พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อรรถกถา สังขารุเปกขาญาณุทเทส ว่าด้วยสังขารุเปกขาณาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 พ.ย. 2564
หมายเลข  40820
อ่าน  393

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 60

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๙. อรรถกถา สังขารุเปกขาญาณุทเทส

ว่าด้วยสังขารุเปกขาณาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 60

๙. อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณุทเทส

ว่าด้วย สังขารุเปกขาณาณ

คำว่า มุญฺจิตุกมฺยตาปฏิสงฺขาสนฺติฏฺนา ปญฺา สงฺขารุเปกฺขาสุ าณํ ความว่า พระโยคีบุคคลใดมีความประสงค์คือ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 61

ปรารถนาเพื่อจะพ้นเพื่อจะสละ ฉะนั้น พระโยคีบุคคลนั้น จึงชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺโย แปลว่า ผู้ใคร่จะพ้น, ความเป็นผู้ใคร่จะพ้น ชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตา,

ปัญญาใดย่อมพิจารณา ย่อมใคร่ครวญ ฉะนั้น ปัญญานั้น จึงชื่อว่า ปฏิสงฺขา, อีกอย่างหนึ่ง การไตร่ตรอง ชื่อว่า ปฏิสงฺขา,

ปัญญาใดย่อมตกลง ย่อมวางเฉยเสียได้ ฉะนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า สนฺติฏฺนา แปลว่า วางเฉย, อีกอย่างหนึ่ง การวางเฉย ชื่อว่า สนฺติฏฺนา,

ปัญญาชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตานั้นด้วย ปฏิสงฺขาด้วย สนฺติฏฺนาด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตาปฏิสงฺขาสนฺติฏฺนา แปลว่า ความใคร่จะพ้น, การพิจารณา, และการวางเฉย.

ความเป็นผู้ใคร่จะสลัดเสียซึ่งความเกิดเป็นต้น ของพระโยคีบุคคลผู้เบื่อหน่ายด้วยนิพพิทาญาณ ในเบื้องต้น ชื่อมุญจิตุกัมยตา,

การใคร่ครวญสังขารทั้งหลายที่พิจารณาแล้ว เพื่อทำอุบายแห่งการละในท่ามกลาง ชื่อปฏิสังขา,

การปล่อยวาง แล้ววางเฉยได้ในที่สุด ชื่อสันติฏฐนา.

ปัญญา ๓ ประการโดยประเภทแห่งการกำหนดอย่างนี้ ชื่อว่า ความรู้ในการพิจารณาสังขารทั้งหลาย. ก็พระโยคีบุคคลผู้ปรารถนา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 62

ความเข้าไปวางเฉยในสังขาร ด้วยปัญญาแม้ทั้ง ๓ ต่างด้วยประเภทการกำหนดกล่าวคือ

๑. มุญจิตุกัมยตา ปรารถนาจะพ้นการเกิดเป็นต้น

๒. ปฏิสังขา พิจารณาสังขารทั้งหลาย

๓. สันติฏฐนา วางเฉยในสังขารทั้งหลาย

คำว่า ปญฺา และคำว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ ท่านทำเป็นพหุวจนะไว้, คำว่า าณํ พึงทราบว่า ท่านทำไว้เป็นเอกวจนะ เพราะแม้จะต่างกันโดยประเภทแห่งการกำหนดก็เป็นอย่างเดียวกัน.

สมจริงดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตา, ปฏิสังขานุปัสสนา และปฏิสังขารุเปกขา มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น. (๑) แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่าคำว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ นี้ เป็นพหุวจนะ เพราะสังขารุเปกขาเป็นของมากด้วยสามารถแห่งสมถะและวิปัสสนา ดังนี้ก็มี. ก็คำว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ ในการเพ่งสังขารทั้งหลาย พึงทราบว่า เพ่งการกระทำ.

แต่จิตของพระโยคีบุคคลผู้เบื่อหน่ายอยู่ ระย่ออยู่ด้วยนิพพิทาญาณนั้นด้วยประเภทแห่งการกำหนด ย่อมไม่ติด ย่อมไม่ข้อง ย่อม


๑. ขุ.ป. ๓๑/๕๐๘.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 63

ไม่เกี่ยวอยู่ในสังขารทั้งหลายทุกประเภท อันอยู่ในภพ, กำเนิด, คติ, วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง, จิตนั้นก็ใคร่ที่จะพ้น ใคร่ที่จะสลัดทิ้งสัพพสังขารทั้งหมด.

อีกอย่างหนึ่ง เสมือนปลาที่ติดอยู่ในข่าย, กบที่อยู่ในปากงู, ไก่ป่าที่ถูกขังอยู่ในกรง, มฤคที่ติดบ่วงแน่น, งูที่อยู่ในกำมือของหมองู, ช่างที่แล่นไปตกหล่มใหญ่. นาคราชอยู่ในปากของครุฑ, พระจันทร์ที่เข้าไปอยู่ในปากของราหู, บุรุษถูกศัตรูล้อมไว้ เหล่านี้เป็นต้น ล้วนเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพ้นเพื่อจะหลุดรอดไปจากพันธนาการนั้นๆ ด้วยกันทั้งสิ้น ฉันใด, จิตของพระโยคีบุคคลนั้นย่อมใคร่ที่จะพ้น ใคร่ที่จะหลุดรอดจากสังขารทั้งปวง ก็ฉันนั้น. ก็เมื่อกล่าวอยู่อย่างนี้ พระปาฐะว่า มุญฺจิตุกามสฺส มุญฺจิตุกมฺยตา แปลว่า ความใคร่ที่จะพ้นของพระโยคีบุคคลผู้ใคร่จะพ้น ก็ย่อมถูกต้อง. เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็พึงกล่าวได้ว่า ในบทว่า อุปฺปาทํ มุญฺจิตุกมฺยตา เป็นต้น ก็ ควรเป็น อุปฺปาทา มุญฺจิตุกมฺยตา เป็นต้น, เพราะฉะนั้น เนื้อความก่อนนั่นแหละดีกว่า.

ก็แล มุญจิตุกัมยตาญาณย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลนั้นผู้ทอดอาลัยในสังขารทั้งปวง ผู้ใคร่จะพ้นจากสังขารทั้งปวง. พระโยคีบุคคลเป็นผู้ใคร่จะพ้นสังขารทุกประเภทบรรดามีในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาสทั้งปวง จึงยกสังขารเหล่านั้นขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อีก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 64

เพื่อจะทำอุบายแห่งการพ้นให้สำเร็จ แล้วจึงเห็นแจ้งด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ.

ก็เมื่อพระโยคีบุคคลนั้นเห็นแจ้งอยู่อย่างนี้แล ปฏิสังขาญาณเป็นนิมิตด้วยอนิจลักษณะ ย่อมเกิดขึ้น, ปฏิสังขาญาณอันเป็นไปด้วยทุกขลักษณะ ย่อมเกิดขึ้น, และปฏิสังขาญาณเป็นนิมิตและเป็นไปแล้วด้วยอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเกิด.

พระโยคีบุคคลนั้นเห็นว่า สพฺเพ สงฺขารา สุญฺา แปลว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของว่าง ดังนี้แล้วจึงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ พิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ จึงละความกลัวและความยินดีเสียได้ก็ย่อมวางเฉย มีตนเป็นกลางในสังขารทั้งหลาย ดุจบุรุษเห็นโทษของภริยา แล้วทิ้งภริยาเสีย แล้ววางเฉย มีตนเป็นกลางในร่างกายของภริยานั้น, พระโยคีบุคคลนั้นย่อมไม่ถืออหังการว่า เรา หรือ มมังการว่า ของเรา.

จิตของพระโยคีบุคคลนั้น เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ ก็ย่อมหลีกออก ถอยกลับ หมุนกลับ ไม่ยินดีในภพทั้ง ๓. เหมือนใบบัวโอนไปหน่อยหนึ่ง หยาดน้ำทั้งหลายย่อมไหลไป ถอยกลับ หมุนกลับ ไม่ไหลลื่นไป, หรือเหมือนขนไก่หรือเอ็นและหนัง ที่เขาใส่ในไฟ ย่อมหลีกออก งอกลับ ม้วนกลับ ไม่คลี่ออกแม้ฉันใด; จิตของพระโยคีบุคคลนั้น ย่อมหลบหลีก ถอยกลับ หมุนกลับ ไม่ยินดีในภพ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 65

ทั้ง ๓ ฉันนั้น, อุเบกขา ความวางเฉย ก็ย่อมตั้งขึ้น. สังขารุเปกขาญาณย่อมเป็นอันเกิดขึ้นแล้วแก่พระโยคีบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้.

อนุโลมญาณกับสังขารุเปกขาญาณนี้ เป็นเหตุให้สำเร็จโคตรภูญาณในเบื้องบน แม้จะมิได้กล่าวไว้ด้วยญาณต้นและญาณหลัง ก็พึงทราบว่า ย่อมเป็นอันกล่าวไว้แล้วทีเดียว. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้, ไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควร จักก้าวลงสู่ความเป็นแห่งความเห็นชอบและความแน่นอน ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้, เมื่อไม่ก้าวลงสู่ความเป็นแห่งความเห็นชอบและความแน่นอน จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล, สกทาคามิผล, อนาคามิผล หรือ อรหัตตผล ข้อนั้น ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (๑) ดังนี้เป็นต้น.


๑. องฺ.ฉกก. ๒๒/๓๖๙.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 66

และพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวคำเป็นต้นว่า

ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร, ย่อมก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร.

ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐, ย่อมก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ (๑) ดังนี้.

และในปัฏฐานปกรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำเป็นต้นว่า

อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย. (๒)

จริงอยู่ เมื่อพระโยคีบุคคลนั้นเสพอยู่ เจริญอยู่ กระทำให้มากอยู่ ซึ่งสังขารุเปกขาญาณนั้น อธิโมกขสัทธาก็ย่อมมีกำลังยิ่ง, วิริยะก็ประคองไว้ได้ด้วยดี, สติก็ตั้งมั่น, จิตก็เป็นสมาธิ, สังขารุเปกขาญาณก็ย่อมเป็นไปอย่างแก่กล้า.

จิตนั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายว่า อนิจฺจา ไม่เที่ยง, ทุกฺขา เป็นทุกข์, หรือ อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตนด้วยสังขารุเปกขาโดยหวังว่า "มรรคจักเกิดขึ้นในบัดนี้" ดังนี้ แล้วก็ลงสู่ภวังค์.


๑. ขุ.ป. ๓๑/๗๓๕. ๒. อภิ.ป. ๔๐/๕๐๕.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 67

อนุโลมญาณ

ต่อจากภวังค์ มโนทวาราวัชชนะก็เกิดขึ้นทำสังขารทั้งหลาย โดยนัยที่สังขารุเปกขาทำแล้วนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ว่า อนิจจา ไม่เที่ยง, ทุกขา เป็นทุกข์ หรือ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน.

ต่อจากมโนทวาราวัชชนะนั้น ชวนจิตก็เกิดขึ้น ๒ ขณะ, ๓ ขณะ หรือ ๔ ขณะ รับเอาสังขารทั้งหลายทำให้เป็นอารมณ์ เหมือนอย่างนั้นนั่นแล.

ญาณอันสัมปยุตกับชวนจิตนั้น ชื่อว่าอนุโลมญาณ.

จริงอยู่ อนุโลมญาณนั้น ย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ ๘ ในเบื้องต้น เพราะเป็นกิจแห่งสัจญาณ, และอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า.

เหมือนอย่างว่า ธรรมิกราชาประทับนั่งบนบัลลังก์เป็นที่วินิจฉัย ทรงสดับการวินิจฉัยของอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร ๘ คน แล้วทรงละอคติ วางพระองค์เป็นกลาง อนุโมทนาว่า เป็นอย่างนั้นเถิด ย่อมอนุโลมตามข้อวินิจฉัยของอำมาตย์ทั้ง ๘ คนเหล่านั้น, และอนุโลมตามโบราณราชธรรม.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 68

ในข้ออุปมานั้น อนุโลมญาณเปรียบเหมือนพระราชา, วิปัสสนาญาณ ๘ เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร, โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เปรียบเหมือนโบราณราชธรรม, พระราชาทรงอนุโมทนาว่า เป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่า ย่อมอนุโลมตามข้อวินิจฉัยของเหล่าอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหารด้วยตามราชธรรมด้วยฉันใด, อนุโลมญาณนี้ก็ฉันเป็น ย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ ๘ ที่เกิดขึ้นปรารภสังขารทั้งหลายด้วยสามารถแห่งพระไตรลักษณ์ มีอนิจลักษณะเป็นต้น เพราะเป็นกิจแห่งสัจจะ และอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า. เพราะฉะนั้น ญาณนี้ท่านจึงเรียกว่า อนุโลมญาณ ฉะนี้แล.