พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๘. อรรถกถา ภูมินานัตตญาณุทเทส ว่าด้วยภูมินานัตตญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40831
อ่าน  366

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 88

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๑๘. อรรถกถา ภูมินานัตตญาณุทเทส

ว่าด้วยภูมินานัตตญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 88

๑๘. อรรถกถาภูมินานัตตญาณุทเทส

ว่าด้วย ภูมินานัตตญาณ

คำว่า จตุธมฺมววตฺถาเน - ในการกำหนดธรรม ๔ ความว่า ในการกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างละ ๔ ด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลาย ๑๔ มีธรรมในกามาวจรภูมิเป็นต้นหมวดละ ๔.

ก็คำว่า ภูมิ - ภาคพื้น ย่อมเป็นไปในอรรถว่าปฐวีแผ่นดิน ดุจในประโยคว่า เงินทองทั้งที่มีอยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในอากาศ (๑) เป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่าวิสัย - สถานที่ ดุจในประโยคว่า ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าซ่องเสพภูมิสถานอันไม่สมควร (๒) เป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่า


๑. สํ.ส. ๑๔/๔๑๓. ๒. ขุ.ชา. ๒๗/๘๖๓.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 89

อุปปัชชนัฏฐาน - ที่เป็นที่เกิด ดุจในประโยคว่า กามาวจรจิตอันเป็นที่เกิดแห่งสุขเวทนา เป็นต้น. แต่ในที่นี้ย่อมเป็นไปในโกฏฐาสะคือส่วน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ย่อมเป็นไปในอรรถว่า ปริจเฉทะแปลว่ากำหนด ก็มี.