พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔๒. อรรถกถา ปริโยคาหณญาณุทเทส ว่าด้วยปริโยคาหณญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40850
อ่าน  340

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 127

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๔๒. อรรถกถา ปริโยคาหณญาณุทเทส

ว่าด้วยปริโยคาหณญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 127

๔๒. อรรถกถาปริโยคาหณญาณุทเทส

ว่าด้วย ปริโยคาหณญาณ

คำว่า ผุฏฺตฺตา ปญฺา - ปัญญาอันถูกต้องซึ่งธรรม ความว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้วเพราะความที่แห่งธรรมทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้น เป็นธรรมอันญาณผัสสะถูกต้องแล้วด้วยสามารถแห่งการพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.

คำว่า ปริโยคาหเณ าณํ - ญาณในการหยั่งลง ความว่า ญาณใดย่อมหยั่งลง ย่อมเข้าไปสู่ธรรมอันญาณผัสสะถูกต้องแล้วนั่นเอง ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า ปริโยคาหณญาณ. อาจารย์บางพวก ทำรัสสะ คา อักษรเสียบ้างแล้วสวด. ปริโยคาหณญาณนี้เป็นติกขวิปัสสนาญาณเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งภังคานุปัสนา. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิปัสสนาญาณนั่นแหละเป็นขันติญาณสำหรับผู้มีสัทธาเป็นพาหะ, เป็นปริโยคาหณญาณสำหรับผู้มีปัญญาเป็นพาหะ. เมื่อเป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 128

เช่นนี้ ญาณทั้ง ๒ นี้ ย่อมไม่เกิดพร้อมกันแก่คนๆ หนึ่ง, ญาณที่สาธารณะแก่พระสาวก ๖๗ ย่อมไม่เกิดขึ้นพร้อมกันแก่พระสาวกรูปหนึ่ง ในการเกิดขึ้นพร้อมกันแห่งญาณนั้น, เพราะฉะนั้น คำของอาจารย์บางพวกนั้น จึงไม่ถูก.