พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓๒. อรรถกถา อานันตริกสมาธิญาณุทเทส ว่าด้วยอานันตริกสมาธิญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40840
อ่าน  330

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 97

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๓๒. อรรถกถา อานันตริกสมาธิญาณุทเทส

ว่าด้วยอานันตริกสมาธิญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 97

๓๒. อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณุทเทส

ว่าด้วย อานันตริกสมาธิญาณ

ญาณทั้ง ๒ (๑) นั้นแล อันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้ประสงค์จะกล่าวโดยประการอื่นอีกให้พิเศษด้วยเหตุอันแสดงถึงความที่มรรคญาณ แม้ที่กล่าวแล้วในก่อนว่า ทุภโต วุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา - ปัญญาในการออกและหลีกจากกิเลสขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้ง ๒ อันให้สำเร็จวิหารญาณและสมาปัตติญาณต่อจากญาณทั้ง ๒ นั้น เป็นญาณอันสามารถตัดอาสวะได้เด็ดขาด และเป็นญาณอันให้ผลในลำดับ ที่ยกขึ้นแสดงว่า อานนฺตริกสมาธิมฺหิ าณํ - ญาณในสมาธิอันมี ในลำดับ ต่อจากญาณทั้ง ๒ นั้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อวิกฺเขปปริสุทฺธตฺตา - ความบริสุทธิแห่งสมาธิอันไม่ฟุ้งซ่าน ความว่า จิตย่อมฟุ้งซ่านไปด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้นธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า วิกเขปะ - ความฟุ้งซ่าน, คำนี้เป็นชื่อของอุทธัจจะ, ธรรมชาตินี้มิใช่วิกเขปะ - ความฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อวิกเขปะ ไม่ฟุ้งซ่าน, คำนี้เป็นชื่อของสมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจะ.

ความเป็นแห่งความบริสุทธิ์ ชื่อว่า ปริสุทธัตตะ - ความบริสุทธิ์, ความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ ชื่อว่า อวิกเขปปริสุทธัตตะ - ความบริสุทธิ์แห่ง


๑. สมาปัตตัฏฐญาณ, วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 98

สมาธิอันไม่ฟุ้งซ่าน, ฉะนั้น อวิกเขปปริสุทธัตตา จึงมีอธิบายว่า เพราะความเป็นแห่งความบริสุทธิ์ของสมาธิ. จริงอยู่คำนี้เป็นตติยาวิภัตติบอกเหตุแห่งการตัดอาสวะได้ขาด และแห่งการให้ผลในลำดับแห่งตน. ในคำว่า อาสวสมุจฺเฉเท - ในการตัดอาสวะได้ขาด มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ธรรมชาติใดย่อมไหลไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาสวะ, ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า อาสวะทั้งหลายย่อมไหลไป คือย่อมเป็นไปทางตาบ้าง ฯลฯ ทางใจบ้าง. อาสวะทั้งหลาย เมื่อว่าโดยธรรมย่อมไหลไปจนกระทั่งถึงโคตรภู, หรือเมื่อว่าโดยโอกาสคือฐานภูมิอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ ย่อมไหลไปจนกระทั่งถึงภวัคคภพ ฉะนั้นจึงชื่อว่า อาสวะ, อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายย่อมครอบงำทั้งธรรมนั้นด้วยทั้งโอกาสนั้นด้วยเป็นไป. จริงอยู่ อาอักษรนี้ มีอรรถว่ากระทำในภายใน.

เมรัยที่ชื่อว่า มทิระเป็นต้น ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นเหมือนของดอง เพราะอรรถว่าดองอยู่นาน. จริงอยู่ เมรัยที่ชื่อว่า มทิระ เป็นต้น เพราะดองอยู่นาน ในทางโลก ท่านย่อมเรียกว่า อาสวะ. ก็ถ้าว่า ชื่อว่า อาสวะเพราะอรรถว่าดองอยู่นานไซร้ อาสวะเหล่านั้นก็ย่อมจะมีได้ สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏ, ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่ได้มี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 99

แล้ว แต่ภายหลังจึงมี (๑) ดังนี้เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมไปคือย่อมไหลไปสู่สังสารทุกข์ต่อไป แม้เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า อาสวะ, อาสวะทั้งหลายย่อมขาดสูญไปด้วยมรรคนั้น ฉะนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่า สมุจเฉทะ - เป็นเครื่องตัดอาสวะขาด.

คำว่า ปญฺา ได้แก่ ปัญญาในการตัดอาสวะ ๔ มีกามาสวะ เป็นต้นได้ขาด.

คำว่า อานนฺตริกสมาธิมฺหิ าณํ - ญาณในสมาธิอันให้ผลในลำดับ ความว่า สมาธิในมรรคได้ชื่อว่า อานันตริกะ เพราะให้ผลโดยแน่นอนทีเดียวในลำดับแห่งความเป็นไปของตน. เพราะเมื่อมรรคสมาธิเกิดขึ้นแล้ว อันตรายอะไรๆ ที่จะขัดขวางการเกิดขึ้นแห่งผลของมรรคสมาธินั้น ย่อมไม่มี. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิ ว่า

บุคคลนี้พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และเวลาที่กัปไหม้จะพึงมี กัปก็ไม่พึงไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล บุคคลนี้เรียกว่า ฐิตกัปปี. บุคคล


๑. องฺ. ทสก. ๒๔/๖๑.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 100

ผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เป็นผู้มีกัปตั้งอยู่แล้ว (๑) ดังนี้.

นี้เป็นญาณอันสัมปยุตด้วยอานันตริกสมาธินั้น.


๑. อภิ. ปุ. ๓๖/๓๓.