พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔๑. อรรถกถา ขันติญาณุทเทส ว่าด้วยขันติญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40849
อ่าน  325

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 126

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๔๑. อรรถกถา ขันติญาณุทเทส

ว่าด้วยขันติญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 126

๔๑. อรรถกถา ขันติญาณุทเทส

ว่าด้วย ขันติญาณ

บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิปัสสนาญาณ ๒ ประการอันให้สำเร็จทัสนวิสุทธิ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกขันติญาณและปริโยคาหณญาณ ขึ้นแสดงต่อจากทัสนวิสุทธิญาณนั้น.

ในขันติญาณนั้น คำว่า วิทิตตฺตา ปญฺา - ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ ความว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้ว เพราะรู้แจ้งซึ่งธรรม มีรูปขันธ์เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.

คำว่า ขนฺติ าณํ - ขันติญาณ ความว่า ธรรมชาติใดย่อมรู้ธรรมโดยความเป็นของไม่เที่ยงนั่นเอง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ขันติ, ญาณคือขันติ ชื่อว่า ขันติญาณ. ด้วยขันติญาณนี้ ย่อมห้ามอธิวาสน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 127

ขันติ. ขันติญาณนี้เป็นตรุณวิปัสสนาญาณอันเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งสัมมสนญาณ มีการพิจารณาสังขารธรรมโดยความเป็นกลาป (๑) เป็นต้น.


๑. คือยังทำลายฆนสัญญาไม่ได้.