๓๔. อรรถกถา นิโรธสมาปัตติญาณุทเทส ว่าด้วยนิโรธสมาปัตติญาณ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 108
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๓๔. อรรถกถา นิโรธสมาปัตติญาณุทเทส
ว่าด้วยนิโรธสมาปัตติญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 108
๓๔. อรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณุทเทส
ว่าด้วย นิโรธสมาปัตติญาณ
คำว่า ทฺวีหิ พเลหิ - ด้วยพละ ๒ ความว่า ด้วยสมถพละและวิปัสสนาพละ.
คำว่า สมนฺนาคตตฺตา - เพราะประกอบแล้ว ความว่า เพราะประกอบแล้ว หรือเพราะบริบูรณ์แล้ว.
คำว่า ตโย จ - สังขาร ๓ เป็นวิภัตติวิปลาส ท่านกล่าวแก้ไว้ว่า ติณฺณญฺจ แปลว่า ๓.
คำว่า สงฺขารานํ - สังขารทั้งหลาย ได้แก่ วจีสังขาร กายสังขาร และจิตสังขาร.
คำว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธิยา - เพื่อระงับ ความว่า เพื่อความสงบ คือ เพื่อดับ, อธิบายว่า เพื่อไม่เป็นไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 109
คำว่า โสฬสหิ - ญาณจริยา ๑๖ ได้แก่ อนุปัสนา ๘ มีอนิจจานุปัสนาเป็นต้น, โลกุตระ ๘ คือ มรรค ๔ ผล ๔ จึงรวมเป็น ๑๖.
คำว่า าณจริยาหิ - ญาณจริยาทั้งหลาย ได้แก่ ความเป็นไปแห่งญาณ.
คำว่า นวหิ - ด้วยสมาธิจริยา ๙ ได้แก่ รูปาวจรสมาธิ ๔ อรูปาวจรสมาธิ ๔ กับทั้งอุปจาระอีก ๑ จึงรวมเป็น ๙.
คำว่า วสิภาวตา ปญฺา - ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ความว่า อิสริยะความเป็นใหญ่เป็นไปตามสบายโดยพลัน ชื่อว่า วสะ - อำนาจ, วสะคืออำนาจนั้นมีอยู่แก่บุคคลนั้น ฉะนั้น ผู้นั้นชื่อว่า วสี - ผู้มีอำนาจ, ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีวสี ชื่อว่า วสีภาวะ, วสีภาวะนั่นแหละ ชื่อว่า วสิภาวตา ดุจ ปาฏิกุลฺยเมว ความเป็นของปฏิกูลนั่นแหละ ชื่อว่า ปาฏิกุลฺยตา ฉะนั้น. ปัญญามีตัวอย่างดังนี้ มีอธิบายว่า ปัญญาในวสิภาวตา คือปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ แต่อาจารย์บางพวกทำทีฆะ สิ อักษรแล้วสวด.
จ ศัพท์ ต้องสัมพันธ์ควบกับ สมนฺนาคตตฺตา จ - เพราะประกอบแล้วด้วย, ปฏิปฺปสฺสทฺธิยา จ - เพื่อระงับสังขารทั้ง ๓ ด้วย, าณจริยาหิ จ - ด้วยจริยาทั้งหลายด้วย, สมาธิจริยาหิ จ - ด้วยสมาธิจริยาด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 110
คำว่า นิโรธสมาปตฺติยา าณํ - ญาณในนิโรธสมาบัติ ความว่า ญาณอันเป็นนิมิตแห่งนิโรธสมาบัติ อุปมาเหมือนเสือเหลืองจะถูกฆ่าก็เพราะลายเสือ.
คำว่า นิโรธสมาปตฺติ - นิโรธสมาบัติ ความว่า สักว่าไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ, จะว่าเป็นธรรมใดธรรมหนึ่งมิใช่, เป็นเพียงบัญญัติ. และชื่อว่า นิโรธ เพราะเหตุสักว่าไม่มี, อนึ่ง อันพระอริยบุคคลผู้เข้าอยู่ ชื่อว่า ย่อมเข้า ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สมาบัติ.