พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อรรถกถา วิปัสสนาญาณุทเทส ว่าด้วยวิปัสสนาญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 พ.ย. 2564
หมายเลข  40818
อ่าน  443

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 54

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๗. อรรถกถา วิปัสสนาญาณุทเทส

ว่าด้วยวิปัสสนาญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 54

๗. อรรถกถาวิปัสสนาญาณุทเทส

ว่าด้วย วิปัสสนาญาณ

คำว่า อารมฺมณํ ปฏิสงฺขา ความว่า รู้ เห็น อารมณ์มีรูปขันธ์เป็นต้น เพราะพิจารณาโดยความเป็นภังคะ คือแตกดับไป.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 55

คำว่า ภงฺคานุปสฺสเน ปญฺา วิปสฺสเน าณํ ความว่า ปัญญาใดรู้ในการตามเห็นความดับแห่งญาณที่เกิดขึ้นแล้วเพราะพิจารณาอารมณ์ของญาณนั้นโดยความเป็นภังคะ คือแตกดับไป, ญาณนั้น ท่านกล่าวว่า วิปสฺสเน าณํ แปลว่า ญาณในวิปัสสนา.

บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่ เห็น เห็นแจ้ง โดยประการต่างๆ. ปาฐะว่า อารมฺมณปฏิสงฺขา ดังนี้ก็มี.

เนื้อความแห่งวิปัสสนาญาณนั้นดังต่อไปนี้

คำว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกดับไป เป็นวิปัสสนาญาณ ท่านกล่าวไว้แล้วเพราะพิจารณาอารมณ์โดยนัยตามที่กล่าวแล้วว่า การพิจารณาการรู้ การเห็นซึ่งอารมณ์. ก็วิปัสสนาย่อมถึงยอดแห่งภังคานุปัสนานั่นแหละ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้เป็นพิเศษว่า วิปสฺสเน าณํ แปลว่า ญาณในวิปัสสนา.

มัคคามัคคญาณทัสนะ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้ได้อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ, เพราะฉะนั้น เมื่ออุทยัพพยานุปัสสนาสำเร็จแล้ว มัคคามัคคญาณทัสนะนั้น ก็ย่อมสำเร็จด้วย คำนั้นท่านมิได้กล่าวไว้เลย พึงทราบว่า ญาณมีวิปัสสนาเป็นยอด ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยภังคานุปัสสนาญาณ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 56

เมื่อสังขารทั้งหลายอันพระโยคีบุคคลผู้กำหนดซึ่งอุทยัพพยะ อันตนเห็นแจ้งแล้วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนาแล้ว ก็ปรากฏขึ้นโดยพลันทีเดียว เมื่อญาณแก่กล้าอยู่ สติก็ละอุทยะความเกิด แล้วตั้งอยู่ในภังคะความดับอย่างเดียว, ภังคานุปัสสนาญาณ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะนี้แก่พระโยคีบุคคลนั้น ผู้เห็นอยู่ว่า ธรรมดาสังขารธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ก็ย่อมดับไปอย่างนี้