พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อรรถกถา สมาธิภาวนามยญาณุทเทส ว่าด้วยสมาธิภาวนามยญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40807
อ่าน  442

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 45

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๓. อรรถกถา สมาธิภาวนามยญาณุทเทส

ว่าด้วยสมาธิภาวนามยญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 45

๓. อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณุทเทส

ว่าด้วย สมาธิภาวนามยญาณ

คำว่า สํวริตฺว สมาทหเน ปญฺา ความว่า ปัญญาของกุลบุตรผู้สำรวมด้วยสีลสังวรตามที่กล่าวไว้ในสีลมยญาณ แล้วทำการสำรวมตั้งอยู่ในศีลมีจิตตั้งไว้ด้วยดี กระทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เป็นไปแล้วในสมาธิจิตนั้น คือสัมปยุตกับด้วยสมาธิจิตนั้น. การวางไว้ ตั้งไว้ ด้วยดีโดยชอบ ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมาทหนํ - การตั้งไว้ด้วยดี, คำนี้เป็นคำเรียก สมาธิโดยปริยาย.

กุศลจิตเอกัคคตา ชื่อว่า สมาธิ ในคำนี้ว่า สมาธิภาวนามเย าณํ ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่ากระไร? ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น (สมาธานํ). ชื่อว่า สมาธาน นี้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 46

มีคำอธิบายว่า การวาง การตั้ง ซึ่งจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์เดียว โดยชอบด้วยดี เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิก ไม่ฟุ้งไป ไม่เกลื่อน กล่น ตั้งอยู่โดยชอบด้วยดีในอารมณ์เดียว ด้วยอานุภาพแห่งธรรมใด, คำที่กล่าวมาแล้วนี้พึงทราบว่าเป็น สมาธาน.

ก็ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ การกำจัด ความฟุ้งซ่านเป็นรส การไม่หวั่นไหวเป็น ปัจจุปัฏฐาน และมีความสุขเป็นปทัฏฐานของ สมาธินั้นแล.

ธรรมชาติใด อันพระโยคีบุคคลอบรมอยู่ เจริญอยู่ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ภาวนา, ภาวนาคือสมาธิ ชื่อว่า สมาธิภาวนา, อีกอย่างหนึ่ง การอบรมการเจริญซึ่งสมาธิ ชื่อว่า สมาธิภาวนา. ห้าม ภาวนาอื่นด้วยคำว่า สมาธิภาวนา. ญาณอันสำเร็จด้วยสมาธิภาวนา ด้วยสามารถแห่งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิดุจในก่อน.