พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑ ว่าด้วยปัญหาของท่านชตุกัณณี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40790
อ่าน  408

[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 270

ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

ปารายนวรรค

ชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑

ว่าด้วยปัญหาของท่านชตุกัณณี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 270

ชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑

ว่าด้วยปัญหาของท่านชตุกัณณี

[๓๘๘] (ท่านชตุกัณณีทูลถามว่า)

ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า พระองค์ไม่มีความใคร่กาม ล่วงพ้นห้วงกิเลส จึงมาเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์ผู้มีญาณดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ ขอพระองค์จงตรัสบอกสันติบท ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์.

[๓๘๙] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า พระองค์ไม่มีความใคร่กาม ความว่า ข้าพระองค์ได้ยิน ได้ฟัง ศึกษา ทรงจำ เข้าไป กำหนดว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ทรงมีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ทรงองอาจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ให้ผู้อื่นมีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ผู้สามารถ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดแล้ว ปราศจากความเป็นผู้ขนลุกขนพอง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นผู้แกล้วกล้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 271

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเว้นแล้วจากบาปธรรมทั้งปวงในโลกนี้ ล่วงเสียแล้วซึ่งทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความเพียร พระองค์ทรงมีวิริยะ มีปธาน ทรงแกล้วกล้า เป็นผู้คงที่ ท่านกล่าวว่ามีพระหฤทัยเป็นอย่างนั้น.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า.

โดยหัวข้อว่า กาม ในอุเทศว่า อกามกามี ดังนี้ กามมี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละกิเลสกาม เพราะทรงกำหนดรู้วัตถุกาม เพราะทรงละกิเลสกามแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงใคร่กาม ไม่ทรงยินดีกาม ไม่ทรงติดใจกามทั้งหลายว่า กามทั้งหลายประเสริฐ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่มีกาม ออกจากกามแล้ว มีกามอันทรงสละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากราคะ มีราคะหายไปแล้ว มีราคะอันทรงสละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว สละคืนแล้ว ทรงหายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุข มีพระองค์อันประเสริฐอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่าพระองค์ไม่มีความใคร่กาม.

คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา ชตุกณฺณี ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 272

คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง.

คำว่า ชตุกณฺณี เป็นโคตร ฯลฯ เป็นคำบัญญัติเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านชตุกัณณีทูลถามว่า.

[๓๙๐] คำว่า ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว ในอุเทศว่า โอฆาติคํ ปุฏฐุมกามมาคมํ ดังนี้ ความว่า ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลส คือ ผู้ก้าวล่วง ก้าวล่วงพร้อม เป็นไปล่วง ซึ่งห้วงกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว.

คำว่า เพื่อจะทูลถาม ความว่า เพื่อจะทูลถาม คือ สอบถาม ทูลวิงวอน ทูลเชิญ ทูลให้ทรงประสาท.

คำว่า จึงมา... พระองค์ผู้ไม่มีกาม ความว่า ข้าพระองค์มา คือ เป็นผู้มา เข้ามา ถึงพร้อม สมาคมกับพระองค์ เพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม คือ ผู้ออกแล้วจากกาม มีกามอันสละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากราคะ มีราคะอันสละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า... ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว จึงมาเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม.

[๓๙๑] สันติก็ดี สันติบทก็ดี ย่อมมีโดยอาการเดียวกัน สันติบทนั้นนั่นแหละ เป็นอมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ชื่อว่า สันติ ในอุเทศว่า สนฺติปทํ พฺรูหิ สหาชเนตฺต ดังนี้.

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บทนี้สงบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 273

บทนี้ประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกําหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด.

โดยอาการอีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ เพื่อถูกต้องความสงบ เพื่อทำให้แจ้งความสงบ ธรรมเหล่านั้น คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้ท่านกล่าวว่า สันติบท ขอพระองค์จงตรัสบอก... ขอจงประกาศซึ่งสันติบท คือ บทที่ต้านทาน บทที่ซ่อนเร้น บทที่เป็นสรณะ บทที่ไม่มีภัย บทที่ไม่มีความเคลื่อน บทอมตะ บทนิพพาน สัพพัญญุตญาณท่านกล่าวว่า ญาณเป็นดังดวงตา ในคำว่า สหาชเนตฺต ดังนี้ ญาณเป็นดังดวงตาและความเป็นพระชินเจ้าเกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกันที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่า มีญาณเป็นดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีญาณเป็นดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ ขอพระองค์จงตรัสบอกสันติบท.

[๓๙๒] อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ยถาตจฺฉํ ในอุเทศว่า ยถาตจฺฉํ ภควา พฺรูหิ เมตํ ดังนี้.

คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 274

คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกนิพพานนั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก ฯลฯ ขอจงทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกนิพพานนั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า พระองค์ไม่มีความใคร่ในกาม ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว จึงมาเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์ผู้มีญาณดังดวงตา อันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ ขอพระองค์จงตรัสบอกสันติบท ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์.

[๓๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช ทรงประกอบด้วยเดช ทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป เหมือนพระอาทิตย์อันมีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี ขอพระองค์ผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติและชราในภพนี้ ที่ข้าพระองค์พึงทราบได้ แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยเถิด.

[๓๙๔] คำว่า ภควา ในอุเทศว่า ภควา หิ กาเม อภิภุยฺย อิริยติ ดังนี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.

โดยหัวข้อว่า กาม ในคำว่า กาเม กามมี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 275

กิเลสกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละ ทรงครอบงำ ทรงปกคลุม ทรงท่วมทับ ทรงกําจัด ทรงย่ำยีแล้ว ซึ่งกิเลสกาม เสด็จเที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา บำรุง ทรงเยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป.

[๓๙๕] พระอาทิตย์ ท่านกล่าวว่า อาทิจฺโจ ในอุเทศว่า อาทิจฺโจว ปวิํ เตชี เตชสา ดังนี้.

ชรา (๑) ท่านกล่าวว่า ปพี พระอาทิตย์มีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช คือ รัศมี ส่องแผ่ปกคลุมครอบปฐพี ให้ร้อน เลื่อนลอยไปในอากาศทั่วไป กำจัดมืด ส่องแสงสว่างไปในอากาศอันว่างเป็นทางเดิน ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดชคือพระญาณ ประกอบด้วยเดชคือพระญาณ ทรงกำจัดแล้วซึ่งสมุทัยแห่งอภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ความมืดคือกิเลส อันธการคืออวิชชา ทรงแสดงแสงสว่างคือญาน ทรงกำหนดรู้ซึ่งวัตถุกาม ทรงละ ทรงครอบงำ ทรงปกคลุม ทรงท่วมทับ ทรงกำจัด ทรงย่ำยี ซึ่งกิเลสกาม ย่อมเสด็จเที่ยวไป ดำเนินไป รักษา บำรุง เยียวยา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนพระอาทิตย์มีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี.

[๓๙๖] คำว่า มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน... แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อย ความว่า ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อย คือ มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำ ส่วนพระองค์มีพระปัญญาใหญ่ มีพระปัญญามาก มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาแล่น มีพระปัญญากล้าแข็ง มีพระปัญญาทำลายกิเลส.

ปฐพี ท่านกล่าวว่า ภูริ พระองค์ทรงประกอบด้วยพระปัญญาอัน


(๑) ม. ชคตี แปลว่า แผ่นดิน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 276

ไพบูลย์ กว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน... แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อย.

[๓๙๗] คำว่า ขอจงตรัสบอกธรรม ในอุเทศว่า อาจิกฺข ธมฺมํ ยมหํ วิชญฺํ ดังนี้ ความว่า ขอจงตรัสบอก... ขอจงประกาศซึ่งพรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริสุทธิ์สิ้นเชิง คือ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ นิพพาน และข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอกธรรม.

คำว่า ที่ข้าพระองค์พึงทราบได้ ความว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้แจ้ง พึงรู้แจ้งเฉพาะ พึงแทงตลอด พึงบรรลุ พึงถูกต้อง พึงทำ ให้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงทราบได้.

[๓๙๘] คำว่า เครื่องละชาติและชราในภพนี้ ความว่า ธรรมเป็นเครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ซึ่งชาติ ชรา และมรณะในภพนี้แล คือ อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เครื่องละชาติและชราในภพนี้ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช ทรงประกอบด้วยเดช ทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป เหมือนพระอาทิตย์อันมีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติและชราใน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 277

ภพนี้ ที่ข้าพระองค์พึงทราบได้ แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยเถิด.

[๓๙๙] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนชตุกัณณี)

ท่านเห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะโดยความเกษม จงกำจัดความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย กิเลสเครื่องกังวลที่ท่านยึดไว้ ควรสลัดเสีย อย่าได้มีแก่ท่านเลย.

[๔๐๐] โดยหัวข้อว่า กาเมสุ ในอุเทศว่า กาเมสุ วินยเคธํ ดังนี้ กาม มี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่าวัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ความกำหนัด ในคำว่า เคธํ.

คำว่า จงกำจัดความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย ความว่า ท่านจงกำจัด คือ จงปราบปราม จงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจงกำจัดความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตรว่า ชตุกัณณี.

คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ดูก่อนชตุกัณณี.

[๔๐๑] คำว่า ซึ่งเนกขัมมะ ในอุเทศว่า เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต ดังนี้ ความว่า เห็น คือ เห็นแจ้ง เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 278

ให้แจ้งแล้ว ชิงความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ การประกอบความเพียรในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพานและข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพาน โดยความเกษม คือ โดยเป็นที่ต้านทาน โดยเป็นที่ซ่อนเร้น โดยเป็นสรณะ โดยเป็นที่พึ่ง โดยไม่มีภัย โดยความไม่เคลื่อนไหว โดยความไม่ตาย โดยเป็นธรรมออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะ โดยความเกษม.

[๔๐๒] คำว่า ที่ท่านยึดไว้ ในอุเทศว่า อุคฺคหิตํ นิรตฺตํ วา ดังนี้ ความว่า ที่ท่านยึด คือ จับต้อง ถือมั่น ติดใจ น้อมใจไปด้วยสามารถตัณหา ด้วยสามารถทิฏฐิ.

คำว่า ควรสลัดเสีย ความว่า ควรสลัด คือ ควรปล่อย ควรละ ควรบรรเทา ควรทำให้สิ้นสุด ควรให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่ท่านยึดไว้ ควรสลัดเสีย.

[๔๐๓] คำว่า กิเลสเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่ท่าน ความว่า กิเลสเครื่องกังวล คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต กิเลสเครื่องกังวลนี้อย่าได้มี คือ อย่าได้ประจักษ์ อย่าได้ปรากฏ คือ ท่านจงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 279

จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องกังวล อย่าได้มีแล้วแก่ท่าน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ท่านเห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะโดยความเกษม จงกำจัดความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย กิเลสเครื่องกังวลที่ท่านยึดไว้ ควรสลัดเสียอย่าได้มีแก่ท่านเลย.

[๔๐๔] กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวลในภายหลัง อย่าได้มีแล้วแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง ท่านจักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป.

[๔๐๕] คำว่า กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้งไป ความว่า กิเลสเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึงสังขารทั้งหลายในอดีตกาล ท่านจงเผากิเลสเหล่านั้นให้เหือดไป คือ ให้แห้งไป ให้เกรียม ให้กรอบ จงทำให้ไม่มีพืช จงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้งไป.

อนึ่ง กรรมาภิสังขารส่วนอดีตเหล่าใด อันให้ผลแล้ว ท่านจงเผากรรมาภิสังขารเหล่านั้นให้เหือดไป คือ ให้แห้งไป ให้เกรียม ให้กรอบ จงทำให้ไม่มีพืช จงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้งไป.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 280

[๔๐๖] คำว่า กิเลสเครื่องกังวลในภายหลังอย่าได้มีแล้วแก่ท่าน ความว่า กิเลสเครื่องกังวลในอนาคต ตรัสว่า กิเลสเครื่องกังวลในภายหลัง กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภสังขารทั้งหลายในอนาคต กิเลสเครื่องกังวลนี้ อย่าได้มีมาแล้วแก่ท่าน คือ ท่านจงอย่ายังกิเลสเครื่องกังวลนั้นให้เกิด อย่าให้เกิดพร้อม อย่าให้บังเกิด จงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องกังวลในภายหลังอย่าได้มีแล้วแก่ท่าน.

[๔๐๗] คำว่า ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นปัจจุบัน ตรัสว่า ท่ามกลาง ท่านจักไม่ถือ คือ จักไม่ยึดถือ จักไม่ลูบคลำ จักไม่เพลิดเพลิน จักไม่ติดใจ ซึ่งสังขารอันเป็นปัจจุบันด้วยสามารถตัณหา ด้วยสามารถทิฏฐิ คือจักละ จักบรรเทา จักทำให้สิ้นสุด จักให้ถึงความไม่มี ซึ่งความยินดี ความชอบใจ ความยึด ความถือ ความถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง.

[๔๐๘] คำว่า จักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป ความว่า ชื่อว่า จักเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ เพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวงสงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว สงบวิเศษ เผาเสียแล้ว ให้ดับไปแล้ว จักเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 281

กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวลในภายหลังอย่าได้มีแล้วแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง ท่านจักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป.

[๔๐๙] ดูก่อนพราหมณ์ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพ ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยประการทั้งปวง.

[๔๑๐] คำว่า โดยประการทั้งปวง ในอุเทศว่า สพฺพโส นามรูปสฺมิํ วีตเคธสฺส พฺราหฺมณ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ มีส่วนไม่เหลือ.

คำว่า สพฺพโส นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่า รูป. ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า ความกำหนัด.

คำว่า ดูก่อนพราหมณ์... ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยประการทั้งปวง ความว่า ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูป คือ มีความกำหนัดในนามรูปไปปราศแล้ว มีความกำหนัดอันสละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากความยินดี คือมีความยินดีไปปราศแล้ว มีความยินดีอันสละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ในนามรูป โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนพราหมณ์... ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยประการทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 282

[๔๑๑] อาสวะ ในคำว่า อาสวา ในอุเทศว่า อาสวสฺส น วิชฺชนฺติ ดังนี้ มี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

คำว่า อสฺส คือ พระอรหันตขีณาสพ.

คำว่า ย่อมไม่มี คือ อาสวะเหล่านี้ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น คืออาสวะเหล่านี้อันพระอรหันตขีณาสพนั้นละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาสวะทั้งหลาย... ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพนั้น.

[๔๑๒] คำว่า เป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ความว่า บุคคลพึงถึงอำนาจแห่งมัจจุ พึงถึงอำนาจแห่งมรณะ หรือพึงถึงอำนาจแห่งพวกของมารด้วยอาสวะเหล่าใด อาสวะเหล่านั้นย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น คืออาสวะเหล่านั้นอันพระอรหันตขีณาสพนั้นละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนพราหมณ์ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพ ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยประการทั้งปวง.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.

จบชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 283

อรรถกถาชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑

พึงทราบวินิจฉัยในชตุกัณณีสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สุตฺวานหํ วีร อกามกามิํ ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่าพระองค์ไม่มีความใคร่กาม คือ ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่าพระพุทธองค์ไม่มีความใคร่กาม เพราะไม่ประสงค์กามทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้.

บทว่า อกามมาคมํ ผู้ไม่มีกาม คือ ข้าพระองค์มาเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่มีกาม.

บทว่า สหาชเนตฺต คือ ผู้มีญาณดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับการตรัสรู้.

บทว่า ยถาตจฺฉํ คือ ธรรมอันแท้จริง.

ชตุกัณณีมาณพทูลวิงวอนอยู่อีกว่า ขอพระองค์จงทรงบอกแก่ข้าพระองค์เถิด. เพราะว่าชตุกัณณีมาณพควรจะทูลวิงวอนอยู่แม้พันครั้ง จะกล่าวพูดไปทำไมถึงสองครั้ง.

ความแห่งบททั้งหลายนี้ว่า อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ได้กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ.

ในบทนั้น บทว่า วิชฺชา ได้แก่วิชชา ๓ บ้าง วิชชา ๘ บ้าง. วิชชา ๓ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในภยเภรวสูตรนั่นแล. วิชชา ๘ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอัมพัฏฐสูตร.

ในบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน นั้น ท่านกล่าววิชชา ๘ กำหนดเอาอภิญญา ๖ พร้อมด้วยวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ.

พึงทราบธรรม ๑๕ อย่างเหล่านี้ คือ การสำรวมในศีล ๑ ความเป็นผู้มีทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ การประกอบความ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 284

เพียร ๑ สัทธรรม ๗ รูปาวจรฌาน ๔ ชื่อว่า จรณะ.

เพราะพระอริยสาวกย่อมเที่ยวไปสู่ทิศอันเป็นอมตะด้วยธรรม ๑๕ อย่างเหล่านี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จรณะ.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหานาม อริยสาวกในศาสนานี้เป็นผู้มีศีล.

บททั้งปวงพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในมัชฌิมปัณณาสก์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยวิชชาทั้งหลายเหล่านี้ และด้วยจรณะนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน.

ในบทนั้น การถึงพร้อมด้วยวิชชา ยังพระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้บริบูรณ์ดำรงอยู่.

การถึงพร้อมด้วยจรณะ ยังความเป็นผู้มีพระมหากรุณาให้บริบูรณ์ดำรงอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ทรงทราบถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสรรพสัตว์เพราะพระสัพพัญญุตญาณ ทรงเว้นสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ประกอบสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพราะพระองค์มีพระมหากรุณา สมกับที่พระองค์เป็น วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน.

ด้วยเหตุนั้น สาวกของพระองค์เป็นผู้ปฏิบัติชอบ มิใช่ปฏิบัติไม่ชอบ ดุจสาวกของผู้ปฏิบัติผิดในวิชชาและจรณะมีการทำตนให้เร่าร้อนเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุคโต เสด็จไปดีแล้ว เพราะเสด็จไปงาม เสด็จไปสู่ฐานะอันดี เสด็จไปโดยชอบ และเพราะตรัสชอบ.

จริงอยู่ แม้การไปก็เรียกว่า คตํ ไปแล้ว. การเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น งามบริสุทธิ์ไม่มีโทษ.

ก็นั่นเพราะอะไร. เพราะอริยมรรค.

ด้วยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จไปไม่ติดขัดยังทิศอันเกษมด้วยการเสด็จไป เพราะเหตุนั้น จึงมีพระนามว่า สุคโต เพราะเสด็จไปงาม.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จไปสู่ฐานะอันดี คือ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 285

อมตนิพพาน เพราะเหตุนั้น จึงมีพระนามว่า สุคโต เพราะเสด็จไปสู่ฐานะอันดี.

อนึ่ง พระองค์เสด็จไปแล้วโดยชอบ ไม่ทรงกลับมาหากิเลสที่พระองค์ทรงละได้แล้ว ด้วยมรรคนั้นๆ.

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุคโต เพราะไม่กลับไปหากิเลสที่พระองค์ละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ พระนามว่า สุคโต เพราะไม่กลับไปหากิเลสที่พระองค์ละได้แล้วด้วยอรหัตตมรรค.

หรือว่าพระองค์เสด็จไปแล้วโดยชอบ ทรงบำเพ็ญประโยชน์สุขเท่านั้นแก่สรรพโลก ด้วยการทรงปฏิบัติชอบบริสุทธิ์ เพราะทรงบำเพ็ญบารมีครบ ๓๐ จำเดิมแต่บาทมูลของพระทีปังกรพุทธเจ้า ตราบเท่าถึงโพธิมณฑล ไม่ทรงเข้าถึงที่สุดเหล่านี้ คือกามสุขและการทำตนให้ลำบาก อันเป็นสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ เสด็จไปแล้ว เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า สุคโต เพราะเสด็จไปโดยชอบ.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดำรัสชอบ ตรัสพระวาจาอันสมควร ในฐานะที่เหมาะสม เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า สุคโต เพราะพระดำรัสชอบ.

ยกตัวอย่างพระสูตรต่อไปนี้.

พระตถาคตทรงทราบวาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น พระตถาคตจะไม่ตรัสวาจานั้น.

พระตถาคตทรงทราบวาจาแม้ใด จริง แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น พระตถาคตจะไม่ตรัสวาจาแม้นั้น.

อนึ่ง พระตถาคตทรงทราบวาจาใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น พระตถาคตเป็นผู้รู้จักกาลในข้อนั้น เพื่อทำให้แจ้งวาจานั้น.

พระตถาคตทรงทราบวาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 286

ด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น พระตถาคตจะไม่ตรัสวาจาแม้นั้น.

อนึ่ง พระตถาคตทรงทราบวาจาใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น พระตถาคตเป็นผู้รู้จักกาลในข้อนั้น เพื่อทำให้แจ้งวาจานั้นฉะนี้แล.

พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่า สุคโต เพราะมีพระดำรัสชอบ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่า โลกวิทู เพราะทรงรู้แจ้งโลกด้วยประการทั้งปวง.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงรู้ทั่วทรงแทงตลอดโลกด้วยประการทั้งปวง คือโดยสภาวะ โดยเหตุเกิด โดยดับเหตุ โดยอุบายดับเหตุ.

สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่าควรรู้ควรเห็นควรถึงที่สุดโลกด้วยการไปของผู้ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เรายังไม่บรรลุ จะไม่กล่าวถึงที่สุดโลก การทำที่สุดทุกข์ อนึ่ง ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราจะไม่บัญญัติโลก เหตุเกิดโลก การดับโลก และปฏิปทาให้ถึงการดับโลก ในเพราะซากอันมีสัญญา มีใจประมาณวาหนึ่งนี้เท่านั้น.

แต่ไหนแต่ไรมาบุคคลพึงถึงที่สุดของโลกด้วยการเดินทางได้ แต่จะไม่มีการพ้นจากทุกข์ เพราะยังไม่ถึงที่สุดของโลก เพราะฉะนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้รู้แจ้งโลก ทรงมีปัญญาดีถึงที่สุดโลก อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เป็นผู้มีความสงบ ทรงรู้ที่สุดของโลก ไม่ทรงหวังโลกนี้และโลกหน้า.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 287

อนึ่ง โลกมี ๓ อย่าง คือ สังขารโลก ๑ สัตวโลก ๑ โอกาสโลก ๑ ในโลกทั้ง ๓ นั้น พึงทราบสังขารโลกในอาคตสถานว่า โลกหนึ่งคือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร.

พึงทราบสัตวโลกในอาคตสถานว่า โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง.

พึงทราบโอกาสโลกในอาคตสถานว่า

พระจันทร์และพระอาทิตย์ยังบริหารโลก แสงสว่างยังหมุนไปทั่วทิศตราบใด ตราบนั้นอำนาจของท่านยังเป็นไปในโลกนี้ตั้งพันส่วน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงรู้แม้โอกาสโลกนี้ด้วยประการทั้งปวง.

จริงดังนั้น โลก ๑ คือสัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร โลก ๒ คือนามและรูป โลก ๓ คือเวทนา ๓ โลก ๔ คืออาหาร ๔ โลก ๕ คืออุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คืออายตนะภายใน ๖ โลก ๗ คือวิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ คือโลกธรรม ๘ โลก ๙ คือสัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คืออายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คืออายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘ แม้สังขารโลกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบด้วยประการทั้งปวง.

อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้อัธยาศัย ทรงรู้ความประพฤติอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน ทรงรู้อารมณ์ของสัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งหมด ทรงรู้สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสเพียงดังธุลีน้อย มีกิเลสเพียงดังธุลีมาก มีอินทรีย์กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว ให้รู้ได้ง่าย ให้รู้ได้ยาก ควรตรัสรู้ ไม่ควรตรัสรู้ ฉะนั้น พระองค์ทรงรู้แจ้งแม้สัตวโลกด้วยประการทั้งปวง.

แม้โอกาสโลก ก็ทรงรู้แจ้งเหมือนสัตว์โลก.

จริงดังนั้น โอกาสโลกนั้น เป็นจักรวาลหนึ่ง โดยยาว โดยกว้าง โดยรอบ หนึ่งล้านสองแสนสี่ร้อยห้าสิบโยชน์ (๑)


(๑) ม. ทวาทส สตสหสฺสานิ จตุติํส สตานิ จ ปญฺาสญฺจ โยชนานิ แปลว่า ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 288

จักรวาลทั้งหมดมีปริมณฑล สามล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์.

ในโอกาสโลกนั้น

มีแผ่นดินหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ น้ำรองแผ่นดินสี่แสนแปดหมื่นโยชน์ ตั้งอยู่บนลม.

ลมที่รองน้ำแม้นั้น

ลมพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า เก้าแสนหกหมื่นโยชน์ นี้เป็นการตั้งอยู่ของโลก.

เมื่อสัณฐานโลกเป็นอยู่อย่างนี้

ภูเขาสิเนรุหยั่งลงในห้วงน้ำใหญ่โผล่ขึ้นสูงแปดหมื่นสี่พันโยชน์. รัตนะวิจิตรนานาชนิดล้วนเป็นของทิพย์ มีอยู่ที่ภูเขาสิเนรุในส่วนที่หยั่งลงและโผล่ขึ้น ตามลำดับ ประมาณส่วนละครึ่งหนึ่งๆ.

ภูเขาหินล้วนเป็นภูเขาใหญ่ ๗ ลูก คือยุคนธระ อิสินธระ กรวิกะ สุทัสสนะ เนมินธระ วินตกะ อัสสกัณณะ ตั้งอยู่รอบภูเขาสิเนรุ เป็นที่อยู่ของท้าวมหาราช เทวดาและยักษ์อาศัยอยู่.

ภูเขาหิมวันต์ ๕ ลูก สูงร้อยโยชน์ ยาวและกว้างสามพันโยชน์ ประดับด้วยยอดแปดหมื่นสี่พันยอด.

ภูเขาล้อมรอบโคน สามสิบห้าโยชน์ ความกว้างของสาขาที่โคนห้าสิบโยชน์ ตั้งอยู่โดยรอบ.

ต้นชมพูขึ้นเต็มแผ่ไปร้อยโยชน์ ด้วยความหนาแน่นของต้นชมพูนั้น จึงเรียกว่า ชมพูทวีป.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 289

ก็ขนาดของต้นชมพูนี้เท่าใด ของต้นแคฝอยของพวกอสูร ของต้นงิ้วของพวกครุฑ ของต้นกระทุมในอมรโคยานทวีป ของต้นกัลปพฤกษ์ในอุตตรกุรุทวีป ของต้นซึกในปุพพวิเทหทวีป ของต้นปาริฉัตตกะในดาวดึงส์ ก็มีขนาดเท่านั้นเหมือนกัน.

ด้วยเหตุนั้นโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

ต้นแคฝอย ต้นงิ้ว ต้นชมพู ต้นไม้ปาริฉัตตกะ ของพวกเทวดา ต้นกระทุ่ม ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นซึกทั้ง ๗ นี้ เกิดขึ้นด้วยสิริ. การก่อตัวขึ้นของหินจักรวาล หยั่งลงในห้วงน้ำใหญ่ ผุดขึ้นแปดหมื่นสองพันโยชน์ ล้อมโลกธาตุนั้นทั้งหมดตั้งอยู่.

ในจักรวาลนั้น จันทมณฑล สี่สิบเก้าโยชน์ สุริยมณฑล ห้าสิบโยชน์ ดาวดึงสพิภพ หนึ่งหมื่นโยชน์ อสุรพิภพ อเวจีมหานรกและชมพูทวีปก็เหมือนกัน อมรโคยานทวีป เจ็ดพันโยชน์ ปุพพวิเทหทวีปก็เหมือนกัน อุตตรกุรุทวีป แปดพันโยชน์. ในจักรวาล มหาทวีปหนึ่งๆ มีทวีปน้อย ทวีปละห้าร้อยเป็นบริวาร. จักรวาลหนึ่งทั้งหมดนั้น เป็นโลกธาตุเดียว โลกันตริกนรก อยู่ในระหว่างโลกธาตุนั้น.

ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงรู้ ทรงรู้ทั่วถึง ทรงแทงตลอดจักรวาลอันไม่มีที่สุด โลกธาตุอันไม่มีที่สุด ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุด.

แม้โอกาสโลก พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งด้วยประการทั้งปวงอย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็น โลกวิทู เพราะทรงรู้แจ้งด้วยประการทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มีใครๆ ประเสริฐกว่าด้วยพระคุณของพระองค์ คือไม่มีผู้ยอดเยี่ยม.

จริง

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 290

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงครอบงำสรรพโลก ด้วยคุณคือศีลบ้าง ด้วยคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีผู้เสมอ สมกับเป็นผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้แม้น หาบุคคลเปรียบมิได้ ด้วยคุณคือศีลบ้าง ด้วยคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง.

สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ก็เรายังไม่เห็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยศีลยิ่งกว่าตน ในพวกเทวดาในเทวโลกและมนุษย์ในโลกเลย.

พึงทราบความพิสดารต่อไป. พึงยังอัคคัปปสาทสูตรเป็นต้น และยังคาถาทั้งหลายมีอาทิว่า อาจารย์ของเราไม่มีดังนี้ ให้พิสดารด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ เพราะทรงฝึกคนที่ควรฝึกได้. อธิบายว่า ฝึกคือแนะนำ.

บทว่า ปุริสทมฺม ในบทว่า ปุริสทมฺมสารถิ นั้น คือ คนฝึกไม่ได้เป็นดิรัจฉานบุรุษก็ดี มนุษยบุรุษก็ดี อมนุษยบุรุษก็ดี ควรฝึกได้.

จริงดังนั้น แม้ดิรัจฉานบุรุษ เป็นต้นว่าอปลาลนาคราช จูโฬทรนาคราช มโหทรนาคราช อัคคิสิขนาคราช ธูมสิขนาคราช อารวาฬนาคราช และช้างชื่อว่า ธนปาลกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงฝึกได้ ทำให้หมดพยศได้ และให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลได้.

แม้มนุษยบุรุษ เป็นต้นว่าสัจจกนิคัณฐบุตร อัมพัฏฐมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โสณทัณฑพราหมณ์ กูฏทันตพราหมณ์ พระองค์ก็ทรงฝึกได้ ทำให้หมดพยศได้ และให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลได้.

แม้อมนุษยบุรุษ เป็นต้นว่าอาฬวกยักษ์ สูจิโลมยักษ์ ขรโลมยักษ์ และท้าวสักกเทวราช พระองค์ก็ยังทรงฝึกได้ ทรงแนะนําด้วยอุบายเป็นเครื่องแนะนําอย่างวิจิตรได้.

ในบทนี้พึงให้พิสดารด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนเกสี เราแนะนำ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 291

คนที่ควรฝึกด้วยถ้อยคำไพเราะบ้าง หยาบบ้าง ทั้งไพเราะและหยาบบ้าง ดังนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกปฐมฌานเป็นต้น แก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์เป็นต้น และมรรคปฏิทาอันยิ่งแก่พระโสดาบันเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมทรงฝึกแม้คนที่ฝึกแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่พึงฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมนี้ เป็นบทมีความเป็นอันเดียวกันนั่นเอง.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกคนที่ควรฝึกได้ โดยประการที่คนทั้งหลายนั่งอยู่โดยบัลลังก์เดียวกัน แล่นไปไม่ติดทิศทั้ง ๘.

บทว่า ปหุ คือ ผู้สามารถ.

บทว่า วิสวี ให้ผู้อื่นมีความเพียร คือ ยังความเพียรให้เกิดในสันดานของผู้อื่น.

บทว่า อลมตฺโต คือ มีความสามารถ.

บทว่า วิรโต คือ ทรงเว้นจากบาปทั้งปวงด้วยอริยมรรค. ไม่มีปฏิสนธิต่อไป เพราะเว้นได้ด้วยอริยมรรค.

บทว่า นิรยทุกฺขมติจฺจ คือ ล่วงเสียซึ่งทุกข์ในนรก เพราะไม่มีปฏิสนธิต่อไป.

บทว่า วิริยวาโส คือ ทรงอยู่ด้วยความเพียร.

บทว่า โส วิริยวา พระองค์มีวิริยะ คือ พระองค์เป็นผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสมควรซึ่งความเป็นผู้อันบุคคลควรกล่าวว่า วิริยวา.

บทว่า ปธานวา วีโร ตาที มีปธานะ ทรงแกล้วกล้า เป็นผู้คงที่ นี้เป็นคำยกย่องพระองค์.

เพราะพระองค์ชื่อว่ามีปธานะ เพราะมีปธานะในมรรคและฌาน ชื่อว่าทรงแกล้วกล้า เพราะสามารถกำจัดข้าศึกคือกิเลสได้. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะไม่มีวิการ.

บทว่า ปวุจฺจเต ตถตฺตา ท่านกล่าวว่ามีพระองค์เป็นอย่างนั้น คือท่านกล่าวผู้เป็นอย่างนั้นว่า วิริยวา.

บทว่า เต กามกามิโน ชนเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่กาม คือ ปรารถนาวัตถุกามมีรูปเป็นต้น.

บทว่า ราคราคิโน คือ กำหนัดด้วยราคะ.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 292

สญฺสญฺิโน คือ มีความสำคัญในราคสัญญา.

บทว่า น กาเม กาเมติ คือ ไม่ปรารถนาวัตถุกามมีรูปเป็นต้น.

บทว่า อกาโม คือ เว้นจากกาม.

บทว่า นิกฺกาโม คือ ออกจากกาม.

บทว่า สพฺพญฺญุตาณํ พระพุทธเจ้าพระนามว่า สพฺพญฺญู เพราะทรงรู้ทางที่ควรแนะนำทั้งปวงให้ถึงความเจริญ.

ความเป็นแห่ง สัพพัญญู นั้น ชื่อว่า สพฺพญฺญุตา. ญาณคือความเป็นแห่งสัพพัญญู ชื่อว่า สพฺพญฺญุตาณํ. ดวงตาคือสัพพัญญุตญาณและความเป็นผู้ชนะ เพราะยังกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วยวาสนาให้แพ้แล้วชนะ เกิดขึ้นแล้วในขณะเดียวกัน ในกาลเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง. ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว เพราะถึงในเบื้องสูงจากส่วนสุดในเบื้องต้น.

บทว่า เตชี เตชสา พระผู้มีพระภาคเจ้ามีเดช ทรงประกอบด้วยเดช คือทรงประกอบด้วยเดช ครอบงำด้วยเดช.

บทว่า ยมหํ วิชญฺํ ชาติชราย อิธ วิปฺปหานํ โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติชราในภพนี้ที่ข้าพระองค์พึงทราบได้ คือข้าพระองค์พึงทราบธรรมเป็นเครื่องละชาติและชราในภพนี้.

บทว่า ชคติ คือ แผ่นดิน.

บทว่า สพฺพํ อากาสคตํ คือ เลื่อนลอยแผ่ไปในอากาศทั่วไป.

บทว่า ตมคตํ ความมืดนั่นแล ชื่อว่า ตมคตํ คือ ไปในความมืด เหมือนไปในคูถในมูตรฉะนั้น.

บทว่า อภิวิหจฺจ เลื่อนลอยไป คือ หายไป.

บทว่า อนฺธการํ วิธมิตฺวา กำจัดมืด คือ ทำลายความมืดอันห้ามการเกิดแห่งจักขุวิญญาณ.

บทว่า อาโลกํ ทสฺสยิตฺวา คือ ส่องแสงสว่างของดวงอาทิตย์.

บทว่า อากาเส คือ ในอากาศอันไม่รกชัฏ.

บทว่า อนฺตลิกฺเข คือ ในอากาศอันว่างเปล่า

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 293

ไม่สามารถจะขีดเขียนได้.

บทว่า คมนปเถ เป็นทางเดิน คือ ไปในทางเดินของพวกเทวดา.

บทว่า สพฺพํ อภิสงฺขารสมุทยํ สมุทัยแห่งอภิสังขารทั้งปวง คือ สมุทัยแห่งกรรมทั้งสิ้น. อธิบายว่า ตัณหาทำให้เกิด.

บทว่า กิเลสตมํ อวิชฺชนฺธการํ วิธมิตฺวา ทรงกำจัดความมืดคือกิเลส ความมืดคืออวิชชา คือ ทรงนำความไม่รู้อันได้แก่ความมืดคือกิเลส ความมืดคืออวิชชาออกให้พินาศไป แล้วทรงแสดงแสงสว่างคือพระญาณ แสงสว่างคือปัญญา.

บทว่า วตฺถุกาเม ปริชานิตฺวา ทรงกำหนดรู้วัตถุกาม คือ ทรงรู้วัตถุกามมีรูปเป็นต้น ด้วยญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ติรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา).

บทว่า กิเลสกาเม ปหาย ทรงละกิเลสกาม คือ อันได้แก่ทำความเดือดร้อนด้วยปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ).

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกธรรมนั้นแก่ชตุกัณณีมาณพ จึงได้ตรัสคาถาต่อๆ ไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เนกฺขมฺมํ ทุฏฺฐุ เขมโต ท่านเห็นเนกขัมมะโดยความเกษม คือ เห็นนิพพานและปฏิปทาอันทำให้ถึงนิพพานว่า เป็นความเกษม.

บทว่า อุคฺคหิตํ คือ กิเลสเครื่องกังวลที่ท่านยึดไว้ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.

บทว่า นิรตฺตํ วา คือ ควรสลัดเสีย. อธิบายว่า พึงปล่อยเสีย.

บทว่า มา เต วิชฺชิตฺถ คือ อย่าได้มีแก่ท่านเลย.

บทว่า กิญฺจนํ คือ เครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น. กิเลสเครื่องกังวลแม้นั้นก็อย่าได้มีแก่ท่านเลย.

บทว่า มุญฺจิตพฺพํ คือ ควรปล่อยเสียไม่ควรยึดถืออีก.

บทว่า ปชหิตพฺพํ ควรละ คือ ควรเว้น.

บทว่า วิโนเทตพฺพํ ควรบรรเทา คือ ควรซัดไป.

บทว่า พฺยนฺติกาตพฺพํ ควรทำให้สิ้นสุด คือ ควรทำ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 294

กิเลสเครื่องกังวลนั้นให้ปราศจากไป.

บทว่า อนภาวํ คเมตพฺพํ ควรให้ถึงความไม่มีแม้แต่น้อย.

บทว่า ปุพฺเพ กิเลสชาติในกาลก่อน คือ กิเลสอันเกิดขึ้นปรารภสังขารในอดีต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกชตุกัณณีมาณพว่า พฺราหฺมณ ดูก่อนพราหมณ์.

บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับคราวก่อนนั่นเอง.

จบอรรถกถาชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑