ว่าด้วยปัญญาญาณ ๗๓
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1
มาติกา
ว่าด้วยปัญญาญาณ ๗๓
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๑
มาติกา
ว่าด้วย ปัญญาญาณ ๗๓
๑. ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ,
๒. ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ,
๓. ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ,
๔. ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ,
๕. ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งอดีต, อนาคตและปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 2
๖. ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยญาณ,
๗. ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ,
๘. ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ,
๙. ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณา และวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ,
๑๐. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ,
๑๑. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ,
๑๒. ปัญญาในการระงับปโยคะ เป็นผลญาณ,
๑๓. ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ,
๑๔. ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ,
๑๕. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 3
๑๖. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ,
๑๗. ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ,
๑๘. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ,
๑๙. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ,
๒๐. ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ,
๒๑. ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ เป็นตีรณัฏฐญาณ,
๒๒. ปัญญาในการละ เป็นปริจจาคัฏฐญาณ,
๒๓. ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ,
๒๔. ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ,
๒๕. ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ,
๒๖. ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ,
๒๗. ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ,
๒๘. ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ,
๒๙. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารรัฏฐญาณ,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 4
๓๐. ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ,
๓๑. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ,
๓๒. ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุให้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ,
๓๓. ทัสนาธีปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคมคุณเครื่องบรรลุคือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ,
๓๔. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ,
๓๕. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณ,
๓๖. ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 5
๓๗. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนาสภาพต่างๆ และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณ,
๓๘. ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ,
๓๙. ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสสนญาณ,
๔๐. ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสสนวิสสุทธิญาณ,
๔๑. ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ,
๔๒. ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณ,
๔๓. ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณ,
๔๔. ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ,
๔๕. ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ,
๔๖. ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ,
๔๗. ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ,
๔๘. ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 6
๔๙. ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ,
๕๐. ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธญาณ,
๕๑. ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ,
๕๒. ปัญญาในการกำหนดจริยาคือวิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภทอย่างเดียวสามารถแห่งความผ่องในแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณ,
๕๓. ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถแห่งความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ,
๕๔. ปัญญาในความเห็นรูปนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแห่งแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ,
๕๕. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ,
๕๖. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 7
๕๗. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรละ เป็นสมุทยญาณ,
๕๘. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ,
๕๙. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรเจริญ เป็นมรรคญาณ,
๖๐. ทุกขญาณ,
๖๑. ทุกขสมุทยญาณ,
๖๒. ทุกขนิโรธญาณ,
๖๓. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ,
๖๔. อรรถปฏิสัมภิทาญาณ,
๖๕. ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ,
๖๖. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ,
๖๗. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ,
๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณ,
๖๙. อาสยานุสยญาณ,
๗๐. ยมกปาฏิหาริยญาณ,
๗๑. มหากรุณาสมาปัตติญาณ,
๗๒. สัพพัญญุตญาณ,
๗๓. อนาวรณญาณ.