จิตวิจิตร

 
Sea
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40823
อ่าน  854

ขอทราบรายละเอียดความหมายของคำว่า ... "จิตวิจิตร" อย่างไรที่เรียกว่าวิจิตร เข้าใจว่าน่าจะมีหลายขั้นลึกตื้นต่างกัน

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จากหนังสือพระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน ครับ

ในอัฏฐสาลินี ซึ่งเป็นอรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ ตอน ๒ จิตตุปปาทกัณฑ์มีข้อความว่า ชื่อว่า จิต เพราะกระทำให้วิจิตร อย่างไร จริงอยู่ ธรรมดา ว่า ความวิจิตรอื่น จะยิ่งไปกว่า จิตรกรรมย่อมไม่มีในโลก ธรรมดา ว่า ลวดลายในจิตรกรรม แม้นั้น ก็เป็น ความวิจิตร คือ เป็นความงามอย่างยิ่งทีเดียว พวกช่างลวดลาย เมื่อจะกระทำจิตรกรรมนั้น ย่อมเกิด สัญญาอันวิจิตร ว่า รูป ทั้งหลาย ชนิดต่างๆ เราพึงกระทำ ณ ตรงนี้ โดยอุบายอย่างนี้ การกระทำให้วิจิตร ทั้งหลาย ที่ให้สำเร็จกิจ มีการเขียน การลงสี การทำสีให้เรืองรอง และ การสลับสี เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ด้วย สัญญาอันวิจิตร รูปอันวิจิตร อย่างใดอย่างหนึ่ง ในความวิจิตร คือ ลวดลายย่อมสำเร็จมาจาก การกระทำให้วิจิตร นั้น เพราะเหตุนั้นศิลปะอันวิจิตร ทุกชนิด ในโลก อัน จิต นั่นเอง "คิด" ว่า รูปนี้ จงอยู่บนรูปนี้ รูปนี้ จงอยู่ใต้รูปนี้ รูปนี้ จงอยู่ข้างทั้งสอง ดังนี้ แล้วจึงกระทำเหมือน รูปอันวิจิตร ที่เหลือ ย่อมสำเร็จได้ ด้วย "กรรม" อันช่างคิดแล้ว ฉะนั้น แม้ จิต-ที่ให้สำเร็จความวิจิตรนั้น ก็ชื่อว่า จิต อย่างนั้น เหมือนกัน เพราะ (จิต) เป็น "ธรรมชาติ-วิจิตร ด้วยการกระทำ" นี้ดังพรรณามา ฉะนี้

อีกอย่างหนึ่ง จิต นั่นเอง ชื่อว่า วิจิตร แม้กว่าลวดลายในจิตรกรรม นั้น เพราะให้สำเร็จจิตรกรรม ตามที่ "จิต-คิด" ทุกชนิด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคฯ จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา ว่า ลวดลายอันวิจิตร เธอเห็นแล้วหรือ" .. "เห็นแล้ว พระพุทธเจ้าข้า" .. "ภิกษุทั้งหลาย ลวดลายอันวิจิตร แม้นั้นแลก็ จิต นั่นเอง คิด แล้ว ภิกษุทั้งหลาย จิต นั่นแหละ วิจิตรกว่าลวดลายอันวิจิตร แม้นั้นแล"

มีข้อความ ที่แสดงว่า "สิ่งต่างๆ " สำเร็จด้วย "จิต" เช่น การให้ทาน (เป็นต้น) ซึ่งเป็น กุศลกรรม การทารุณโหดร้าย การหลอกลวง (เป็นต้น) ซึ่งเป็น อกุศลกรรมกุศลกรรม และ อกุศลกรรม ย่อมให้ผล ต่างกัน ฉะนั้น จึงไม่ใช่ว่า มี จิต เพียงประเภทเดียวเท่านั้น แต่ มี จิต มากมาย-หลายประเภท ทีเดียว


จากหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป ครับ

จิตตสังเขปบทที่ ๘

ลักษณะของจิต ๔ ประการ คือ

๑. ที่ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์

๒. ที่ชื่อว่า “จิต” เพราะสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี

๓. ที่ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นสภาพธรรมอันกรรมกิเลสสั่งสมวิบาก

๔.อนึ่ง จิตแม้ทุกดวงชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควรโดยอำนาจแห่งสัมปยุตตธรรม

วิจิตร คือ ต่างๆ ไม่เหมือนกัน และที่วิจิตร คือ ต่างๆ กันนั้นโดยอำนาจแห่งสัมปยุตตธรรม ต้องมีเหตุที่ทำให้จิตต่างกัน ฉะนั้น อะไรเป็นเหตุให้จิตต่างกัน จิตเป็นสังขารธรรม เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีเจตสิกเป็นปัจจัยปรุงแต่ง เจตสิกเป็นปรมัตถธรรมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต ฉะนั้น เจตสิกซึ่งเป็น สัมปยุตตธรรมที่เกิดกับจิตนั่นเองทำให้จิตต่างๆ กันไป

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lokiya
วันที่ 25 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 25 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sea
วันที่ 25 พ.ย. 2564

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนา ค่ะ อ.ผเดิม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 26 พ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

จิตวิจิตรอย่างไร

...ยินดีในควมดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sea
วันที่ 27 พ.ย. 2564

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ อ.คำปั่น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ค่อยๆศึกษา
วันที่ 29 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ