้อน ตอนวัยต้น ตอนวัยกลาง ตอนวัยหลัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย.
[๓๔๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า วิสัตติกา ในอุเทศว่า ติณฺณา โลเก วิสตฺติกํ ดังนี้.
ตัณหา ชื่อว่า วิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติกํ เพราะอรรถว่ากระไร เพราะอรรถว่า ฯลฯ แผ่ไป ซ่านไป ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว... ในโลก ความว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 244
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้นแล้ว เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ พระเหมกะนั่งประนมอัญชลี นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.
จบเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๘
อรรถกถาเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัยในเหมกสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
บทว่า เยเม ปุพฺเพ วิยากํสุ ในกาลก่อนพวกอาจารย์เหล่านี้พยากรณ์แล้ว คือ ในกาลก่อนพาวรีพราหมณ์เป็นต้นพยากรณ์ลัทธิของตนแก่ข้าพระองค์.
บทว่า หุรํ โคตมสาสนา คือ ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม.
บทว่า สพฺพนฺตํ ตกฺกวฑฺฒนํ คือ คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยังความวิตกมีกามวิตกเป็นต้นให้เจริญ.
บทว่า เย จญฺเ ตสฺส อาจริยา พราหมณ์พวกอื่นและอาจารย์ของพาวรีพราหมณ์ คือ พราหมณ์พวกอื่นและอาจารย์ผู้ให้พาวรีพราหมณ์นั้นศึกษาถึงมารยาท.
บทว่า เต สกํ ทิฏฺิํ คือ อาจารย์เหล่านั้นบอกถึงทิฏฐิของตนๆ.
บทว่า สกํ ขนฺติํ คือ ความอดทนของตน.
บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 245
สกํ รุจิํ คือ ความชอบใจของตน.
บทว่า วิตกฺกวฑฺฒนํ ยังความตรึกให้เจริญ คือ ยังวิตกมีกามวิตกเป็นต้นให้เกิดขึ้น คือให้เป็นไปบ่อยๆ.
บทว่า สงฺกปฺปวฑฺฒนํ คือ ยังความดำริมีความดำริถึงกามเป็นต้นให้เจริญ.
สองบทเหล่านั้น ท่านกล่าวรวมวิตกทั้งหมด.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงกามวิตกเป็นต้นโดยสรุป จึงทรงแสดงวิตกทั้งหลาย ๙ อย่างโดยนัยมีอาทิว่า กามวิตกฺกวฑฺฒนํ ยังกามวิตกให้เจริญ ดังนี้.
บทว่า ตณฺหานิคฺฆาตนํ เป็นเครื่องกำจัดตัณหา คือ ยังตัณหาให้พินาศ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบอกธรรมนั้นแก่เหมกมาณพนั้น จึงตรัสสองคาถาว่า อิธ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตทญฺาย เย สตา พระขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้นแล้วเป็นผู้มีสติ คือ พระขีณาสพเหล่าใดรู้เห็นแจ้งถึงบทนิพพานนั้นอันไม่จุติแล้วโดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงดังนี้โดยลำดับ เป็นผู้มีสติด้วยกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้น.
บทว่า ทิฏฺธมฺมาภินิพฺพุตา มีธรรมอันเห็นแล้วดับแล้ว คือ ชื่อว่ามีธรรมอันเห็นแล้ว เพราะเป็นผู้รู้แจ้งธรรม และชื่อว่าดับแล้ว เพราะดับกิเลสมีราคะเป็นต้น.
บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วในก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถาเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๘