พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๕. อรรถกถา วัตถุนานัตตญาณุทเทส ว่าด้วยวัตถุนานัตตญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40828
อ่าน  368

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 85

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๑๕. อรรถกถา วัตถุนานัตตญาณุทเทส

ว่าด้วยวัตถุนานัตตญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 85

๑๕. อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณุทเทส

ว่าด้วย วัตถุนานัตตญาณ

นามรูปววัตถานญาณ ท่านยังมิได้กล่าวไว้ ฉะนั้นเพื่อที่จะแสดงประเภทแห่งนามรูป ๕ อย่างในบัดนี้ ท่านจึงยกเอาญาณ ๕ มีคำว่า อชฺฌตฺตววตฺถาเน ปญฺา วตฺถุนานตฺเต าณํ ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ ขึ้นแสดง ณ บัดนี้.

จริงอยู่ในนามรูปทั้งสิ้นที่ท่านกล่าวแล้ว นามรูปใดอาจที่จะกำหนดได้, และนามรูปใดควรกำหนด, ก็จักกำหนดนามรูปนั้น. ส่วนนามที่เป็นโลกุตระ ไม่อาจที่จะกำหนดได้ เพราะยังไม่บรรลุ และไม่ควรกำหนด เพราะนามที่เป็นโลกุตระไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนา. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อชฺฌตฺตววตฺถาเน - ในการกำหนดธรรมภายใน ความว่า ชื่อว่า อัชฌัตตะ เพราะอรรถว่า ทำตนให้เป็นอธิการเป็นไปโดยประสงค์นี้ว่า เราเมื่อเป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็จักถึงการยึดมั่นว่าเป็นอัตตาตัวตน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 86

ก็ศัพท์ว่า อชฺฌตฺต นี้ ปรากฏในอรรถ ๔ อย่างคือ โคจรัชฌัตตะ, นิยกัชฌัตตะ, อัชฌัตตัชฌัตตะ, วิสยัชฌัตตะ.

อันอรรถะในโคจรัชฌัตตะนี้ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุนั้นตั้งจิตภายในให้มั่นในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล (๑) ... และเป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมภายใน เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว (๒) ดังนี้ เป็นต้น.

อรรถะในนิยกัชฌัตตะ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน (๓) , หรือ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในอยู่ (๔) ดังนี้เป็นต้น.

อรรถะในอัชฌัตตัชฌัตตะ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า อายตนะภายใน ๖ (๕) , และ สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นภายใน (๖) ดังนี้ เป็นต้น.

อรรถะในวิสยัชฌัตตะ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า ดูก่อนอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้แล้วนี้แล คือตถาคตเข้าสุญญตะภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ (๗) ดังนี้เป็นต้น. อธิบายว่า วิสัยชฌัตตะนี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า อิสริยฐานะ. จริงอยู่ ผลสมาบัติ


๑. ม.อุ. ๑๔/๓๕๗. ๒. ขุ.อ. ๒๕/๓๕. ๓. ที.สี. ๙/๑๒๘. ๔. ที. มหา. ๑๐/๒๙๐. ๕. ม.อุ. ๑๔/๘๑๑. ๖. อภิ.สํ ๓๔/๑. ๗. ม.อุ. ๑๔/๓๔๖.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 87

ชื่อว่าเป็นอิสริยฐานะของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่า หมายเอาในอรรถว่า อัชฌัตตัชฌัตตะ. ในการกำหนดอัชฌัตตะเหล่านั้น ชื่อว่า อชฺฌตฺววตฺถาเน - ในการกำหนดอัชฌัตตะ.

คำว่า วตฺถุนานตฺเต ได้แก่ ในความเป็นต่างๆ แห่งวัตถุทั้งหลาย, อธิบายว่า ในวัตถุต่างๆ.

ในที่นี้ ถึงแม้ภวังคจิตอันเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ คือชวนะ ท่านก็เรียกว่า วัตถุ เพราะเป็นฐานที่เกิดขึ้นดุจหมวด ๕ แห่งปสาทะ มีจักขุปสาทะเป็นต้นฉะนั้น. แม้อาวัชชนจิต ก็พึงทำให้เป็นที่อาศัยของวัตถุนั้นได้เหมือนกัน.