พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อรรถกถา โคตรภูญาณุทเทส ว่าด้วยโคตรภูญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 พ.ย. 2564
หมายเลข  40821
อ่าน  401

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 68

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๑๐. อรรถกถา โคตรภูญาณุทเทส

ว่าด้วยโคตรภูญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 68

๑๐. อรรถกถาโคตรภูญาณุทเทส

ว่าด้วย โคตรภูญาณ

ในคำว่า พหิทฺธา วุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา โคตฺรภูาณํ แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็นโคตรภูญาณ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า พหิทฺธา ได้แก่สังขารนิมิต. เพราะว่า สังขารนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่า พหิทฺธา - ภายนอก เพราะอาศัยอกุศลขันธ์ในจิตสันดาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 69

ในภายใน. เพราะฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นย่อมออก คือตั้งอยู่ในเบื้องบน ปราศจากสังขารนิมิตภายนอก ฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานะ, โคตรภูญาณนั้นย่อมหลีกออก ย่อมหมุนกลับ คือหันหลังให้ ฉะนั้น โคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวิวัฏฏนะ วุฏฐานะนั้นด้วยวิวัฏฏนะนั้นด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวิวัฏฏนะ. เพราะเหตุนั้นท่านพุทธโฆษาจารย์จึงกล่าวว่า

โคตรภูญาณ ยังไม่ออกจากปวัตตขันธ์ เพราะตัดสมุทัยยังไม่ขาด แต่ออกจากนิมิตได้ เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เอกโตวุฏฐานะ คือออกจากสังขารนิมิตโดยส่วนเดียว (๑) ดังนี้.

ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำเสียได้ซึ่งโคตรปุถุชน และเพราะก้าวขึ้นสู่โคตรอริยะ. เพราะโคตรภูญาณนี้กระทำพระนิพพาน ชื่อว่า อนิมิตตะ ไม่มีนิมิตให้เป็นอารมณ์ในที่สุดแห่งอาเสวนะแห่งอนุโลมญาณขอจิตที่เหนื่อยหน่ายจากสังขารทั้งปวงดุจน้ำตกจากใบบัว, ก้าวล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน ซึ่งอันนับว่าปุถุชน, ซึ่งภูมิแห่งปุถุชน, หยั่งลงสู่โคตรแห่งอริยะ อันนับว่าอริยะ เป็นภูมิแห่งอริยะ, ยังความ


๑. ปัญญานิทเทส แห่งวิสุทธิมรรค.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 70

เป็นปัจจัยให้สำเร็จแก่มรรคด้วยอำนาจปัจจัย ๖ คือ อนันตระ, สมนันตระ, อาเสวนะ, อุปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ อันเป็นไปในครั้งแรก ความเสพในครั้งแรก, อันประชุมพร้อมกันในครั้งแรกในอารมณ์คือนิพพาน, ถึงยอดเป็นศีรษะวิปัสสนา ย่อมเกิดขึ้นกระทำให้เป็นภาพที่ให้หมุนกลับอีกไม่ได้.