พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๐. อรรถกถา ญาตัฏฐญาณุทเทส ว่าด้วยญาตัฏฐญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40833
อ่าน  405

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 90

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๒๐. อรรถกถา ญาตัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วยญาตัฏฐญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 90

๒๐. อรรถกถาญาตัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย ญาตัฏฐญาณ

บัดนี้ ปริญญา ๓ คือ การกำหนดรู้นามรูปโดยประเภทนั้นแล เป็นญาตปริญญา, ต่อจากนั้นก็เป็นตีรณปริญญา, ในลำดับต่อไปก็เป็น ปหานปริญญา, และภาวนาการเจริญและสัจฉิกิริยาการทำให้แจ้ง ก็ย่อมมีเพราะเนื่องด้วยปริญญา ๓ นั้น, เพราะฉะนั้นท่านจึงยกเอาญาณทั้ง ๕ มีญาตัฏฐญาณเป็นต้น ขึ้นแสดงต่อจากธัมมนานัตตญาณ.

ก็ปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา, ตีรณปริญญาและปหานปริญญา. ในปริญญาทั้ง ๓ นั้น ดังนี้

ปัญญาอันเป็นไปในการกำหนดลักษณะโดยเฉพาะๆ แห่งสภาวธรรมเหล่านั้นๆ อย่างนี้ว่า รูปมีการแตกดับไปเป็นลักษณะ, เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่า ญาตปริญญา.

วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ ยกสามัญลักษณะแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นๆ ขึ้นเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, เวทนา อนิจฺจา ทุกฺขา อนตฺตา เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาดังนี้ ชื่อว่า ตีรณปริญญา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 91

ก็วิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ เป็นไปด้วยสามารถแห่งการละวิปลาสทั้งหลาย มีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเสียได้นั่นแล ชื่อว่า ปหานปริญญา.

บรรดาปริญญาทั้ง ๓ นั้น ตั้งต้นแต่สังขารปริจเฉทญาณ ญาณในการกำหนดสังขารธรรม จนถึงปัจจยปริคคหญาณ ญาณในการกำหนดสังขารธรรมโดยความเป็นปัจจัย เป็นภูมิของญาตปริญญา. เพราะในระหว่างนี้ ความเป็นอธิบดีย่อมมีแก่พระโยคีบุคคลผู้แทงตลอดลักษณะโดยเฉพาะๆ ของสภาวธรรมทั้งหลายได้.

ตั้งแต่กลาปสัมมสนญาณ ญาณในการพิจารณาสังขารธรรมโดยกลาป จนถึงอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณในการเห็นอยู่เนืองๆ ซึ่งการเกิดขึ้นและดับไปของสังขารธรรม เพราะในระหว่างนี้ ความเป็นอธิบดีย่อมมีแก่พระโยคีบุคคลผู้แทงตลอดสามัญลักษณะได้.

ตั้งต้นแต่ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณในการเห็นอยู่เนืองๆ ซึ่งความดับไปแห่งสังขารธรรมขึ้นไป เป็นภูมิแห่งปหานปริญญา. เพราะจำเดิมแต่นั้นไปความเป็นอธิบดีย่อมมีแก่อนุปัสสนา ๗ อันจะให้สำเร็จการละวิปลาสมีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น ได้อย่างนี้คือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ก็ย่อมละนิจสัญญาวิปลาสได้, เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ก็ละสุขสัญญาวิปลาสได้, เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ก็ละอัตตสัญญาวิปลาสได้, เมื่อเบื่อหน่าย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 92

ก็ละความเพลิดเพลินได้, เมื่อคลายกำหนัด ก็ละราคะได้, เมื่อให้ดับ ก็ละสมุทัยได้, เมื่อสละคืนก็ละความถือมั่นเสียได้ (๑) ดังนี้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อภิญฺาปญฺา ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องรู้ตามสภาวะมีรุปปนลักษณะ คือ รูปมีอันแตกดับไปเป็นลักษณะ เป็นต้น แห่งสภาวธรรมทั้งหลาย. จริงอยู่ ปัญญานั้นท่านเรียกว่า อภิญญา เพราะอธิบายด้วยอภิศัพท์มีอรรถว่างามดังนี้ คือ การรู้งามด้วยสามารถแห่งการรู้สภาวะของธรรมเหล่านั้นๆ.

คำว่า าตฏฺเ าณํ - ญาณในอรรถว่ารู้ ได้แก่ญาณอันมีความรู้เป็นสภาวะ.


๑. ขุ.ป. ๓๑/๑๑๒.