พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อรรถกถา ธัมมัฏฐิติญาณุทเทส ว่าด้วยธรรมฐิติญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 พ.ย. 2564
หมายเลข  40815
อ่าน  586

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 46

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๔. อรรถกถา ธัมมัฏฐิติญาณุทเทส

ว่าด้วยธรรมฐิติญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 46

๔. อรรถกถาธัมมัฏฐิติญาณุทเทส

ว่าด้วย ธรรมฐิติญาณ

ชื่อว่าปัจจัย ในคำนี้ว่า ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺา มีวจนัตถะว่า ผลย่อมอาศัยธรรมนั้นเกิด ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 47

คำว่า ปฏิจฺจ ได้แก่ ไม่เว้นจากธรรมที่เป็นปัจจัยนั้น อธิบายว่า ไม่บอกคืน. บทว่า เอติ ความว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไปด้วย. อีกอย่างหนึ่ง มีความว่าอุปการะ มีอรรถว่าเป็นแดนเกิด, ปัญญาในการกำหนดคือกำหนดได้ซึ่งปัจจัยทั้งหลาย เพราะปัจจัยนั้นมีมากอย่าง ชื่อว่า ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺา แปลว่า ปัญญาเป็นเครื่อง กำหนดปัจจัย.

ธมฺมศัพท์ ในบทว่า ธมฺมฏฺิติาณํ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า สภาวะ, ปัญญา, บุญ, บัญญัติ, อาบัติ, ปริยัติ, นิสสัตตตา, วิการ, คุณ, ปัจจัย, ปัจจยุปบันเป็นต้น.

ก็ ธมฺมศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าสภาวะ ได้ในติกะว่า กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, อกุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, อพฺยากตา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ (๑).

ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ได้ในคำเป็นต้นว่า

บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยสัทธา มีธรรม ๔ ประการเหล่านี้ คือ สัจจะ,


๑. อภิ.สํ. ๓๔/๑.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 48

ธรรมะ, ธิติ, และจาคะ บุคคลนั้นแ ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก (๑) ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บุญ ได้ในคำเป็นต้นว่า

ธรรมและอธรรมทั้ง ๒ นี้ มีผลเสมอกัน หามิได้เลย อธรรมย่อมนำไปนรก ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ (๒) ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า

บัญญัติธรรม, นิรุตติธรรม, อธิวจนธรรม (๓) ดังนี้. ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาบัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า

ธรรมคือปราชิก, ธรรมคือสังฆาทิเสส (๔) ดังนี้. ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า

ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรมคือสุตตะ, เคยยะ เวยยากรณะ (๕) ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า นิสสัตตตา - ความไม่มีสัตว์ ได้ในคำเป็นต้นว่า

ก็สมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลายย่อมมี, (๖) และในคำเป็นต้นว่า พระโยคีบุคคล ตามพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ (๗) ดังนี้.


๑. สํ.ส. ๑๕/๘๔๕. ๒. ขุ.เถร. ๒๖/๓๓๒. ๓. อภิ.สํ. ๓๔/๑๕. ๔. วิ.มหาวิภงฺค. ๑/๓๐๐. ๕. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๗๓. ๖. อภิ.สํ. ๓๔/๑๕. ๗. ที.มหา. ๑๐/๒๗๓.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 49

ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า วิการ - ธรรมชาติที่ผันแปร ได้ในคำเป็นต้นว่า

ชาติธรรม ชราธรรม มรณธรรม (๑) ดังนี้. ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า คุณ ได้ในคำเป็นต้นว่า

พุทธธรรม ๖ (๒) ... ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ปัจจัย ได้ในคำเป็นต้นว่า

ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา (๓) ดังนี้. ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ปัจจยุปบัน ได้ในคำเป็นต้นว่า

ธาตุนั้น ตั้งอยู่แล ชื่อว่า ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม (๔) ดังนี้. ธมฺมศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า ปัจจยุปบัน แปลว่า ธรรมที่เกิดแต่ปัจจัย. โดยอรรถท่านเรียกว่าธรรมะ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน, หรืออันปัจจัยทรงไว้, หรือย่อมทรงไว้ซึ่งผลของตน. หรือผู้ใดบำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์ก็ทรงผู้นั้นไว้ ไม่ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย, หรือทรงไว้ในลักษณะของตนๆ. หรือว่าย่อมตั้งลงไว้ได้ด้วยจิต, ตามสมควร. แต่ในที่นี้ ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า อันปัจจัยทั้งหลายของตนทรงไว้, ธรรมทั้งหลายอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ย่อมตั้งขึ้น คือ ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไปด้วยธรรมชาติใด ฉะนั้น


๑. องฺ.ทสก. ๒๔/๑๐๗. ๒. ขุ.มหา. ๒๙/๒๓๑. ๓. อภิ.วิ. ๓๕๑๗๗๙. ๔. สํ.นิ. ๑๖/๖๑.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 50

ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า ธรรมฐิติ. คำนี้เป็นชื่อของปัจจัยธรรมทั้งหลาย, ญาณในธรรมฐิตินั้น ชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ.

ก็ ธัมมัฏฐิติญาณนี้ มีปริยายแห่งการกำหนดปัจจัยแห่งนามรูปทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคลผู้ปรารภความเพียร เพื่อยถาภูตญาณทัสสนะ ด้วยจิตอันตั้งมั่นด้วยสมาธิตามที่กล่าวไว้ในสมาธิภาวนามยญาณแล้วกำหนดนามรูป.

หากจะมีปุจฉาว่า ญาณนี้ ทำไมท่านไม่กล่าวว่า นามรูปววัตถามญาณอย่างเดียว แต่กลับกล่าวว่า ธัมมัฏฐิติญาณเล่า? ก็มีวิสัชนาว่า เพราะการกำหนดธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ล้วนสำเร็จด้วยการกำหนดปัจจัยอย่างเดียว. เพราะว่าธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อันพระโยคีบุคคลไม่ได้กำหนดแล้ว ก็ไม่สามารถจะทำการ กำหนดปัจจัยได้. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า นามรูปววัตถานญาณ อันเป็นเหตุแห่งปัจจยปริคคหญาณนั้น สำเร็จแล้วในก่อน ก็ยอมเป็นญาณอันท่านกล่าวแล้วด้วย ศัพท์ว่า ธัมมัฏฐิติญาณ นั่นแล.

หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจะไม่กล่าว สมาทหิตฺวา ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺา แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เพราะมีจิตตั้งมั่น เหมือนญาณที่ ๑ และญาณที่ ๒ เล่า? ตอบว่า เพราะสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมคู่กัน.

สมจริงดังคาถาประพันธ์อันโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 51

หากว่าพระโยคีบุคคลมีจิตตั้งมั่นย่อมเห็นแจ้งได้โดยประการใดไซร้, และหากพระโยคีบุคคลเมื่อเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีจิตตั้งมั่นได้โดยประการนั้น, ในกาลนั้น วิปัสสนาและสมถะ เป็นธรรมมีส่วนเสมอกัน เป็นธรรมคู่กันเป็นไป.

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺา ธมฺมฏฺิติาณํ แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธัมมัฏฐิติญาณดังนี้ไว้ ก็เพื่อจะให้รู้ว่า ตราบใดที่อริยมรรคยังไม่ละสมาธิทำสมาธิกับปัญญาให้เป็นธรรมคู่กัน, พระโยคีบุคคลก็จำต้องขวนขวายอยู่ตราบนั้น.