พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของมาณพ ๑๖ คน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40796
อ่าน  848

[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 432

ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

ปารายนวรรค

โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส

ว่าด้วยปัญหาของมาณพ ๑๖ คน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 432

โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส

ว่าด้วยปัญหาของมาณพ ๑๖ คน

[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนี้แล้ว คือ เมื่อประทับอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ พราหมณ์ ๑๖ คนทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็นบริจาริกาทูลเชื้อเชิญถามแล้วๆ ทรงพยากรณ์แล้วซึ่งปัญหา.

[๕๓๓] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนี้แล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วซึ่งปารายนสูตรนี้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเช่นนี้แล้ว.

[๕๓๔] คำว่า ประทับอยู่... แคว้นมคธ ความว่า ใกล้ชนบท มีชื่อว่ามคธ.

คำว่า วิหรนฺโต ความว่า ประทับอยู่ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา.

พระพุทธอาสน์ ท่านกล่าวว่า ปาสาณกเจดีย์ ในอุเทศว่า ปาสาณเก เจติเย ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ประทับอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์แคว้นมคธ.

[๕๓๕] คำว่า พราหมณ์ ๑๖ คนทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็นบริจาริกา ความว่า พราหมณ์ ๑๖ คนนั้นทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็นคนรับใช้ใกล้ชิดผู้ประเสริฐ ที่ปรารถนาของพาวรีพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า พราหมณ์ ๑๖ คนทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็นบริจาริกา.

อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ ๑๖ คนนั้น พึงเป็นบริจาริกาผู้ประเสริฐ ที่ปรารถนาแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า พราหมณ์ ๑๖ คนทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็นบริจาริกา.

[๕๓๖] คำว่า ทูลเชื้อเชิญถามแล้วๆ ทรงพยากรณ์แล้วซึ่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 433

ปัญหา ความว่า ทูลเชื้อเชิญอาราธนาแล้ว.

คำว่า ถามแล้วๆ ความว่า ถามแล้วๆ คือ ทูลอาราธนาแล้ว เชื้อเชิญให้ทรงประสาทแล้ว.

คำว่า ทรงพยากรณ์แล้วซึ่งปัญหา ความว่า ทรงพยากรณ์แล้ว คือ ตรัสบอก... ทรงประกาศแล้วซึ่งปัญหา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทูลเชื้อเชิญถามแล้วๆ ทรงพยากรณ์แล้วซึ่งปัญหา.

[๕๓๗] ถ้าแม้บุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แห่งปัญหาหนึ่งๆ พึงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะ เพราะว่าธรรมเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งการให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุนั้น คำว่า ปารายนะ นั้นแล เป็นชื่อของธรรมปริยายนี้.

[๕๓๘] คำว่า ถ้าแม้... แห่งปัญหาหนึ่งๆ ความว่า ถ้าแม้แห่งอชิตปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งติสสเมตเตยยปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งปุณณกปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งเมตตคูปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งโธตกปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งอุปสีวปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งนันทปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งเหมกปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งโตเทยยปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งกัปปปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งชตุกัณณีปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งภัทราวุธปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งอุทยปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งโปสาลปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งโมฆราชปัญหาหนึ่งๆ ถ้าแม้แห่งปิงคิยปัญหาหนึ่งๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าแม้แห่งปัญหาหนึ่งๆ.

[๕๓๙] คำว่า รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม ความว่า รู้ทั่วถึง คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา เจริญแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งอรรถว่า ปัญหานั้นนั่นแหละเป็นธรรม ข้อวิสัชนาเป็นอรรถ.

คำว่า รู้ทั่วถึงธรรม ความว่า รู้ทั่วถึง คือ ทราบ... ทำให้เเจ่มแจ้งซึ่งธรรม.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 434

[๕๔๐] คำว่า พึงปฏิบัติซึ่งธรรมสมควรแก่ธรรม ความว่า พึงปฏิบัติซึ่งข้อปฏิบัติชอบ ข้อปฏิบัติสมควร ข้อปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ข้อปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ข้อปฏิบัติสมควรแก่ธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงปฏิบัติซึ่งธรรมสมควรแก่ธรรม.

[๕๔๑] อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่าฝั่งแห่งชราและมรณะ ในอุเทศว่า คจฺเฉยฺเยว ชรามรณสฺส ปารํ ดังนี้.

คำว่า พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะ ความว่า พึงถึง คือ พึงบรรลุถึง พึงถูกต้อง พึงทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะ.

[๕๔๒] คำว่า ธรรมเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งการให้ถึงฝั่ง ความว่า ธรรมเหล่านี้เป็นฐานะแห่งอันให้ถึงฝั่ง คือ ให้ถึง ให้ถึงพร้อม ให้ตามถึงพร้อมซึ่งฝั่ง คือ เป็นไปเพื่อให้ข้ามพ้นชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งการให้ถึงฝั่ง.

[๕๔๓] คำว่า เพราะเหตุนั้น... แห่งธรรมปริยายนี้ ความว่า เพราะเหตุนั้นคือ เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น.

คำว่า แห่งธรรมปริยายนี้ คือ แห่งปารายนสูตรนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น... แห่งธรรมปริยายนี้.

[๕๔๔] อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 435

จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ในอุเทศว่า ปารายนนฺเตฺวว อธิวจนํ ดังนี้.

สัมมาสมาธิ ท่านกล่าวว่า อายนะ (มรรคเป็นเหตุให้ถึง).

คำว่า เป็นชื่อ คือ เป็นนาม เป็นการนับ เป็นเครื่องรู้เสมอ เป็นบัญญัติ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บทว่า ปารายนะ นั่นแหละ เป็นชื่อ.

[๕๔๕] อชิตพราหมณ์ ติสสเมตเตยยพราหมณ์ ปุณณกพราหมณ์ เมตตคูพราหมณ์ โธตกพราหมณ์ อุปสีวพราหมณ์ นันทพราหมณ์ เหมกพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ กัปปพราหมณ์ ชตุกัณณีพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ภัทราวุธพราหมณ์ อุทยพราหมณ์ โปสาลพราหมณ์ โมฆราชพราหมณ์ผู้มีปัญญา ปิงคิยพราหมณ์ผู้แสวงหาธรรมใหญ่ พราหมณ์เหล่านี้เข้ามาเฝ้าแล้ว ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้มีจรณะถึงพร้อม ผู้แสวงหา เมื่อจะทูลถามปัญหาอันละเอียด มาเฝ้าแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.

[๕๔๖] คำว่า เอเต ในอุเทศว่า เอเต พุทฺธํ อุปาคญฺฉุํ ดังนี้ คือ พราหมณ์ทั้งหลาย.

คำว่า พุทฺธํ จะกล่าวต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระสยัมภูไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยได้ยินมาในกาลก่อน เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมเหล่านั้น และถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า พุทโธ ในคำว่า พุทฺโธ ดังนี้ เพราะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 436

อรรถว่ากระไร เพราะอรรถว่าตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย เพราะอรรถว่าพระองค์ปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น เพราะทรงรู้ธรรมทั้งปวง เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวง เพราะทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เพราะทรงเบิกบานแล้ว เพราะส่วนแห่งพระองค์มีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะส่วนแห่งพระองค์ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่าทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าทรงปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าทรงปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าไม่ทรงมีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าทรงถึงแล้วซึ่งเอกายนมรรค เพราะอรรถว่าทรงเป็นผู้เดียวตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันประเสริฐ เพราะทรงกำจัดความไม่รู้ เพราะทรงได้พระปัญญาเครื่องตรัสรู้.

พระนามว่า พุทโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้ทำให้ พระนามนี้เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการหลุดพ้น) พระนามว่า พุทโธ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการบรรลุสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้โพธิ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้า.

คำว่า พราหมณ์เหล่านี้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว ความว่า พราหมณ์เหล่านี้มาเฝ้า เข้ามาเฝ้า เข้ามานั่งใกล้ ทูลถามแล้ว สอบถามแล้ว ซึ่งพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์เหล่านี้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว.

[๕๔๗] ความสำเร็จแห่งศีลและอาจาระ ท่านกล่าวว่า จรณะ ในอุเทศว่า สมฺปนฺนจรณํ อิสิํ ดังนี้ ศีลสังวรก็ดี อินทรีย์สังวรก็ดี

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 437

โภชเนมัตตัญญุตาก็ดี ชาคริยานุโยคก็ดี สัทธรรม ๗ ก็ดี ฌาน ๔ ก็ดี เป็นจรณะ.

คำว่า ผู้มีจรณะถึงพร้อมแล้ว ความว่า มีจรณะสมบูรณ์ มีจรณะประเสริฐ มีจรณะเป็นประธาน มีจรณะอุดม มีจรณะอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีจรณะถึงพร้อมแล้ว.

คำว่า อิสิํ ความว่า ผู้แสวงหา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหาซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ผู้แสวงหา ฯลฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันสัตว์ทั้งหลายที่มีอานุภาพมากแสวงหา เสาะหา ค้นหา ว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเทพประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระนราสภประทับอยู่ ณ ที่ไหน เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาแห่งเทพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีจรณะถึงพร้อมแล้ว ผู้แสวงหา.

[๕๔๘] คำว่า ปุจฺฉนฺตา ในอุเทศว่า ปุจฺฉนฺตา นิปุเณ ปญฺเห ดังนี้ ความว่า เมื่อทูลถาม ทูลอาราธนา ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาท.

คำว่า ซึ่งปัญหาทั้งหลายอันละเอียด ความว่า ซึ่งปัญหาทั้งหลายที่ลึกเห็นได้ยาก ตรัสรู้ได้ยาก สงบ ประณีต ไม่พึงหยั่งลงได้ด้วยความตรึก อันละเอียด ที่บัณฑิตพึงรู้ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อทูลถามซึ่งปัญหาทั้งหลายอันละเอียด.

[๕๔๙] คำว่า พระพุทธเจ้า ในอุเทศว่า พุทฺธเสฏฺํ อุปาคมุํ ดังนี้ ว่ากล่าวดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 438

คำว่า ผู้ประเสริฐ ความว่า ผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.

คำว่า มาเฝ้าแล้ว ความว่า มาเฝ้า เข้ามาเฝ้า เข้ามานั่งใกล้ ทูลถามแล้ว สอบถามแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ว่า

พราหมณ์เหล่านั้นเข้ามาเฝ้าแล้ว ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้มีจรณะถึงพร้อมแล้ว ผู้แสวงหา เมื่อจะทูลถามซึ่งปัญหาทั้งหลายอันละเอียด เข้ามาเฝ้าแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.

[๕๕๐] พระพุทธเจ้าอันพราหมณ์เหล่านั้น ทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์แล้วตามควร พระพุทธเจ้าผู้เป็นเพระมุนี ทรงให้พราหมณ์ทั้งหลาย ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย.

[๕๕๑] คำว่า เตสํ ในอุเทศว่า เตสํ พุทฺโธ พฺยากาสิ ดังนี้ ความว่า อันพราหมณ์ผู้มีความต้องการถึงฝั่ง ๑๖ คน.

คำว่า พุทฺโธ จะกล่าวดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.

คำว่า ทรงพยากรณ์แล้ว ความว่า พระพุทธเจ้าอันพราหมณ์เหล่านั้นทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์แล้ว คือ ตรัสบอกแล้ว... ทรงประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าอันพราหมณ์นั้น... ทรงพยากรณ์แล้ว.

[๕๕๒] คำว่า ทูลถามปัญหาแล้ว ในอุเทศว่า ปญฺหํ ปุฏฺโ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 439

ยถาตถํ ดังนี้ ความว่า ทูลถามปัญหาแล้ว ทูลอาราธนาเชื้อเชิญ ให้ทรงประสาทแล้ว.

คำว่า ตามควร ความว่า ตรัสบอกตามที่ควรตรัสบอก ทรงแสดงตามที่ควรทรงแสดง ทรงบัญญัติตามที่ควรทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้งตามที่ควรทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผยตามที่ทรงควรเปิดเผย ทรงจำแนกตามที่ควรทรงจำแนก ทรงทำให้ง่ายตามที่ควรทรงทำให้ง่าย ทรงประกาศตามที่ควรทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทูลถามปัญหาแล้ว... ตามควร.

[๕๕๓] คำว่า ด้วยการทรงพยากรณ์ซึ่งปัญหาทั้งหลาย ความว่า ด้วยการพยากรณ์ คือ ด้วยตรัสบอก... ด้วยทรงประกาศซึ่งปัญหาทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ด้วยการทรงพยากรณ์ซึ่งปัญหาทั้งหลาย.

[๕๕๔] คำว่า ทรงให้ยินดี ในอุเทศว่า โตเสสิ พฺราหฺมเณ มุนิ ดังนี้ ความว่า ทรงให้ยินดี ให้ยินดียิ่ง ให้เลื่อมใส ให้พอใจ ทรงทำให้เป็นผู้ปลื้มใจ.

คำว่า ยังพราหมณ์ทั้งหลาย ความว่า ยังพราหมณ์ผู้มีความต้องการถึงฝั่ง ๑๖ คน.

ญาณ คือ ปัญญา ความรู้ชัด ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ฯลฯ พระพุทธเจ้านั้น ล่วงแล้วซึ่งกิเลสเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังข่าย จึงเป็นพระมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระมุนี ทรงยังพราหมณ์ทั้งหลายให้ยินดีแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ว่า

พระพุทธเจ้าอันพราหมณ์เหล่านั้น ทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์แล้วตามสมควร พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระมุนี

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 440

ทรงให้พราหมณ์ทั้งหลายยินดีแล้ว ด้วยการพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย.

[๕๕๕] พราหมณ์นั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงให้ยินดีแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาประเสริฐ.

[๕๕๖] คำว่า เต ในอุเทศว่า เต โตสิตา จกฺขุมตา ดังนี้ คือ พราหมณ์ผู้มีความต้องการถึงฝั่ง ๑๖ คน.

คำว่า ทรงให้ยินดีแล้ว ความว่า ทรงให้ยินดี ให้ยินดียิ่ง ให้ เลื่อมใส ให้พอใจ ทรงทำให้ปลื้มใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์เหล่านั้น... ทรงให้ยินดีแล้ว.

คำว่า ผู้มีจักษุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุด้วยจักษุ ๕ ประการ คือ มีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุ ๑ แม้ด้วยทิพยจักษุ ๑ แม้ด้วยปัญญาจักษุ. แม้ด้วยพุทธจักษุ ๑ แม้ด้วยสมันตจักษุ ๑.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุทรงให้ยินดีเเล้ว.

[๕๕๗] คำว่า พุทฺเธน ในอุเทศว่า พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา ดังนี้ จะกล่าวดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.

พระสุริยะท่านกล่าวว่า พระอาทิตย์ ในคำว่า อาทิจฺจพนฺธุนา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 441

ดังนี้ พระอาทิตย์นั้นเป็นโคดมโดยโคตร แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโคดมโดยโคตร พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระญาติโดยโคตร เป็นเผ่าพันธุ์โดยโคตร แห่งพระสุริยะ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่า เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันพระพุทธเจ้า... เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์.

[๕๕๘] ความงด ความเว้น ความเว้นเฉพาะ เจตนาเครื่องงดเว้น ความไม่ยินดี ความงดการทำ ความไม่ทำ ความไม่ต้องทำ ความไม่ล่วงแดน ความฆ่าด้วยเหตุ (ด้วยอริยมรรค) ซึ่งความถึงพร้อมด้วยอสัทธรรม ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในอุเทศว่า พฺรหฺมจริยมจริํสุ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ด้วยสามารถแห่งการกล่าวตรงๆ.

คำว่า ได้ประพฤติแล้วซึ่งพรหมจรรย์ ความว่า ได้ประพฤติ คือ สมาทาน ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ประพฤติแล้วซึ่งพรหมจรรย์.

[๕๕๙] คำว่า แห่งพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาประเสริฐ ความว่า แห่งพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาประเสริฐ มีพระปัญญาเลิศ มีพระปัญญาเป็นใหญ่ มีพระปัญญาเป็นประธาน มีพระปัญญาอุดม มีพระปัญญาบวร.

คำว่า สนฺติเก ความว่า ในสำนัก ในที่ใกล้ ในที่เคียง ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ชิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาประเสริฐ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ว่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 442

พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงให้ยินดีแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาประเสริฐ.

[๕๖๐] ผู้ใดพึงปฏิบัติธรรมแห่งปัญหาหนึ่งๆ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง.

[๕๖๑] คำว่า แห่งปัญหาหนึ่งๆ ความว่า แห่งอชิตปัญหาหนึ่ง แห่งติสสเมตเตยยปัญหาหนึ่ง ฯลฯ แห่งปิงคิยปัญหาหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แห่งปัญหาหนึ่งๆ.

[๕๖๒] คำว่า พุทฺเธน ในอุเทศว่า ยถา พุทฺเธน เทสิตํ ดังนี้ จะกล่าวต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.

คำว่า ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ความว่า ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกแล้ว... ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

[๕๖๓] คำว่า ผู้ใดพึงปฏิบัติตามธรรม ความว่า ผู้ใดพึงปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ ข้อปฏิบัติสมควร ข้อปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ข้อปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ข้อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดพึงปฏิบัติตามธรรม.

[๕๖๔] อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออก

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 443

จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ในอุเทศว่า คจฺเฉ ปารํ อปารโต ดังนี้ฯ

กิเลสก็ดี อภิสังขารก็ดี ท่านกล่าวว่า ที่มิใช่ฝั่ง.

คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง ความว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง คือ พึงบรรลุถึง พึงถูกต้อง พึงทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ว่า

ผู้ใดพึงปฏิบัติธรรมแห่งปัญหาหนึ่งๆ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง.

[๕๖๕] บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันอุดม พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง มรรคนั้น (ย่อมเป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุนั้น มรรคท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ให้ถึงฝั่ง.

[๕๖๖] กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ท่านกล่าวว่า ที่มิใช่ฝั่ง ในอุเทศว่า อปารา ปารํ คจฺเฉยฺย ดังนี้ อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ฝั่ง.

คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง ความว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง คือ พึงบรรลุถึง พึงถูกต้อง พึงทําให้แจ้งซึ่งฝั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง.

[๕๖๗] มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ท่านกล่าวว่า มรรค ในคำว่า ซึ่งมรรค ในอุเทศว่า ภาเวนฺโต มคฺคมุตฺตมํ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 444

คำว่า อันอุดม คือ อันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธานสูงสุดอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มรรคอันอุดม.

คำว่า เมื่อเจริญ ความว่า เมื่อเจริญ ซ่องเสพ ทำให้มาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อเจริญมรรคอันอุดม.

[๕๖๘] คำว่า มรรคนั้น (ย่อมเป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง ความว่า มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมายนะ นาวา อุตตรเสตุ ปกุลละ สังกมะ (แปลว่าทางทุกศัพท์).

คำว่า เพื่อให้ถึงฝั่ง ความว่า เพื่อให้ถึงฝั่ง ให้ถึงพร้อมซึ่งฝั่ง ให้ตามถึงพร้อมซึ่งฝั่ง คือ เพื่อข้ามพ้นชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มรรคนั้น (ย่อมเป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง.

[๕๖๙] คำว่า เพราะเหตุนั้น มรรคท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ให้ถึงฝั่ง ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง... ความออกจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ฝั่ง.

มรรค ท่านกล่าวว่า อายนะ เป็นที่ให้ถึง.

คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น มรรคท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ถึงฝั่ง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ว่า

บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันอุดม พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง มรรคนั้น (ย่อมเป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุนั้น มรรคท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ให้ถึงฝั่ง.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 445

[๕๗๐] (ท่านปิงคิยะทูลถามว่า)

ข้าพระองค์จักขับตามเพลงขับ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปราศจากมลทิน มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน มิได้มีกาม มิได้มีป่า เป็นนาค (ได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัสบอกแล้วอย่างนั้น) บุคคลพึงพูดเท็จเพราะเหตุไร.

[๕๗๑] คำว่า จักขับตามเพลงขับ ความว่า จักขับตามเพลงขับ คือ จักขับตามธรรมที่พระองค์ตรัสแล้ว จักขับตามธรรมที่ตรัสบอกแล้ว จักขับตามธรรมที่ตรัสประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จักขับตามเพลงขับ.

คำว่า อิติ ในบทว่า อิจฺจายสฺมา ปิงฺคิโย ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.

คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง.

คำว่า ปิงฺคิโย เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นสมญา เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นการทรงชื่อ เป็นภาษาเรียก เป็นเครื่องให้ปรากฏ เป็นคำร้องเรียก ของพระเถระนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระปิงคิยะทูลถามว่า.

[๕๗๒] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัสแล้วอย่างนั้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ได้ตรัสแล้ว คือ ตรัสบอก... ทรงประกาศแล้วอย่างนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วน

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 446

มีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัสบอกแล้วอย่างนั้น.

[๕๗๓] คำว่า ปราศจากมลทิน ในนิเทศว่า วิมโล ภูริเมธโส ดังนี้ ความว่า ความชัง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นมลทิน มลทินเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วจึงไม่มีมลทิน หมดมลทิน ไร้มลทิน ไปปราศจากมลทิน ละมลทินแล้ว พ้นแล้วจากมลทิน ล่วงมลทินทั้งปวงแล้ว.

แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยพระปัญญาอันกว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนี้.

ปัญญา ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า เมธา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยปัญญาเป็นเมธานี้.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วจึงชื่อว่า ทรงมีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปราศจากมลทิน มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน.

[๕๗๔] โดยหัวข้อว่า กามา ในอุเทศว่า นิกฺกโม นิพฺพโน นาโค ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม เหล่านี้ท่านกล่าวว่า กิเลสกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ แล้วทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละกิเลสกามแล้ว เพราะทรง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 447

กำหนดรู้วัตถุกาม เพราะทรงละกิเลสกามแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงใคร่กาม ไม่ทรงปรารถนากาม ไม่ทรงรักกาม ไม่ทรงชอบใจกาม ชนเหล่าใดย่อมใคร่กาม ปรารถนากาม รักกาม ชอบใจกาม ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ใคร่กาม มีความกำหนัดด้วยราคะ มีสัญญาด้วยสัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงใคร่กาม ไม่ทรงปรารถนากาม ไม่ทรงรักกาม ไม่ทรงชอบใจกาม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงมิได้มีกาม ไร้กาม สละกาม คลายกาม ปล่อยกาม ละกาม สละคืนกามเสียแล้ว ปราศจากราคะ มีราคะหายไปแล้ว สละราคะ คลายราคะ ละราคะ สละคืนราคะเสียแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยสุข มีพระองค์อันประเสริฐอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิได้มีกาม.

คำว่า ไม่มีป่า ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นป่า ป่าเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ไม่มีป่า ไร้ป่า ไปปราศแล้วจากป่า ละป่าแล้ว พ้นแล้วจากป่า ล่วงป่าทั้งปวงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีป่า.

คำว่า เป็นนาค ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็นนาคเพราะไม่ทรงทำความชั่ว ชื่อว่าเป็นนาคเพราะไม่เสด็จไปสู่ความชั่ว ชื่อว่าเป็นนาคเพราะไม่เสด็จมาสู่ความชั่ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็นนาคเพราะไม่เสด็จมาสู่ความชั่วอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกาม ไม่มีป่า เป็นนาค.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 448

[๕๗๕] คำว่า เพราะเหตุอะไร ในอุเทศว่า กิสฺส เหตุ มุสา ภเณ ดังนี้ ความว่า เพราะเหตุอะไร เพราะการณะอะไร เพราะปัจจัยอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุอะไร.

คำว่า พึงกล่าวคำเท็จ ความว่า พึงกล่าวถ้อยคำเท็จ คือ กล่าวมุสาวาท กล่าวถ้อยคำอันไม่ประเสริฐ บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในบริษัทก็ดี อยู่ท่ามกลางญาติก็ดี อยู่ในราชสกุลก็ดี เขานำไปเป็นพยานถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้เหตุใด จงกล่าวเหตุนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น ย่อมกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งของเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ นี้ท่านกล่าวว่า กล่าวคำเท็จ.

อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ก่อนที่จะพูด บุคคลนั้นก็รู้ว่า จักพูดเท็จ เมื่อกำลังพูด ก็รู้ว่าพูดเท็จอยู่ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า พูดเท็จแล้ว มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ก่อนที่จะพูด บุคคลนั้นก็รู้ว่า จักพูดเท็จ ฯลฯ มุสาวาทย่อมมี ๕ อย่าง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๖ อย่าง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๗ อย่าง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ อย่าง คือก่อนที่จะพูด บุคคลนั้นก็รู้ว่า จักพูดเท็จ เมื่อกำลังพูดก็รู้ว่า พูดเท็จอยู่ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า พูดเท็จแล้ว ตั้งความเห็นไว้ ตั้งความควรไว้ ตั้งความชอบใจไว้ ตั้งสัญญาไว้ ตั้งความเป็นไว้ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ อย่างนี้. บุคคลพึงกล่าว พึงพูด พึง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 449

แสดง พึงบัญญัติคำเท็จเพราะเหตุอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงพูดเท็จเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

ข้าพระองค์จักขับตามเพลงขับ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปราศจากมลทิน มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน มิได้มีกาม มิได้มีป่า เป็นนาค (ได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัสบอกแล้วอย่างนั้น) บุคคลพึงพูดเท็จเพราะเหตุอะไร.

[๕๗๖] ผิฉะนั้น ข้าพระองค์จักระบุถ้อยคำอันประกอบด้วยคุณ แก่พระองค์ผู้ทรงละมลทินและความหลงแล้ว ผู้ทรงละความถือตัวและความลบหลู่.

[๕๗๗] คำว่า มลทิน ในอุเทศว่า ปหีนมลโมหสฺส ดังนี้ ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริตทั้งปวงเป็นมลทิน.

คำว่า ความหลง ความว่า ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ อวิชชาเป็นดังลิ่มสลัก โมหะ อกุศลมูล นี้ท่านกล่าวว่า โมหมลทินและความหลง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ทรงละมลทินและความหลงเสียแล้ว. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทรงละมลทินและความหลงเสียแล้ว.

[๕๗๘] ความถือตัว ในคำว่า มานะ ในอุเทศว่า มานมกฺขปฺปหายีโน ดังนี้ โดยอาการอย่างหนึ่ง คือ ความพองแห่งจิต.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 450

ความถือตัวโดยอาการ ๒ อย่าง คือ ความถือตัวในการยกตน ๑ ความถือตัวในการข่มผู้อื่น ๑

ความถือตัวโดยอาการ ๓ อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑.

ความถือตัวโดยอาการ ๔ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑ เพราะยศ ๑ เพราะสรรเสริญ ๑ เพราะสุข ๑.

ความถือตัวโดยอาการ ๕ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิดว่า เราเป็นผู้ได้รูปที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้เสียงที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้รสที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑.

ความถือตัวโดยอาการ ๖ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งตา ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งหู ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งจมูก ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งกาย ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งใจ ๑.

ความถือตัวโดยอาการ ๗ อย่าง คือ ความถือตัว ๑ ความถือตัวจัด ๑ ความถือตัวเกินกว่าความถือตัว ๑ ความดูหมิ่น ๑ ความดูแคลน ๑ ความถือตัวว่าเรามี ๑ ความถือตัวผิด ๑.

ความถือตัวโดยอาการ ๘ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะยศ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความนินทา ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะทุกข์ ๑.

ความถือตัวโดยอาการ ๙ อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 451

เขาที่ดี ๑ เราเสมอกับเขาที่ดี ๑ เราเลวกว่าเขาที่ดี ๑ เราดีกว่าเขาที่เสมอกัน ๑ เราเสมอกับเขาที่เสมอกัน ๑ เราเลวกว่าเขาที่เสมอกัน ๑ เราดีกว่าเขาที่เลว ๑ เราเสมอกับเขาที่เลว ๑ เราเลวกว่าเขาที่เลว ๑.

ความถือตัวโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ความถือตัวเกิดขึ้นเพราะกำเนิดบ้าง เพราะโคตรบ้าง เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง เพราะความเป็นผู้มีผิวพรรณงามบ้าง เพราะทรัพย์บ้าง เพราะความเชื้อเชิญบ้าง เพราะบ่อเกิดแห่งการงานบ้าง เพราะบ่อเกิดแห่งศิลปะบ้าง เพราะฐานแห่งวิชชาบ้าง เพราะการศึกษาเล่าเรียนบ้าง เพราะปฏิภาณบ้าง เพราะวัตถุอื่นบ้าง, ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความพองจิต ความมีมานะดังว่าไม้อ้อสูง มานะดังธงชัย มานะอันเป็นเหตุให้ยกย่อง ความที่มีจิตใคร่ดังธงนำหน้า นี้ท่านกล่าวว่า ความถือตัว.

ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ความเป็นผู้ลบหลู่ กรรมอันประกอบด้วยความแข็งกระด้าง นี้ท่านกล่าวว่าความลบหลู่ในคำว่า มักขะ ดังนี้ ความถือตัวและความลบหลู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงละความถือตัวและความลบหลู่.

[๕๗๙] คำว่า หนฺทาหํ ในอุเทศว่า หนฺทาหํ กิตฺตยิสฺสามิ คิรํ วณฺณูปสญฺหิตํ ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า หนฺท นี้เป็นไปตามลำดับบท.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 452

คำว่า กิตฺตยิสฺสามิ ความว่า จักระบุ คือ จักแสดง... จักประกาศซึ่งถ้อยคำ วาจา คำเป็นคลอง คำที่ควรเปล่ง อันเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยคุณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผิฉะนั้น ข้าพระองค์จักระบุถ้อยคำอันประกอบด้วยคุณ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระ จึงกล่าวว่า

ผิฉะนั้น ข้าพระองค์จักระบุถ้อยคำอันประกอบด้วยคุณ แก่พระองค์ผู้ทรงละมลทินและความหลงแล้ว ผู้ทรงละความถือตัวและความลบหลู่.

[๕๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระสมันตจักษุทรงบรรเทาความมืด ทรงถึงที่สุดโลก ล่วงภพทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ทั้งหมดแล้ว มีพระนามจริง เป็นผู้ประเสริฐอันข้าพระองค์นั่งใกล้แล้ว.

[๕๘๑] คำว่า ทรงบรรเทาความมืด ในอุเทศว่า ตโมนุโท พุทฺโธ สมนฺตจกฺขุ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรเทา ทรงกำจัด ทรงละ ทรงบรรเทาให้พินาศ ทรงทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความมืดคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณอันดับปัญญา เป็นฝ่ายความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทรงบรรเทาความมืด.

คำว่า พุทฺโธ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. สัพพัญญุตญาณท่านกล่าวว่าสมันตจักษุ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 453

ในคำว่า ผู้มีพระสมันตจักษุ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระสมันตจักษุทรงบรรเทาความมืด.

[๕๘๒] คำว่า โลก ในอุเทศว่า โลกนฺตคู สพฺพภวาติวตฺโต ดังนี้ คือ โลก ๑ ได้แก่โลกคือภพ. โลก ๒ คือ ภวโลกเป็นสมบัติ ๑ ภวโลกเป็นวิบัติ ๑. โลก ๓ คือ เวทนา ๓. โลก ๔ คือ อาหาร ๔. โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕. โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖. โลก ๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗. โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘. โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙. โลก ๑๐ คือ อุปกิเลส ๑๐. โลก ๑๑ คือ กามภพ ๑๑. โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒. โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘.

คำว่า ทรงถึงที่สุดโลก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงที่สุด ถึงส่วนสุดแห่งโลกแล้ว ไปสู่ที่สุดถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ฯลฯ ไปนิพพาน ถึงนิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ทรงอยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯลฯ ไม่มีสงสารคือชาติ ชรา และมรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงถึงที่สุดโลก.

คำว่า ภพ ในอุเทศว่า สพฺพภวาติวตฺโต ดังนี้ คือ ภพ ๒ ได้แก่กรรมภพ ๑ ปุนภพ (ภพใหม่) อันมีในปฏิสนธิ ๑ กรรมภพเป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี้เป็นกรรมภพ.

ปุนภพอันมีในปฏิสนธิเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันมีในปฏิสนธิ นี้เป็นปุนภพอันมีในปฏิสนธิ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นไปล่วง ทรงล่วงเลย ทรงก้าวล่วงซึ่ง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 454

กรรมภพและปุนภพอันมีในปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงถึงที่สุดโลก เป็นไปล่วงภพทั้งปวง.

[๕๘๓] อาสวะ ในคำว่า ไม่มีอาสวะ ในอุเทศว่า อนาสโว สพฺพทุกฺขปฺปหีโน ดังนี้ มี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่ให้มีในภายหลัง ให้มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ไม่มีอาสวะ.

คำว่า ทรงละทุกข์ทั้งปวง ความว่า ทุกข์ทั้งหมด คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกทุกข์ ปริเทวทุกข์ ทุกขทุกข์ โทมนัสทุกข์ อุปายาสทุกข์ ฯลฯ ทุกข์แต่ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ อันมีมาแต่ปฏิสนธิ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงละได้เเล้ว ตัดขาดแล้ว ระงับแล้ว ไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ละทุกข์ทั้งปวง.

[๕๘๔] คำว่า มีพระนามจริง ในอุเทศว่า สจฺจวฺหโย พฺรหฺมุปาสิโต เม ดังนี้ ความว่า มีพระนามเหมือนนามจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสีขี พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายตรัสรู้แล้ว มีพระนามเช่นเดียวกัน มีพระนามเหมือนนามจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าศากยมุนีมีพระนามเหมือนกัน คือมีพระนามเหมือนนามจริงของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 455

เพราะเหตุดังนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า มีพระนามจริง.

คำว่า เป็นผู้ประเสริฐ อันข้าพระองค์นั่งใกล้แล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อันข้าพระองค์นั่ง เข้านั่ง นั่งใกล้ กำหนดถาม สอบถามแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีพระนามจริง เป็นผู้ประเสริฐ อันข้าพระองค์นั่งใกล้เเล้ว เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระสมันตจักษุ ทรงบรรเทาความมืด ทรงถึงที่สุดโลก ล่วงภพทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ทั้งหมดแล้ว มีพระนามจริง เป็นผู้ประเสริฐ อันข้าพระองค์นั่งใกล้แล้ว.

[๕๘๕] นกละป่าเล็กแล้ว พึงอาศัยป่าใหญ่ที่มีผลไม้มากอยู่ ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ละแล้วซึ่งพวกพราหมณ์ที่มีปัญญาน้อย อาศัยแล้วซึ่งพระองค์ เป็นดังว่าหงส์อาศัยสระใหญ่ที่มีน้ำมากฉะนั้น.

[๕๘๖] นก ท่านเรียกว่า ทิชะ ในอุเทศว่า ทิโช ยถา กุพฺพนกํ ปหาย พหุปฺผลํ กานนํ อาวเสยฺย ดังนี้.

เพราะเหตุไร นก ท่านจึงเรียก ทิชะ. เพราะนกเกิด ๒ ครั้ง คือ เกิดแต่ท้องแม่ครั้งหนึ่ง เกิดแต่กระเปาะฟองไข่ครั้งหนึ่ง เพราะเหตุนั้น นก ท่านจึงเรียกว่า ทิชะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิชะ.

คำว่า ละป่าเล็กแล้ว... ฉันใด ความว่า นกละทิ้ง ล่วงเลยแล้วซึ่งป่าน้อยที่มีอาหารเครื่องกินน้อย มีน้ำน้อย พึงไปประสบพบป่าใหญ่

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 456

ซึ่งเป็นไพรสณฑ์ที่มีต้นไม้มาก มีผลไม้ดก มีอาหารเครื่องกินมาก อื่นๆ พึงสำเร็จความอยู่ในไพรสณฑ์นั้น ฉันใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นกละป่าเล็กแล้ว พึงอาศัยป่าใหญ่ที่มีผลไม้มากอยู่ ฉันนั้น.

[๕๘๗] คำว่า เอวํ ในอุเทศว่า เอวมาหํ อปฺปทสฺเส ปหาย มโหทธิํ หงฺสริวชฺฌปตฺโต ดังนี้ เป็นเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อมเฉพาะ.

คำว่า ละแล้วซึ่งพวกพราหมณ์ที่มีปัญญาน้อย ความว่า พาวรีพราหมณ์ และพวกพราหมณ์อื่นซึ่งเป็นอาจารย์ของพาวรีพราหมณ์นั้น เปรียบเทียบกะพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เป็นผู้มีปัญญาน้อย คือ มีปัญญานิดหน่อย มีปัญญาเล็กน้อย มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาทราม ข้าพระองค์ละทิ้งล่วงเลยแล้วซึ่งพราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีปัญญาน้อย คือ มีปัญญานิดหน่อย มีปัญญาเล็กน้อย มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาทราม ประสบพบแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาอุดม สูงสุด ไม่มีใครเสมอ ไม่มีใครเปรียบเทียบ เป็นบุคคลหาใครเปรียบมิได้ เป็นเทวดาล่วงเทวดา เป็นผู้องอาจกว่านรชน เป็นบุรุษสีหะ เป็นบุรุษนาค เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษแกล้วกล้า เป็นบุรุษผู้นำธุระไป มีพลธรรม ๑๐ เป็นผู้คงที่ หงส์พึงประสบ พบ ได้ซึ่งสระใหญ่ที่พวกมนุษย์ทำไว้ สระอโนดาต หรือมหาสมุทรที่ไม่กำเริบ มีน้ำนับไม่ถ้วน ฉันใด ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อปิงคิยะ ประสบ พบ ได้แล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้ไม่กำเริบ มีเดชนับไม่ถ้วน มีญาณแตกฉาน มีพระจักษุเปิดแล้ว ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีปฏิสัมภิทาทรงบรรลุแล้ว ถึงเวสารัชชญาณ ๔ แล้ว น้อมพระทัยไปในผลสมาบัติอันบริสุทธิ์ มี

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 457

พระองค์ขาวผ่อง มีพระวาจามิได้เป็นสอง เป็นผู้คงที่ มีปฏิญาณอย่างนั้น เป็นผู้ไม่เล็กน้อย เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีธรรมลึก มีคุณอันใครๆ นับไม่ได้ มีคุณยากที่จะหยั่งถึง มีรัตนะมาก มีคุณเสมอด้วยสาคร ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ ไม่มีใครเปรียบปาน มีธรรมไพบูลย์ ประมาณมิได้ มีพระคุณเช่นนั้น ตรัสธรรมอันเลิศกว่าพวกที่กล่าวกัน เช่นภูเขาสิเนรุเลิศกว่าภูเขาทั่วไป ครุฑเลิศกว่านกทั่วไป สีหมฤคเลิศกว่ามฤคทั่วไป สมุทรเลิศกว่าห้วงน้ำทั่วไป เป็นพระพุทธชินเจ้าผู้สูงสุด ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ละแล้วซึ่งพวกพราหมณ์ที่มีปัญญาน้อย อาศัยแล้วซึ่งพระองค์ เป็นดังว่าหงส์อาศัยสระใหญ่ที่มีน้ำมากฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระ จึงกล่าวว่า

นกละป่าเล็กแล้ว พึงอาศัยป่าใหญ่ที่มีผลไม้มากอยู่ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ละแล้วซึ่งพวกพราหมณ์ที่มีปัญญาน้อย อาศัยแล้วซึ่งพระองค์ เป็นดังว่าหงส์อาศัยสระใหญ่ที่มีน้ำมากฉะนั้น.

[๕๘๘] ในกาลก่อน (อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม) อาจารย์เหล่าใดพยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้ คำนั้นทั้งหมดเป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา คำนั้นทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ.

[๕๘๙] คำว่า เย ในอุเทศว่า เย เม ปุพฺเพ วิยากํสุ ดังนี้ ความว่า พาวรีพราหมณ์และพวกพราหมณ์อื่นซึ่งเป็นอาจารย์ของพาวรีพราหมณ์ พยากรณ์แล้ว คือ บอก... ประกาศแล้วซึ่งทิฏฐิของตน ความ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 458

ควรของตน ความชอบใจของตน ลัทธิของตน ความประสงค์ของตน อัธยาศัยของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า... ในกาลก่อน... อาจารย์เหล่าใดพยากรณ์แล้ว.

[๕๙๐] คำว่า อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ความว่า ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม คือ อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ก่อนกว่าศาสนาของพระโคดม กว่าศาสนาของพระพุทธเจ้า กว่าศาสนาของพระชินะ กว่าศาสนาของพระตถาคต กว่าศาสนาของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม.

[๕๙๑] คำว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้ ความว่า ได้ยินว่า เรื่องมีแล้วอย่างนี้ ได้ยินว่า เรื่องจักมีอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้.

[๕๙๒] คำว่า คำทั้งหมดนั้น เป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา ความว่า คำนั้นทั้งสิ้นเป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา คือ อาจารย์เหล่านั้น กล่าวธรรมอันไม่ประจักษ์แก่ตน ที่ตนมิได้รู้มาเอง ตามที่ได้ยินกันมาตามลำดับสืบๆ กันมา ตามความอ้างตำรา ตามเหตุที่นึกเดาเอาเอง ตามเหตุที่คาดคะเนเอาเอง ด้วยความตรึกตามอาการด้วยความชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา.

[๕๙๓] คำว่า คำทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ ความว่า คำนั้นทั้งสิ้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ คือ เป็นเครื่องยังวิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความดำริให้เจริญ เป็นเครื่องยังกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงญาติให้เจริญ เป็นครื่องยังความตรึกถึงชนบทให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงเทวดา

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 459

ให้เจริญ เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเอ็นดูผู้อื่นให้เจริญ เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญให้เจริญ เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่ปรารถนาให้ใครดูหมิ่นตนให้เจริญ เพราะฉะนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

ในกาลก่อน (อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม) อาจารย์เหล่าใดพยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้ คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบๆ กันมา คำทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ.

[๕๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์เดียวทรงบรรเทาความมืดเสีย ประทับอยู่แล้ว มีพระปัญญาสว่างแผ่รัศมี พระโคดมมีพระปัญญาปรากฏ พระโคดมมีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน.

[๕๙๕] คำว่า เอโก ในอุเทศว่า เอโก ตมนุภาสีโน ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชา ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสอง เพราะอรรถว่า ละตัณหา เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะเสด็จไปตามเอกายนมรรค เพราะตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์เดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างไร.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 460

พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงหนุ่มแน่น มีพระเกศาดำสนิท ประกอบด้วยวัยอันเจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาพระบิดาไม่พอพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยอัสสุชล ทรงพระกันแสงรำพันอยู่ ทรงละพระญาติวงศ์ ทรงตัดกังวลในฆราวาสสมบัติทั้งหมด ทรงตัดกังวลในพระโอรสและพระชายา ทรงตัดกังวลในพระประยูรญาติ ทรงตัดกังวลในมิตรและอำมาตย์ ปลงพระเกศาและมัสสุแล้ว ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกผนวช เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล พระองค์เดียวเสด็จเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าพระองค์เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสองอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชแล้วอย่างนี้ ทรงเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลมแห่งชนผู้สัญจรไปมา สมควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น ทรงดำเนินพระองค์เดียว หยุดอยู่พระองค์เดียว ประทับนั่งพระองค์เดียว บรรทมพระองค์เดียว เสด็จเข้าบ้านเพื่อทรงรับบิณฑบาตพระองค์เดียว เสด็จกลับพระองค์เดียว ประทับนั่งอยู่ในที่ลับพระองค์เดียว ทรงอธิษฐานจงกรมพระองค์เดียว พระองค์เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสองอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 461

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ทรงละตัณหาอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นองค์เดียวมิได้มีเพื่อนอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญเพียร มีพระหฤทัยแน่วแน่ เริ่มตั้งพระมหาปธานที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารกับทั้งเสนาซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ผู้ประมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา อันมีข่ายแล่นไปเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ.

บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน ย่อมไม่ล่วงสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้และมีความเป็นอย่างอื่น ภิกษุผู้มีสติรู้โทษนี้ และตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น เว้นรอบ.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ทรงละตัณหาอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียวอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละราคะเสียแล้ว ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโทสะเสียแล้ว ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโมหะเสียแล้ว ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะทรงละกิเลสทั้งหลายเสียแล้ว.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 462

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะเสด็จไปตามเอกายนมรรคอย่างไร.

สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านกล่าวว่า เอกายนมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่งความสิ้นชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อมทรงทราบธรรมอันเป็นทางไปแห่งบุคคลผู้เดียว พุทธาทิบัณฑิตข้ามก่อนแล้ว จักข้ามและข้ามอยู่ซึ่งโอฆะ ด้วยธรรมเป็นหนทางนั้น.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะเสด็จไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเพระองค์เดียวอย่างไร.

ญาณในมรรค ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ฯลฯ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิท่านกล่าวว่า โพธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ด้วยโพธิญาณนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้ตาม ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้ชอบ บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งธรรมทั้งปวงที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้ตาม ควรตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้ชอบ ควรบรรลุ ควรถูกต้อง

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 463

ควรทำให้แจ้งด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์เดียวอย่างนี้ๆ.

คำว่า ทรงบรรเทาความมืดเสีย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรเทา ละ สละ กำจัด ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความมืดคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นฝ่ายความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

คำว่า ประทับนั่งอยู่แล้ว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แล้วที่ปาสาณกเจดีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ประทับนั่งอยู่แล้ว.

เชิญดูพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับนั่งอยู่แล้วที่ข้างภูเขา พระสาวกทั้งหลายผู้ได้ไตรวิชชา ละมัจจุเสีย นั่งห้อมล้อมอยู่.

ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าประทับนั่งอยู่แล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าประทับนั่งอยู่แล้ว เพราะพระองค์ทรงระงับแล้วซึ่งความขวนขวายทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ทรงอยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้มีสงสารคือชาติ ชรา และมรณะ ไม่มีภพใหม่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่าประทับนั่งอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์เดียว ทรงบรรเทาความมืดเสีย ประทับนั่งอยู่แล้ว.

[๕๙๖] คำว่า มีความโพลง ในอุเทศว่า ชุติมา โส ปภงฺกโร ดังนี้ ความว่า มีปัญญาสว่าง คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 464

คำว่า ทรงแผ่รัศมี ความว่า ทรงแผ่แสงสว่าง แผ่รัศมี แผ่แสงสว่างดังประทีป แผ่แสงสว่างสูง แผ่แสงสว่างช่วงโชติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์มีพระปัญญาสว่าง แผ่รัศมี.

[๕๙๗] คำว่า พระโคดมมีปัญญาปรากฏ ความว่า พระโคดมมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระญาณเป็นเครื่องปรากฏ มีปัญญาดังธงชัย มีปัญญาดังธงนำหน้า มีปัญญาเป็นอธิบดี มีความเลือกเฟ้นธรรมมาก มีความเลือกเฟ้นทั่วไปมาก มากด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณาพร้อม มีธรรมเป็นเครื่องอยู่แจ่มแจ้ง ทรงประพฤติในธรรมนั้น มีพระปัญญามาก หนักอยู่ด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา โอนไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา มีปัญญาเป็นใหญ่.

ธงเป็นเครื่องปรากฏแห่งรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏแห่งไฟ พระราชาเป็นเครื่องปรากฏแห่งแว่นแคว้น ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏแห่งภรรยา ฉันใด.

พระโคดม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน... มีปัญญาใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระโคดมมีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินปรากฏ.

[๕๙๘] แผ่นดิน ท่านกล่าวว่า ภูริ ในอุเทศว่า โคตโม ภูริเมธโส ดังนี้ พระโคดมทรงประกอบด้วยปัญญาอันไพบูลย์ กว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน ปัญญา ความรู้ กิริยาที่รู้ ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า เมธา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 465

ด้วยปัญญาเป็นเมธานี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระโคดมมีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์เดียวทรงบรรเทาความมืดเสีย ประทับอยู่แล้ว มีพระปัญญาสว่างแผ่รัศมี พระโคดมมีพระปัญญาปรากฏ พระโคดมมีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน.

[๕๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาลอันเป็นที่สิ้นตัณหา อันไม่มีอันตรายแก่อาตมา นิพพานมิได้มีอุปมาในที่ไหน.

[๖๐๐] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย เม ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ทรงสดับมาก่อน ทรงบรรลุแล้วซึ่งความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมเหล่านั้น และทรงถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.

คำว่า ธมฺมํ ในอุเทศว่า ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก... ทรงประกาศแล้วซึ่งพรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง และสติปัฏฐาน ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพานและ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 466

ปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม... แก่อาตมา.

[๖๐๑] คำว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ความว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้นในกาลเป็นลำดับ มิได้มีกาลอื่นคั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.

มนุษย์ทั้งหลายลงทุนทรัพย์ตามกาลอันควร ยังไม่ได้อิฐผลในกาลเป็นลำดับ ยังต้องรอเวลา ฉันใด ธรรมนี้ย่อมไม่เป็น ฉันนั้น ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้ผลแห่งมรรคนั้นในกาลเป็นลำดับ มิได้มีกาลอื่นคั่น ย่อมไม่ได้ในภพหน้า ย่อมไม่ได้ในปรโลก ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.

[๖๐๒] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหกฺขยมนีติกํ ดังนี้.

คำว่า ตณฺหกฺขยํ ความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นราคะ เป็นที่สิ้นโทสะ เป็นที่สิ้นโมหะ เป็นที่สิ้นคติ เป็นที่สิ้นอุปบัติ เป็นที่สิ้น

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 467

ปฏิสนธิ เป็นที่สิ้นภพ เป็นที่สิ้นสงสาร เป็นที่สิ้นวัฏฏะ กิเลส ขันธ์และอภิสังขาร.

ท่านกล่าวว่า อันตราย ในคำว่า อนีติกํ ดังนี้ เป็นที่ละ สงบ สละคืน ระงับอันตราย เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย.

[๖๐๓] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺส นตฺถิ อุปมา กฺวจิ ดังนี้ ได้แก่ นิพพาน.

คำว่า ไม่มีอุปมา ความว่า ไม่มีอุปมา ไม่มีข้อเปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอ ไม่มีอะไรเปรียบ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์.

คำว่า ในที่ไหนๆ ความว่า ในที่ไหนๆ ในที่ไรๆ ในที่บางแห่ง ในภายในภายนอก หรือทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพานไม่มีอุปมาในที่ไหนๆ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมอันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา อันไม่มีอันตรายแก่อาตมา นิพพานมิได้มีอุปมาในที่ไหนๆ.

[๖๐๔] ดูก่อนปิงคิยะ ท่านอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้น ซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน แม้ครู่หนึ่งหรือหนอ.

[๖๐๕] คำว่า... อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น... หรือหนอ ความว่า ย่อมอยู่ปราศ คือ หลีกไป ไปปราศ เว้นจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น หรือหนอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น หรือหนอ.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 468

[๖๐๖] คำว่า ดูก่อนปิงคิยะ... แม้ครู่หนึ่ง ความว่า แม้ครู่หนึ่ง ขณะหนึ่ง พักหนึ่ง ส่วนหนึ่ง วันหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ครู่หนึ่ง พาวรีพราหมณ์เรียกพระเถระผู้เป็นหลานนั้นโดยชื่อว่า ปิงคิยะ.

[๖๐๗] คำว่า ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ ความว่า ผู้โคดมซึ่งมีปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีญาณเป็นเครื่องปรากฏ มีปัญญาเป็นดังธงชัย มีปัญญาดังธงนำหน้า มีปัญญาเป็นอธิบดี มีความเลือกเฟ้นมาก มีความเลือกเฟ้นทั่วไปมาก มากด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณาพร้อม มีธรรมเป็นเครื่องอยู่แจ่มแจ้ง ทรงประพฤติในธรรมนั้น มีปัญญามาก หนักอยู่ด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา โอนไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา มีปัญญาเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้โคดมซึ่งมีปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ.

[๖๐๘] แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ ในอุเทศว่า โคตมา ภูริเมธสา ดังนี้ พระโคดมประกอบด้วยปัญญาอันไพบูลย์ กว้างขวางเสมอด้วยแผ่นดิน ปัญญา ความรู้ กิริยาที่รู้ ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า เมธา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยปัญญาเป็นเมธานี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้โคดมซึ่งมีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์พาวรีนั้น จึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 469

ดูก่อนปิงคิยะ ท่านอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้น ซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน แม้ครู่หนึ่งหรือหนอ.

[๖๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตรัสหา อันไม่มีอันตรายแก่ท่าน นิพพานมิได้มีอุปมาในที่ไหนๆ.

[๖๑๐] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย เต ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น และทรงถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญ ในพลธรรมทั้งหลาย.

คำว่า ธมฺมํ ในอุเทศว่า โย เม ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก... ทรงประกาศแล้วซึ่งพรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น ฯลฯ และปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม... แก่ท่าน.

[๖๑๑] คำว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ความว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง... อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้... มิได้มีกาลอื่นคั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 470

มนุษย์ทั้งหลายลงทุนทรัพย์ตามกาลอันควร... ย่อมไม่ได้ในปรโลก ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.

[๖๑๒] รูปตัณหา... ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหกขยมนีติกํ ดังนี้. คำว่า ตณฺหกฺขยํ ความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา... เป็นที่สิ้นวัฏฏะ กิเลส ขันธ์และอภิสังขาร ท่านกล่าวว่าอันตราย ในบทว่า อนีติกํ ดังนี้ เป็นที่ละ... เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย.

[๖๑๓] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺส นตฺถิ อุปมา กฺวจิ ดังนี้ ได้แก่ นิพพาน. คำว่า ไม่มีอุปมา ความว่า ไม่มีอุปมา... ไม่ประจักษ์. คำว่า ในที่ไหนๆ ความว่า ในที่ไหนๆ... หรือทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพานไม่มีอุปมาในที่ไหน เพราะเหตุนั้น พาวรีพราหมณ์จึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหาอันไม่มีอันตรายแก่ท่าน นิพพานมิได้มีอุปมาในที่ไหนๆ.

[๖๑๔] ท่านพราหมณ์ อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้โคดม ซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน แม้ครู่หนึ่ง.

[๖๑๕] คำว่า อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 471

ความว่า อาตมามิได้อยู่ปราศ คือ มิได้หลีกไป มิได้ไปปราศ มิได้เว้นจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

[๖๑๖] คำว่า ท่านพราหมณ์... แม้ครู่หนึ่ง ความว่า แม้ครู่หนึ่ง ขณะหนึ่ง พักหนึ่ง ส่วนหนึ่ง วันหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ครู่หนึ่ง พระปิงคิยเถระเรียกพาวรีพราหมณ์ผู้เป็นลุงด้วยความเคารพว่า ท่านพราหมณ์.

[๖๑๗] คำว่า ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ ความว่า ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ... มีปัญญาเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ.

[๖๑๘] แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ ในอุเทศว่า โคตมา ภูริเมธสา ดังนี้ พระโคดมประกอบด้วยปัญญาอันไพบูลย์กว้างขวางเสมอด้วยแผ่นดิน ปัญญา ความรู้ กิริยาที่รู้ ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า เมธา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป... ทรงประกอบด้วยปัญญาเป็นเมธานี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

ท่านพราหมณ์ อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าผู้โคดม ซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน แม้ครู่หนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 472

[๖๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา อันไม่มีอันตรายแก่อาตมา นิพพานมิได้มีอุปมาในที่ไหนๆ

[๖๒๐] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย เม ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู... และทรงถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.

คำว่า ธมฺมํ ในอุเทศว่า ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก... ทรงประกาศแล้วซึ่งพรหมจรรย์ อันงามในเบื้องต้น... และปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม แก่อาตมา.

[๖๒๑] คำว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ความว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง... อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้... มิได้มีกาลอื่นคั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.

มนุษย์ทั้งหลายลงทุนทรัพย์ตามกาลอันควร... ย่อมไม่ได้ในปรโลก ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 473

[๖๒๒] รูปตัณหา... ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหกฺขยมนีติกํ ดังนี้. คำว่า ตณฺหกฺขยํ ความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา... เป็นที่สิ้นวัฏฏะ กิเลส ขันธ์และอภิสังขาร ท่านกล่าวว่าอันตราย ในบทว่า อนีติกํ ดังนี้ เป็นที่ละ... เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย.

[๖๒๓] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า นตฺถิ อุปมา กฺวจิ ดังนี้ ได้แก่ นิพพาน. คำว่า ไม่มีอุปมา ความว่า ไม่มีอุปมา... ไม่ประจักษ์. คำว่า ในที่ไหนๆ ความว่า ในที่ไหนๆ... หรือทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพาน ไม่มีอุปมาในที่ไหนๆ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา อันไม่มีอันตรายแก่อาตมา นิพพานมิได้มีอุปมาในที่ไหนๆ.

[๖๒๔] ท่านพราหมณ์ อาตมาย่อมเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยจักษุ อาตมาเป็นผู้ไม่ประมาทตลอดคืนและวัน นมัสการอยู่ตลอดคืนและวัน อาตมาย่อมสำคัญการไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล.

[๖๒๕] คำว่า อาตมาย่อมเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยจักษุ ความว่า บุรุษผู้มีนัยน์ตาพึงแลเห็น มองเห็น แลดู

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 474

ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งรูปทั้งหลาย ฉันใด อาตมาแลเห็น มองเห็น แลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาตมาย่อมเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยจักษุ.

[๖๒๖] คำว่า ท่านพราหมณ์... เป็นผู้ไม่ประมาท ตลอดคืนและวัน ความว่า เมื่ออาตมาอบรมด้วยใจ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทตลอดคืนและวัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพราหมณ์... เป็นผู้ไม่ประมาท ตลอดคืนและวัน.

[๖๒๗] คำว่า นมัสการอยู่ ในอุเทศว่า นมสฺสมาโน วิวสามิ รตฺติํ ดังนี้ ความว่า นมัสการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยจิตบ้าง ด้วยการปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์บ้าง ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ คือ ยับยั้งอยู่ตลอดคืนและวัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นมัสการอยู่ตลอดคืนและวัน.

[๖๒๘] คำว่า ย่อมสำคัญการไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้านั่นแหละ ความว่า เมื่ออาตมาเจริญด้วยพุทธานุสสตินั้น จึงสำคัญพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า เป็นผู้ไม่อยู่ปราศ คือ เป็นผู้ไม่อยู่ปราศแล้ว คือ อาตมารู้ ทราบ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้ชัด อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาตมาย่อมสำคัญการไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้านั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

ท่านพราหมณ์ อาตมาย่อมเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยจักษุ อาตมาเป็นผู้ไม่ประมาท

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 475

แล้วตลอดคืนและวัน นมัสการอยู่ตลอดคืนและวัน อาตมาย่อมสำคัญการไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้านั้นนั่นแหละ.

[๖๒๙] ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา ปีติ มนะและสติ ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม พระโคดมผู้มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ย่อมเสด็จไปสู่ทิศใดๆ อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้นๆ นั่นแหละ.

[๖๓๐] ความเชื่อ ความเชื่อถือ ความกำหนด ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ สัทธาพละ ที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ศรัทธา ในอุเทศว่า สทฺธา จ ปีติ จ มโน สติ จ ดังนี้ ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความเบิกบานใจ ความยินดี ความปลื้มใจ ความเป็นผู้มีอารมณ์สูง ความเป็นผู้มีใจสูง ความที่จิตผ่องใสยิ่ง ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ปีติ. จิต ใจ มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า มโน. ความระลึกถึง ฯลฯ ความระลึกชอบ ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สติ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ศรัทธา ปีติ มนะและสติ.

[๖๓๑] คำว่า ธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม ความว่า ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมไม่หายไป ไม่ปราศไป ไม่ละไป ไม่พินาศไป จากศาสนาของพระโคดม คือ จากศาสนาของพระพุทธเจ้า ศาสนาของพระชินเจ้า ศาสนาของพระตถาคต ศาสนาของพระ-

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 476

อรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม.

[๖๓๒] คำว่า สู่ทิศใดๆ ในอุเทศว่า ยํ ยํ ทิสํ วิชฺชติ ภูริปญฺโ ดังนี้ ความว่า พระโคดมเสด็จอยู่ คือ เสด็จไป ทรงก้าวไป เสด็จดำเนินไป สู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือทิศเหนือ.

คำว่า ภูริปญฺโ ความว่า มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน มีปัญญาใหญ่ มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาหนา มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาเร็ว มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระโคดมมีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เสด็จไปสู่ทิศใดๆ.

[๖๓๓] คำว่า อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้นๆ นั่นแหละ ความว่า อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศาภาคที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้นๆ คือ เป็นผู้มีใจเอนไปในทิศนั้น มีใจโอนไปในทิศนั้น มีใจเงื้อมไปในทิศนั้น น้อมใจไปในทิศนั้น มีทิศนั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้นๆ นั่นแหละ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

ธรรมเหล่านั้น คือ ศรัทธา ปีติ มนะและสติ ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม พระโคดมผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ย่อมเสด็จไปสู่ทิศใดๆ อาตมานั้นย่อมเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้นๆ นั่นแหละ.

[๖๓๔] กายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีเรี่ยวแรงทุรพล ไม่ได้ไปในสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับนั้นนั่นแล แต่อาตมาย่อม

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 477

ถึงเป็นนิตย์ด้วยความดำริถึง ท่านพราหมณ์ ใจของอาตมานี่แหละ ประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับอยู่นั้น.

[๖๓๕] คำว่า ผู้แก่แล้ว ในอุเทศว่า ชิณฺณสฺส เม ทุพฺพลถามกสฺส ดังนี้ ความว่า ผู้แก่ ผู้เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล ผ่านวัยไป โดยลำดับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แก่แล้ว.

คำว่า มีเรี่ยวแรงทุรพล ความว่า มีเรี่ยวแรงถอยกำลัง มีเรี่ยวแรงน้อย มีเรี่ยวแรงนิดหน่อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีเรี่ยวแรงทุรพล.

[๖๓๖] คำว่า กาย... ไม่ได้ไปในสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับนั้นนั่นแล ความว่า กายไม่ได้ไป คือ ไม่ไปข้างหน้า ไม่ไปถึง ไม่ได้เข้าไปใกล้ยังสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กาย... ไม่ได้ไปในสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับนั้นนั่นแล.

[๖๓๗] คำว่า ย่อมไปถึงเป็นนิตย์ด้วยความดำริ ความว่า ย่อมไป ย่อมถึง ย่อมเข้าไปใกล้ ด้วยการไปด้วยความดำริถึง ด้วยการไป ด้วยความตรึกถึง ด้วยการไปด้วยญาณ ด้วยการไปด้วยปัญญา ด้วยการไปด้วยความรู้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไปถึงเป็นนิตย์ด้วยความดำริ.

[๖๓๘] จิต ใจ มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน ชื่อว่า มนะ ในอุเทศว่า มโน หิ เม พฺราหฺมณ เตน ยุตฺโต ดังนี้.

คำว่า ท่านพราหมณ์... ประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับนั้น ความว่า ใจของอาตมาประกอบ ประกอบดีแล้วด้วยทิศที่พระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 478

ประทับอยู่นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพราหมณ์ ใจของอาตมานี่แหละประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับนั้น เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

กายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีเรี่ยวแรงทุรพลย่อมไม่ได้ไปในสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับนั้นนั่นแล แต่อาตมาย่อมถึงเป็นนิตย์ด้วยความดำริถึง ท่านพราหมณ์ ใจของอาตมานี่แหละ ประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับอยู่นั้น.

[๖๓๙] อาตมานอนในเปือกตมดิ้นรนอยู่ แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่ง แต่ที่พึ่งภายหลังได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะแล้ว มิได้มีอาสวะ.

[๖๔๐] คำว่า นอนในเปือกตม ในอุเทศว่า ปงฺเก สยาโน ปริผนฺทมาโน ดังนี้ ความว่า นอนอาศัยพลิกไปมาในเปือกตมคือกาม ในหล่มคือกาม ในกิเลสคือกาม ในเบ็ดคือกาม ในความเร่าร้อนเพราะกาม ในความกังวลเพราะกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นอนในเปือกตม.

คำว่า ดิ้นรนอยู่ ความว่า ดิ้นรนอยู่ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วยความดิ้นรนเพราะประโยค ด้วยความดิ้นรนเพราะวิบาก ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต กำหนัดแล้วดิ้นรนเพราะราคะ ขัดเคืองแล้วดิ้นรนเพราะโทสะ หลงแล้วดิ้นรนเพราะโมหะ มานะผูกพันแล้วดิ้นรนอยู่เพราะมานะ ถือมั่นแล้วดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ถึงความฟุ้งซ่านแล้วดิ้นรนเพราะอุทธัจจะ ถึงความไม่ตกลงแล้วดิ้นรนเพราะวิจิกิจฉา ไปโดยเรี่ยวแรงแล้วดิ้นรนเพราะ

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 479

อนุสัย ดิ้นรนเพราะลาภ เพราะความเสื่อมลาภ เพราะยศ เพราะความเสื่อมยศ เพราะนินทา เพราะสรรเสริญ เพราะสุข เพราะทุกข์ ดิ้นรนอยู่เพราะชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ดิ้นรนเพราะทุกข์ในนรก ทุกข์ในกำเนิดเดียรัจฉาน ทุกข์ในเปรตวิสัย ดิ้นรน กระเสือกกระสน หวั่นไหว สะทกสะท้านเพราะทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีความก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูลเหตุ ทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูลเหตุ ทุกข์มีความออกจากครรภ์เป็นมูลเหตุ ทุกข์อันเนื่องด้วยสัตว์ผู้เกิด ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด ทุกข์เพราะความพยายามของตน ทุกข์เพราะความพยายามของผู้อื่น ทุกข์เพราะทุกข์ ทุกข์ในสงสาร ทุกข์เพราะความแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคในนัยน์ตา ทุกข์เพราะโรคในหู ทุกข์เพราะโรคในจมูก ทุกข์เพราะโรคในลิ้น ทุกข์เพราะโรคในกาย ทุกข์เพราะโรคในศีรษะ ทุกข์เพราะโรคที่หู ทุกข์เพราะโรคในปาก ทุกข์เพราะโรคที่ฟัน เพราะโรคไอ เพราะโรคหืด เพราะโรคหวัด เพราะโรคร้อนใน เพราะโรคผอม เพราะโรคในท้อง เพราะโรคสลบ เพราะโรคลงแดง เพราะโรคจุกเสียด เพราะโรคลงท้อง เพราะโรคเรื้อน เพราะโรคฝี เพราะโรคกลาก เพราะโรคมองคร่อ เพราะโรคลมบ้าหมู เพราะโรคหิดด้าน เพราะโรคหิดเปื่อย เพราะโรคคัน เพราะโรคลำบาก เพราะโรคคุดทะราด เพราะโรคลักปิด เพราะโรคดี เพราะโรคเบาหวาน เพราะโรคริดสีดวง เพราะโรคต่อม เพราะโรคบานทะโรค เพราะอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน เพราะอาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน เพราะอาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน เพราะอาพาธเกิดแต่ดีเป็นต้นประชุมกัน เพราะอาพาธเกิดแต่ฤดูแปรไป เพราะอาพาธเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ เพราะ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 480

อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินไป เพราะอาพาธเกิดแก่ผลกรรม เพราะร้อน เพราะหนาว เพราะหิว เพราะระหาย เพราะอุจจาระ เพราะปัสสาวะ เพราะเหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่น้องชายตาย ทุกข์เพราะพี่น้องหญิงตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย ทุกข์เพราะญาติฉิบหาย ทุกข์เพราะโภคทรัพย์ฉิบหาย ทุกข์เพราะความฉิบหายเพราะโรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นอนในเปือกตมดิ้นรนอยู่.

[๖๔๑] คำว่า แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่งแต่ที่พึ่ง ความว่า แล่นไปแล้ว คือ เลื่อนไปแล้ว สู่ศาสดาแต่ศาสดา สู่บุคคลผู้บอกธรรมแต่บุคคลผู้บอกธรรม สู่หมู่แต่หมู่ สู่ทิฏฐิแต่ทิฏฐิ สู่ปฏิปทาแต่ปฏิปทา สู่มรรคแต่มรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่งแต่ที่พึ่ง.

[๖๔๒] คำว่า อถ ในอุเทศว่า อถทฺทสาสิํ สมฺพุทฺธํ ดังนี้ เป็นบทสนธิ. คำว่า อถ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อทฺทสาสิํ ความว่า ได้ประสบ พบ เห็น แทงตลอดแล้ว. คำว่า ซึ่งพระสัมพุทธเจ้า ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นใด ฯลฯ คำว่า พุทฺโธ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในภายหลัง ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า.

[๖๔๓] คำว่า ผู้ข้ามโอฆะแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วง ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ทรงอยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯลฯ มีสงสาร คือ

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 481

ชาติ ชราและมรณะหามิได้ มิได้มีภพต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ข้ามโอฆะแล้ว.

คำว่า ไม่มีอาสวะ ความว่า อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้เเล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ให้มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีอาสวะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้ามโอฆะแล้วไม่มีอาสวะ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

อาตมานอนในเปือกตมดิ้นรนอยู่ แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่ง แต่ที่พึ่งภายหลังได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะแล้ว ไม่มีอาสวะ.

[๖๔๔] พระวักกลิก็ดี พระภัทราวุธะก็ดี พระอาฬวิโคตมะก็ดี เป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อยแล้วฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนปิงคิยะ ท่านจักถึงฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ.

[๖๔๕] คำว่า พระวักกลิก็ดี พระภัทราวุธะก็ดี พระอาฬวิโคตมะก็ดี เป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อยแล้ว ฉันใด ความว่า พระวักกลิมีศรัทธาอันปล่อยไปแล้ว เป็นผู้หนักในศรัทธา มีศรัทธาเป็นหัวหน้า น้อมใจไปด้วยศรัทธา มีศรัทธาเป็นใหญ่ ได้บรรลุอรหัตแล้วฉันใด พระภัทราวุธะ... พระอาฬวิโคตมะมีศรัทธาอันปล่อยไปแล้ว เป็นผู้หนักในศรัทธา มีศรัทธาเป็นหัวหน้า น้อมใจไปด้วยศรัทธา มีศรัทธาเป็น

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 482

ใหญ่ ได้บรรลุอรหัตแล้วฉันใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระวักกลิก็ดี พระภัทราวุธะก็ดี พระอาฬวิโคตมะก็ดี เป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อยแล้วฉันใด.

[๖๔๖] คำว่า แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน ความว่า ท่านจงปล่อย คือ จงปล่อยไปทั่ว จงปล่อยไปพร้อม จงน้อมลง จงกำหนดซึ่งศรัทธาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน.

[๖๔๗] กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ ในอุเทศว่า คมิสฺสสิ (ตฺวํ) ปิงฺคิย มจฺจุเธยฺยสฺส ปารํ ดังนี้ อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัด ตรัสว่า ฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ. คำว่า ดูก่อนปิงคิยะ ท่านจักถึงฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ ความว่า ท่านจักถึง คือ จักลุถึง ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนปิงคิยะ ท่านจักถึงฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระวักกลิก็ดี พระภัทธราวุธะก็ดี พระอาฬวิโคตมะก็ดี เป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อยแล้วฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนปิงคิยะ ท่านจักถึงฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 483

[๖๔๘] ข้าพระองค์นี้ ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว ย่อมเสื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมพุทธเจ้ามีเครื่องมุงอันเปิดแล้ว ไม่มีหลักตอ เป็นผู้มีปฏิภาณ.

[๖๔๙] คำว่า ข้าพระองค์นี้... ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง ความว่า ข้าพระองค์นี้ย่อมเลื่อมใส ย่อมเชื่อ น้อมใจเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์นี้... ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง.

[๖๕๐] ญาณ ปัญญา ความรู้ทั่ว ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ในอุเทศว่า สุตฺวาน มุนิโน วโจ ดังนี้ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังข่าย จึงชื่อว่า เป็นมุนี.

คำว่า ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี ความว่า ฟัง สดับ ศึกษา ทรงจำ เข้าไปกำหนดแล้วซึ่งพระดำรัส คำเป็นทาง เทศนา อนุสนธิของพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี.

[๖๕๑] เครื่องมุง ๕ อย่าง คือ ตัณหา ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต อวิชชา ชื่อว่า เครื่องมุง ในอุเทศว่า วิวฏจฺฉโท สมฺพุทฺโธ ดังนี้ เครื่องมุงเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงเปิดแล้ว คือ ทรงรื้อแล้ว ทรงถอนแล้ว ทรงละแล้ว ทรงตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า มีเครื่องมุงอันเปิดแล้ว.

คำว่า พระพุทธเจ้า ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 484

พระนามว่า พุทฺโธ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระสัมพุทธเจ้ามีเครื่องมุงอันเปิดแล้ว.

[๖๕๒] ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นหลักตอ ในคำว่า ไม่มีหลักตอ ในอุเทศว่า อขิโล ปฏิภาณวา ดังนี้ หลักตอเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ให้มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีหลักตอ.

บุคคลผู้มีปฏิภาณในคำว่า ปฏิภาณวา ดังนี้ มี ๓ จำพวก คือ ผู้มีปฏิภาณในปริยัติ ๑ ผู้มีปฏิภาณในปริปุจฉา ๑ ผู้มีปฏิภาณในอธิคม ๑.

ผู้มีปฏิภาณในปริยัติเป็นไฉน พุทธวจนะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ อันบุคคลบางคนในศาสนานี้เล่าเรียนแล้ว ปฏิภาณของบุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ บุคคลนี้ชื่อว่า มีปฏิภาณในปริยัติ.

ผู้มีปฏิภาณในปริปุจฉาเป็นไฉน บุคคลบางคนในศาสนานี้เป็นผู้สอบถาม ในอรรถ ในมรรค ในลักขณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ ปฏิภาณของบุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริปุจฉา บุคคลนี้ชื่อว่า มีปฏิภาณในปริปุจฉา.

ผู้มีปฏิภาณในอธิคมเป็นไฉน บุคคลบางคนในศาสนานี้เป็นผู้บรรลุซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้อรรถแล้ว ธรรมก็รู้แล้ว นิรุตติก็รู้

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 485

แล้ว เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติก็แจ่มแจ้ง ญาณในฐานะ ๓ นี้เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าไปถึง ไปถึงพร้อม มาถึง มาถึงพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ทรงประกอบด้วยปฏิสัมภิทานี้ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า มีปฏิภาณ บุคคลใดไม่มีปริยัติ ปริปุจฉาก็ไม่มี อธิคมก็ไม่มี ปฏิภาณของบุคคลนั้นจักแจ่มแจ้งได้อย่างไร เพราะฉะนั้น พระสัมพุทธเจ้าจึงชื่อว่า ไม่มีหลักตอ มีปฏิภาณ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

ข้าพระองค์นี้ ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมพุทธเจ้ามีเครื่องมุงอันเปิดแล้ว ไม่มีหลักตอ เป็นผู้มีปฏิภาณ.

[๖๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักแล้วซึ่งธรรมอันทำให้เป็นอธิเทพ ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นผู้ประเสริฐ พระศาสดาทรงทำซึ่งส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้.

[๖๕๔] คำว่า เทพ ในอุเทศว่า อธิเทเว อภิญฺาย ดังนี้ ได้แก่เทพ ๓ จำพวก คือ สมมติเทพ ๑ อุปปัตติเทพ ๑ วิสุทธิเทพ ๑.

สมมติเทพเป็นไฉน พระราชาก็ดี พระราชกุมารก็ดี พระเทวีก็ดี เทพจำพวกนี้ท่านกล่าวว่า สมมติเทพ.

อุปปัตติเทพเป็นไฉน เทวดาชาวจาตุมหาราชิกาก็ดี พวกเทวดา

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 486

ชาวดาวดึงส์ก็ดี ฯลฯ เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหมก็ดี เทวดาสูงขึ้นไปกว่านั้นก็ดี เทพจำพวกนี้ท่านกล่าวว่า อุปปัตติเทพ.

วิสุทธิเทพเป็นไฉน พระตถาคต พระอรหันตขีณาสพ และพระปัจเจกพุทธเจ้า เทพจำพวกนี้ท่านกล่าวว่า วิสุทธิเทพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักแล้ว คือ ทรงทราบแล้ว ทรงเทียบเคียงแล้ว ทรงพิจารณาแล้ว ทรงให้เเจ่มแจ้งแล้ว ทรงทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งสมมติเทพว่าอธิเทพ ซึ่งอุปปัตติเทพว่าอธิเทพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงรู้จักแล้วซึ่งอธิเทพทั้งหลาย.

[๖๕๕] คำว่า ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นผู้ประเสริฐ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้ว คือ ทรงรู้ทั่วถึงแล้ว ได้ทรงถูกต้องแล้ว ทรงแทงตลอดแล้ว ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นอธิเทพ.

ธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพเป็นไฉน ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบความเพียรในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพ.

ธรรมอันทำผู้อื่นให้เป็นอธิเทพเป็นไฉน ความปฏิบัติชอบ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า ธรรมอันทำผู้อื่นให้เป็นอธิเทพ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้ว คือทรงรู้ทั่วแล้ว ได้ทรงถูกต้องแล้ว

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 487

ทรงแทงตลอดแล้ว ซึ่งธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นอธิเทพ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นผู้ประเสริฐ.

[๖๕๖] คำว่า พระศาสดาทรงทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำส่วนสุด ทรงทำส่วนสุดรอบ ทรงทำความกำหนด ทรงทำความจบ แห่งปัญหาของพวกพราหมณ์ผู้แสวงหาธรรมเครื่องถึงฝั่ง ปัญหาของพวกพราหมณ์บริษัท ปัญหาของปิงคิยพราหมณ์ ปัญหาของท้าวสักกะ ปัญหาของอมนุษย์ ปัญหาของภิกษุ ปัญหาของภิกษุณี ปัญหาของอุบาสก ปัญหาของอุบาสิกา ปัญหาของพระราชา ปัญหาของกษัตริย์ ปัญหาของพราหมณ์ ปัญหาของแพศย์ ปัญหาของศูทร ปัญหาของพรหม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย.

คำว่า พระศาสดา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก นายหมู่ย่อมพาพวกให้ข้ามกันดารคือ ให้ข้ามผ่านพ้นกันดารคือโจร กันดารคือสัตว์ร้าย กันดารคือทุพภิกขภัย กันดารคือที่ไม่มีน้ำ ให้ถึงภูมิสถานปลอดภัยฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก ย่อมนำสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามกันดารคือ ให้ข้ามผ่านพ้นกันดารคือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส และกันดารคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลสและทุจริต และที่รกชัฏคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ให้ถึงอมตนิพพานอันเป็นภูมิสถานปลอดภัย ฉันนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า เป็นผู้นำพวก.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 488

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ แนะนำ นำเนืองๆ ให้รู้ชอบ คอยสอดส่อง เพ่งดู ให้เลื่อมใส แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า เป็นผู้นำพวก.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ยังมรรคที่ยังไม่เกิดดีให้เกิดดี ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายเป็นผู้ดำเนินตามมรรค เป็นผู้ประกอบในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า เป็นผู้นำพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระศาสดาผู้ทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย.

[๖๕๗] คำว่า แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้ ความว่า บุคคลทั้งหลายมีความสงสัยมาแล้ว เป็นผู้หายความสงสัยไป มีความยุ่งใจมาแล้ว เป็นผู้หายความยุ่งใจไป มีใจสองมาแล้ว เป็นผู้หายความใจสองไป มีความเคลือบแคลงมาแล้ว เป็นผู้หายความเคลือบแคลงไป มีราคะมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากราคะไป มีโทสะมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากโทสะไป มีโมหะมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากโมหะไป มีกิเลสมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากกิเลสไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้จักแล้วซึ่งธรรมอันทำให้เป็นอธิเทพ ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวง อันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นผู้ประเสริฐ พระศาสดาทรงทำซึ่งสิ้นสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 489

[๖๕๘] นิพพานอันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ ไม่มีอุปมาในที่ไหนๆ ข้าพระองค์จักถึง (อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ) โดยแท้ ความสงสัยในนิพพานนี้มิได้มีแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้.

[๖๕๙] อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า นิพพานอันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ในอุเทศว่า อสํหิรํ อสงฺกุปฺปํ ดังนี้.

คำว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ความว่า อันราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง นำไปไม่ได้ เป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้.

อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า นิพพาน อันไม่กำเริบ ในคำว่า อสงฺกุปฺปํ ดังนี้.

ความเกิดขึ้นแห่งนิพพานใด ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งนิพพานนั้นมิได้มี ย่อมปรากฏอยู่โดยแท้ นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 490

มั่นคง มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้ไม่กำเริบ.

[๖๖๐] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺส นตฺถิ อุปมา กฺวจิ ดังนี้ ได้แก่ นิพพาน. คำว่า ไม่มีอุปมา ความว่า ไม่มีอุปมา ไม่มีข้อเปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอ ไม่มีอะไรเปรียบ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีอุปมา.

คำว่า ในที่ไหนๆ ความว่า ในที่ไหนๆ ในที่ไรๆ ในที่บางแห่ง ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพานไม่มีอุปมาในที่ไหนๆ.

[๖๖๑] คำว่า จักถึงโดยแท้ ในอุเทศว่า อทฺธา คมิสฺสามิ น เมตฺถ กงฺขา ดังนี้ ความว่า จักถึง คือ จักบรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จักถึงโดยแท้.

คำว่า ความสงสัยในนิพพานนั้นมิได้มีแก่ข้าพระองค์ ความว่า ความสงสัย ความลังเลใจ ความไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง ในนิพพานนั้น มิได้มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ ความสงสัยนั้นอันข้าพระองค์ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์จักถึงโดยแท้ ความสงสัยในนิพพานนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์.

[๖๖๒] คำว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นผู้มีจิตน้อมไปอย่างนี้ ในอุเทศว่า เอวํ มํ ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺตํ ดังนี้ ความว่า ขอพระองค์โปรดทรงกำหนดข้าพระองค์อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 491

คำว่า มีจิตน้อมไป ความว่า เป็นผู้เอนไปในนิพพาน โอนไปในนิพพาน เงื้อมไปในนิพพาน น้อมจิตไปในนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่ามีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

นิพพานอันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ ไม่มีอุปมาในที่ไหนๆ ข้าพระองค์จักถึง (อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ) โดยแท้ ความสงสัยในนิพพานนี้มิได้มีแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้.

จบปารายนวรรค

อรรถกถาโสฬสมาณวกปัญหานิทเทส

ต่อแต่นี้ไป พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญเทศนา จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อิทมโวจ ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนี้แล้ว ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิทมโวจ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ปารายนสูตรนี้แล้ว.

บทว่า ปริจาริกโสฬสนฺนํ คือ พราหมณ์ ๑๖ คน พร้อมกับท่านปิงคิยะผู้เป็นบริวารของพาวรีพราหมณ์. หรือพราหมณ์ ๑๖ คนผู้เป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ. คือพราหมณ์นั้น นั่นเอง. ณ ที่นั้น บริษัท ๑๖ นั่งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย และข้างขวา ๖ โยชน์ นั่งตรงไป ๑๒ โยชน์.

บทว่า อชฺฌิฏฺโ ทูลเชื้อเชิญ

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 492

คือ ทูลวิงวอน.

บทว่า อตฺถมญฺาย รู้ทั่วถึงอรรถ คือ รู้ทั่วถึงอรรถแห่งบาลี.

บทว่า ธมฺมมญฺาย รู้ทั่วถึงธรรม คือ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งบาลี.

บทว่า ปารายนํ เป็นชื่อของธรรมปริยายนี้.

มาณพทั้งหลาย เมื่อจะประกาศชื่อของพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวว่า อชิโต ฯลฯ พุทฺธเสฏฺมุปาคมุํ มาณพทั้งหลาย คือ อชิตะ ฯลฯ ได้พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนจรณํ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจรณะถึงพร้อมแล้ว คือ ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปาติโมกข์ศีลเป็นต้น อันเป็นปทัฏฐานแห่งนิพพาน.

บทว่า อิสิํ คือ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปาคมิํสุ มาเฝ้า คือ เข้าไปใกล้.

บทว่า อุปสงฺกมิํสุ เข้ามาเฝ้า คือ เข้าไปไม่ไกล.

บทว่า ปยิรุปาสิํสุ เข้ามานั่งใกล้ คือ นั่งในที่ใกล้.

บทว่า ปริปุจฺฉิํสุ คือ ทูลถามแล้ว.

บทว่า ปริปญฺหิํสุ คือ สอบถามแล้ว.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โจทยิํสุ คือ สอบถาม.

บทว่า สีลาจารนิปฺผตฺติ คือ ความสำเร็จแห่งศีลและอาจาระอันสูงสุด. อธิบายว่า ศีลสำเร็จด้วยมรรค.

บทว่า คมฺภีเร ที่ลึก เป็นคำตรงกันข้ามกับความเป็นธรรมง่าย.

บทว่า ทุทฺทเส เห็นได้ยาก คือ ชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึก ไม่สามารถจะเห็นได้ง่าย.

บทว่า ทุรนุโพเธ รู้ได้ยาก คือ ชื่อว่ารู้ได้ยาก เพราะเห็นได้ยาก คือตรัสรู้ได้ยาก ไม่สามารถจะตรัสรู้ได้ง่าย.

บทว่า สนฺเต สงบ คือ ดับ.

บทว่า ปณีเต ประณีต คือ ถึงความเป็นเลิศ.

ทั้งสองบทนี้ท่านกล่าวหมายถึงโลกุตรธรรมอย่างเดียว.

บทว่า อตกฺกาวจเร ไม่พึงหยั่งลงได้ด้วยความตรึก คือ ไม่พึงหยั่งลงได้ด้วยญาณเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 493

บทว่า นิปุเณ คือ ละเอียดอ่อน.

บทว่า ปณฺฑิตเวทนีเย คือ อันบัณฑิตผู้ปฏิบัติชอบพึงรู้ได้.

บทว่า โตเสสิ ทรงให้ยินดี คือ ให้ถึงความยินดี.

บทว่า วิโตเสสิ ให้ยินดียิ่ง คือ ให้เกิดโสมนัสหลายๆ อย่าง.

บทว่า ปสาเทสิ ให้เลื่อมใส คือ ได้ทำให้พราหมณ์เหล่านั้นมีจิตเลื่อมใส.

บทว่า อาราเธสิ ให้พอใจ คือ ให้ยินดี ให้ถึงความสำเร็จ.

บทว่า อตฺตมเน อกาสิ ทำให้พอใจ คือ ทำให้เบิกบานด้วยโสมนัส.

ต่อไป บทว่า พฺรหฺมจริยมจริํสุ คือ ได้ประพฤติมรรคพรหมจรรย์.

เพราะฉะนั้น บทว่า ปารายนํ เป็นอันท่านกล่าวถึงทางแห่งนิพพาน อันเป็นฝั่งแห่งมรรคพรหมจรรย์นั้น.

พึงเชื่อมว่า ปารายนมนุภาสิสฺสํ เราจักกล่าวปารายนสูตร.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปารายนสูตรแล้ว ชฎิล ๑๖,๐๐๐ คนได้บรรลุพระอรหัต. เทวดาและมนุษย์นับได้ ๑๔ โกฏิ ที่เหลือได้ตรัสรู้ธรรม.

สมดังที่โบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า

พระพุทธเจ้ายังเทวดาและมนุษย์ ๑๔ โกฏิ ให้บรรลุอมตธรรม ณ ปารายนสมาคม อันรื่นรมย์ที่ปาสาณกเจดีย์.

เมื่อจบพระธรรมเทศนา พวกมนุษย์มาจากที่นั้นๆ ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ปรากฏในคามและนิคมเป็นต้นของตนๆ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุ ๑๖,๐๐๐ รูป แวดล้อม ก็ได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี.

ณ ที่นั้น ท่านปิงคิยะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะไปบอกพาวรีพราหมณ์ ถึงการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า เพราะข้าพระองค์ปฏิญาณไว้แก่พาวรีพราหมณ์นั้น. ลำดับนั้น ท่านปิงคิยะได้รับอนุญาตจากพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 494

แล้ว ได้ไปถึงฝั่งโคธาวรีด้วยยานพาหนะ แล้วจึงเดินไปด้วยเท้ามุ่งหน้าไปยังอาศรม.

พาวรีพราหมณ์นั่งแลดูต้นทาง เห็นท่านปิงคิยะปราศจากหาบและชฎา เดินมาด้วยเพศของภิกษุ ก็สันนิษฐานเอาว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลก จึงถามท่านปิงคิยะเมื่อไปถึงแล้วว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลกหรือ.

ท่านปิงคิยะตอบว่า ถูกแล้วพราหมณ์ พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ ปาสาณกเจดีย์ ทรงแสดงธรรมแก่พวกเรา. พาวรีพราหมณ์บอกว่า ข้าพเจ้าจักฟังธรรมของท่าน. ลำดับนั้นพาวรีพราหมณ์พร้อมด้วยบริษัท บูชาท่านปิงคิยะด้วยสักการะเป็นอันมาก แล้วให้ปูอาสนะ. ท่านปิงคิยะนั่งบนอาสนะนั้นแล้วกล่าวคำเป็นอาทิว่า ปารายนมนุคายิสฺสํ ข้าพเจ้าจักขับตามเพลงขับ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุคายิสฺสํ คือ ข้าพเจ้าจักขับตามเพลงขับของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า ยถา อทฺทกฺขิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอย่างใด คือ ทรงเห็นเองด้วยการตรัสรู้จริง และด้วยญาณอันไม่ทั่วไป.

บทว่า นิกฺกาโม มิได้มีกาม คือ ละกามได้แล้ว.

ปาฐะว่า นิกฺกโม บ้าง. คือมีความเพียร. หรือออกจากธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล.

บทว่า นิพฺพโน มิได้มีป่า คือ ปราศจากป่าคือกิเลส หรือปราศจากตัณหานั่นเอง.

บทว่า กิสฺส เหตุ มุสา ภเณ บุคคลพึงพูดเท็จเพราะเหตุอะไร ท่านปิงคิยะแสดงว่า บุคคลพึงพูดเท็จด้วยกิเลสเหล่าใด บุคคลนั้นละกิเลสเหล่านั้นเสีย. ท่านปิงคิยะยังความอุตสาหะในการฟังให้เกิดแก่พราหมณ์ด้วยบทนี้.

บทว่า อมโล ไม่มีมลทิน คือ ปราศจากมลทินคือกิเลส.

บทว่า วิมโล หมดมลทิน คือ มีมลทินคือกิเลสหมดไป.

บทว่า นิมฺมโล ไร้มลทิน

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 495

คือ บริสุทธิ์จากมลทินคือกิเลส.

บทว่า มลาปคโต ปราศจากมลทิน คือ เที่ยวไปไกลจากมลทินคือกิเลส.

บทว่า มลวิปฺปหีโน ละมลทิน คือ ละมลทินคือกิเลส.

บทว่า มลวิปฺปมุตฺโต พ้นแล้วจากมลทิน คือ พ้นแล้วจากกิเลส.

บทว่า สพฺพมลวีติวตฺโต ล่วงมลทินทั้งปวงได้แล้ว คือ ล่วงมลทินคือกิเลสทั้งปวงมีวาสนาเป็นต้น.

บทว่า เต วนา ป่าเหล่านั้น คือ กิเลสดังได้กล่าวแล้วเหล่านั้น.

บทว่า วณฺณูปสญฺหิตํ คือ ประกอบด้วยคุณ.

บทว่า สจฺจวฺหโย มีพระนามจริง คือ ประกอบด้วยพระนามจริงที่เรียกกันว่า พุทฺโธ ดังนี้.

บทว่า พฺรหฺเม คือ เรียกพราหมณ์นั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โลโก ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าสลายไป.

บทว่า เอโก โลโก ภวโลโก โลกหนึ่ง ได้แก่โลกคือภพ คือวิบาก อันเป็นไปในภูมิ ๓. ชื่อว่า ภพ เพราะมีวิบากนั้น. โลกคือภพนั่นแล ชื่อว่า ภวโลก.

ในบทว่า ภวโลโก จ สมฺภวโลโก จ นี้ โลกหนึ่งๆ มีอย่างละสองๆ.

ภวโลกมีสองอย่าง ด้วยอำนาจแห่งสัมปัตติภพและวิปัตติภพ.

แม้สัมภวโลกก็มีสอง คือ สัมปัตติสมภพและวิปัตติสมภพ.

ในโลกเหล่านั้น โลกคือสัมปัตติภพ ได้แก่ สุคติโลก. ชื่อว่า สัมปัตติ เพราะโลกนั้นดี เพราะมีผลที่น่าปรารถนา. ชื่อว่า ภพ เพราะมี เพราะเป็น. ภพ คือสัมปัตตินั่นแล ชื่อว่า สัมปัตติภพ. โลกนั้นนั่นแล ชื่อว่า โลกคือสัมปัตติภพ.

โลกคือสัมปัตติสมภพ ได้แก่ กรรมที่ให้เข้าถึงสุคติ. ชื่อว่า สมภพ เพราะมีผลเกิดจากกรรมนั้น. การเกิดขึ้นแห่งสมบัติ ชื่อว่าสัมปัตติสมภพ. โลกคือสัมปัตติสมภพนั่นแล ชื่อว่าโลกคือสมบัติสมภพ.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 496

โลกคือวิปัตติภพ ชื่อว่า อบายโลก.

จริงอยู่ อบายโลกนั้น ชื่อว่า วิปัตติ เพราะโลกนั้นน่าเกลียด เพราะมีผลที่ไม่น่าปรารถนา. ชื่อว่าภพ เพราะมีเพราะเป็น ภพคือวิบัตินั้นแล ชื่อว่า วิปัตติภพ. โลกคือวิปัตติภพนั่นแล ชื่อว่าโลกคือวิปัตติภพ.

โลกคือวิปัตติสมภพ ได้แก่ กรรมที่ให้เข้าถึงอบาย.

จริงอยู่ กรรมที่ให้เข้าถึงอบายนั้น ชื่อว่า สมภพ เพราะมีผลเกิดจากกรรมนั้น. ความสมภพแห่งวิบัติ ชื่อว่า วิปัตติสมภพ. โลกคือวิปัตติสมภพนั่นแล ชื่อว่า โลกคือวิบัติสมภพ.

บทว่า ติสฺโส เวทนา คือ เวทนา ๓ ได้แก่ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เป็นโลกิยะเท่านั้น.

บทว่า อาหารา อาหาร คือ ปัจจัย.

จริงอยู่ ปัจจัยเรียกว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งผลของตน. อาหารมี ๔ คือ กวฬิงการาหาร ๑ ผัสสาหาร ๑ มโนสัญเจตนาหาร ๑ วิญญาณาหาร ๑.

ชื่อว่า กวฬิงการะ เพราะควรทำให้เป็นคำด้วยวัตถุ. ชื่อว่า อาหาร เพราะควรกลืนกินได้. บทนี้เป็นชื่อของโอชะอันเป็นวัตถุมีข้าวสุก และขนมเป็นต้น. โอชานั้นชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งรูปทั้งหลายอันมีโอชะเป็นที่ ๘.

ผัสสะ ๖ อย่าง มีจักษุสัมผัสเป็นต้น ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งเวทนา ๓.

ชื่อว่า มโนสัญเจตนา เพราะเป็นสัญเจตนาของใจ ไม่ใช่ของสัตว์. เหมือนเอกัคคตาของจิต หรือว่าสัญเจตนาที่สัมปยุตกับใจ ชื่อว่า มโนสัญเจตนา. เหมือนรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย. คือกุศลเจตนาและอกุศลเจตนาอันเป็นไปในภูมิ ๓. ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งภพ ๓.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 497

บทว่า วิญฺาณํ คือ ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ ประเภท. วิญญาณนั้นชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งนามรูปในขณะปฏิสนธิ.

บทว่า อุปาทานกฺขนฺธา คือ ขันธ์อันเกิดจากอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทานขันธ์. พึงเห็นว่าเป็นศัพท์ที่ลบคำในท่ามกลางเสีย. หรือขันธ์ทั้งหลายมีเพราะอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทานขันธ์. เหมือนไฟเกิดแต่หญ้า ไฟเกิดแต่แกลบ. หรือขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทานขันธ์. เหมือนบุรุษของพระราชา (ราชบุรุษ). หรือขันธ์ทั้งหลายมีอุปาทานเป็นแดนเกิด ชื่อว่า อุปาทานขันธ์. เหมือนดอกของต้นไม้ ผลของต้นไม้.

อนึ่ง อุปาทานมี ๔ คือ กามุปาทาน ถือมั่นกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน ถือมั่นทิฏฐิ ๑ สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลและพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน ถือมั่นวาทะว่าตน ๑. แต่โดยอรรถ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะการถือไว้อย่างมั่นคง.

อุปาทานขันธ์มี ๕ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.

บทว่า ฉ อชฺฌตฺติกานิ อายตนานิ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ. วิญญาณฐิติ ๗ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. โลกธรรม ๘ ก็เหมือนกัน.

โลกธรรม ๘ เหล่านี้ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ ชื่อว่า โลกธรรม เพราะเมื่อโลกยังเป็นไปอยู่ ธรรมเหล่านี้ก็หมุนเวียนไปตามโลก. ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายไม่พ้นไปจากโลกธรรมเหล่านั้นได้. ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 498

โลกธรรม ๘ เหล่านี้ย่อมเป็นไปตามโลก และโลกก็ย่อมเป็นไปตามโลกธรรม ๘ เหล่านี้ โลกธรรม ๘ คืออะไร คือ ลาภ เสื่อมลาภ ฯลฯ สุข และทุกข์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือ ย่อมติดตาม ไม่ละ. อธิบายว่า ไม่กลับออกไปจากโลก.

บทว่า ลาโภ ลาภของบรรพชิตมีจีวรเป็นต้น ของคฤหัสถ์มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น. เมื่อไม่ได้ลาภนั้น ก็ชื่อว่า เสื่อมลาภ. ท่านกล่าวว่าไม่มีลาภ ชื่อว่า เสื่อมลาภ ไม่พึงกำหนดเอาแค่ถึงความไม่มีประโยชน์.

บทว่า ยโส คือ บริวารยศ. เมื่อไม่ได้บริวารยศนั้น ชื่อว่า เสื่อมยศ.

บทว่า นินฺทา คือ กล่าวโทษ.

บทว่า ปสํสา คือ กล่าวถึงคุณ.

บทว่า สุขํ ได้แก่ กายิกสุข คือสุขทางกาย และเจตสิกสุข คือสุขทางใจ ของเหล่ากามาวจรบุคคลทั้งหลาย.

บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจของปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทากามี. พระอนาคามีและพระอรหันต์ มีทุกข์ทางกายเท่านั้น.

บทว่า สตฺตาวาสา คือ ที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย. อธิบายว่า ที่เป็นที่อยู่. ที่อยู่เหล่านั้นเหมือนขันธ์ทั้งหลายที่ประกาศไว้แล้ว. ในวิญญาณฐิติ ๗ กับด้วยอสัญญสัตตภูมิ ๑ และเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ๑ จึงเป็นสัตตาวาส ๙.

บทว่า ทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ ๑๐ คือ จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ.

บทว่า ทฺวาทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ ๑๐ กับด้วยมนายตนะ ๑ และธรรมายตนะ ๑.

บทว่า อฏฺารส ธาตุโย ได้แก่ ธาตุ ๑๘ เพราะกระทำธาตุหนึ่งๆ ให้เป็นอย่างละ ๓ๆ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ จนถึงมโนธาตุธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 499

บทว่า สาทินาโม คือ มีพระนามเช่นเดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น.

บทว่า สทิสนาโม คือ มีพระนามแสดงคุณอย่างเดียวกัน.

บทว่า สทิสวฺหโย คือ มีพระนามเรียกชื่อโดยคุณเป็นอันเดียวกัน.

บทว่า สจฺจสทิสวฺหโย มีพระนามเหมือนนามจริง คือ มีพระนามไม่วิปริต แสดงถึงพระคุณเป็นเอกแท้จริง.

บทว่า อาสิโต นั่ง คือ เข้าไปหา.

บทว่า อุปาสิโต เข้าไปนั่ง คือ เข้าไปคบ.

บทว่า ปยิรุปาสิโต นั่งใกล้ คือ เข้าไปหาด้วยความภักดี.

บทว่า กุพฺพนกํ คือ ป่าเล็ก.

บทว่า พหุปฺผลํ กานนมาวเสยฺย อาศัยป่าใหญ่ที่มีผลไม้มาก คือ อยู่อาศัยป่าที่เต็มไปด้วยผลไม้หลายชนิด.

บทว่า อปฺปทเส คือ ผู้มีปัญญาน้อยนับตั้งแต่พราหมณ์พาวรี.

บทว่า มโหทธิํ มีน้ำมาก คือ สระใหญ่มีสระอโนดาตเป็นต้น.

บทว่า อปฺปทสฺสา คือ เป็นผู้มีปัญญาอ่อน.

บทว่า ปริตฺตทสฺสา คือ เป็นผู้มีปัญญาอ่อนมาก.

บทว่า โถกทสฺสา มีปัญญาเล็กน้อย คือ มีปัญญาน้อยยิ่งกว่าน้อย.

บทว่า โอมกทสฺสา คือ มีปัญญาต่ำช้า.

บทว่า ลามกทสฺสา มีปัญญาลามก คือ โง่ถึงที่สุด.

บทว่า ชตุกฺกทสฺสา มีปัญญาทราม คือ มีปัญญาต่ำ โง่ที่สุด.

บทว่า อปฺปมาณทสฺสํ (๑) เห็นพระนิพพานอันเป็นอัปปมาณธรรม (๒) เพราะก้าวล่วงปมาณธรรม. (๓)

บทว่า อคฺคทสฺส มีปัญญาเลิศ คือ เห็นธรรมอันเลิศโดยนัยมีอาทิว่า อคฺคโต ปสนฺนานํ คือ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นเลิศ.

บทว่า เสฏฺทสฺสํ มีปัญญาประเสริฐ คือ มีปัญญาประเสริฐโดยนัยมีอาทิว่า สมฺพุทฺโธ ทิปทํ เสฏฺโ พระพุทธเจ้าประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้า.

สี่บทมีอาทิว่า วิเสฏฺทสฺสํ มีปัญญา


(๑) คำนี้ไม่มีในบาลี.

(๒) ได้แก่โลกุตรธรรม.

(๓) ได้แก่โลกิยธรรม.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 500

วิเศษ เพิ่มอุปสัคลงไป.

บทว่า อสมํ ไม่มีผู้เสมอ คือ เป็นพระสัพพัญญู หาผู้เสมอมิได้.

บทว่า อสมสมํ สมกับไม่มีผู้เสมอ คือ สมกับพระพุทธเจ้าในอดีตซึ่งไม่มีผู้เสมอ.

บทว่า อปฺปฏิสมํ คือ ไม่มีผู้เสมอกับพระองค์.

บทว่า อปฺปฏิภาคํ ไม่มีผู้เปรียบเทียบ คือ เว้นจากรูปเปรียบของพระองค์.

บทว่า อปฺปฏิปุคฺคลํ หาใครเปรียบมิได้ คือ ปราศจากบุคคลผู้เปรียบกับพระองค์.

บทว่า เทวาติเทวํ คือ เป็นเทพยิ่งกว่าแม้วิสุทธิเทพ (คือพระอรหันต์).

ชื่อว่า อุสภะ เป็นผู้องอาจ เพราะอรรถว่า เห็นร่วมกันในอภิมงคล.

ชื่อว่าเป็น บุรุษสีหะ เพราะอรรถว่า ไม่สะดุ้งหวาดเสียว.

ชื่อว่า บุรุษนาค เพราะอรรถว่า ไม่มีโทษ.

ชื่อว่า บุรุษอาชาไนย เพราะอรรถว่า เป็นผู้สูงสุด.

ชื่อว่า เป็นบุรุษแกล้วกล้า เพราะอรรถว่า เหยียบแผ่นดินคือบริษัท ๘ แล้วตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่หวั่นไหวด้วยปัจจามิตรที่เป็นศัตรูไรๆ ในโลก พร้อมด้วยเทวโลก.

ชื่อว่า เป็นบุรุษผู้นำธุระไป เพราะอรรถว่า นำธุระคือพระธรรมเทศนาไป.

บทว่า มานสกตสรํ สระที่มนุษย์สร้างไว้ คือสระที่มนุษย์คิดสร้างไว้อันมีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า อโนตตฺตทหํ สระอโนดาต คือ พระจันทร์และพระอาทิตย์เดินไปทางทิศใต้หรือทิศเหนือ ย่อมยังทิศนั้นให้สว่างในระหว่างภูเขา เดินไปตรงย่อมไม่ให้แสงสว่าง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล สระนั้นจึงชื่อว่า อโนดาต. สระอโนดาตเป็นอย่างนี้.

บทว่า อกฺโขพฺภํ อนิโตทกํ มหาสมุทรที่ไม่กำเริบมีน้ำนับไม่ถ้วน คือ ไม่สามารถจะให้น้ำซึ่งนับไม่ถ้วนหวั่นไหวได้.

บทว่า เอวเมว เป็นบทอุปมา. ใครๆ ไม่สามารถให้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหวั่นไหวได้โดยฐานะเป็นผู้องอาจ ดุจมหาสมุทรที่ไม่กำเริบฉะนั้น.

บทว่า อมิตเตชํ

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 501

มีเดชนับไม่ถ้วน คือ มีเดชคือพระญาณนับไม่ถ้วน.

บทว่า ปภินฺนาณํ มีญาณแตกฉาน คือ มีญาณแตกฉานด้วยอำนาจแห่งทศพลญาณเป็นต้น.

บทว่า วิวฏจกฺขุํ มีพระจักษุเปิดแล้ว คือ มีสมันตจักษุ.

บทว่า ปญฺาปเภทกุสลํ ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา คือ ทรงฉลาดในความรู้อันเป็นประเภทแห่งปัญญา โดยนัยมีอาทิว่า รู้ทั่ว รู้ก่อน ค้นคว้า ค้นคว้าทั่ว ดังนี้.

บทว่า อธิคตปฏิสมฺภิทํ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทาแล้ว คือ ทรงได้ปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว.

บทว่า จตุเวสารชฺชปฺปตฺตํ ทรงถึงเวสารัชญาณ ๔ แล้ว คือ ทรงถึงความเป็นผู้กล้าในฐานะ ๔ ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วโดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้เฉพาะ ท่านยังไม่รู้.

บทว่า สุทฺธาธิมุตฺตํ คือ น้อมพระทัยไปในผลสมาบัติอันบริสุทธิ์ คือเข้าไปในผลสมาบัตินั้น.

บทว่า เสตปจฺจตฺตํ มีพระองค์ขาวผ่อง คือ มีอัตภาพพิเศษบริสุทธิ์ เพราะละแม้วาสนาได้แล้ว.

บทว่า อทฺวยภาณิํ มีพระวาจามิได้เป็นสอง คือ ปราศจากพระวาจาเป็นสอง เพราะมีพระวาจากำหนดไว้แล้ว.

บทว่า ตาทิํ เป็นผู้คงที่ คือ เป็นเช่นนั้น หรือไม่หวั่นไหวไปในอารมณ์ ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา.

ชื่อว่า ตถาปฏิญฺา เพราะมีปฏิญญาอย่างนั้น.

บทว่า อปริตฺตกํ คือ ไม่เล็กน้อย.

บทว่า มหนฺตํ เป็นผู้ใหญ่ คือ ถึงความเป็นผู้ใหญ่ล่วงไตรธาตุ.

บทว่า คมฺภีรํ มีธรรมลึก คือ คนอื่นเข้าถึงได้ยาก.

บทว่า อปฺปเมยฺยํ มีคุณธรรมอันใครๆ นับไม่ได้ คือ ชั่งไม่ได้.

บทว่า ทุปฺปริโยคาหํ คือ มีคุณยากที่จะหยั่งถึง.

บทว่า พหุรตนํ มีรัตนะมาก คือ มีรัตนะมาก ด้วยรัตนะมีศรัทธาเป็นต้น.

บทว่า สาครสมํ มีคุณเสมอด้วยสาคร คือ เช่นกับสมุทร เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 502

บทว่า ฉฬงฺคุเปกฺขาย สมนฺนาคตํ ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ คือ บริบูรณ์ด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ โดยนัยที่กล่าวแล้วว่า เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ.

บทว่า อตุลํ ชั่งไม่ได้ คือ ปราศจากการชั่ง ใครๆ ไม่สามารถจะชั่งได้.

บทว่า วิปุลํ มีธรรมไพบูลย์ คือ มีธรรมใหญ่ยิ่ง.

บทว่า อปฺปเมยฺยํ ประมาณมิได้ คือ ไม่สามารถประมาณได้.

บทว่า ตํ ตาทิสํ มีพระคุณเช่นนั้น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยพระคุณคงที่.

บทว่า ปวทตมคฺควาทินํ ตรัสธรรมอันเลิศกว่าพวกที่กล่าว. พึงทราบการเชื่อมความว่า ตรัสธรรมที่ควรบอกกล่าวสูงสุดกว่าพวกที่บอกกล่าว.

บทว่า สิเนรุมิว นคานํ เช่นภูเขาสิเนรุเลิศกว่าภูเขาทั้งหลาย คือ ดุจภูเขาสิเนรุในระหว่างภูเขาทั้งหลาย.

บทว่า ครุฬมิว ทฺวิชานํ คือ ดุจครุฑเลิศกว่านกทั้งหลายฉะนั้น.

บทว่า สีหมิว มิคานํ ดุจสีหะเลิศกว่ามฤคทั้งหลาย คือ ดุจสีหะเลิศในระหว่างสัตว์ ๔ เท้าทั้งหลาย.

บทว่า อุทธิมิว อณฺณวานํ ดุจสมุทรเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลายมากมาย.

บทว่า ชินปวรํ เป็นพระชินะผู้ประเสริฐ คือ เป็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุด.

บทว่า เยเม ปุพฺเพ ในกาลก่อนอาจารย์เหล่าใด.

บทว่า ตมนุทาสิโน คือ ทรงบรรเทาความมืดเสีย ประทับอยู่แล้ว.

บทว่า ภูริปญฺาโณ มีพระปัญญาปรากฏ คือ มีพระญาณเป็นธง.

บทว่า ภูริเมธโส มีพระปัญญาดังแผ่นดิน คือ มีพระปัญญาไพบูลย์.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.

บทว่า ปภงฺกโร ทรงแผ่รัศมี คือ ทรงแผ่พระเดช.

บทว่า อาโลกกโร ทรงแผ่แสงสว่าง คือ ทรงกำจัดความมืด.

บทว่า โอภาสกโร ทรงแผ่โอภาส คือ ทรงแผ่แสงสว่าง.

ชื่อว่า ทีปงฺกโร เพราะทรงแผ่แสงสว่าง

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 503

ดังประทีป.

บทว่า อุชฺโชตกโร ทรงแผ่แสงสว่างสูง คือ ทรงแผ่ความสว่าง.

บทว่า ปชฺโชตกโร ทรงแผ่แสงสว่างโชติช่วง คือ ทรงแผ่แสงสว่างไปทั่วทิศใหญ่ทิศน้อย.

บทว่า ภูริปญฺาโณ มีพระปัญญาปรากฏ คือ มีพระญาณกว้างขวาง.

บทว่า าณปญฺาโณ มีพระญาณปรากฏ คือ ปรากฏด้วยพระญาณ.

บทว่า ปญฺาธโช มีปัญญาเป็นดังธง คือ มีปัญญาดังธง เพราะอรรถว่า ยกขึ้น ดุจในบทมีอาทิว่า ธงเป็นเครื่องปรากฏของรถ.

บทว่า วิภูตวิหารี มีธรรมเป็นเครื่องอยู่แจ่มแจ้ง คือ มีวิหารธรรมปรากฏ.

บทว่า สนฺทิฏฺิกมกาลิกํ คือ อันผู้ประพฤติพึงเห็นผลเอง ไม่ให้บรรลุผลในลำดับกาล.

บทว่า อนีติกํ คือ ปราศจากจัญไรมีกิเลสเป็นต้น.

บทว่า สนฺทิฏฺิกํ อันผู้ประพฤติพึงเห็นเอง คือ อันผู้บรรลุโลกุตรธรรม พึงละธรรมที่พึงถึงด้วยศรัทธาของคนอื่นแล้ว เห็นด้วยตนเอง ด้วยปัจจเวกขณญาณ. พระธรรมนั้นอันผู้ประพฤติพึงเห็นเอง.

ชื่อว่า อกาโล ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะไม่มีกาล หมายถึง การให้ผลของตน.

ไม่ประกอบด้วยกาลนั้นแล ชื่อว่า อกาลิโก. อธิบายว่า อริยมรรคธรรมนั้นย่อมให้ผลของตนในลำดับ (๑) ทีเดียว พระธรรมนั้นไม่ประกอบด้วยกาลนั้น.

ชื่อว่า เอหิปฺสสิโก เพราะควรเรียกให้มาดูเป็นไปอย่างนี้ว่า จงมาดูธรรมนี้เถิด. พระธรรมนั้นควรเรียกให้มาดู.

ชื่อว่า โอปนยิโก เพราะแม้เพ่งถึงผ้าและศีรษะที่ถูกไฟไหม้ก็ย่อมควร น้อมเข้าไปในจิตของตน. พระธรรมนั้นควรน้อมเข้าไป.

ชื่อว่า อันวิญญูชนพึงรู้ด้วย


(๑) คือเมื่ออริยมรรคจิตดับไป ผลจิตเกิดต่อทันที.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 504

ตนเอง เพราะอันบุคคลผู้เป็นอุคฆติตัญญูเป็นต้น แม้ทั้งปวงพึงทราบในตนว่า มรรคเราเจริญแล้ว ผลเราบรรลุแล้ว นิโรธเราทำให้แจ้งแล้ว.

ลำดับนั้น พาวรีพราหมณ์กล่าวสองคาถากะท่านปิงคิยะ มีอาทิว่า กินฺนุ ตมฺหา ดูก่อนปิงคิยะ ท่านอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้ครู่หนึ่งหรือหนอดังนี้.

บทว่า มุหุตฺตมฺปิ คือ แม้หน่อยหนึ่ง.

บทว่า ขณมฺปิ แม้ขณะหนึ่ง คือ แม้ไม่มาก.

บทว่า ลยมฺปิ คือ แม้พักหนึ่ง.

บทว่า วสฺสมฺปิ คือ แม้ส่วนหนึ่ง.

บทว่า อฏฺมฺปิ คือ แม้วันหนึ่ง.

ลำดับนั้น ท่านปิงคิยะ เมื่อจะแสดงถึงการไม่อยู่ปราศจากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า นาหํ ตมฺหา อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

บทว่า โย เม ฯลฯ ปสฺสามิ นํ มนสา จกฺขุนาว คือ อาตมาเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยมังสจักษุ.

บทว่า นมสฺสมาโน วิวเสมิ รตฺติํ คือ อาตมานมัสการอยู่ตลอดคืนและวัน.

บทว่า เตน เตเนว นโต อาตมาเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้นๆ ท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่โดยทิศาภาคใดๆ แม้อาตมาก็นอบน้อมไปโดยทิศาภาคนั้นๆ เอนไปในทิศนั้น โอนไปในทิศนั้น เงื้อมไปในทิศนั้น น้อมไปในทิศนั้น.

บทว่า ทุพฺพลถามกสฺส มีเรี่ยวแรงทุรพล คือ มีกำลังน้อย. อีกอย่างหนึ่ง. มีกำลังน้อยและมีเรี่ยวแรงน้อย. ท่านกล่าวว่ามีกำลังคือความเพียรหย่อน.

บทว่า เตเนว กาโย น ปเนติ คือ กายไม่ได้ไปในสำนักพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล เพราะมีเรี่ยวแรงน้อย.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 505

ปาฐะว่า น ปเลติ บ้าง ความอย่างเดียวกัน.

บทว่า ตตฺถ คือ ในสำนักพระพุทธเจ้านั้น.

บทว่า สงฺกปฺปยนฺตาย ด้วยความดำริ คือ ไปด้วยความดำริ.

บทว่า เตน ยุตฺโต ท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าประทับโดยทิศาภาคใด ใจของอาตมาประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ขวนขวายแล้วโดยทิศาภาคนั้น.

บทว่า เยน พุทฺโธ คือ ควรเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยทิศาภาคใด ไม่ไปโดยทิศาภาคนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า เยน เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ เป็น ยตฺถ ความว่า พระพุทธเจ้าประทับ ณ ที่ใด ไม่ไป ณ ที่นั้น.

บทว่า น วชติ คือ ไม่ไปข้างหน้า.

บทว่า น คจฺฉติ คือ ไม่เป็นไป.

บทว่า นาภิกฺกมติ คือ ไม่เข้าไปหา.

บทว่า ปงฺเก สยาโน คือ นอนในเปือกตม คือ กาม.

บทว่า ทีปา ทีปํ อุปลฺลวิํ แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่งแต่ที่พึ่ง คือ ไปหาศาสดาเป็นต้น แต่ศาสดาเป็นต้น.

บทว่า อถทฺทสาสิํ สมฺพุทฺธํ ภายหลังได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ อาตมานั่นถือทิฏฐิผิดอย่างนี้ท่องเที่ยวไป คราวนั้นได้เห็นพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณกเจดีย์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เสมาโน คือ นอนอยู่.

บทว่า สยมาโน คือ สำเร็จการนอน.

บทว่า อาวสมาโน คือ อยู่.

บทว่า ปริวสมาโน คือ พักอยู่เป็นนิจ.

บทว่า ปลฺลวิํ คือ ยิ่ง.

บทว่า อุปลฺลวิํ แล่นไปแล้ว คือ ถึงฝั่ง.

บทว่า สมุปลฺลวิํ คือ เลื่อนไปแล้ว. เพิ่มอุปสัคลงไป.

บทว่า อทฺทสํ ได้เห็นแล้ว เป็นบทยกขึ้นเพื่อขยายความ.

บทว่า อทฺทกฺขิํ คือ ได้พบแล้ว.

บทว่า อปสฺสิํ คือ ได้ประสบแล้ว.

บทว่า ปฏิวชฺฌิํ คือ แทงตลอดแล้ว.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 506

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นจบพระคาถานี้ทรงทราบว่า ท่านปิงคิยะและพาวรีพราหมณ์มีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ประทับยืนอยู่ ณ กรุงสาวัตถีนั่นเอง เปล่งพระรัศมีสีทองออกไป. ท่านปิงคิยะนั่งพรรณนาพระพุทธคุณแก่พาวรีพราหมณ์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจประทับยืนอยู่ข้างหน้าตน จึงบอกแก่พาวรีพราหมณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว. พราหมณ์ลุกจากที่นั่งยืนประคองอัญชลี. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแผ่พระรัศมีไปแสดงพระองค์แก่พราหมณ์ ทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของชนแม้ทั้งสอง เมื่อจะตรัสเรียกท่านปิงคิยะเท่านั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า ยถา อหุ วกฺกลิ ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ พระวักกลิเถระเป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อยแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตด้วยศรัทธาธุระนั่นเอง บรรดามาณพ ๑๖ คน ภัทราวุธะ คนหนึ่งก็ดี อาฬวิโคตมะ ก็ดี ล้วนมีศรัทธาอันปล่อยแล้วฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปล่อยศรัทธาแต่นั้น จึงเริ่มวิปัสสนาโดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ดังนี้ จักถึงฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ คือนิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนา ท่านปิงคิยะทั้งอยู่ในอรหัตผล พาวรีพราหมณ์ตั้งอยู่ในอนาคามิผล. ส่วนบริษัท ๕๐๐ ของพาวรีพราหมณ์ได้เป็นโสดาบัน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มุญฺจสฺสุ คือ จงละ.

บทว่า ปมุญฺจสฺสุ คือ จงปล่อย.

บทว่า อธิมุญฺจสฺสุ จงน้อมลง คือ จักทำการน้อมลงในศรัทธานั้น.

บทว่า โอกปฺเปหิ จงกำหนด คือ จงให้เกิดความพยายามให้มาก.

บทว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 507

ด้วยอรรถว่า มีแล้วไม่มี.

บทว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า ทนได้ยาก คือ ทนอยู่ไม่ได้.

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่า ไม่อยู่ในอำนาจ.

บัดนี้ ท่านปิงคิยะเมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของตน จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า เอส ภิยฺโย คือ ข้าพระองค์นี้ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้วย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิภาณวา เป็นผู้มีปฏิภาณ คือ เข้าถึงปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

บทว่า ภิยฺโย คือ ยิ่งๆ ขึ้นไป.

บทว่า อธิเทเว อภิญฺาย คือ ทรงรู้ธรรมอันทำให้เป็นอธิเทพ.

บทว่า ปโรปรํ คือ เลวและประณีต.

ท่านกล่าวไว้ว่า ทรงรู้ธรรมชาติทั้งหมดอันทำความเป็นอธิเทพให้แก่พระองค์และผู้อื่น.

บทว่า กงฺขีนํ ปฏิชานตํ ทรงทำผู้สงสัยให้กลับรู้ได้ คือ เมื่อมีผู้สงสัยกลับรู้ว่า เราหมดสงสัยแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.

บทว่า ปารายนิกปญฺหานํ คือ แห่งปัญหาของพวกพราหมณ์ผู้แสวงหาธรรมเครื่องถึงซึ่งฝั่ง.

ชื่อว่า อนฺตกโร เพราะทรงทำส่วนสุด.

ชื่อว่า ปริยนฺตกโร เพราะทรงทำส่วนสุดรอบ.

ชื่อว่า ปริจฺเฉทกโร เพราะทรงทำความกำหนดเขตแดน.

ชื่อว่า ปริวฏุมกโร เพราะทรงทำความสรุป.

บทว่า ปิงฺคิยปญฺหานํ เพื่อทรงแสดงว่า มิใช่ทรงกระทำส่วนสุดแห่งปัญหาของพวกพราหมณ์ ผู้แสวงหาธรรมเครื่องถึงซึ่งฝั่งอย่างเดียว ที่แท้ทรงกระทำส่วนสุดแห่งปัญหาแม้ของปิงคิยปริพาชกเป็นต้นด้วย จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปิงฺคิยปญฺหานํ ปัญหาของปิงคิยะดังนี้.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 508

บทว่า อสํหิรํ คือ นิพพานอันราคะเป็นต้นนำไปไม่ได้.

บทว่า อสํกุปฺปํ คือ ไม่กำเริบ ไม่มีความปรวนแปรไปเป็นธรรมดา.

ท่านกล่าวถึงนิพพานด้วยบททั้งสอง.

บทว่า อทฺธา คมิสฺสามิ ข้าพระองค์จักถึงเป็นแน่แท้ คือ จักถึงนิพพานธาตุ อันเป็นอนุปาทิเสสะนั้น โดยส่วนเดียวเท่านั้น.

บทว่า น เมตฺถ กงฺขา คือ ความสงสัยในนิพพานนี้มิได้มีแก่ข้าพระองค์.

บทว่า เอวํ มํ ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺตํ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้ ความว่า ท่านปิงคิยะยังศรัทธาให้เกิดขึ้นแล้วในตน ด้วยโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ว่า แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธา ฉันนั้น แล้วปล่อยด้วยศรัทธาธุระนั่นเอง เมื่อจะประกาศศรัทธาธิมุติ (ความน้อมไปด้วยศรัทธา) นั้น จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เอวํ มํ ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺตํ มีอธิบายว่า ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว เหมือนอย่างที่พระองค์ได้ตรัสไว้กะข้าพระองค์แล้วฉะนั้น.

บทว่า น สํหริยติ คือ ไม่สามารถถือนำเอาไปได้.

บทว่า นิโยควจนํ เป็นคำประกอบ.

บทว่า อวฏฺาปนวจนํ เป็นคำสันนิษฐาน.

ใน ปรายนวรรค นี้ บทใดมิได้กล่าวไว้ในระหว่างๆ พึงถือเอาบทนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.

จบอรรถกถาโสฬสมาณวกปัญหานิทเทส

จบอรรถกถาปรายนวรรคนิทเทส

แห่งขุททกนิกายอรรถกถา ชื่อว่าสัทธัมมปัชโชติกา