พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔ ว่าด้วยปัญหาของท่านโปสาละ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40793
อ่าน  463

[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 330

ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

ปารายนวรรค

โปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔

ว่าด้วยปัญหาของท่านโปสาละ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 330

โปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔

ว่าด้วยปัญหาของท่านโปสาละ

[๔๖๗] (ท่านโปสาละทูลถามว่า)

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ไม่ทรงมีความหวั่นไหว ทรงตัดความสงสัยเสียแล้ว ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ย่อมทรงแสดงอดีต ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

[๔๖๘] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย อตีตํ อาทิสติ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็นพระสยัมภู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยได้ยินมาในกาลก่อน ทรงบรรลุซึ่งความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมเหล่านั้น และทรงบรรลุซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.

คำว่า ย่อมทรงแสดงอดีต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงแม้อดีต ย่อมทรงแสดงแม้อนาคต ย่อมทรงแสดงแม้ปัจจุบัน ของพระองค์เองและของผู้อื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอดีตของพระองค์อย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง อันเป็นอดีตของพระองค์เองว่า ในภพโน้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 331

เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ พระองค์ทรงแสดงชาติก่อนเป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอดีตของพระองค์เองอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอดีตของผู้อื่นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง อันเป็นอดีตของผู้อื่นว่า ในภพโน้น ท่านผู้นี้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น ท่านผู้นี้ก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ พระองค์ทรงแสดงชาติก่อนเป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอดีตของผู้อื่นอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชาดก ๕๐๐ ก็ชื่อว่าทรงแสดงอดีตของพระองค์เองและของผู้อื่น ตรัสมหาธนิยสูตร... มหาสุทัสสนสูตร... มหา-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 332

โควินทสูตร... มฆเทวสูตร ชื่อว่าทรงแสดงอดีตของพระองค์และของผู้อื่น.

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ญาณอันตามระลึกถึงชาติก่อนของตถาคต ปรารภถึงอดีตกาลมีอยู่ ตถาคตหวังจะรู้ชาติก่อนเท่าใด ก็ระลึกถึงชาติก่อนได้เท่านั้น ดูก่อนจุนทะ ญาณอันตามระลึกถึงชาติข้างหน้าของตถาคต ปรารภถึงอนาคตกาล มีอยู่ ฯลฯ ดูก่อนจุนทะ ญาณอันเกิดที่ควงไม้โพธิของตถาคต ปรารภถึงปัจจุบันกาล เกิดขึ้นว่า ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้มิได้มีภพต่อไป อินทรียปโรปริยัตติญาณ (ญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหมด) เป็นกำลังของตถาคต อาสยานุสยญาณ (ความรู้จักฉันทะที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย) เป็นกำลังของตถาคต ยมกปาฏิหาริยญาณ (ญาณเป็นเครื่องนำออกซึ่งปฏิปักขธรรมอันเป็นคู่) เป็นกำลังของตถาคต มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในมหากรุณาสมาบัติ) เป็นกำลังของตถาคต สัพพัญญุตญาณเป็นกำลังของตถาคต อนาวรณญาณ (ญาณเนื่องด้วยอาวัชชนะไม่มีอะไรกั้น) เป็นกำลังของตถาคต อนาวรณญาณอันไม่ข้อง ไม่มีอะไรขัดในกาลทั้งปวง เป็นกำลังของตถาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมแสดง... ทรงประกาศแม้อดีต แม้อนาคต แม้ปัจจุบัน ของพระองค์และของผู้อื่นด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอดีต.

คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา โปสาโล ดังนี้ เป็นบทสนธิ.

คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก.

คำว่า โปสาโล เป็นชื่อ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 333

ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านโปสาละทูลถามว่า.

[๔๖๙] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ความหวั่นไหว ในอุเทศว่า อเนโช ฉินฺนสํสโย ดังนี้. ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าไม่มีความหวั่นไหว เพราะทรงละความหวั่นไหวเสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงหวั่น ไม่ทรงไหว ไม่พรั่น ไม่พรึง แม้ในเพราะลาภ แม้ในเพราะความเสื่อมลาภ แม้ในเพราะยศ แม้ในเพราะความเสื่อมยศ แม้ในเพราะความสรรเสริญ แม้ในเพราะนินทา แม้ในเพราะสุข แม้ในเพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว.

วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงในทุกข์ ฯลฯ ความสะดุ้งแห่งจิต ความขัดใจ ท่านกล่าวว่า ความสงสัย ในอุเทศว่า ฉินฺนสํสโย ดังนี้ ความสงสัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงตัด บั่น ทอน สงบระงับเสียแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่าทรงตัดความสงสัยแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว ทรงตัดความสงสัยเสียแล้ว.

[๔๗๐] คำว่า ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงฝั่งแห่งอภิญญา ทรงถึงฝั่งแห่งปริญญา ทรงถึงฝั่งแห่ง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 334

ปหานะ ทรงถึงฝั่งแห่งภาวนา ทรงถึงฝั่งแห่งการทำให้แจ้ง ทรงถึงฝั่งแห่งสมาบัติ คือ ทรงถึงฝั่งแห่งความรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มิได้มีสงสาร คือชาติ ชราและมรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง.

[๔๗๑] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า ความว่า พวกข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า ฯลฯ เพื่อทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง เพื่อทรงเฉลย แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ไม่ทรงมีความหวั่นไหว ทรงตัดความสงสัยเสียแล้ว ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ย่อมทรงแสดงอดีต ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

[๔๗๒] ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของบุคคลผู้มีรูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว ละกายทั้งหมดแล้ว เห็นอยู่ทั้งภายในภายนอกว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี บุคคลอย่างนั้นควรแนะนำอย่างไร.

[๔๗๓] รูปสัญญา ในคำว่า วิภูตรูปสญฺิสฺส ดังนี้ เป็นไฉน สัญญา ความจำ ความเป็นผู้จำ ของบุคคลผู้เข้าซึ่งรูปาวจรสมาบัติ หรือของบุคคลผู้เข้าถึงแล้ว (ในรูปาวจรภพ) หรือว่าของบุคคลผู้มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้ชื่อว่า รูปสัญญา.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 335

คำว่า ผู้มีรูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว ความว่า รูปสัญญาของบุคคลผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสัญญาผ่านไปแล้ว หายไปแล้ว ล่วงไปแล้ว เลยไปแล้ว เป็นไปล่วงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีรูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว.

[๔๗๔] คำว่า ผู้ละกายทั้งปวงแล้ว ความว่า รูปกายอันมีในปฏิสนธิทั้งหมด บุคคลนั้นละแล้ว คือ รูปกายอันบุคคลนั้นละแล้ว ด้วยการก้าวล่วงด้วยอำนาจตทังคปหานและวิกขัมภนปหาน การละด้วยการข่มไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละกายทั้งปวงแล้ว.

[๔๗๕] อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี ในอุเทศว่า อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ นตฺถิ กิญฺจีติ ปสฺสโต ดังนี้ เพราะเหตุไร อากิญจัญญายตนสมาบัติจึงชื่อว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี บุคคลเป็นผู้มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่ยังวิญญาณนั้นนั่นแหละ ให้เจริญ ให้เป็นแจ้ง ให้หายไป ย่อมเห็นว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น อากิญจัญญายตนสมาบัติจึงชื่อว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นอยู่ทั้งภายในและภายนอกว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี.

[๔๗๖] คำว่า สกฺก ในอุเทศว่า าณํ สกฺกานุปุจฺฉามิ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สักกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า สักกะ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละความกลัวและความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า สักกะ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 336

คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของบุคคลนั้นว่า เช่นไร ดำรงอยู่อย่างไร มีประการไร มีส่วนเปรียบอย่างไร อันบุคคลนั้น พึงปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ.

[๔๗๗] คำว่า บุคคลเช่นนั้นควรแนะนำอย่างไร ความว่า บุคคลนั้นควรแนะนำ ควรนำไปให้วิเศษ ควรนำไปให้ยิ่ง ควรให้รู้ทั่ว ควรให้พินิจ ควรให้พิจารณา ควรให้เลื่อมใสอย่างไร และญาณที่ยิ่งขึ้นไปอันบุคคลนั้นพึงให้เกิดขึ้นอย่างไร.

คำว่า บุคคลเช่นนั้น คือ บุคคลผู้อย่างนั้น ผู้เช่นนั้น ดำรงอยู่อย่างนั้น ผู้มีประการอย่างนั้น ผู้มีส่วนเปรียบอย่างนั้น ผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้เช่นนั้นควรแนะนำอย่างไร เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของบุคคลผู้มีรูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว ละกายทั้งหมดแล้ว เห็นอยู่ทั้งภายในภายนอกว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี บุคคลอย่างนั้นควรแนะนำอย่างไร.

[๔๗๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโปสาละ)

ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ทั้งหมด ย่อมรู้จักบุคคลนั้น เมื่อตั้งอยู่ พ้นวิเศษแล้ว มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 337

[๔๗๙] คำว่า วิญญาณฐิติทั้งหมด ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถอภิสังขาร ย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๗ ด้วยสามารถปฏิสนธิ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบ วิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถอภิสังขารอย่างไร สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณยึดรูปตั้งอยู่ มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีความเพลิดเพลิน เป็นเครื่องซ่องเสพ ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณยึดเวทนา ฯลฯ ยึดสัญญา ฯลฯ ยึดสังขารตั้งอยู่ มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องซ่องเสพ ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถอภิสังขารอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบ วิญญาณฐิติ ๗ ด้วยสามารถปฏิสนธิอย่างไร สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางหมู่ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเนื่องในหมู่พรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพอาภัสสระ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหกะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 338

เหล่าหนึ่งล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๗. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติที่ ๗ ด้วยสามารถปฏิสนธิอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณฐิติทั้งหมด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า โปสาละ ในอุเทศว่า โปสาลาติ ภควา ดังนี้.

คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโปสาละ.

[๔๘๐] คำว่า อภิชานํ ในอุเทศว่า อภิชานํ ตถาคโต ดังนี้ ความว่า รู้ยิ่ง รู้แจ้ง แทงตลอด.

คำว่า ตถาคต ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ล่วงแล้ว ไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์.

ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ล่วงแล้ว จริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 339

ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ล่วงแล้ว จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นตถาคตย่อมรู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น.

ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ยังไม่มาถึง ฯลฯ ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่เป็นปัจจุบัน ไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์. ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่เป็นปัจจุบันจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์.

ดูก่อนจุนทะ ถ้าเรื่องที่เป็นปัจจุบันจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นตถาคตย่อมรู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น.

ดูก่อนจุนทะ ด้วยเหตุดังนี้แล ตถาคตย่อมเป็นผู้กล่าวโดยกาลอันควร กล่าวจริง กล่าวอิงอรรถ กล่าวอิงธรรม กล่าวอิงวินัย ในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต.

ดูก่อนจุนทะ อายตนะใดแล อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก อันหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว เสาะหาแล้ว พิจารณาแล้วด้วยใจ อายตนะทั้งหมดนั้น ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต.

ดูก่อนจุนทะ ตถาคตย่อมตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และตถาคตย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ตถาคตย่อมกล่าว บอก เล่า แสดง เรื่องใดในระหว่างนั้น เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 340

ดูก่อนจุนทะ ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต.

ดูก่อนจุนทะ ตถาคตเป็นใหญ่ยิ่งในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อันใครๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นโดยถ่องแท้ เป็นผู้ให้อำนาจเป็นไป เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคตรู้ยิ่ง.

[๔๘๑] คำว่า ย่อมรู้จักบุคคลนั้นผู้ตั้งอยู่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงเปรตวิสัย พระมีผู้พระภาคเจ้า ย่อมทรงรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักอุบัติในหมู่มนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัด

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 341

อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน.

ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงเปรตวิสัย.

ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักอุบัติในหมู่มนุษย์.

ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมรู้บุคคลนั้นผู้ตั้งอยู่.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 342

[๔๘๒] คำว่า พ้นวิเศษแล้ว ในอุเทศว่า วิมุตฺตํ ตปฺปรายนํ ดังนี้ ความว่า พ้นวิเศษแล้วในอากิญจัญญายตนสมาบัติ คือ น้อมใจไปในฌานนั้น มีฌานนั้นเป็นใหญ่.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้น้อมใจไปในรูป น้อมใจไปในเสียง น้อมใจไปในกลิ่น น้อมใจไปในรส น้อมใจไปในโผฏฐัพพะ น้อมใจไปในสกุล น้อมใจไปในคณะ น้อมใจไปในอาวาส น้อมใจไปในลาภ น้อมใจไปในยศ น้อมใจไปในความสรรเสริญ น้อมใจไปในสุข น้อมใจไปในจีวร น้อมใจไปในบิณฑบาต น้อมใจไปในเสนาสนะ น้อมใจไปในคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร น้อมใจไปในพระสูตร น้อมใจไปในพระวินัย น้อมใจไปในพระอภิธรรม น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการเที่ยวไปตามลำดับตรอกเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียวเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการไม่ฉันภัตในภายหลังเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่าเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ที่โคนไม้เป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการไม่นอนเป็นวัตร น้อมใจไปในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสา-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 343

นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พ้นวิเศษแล้ว.

คำว่า มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า ความว่า สำเร็จมาแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ มีสมาบัตินั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีวิบากเป็นที่ไปในเบื้องหน้า หนักอยู่ในกรรม หนักอยู่ในปฏิสนธิ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้มีรูปเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พ้นวิเศษแล้ว มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ตถาคตรู้ยิ่งวิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ทั้งหมด ย่อมรู้จักบุคคลนั้นเมื่อตั้งอยู่ พ้นวิเศษแล้ว มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า.

[๔๘๓] บุคคลนั้น รู้กรรมว่า เป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้ ครั้นรู้จักกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น ก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นพราหมณ์อยู่จบพรหมจรรย์.

[๔๘๔] คำว่า รู้กรรมว่าเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ ความว่า กรรมาภิสังขารอันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ตรัสว่าเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 344

ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏซึ่งกรรมาภิสังขารอันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพว่า เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูก เป็นเครื่องกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้กรรมเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ.

[๔๘๕] คำว่า มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบดังนี้ ความว่า ความกำหนัดในอรูปตรัสว่า ความเพลินเป็นเครื่องประกอบ รู้กรรมนั้นว่าเกาะ เกี่ยว พัวพัน ด้วยความกำหนัดในอรูป คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งความกำหนัดในอรูปว่า เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องกังวล.

คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ ดังนี้.

[๔๘๖] คำว่า ครั้นรู้จักกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว ความว่า ครั้นรู้จัก คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครั้นรู้จักกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว.

[๔๘๗] คำว่า ในลำดับนั้น ก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น ความว่า เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วออกจากสมาบัตินั้น แล้วก็พิจารณาเห็น คือ เห็น ตรวจดู เพ่งดู พิจารณา ซึ่งธรรมทั้งหลาย คือ จิตและเจตสิก อันเกิดในสมาบัตินั้น โดยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค ฯลฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในลำดับนั้นก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น.

[๔๘๘] คำว่า นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น ความว่า นั่นเป็นญาณอันแท้จริง ถ่องแท้ ไม่วิปริต ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 345

[๔๘๙] คำว่า เป็นพราหมณ์ ในอุเทศว่า พฺราหฺมณสฺส วุสีมโต ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการแล้ว ฯลฯ บุคคลอันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ ท่านกล่าวว่าเป็นพราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์.

คำว่า อยู่จบพรหมจรรย์ ความว่า เสขบุคคล ๗ พวกรวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่ทั่ว อยู่รอบ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง พระอรหันต์อยู่จบแล้ว ทำกรณียกิจเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนอันถึงแล้วโดยลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นกิเลสแล้ว เพราะรู้โดยชอบ พระอรหันต์นั้นมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ อยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้มีสงสาร คือ ชาติ ชราและมรณะ ไม่มีภพต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลนั้น รู้กรรมว่า เป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้ ครั้นรู้จักกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น ก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นพราหมณ์อยู่จบพรหมจรรย์.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.

จบโปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 346

อรรถกถาโปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔

พึงทราบวินิจฉัยในโปสาลสูตรที่ ๑๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า โย อตีตํ อาทิสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงแสดงอดีต คือ ทรงแสดงอดีต มีอาทิว่าชาติหนึ่งบ้างของพระองค์และของสัตว์เหล่าอื่น.

บทว่า เอกมฺปิ ชาติํ ชาติหนึ่งบ้าง คือ ขันธสันดานหนึ่งบ้าง อันมีปฏิสนธิเป็นต้น มีจุติเป็นปริโยสานอันนับเนื่องในภพหนึ่ง.

ในบททั้งหลายมีอาทิว่า สองชาติ บ้างก็มีนัยนี้.

อนึ่ง พึงทราบความในบททั้งหลายมีอาทิว่า อเนเกปิ สํวฏฺฏกปฺเป ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ดังต่อไปนี้ กัปกำลังเสื่อม ชื่อว่า สังวัฏฏกัป เพราะในกาลนั้นสัตว์ทั้งปวงจะไปรวมกันอยู่ในพรหมโลก. กัปกำลังเจริญชื่อว่า วิวัฏฏกัป เพราะในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายกลับจากพรหมโลก.

ในบทนั้น เป็นอันถือเอาการตั้งอยู่แห่งสังวัฏฏกัปด้วยสังวัฏฏกัป. และเป็นอันถือเอาการตั้งอยู่แห่งวิวัฏฏกัปด้วยวิวัฏฏกัป. เพราะปฏิสนธินั้นเป็นต้นเหตุ.

ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขยกัปเหล่านี้มี ๔ อย่าง คือ สังวัฏฏกัป ๑ สังวัฏฏัฏฐายี ๑ วิวัฏฏกัป ๑ วิวัฏฏัฏฐายี ๑. เป็นอันกำหนดเอาอสงไขยกัปเหล่านั้น.

อนึ่ง ในบทว่า สงฺวฏฺฏกปฺเป วิวฏฺฏกปฺเป ท่านกล่าวถือเอากึ่งหนึ่งของกัป.

ในบทว่า สํวฏฺฏวิวฏฺฏกปฺเป ท่านกล่าวถือเอาตลอดกัป.

หากถามว่า ระลึกถึงอย่างไร.

ตอบว่า ระลึกถึงโดยนัยมีอาทิว่า อมุตฺราสิํ คือ ในภพโน้น.

บทว่า อมุตฺราสิํ ความว่า เราได้มีแล้วในสังวัฏฏกัปโน้น ในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 347

สัตตนิกายโน้น.

บทว่า เอวนฺนาโม มีชื่ออย่างนั้น คือ ชื่อติสสะหรือปุสสะ.

บทว่า เอวํโคตฺโต มีโคตรอย่างนั้น คือ กัจจานโคตรหรือกัสสปโคตร.

บทนี้ท่านกล่าวด้วยการระลึกถึง ชื่อและโคตรของตนในภพอดีตและของผู้นั้น.

ก็หากว่าในกาลนั้นประสงค์จะระลึกถึง วรรณสมบัติก็ดี ความเป็นผู้มีชีวิตหยาบและประณีตก็ดี ความเป็นผู้มากด้วยสุขและทุกข์ก็ดี ความเป็นผู้มีอายุน้อยและอายุยืนก็ดี ย่อมระลึกถึงแม้ข้อนั้นได้.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอวํวณฺโณ... เอวมายุปริยนฺโต ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํวณฺโณ มีผิวพรรณอย่างนี้ คือ มีผิวขาวหรือผิวคล้ำ.

บทว่า เอวมาหาโร มีอาหารอย่างนี้ คือ มีข้าวสาลี เนื้อ ข้าวสุกเป็นอาหาร หรือมีผลไม้ที่หล่นเองเป็นของบริโภค.

บทว่า เอวํสุขทุกฺขปฏิสํเวที เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น คือ เสวยสุขและทุกข์อันเป็นไปทางกาย เป็นไปทางจิตโดยประการไม่น้อย หรือมีประเภทมีอามิสและไม่มีอามิส.

บทว่า เอวมายุปริยนฺโต มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ คือ มีกำหนดอายุประมาณ ๑๒๐ ปี หรือ ๘๔,๐๐๐ กัป.

บทว่า โส ตโต จุโต อมุตฺร อุทปาทิํ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพโน้น คือ เราครั้นจุติจากภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพ คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายโน้น.

บทว่า ตตฺราปาสิํ แม้ในภพนั้น คือ อีกอย่างหนึ่ง เราได้มีแล้วในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายแม้นั้นอีก.

บทมีอาทิว่า เอวนฺนาโม มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะบทว่า อมุตฺราสิํ นี้ เป็นการระลึกถึงตลอดเวลาที่ต้องการของผู้ขึ้นไปโดยลำดับ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 348

บทว่า โส ตโต จุโต เป็นการพิจารณาของผู้ที่กลับ ฉะนั้น บทว่า อิธูปปนฺโน เกิดแล้วในที่นี้ คือ เราจุติจากที่เกิดอันหาที่สุดมิได้นั้นแล้ว บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือในตระกูลพราหมณ์ชื่อโน้นนี้.

บทว่า อิติ คือ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สาการํ สอุทฺเทสํ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ คือ พร้อมทั้งอุเทศด้วยอำนาจชื่อและโคตร พร้อมทั้งอาการด้วยอำนาจผิวพรรณเป็นต้น. เพราะว่าสัตว์ย่อมแสดงโดยชื่อและโคตรว่า ติสสะ กัสสปะ ดังนี้ แสดงโดยผิวพรรณเป็นต้นว่า คล้ำ ขาว ดังนี้ ย่อมปรากฏโดยความต่างๆ กัน เพราะฉะนั้น ชื่อและโคตรเป็นอุเทศ นอกนั้นเป็นอาการ.

บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ คือ ขันธ์ที่อยู่อาศัยในอดีตชาติเป็นต้น ในกาลก่อนชื่อว่า ปุพเพนิวาส.

บทว่า นิวุฏฺา คือ อยู่อาศัย ได้เสวยผล คือเกิดขึ้นในสันดานของตนแล้วดับไป หรือมีการอยู่อาศัยเป็นธรรมดา.

บทว่า นิวุฏฺา คือ อยู่อาศัย อยู่ได้ด้วยอาหาร กำหนดรู้ด้วยวิญญาณของตน แม้รู้ด้วยวิญญาณของผู้อื่น ย่อมได้แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ในการระลึกถึงทางอันตัดแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ทรงกล่าวถึงปุพเพนิวาสนั้น.

บทว่า ปเรสํ อตีตํ อดีตของผู้อื่น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงปุพเพนิวาสของบุคคลอื่นเหล่าอื่น โดยนัยมีอาทิว่า เอกมฺปิ ชาติํ ดังนี้.

บทว่า มหาปทานิยสุตฺตนฺตํ คือ มหาปทานสูตร แสดงพระประวัติของพระมหาบุรุษทั้งหลาย.

บทว่า มหาสุทสฺสนิยํ คือ มหาสุทัสสนสูตร แสดงถึงสมบัติของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ.

บทว่า มหาโควินฺทิยํ คือ มหาโควินทสูตร แสดงถึงเรื่องราวของพราหมณ์ชื่อว่า มหาโควินทะ.

บทว่า มฆเทวินฺทิยํ คือ มฆเทวสูตร แสดงประวัติของท้าวมฆเทพ.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 349

บทว่า สตานุสารีาณํ โหติ ญาณอันตามระลึกชาติ คือ ญาณที่สัมปยุตด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ.

บทว่า ยาวตกํ อากงฺขติ ตถาคตหวังจะรู้ชาติก่อนเท่าใด คือ ตถาคตปรารถนาจะรู้ชาติก่อนเท่าใด ก็ส่งญาณไปว่า เราจักรู้ชาติก่อนเท่านั้น. ลำดับนั้นญาณของพระตถาคตย่อมแล่นไปไม่มีอะไรกระทบ ไม่มีอะไรกั้น ดุจน้ำมันมะกอกไหลเข้าไปในห่อใบไม้แห้ง. ด้วยเหตุนั้น พระตถาคตย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนได้เท่าที่ทรงหวัง.

บทว่า โพธิชํ คือ เกิด ณ ควงต้นโพธิ.

บทว่า าณํ อุปฺปชฺชติ คือ ญาณในมรรค ๔ ย่อมเกิดขึ้น.

บทว่า อยมนฺติมา ชาติ ชาตินี้มีในที่สุด คือ ชาตินี้มีในที่สุด เพราะละต้นเหตุของชาติได้ด้วยญาณนั้น แม้ญาณอื่นๆ ก็เกิดขึ้นอีกว่า บัดนี้มิได้มีภพต่อไป.

ในบทว่า อินฺทริยปโรปริยตฺตาณํ นี้ การนำบทว่า สตฺตานํ มาประกอบข้างหน้าเป็น สตฺตานํ อินฺทฺริยปโรปริยตฺตาณํ คือ ญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.

เมื่อควรจะกล่าวว่า ปรานิ จ อปรานิ จ ปราปรานิ ความยิ่งและความหย่อน ท่านลง โร อักษรด้วยบทสนธิ กล่าวว่า ปโรปรานิ.

ความเป็นแห่งความยิ่งและความหย่อน ชื่อว่า ปโรปริยํ.

ความเป็นแห่งความยิ่งและความหย่อนนั่นแล ชื่อว่า ปโรปริยตฺตํ.

ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้นของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺตํ.

ญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ชื่อว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺตาณํ. อธิบายว่า ญาณเครื่องกำหนดรู้ความสูงและความต่ำของอินทรีย์ทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 350

อีกอย่างหนึ่ง ปรานิ จ โอปรานิ จ ปโรปรานิ ความยิ่งและความหย่อน ชื่อว่า ปโรปรานิ ความเป็นแห่งความยิ่งและความหย่อนเหล่านั้น ชื่อว่า ปโรปริยํ.

ท่านอธิบายว่า โอปรานิ ความหย่อน คือ โอรานิ คือ ความหย่อน (ความต่ำ). อธิบายว่า ลามก. ดุจในประโยคมีอาทิว่า ได้รู้ธรรมลามก.

ปาฐะใช้เป็นสัตตมีวิภัตติว่า อินฺทริยปโรปริยตฺเต าณํ ญาณกำหนดรู้ในความยิ่งและความหย่อนของอินทรีย์ก็มี.

บทว่า ตถาคตสฺส คือ เสด็จมาเหมือนอย่างท่านผู้แสวงคุณแต่ก่อน มีพระวิปัสสีเป็นต้นเสด็จมาแล้ว. อนึ่ง เสด็จไปเหมือนท่านผู้แสวงคุณเหล่านั้นเสด็จไปแล้ว.

บทว่า ตถาคตพลํ เป็นกำลังของพระตถาคต คือ เป็นกำลังของพระตถาคตเท่านั้นไม่ทั่วไปด้วยบุคคลเหล่าอื่น. อธิบายว่า เป็นกำลังมาแล้วเหมือนอย่างกำลังของพระพุทธเจ้าแต่ก่อน ด้วยการถึงพร้อมด้วยการสะสมบุญบ้าง.

กำลังของพระตถาคตมีสองอย่างคือ กายพลํ (กำลังพระกาย) ๑ าณพลํ (กำลังพระญาณ) ๑. ในพระกำลังเหล่านั้น พึงทราบกำลังพระกายด้วยระลึกถึงตระกูลช้าง. โบราณาจารย์กล่าวได้ดังนี้ว่า

ตระกูลช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ตระกูลช้างกาฬาวกะ ๑ คังเคยยะ ๑ ปัณฑระ ๑ ตัมพะ ๑ ปิงคละ ๑ คันธะ ๑ มังคละ ๑ เหมะ ๑ อุโปสถะ ๑ ฉัททันตะ ๑.

กำลังของช้างพันโกฏิด้วยจำนวนช้างปกติ ของบุรุษหมื่นโกฏิด้วยจำนวนบุรุษ นี้เป็นกําลังพระกายของพระตถาคต. แต่กําลังพระญาณมาแล้วในมหาสีหนาทสูตร คือ ทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ (ญาณทำความกล้าหาญ ๔) ญาณไม่ทรงหวั่นไหวในบริษัท ๘ ญาณกำหนดกำเนิด ๔

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 351

ญาณกำหนดคติ ๕.

พระญาณพันหนึ่งเป็นอันมากแม้เหล่าอื่นอย่างนี้ คือ ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ มาแล้วในสังยุตตนิกาย นี้ชื่อว่า กำลังพระญาณ. ในที่นี้ประสงค์กำลังพระญาณเท่านั้น. เพราะพระญาณท่านกล่าวว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว และเพราะอรรถว่า ค้ำจุน.

พึงทราบความในบทนี้ว่า สตฺตานํ อาสยานุสเย าณํ ความรู้อัธยาศัย และกิเลสอันนอนเนื่องในสันดานของสัตว์ ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า สตฺตา (สัตว์ทั้งหลาย) เพราะเป็นผู้ข้อง คือ ติดในขันธ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นด้วยฉันทราคะ.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนราธะ ผู้ข้องผู้ติดในความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า สัตว์.

แต่นักคิดอักษรไม่พิจารณาถึงความต้องการเพียงชื่อ. ผู้ใดพิจารณาถึงความ ผู้นั้นย่อมต้องการบทว่า สตฺตา ด้วยสัตตศัพท์. แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น.

ชื่อว่า อาสย เพราะเป็นที่มานอนอาศัยของสัตว์ทั้งหลาย.

บทนี้เป็นชื่อของจิตตสันดานของสัตว์ที่อบรมด้วยมิจฉาทิฏฐิบ้าง สัมมาทิฏฐิบ้าง กามเป็นต้นบ้าง ออกจากกามเป็นต้นบ้าง.

ชื่อว่า อนุสย เพราะกิเลสทั้งหลายนอนตาม เข้าไปติดตามสันดานของสัตว์.

บทนี้เป็นชื่อของกามราคะเป็นต้น อันถึงซึ่งกำลัง.

อาสย และ อนุสย ชื่อว่า อาสยานุสโย. พึงทราบว่าเป็นคำเดียวกัน ด้วยถือกำเนิดและด้วยทวันทวสมาส (สมาสคู่) เพราะจริตและอัธยาศัยสงเคราะห์เข้าในอาสยะและอนุสยะ ฉะนั้น ญาณในจริตและอัธยาศัย ท่านสงเคราะห์ลงในอาสยานุสยญาณนั่นเอง จึงกล่าวว่า อาสยานุสเย าณํ ความรู้ในอัธยาศัยและกิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 352

พึงทราบความในบทนี้ว่า ยมกปาฏิหิเร าณํ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ยมกํ เป็นคู่ เพราะกองไฟและสายน้ำเป็นต้น เป็นไปคราวเดียวกันไม่ก่อนไม่หลัง.

ชื่อว่า ปาฏิหิรํ เพราะนำปฏิปักขธรรม มีความเป็นผู้ไม่เชื่อเป็นต้นออกไป.

ชื่อว่า ยมกปาฏิหิรํ เพราะนำปฏิปักขธรรมออกไปเป็นคู่.

พึงทราบความในบทนี้ว่า มหากรุณาสมาปตฺติยา าณํ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า กรุณา เพราะเมื่อทุกข์ของคนอื่นมีอยู่ ย่อมทำความหวั่นไหวในหทัยเพื่อคนดีทั้งหลาย.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กรุณา เพราะกำจัดทุกข์ของคนอื่นให้หมดสิ้นไป.

หรือชื่อว่า กรุณา เพราะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์.

ความกรุณาใหญ่ด้วยการทำการแผ่ไป หรือด้วยคุณธรรม ชื่อว่า มหากรุณา.

ชื่อว่า สมาปตฺติ เพราะเป็นผู้มีมหากรุณาถึงพร้อม.

ชื่อว่า มหากรุณาสมาปตฺติ เพราะมีมหากรุณาแล้วเข้ามหากรุณาสมาบัตินั้น หรือญาณสัมปยุตด้วยมหากรุณานั้นในมหากรุณาสมาบัตินั้น.

พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพญฺญุตาณํ อนาวรณาณํ (ญาณไม่มีอะไรกั้น) ดังนี้ต่อไป.

ชื่อว่า สพฺพญฺญู เพราะรู้ทั่วถึงทุกสิ่งอัน เป็นทางที่ควรแนะนำ ๕ ประการ. ความเป็นแห่งพระสัพพัญญูนั้น ชื่อว่า สพฺพญฺญุตา.

ญาณ คือ ความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล ชื่อว่า สพฺพญฺญุตาณํ.

เมื่อควรจะกล่าวว่า สพฺพญฺญุตาาณํ แต่กล่าวทำให้มีเสียงสั้นว่า สพฺพญฺญุตาณํ.

จริงอยู่ ธรรมทั้งหมดมีประเภทเป็นต้นว่า สังขตธรรมและอสังขตธรรม เป็นทางที่ควรแนะนำ ๕ ประการคือ สังขาร ๑ วิการ ๑ ลักษณะ ๑ นิพพาน ๑ บัญญัติ ๑. ความกั้นญาณนั้นไม่มี เพราะเนื่อง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 353

ด้วยเป็นอาวัชชนะ เพราะฉะนั้น ญาณนั้นนั่นแลจึงเรียกว่า อนาวรณญาณ.

พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพตฺถ อสงฺคมปฺปฏิหตมนาวรณาณํ อนาวรณญาณอันไม่ข้อง ไม่มีอะไรขัดในกาลทั้งปวง ดังต่อไปนี้ ญาณปราศจากการกั้น ไม่ข้อง ปราศจากการข้อง ไม่ขัด ปราศจากการขัด ปราศจากการเป็นปฏิปักษ์เป็นไปแล้วในอดีต อนาคต และปัจจุบัน.

บทว่า อนาคตมฺปิ อาทิสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงแม้อนาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในภัทรกัปนี้ได้มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์แล้ว ปัจจุบันนี้เราเป็นสัมมาสัมพุทธะองค์ที่ ๔ และต่อไปจักมีพระเมตไตรยเป็นองค์ที่ ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุได้แปดหมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเมตไตรยจักอุบัติในโลก เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระราชาพระนามว่าสังขะ จักรับสั่งให้ยกเสาบูชายัญที่พระราชาพระนามว่ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ ทรงครองราชสมบัติ ทรงกำจัดศัตรู สละพระราชทรัพย์ ทรงถวายทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย แล้วทรงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ เสด็จออกทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงบอกอนาคตของพระเทวทัตเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ในอนาคตเทวทัตจักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า อัฏฐิสสระ และสุมนมาลาการจักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า สุมนิสสระ.

บทว่า ปจฺจุปนฺนมฺปิ อาทิสติ ทรงแสดงแม้ปัจจุบันนี้ชัดดีแล้ว.

บทว่า วิภูตรูปสญฺิสฺส คือ ผู้มีรูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว.

บทว่า สพฺพกายปฺปหายิโน ผู้ละกายทั้งหมดแล้ว คือ ละรูปกายทั้งหมดด้วย

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 354

ตทังคะ และวิกขัมภนะ อธิบายว่า ละปฏิสนธิในรูปภพได้แล้ว.

บทว่า นตฺถิ กิญฺจีติ ปสฺสโต เห็นอยู่ว่า ไม่มีอะไร คือ เห็นอยู่ว่า ไม่มีอะไร ด้วยเห็นความไม่มีแห่งวิญญาณ. ท่านกล่าวว่า เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ.

โปสาลมาณพทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สักกะ ในบทว่า าณํ สกฺกานุปุจฺฉามิ ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ. ต้องการคำพูดว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของบุคคลนั้น.

บทว่า กถํ เนยฺโย คือ บุคคลนั้นควรแนะนำอย่างไร. ควรให้เกิดญาณยิ่งขึ้นแก่เขาอย่างไร.

บทว่า รูปสญฺา ในบทนี้ว่า กตมา รูปสญฺา รูปสัญญาเป็นไฉน ท่านกล่าวรูปาวจรฌาน และอารมณ์ของรูปาวจรฌานนั้น ด้วยหัวข้อว่า สญฺา.

จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานท่านก็กล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ ผู้มีรูปย่อมเห็นรูป.

แม้อารมณ์ของรูปาวจรฌานนั้น (ก็ชื่อว่ารูป) ในคำเป็นต้นว่า ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปภายนอก มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม.

เพราะฉะนั้น บทว่า รูปสญฺา นี้ จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌานด้วยหัวข้อว่า สญฺา อย่างนี้ว่า ความสำคัญในรูปนี้ ชื่อว่ารูปสัญญา.

ชื่อว่า รูปสญฺา เพราะรูปมีสัญญา. ท่านกล่าวว่ารูป เป็นชื่อของรูปาวจรฌานนั้น.

อนึ่ง พึงทราบว่า บทว่า รูปสญฺา นี้ เป็นชื่อของอารมณ์ของรูปาวจรฌานนั้น มีประเภทเป็นต้นว่าปฐวีกสิณ ด้วยประการฉะนี้.

แต่ในที่นี้ประสงค์เอารูปสัญญาอันได้แก่ (รูป) ฌาน ๑๕ ด้วยอำนาจแห่งกุศล วิบาก และกิริยา.

บทว่า รูปาวจรสมาปตฺติํ สมาปนฺนสฺสวา ของบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ คือ เข้าถึงกุศลฌานอันเป็นรูปาวจรสมาบัติ.

บทว่า อุปฺปนฺนสฺส วา คือ เกิดขึ้นแล้วในภพนั้นด้วย

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 355

อำนาจแห่งวิปากฌาน.

บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาริสฺส วา หรือของบุคคลผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือ ผู้ยังสุขอันเป็นกิริยาฌานสมาบัติให้เกิดขึ้นอยู่ในอัตภาพนี้อยู่แล้ว.

บทว่า อรูปสมาปตฺติโย ได้แก่ อากาสานัญจายตนสมาบัติเป็นต้น.

บทว่า ปฏิลทฺธสฺส ได้แล้ว คือ ให้เกิดขึ้นดำรงอยู่แล้ว.

บทว่า รูปสญฺา วิภูตา โหนฺติ คือ ปราศจากรูปสัญญา.

บทว่า วิคตา คือ หมดไปแล้ว. ปาฐะว่า วิภาวิตา (๑) บ้างดังนี้.

บทว่า ตทงฺคสมติกฺกมา คือ ด้วยการก้าวล่วงด้วยตทังคปหาน.

บทว่า วิกฺขมฺภนปฺปหาเนน ปหีโน ละแล้วด้วยวิกขัมภนปหาน คือ ละด้วยการข่มไว้ด้วยได้อรูปฌาน.

บทว่า ตสฺส รูปกาโย คือ รูปาวจรกายของบุคคลผู้ได้อรูปสมาบัตินั้น.

พึงทราบความในบทนี้ว่า อากิญฺจญฺายตนํ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า อกิญฺจนํ เพราะไม่มีอะไร ในฌานนี้. ท่านกล่าวว่า ไม่มีอะไรเหลืออยู่ โดยที่สุดแม้เพียงในภังคขณะ.

ความเป็นแห่งความไม่มีอะไร ชื่อว่า อากิญฺจญฺํ.

บทนี้เป็นชื่อของการปราศจากวิญญาณ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ.

อากิญจัญญะนั้น ชื่อว่า อากิญฺจญฺายตนํ เพราะเป็นเครื่องสืบต่อแห่งสัญญานี้ด้วยการอธิษฐาน.

คำว่า อากิญจัญญายตนะ นี้ เป็นชื่อของฌาน อันมีอารมณ์ปราศจากวิญญาณอันเป็นไปแล้วในความว่าง.

บทว่า วิญฺาณญฺจายตนสมาปตฺติํ สโต สมาปชฺชิตฺวา คือ มีสติเข้าถึงวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น.

บทว่า สโต วุฏฺหิตฺวา มีสติออก คือ เป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น.

บทว่า ตญฺเว วิญฺาณํ คือ วิญญาณอันเป็นมหัคคตะอันเป็นไปแล้วในความว่าง.

บทว่า อภาเวติ


(๑) ม. อภาวิตาติปิ.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 356

คือ ให้พินาศไป.

บทว่า วิภาเวติ คือ ให้พินาศไปโดยวิธีต่างๆ.

บทว่า อนฺตรธาเปติ คือ ให้ถึงความไม่เห็น.

บทว่า กถํ โส เนตพฺโพ บุคคลนั้นควรแนะนำอย่างไร คือ ควรรู้โดยประการไร.

บทว่า วิเนตพฺโพ ควรแนะนำให้วิเศษ คือ ควรรู้โดยวิธีต่างๆ.

บทว่า อนุเนตพฺโพ ควรตามแนะนำ คือ ควรให้จิตถึงถ้อยคำบ่อยๆ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงประกาศความที่ญาณของพระองค์ไม่ถูกกระทบในบุคคลเช่นนั้นแก่โปสาลมาณพ จึงตรัสคาถาเพื่อทรงพยากรณ์นั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิญฺาณฏฺิติโย สพฺพา อภิชานํ ตถาคโต คือ ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ทั้งปวงอย่างนี้ว่า วิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถแห่งอภิสังขาร วิญญาณฐิติ ๗ ด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ.

บทว่า ติฏฺนฺตเมนํ ชานาติ คือ ย่อมรู้จักบุคคลนั้นเมื่อตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งอภิสังขารคือกรรมว่า บุคคลนี้จักมีคติอย่างนี้ดังนี้.

บทว่า วิมุตฺตํ พ้นวิเศษแล้ว คือ น้อมไปแล้วในอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นต้น.

บทว่า ตปฺปรายนํ มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า คือ สำเร็จด้วยสมาบัตินั้น.

บทว่า วิญฺาณฏฺิติโย ความว่า ที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ คือ สวิญญาณกขันธ์นั้นแล (ขันธ์มีวิญญาณ).

ในบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถแสดงตัวอย่าง.

บทว่า มนุสฺสา คือ มนุษย์มากมาย แม้ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้ย่อมไม่มี มนุษย์สองคนเหมือนเป็นอย่างเดียวกันด้วยผิวพรรณและทรวดทรงเป็นต้น. แม้มนุษย์เหล่าใดมีผิวพรรณหรือทรวดทรงเหมือนกัน มนุษย์เหล่านั้นก็ไม่เหมือนกันด้วยการแลการ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 357

เหลียวเป็นต้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีกายต่างๆ กัน.

ส่วนปฏิสนธิสัญญาของสัตว์เหล่านั้นเป็นติเหตุกะบ้าง ทุเหตุกะบ้าง อเหตุกะบ้าง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีสัญญาต่างๆ กัน.

บทว่า เอกจฺเจ จ เทวา ได้แก่ เทพชั้นกามาวจร ๖ ชั้น.

จริงอยู่ บรรดาเทพเหล่านั้น บางพวกมีกายเขียว บางพวกมีผิวพรรณเหลืองเป็นต้น. แต่สัญญาของเทพเหล่านั้น เป็นติเหตุกะบ้าง ทุเหตุกะบ้าง เป็นอเหตุกะไม่มี.

บทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา วินิปาติกะ (ผู้ตกไปในอบาย) บางพวก คือ เวมานิกเปรตเหล่าอื่นมีอาทิอย่างนี้ คือยักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของปุสสะผู้ยินดีในธรรม พ้นจากอบาย ๔. ร่างกายของเวมานิกเปรตเหล่านั้นต่างๆ กันด้วยสี มีผิวขาว ดำ ผิวทอง และสีนิลเป็นต้น ด้วยลักษณะมีผอม อ้วน เตี้ย สูง. แม้สัญญาก็ต่างกันด้วยสามารถแห่งติเหตุกะ ทุเหตุกะ และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ทั้งหลาย. แต่เวมานิกเปรตเหล่านั้นไม่มีศักดิ์มากเหมือนทวยเทพ มีศักดิ์น้อยเหมือนคนจนหาของกินและเครื่องปกปิดได้ยาก ถูกทุกข์บีบคั้นอยู่. บางพวกได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า วินิปาติกะ เพราะตกไปจากการสะสมความสุข. แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะ ย่อมเป็นผู้บรรลุธรรมได้ดุจการบรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระเป็นต้น.

บทว่า พฺรหฺมกายิกา พวกเทพนับเนื่องในหมู่พรหม ได้แก่ พรหมปาริสัชชะ พรหมปุโรหิตะและมหาพรหม.

บทว่า ปมานิพฺพตฺตา ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน คือ หมู่พรหมทั้งหมดนั้นเกิดด้วยปฐมฌาน. แต่พรหมปาริสัชชะเกิดด้วยปริตตฌาน พรหมปุโรหิตะเกิดด้วยมัชฌิมฌาน.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 358

อนึ่ง กายของพรหมเหล่านั้นมีรัศมีซ่านออกไป. มหาพรหมเกิดด้วยปณีตฌาน. แต่กายของมหาพรหมมีรัศมีซ่านออกไปยิ่งกว่า. เพราะฉะนั้น พรหมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เพราะมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันด้วยอำนาจปฐมฌาน. สัตว์ทั้งหลายในอบาย ๔ ก็เหมือนเทพเหล่านั้น. เพราะในนรก สัตว์นรกบางพวกมีร่างกายคาวุตหนึ่ง บางพวกกึ่งโยชน์ บางพวก ๓ คาวุต. ส่วนของเทวทัตมีร่างกาย ๑๐๐ โยชน์. แม้ในเดียรัจฉานบางพวกก็เล็ก บางพวกก็ใหญ่. แม้ในเปรตวิสัย บางพวก ๖๐ ศอก บางพวก ๘๐ ศอก บางพวกผิวพรรณงาม บางพวกผิวพรรณซูบซีด. อนึ่ง แม้กาลกัญชิกาสูรก็สูง ๑๐๐ โยชน์ ชื่อว่าทีฆปิฏฐิกเปรต (เปรตมีหลังยาว). แต่สัญญาของสัตว์นรกทั้งหมด เป็นอกุศลวิบาก เป็นอเหตุกะ. ด้วยประการฉะนี้ แม้สัตว์ในอบายก็เรียกได้ว่ามีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน.

บทว่า อาภสฺสรา ชื่อว่า อาภัสสระ เพราะรัศมีจากสรีระของเทพเหล่านั้น ย่อมแล่นออกดุจขาดตกลงเหมือนเปลวคบเพลิงฉะนั้น. บรรดาอาภัสสรเทพเหล่านั้น เทพผู้เกิดขึ้นเพราะเจริญฌานสองคือปริตตทุติยฌานและปริตตตติฌานในปัญจกนัย ชื่อว่า ปริตตาภา. เทพผู้เกิดขึ้นเพราะเจริญมัชฌิมฌาน ชื่อว่า อัปปมาณาภา. เทพผู้เกิดขึ้นเพราะเจริญปณีตฌาน ชื่อว่า อาภัสสรา. แต่ในที่นี้มุ่งหมายเอาเทพทั้งหมด ด้วยการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์. เพราะว่ากายของเทพเหล่านั้นทั้งหมด มีรัศมีซ่านออกเป็นอย่างเดียวกัน. แต่สัญญาต่างๆ กัน คือไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร และไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจาร.

บทว่า สุภกิณฺหา คือ เทพที่เต็มไปด้วยความงาม. อธิบายว่า มีรัศมีเป็นกลุ่มเดียวกัน ด้วยสีของ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 359

รัศมีจากกายงาม. เพราะรัศมีของเทพเหล่านั้นขาดแล้วๆ ไม่เหมือนของอาภัสสรเทพทั้งหลาย.

เทพปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เกิดด้วยอำนาจแห่งฌานที่เป็นปริตตฌาน มัชฌิมฌาน และปณีตฌาน แห่งตติยฌานในจตุกนัย แห่งจตุตถฌานในปัญจกนัย.

ทวยเทพทั้งหมดเหล่านั้น พึงทราบว่า มีกายอย่างเดียวกัน และมีสัญญาอย่างเดียวกันด้วยจตุตถฌานสัญญา แม้พวกเทพ เวหัปผลา ก็ย่อมเสพวิญญาณฐิติที่ ๔.

อสัญญสัตว์ คือ สัตว์ที่ไม่มีสัญญา ไม่สงเคราะห์เข้าในที่นี้ แต่สงเคราะห์เข้าในสัตตาวาส.

เทพสุทธาวาสทั้งหลายดำรงอยู่ในฝ่ายวิวัฏฏะ ไม่เป็นไปตลอดกาลทั้งหมด ไม่เกิดในโลกในกาลที่ว่างจากพระพุทธเจ้าแสนกัปบ้าง อสงไขยกัปบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติขึ้นในระหว่าง ๑๖,๐๐๐ กัป เทพเหล่านั้นจึงเกิด. เป็นเช่นกับค่ายพักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังพระธรรมจักรให้เป็นไป. เพราะฉะนั้น เทพเหล่านั้นจึงไม่เสพวิญญาณฐิติ ไม่เสพสัตตาวาส.

ฝ่าย พระมหาสีวเถระ กล่าวว่า แม้เทพสุทธาวาสทั้งหลายก็เสพวิญญาณฐิติที่ ๔ และสัตตาวาสที่ ๔ ด้วยพระสูตร (๑) นี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร ที่อยู่ใดอันเราไม่เคยอยู่โดยกาลยาวนานเว้นแต่เทพชั้นสุทธาวาส ที่อยู่นั้น ไม่ใช่โอกาสที่ใครๆ จะได้โดยง่าย. พระสูตรถูกต้องเพราะไม่ขัดกันกับ สูตรนี้.

พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพโส รูปสญฺานํ สมติกฺกมา สัตว์ทั้งหลายก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺพโส คือ โดยอาการทั้งปวงหรือแห่งรูปสัญญาทั้งปวง.

บทว่า รูป-


(๑) ทีฆนิกาย มหาวรรค ๑๐/ข้อ ๕๔.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 360

สญฺานํ คือ แห่งรูปาวจรฌานดังที่กล่าวแล้วด้วยธรรมเป็นหัวข้อคือสัญญา และอารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้น.

จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานท่านก็กล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ ดังนี้ แม้อารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้นท่านก็กล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ ดังนี้.

เพราะฉะนั้น บทว่า รูปสญฺานํ นี้ จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌานด้วยธรรมเป็นหัวข้อว่าสัญญาอย่างนี้ว่า สัญญาในรูปนี้ชื่อว่ารูปสัญญา ดังนี้.

ชื่อว่ารูปสัญญา เพราะมีรูปเป็นสัญญา. ท่านกล่าวว่า รูปเป็นชื่อของฌานนั้น.

พึงทราบว่า บทว่า รูปสญฺานํ นี้ เป็นชื่อของอารมณ์ของรูปฌานนั้น มีประเภทแห่งปฐวีกสิณเป็นต้น.

บทว่า สมติกฺกมา ก้าวล่วง คือ เพราะปราศจากความกำหนัดเพราะดับ.

ท่านอธิบายไว้ว่าอย่างไร.

อธิบายไว้ว่า พระโยคาวจรเข้าอากาสานัญจายตนะ เพราะวิราคะเป็นเหตุ เพราะนิโรธเป็นเหตุ เพราะปราศจากราคะ เพราะดับรูปสัญญาอันได้แก่ฌาน ๑๕ ด้วยอำนาจแห่งกุศล วิบาก และกิริยา ก็ดี รูปสัญญาอันได้แก่อารมณ์ ๘ ด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้นก็ดี รูปสัญญาที่เหลือโดยอาการทั้งปวงก็ดีย่อมอยู่.

พระโยคาวจรไม่สามารถเข้าอากาสานัญจายตนฌานนั้น ด้วยการยังไม่ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง. เพราะเมื่อยังไม่ปราศจากความกำหนัดในอารมณ์ จึงไม่เป็นอันก้าวล่วงสัญญา.

อนึ่ง เมื่อก้าวล่วงสัญญา ก็เป็นอันก้าวล่วงอารมณ์ด้วยเหมือนกัน ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวการก้าวล่วงอารมณ์ แล้วกล่าวการก้าวล่วงสัญญาอย่างเดียวในวิภังค์อย่างนี้ว่า ในสัญญานั้น รูปสัญญาเป็นไฉน ความจำ อาการจำ ความเป็นผู้จำ ของพระโยคาวจรผู้เข้าถึงรูปาวจรสมาบัติก็ดี เกิดแล้วก็ดี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันก็ดี เหล่านี้เรียกว่า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 361

รูปสัญญา เป็นผู้ล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงพร้อมซึ่งรูปสัญญาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพโส รูปสญฺานํ สมติกฺกมา ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงดังนี้.

ก็เพราะสมาบัติเหล่านี้อันพระโยคาวจร จะพึงบรรลุได้ด้วยการก้าวล่วงอารมณ์ ไม่พึงถึงได้ในอารมณ์อย่างหนึ่งเท่านั้น เหมือนการบรรลุรูปฌานมีปฐมฌานเป็นต้น ฉะนั้น พึงทราบว่า นี้ท่านพรรณนาความแม้ด้วยสามารถการก้าวล่วงอารมณ์.

บทว่า ปฏิฆสญฺานํ อตฺถงฺคมา ดับปฏิฆสัญญา คือ สัญญาอันเกิดขึ้นเพราะการกระทบของวัตถุมีจักษุเป็นต้น และของอารมณ์มีรูปเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิฆสัญญา.

คำนี้ เป็นชื่อของรูปสัญญาเป็นต้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปฏิฆสัญญาเป็นไฉน สัญญาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านี้เรียกว่าปฏิฆสัญญา. การดับ การละ การไม่เกิดขึ้น แห่งปฏิฆสัญญา ๑๐ โดยประการทั้งปวง คือกุศลวิบากเหล่านั้น ๕ อกุศลวิบาก ๕ ท่านกล่าวว่ากระทำไม่ให้เป็นไปได้. ปฏิฆสัญญาเหล่านี้ย่อมไม่มี แม้แก่ผู้เข้าถึงปฐมฌานเป็นต้นโดยแท้ เพราะในสมัยนั้นจิตย่อมไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งทวาร ๕ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น เพื่อให้เกิดความอุตสาหะในฌานนี้ ดุจสุขและทุกข์ที่ละได้แล้วในจตุตถฌานและในที่อื่น และดุจในสักกายทิฏฐิที่ละได้ในมรรคที่ ๓ (อนาคามิมรรค) เป็นต้น พึงทราบคำในบทนี้แห่งปฏิฆสัญญาเหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งการสรรเสริญฌานนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ปฏิฆสัญญาเหล่านั้นย่อมไม่มีแก่ผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติก็จริง ที่แท้ไม่ใช่ไม่มี เพราะละแล้วก็หาไม่.

จริงอยู่ รูปาวจรภาวนาย่อมไม่เป็นไป เพราะยังไม่คลายความยินดีในรูป และความเป็นไปแห่งรูปาวจรภาวนานี้ เพราะเนื่องด้วยรูป แต่ภาวนานี้ย่อมเป็นไปเพราะคลาย

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 362

ความยินดีในรูป. เพราะฉะนั้น ควรจะกล่าวว่าละปฏิฆสัญญาได้ในฌานนี้. ไม่เพียงควรกล่าวอย่างเดียว ควรทรงไว้อย่างนี้โดยส่วนเดียวเท่านั้น. เพราะยังละปฏิฆสัญญาเหล่านั้นยังไม่ได้ในก่อนจากนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสียงเป็นเสี้ยนหนามของผู้เข้าปฐมฌาน.

ก็ในที่นี้ เพราะละปฏิฆสัญญาได้แล้ว ความไม่หวั่นไหวและความหลุดพ้นเพราะสงบของอรูปสมาบัติทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรเข้าอรูปสมาบัติจึงไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียงเกวียน ๕๐๐ เล่มผ่านไป.

บทว่า นานตฺตสญฺานํ อมนสิการา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา คือ สัญญาอันเป็นไปแล้วในอารมณ์ต่างกัน หรือสัญญาต่างกัน. เพราะสัญญาเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในวิภังค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า นานัตตสัญญาเป็นไฉน ความจำ อาการที่จำ ความเป็นผู้จำ ของมโนธาตุที่พร้อมเพรียงกัน หรือของมโนวิญญาณธาตุที่พร้อมเพรียงกันของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เหล่านี้เรียกว่า นานัตตสัญญา.

สัญญาที่สงเคราะห์เข้าในมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุของผู้ไม่เข้าสมาบัติ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ต่างกัน สภาวะต่างกัน มีรูปและเสียงเป็นต้น.

อนึ่ง เพราะสัญญา ๔๔ เหล่านี้ คือ สัญญาในกามาวจรกุศล ๘ สัญญาในอกุศล ๑๒ สัญญาในกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ สัญญาในอกุศลวิบาก ๒ สัญญาในกามาวจรกิริยา ๑๑ มีความต่างกัน มีสภาวะต่างกัน ไม่เหมือนกันและกัน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นานตฺตสญฺา มีสัญญาต่างกัน.

การไม่ใส่ใจ การไม่คำนึงถึง การไม่นำมา การไม่พิจารณาถึง ซึ่งนานัตตสัญญาเหล่านั้นโดยประการทั้งปวง. เพราะพระโยคาวจรไม่คำนึงถึง ไม่ใส่ใจ ไม่พิจารณาถึงนานัตตสัญญาเหล่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 363

อนึ่ง เพราะในบทนี้ รูปสัญญาและปฏิฆสัญญาก่อนย่อมไม่มี แม้ในภพอันเกิดด้วยฌานนี้ จะกล่าวไปไยถึงในกาลที่เข้าฌานนี้ในภพนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวถึงความไม่มีแห่งนานัตตสัญญาเหล่านั้นแม้โดยส่วนสอง คือ การก้าวล่วง ๑ การดับ ๑.

ก็ในนานัตตสัญญาทั้งหลาย เพราะสัญญา ๒๗ เหล่านี้ คือ สัญญาในกามาวจรกุศล ๘ สัญญาในกิริยา ๙ สัญญาในกุศล ๑๐ ย่อมมีในภพที่แล้วด้วยฌานนี้ ฉะนั้น พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้ว่า ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาเหล่านั้น.

จริงอยู่ พระโยคาวจรเข้าฌานนี้อยู่ ชื่อว่าเข้าเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาเหล่านั้น แต่เมื่อมนสิการนานัตตสัญญาเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ไม่เข้าสมาบัติ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวการก้าวล่วงรูปสัญญาไว้ในที่นี้โดยย่อ ท่านกล่าวถึงการละรูปาวจรธรรมทั้งปวงด้วยบทนี้ด้วยประการฉะนี้.

ด้วยบทนี้ว่า ดับปฏิฆสัญญา และไม่มนสิการนานัตตสัญญา พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละและการไม่มนสิการจิตเจตสิกอันเป็นกามาวจรทั้งหมด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงคุณของอากาสานัญจายตนสมาบัติด้วย ๓ บท คือ ด้วยการก้าวล่วงรูปสัญญา ๑๕ ด้วยการดับปฏิฆสัญญา ๑๐ ด้วยไม่มนสิการนานัตตสัญญา ๔๔.

หากถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความอุตสาหะและเพื่อเร้าใจ. เพราะหากว่า ชนบางพวกไม่เป็นผู้ฉลาดพึงกล่าวว่า พระศาสดาย่อมตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงยังอากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดเถิด ตรัสถึงคุณของสมาบัติไว้ด้วยอาการเหล่านี้ว่า ชนทั้งหลายเหล่านั้น จงอย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นประโยชน์เป็นอานิสงส์ของการเกิดนั้น. เพราะว่า ครั้นฟังชนเหล่านั้นแล้วจักคิดอย่างนี้ว่า นัยว่าสมาบัตินี้สงบอย่างนี้ ประณีตอย่างนี้ เราจัก

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 364

ยังสมาบัตินั้นให้เกิด. ทีนั้น เพื่อให้สมาบัตินั้นเกิด ชนทั้งหลาย จึงจักทำความอุตสาหะ.

อนึ่ง เพื่อปลอบใจ พระองค์จึงตรัสถึงคุณของสมาบัตินั้นแก่ชนเหล่านั้น ดุจพ่อค้าขายวิสกัณฑกะ. พ่อค้าขายวิสกัณฑกะ ท่านเรียกว่า คุฬวาณิช (พ่อค้าน้ำอ้อยงบ).

เล่ากันมาว่า พ่อค้านั้นเอาเกวียนบรรทุกน้ำอ้อยงบน้ำตาลกรวดไปยังชายแดนแล้วโฆษณาว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อวิสกัณฑกะ วิสกัณฑกะกันเถิด. ชาวบ้านได้ฟังดังนั้นจึงคิดกันว่า ธรรมดาวิสะ (ยาพิษ) ร้ายมาก ผู้ใดกินวิสะเข้าไป ผู้นั้นย่อมตาย แม้กัณฑกะ (ลูกศร) ยิงแล้วก็ให้ตายได้ ทั้งสองอย่างร้ายทั้งนั้น เมื่อโฆษณาขาย อานิสงส์อะไรจักมีในการโฆษณานี้ จึงปิดประตูเรือนพาเด็กๆ หนีไป.

พ่อค้าเห็นดังนั้นจึงคิดว่า ชาวบ้านเหล่านี้ไม่เป็นผู้ฉลาดในโวหาร ช่างเถิดเราจะให้เขาซื้อด้วยอุบาย จึงโฆษณาว่า พวกท่านทั้งหลาย จงซื้อของหวานมีรสอร่อย ท่านจะได้น้ำอ้อย น้ำอ้อยงบ น้ำตาลกรวดในราคาถูก ท่านจะซื้อได้ในราคามาสกเดียว กหาปณะเดียว. ชาวบ้านได้ฟังดังนั้นพากันยินดี พากันออกไปซื้อตามราคาเป็นอันมาก.

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านทั้งหลายจงยังอากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดขึ้น ดุจการโฆษณาของพ่อค้าว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อวิสกัณฑกะกันเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงยังอากาสานัญจายตนะให้เกิดเถิด ความคิดของผู้ฟังทั้งหลายว่า จะเกิดอานิสงส์อะไรในข้อนี้ พวกเรายังไม่รู้คุณของอากาสานัญจายตนะนั้นเลย ดุจความคิดของชาวบ้านว่า แม้ทั้งสองอย่างร้ายแรงมากในการโฆษณาจะเกิดผลดีในการโฆษณานี้ได้อย่างไร การประกาศอานิสงส์มีการก้าวล่วงรูปสัญญาเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจถ้อยคำโฆษณาของ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 365

พ่อค้านั้นมีอาทิว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อของหวานมีรสอร่อยกันเถิด จิตที่ได้รับการปลอบด้วยอานิสงส์นี้ ทำความอุตสาหะใหญ่แล้วยังสมาบัตินี้ให้เกิด ดุจชาวบ้านเหล่านั้นครั้นฟังโฆษณาอย่างนี้แล้ว ก็พากันซื้อน้ำอ้อยงบได้ตามราคาเป็นอันมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อให้เกิดอุตสาหะ และเพื่อเร้าใจด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า อากาสานญฺจายตนูปคา เข้าถึงอากาสานัญจายตะ ดังนี้เป็นต้นต่อไป.

ชื่อว่า อนนฺตํ เพราะอากาศไม่มีที่สุด. อากาศไม่มีที่สุดชื่อว่า อากาสานนฺตํ. อากาศไม่มีที่สุดนั่นแลชื่อว่า อากาสานญฺจํ. อากาศไม่มีที่สุดนั้นชื่อว่า อากาสานญฺจายตนํ เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรม ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นดุจเทวสถานของเทวดาทั้งหลายฉะนั้น. คำนี้เป็นชื่อของ กสิณุคฆาติมากาส อากาศที่เพิกกสิณแล้ว. ในอากาสานัญจายตนะนั้น ชนทั้งหลายยังฌานให้เกิดแล้วเข้าถึงอากาสานัญจายตนภพด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ ชื่อว่า อากาสานญฺจายตนูปคา.

ในบทต่อจากนี้ไป จักพรรณนาเพียงบทที่ต่างกันเท่านั้น.

พึงทราบความในบทนี้ว่า อากาสานญฺจายตนํ สมติกฺกมา ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะดังนี้ต่อไป.

ชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ เพราะอายตนะมีอากาศไม่มีที่สุด ด้วยอรรถว่าอธิษฐานไว้ตามนัยดังได้กล่าวมาแล้วในตอนก่อน แม้อารมณ์ก็เป็นทั้งฌานเป็นทั้งอารมณ์โดยนัยดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุนั้น ไม่ก้าวล่วงแม้ทั้งสองอย่าง ด้วยไม่กระทำให้เป็นไป และด้วยไม่ใส่ใจ. เพราะควรเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะนี้ ฉะนั้น ควรทำทั้งสองอย่างนี้ให้เป็นอันเดียวกัน และก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ พึงทราบว่าข้อนี้ได้กล่าวแล้ว.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 366

อนึ่ง พึงทราบความในบทว่า วิญฺาณญฺจายตนูปคา นี้ต่อไป.

ชื่อว่า อนนฺตํ เพราะมีวิญญาณไม่มีที่สุด ด้วยอำนาจแห่งการควรมนสิการไม่มีที่สุด. วิญญาณไม่มีที่สุดนั่นเอง ชื่อว่า อานญฺจํ. วิญญาณไม่มีที่สุด ไม่กล่าวว่า วิญฺาณานญฺจํ กล่าวว่า วิญฺานญฺจํ. นี้เป็น รุฬหิ ศัพท์ (ศัพท์เพิ่มขึ้น).

ชื่อว่าอายตนะ เพราะอรรถว่า ตั้งมั่นซึ่งวิญญาณไม่มีที่สุดนั้นนั่นแล ชื่อว่าวิญญานัญจายตนะ สัตว์ทั้งหลายยังฌานให้เกิดในวิญญาณัญจายตนะนั้น แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิญฺาณญฺจายตนูปคา.

แม้ในบทนี้ว่า วิญฺานญฺจายตนํ สมติกฺกมฺม ก็พึงทราบความต่อไปนี้. แม้ฌานก็ชื่อว่าวิญญาณัญจายตนะ เพราะชื่อว่าอายตนะ เพราะอรรถว่า อธิษฐานไว้ซึ่งฌานนั้น มีวิญญาณไม่มีที่สุด โดยนัยดังได้กล่าวแล้วในก่อน. แม้อารมณ์ ก็เป็นทั้งฌานเป็นทั้งอารมณ์ ตามนัยที่ได้กล่าวแล้วนั่นแล ก้าวล่วงแม้ทั้งสองอย่าง ด้วยไม่ทำให้เป็นไปและไม่มนสิการ ด้วยประการฉะนี้. เพราะควรเข้าถึงอากิญจัญญายตนะนี้ ฉะนั้น ทำทั้งสองนี้ให้เป็นอันเดียวกันแล้วก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยเหตุนั้น พึงทราบว่าข้อนี้ท่านกล่าวไว้แล้ว.

อนึ่ง ในบทว่า อากิญฺจญฺายตนูปคา นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า อกิญฺจนํ เพราะไม่มีเครื่องกังวล. ท่านกล่าวไว้ว่า ไม่มีเครื่องกังวลเหลือโดยที่สุดแม้เพียงในภังคขณะ ความไม่มีเครื่องกังวลชื่อว่า อากิญฺจญฺํ. บทนี้เป็นชื่อของการปราศจากวิญญาณที่มีอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อากิญฺจญฺายตนํ. ชื่อว่าอายตนะ เพราะอรรถว่า อธิษฐานซึ่งความไม่มีเครื่องกังวลนั้น. สัตว์ทั้งหลายยัง

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 367

ฌานให้เกิดในอากิญจัญญายตนะนั้น แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ ชื่อว่า อากิญฺจญฺายตนูปคา.

บทว่า อยํ สตฺตมี วิญฺญาณฏฺิติ นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗ คือ ย่อมรู้ฐานะของปฏิสนธิวิญญาณที่ ๗ นี้. เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนะ จะว่ามีวิญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีวิญณาณก็ไม่ใช่ เพราะวิญญาณละเอียดเหมือนสัญญา ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวไว้ในวิญญาณฐิติ.

บทว่า อภูตํ ไม่จริง มีคำเป็นอาทิว่า รูปํ อตฺตา รูปเป็นตน ดังนี้. คำนั้นไม่แท้เพราะวิปลาส. ชื่อว่าไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะเป็นทิฏฐินิสัย.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภูตํ คือ ไม่มี ไม่เป็น คำของผู้ไม่ใช่โจรมีอาทิว่า ทรัพย์นี้นางโจรภรรยาของเจ้าลักมา ทรัพย์นี้ไม่มีในเรือนของเจ้า.

บทว่า อตจฺฉํ ไม่แท้ คือ มีอาการไม่แท้ มีอาการเป็นอย่างอื่น มีอยู่ด้วยประการอื่น.

บทว่า อนตฺถสญฺหิตํ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ คือ ไม่อาศัยประโยชน์ในโลกนี้ หรือประโยชน์ในโลกอื่น.

บทว่า น ตํ ตถาคโต พฺยากโรติ พระตถาคตไม่ทรงพยากรณ์เรื่องนี้ คือ พระตถาคตไม่ตรัสกถาอันไม่นำสัตว์ออกไปนั้น.

บทว่า ภูตํ ตจฺฉํ อนตฺถสญฺหิตํ คำจริงแท้ไม่มีประโยชน์ เป็นดิรัจฉานกถามีราชกถาเป็นต้น.

บทว่า ภูตํ ตจฺฉํ อตฺถสญฺหิตํ คำจริงแท้มีประโยชน์ เป็นคำอิงอริยสัจ.

บทว่า ตตฺร กาลญฺญู โหติ พระตถาคตทรงรู้จักกาลในเรื่องนั้น คือ ในการพยากรณ์ครั้งที่ ๓ นั้น พระตถาคตเป็นผู้รู้จักกาลเพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น. อธิบายว่า พระตถาคตทรงรู้กาลในการถือเอา กาลในการรับของมหาชนแล้ว ทรงกระทำให้สมกับเหตุการณ์ จึงทรงพยากรณ์อันสมควรนั่นเอง.

ชื่อว่า กาลวาที เพราะ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 368

กล่าวในกาลอันควร.

ชื่อว่า ภูตวาที เพราะกล่าวสภาพที่เป็นจริง.

ชื่อว่า อตฺถวาที เพราะกล่าวถึงนิพพานอันเป็นปรมัตถ์.

ชื่อว่า ธมฺมวาที เพราะกล่าวถึงมรรคธรรมและผลธรรม.

ชื่อว่า วินยวาที เพราะกล่าวถึงวินัยมีการสำรวมเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺํ เห็นแล้ว คือ ย่อมรู้ย่อมเห็นอายตนะนั้นโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า รูปารมณ์อันมาสู่คลองในจักขุทวารของสัตว์นับไม่ถ้วนในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้มีอยู่. รูปายตนะนั้นอันผู้รู้ผู้เห็นอย่างนั้นจำแนกด้วยนัย ๕๒ ด้วยวาระ ๑๓ ด้วยชื่อมิใช่น้อย โดยนัยมีอาทิ (๑) ว่า รูปที่เรียกว่ารูปายตนะนั้นเป็นไฉน. รูปใดเป็นสีอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นธรรมชาติที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่สีเขียวคราม สีเหลือง... ดังนี้ เป็นธรรมชาติมีอยู่จริง ไม่จริงไม่มี ด้วยอำนาจอิฐารมณ์และอนิฐารมณ์ หรือด้วยอำนาจการได้ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ได้ทราบและในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง.

แม้ในเสียงเป็นต้นอันมาสู่คลองในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงอายตนะนั้นหลายๆ อย่าง จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ทิฏฺํ สุตํ เห็นแล้ว ฟังแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺํ คือ รูปายตนะ.

บทว่า สุตํ คือ สัททายตนะ.

บทว่า มุตํ รู้แล้ว คือ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เพราะถึงแล้ว จึงควรรับ.

บทว่า วิญฺาตํ ได้แก่ ธรรมารมณ์ มีสุขและทุกข์เป็นต้น.

บทว่า ปตฺตํ คือ แสวงหาก็ตาม ไม่แสวงหาก็ตาม ได้ถึงแล้ว.

บทว่า ปริเยสิตํ ถึงแล้วก็ตาม ไม่ถึงแล้วก็ตาม แสวงหาแล้ว.

บทว่า อนุ-


(๑) อภิ. สํ. ๓๔/ข้อ ๕๒๑.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 369

วิจริตํ มนสา คือ พิจารณาแล้วด้วยใจ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอายตนะนั้นด้วยบทนี้ว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธํ อายตนะทั้งหมดนั้น ตถาคตรู้พร้อมแล้ว. รูปารมณ์ใดมีอาทิว่า สีเขียว สีเหลือง ของโลก พร้อมทั้งเทวโลกนี้ ในโลกธาตุหาประมาณมิได้ ย่อมมาสู่คลองในจักขุทวาร สัตว์นี้เห็นรูปารมณ์ชื่อนี้ ในขณะนั้นเกิดความดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เฉยๆ บ้าง ด้วยเหตุนั้น ตถาคตรู้พร้อมรูปารมณ์นั้นทั้งหมด.

อนึ่ง สัททารมณ์ใดมีอาทิว่า เสียงกลอง เสียงตะโพน ของโลก พร้อมทั้งเทวโลกนี้ ในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ย่อมมาสู่คลองในโสตทวาร, คันธารมณ์มีอาทิว่า กลิ่นที่ราก กลิ่นที่เปลือก ย่อมมาสู่คลองในฆานทวาร, รสารมณ์มีอาทิว่า มีรสที่ราก มีรสที่ลำต้น ย่อมมาสู่คลองในชิวหาทวาร, โผฏฐัพพารมณ์อันต่างด้วยปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ มีอาทิว่า แข็ง อ่อน ย่อมมาสู่คลองในกายทวาร สัตว์นี้ถูกต้องโผฏฐัพพารมณ์ชื่อนี้ ในขณะนี้ เกิดดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เฉยๆ บ้าง ด้วยเหตุนั้น ตถาคตรู้พร้อมซึ่งอารมณ์นั้นทั้งหมด.

อนึ่ง ธรรมารมณ์มีประเภทเป็นสุขและทุกข์เป็นต้น ของโลกพร้อมด้วยเทวโลกนี้ ในโลกธาตุหาประมาณมิได้ ย่อมมาสู่คลองแห่งมโนทวาร สัตว์นี้รู้แจ้งธรรมารมณ์ชื่อนี้ ในขณะนี้ เกิดดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ ตถาคตรู้พร้อมธรรมารมณ์นั้นทั้งหมด.

ดูก่อนจุนทะ อายตนะใด อันสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว อายตนะนั้น อันตถาคตไม่เห็นแล้ว ไม่ฟังแล้ว ไม่รู้แล้ว ไม่รู้แจ้งแล้ว ไม่มี.

อายตนะที่มหาชนนี้แสวงหาแล้วยังไม่ถึงบ้างมีอยู่ ไม่แสวงหาแล้ว ยังไม่ถึงบ้างมีอยู่ แสวงหาแล้วถึงบ้างแล้วมีอยู่ ไม่แสวงหาแล้วถึงบ้างมีอยู่ แม้ทั้งหมดตถาคตยังไม่ถึงยังไม่ทำให้แจ้งด้วยญาณไม่มี. เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 370

บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต เพราะไปเหมือนอย่างที่ชาวโลกเขาไปกัน.

แต่ในบาลีกล่าวว่า อภิสมฺพุทฺธํ บทนั้นมีความเดียวกันกับ คต ศัพท์.

พึงทราบความแห่งบทนี้ว่า ตถาคโต ในวาระทั้งหมดโดยนัยนี้.

พึงทราบความในบทนี้ว่า ดูก่อนจุนทะ ณ ราตรีใด ตถาคตบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม และราตรีใด ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนั้น ตถาคตกล่าว บอก ชี้แจงคำใด คำทั้งหมดนั้นเป็นจริงทั้งนั้น ไม่เป็นโดยประการอื่น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกเราว่า ตถาคต ดังต่อไปนี้ ณ ราตรีใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์ (บัลลังก์อันใครๆ ให้แพ้ไม่ได้) ณ โพธิมณฑล ทรงย่ำยีมารทั้ง ๓ เสียได้ แล้วตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ราตรีใด เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างต้นสาละทั้งคู่ ในระหว่างนี้ ในกาลมีกำหนด ๔๕ พรรษา ในปฐมโพธิกาลบ้าง มัชฌิมโพธิกาลบ้าง ปัจฉิมโพธิกาลบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำสอน คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ ทั้งหมดนั้น ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยพยัญชนะ ไม่มีข้อตำหนิ ไม่บกพร่อง ไม่เกิน บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง กำจัดความมัวเมาด้วยอำนาจ ราคะ โทสะ และโมหะ ในภาษิตนั้นไม่มีข้อผิดพลาดแม้เท่าปลายขนทราย ทั้งหมดนั้น เป็นจริงแน่นอน ไม่จริงไม่มี ดุจประทับด้วยตราตราเดียว ดุจตวงด้วยทะนานเดียว และดุจชั่งด้วยตราชั่งเดียว.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ณ ราตรีใด ตถาคต ฯลฯ ทั้งหมดนั้นเป็นจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกเราว่า ตถาคต ดังนี้.

คต ศัพท์ในบทว่า ตถาคโต นี้ มีความว่า

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 371

กล่าว.

อีกอย่างหนึ่ง คำพูดชื่อว่า อคทะ ความว่า คำกล่าว.

พึงทราบความสำเร็จแห่งบทในความนี้ อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ตถาคโต เพราะแปลง อักษรเป็น อักษร ได้ความว่า เพราะมีพระดำรัสแท้ไม่วิปริต.

พึงทราบความในบทนี้ว่า ยถาวาที จุนฺท ฯลฯ วุจฺจติ ดังต่อไปนี้ พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าอนุโลมไปตามวาจา พระวาจาอนุโลมไปตามกาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็น ยถาวาที (พูดอย่างใด) ตถาการี (ทำอย่างนั้น) และ ยถาการี (ทำอย่างใด) ตถาวาที (พูดอย่างนั้น). อธิบายว่า แม้พระวรกายก็เป็นไปเหมือนพระวาจาของพระองค์ซึ่งเป็นไปแล้วอย่างนั้น.

พึงทราบบทสำเร็จในบทนี้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ตถาคโต เพราะพระวาจาไปแล้ว เป็นไปแล้วเหมือนพระวรกาย.

บทว่า อภิภู อนภิภูโต เป็นใหญ่ยิ่งอันใครๆ ครอบงำไม่ได้ คือ พระตถาคต เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องล่างถึงอเวจีเป็นที่สุด ทรงครอบงำสรรพสัตว์ในโลกธาตุทั้งหลาย อันหาประมาณมิได้โดยส่วนขวาง ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุตติบ้าง วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง จะชั่งหรือประมาณกับพระองค์ไม่มี พระตถาคตชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา เป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม.

บทว่า อญฺทตฺถุ โดยแท้ เป็นนิบาตลงใน เอกังสัตถะ มีความส่วนเดียว.

ชื่อว่า ทโส เพราะทรงเห็น.

ชื่อว่า วสวตฺติ เพราะเป็นผู้ให้อำนาจเป็นไป.

พึงทราบบทสำเร็จในบทนั้นดังนี้ ชื่อว่า อคโท เป็นดุจยา. เป็นอย่างไร พระตถาคตทรงมีลีลาในการแสดงธรรมอันจับใจ และทรงมี

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 372

บุญอันสะสมไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงทรงมีอานุภาพมาก ทรงครอบงำโลกพร้อมทั้งเทวโลกของผู้กล่าวติเตียนทั้งหมด ดุจแพทย์กำจัดพิษงูด้วยยาทิพย์ฉะนั้น.

พึงทราบว่า ชื่อว่า ตถาคโต เพราะแปลง อักษรเป็น อักษร มีความว่า เพราะมียา คือ ลีลาการแสดง และการสะสมบุญแท้ไม่วิปริต ด้วยการครอบงำโลกทั้งหมดด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อิธฏฺญฺเว ชานาติ กมฺมาภิสงฺขารวเสน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้จักผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ ด้วยอำนาจแห่งกรรมาภิสังขาร คือ อปุญญาภิสังขาร.

บทว่า กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา เมื่อกายแตกตายไป คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะอุปาทินนกขันธ์แตก.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อปายํ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า อปาโย เพราะปราศจากความสุขความเจริญ.

ชื่อว่า ทุคฺคติ เพราะเป็นที่ไปเป็นที่อาศัยของทุกข์.

ชื่อว่า วินิปาโต เพราะคนทำกรรมชั่วย่อมตกไปในอบายนี้.

ชื่อว่า นิรโย เพราะอรรถว่า ไม่มีความยินดี ไม่มีความชื่นใจ. เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกนั้น.

บทว่า อุปฺปชฺชิสฺสติ คือ จักเกิดด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ.

บทว่า ติรจฺฉานโยนิํ กำเนิดเดียรัจฉาน ชื่อว่า ติรจฺฉานา เพราะสัตว์ไปขวาง. กำเนิดแห่งเดียรัจฉานเหล่านั้น ชื่อว่า ติรจฺฉานโยนิ เข้าถึงกำเนิดเดียรัจฉานนั้น.

บทว่า ปิตฺติวิสยํ เปรตวิสัย ชื่อว่า ปิตฺติวิสโย เพราะเป็นที่อยู่ของผู้ถึงความเป็นเปรต. เข้าถึงเปรตวิสัยนั้น.

ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีใจสูง. ในมนุษย์เหล่านั้น.

ต่อแต่นี้ไปพึงทราบความด้วยสามารถแห่งปุญญาภิสังขาร ในบทนี้ว่า กมฺมาภิสงฺขารวเสน ดังนี้.

บทว่า อาสวานํ ขยา เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย คือ เพราะอาสวะพินาศไป.

บทว่า อนาสวํ เจโตวิมุตฺติํ เจโตวิมุตติอัน

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 373

หาอาสวะมิได้ คือ ผลวิมุตติที่ปราศจากอาสวะ.

บทว่า ปญฺาวิมุตฺติํ ปัญญาวิมุตติ คือ ปัญญาในอรหัตผล.

พึงทราบว่า สมาธิชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ ปัญญาในอรหัตผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา.

อีกอย่างหนึ่ง อรหัตผลอันตัณหาจริตบุคคลบรรลุแล้ว เพราะข่มกิเลสทั้งหลายด้วยกำลังของอัปปนาฌาน ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ. อรหัตผลอันทิฏฐิจริตบุคคลยังเพียงอุปจารฌานให้เกิด เห็นแจ้งแล้วจึงบรรลุ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา.

อีกอย่างหนึ่ง อนาคามิผล ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ ที่หมายถึงกามราคะ. อรหัตผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาโดยประการทั้งปวง.

พึงทราบความในบทว่า อากิญฺจญฺายตเน อธิมุตฺติ วิโมกฺเขน น้อมไปในอากิญจัญญายตนะด้วยวิโมกข์ ดังนี้ต่อไป.

ชื่อว่าวิโมกข์ด้วยอรรถว่ากระไร.

ด้วยอรรถว่าพ้น.

พ้นอะไร. พ้นด้วยดีจากธรรมเป็นข้าศึก และพ้นด้วยดีด้วยอำนาจความยินดียิ่งในอารมณ์. ท่านกล่าวไว้ว่า วิโมกข์ย่อมเป็นไปในอารมณ์ เพราะสิ้นสงสัย เพราะไม่ติเตียน ดุจทารกปล่อยอวัยวะน้อยใหญ่ตามสบายนอนบนตักของบิดา.

บทว่า เอวรูเปน วิโมกฺเขน วิมุตฺตํ พ้นแล้วด้วยวิโมกข์เห็นปานนี้ คือ ปล่อยวิญญานัญจายตนะแล้วจึงพ้น ด้วยอำนาจแห่งความไม่สงสัยในอากิญจัญญายตนะ.

บทว่า อลฺลินํ ตตฺราธิมุตฺตํ ไม่ติด คือ น้อมไปในสมาธินั้น.

บทว่า ตทาธิมุตฺตํ คือ น้อมไปในฌานนั้น.

บทว่า ตทาธิปเตยฺยํ คือ มีฌานนั้นเป็นใหญ่.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 374

ห้าบทมีอาทิว่า รูปาธิมุตฺโต น้อมใจไปในรูปดังนี้ ท่านกล่าวด้วยความหนักในกามคุณ.

สามบทมีอาทิว่า กุลาธิมุตฺโต น้อมใจไปในตระกูล ท่านกล่าวด้วยความหนักในตระกูล มีกษัตริย์เป็นต้น.

บทมีอาทิว่า ลาภาธิมุตฺโต น้อมใจไปในลาภ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งโลกธรรม.

สี่บทมีอาทิว่า จีวราธิมุตฺโต น้อมใจไปในจีวร ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งปัจจัย.

บทมีอาทิว่า สุตฺตนฺตาทิมุตฺโต น้อมใจไปในพระสูตร ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งพระไตรปิฎก.

บทว่า อารญฺิกงฺคาธิมุตฺโต น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งธุดงค์.

บทมีอาทิว่า ปมชฺฌานาธิมุตฺโต น้อมใจไปในปฐมฌาน ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งการได้เฉพาะ.

บทว่า กมฺมปรายนํ มีกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอภิสังขาร.

บทว่า วิปากปรายนํ มีวิบากเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งความเป็นไป.

บทว่า กมฺมครุกํ หนักอยู่ในกรรม คือ หนักอยู่ในเจตนา.

บทว่า ปฏิสนฺธิครุกํ หนักอยู่ในปฏิสนธิ คือ หนักอยู่ในการเกิด.

บทว่า อากิญฺจญฺาสมฺภวํ เป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ คือ รู้กรรมาภิสังขารว่าเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ. รู้อย่างไร. รู้ว่านี้เป็นปลิโพธ (ความห่วงใย).

บทว่า นนฺทิสญฺโชนํ อิติ มีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบ คือ รู้ว่าความเพลิดเพลิน กล่าวคือ ราคะในอรูป ๔ เป็นเครื่องประกอบ.

บทว่า ตโต ตตฺถ วิปสฺสติ แต่นั้นก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น คือ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว เห็นแจ้งสมาบัตินั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.

บทว่า เอตํ าณํ ตถํ ตสฺส นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น คือ นั่น

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 375

เป็นอรหัตญาณอันเกิดขึ้นแล้วตามลำดับ แก่บุคคลนั้นผู้เห็นแจ้งอยู่อย่างนี้.

บทว่า วุสีมโต คือ อยู่จบพรหมจรรย์.

บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

และเมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วในครั้งก่อน.

จบอรรถกถาโปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔