๑๑. อรรถกถา มัคคญาณุทเทส ว่าด้วยมรรคญาณ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 70
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๑๑. อรรถกถา มัคคญาณุทเทส
ว่าด้วยมรรคญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 70
๑๑. อรรถกถามัคคญาณุทเทส
ว่าด้วย มรรคญาณ
ในคำว่า ทุภโต วุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา มคฺเค าณํ แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง ๒ เป็นมรรคญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คำว่า ทุภโต แปลว่าทั้ง ๒, อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวอธิบายว่า ทั้งคู่. มรรคญาณย่อมออกคือย่อมหมุนกลับจากกิเลสทั้งหลาย และขันธ์อันเป็นไปตามกิเลสเหล่านั้น กับทั้งจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอกจากการการทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะตัดกิเลสทั้งหลายได้ขาดแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง ๒.
เพราะเหตุนั้น พระพุทธโฆษาจารย์จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 71
มรรคญาณแม้ทั้ง ๔ ออกจากนิมิต เพราะมีพระนิพพานอันไม่มีนิมิตเป็นอารมณ์, และย่อมออกจากปวัตตขันธ์ เพราะตัดสมุทัยได้ขาด ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุภโตวุฏฐานะ คือออกโดยส่วนทั้งสอง (๒) ดังนี้.
ธรรมชาติใดย่อมขวนขวาย ย่อมเพ่งเล็งพระนิพพาน, หรือพระโยคีบุคคลผู้ต้องการพระนิพพาน ย่อมขวนขวาย คือย่อมแสวงหา, หรือว่าธรรมชาติใดยังกิเลสทั้งหลายให้ตายไป เป็นไปอยู่ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มรรค, ญาณในมรรคนั้น ชื่อว่า มคฺเค าณํ - มรรคญาณ.
มรรคญาณท่านทำเป็นเอกวจนะโดยชาติศัพท์. ก็มรรคญาณนั้นเกิดขึ้น ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ต่อจากโคตรภูญาณ, ตัดกิเลสอันจะพึงฆ่าได้เองโดยไม่มีส่วนเหลือ, เผาผลาญห้วงสมุทรคือทุกข์ในสังสารวัฏฏ์อันมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้วให้เหือดแห้งไป, ปิดประตูอบายทั้งปวงเสีย, การทำอริยทรัพย์ ๗ ให้ปรากฏอยู่ต่อหน้า, ละมิจฉามรรคประกอบด้วยองค์ ๘, ทำเวรภัยทั้งปวงให้สงบ, นำตนเข้าสู่ความเป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้อานิสงส์อื่นๆ อีกหลายร้อยเท่า เหมือนคำที่กล่าวว่า
๑. ปัญญานิทเทส แห่งวิสุทธิมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 72
บุรุษปรารถนาจะโดดข้ามแม้น้ำน้อยขึ้นไปยืนอยู่บนฝั่งโน้น จึงจับเชือกหรือท่อนไม้ที่ติดอยู่กับต้นไม้บนฝั่งนี้ แล้วโดดข้ามไปโดยเร็ว จนตัวไปตกอยู่บนฝั่งโน้น เมื่อตัวตกที่ฝั่งโน้นแล้วก็ละความหวาดหวั่นนั้น ขึ้นอยู่บนฝั่งได้ฉันใด, พระโยคีบุคคลผู้ปรารถนาจะข้ามพ้นกิเลสทั้งหลายเห็นภัยฝั่งนี้ล้วนแล้วด้วยสักกายทิฏฐิ แล้วยืนอยู่ที่ฝั่ง คือพระนิพพานอันไม่มีภัย จึงจับเชือกคือรูปขันธ์ เป็นที่ยึดโดดมาโดยเร็วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนาเป็นเบื้องแรก หรือจับไม้กล่าวคือนามขันธ์นั้นไว้ด้วยดี กระโดดมาด้วยอาวัชชนจิตโดยนัยตามที่กล่าวแล้วในก่อน โดดขึ้นด้วยอนุโลมญาณ แล้วโน้มไปในพระนิพพาน เข้าไปสู่ที่ใกล้แห่งพระนิพพานนั้น ก็ปล่อยอารมณ์คือสังขารธรรมนั้นเสียได้ด้วยโคตรภูญาณ แล้วตกลงที่ฝั่งอื่นคือพระนิพพานอันเป็นอสังขตธรรม แต่นั้นก็ตั้งอยู่ด้วยมรรคญาณ ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 73
นระผู้ใคร่จะดูพระจันทร์ ในเวลาที่พระจันทร์ถูกเมฆหมอกบดบังไว้ ครั้นเมื่อเมฆหมอกถูกพายุพัดไปตามลำดับ จากหนาทึบเป็นบางและบางเข้าก็เห็นพระจันทร์ได้ฉันใด, โคตรภูญาณที่กำลังเพ่งอมตนิพพานอยู่ เมื่อโมหะที่ปกปิดสัจจะไว้ถูกทำลายให้พินาศไปด้วยอนุโลมญาณตามลำดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อนุโลมญาณก็มิได้เห็นอมตนิพพาน เหมือนลมเหล่านั้นก็มิได้เห็นพระจันทร์ โคตรภูญาณก็บรรเทาความมืดไม่ได้ เหมือนบุรุษก็บรรเทาเมฆหมอกไม่ได้ฉะนั้น. แต่มรรคญาณนี้เป็นไปในพระนิพพาน มิได้ละสัญญาอันโคตรภูญาณให้แล้ว จึงทำลายกองกิเลสมีกองโลภะเป็นต้นได้ เหมือนจักรยนต์ที่ใช้เป็นเป้ากำลังหมุนอยู่ นายขมังธนูยืนจ้องจะยิงอยู่แล้ว พอสัญญาอันคนอื่นให้แล้ว ก็ยิงลูกศรไปทะลุแผ่นเป้าได้ตั้ง ๑๐๐ ฉะนั้น. มรรคญาณนั้นนั่นแลทำทะเลหลวงคือสังสารทุกข์ให้เหือดแห้งไป ปิดประตูทุคติเสียได้ ทำคนที่มีหนี้คือกิเลสให้เป็นเสฏฐบุคคลผู้สมบูรณ์