พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๕-๒๘. อรรถกถาอรรถ ปฏิสัมภิทาธรรม ปฏิสัมภิทา นิรุตติ ปฏิสัมภิทาปฏิภาณ ปฏิสัมภิทาญาณุทเทส ว่าด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40838
อ่าน  423

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 94

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๒๕ - ๒๘. อรรถกถาอรรถ ปฏิสัมภิทาธรรม

อรรถกถาอรรถ ปฏิสัมภิทานิรุตติ

อรรถกถาอรรถ ปฏิสัมภิทาปฏิภาณ

อรรถกถาอรรถ ปฏิสัมภิทาญาณุทเทส

ว่าด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 94

๒๕ - ๒๘. อรรถกถาอรรถปฏิสัมภิทาธรรมปฏิสัมภิทา

นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส

ว่าด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ ๔

บัดนี้ ญาณในการละ ในการเจริญ และในการกระทำพระนิพพานให้แจ้งย่อมประกอบด้วยอริยมรรคอริยผล ฉะนั้น ท่านจึงยกเอา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 95

ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อันพระอริยบุคคลนั่นแหละ จะต้องได้ขึ้นแสดงต่อจากผัสสนญาณนั้น.

แม้ในปฏิสัมภิทา ๔ นั้น อรรถะคือผลธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย ย่อมปรากฏดุจทุกขสัจจะ และเป็นธรรมอันใครๆ จะพึงรู้ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นท่านจึงยกอรรถปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดงก่อน, ต่อแต่นั้นก็ยกธรรมปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะอรรถะนั้นเป็นวิสัยแห่งธรรมอันเป็นเหตุ, ต่อแต่นั้นจึงยกเอานิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ เพราะอรรถะและธรรมทั้ง ๒ นั้นเป็นวิสัยแห่งนิรุตติ, และต่อจากนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณนั้น ท่านก็ยกเอาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะเป็นไปในญาณแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น. แต่อาจารย์บางพวกทำทีฆะปอักษะแล้วสวดก็มี.