พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๓. อรรถกถา วิมุตติญาณุทเทส ว่าด้วยวิมุตติญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40826
อ่าน  511

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 76

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๑๓. อรรถกถา วิมุตติญาณุทเทส

ว่าด้วยวิมุตติญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 76

๑๓. อรรถกถาวิมุตติญาณุทเทส

ว่าด้วย วิมุตติญาณ

คำว่า ฉินฺนวฏุมานุปสฺสเน ปญฺา แปลว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสอันอริยมรรคตัดขาดแล้ว ความว่า ปัญญาในการเห็นภายหลังซึ่งอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดขาดแล้ว.

คำว่า วิมุตฺติาณํ เป็นวิมุตติญาณ ความว่า ญาณในวิมุตติ.

คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่จิตบริสุทธิหลุดพันจากอุปกิเลสทั้งหลาย, หรือความที่จิตนั้นหลุดพ้นแล้ว, ญาณคือความรู้ในวิมุตตินั้น ชื่อว่า วิมุตติญาณ.

ท่านกล่าวอธิบายการพิจารณากิเลสที่ละแล้วด้วยญาณนี้ว่า พระอริยบุคคลเมื่อพิจารณาความสืบต่อแห่งจิตที่หลุดพ้นจากกิเลสแล้วก็ดี ซึ่งความหลุดพ้นจากกิเลสก็ดี เว้นกิเลสเสียก็พิจารณาไม่ได้ดังนี้. ก็คำว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ าณํ โหติ แปลว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 77

ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้วดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาวิมุตติญาณนี้นั่นแล. ส่วนการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ แม้ไม่ได้กล่าวไว้แล้ว ก็พึงถือเอาว่า เป็นอันกล่าวแล้วด้วยวิมุตติญาณนี้แล. และท่านกล่าวไว้ว่า

แม้กล่าวในเอกธรรม ก็เป็นอันกล่าวทั้งหมด เพราะสภาวธรรมนั้นมีลักษณะเป็นอันเดียวกัน, นี้เป็นลักษณะ เป็นหาระ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวถึงการพิจารณากิเลสที่ละแล้วซึ่งพระอริยบุคคล ๔ จะพึงได้ เพราะพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่.