พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อรรถกถา สุตมยญาณุทเทส ว่าด้วยสุตมยญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40805
อ่าน  411

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 33

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๑. อรรถกถา สุตมยญาณุทเทส

ว่าด้วยสุตมยญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 33

มหาวรรค

อรรถกถาญาณกถามาติกา

๑. อรรถกถาสุตมยญาณุทเทส

ว่าด้วย สุตมยญาณ

ในอุทเทสนั้นเบื้องแรก พึงทราบ โสต ศัพท์ ในคำนี้ว่า โสตาวธาเน ปญฺา สุตมเย าณํ มีประเภทแห่งอรรถเป็นอเนก. จริงอย่างนั้น โสต ศัพท์นั้นย่อมปรากฏ

ในอรรถว่า มังสโสตะ, โสตวิญญาณ, ญาณโสตะ, กระแสแห่งตัณหาเป็นต้น, สายธารแห่งกระแสน้ำ, อริยมรรค, และแม้ในความสืบต่อแห่งจิต.

ก็ โสต ศัพท์ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า มังสโสตะ ได้ในคำเป็นต้นว่า โสตายตนะ, โสตธาตุ และโสตินทรีย์. (๑)

ปรากฏในอรรถว่า โสตวิญญาณ ได้ในคำเป็นต้นว่า ได้ยิน เสียงด้วยโสตะ (๒)


๑. อภิ. วิ. ๓๕/ ๑๐๑. ๒. ม.มู. ๑๒/ ๑๔.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 34

ปรากฏในอรรถ ญาณโสตะ ได้ในคำเป็นต้นว่า ได้ยินเสียงด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ (๑)

ปรากฏในธรรมทั้ง ๕ มีตัณหาเป็นต้น ได้ในคำเป็นต้นว่า คำว่า กระแสเหล่าใดในโลก ความว่า กระแสเหล่านี้ใด เราบอกแล้ว กล่าวแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นขึ้นแล้ว ประกาศแล้ว, นี้อย่างไร? คือ กระแสตัณหา, กระแสทิฏฐิ, กระแสกิเลส, กระแสทุจริต, กระแสอวิชชา (๒).

ปรากฏในอรรถว่า สายธารแห่งกระแสน้ำ ได้ในคำเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล ซึ่งท่อนไม้ท่อนใหญ่ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา (๓).

ปรากฏในอรรถว่า อริยมรรค ได้ในคำเป็นต้นว่า ดูก่อนอาวุโส คำนี้เป็นชื่อของอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ คือ โสตะ.

ปรากฏในอรรถว่า ความสืบต่อแห่งจิต ได้ในคำเป็นต้นว่า และย่อมรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งขาดแล้วโดยส่วน ๒ คือ ทั้งที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้ ทั้งที่ไม่ตั้งอยู่ในปรโลก (๔).


๑. ที.ปา. ๑๑/๔๓๑. ๒. ขุ.จูฬ. ๓๐/๗๖. ๓. สํ.สฬา. ๑๘/๓๒๕. ๔. ที.ปา. ๑๑/๗๙.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 35

ก็โสตศัพท์ในที่นี้ พึงหมายเอา มังสโสตะ.

ชื่อว่า โสตาวธาน เพราะอรรถว่า ทรงไว้ กำหนดไว้ ตั้งไว้ ด้วยโสตะนั้น เป็นเหตุ หรือเป็นเหตุให้สำเร็จ. ชื่อว่า โสตาวธาน นั้นอย่างไร? คือ สุตะ. ก็ธรรมชาติที่รู้แจ้ง กำหนดได้โดยครรลองแห่งโสตทวาร ชื่อว่า สุตะ ดุจในคำเป็นต้นว่า เป็นผู้สดับมาก เป็นผู้ทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ (๑) , สุตะนั้น ในที่นี้ท่านกล่าวว่า โสตาวธาน. ปัญญาที่เป็นไปในสุตะกล่าวคือโสตาวธานนั้น ชื่อว่า โสตาวธาเน ปญฺา.

ก็ บทว่า ปญฺา ได้แก่ปัญญาโดยอรรถว่าเป็นเครื่องทำให้รู้ชัด กล่าวคือ เป็นเครื่องทำอรรถะนั้นๆ ให้ปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการนั้นๆ คือ โดยอนิจลักษณะเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า ปัญญา.

พึงทราบ สุต ศัพท์ ทั้งที่มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรคในคำนี้ว่า สุตมเย าณํ ดังนี้ ก่อน

สุตศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ไป, ปรากฏ, กำหนัด, ประกอบเนืองๆ , สั่งสม, สัททารมณ์, รู้ได้ตามครรลองแห่งโสตทวาร.


๑. ม.มุ. ๑๒/๓๗๖.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 36

จริงอย่างนั้น สุตศัพท์ มีอรรถว่า ไป ได้ในคำเป็นต้นว่า เสนาย ปสุโต เสนาเคลื่อนไป.

สุตศัพท์ มีอรรถว่า มีธรรมอันปรากฏแล้ว ได้ในคำเป็นต้นว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต มีธรรมอันสดับแล้วเห็นอยู่. (๑)

สุตศัพท์ มีอรรถว่า กำหนัดและไม่กำหนัด ได้ในคำเป็นต้นว่า อวสฺสุตา อวสฺสุตสฺส ปุริสปุคฺคลสฺส๒ ภิกษุณีกำหนัดยินดีแล้วต่อบุรุษบุคคลผู้ไม่กำหนัดยินดีแล้ว.

สุตศัพท์ มีอรรถว่า ประกอบเนืองๆ ได้ในคำเป็นต้นว่า เย ฌานปสุตา ธีรา (๓) กุลบุตรเหล่าใดประกอบเนืองๆ ในฌาน กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า นักปราชญ์.

สุตศัพท์ มีอรรถว่า สั่งสมได้ในคำเป็นต้นว่า ตุมฺเหหิ ปุญฺํ ปสุตํ อนปฺปกํ (๔) บุญมิใช่น้อยอันท่านทั้งหลายสั่งสมไว้แล้ว.

สุตศัพท์ มีอรรถว่า สัททารมณ์ ได้ในคำเป็นต้นว่า ทิฏฺํ สุตฺ มุตํ วิญฺาตํ (๕) รูปอันเราเห็นแล้ว เสียงอันเราได้ยินแล้ว หมวด ๓ แห่ง อารมณ์อันเราทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว.


๑. ขุ.อุ. ๒๕/๕๑. ๒. วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑. ๓. ขุ.ธ. ๒๕/๒๔. ๔. ขุ.ขุ. ๒๕/๘. ๕. ม.ม. ๑๒/๒๘๑.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 37

สุตศัพท์ มีอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งสัททารมณ์อันตนรู้แล้วโดยครรลองแห่งโสตทวาร ได้ในคำเป็นต้นว่า พหุสฺสุโต โหติ สุตธโร สุตสนฺนิจโย (๑) เป็นผู้สดับมาก เป็นผู้ทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ. แต่ ในที่นี้ สุตะศัพท์มีอรรถว่า อันตนรู้แล้ว, เข้าไปทรงไว้แล้วโดย ครรลองแห่งโสตทวาร.

บทว่า สุตมเย าณํ ความว่า ปัญญานี้ได้ปรารภพระสัทธรรม คือ สุตะนี้ที่รู้แล้ว ทรงจำไว้ได้แล้ว กระทำให้เป็นอารมณ์ เป็นไปแล้วในครั้งแรกและครั้งต่อๆ มา, ปัญญาญาณนั้นย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วว่า สุตมเย าณํ ญาณอันสำเร็จแล้วด้วยการฟัง, อธิบายว่า สุตมยํ าณํ นั่นเอง. ก็คำว่า สุตมเย นี้ เป็นปัจจัตตวัจนะ, ปัจจัตตวัจนะ ในคำเป็นต้นว่า น เหวํ วตฺตพฺเพ ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น, วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค พุ่มไม้ในไพร มียอดคือดอกบานสะพรั่ง, นตฺถิ อตฺตกาเร การกระทำของตนไม่มี, นตฺถิ ปรกาเร การกระทำของคนอื่นไม่มี, นตฺถิ ปุริสกาเร การกระทำของบุรุษไม่มี ดังนี้ ฉันใด แม้ในที่นี้ บทว่า สุตมเย ก็พึงเข้าใจ ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า สุตมยํ าณนฺติ อตฺโถ อธิบายว่า ญาณอันสำเร็จแล้วด้วยการฟัง ดังนี้.


๑. ม.มู. ๑๒/๓๗๖.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 38

อีกอย่างหนึ่ง หมวดธรรมมีผัสสะเป็นต้น อันสำเร็จแล้วด้วยการฟัง จึงชื่อว่า สุตมยะ, ญาณเป็นไปในหมวดแห่งธรรมที่ชื่อว่า สุตมยะนั้น คือสัมปยุต กับด้วยสุตมยะนั้น ชื่อว่า สุตมเย าณํ. ญาณนั้นนั่นแล ท่านกล่าวว่า ปัญญา เพราะไม่กำหนดก็เพื่อจะอธิบายโดยปริยาย ภายหลังจึงกล่าวกำหนดว่า ญาณ ท่านสาธุชนพึงทราบ ตามที่กล่าวมานี้.

ก็ชื่อว่า ญาณ มีการแทงตลอดสภาวะเป็นลักษณะ หรือมีการแทงตลอดอย่างไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะ เหมือนการยิงลูกศรอันนายขมังธนูผู้ชาญฉลาดยิงไปแล้วฉะนั้น.

มีการส่องซึ่งอารมณ์เป็นรส เหมือนดวงประทีปส่องสว่างฉะนั้น.

มีความไม่หลงเป็นปัจจุปัฏฐาน เหมือนพรานป่าบอกทางแก่คนหลงทางฉะนั้น.

มีสมาธิเป็นปทัฏฐาน ตามพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง. (๑)

ก็ในลักษณะเป็นต้น พึงทราบว่า สภาวะก็ดี สามัญญะก็ดี ชื่อว่า ลักษณะ, กิจก็ดี สมบัติก็ดี ชื่อว่า รส, อาการที่ปรากฏก็ดี ผลก็ดี ชื่อว่า ปัจจุปัฏฐาน, เหตุใกล้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน ดังนี้.


๑. สํ. สฬา. ๑๘/๑๔๗.