พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๔. อรรถกถา ปัจจเวกขณญาณุทเทส ว่าด้วยปัจจเวกขณญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40827
อ่าน  407

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 77

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๑๔. อรรถกถา ปัจจเวกขณญาณุทเทส

ว่าด้วยปัจจเวกขณญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 77

๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณุทเทส

ว่าด้วย ปัจจเวกขณญาณ

คำว่า ตทา สมุทาคเต ธมฺเม ปสฺสเน ปญฺา แปลว่าปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น ความว่า ปัญญาเป็นเครื่องเห็นเพ่งรู้ในธรรมคือมรรคและผลกับทั้งในธรรมคือสัจจะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมรรคขณะและผลขณะ คือมาพร้อมแล้ว ถึงพร้อมแล้ว ประชุมกันในกาลนั้น ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะและด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 78

คำว่า ปจฺจเวกฺขเณ าณํ - ปัจจเวกขณญาณ ความว่า ญาณเป็นเครื่องหมุนกลับมาเห็นรู้แจ่มแจ้ง. ก็ปัจจเวกขณญาณท่านกล่าวไว้ด้วยญาณทั้ง ๒ นี้.

ก็ในที่สุดแห่งโสดาปัตติผลในมรรควิถี จิตของพระโสดาบันก็ลงภวังค์. ต่อแต่นั้นก็ตัดภวังค์ขาด มโนทวาราวัชชนะก็เกิดขึ้นเพื่อพิจารณามรรค, ครั้นมโนทวาราวัชชนะนั้นดับลงแล้ว ชวนจิตพิจารณามรรคก็เกิดขึ้น ๗ ขณะโดยลำดับฉะนี้แล. ครั้นแล้วก็ลงสู่ภวังค์อีก อาวัชชนจิตเป็นต้นก็เกิดขึ้นเพื่อพิจารณาธรรมทั้งหลายมีผลเป็นต้น โดยนัยนั้นเอง. เพราะความเกิดแห่งธรรมเหล่าใดมีผลเป็นต้น พระโสดาบันนั้นก็พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละแล้ว, กิเลสที่ยังเหลือ, และพระนิพพาน.

ก็พระโสดาบันนั้นพิจารณามรรคว่า เรามาแล้วด้วยมรรคนี้หนอ, ต่อแต่นั้นก็พิจารณาผลว่า อานิสงส์นี้เราได้แล้ว, ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่ละแล้วว่า ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ เราละได้แล้ว, ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่มรรคเบื้องบนจะพึงละว่า กิเลสเหล่านี้เรายังเหลืออยู่, ในที่สุดก็พิจารณาอมตนิพพานว่า ธรรมนี้เราได้แล้วโดยความเป็นอารมณ์

พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน มีปัจจเวกขณะ ๕ อย่าง ด้วยประการนี้. ปัจจเวกขณะของพระสทาคามีและพระอนาคามี ก็มีเหมือน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 79

พระโสดาบัน. แต่ของพระอรหันต์ มีปัจจเวกขณะ ๔ อย่างคือ ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่. รวมปัจจเวกขณญาณทั้งหมดมี ๑๙ ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์.

ถามว่า การพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลืออยู่ ยังมีแก่พระเสกขะทั้งหลายหรือไม่?

ตอบว่า เพราะความที่การพิจารณาการละกิเลสนั้นไม่มี ท้าวมหานามศากยราชจึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมชื่ออะไรเล่า ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลกธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว ดังนี้ เป็นต้น.

ในที่นี้ เพื่อจะให้ญาณ ๑๑ มีธรรมฐิติญาณแจ่มแจ้ง พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้

เปรียบเหมือนบุรุษคิดว่า เราจะจับปลา จึงถือเอาสุ่มไปสุ่มลงในน้ำที่คิดว่าควรจะมีปลา แล้วจึงหย่อนมือลงไปทางปากสุ่ม แล้วก็คว้าเอาคองูเห่าที่อยู่ภายในน้ำด้วยสำคัญว่าเป็นปลาไว้แน่น ดีใจคิดว่า เราได้ปลาใหญ่แล้ว ก็ยกขึ้นจึงเห็นก็รู้ว่า งู เพราะเห็นดอกจัน ๓ แฉก เกิดกลัว เห็นโทษ เบื่อหน่ายในการจับ ใคร่ที่จะพ้นจึงทำอุบายเพื่อจะหลุดพ้น จึงจับงูให้คลายมือตั้งแต่ปลายหางแล้วชูแขนขึ้นแกว่ง ไปรอบศีรษะ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ทำงูให้ทุรพลแล้วเหวี่ยงไปพร้อมกับพูด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 80

ว่า เฮ้ย! ไปเจ้างูร้าย แล้วโดดขึ้นไปยืนบนบกโดยเร็วทีเดียว เกิดร่าเริงใจว่า ท่านผู้เจริญ เราพ้นแล้วจากปากงูใหญ่ แล้วแลดูทางที่ตนมา.

ในข้ออุปมา - การเปรียบเทียบนั้นมีดังต่อไปนี้

การยึดมั่นซึ่งขันธ์ ๕ อันน่ากลัว ด้วยสามารถแห่งลักษณะมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วยินดีด้วยสำคัญว่าเที่ยงด้วยตัณหา อันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ (คือโลภทิฏฐิคตสัมปยุต) ว่า เรา, ของเรา ของพาลปุถุชนตั้งต้นแต่พระโยคีบุคคลนี้ ดุจการจับงูเห่าไว้มั่นด้วยสำคัญว่าเป็นปลาของบุรุษนั้นฉะนั้น, การทำลายฆนสัญญาด้วยการกำหนดนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย แล้วเห็นพระไตรลักษณ์มีอนิจจตาเป็นต้นของขันธ์ ๕ ด้วยญาณ มีการพิจารณาโดยความเป็นกลาปแล้วกำหนดขันธ์ ๕ นั้นว่า ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา ดุจดังการนำงูออกจากปากสุ่ม แล้วเห็นดอกจัน ๓ แฉก จึงรู้ว่างู ของบุรุษนั้นฉะนั้น,

ภยตูปัฏฐานญาณของพระโยคีบุคคลนี้ เหมือนกับความกลัวของบุรุษนั้นฉะนั้น,

อาทีนวานุปัสสนาญาณ ดุจดังการเห็นโทษในงูฉะนั้น,

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ดุจดังการระอาในการจับงูฉะนั้น.

มุญจิตุกัมยตาญาณ ดุจดังการใคร่ที่จะสลัดงูไปเสียให้พ้นฉะนั้น,

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 81

ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ดุจดังการทำอุบายเพื่อจะสลัดงูไปเสียให้พ้นฉะนั้น.

การพิจารณาอย่างรอบคอบซึ่งสังขารทั้งหลายด้วยสังขารุเปกขาญาณ โดยการยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้วกระทำให้ทุรพลจนไม่สามารถจะปรากฏโดยอาการว่าเที่ยง, เป็นสุข, และเป็นอัตตาได้อีก ดุจดังการจับงูขึ้นหมุนไปรอบๆ ในเบื้องบนแห่งศีรษะ กระทำให้ทุรพลจนไม่สามารถจะหวนกลับมากัดได้อีก.

โคตรภูญาณ ดุจดังการสลัดงูทิ้งไปฉะนั้น,

มรรคญาณผลญาณก้าวขึ้นยืนอยู่บนบก คือพระนิพพานดุจดังการที่บุรุษนั้นสลัดงูทิ้งไปแล้วขึ้นไปยืนอยู่บนบกฉะนั้น,

ปัจจเวกขณญาณในธรรมมีมรรคเป็นต้น ดุจดังการแลดูทางที่มาแล้วของบุคคลผู้ร่าเริงฉะนั้น.

ในบรรดาปัจจเวกขณญาณทั้งหลาย พึงทราบว่า กิเลสปัจจเวกขณะ การพิจารณากิเลสเป็นครั้งแรก ต่อแต่นั้นจึงเป็นการพิจารณามรรคผลและนิพพาน เพราะลำดับแห่งเทศนาอันพระโยคีบุคคลกระทำแล้วตามลำดับแห่งการเกิดขึ้นแห่งญาณ ๑๔ เหล่านี้มีสุตมยญาณเป็นต้น และตามลำดับแห่งการปฏิบัติ.

ความที่แห่งกิเลสปัจจเวกขณะ การพิจารณากิเลสตามสมควรแก่การปฏิบัตินั่นแล เป็นเบื้องต้นย่อมควร เพราะท่านกล่าวการปฏิบัติ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 82

มรรคไว้ เพราะทำการละกิเลสนั่นแหละให้เป็นข้อสำคัญว่า พระโยคีบุคคลเจริญโลกุตรฌาน อันเป็นนิยานิกธรรมนำออกจากทุกข์ เป็นอปจยคามีเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ก็เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ, เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาทให้เบาบางลง, เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีส่วนเหลือ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาไม่ให้มีส่วนเหลือ, แต่ลำดับแห่งการกล่าว (๑) ท่านแสดงไว้แล้วในอรรถกถา.

ก็ลำดับนั้นมี ๕ อย่างคือ ลำดับแห่งการเกิดขึ้น ลำดับแห่งการละ, ลำดับแห่งการปฏิบัติ, ลำดับแห่งภูมิ, ลำดับแห่งเทศนา.

คำมีอาทิอย่างนี้ว่า

ปมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโนติ.

ในสัปดาห์ที่ ๑ เกิดเป็น กลละ

ในสัปดาห์ที่ ๒ จากกลละก็เกิดเป็นอัพพุทะ

ในสัปดาห์ที่ ๓ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ

ในสัปดาห์ที่ ๔ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ (๒) ดังนี้


๑. คือลำดับแห่งการแสดง ที่ปรากฏในวรรคแรกว่า เทสนกฺกมสฺส กตตฺตา. ๒. สํ. ส. ๑๕/๘๐๓.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 83

ชื่อว่า ลำดับแห่งการเกิด.

ปหาตัพพติกมาติกามีอาทิอย่างนี้ว่า

ทสฺสเนน (๑) ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายอันโสดาปัตติมรรคพึงละ,

ภาวนาย (๒) ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายอันมรรคในเบื้องบน ๓ พึงประหาณ ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการละ.

คำมีอาทิอย่างนี้ว่า

สีลวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล,

จิตฺตวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต (สมาธิ) ,

ทิฏฺิวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งทิฏฐิ (ปัญญา) ,

กงฺขาวิตรณวสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งกังขาวิตรณะ (การข้ามพ้นความสงสัย) ,

มคฺคามคฺคาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งมัคคามัคคญาณทัสนะ (การเห็นด้วยปัญญาว่าใช่ทางและมิใช่ทาง) ,

ปฏิปทาาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะในปฏิปทา (การเห็นด้วยปัญญาในข้อปฏิบัติ) ,


๑. ทสฺสเนน หมายเอาโสดาปัตติมรรค. อภิ. สํ. ๓๔/๙๗๐.

๒. ภาวนาย หมายเอาสกทาคามิมรรค, อนาคามิมรรค, และอรหัตตมรรค. อภิ. สํ. ๓๔/๙๗๑.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 84

าณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะ (เห็นแจ่มแจ้งด้วยปัญญา) , ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการปฏิบัติ.

คำมีอาทิอย่างนี้ว่า

สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกามาวจระ, สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปาวจระ, สภาธรรมทั้งหลายที่เป็นอรูปาวจระ (๑) ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งภูมิ.

คำมีอาทิอย่างนี้ว่า

สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, โพชฌงค์ ๗, โพชฌงค์ ๗, อริยมรรคมีองค์ (๒).

หรือคำมีอาทิว่า

แสดงอนุปุพพิกถา คือ ทานกถา, สีลกถา, สัคคกถา, ประกาศโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกจากกาม (๓) ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการเทศนา.


๑. อภิ.สํ. ๓๔/๑๔. ๒. ม.อุ. ๑๔/๕๔. ๓. วิ.มหา. ๔/๓๑.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 85

แต่ในที่นี้ พึงทราบว่าหมายเอาลำดับ ๓ ประการ คือลำดับแห่งการเกิดขึ้นแห่งญาณ ๑๔, ลำดับแห่งการปฏิบัติ, และลำดับแห่งเทศนา เพราะแสดงตามลำดับด้วยสามารถแห่งลำดับทั้ง ๒ นั้น.