จริต 6

 
prasert1380
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40804
อ่าน  574

พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ถึงเรื่องนิสัยใจคอของคน จึงทรงให้ความรู้เกี่ยวกับนิสัยใจคอของคนว่า คนทั้งหลายในโลกนี้ มีนิสัยหรือจริตอยู่ด้วยกัน 6 แบบ เรียกว่า จริต 6 ได้แก่ ราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต สัทธาจริต พุทธจริต ไม่ว่าคนจะเกิดก่อนหรือหลังพระพุทธเจ้า และมีจำนวนเท่าใดก็ตาม ล้วนมีนิสัยอยู่ 6 แบบ ไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้ ...

อยากทราบว่าจริต6มีอยู่ที่ใดในพระไตรปิฎก?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prasert1380
วันที่ 22 พ.ย. 2564

สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม [๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะทราบการอาราธนาของสหัมบดีพรหม และเพราะอาศัย ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เราจึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลี ในดวงตาน้อยก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มี อาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวก มีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลก มีอธิบายเป็นคำเปรียบว่า ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอ บุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำยังจม อยู่ภายในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำ ตั้งอยู่เสมอกับน้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ น้ำกำซาบเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เราขณะ ที่ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ ฉันนั้น คือ บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมี อาการดี บางพวกมีอาการชั่ว บางพวกพอจะสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวก มีปรกติเห็นโทษและภัยในปรโลก. เราจึงได้กล่าวคาถาตอบสหัมบดีพรหมว่า เราได้เปิดประตูอมฤตธรรมรับชนผู้ชอบสดับ ซึ่งยื่นศรัทธาภาชนะออกรับ ดูกรพรหมเรานึกถึงความลำบาก จึงไม่ได้แสดงธรรมที่ประณีตซึ่งเราชำนาญดี ในหมู่มนุษย์. เมื่อสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาส เพื่อแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาทเรา กระทำประทักษิณ อันตรธานไปในที่นั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prasert1380
วันที่ 22 พ.ย. 2564

สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม [๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะทราบการอาราธนาของสหัมบดีพรหม และเพราะอาศัย ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เราจึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลี ในดวงตาน้อยก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มี อาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวก มีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลก มีอธิบายเป็นคำเปรียบว่า ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอ บุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำยังจม อยู่ภายในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำ ตั้งอยู่เสมอกับน้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ น้ำกำซาบเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เราขณะ ที่ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ ฉันนั้น คือ บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมี อาการดี บางพวกมีอาการชั่ว บางพวกพอจะสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวก มีปรกติเห็นโทษและภัยในปรโลก. เราจึงได้กล่าวคาถาตอบสหัมบดีพรหมว่า เราได้เปิดประตูอมฤตธรรมรับชนผู้ชอบสดับ ซึ่งยื่นศรัทธาภาชนะออกรับ ดูกรพรหมเรานึกถึงความลำบาก จึงไม่ได้แสดงธรรมที่ประณีตซึ่งเราชำนาญดี ในหมู่มนุษย์. เมื่อสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาส เพื่อแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาทเรา กระทำประทักษิณ อันตรธานไปในที่นั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prasert1380
วันที่ 22 พ.ย. 2564

ด้วยน้ำ ฉันใด พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก อยู่ในโลกไม่ติดอยู่ ด้วยโลก เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉันนั้น ไฟกองใหญ่ลุกโชน เมื่อหมดเชื้อก็ดับไป ก็เมื่อเถ้ายังมีอยู่ เขาก็เรียกว่ากันว่า ไฟดับแล้ว ฉันใด อุปมาอันทำให้รู้เนื้อความแจ่มแจ้งนี้ วิญญูชนทั้งหลายแสดงไว้ แล้ว ก็ฉันนั้น มหานาคทั้งหลายจักรู้แจ้งนาค อันพระพุทธเจ้าทรงแสดง แล้ว พุทธนาคเป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ และโมหะ หมดอาสวะ เมื่อละสรีระร่างกายนี้แล้ว ก็จักไม่มีอาสวะปรินิพพาน. ____________________ ในโสฬสกนิบาตนี้ พระเถระผู้มีมหิทธิฤทธิ์ ๒ รูป คือ พระโกณฑัญญ เถระ กับ พระอุทายีเถระ ได้ภาษิตคาถาไว้องค์ละ ๑๖ คาถา รวมเป็น ๓๒ คาถา ฉะนี้แล. จบ โสฬสกนิบาต. ______________

#ยังหาทีมาของจริตไม่เจอ______

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 23 พ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลเหล่านั้นเป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต ย่อมทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเรียนในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล

ในการอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสบอกอานาปานสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริตย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.

สมจริงดังประพันธคาถาว่า

บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบแม้ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดี มีจักษุโดยรอบ พระองค์มีความโศกไปปราศแล้ว ทรงขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ขอจงทรงพิจารณาเห็นหมู่ชนผู้อาเกียรณด้วยความโศก ถูกชาติชราครอบงำอยู่แล้ว ฉันนั้น.


จริต หมายถึง ความประพฤติเป็นไป อันเกิดขึ้นจากการสะสมมาในอดีต ที่เกิดกุศลหรืออกุศล สะสมเป็นอุปนิสัยของบุคลนั้น ให้มีจริตต่างๆ กัน

จริต แบ่งได้หลายนัย เพราะว่าสัตว์โลกมีการสะสมอุปนิสัย อันเกิดจากกุศลหรืออกุศลที่เกิดขึ้นมามากมายครับ บางครั้งก็โดยนัย จริต ๖ จริต ๓ จริต ๒ เป็นต้น อย่างกรณีนี้ สัตว์โลกแบ่งเป็นจริต ๖ ประการคือ จริต มีทั้งหมด ๖ อย่าง คือ ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต และ พุทธิจริต ถามว่า ใครรู้จริตของตนได้ หรือว่า สัตว์โลกก็สะสมอุปนิสัยจริตต่างๆ มาทั้งนั้น จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง และใครรู้ได้ว่าเราจริตอะไรครับ

การที่เราจะรู้ว่าเรามีจริตอะไร ไม่ได้รู้ด้วยการคิดนึกเท่านั้น เพราะเป็นความละเอียดของจิต ที่สะสมในอดีตชาตินับไม่ถ้วนมากมาย ซึ่งการจะมีจริตอะไรนั้น ก็เกิดจากกรรมที่นำเกิดว่า กรรมที่นำเกิดนั้น ประกอบด้วย โลภะอ่อนหรือกล้า โทสะอ่อนหรือกล้า โมหะอ่อนหรือกล้า เช่น ถ้ากรรมที่ทำนำเกิดนั้น เป็นกรรมที่ทำด้วยโลภะมีกำลังกล้า โทสะมีกำลังกล้า โมหะมีกำลังกล้า ก็ทำให้เป็นคน มีราคะจริต โทสะจริตและโมหะจริตด้วย ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำด้วย ดังนั้น เราไม่สามารถรู้จริตของเราได้ทั้งหมด เพราะเป็นเรื่องของปัญญา และไม่ใช่เพียงสังเกตเพียงอาการเท่านั้น ผู้ที่จะรู้จริต ก็ต้องมีปัญญาครับ แต่ก็พอสังเกตได้ แต่ไม่ทั้งหมด

ส่วนการอบรมเจริญวิปัสสนา อันเป็นหนทางดับกิเลส พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าสัตว์โลกมี ๒ จริต คือ ตัณหาจริตและทิฏฐิจริต ตัณหาจริต ก็คือมีราคะกล้า หรือมีราคะ (โลภะ) อ่อน อีกประเภท คือ มีทิฏฐิกล้า คือ มีความเห็นผิดมาก กับ มีทิฏฐิอ่อน หรือ มีความเห็นผิดน้อย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สัตว์โลกสะสมอกุศลมามากมาย โดยไม่สามารถเดาได้เลยว่าจริตอะไร ทั้งราคะ โลภะ ความเห็นผิดเมื่อเป็นเพียงการคิดนึกเดาในจริตของตน แม้จะเดาผิดหรือถูกอย่างไร หากไม่เข้าใจหนทางในการดับกิเลส คือการเจริญสติปัฏฐาน เพียงแต่ไปหาอารมณ์ ไปพยายามรู้จริตของตน และก็จะได้เลือกหมวดธรรมที่เหมาะกับตน แต่ลืมความเข้าใจเบื้องต้นในเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจและสติปัฏฐานก็เกิดไม่ได้เลยครับ

ดังนั้น ประโยชน์สำคัญที่สุด คือไม่ใช่มุ่งไปหาว่าเราจริตอะไร แต่อบรมปัญญาเพื่อเข้าใจหนทางที่ถูก เมื่อปัญญาเจริญขึ้น สติและปัญญา (สติปัฏฐาน) ก็ย่อมเกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เหมาะสมกับจริตของเราเองอยู่แล้วครับ

ตรงนี้สำคัญมาก เพราะสติและปัญญาจะทำหน้าที่เอง รู้ตรงในหมวดธรรมที่เหมาะสมกับจริตของตน แม้เราจะไม่รู้เลยว่าเราจริตอะไร แต่ปัญญาและสติที่เกิดขึ้นที่เป็นสติปัฏฐานก็เกิด ระลึกรู้ความจริงของสภาพธรรม ที่มีในขณะนี้ ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา อันเหมาะสมกับจริตครับ เพราะถ้าไม่เหมาะสมกับจริตจริงๆ แล้ว ปัญญาก็จะไม่เกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมครับ

สำคัญที่สุด คือ ไม่ลืมความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ว่า แล้วแต่สติและปัญญาจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใด หากมีเรา มีตัวตน มีความต้องการที่จะรู้ จะเลือกให้เหมาะกับจริต ตามความคิดเราเอง ก็ไม่ใช่หนทางการเจริญสติปัฏฐาน เพราะไม่ใช่สติ แต่เป็นโลภะที่เลือกด้วยความเป็นเรา และลืมความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมครับ

ดังนั้น สบายๆ ด้วยความเข้าใจ คือ ฟังพระธรรมต่อไปในเรื่องสภาพธรรม ธรรมคือสติและปัญญา จะทำหน้าที่รู้ความจริงของสภาพธรรม ตามหมวดธรรมที่เหมาะกับจริตเอง

แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าเราจริตอะไรก็ตาม ครับ ประโยชน์จริงๆ จึงไม่ใช่ไปรู้จริตตนเองแต่อบรมปัญญา เพื่อความเข้าใจถูกในหนทางดับกิเลส นี่คือประโยชน์จริงๆ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 23 พ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จริต ไม่พ้นไปจากเป็นความประพฤติเป็นไปของแต่ละบุคคล ตามการสะสม ไม่ว่าจะมีความประพฤติเป็นไปอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าในชีวิตประจำวันนั้น อกุศลเกิดขึ้นเป็นไปมากอยู่แล้ว แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แต่เมื่อเห็นประโยชน์ของพระธรรม เริ่มฟัง เริ่มศึกษา พิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผล ความเข้าใจถูกเห็นถูกก็ย่อมจะค่อยๆ เจริญขึ้นได้ พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ละเอียด ลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง แสดงถึงสิ่งที่มีจริงโดยตลอด และ เป็นเรื่องที่ยากอย่างยิ่ง แต่ถ้าไม่เริ่มฟัง ไม่เริ่มศึกษา แล้วเมื่อไหร่จะเข้าใจ ครับ


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 23 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
lokiya
วันที่ 23 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ