พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖ ว่าด้วยปัญหาของท่านปิงคิยะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40795
อ่าน  405

[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 417

ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

ปารายนวรรค

ปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖

ว่าด้วยปัญหาของท่านปิงคิยะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 417

ปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖

ว่าด้วยปัญหาของท่านปิงคิยะ

[๕๑๑] (ท่านปิงคิยะทูลถามว่า)

ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจากผิวพรรณ นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่สะดวก ข้าพระองค์อย่าเป็นคนหลงเสียไปในระหว่างเลย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นที่ละชาติและชรา ณ ที่นี้เถิด.

[๕๑๒] คำว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจากผิวพรรณ ความว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ คนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับ มีอายุ ๑๒๐ ปีแต่กำเนิด.

คำว่า มีกำลังน้อย ความว่า ทุรพล มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย.

คำว่า ปราศจากผิวพรรณ ความว่า ปราศจากผิวพรรณ มีผิวพรรณปราศไป ผิวพรรณอันงามผ่องเมื่อวัยต้นนั้นหายไปแล้ว มีโทษปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจากผิวพรรณ.

คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา ปิงฺคิโย ดังนี้ เป็นบทสนธิ. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า ปิงฺคิโย เป็นชื่อ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 418

เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านปิงคิยะทูลถามว่า.

[๕๑๓] คำว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่สะดวก ความว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส ไม่หมดจด ไม่บริสุทธิ์ ไม่ผ่องแผ้ว ข้าพระองค์เห็นรูปไม่ชัดด้วยนัยน์ตาเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส.

คำว่า หูฟังไม่สะดวก ความว่า หูไม่แจ่มใส ไม่หมดจด ไม่บริสุทธิ์ ไม่ผ่องแผ้ว ข้าพระองค์ฟังเสียงไม่ชัดด้วยหูเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่สะดวก.

[๕๑๔] คำว่า ข้าพระองค์อย่าเป็นคนหลงเสียไปในระหว่างเลย ความว่า ข้าพระองค์อย่าเสียหายพินาศไปเลย.

คำว่า เป็นผู้หลง คือ เป็นผู้ไม่รู้ ไปแล้วในอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทราม.

คำว่า ในระหว่าง ความว่า ข้าพระองค์ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ทำให้ปรากฏ ไม่ได้เฉพาะ ไม่ถูกต้อง ไม่ทำให้กระจ่างแล้ว ซึ่งธรรม ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของพระองค์ พึงทำกาละเสีย ในระหว่างแท้จริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์อย่าเป็นคนหลงเสียไปในระหว่างเลย.

[๕๑๕] คำว่า ขอโปรดตรัสบอกธรรม ในอุเทศว่า อาจิกฺข ธมฺมํ ยมหํ วิชญฺํ ดังนี้ ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก... ขอจงประกาศซึ่งพรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง และสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริย-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 419

มรรคมีองค์ ๘ นิพพาน ข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม.

คำว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง ความว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้ พึงรู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด บรรลุได้ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอโปรดตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง.

[๕๑๖] คำว่า เป็นที่ละชาติและชรา ณ ที่นี้ ความว่า เป็นที่ละ ที่สงบ ที่สละคืน ที่ระงับชาติ ชราและมรณะ เป็นอมตนิพพาน ณ ที่นี้แหละ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่ละชาติและชรา ณ ที่นี้ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจากผิวพรรณ นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่สะดวก ข้าพระองค์อย่าเป็นคนหลงเสียไปในระหว่างเลย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นที่ละชาติและชรา ณ ที่นี้เถิด.

[๕๑๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนปิงคิยะ)

ชนทั้งหลาย ผู้มัวเมา ย่อมเดือดร้อนในเพราะรูปทั้งหลาย เพราะเห็นชนทั้งหลายลำบากอยู่ ในเพราะรูปทั้งหลาย ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละรูปเสีย เพื่อความไม่เกิดต่อไป.

[๕๑๘] คำว่า รูเปสุ ในอุเทศว่า ทิสฺวาน รูเปสุ วิหญฺมาเน ดังนี้ ความว่า มหาภูตรูป ๔ และรูปอันอาศัยมหาภูตรูป ๔ สัตว์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 420

ย่อมเดือดร้อน ลำบาก ถูกเขาเบียดเบียน ถูกเขาฆ่าเพราะเหตุแห่งรูป เพราะปัจจัยแห่งรูป เพราะการณะแห่งรูป เมื่อรูปมีอยู่ พระราชาทั้งหลายย่อมให้ทำกรรมกรณ์หลายอย่าง คือให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตอกคาบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ให้ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง ทำให้มีหม้อข้าวเดือดบนศีรษะบ้าง ให้ถลกหนังศีรษะโล้นมีสีขาวดังสังข์บ้าง ทำให้มีหน้าเหมือนหน้าราหูบ้าง ทำให้ถูกเผาทั้งตัวบ้าง ทำให้มีไฟลุกที่มือบ้าง ให้ถลกหนังแล้วผูกเชือกฉุดไปบ้าง ให้ถลกหนังแล้วให้นุ่งเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง ทำให้มีห่วงเหล็กที่ศอกและเข่าแล้วใส่หลาวเหล็กตรึงไว้บ้าง ให้เอาเบ็ดเกี่ยวติดที่เนื้อปากบ้าง ให้ถากด้วยพร้าให้ตกไปเท่ากหาปณะบ้าง ให้มีตัวถูกถากแล้วทาด้วยน้ำแสบบ้าง ให้นอนตะแคงแล้วตอกหลาวเหล็กไว้ในช่องหูบ้าง ให้ถลกหนังแล้วทุบกระดูกพันไว้เหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันอันร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินเนื้อที่ตัวบ้าง เอาหลาวเสียบเป็นไว้บ้าง และเอาดาบตัดศีรษะ สัตว์ทั้งหลายย่อมเดือดร้อนลำบาก ถูกเขาเบียดเบียน ถูกเขาฆ่า เพราะเหตุ ปัจจัย การณะแห่งรูปอย่างนี้ เพราะพบเห็น พิจารณา เทียบเคียง ให้เจริญ ทำให้กระจ่าง ซึ่งชนทั้งหลายผู้เดือดร้อนลำบากอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เพราะเห็นชนทั้งหลายลำบากอยู่ในเพราะรูปทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปิงคิยะ ในอุเทศว่า ปิงฺคิยาติ ภควา ดังนี้ คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 421

[๕๑๙] คำว่า รุปฺปนฺติ ในอุเทศว่า รุปฺปนฺติ รูเปสุ ชนา ปมตฺตา ดังนี้ ความว่า เดือดร้อน กำเริบ ลำบาก ถูกเบียดเบียน ถูกฆ่า หวาดเสียว ถึงโทมนัส คือ เดือดร้อน กําเริบ ลําบาก ถูกเบียดเบียน ถูกฆ่า หวาดเสียว ถึงโทมนัส เพราะโรคนัยน์ตา เพราะโรคในหู ฯลฯ เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเดือดร้อนในเพราะรูปทั้งหลาย.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจักษุเสื่อม เสีย เสื่อมไปรอบ เป็นไปต่างๆ ปราศไป อันตรธานไป ชนทั้งหลายก็เดือดร้อน ฯลฯ เมื่อหู จมูก ลิ้น กาย ฯลฯ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เสื่อมเสีย เสื่อมไปรอบ เป็นไปต่างๆ ปราศไป อันตรธานไป ชนทั้งหลายก็เดือดร้อน ฯลฯ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมเดือดร้อนในเพราะรูปทั้งหลาย.

คำว่า ชนทั้งหลาย คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์.

ความประมาทในคำว่า ผู้ประมาท ดังนี้ ควรกล่าว ความปล่อย ความตามเพิ่ม ความปล่อยจิตไปในกายทุจริตก็ดี ในวจีทุจริตก็ดี ในมโนทุจริตก็ดี ในเบญจกามคุณก็ดี หรือความไม่ทำเนืองๆ ความทำหยุดๆ ความประพฤติย่อหย่อน ความปลงฉันทะ ความทอดธุระ ความไม่ซ่องเสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่ประกอบเนืองๆ ในการเจริญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ความเป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้ ตรัสว่า ความประมาท

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 422

ชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยความประมาทนี้ ชื่อว่าผู้ประมาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ประมาท ย่อมเดือดร้อนในเพราะรูปทั้งหลาย.

[๕๒๐] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในอุเทศว่า ตสฺมา ตุวํ ปิงฺคิย อปฺปมตฺโต ดังนี้ ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะการณะนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เมื่อท่านเห็นโทษในรูปทั้งหลายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่าน.

คำว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ความว่า เป็นผู้ทำด้วยความเคารพ ทำเนืองๆ ฯลฯ ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านเป็นผู้ไม่ประมาท.

[๕๒๑] คำว่า รูปํ ในอุเทศว่า ชหสฺส รูปํ อปุนพฺภวาย ดังนี้ คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปอันอาศัยมหาภูตรูป ๔.

คำว่า จงละรูป ความว่า จงละ จงละขาด จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มีซึ่งรูป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงละรูป.

คำว่า เพื่อความไม่เกิดต่อไป ความว่า รูปของท่านพึงดับในภพนี้นี่แหละ ฉันใด ความมีปฏิสนธิอีก ไม่พึงบังเกิด คือ ไม่เกิด ไม่พึงเกิดพร้อม ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดเฉพาะ ในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ สงสาร วัฏฏะอีก ชื่อว่า พึงดับ คือ สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ในภพนี้นี่แหละ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงละรูปเสียเพื่อความไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 423

ชนทั้งหลายผู้มัวเมา ย่อมเดือดร้อนในเพราะรูปทั้งหลาย เพราะเห็นชนทั้งหลายลำบากอยู่ในเพราะรูปทั้งหลาย ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละรูปเสียเพื่อความไม่เกิดต่อไป.

[๕๒๒] ทิศทั้ง ๑๐ นี้ คือ ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบนและทิศเบื้องต่ำ พระองค์ไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่ทรงได้ยินแล้ว ไม่ได้ทรงทราบแล้ว หรือไม่ทรงรู้แจ้งแล้วเพียงน้อยหนึ่งมิได้มีในโลก ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นเหตุละชาติและชรา ณ ที่นี้เถิด.

[๕๒๓] คำว่า ทิศทั้ง ๑๐ นี้ คือ ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบนและทิศเบื้องต่ำ ความว่า ทิศ ๑ คือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า ฯลฯ ปรมัตถประโยชน์ พระองค์ไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่ทรงได้ยินแล้ว ไม่ทรงทราบแล้ว ไม่ทรงรู้แจ้งแล้วเพียงน้อยหนึ่ง มิได้มี ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์มิได้ทรงเห็นแล้ว มิได้ทรงได้ยินแล้ว มิได้ทรงทราบแล้ว หรือมิได้ทรงรู้แจ้งแล้วเพียงน้อยหนึ่ง มิได้มีในโลก.

[๕๒๔] คำว่า ขอจงโปรดตรัสบอกธรรม ในอุเทศว่า อาจิกฺข ธมฺมํ ยมหํ วิชญฺํ ดังนี้ ความว่า ขอจงตรัสบอก... ขอจงประกาศซึ่ง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 424

พรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น ฯลฯ ข้อปฏิบัติอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงโปรดตรัสบอกธรรม.

คำว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง ความว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้ พึงรู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงโปรดตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง.

[๕๒๕] คำว่า เป็นเหตุละชาติและชรา ณ ที่นี้ ความว่าเป็นที่ละ ที่สงบ ที่สละคืน ที่ระงับชาติชราและมรณะ เป็นอมตนิพพาน ณ ที่นี้แหละ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่ละชาติและชรา ณ ที่นี้ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

ทิศทั้ง ๑๐ นี้ คือ ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบนและทิศเบื้องต่ำ พระองค์ไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่ทรงได้ยินแล้ว ไม่ได้ทรงทราบแล้ว หรือไม่ทรงรู้แจ้งแล้วเพียงน้อยหนึ่ง มิได้มีในโลก ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นเหตุละชาติและชรา ณ ที่นี้เถิด.

[๕๒๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนปิงคิยะ)

ท่านเห็นอยู่ซึ่งหมู่มนุษย์ ผู้ถูกตัณหาครอบงำเดือดร้อน อันชราถึงรอบข้างแล้ว ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละตัณหาเสียเพื่อความไม่เกิดต่อไป.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 425

[๕๒๗] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหาธิปนฺเน มนุเช เปกฺขมาโน ดังนี้.

คำว่า ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ความว่า ผู้ถูกตัณหาครอบงำ คือ ผู้ไปตามตัณหา ผู้แล่นไปตามตัณหา ผู้จมอยู่ในตัณหา ผู้ถูกตัณหาครอบงำ มีจิตอันตัณหายึดไว้ คำว่า มนุเช เป็นชื่อของสัตว์.

คำว่า เห็นอยู่ ความว่า เห็น พบ ตรวจดู เพ่งดู พิจารณา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นอยู่ซึ่งหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปิงคิยะ.

[๕๒๘] คำว่า เดือดร้อน ในอุเทศว่า สนฺตาปชาเต ชรสา ปเรเต ดังนี้ ความว่า ผู้เดือดร้อนเพราะชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เพราะทุกข์อันมีในนรก ฯลฯ เพราะทุกข์ เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ ผู้เกิดจัญไร เกิดอุบาทว์ เกิดความขัดข้อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เดือดร้อน.

คำว่า อันชราถึงรอบด้านแล้ว ความว่า ผู้อันชราถูกต้อง ถึงรอบด้าน ประชุมลง ไปตามชาติ ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เดือดร้อน อันชราถึงรอบด้านแล้ว.

[๕๒๙] คำว่า ตสฺมา ในอุเทศว่า ตสฺมา ตุวํ ปิงฺคิย อปฺปมตฺโต ดังนี้ ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 426

เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เมื่อเห็นโทษในตัณหาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่าน.

คำว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ความว่า เป็นผู้ทำโดยความเคารพ ทำเนืองๆ ไม่ประมาทแล้วในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท.

[๕๓๐] รูปตัณหา... ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ชหสฺส ตณฺหํ อปุนพฺภวาย ดังนี้.

คำว่า จงละตัณหา ความว่า จงละ จงละขาด บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงละตัณหา.

คำว่า เพื่อความไม่เกิดต่อไป ความว่า รูปของท่านพึงดับในภพนี้นี่แหละ ฉันใด ความมีปฏิสนธิอีก ไม่พึงบังเกิด คือ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดพร้อม ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดเฉพาะในกามธาตุ... หรือวัฏฏะ พึงดับ สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ในภพนี้นี่แหละ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงละตัณหาเสียเพื่อความไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ท่านเห็นอยู่ซึ่งหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำ เดือดร้อน อันชราถึงรอบข้างแล้ว ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละตัณหาเสียเพื่อความไม่เกิดต่อไป.

[๕๓๑] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุอันปราศจากกิเลสธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่สัตว์หลายพันผู้มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 427

มีประโยคเป็นอันเดียวกัน มีความประสงค์เป็นอันเดียวกัน มีการอบรมวาสนาเป็นอันเดียวกัน กับปิงคิยพราหมณ์นั้น ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ส่วนปิงคิยพราหมณ์นั้น มีธรรมจักษุ (อนาคามิมรรค) อันปราศจากกิเลสธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า เต้าน้ำ ผมและหนวดหายไปแล้ว พร้อมกับการได้ธรรมจักษุ พระปิงคิยะนั้นเป็นภิกษุทรงผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ทำความเคารพด้วยการปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ นั่งนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.

จบปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖

อรรถกถาปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖

พึงทราบวินิจฉัยในปิงคิยสุตตนิทเทสที่ ๑๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ชิณฺโณหมสฺมี อพโล วิวณฺโณ ปิงคิยพราหมณ์ทูลว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจากผิวพรรณ คือ ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นถูกชราครอบงำ มีอายุ ๑๒๐ ปีโดยกำเนิด มีกำลังน้อย มีผิวพรรณเศร้าหมอง คิดว่าจักยืนหยัดอยู่ในที่นี้ ไม่ไปที่อื่น. ด้วยเหตุนั้น ปิงคิยะจึงทูลว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย มีผิวพรรณเศร้า-

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 428

หมอง.

บทว่า มาหมฺปนสฺสํ โมมุโห อนฺตราย ข้าพระองค์อย่าเป็นคนหลงเสียไปในระหว่างเลย คือ ข้าพระองค์ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมของพระองค์ อย่าเป็นคนไม่รู้เสียไปในระหว่างเลย.

บทว่า ชาติชราย อิธ วิปฺปหานํ อันเป็นที่ละชาติชรา ณ ที่นี้เถิด คือ ขอพระองค์ตรัสบอกธรรม คือ นิพพานที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นที่ละชาติชรา ณ ปาสาณกเจดีย์ ใกล้บาทมูลของพระองค์ ณ ที่นี้ แก่ข้าพระองค์เถิด.

บทว่า อพโล คือ ไม่มีกำลัง.

บทว่า ทุพฺพโล คือ หมดกำลัง.

บทว่า อปฺปพโล คือ มีกำลังน้อย.

บทว่า อปฺปถาโม คือ มีเรี่ยวแรงน้อย.

บทว่า วีตวณฺโณ ปราศจากผิวพรรณ คือ มีผิวพรรณเปลี่ยนแปลงไป.

บทว่า วิคตวณฺโณ คือ มีผิวพรรณปราศไป.

บทว่า วีตจฺฉิต (๑) วณฺโณ มีผิวพรรณซูบซีด.

บทว่า ยา สา ปุริมา สุภา วณฺณนิภา คือ ผิวพรรณอันงามผ่องเมื่อวัยต้นนั้น บัดนี้หายไปแล้ว.

บทว่า อาทีนโว ปาตุภูโต คือ มีโทษปรากฏ.

อาจารย์พวกหนึ่งตั้งบทไว้ว่า ยา สา ปุริมา สุภา วณฺณนิภา แล้วอธิบายว่า มีผิวพรรณงาม.

บทว่า อสุทฺธา คือ นัยน์ตาไม่แจ่มใส ด้วยมีเยื่อหุ้มเป็นต้น.

บทว่า อวิสุทฺธา คือ ไม่หมดจดเพราะมัวหมองเป็นต้น.

บทว่า อปริสุทธา คือ ไม่บริสุทธิ์ เพราะถูกหุ้มด้วยฝีและเยื่อเป็นต้น.

บทว่า อโวทาตา ไม่ผ่องแผ้ว คือ ไม่ผ่องใส เช่นกับผูกไว้.

บทว่า โน ตถา จกฺขุนา รูปํ ปสฺสามิ ข้าพระองค์เห็นรูปไม่ชัดด้วยนัยน์ตาเช่นนั้น คือ บัดนี้ ข้าพระองค์มองดูรูปารมณ์เก่าๆ ด้วยจักษุไม่ชัด.

ในบทว่า โสตา อสุทฺธา หูฟังไม่สะดวก ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า มาหมฺปนสฺสํ คือ ข้าพระองค์อย่าพินาศไปเลย.


(๑) ในบาลี คำนี้หายไป.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 429

เพราะปิงคิยะทูลคำมีอาทิว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ดังนี้ เพราะเพ่งในกาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อให้ปิงคิยะละความเยื่อใยในกายเสีย จึงตรัสคาถามีอาทิว่า ทิสฺวาน รูเปสุ วิหญฺมาเน เพราะเห็นชนทั้งหลายลำบากอยู่ในเพราะรูปทั้งหลาย ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า รูเปสุ คือ เพราะรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย.

บทว่า วิหญฺมาเน เดือดร้อนอยู่ คือ ลำบากอยู่ด้วยกรรมกรณ์เป็นต้น.

บทว่า รุปฺปนฺติ รูเปสุ คือ ชนทั้งหลายย่อมเดือดร้อน เพราะรูปเป็นเหตุ ด้วยโรคมีโรคตาเป็นต้น.

บทว่า หญฺติ คือ ย่อมเดือดร้อน.

บทว่า วิหญฺติ คือ ย่อมลำบาก.

บทว่า อุปหญฺติ ถูกเขาเบียดเบียน คือ ถูกตัดมือและเท้าเป็นต้น.

บทว่า อุปฆาติยนฺติ ถูกเขาฆ่า คือ ถึงแก่ความตาย.

บทว่า กุปฺปนฺติ คือ โกรธ.

บทว่า ปิฬิยนฺติ คือ ถูกเบียดเบียน.

บทว่า ฆฏิยนฺติ คือ ถูกฆ่า.

บทว่า พฺยตฺถิตา คือ หวาดเสียว.

บทว่า โทมนสฺสิตา เสียใจ คือ ถึงความลำบากใจ.

บทว่า หายมาเน คือ เสื่อม.

ท่านปิงคิยะฟังข้อปฏิบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ตราบเท่าถึงพระอรหัตก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษ เพราะชรา มีกำลังน้อย เมื่อจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถานี้ว่า ทิสา จตสฺโส ทิศใหญ่ ๔ ดังนี้ จึงทูลขอให้เทศนาอีก.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาจนถึงพระอรหัตอีกแก่ท่านปิงคิยะนั้น จึงตรัสคาถามีอาทิว่า ตณฺหาธิปนฺเน ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ดังนี้.

บทว่า ตณฺหาธิปนฺเน คือ ถูกตัณหาย่ำยี.

บทว่า ตณฺหานุเค คือ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 430

ไปตามตัณหา.

บทว่า ตณฺหานุคเต คือ ติดตามตัณหา.

บทว่า ตณฺหานุสเฏ คือ แล่นไปกับตัณหา.

บทว่า ตณฺหายาปนฺเน คือ จมลงไปในตัณหา.

บทว่า ปฏิปนฺเน คือ ถูกตัณหาครอบงำ.

บทว่า อภิภูเต คือ ถูกตัณหาย่ำยี.

บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺเต มีจิตอันตัณหายึดไว้ คือ มีกุศลจิตอันตัณหายึดไว้.

บทว่า สนฺตาปชาเต ผู้เดือดร้อน คือ เดือดร้อนเพราะจิตเกิดขึ้นเอง.

บทว่า อีติชาเต เกิดจัญไร คือ เกิดโรค.

บทว่า อุปทฺทวชาเต เกิดอุบาทว์ คือ เกิดโทษ.

บทว่า อุปสคฺคชาเต เกิดความขัดข้อง คือ เกิดทุกข์.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า วิรชํ วีตมลํ นี้ ดังต่อไปนี้.

บทว่า วิรชํ คือ ปราศจากธุลีมีราคะเป็นต้น.

บทว่า วีตมลํ คือ ปราศจากมลทินมีราคะเป็นต้น.

จริงอยู่ ราคะเป็นต้น ชื่อว่า ธุลี เพราะอรรถว่า ท่วมทับ ชื่อว่า มลทิน เพราะอรรถว่า ประทุษร้าย.

บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ดวงตาเห็นธรรม คือ ในบางแห่งหมายถึงมรรคญาณที่ ๑ ในบางแห่งหมายถึงมรรคญาณ ๓ เป็นต้น บางแห่งมรรคญาณที่ ๔. แต่ในที่นี้ มรรคญาณที่ ๔ เกิดแก่ชฎิล ๑,๐๐๐ คน มรรคญาณที่ ๓ เกิดแก่ท่านปิงคิยะเท่านั้น.

บทว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดการขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีการดับไปเป็นธรรมดา คือ ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านปิงคิยะผู้เป็นไปอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา.

บทที่เหลือ ในบททั้งปวง ชัดดีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการดังนี้. และเมื่อจบเทศนา ท่านปิงคิยะได้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 431

นัยว่า ท่านปิงคิยะนั้นคิดอยู่ในระหว่างๆ ว่า พาวรีพราหมณ์ผู้เป็นลุงของเรา ไม่ได้ฟังเทศนาอันมีปฏิภาณวิจิตรอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านปิงคิยะจึงไม่สามารถบรรลุพระอรหัตได้ เพราะความฟุ้งซ่านด้วยความเยื่อใย. แต่ชฎิลผู้เป็นอันเตวาสิก ๑,๐๐๐ ของท่านปิงคิยะ ได้บรรลุพระอรหัต. ทั้งหมดได้เป็นเอหิภิกขุ ผู้ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖