๔๓. อรรถกถา ปเทสวิหารญาณุทเทส ว่าด้วยปเทสวิหารญาณ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 128
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๔๓. อรรถกถา ปเทสวิหารญาณุทเทส
ว่าด้วยปเทสวิหารญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 128
๔๓. อรรถกถาปเทสวิหารญาณุทเทส
ว่าด้วย ปเทสวิหารญาณ
ปเทสวิหารญาณอันให้สำเร็จทัสนวิสุทธิญาณของพระอรหันต์ อันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวญาณอันเป็นเหตุให้สำเร็จทัสนวิสุทธิญาณว่า ปุถุชนและพระเสกขบุคคลทั้งหลายพิจารณาอยู่ซึ่งธรรมทั้งสิ้นมีขันธ์เป็นต้น อันเข้าถึงวิปัสสนา, ไม่พิจารณาเอกเทสแห่งธรรมเหล่านั้น, เพราะฉะนั้น ปเทสวิหารญาณย่อมไม่ได้แก่ปุถุชนและพระเสกขบุคคลเหล่านั้น, แต่ย่อมได้ตามชอบใจแก่พระอรหันต์เท่านั้น ดังนี้ แล้วจึงยกขึ้นแสดงต่อจากปริโยคาหณญาณ.
ในปเทสวิหารญาณ คำว่า สโมทหเน ปญฺา - ปัญญาในการประมวลมา ความว่า ปัญญาในการประมวลมา คือปัญญาในการรวบรวมมา ได้แก่ ปัญญาในการกระทำซึ่งธรรมคือเวทนาอันเป็นธรรมพวกเดียวกันให้เป็นกอง บรรดาธรรมมีขันธ์เป็นต้น. ปาฐะว่า สโม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 129
ธาเน ปญฺา - ปัญญาในการประชุมดังนี้ก็มี, ใจความก็อันนั้นนั่นแหละ.
คำว่า ปเทสวิหาเร าณํ - ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง ความว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ด้วยอังคาพยพส่วนหนึ่ง โดยส่วนแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า ปเทสวิหาระ - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ส่วนหนึ่ง, ญาณในปเทสวิหารธรรมนั้น.
ในคำว่า ปเทสวิหาระนั้น ปเทสะมีอย่างต่างๆ คือ ขันธปเทสะ, อายตนปเทสะ, ธาตุปเทสะ, สัจจปเทสะ, อินทริยปเทสะ, ปัจจยาการปเทสะ, สติปัฏฐานปเทสะ, ฌานปเทสะ, นามรูปปเทสะ, ธัมมปเทสะ ชื่อว่า ปเทสะ. ก็ปเทสะมีอย่างต่างๆ อย่างนี้ ก็คือเวทนานั่นเอง. อย่างไร? เวทนานั่นเองเป็นปเทสะแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น อย่างนี้ คือ
ขันธ์ ๕ เอกเทสแห่งขันธ์ คือเวทนาขันธ์,
อายตนะ ๑๒ เอกเทสแห่งธรรมายตนะ คือเวทนา,
ธาตุ ๑๘ เอกเทสแห่งธรรมธาตุ คือเวทนา,
สัจจะ ๔ เอกเทสแห่งทุกขสัจ คือเวทนา,
อินทรีย์ ๒๒ เอกเทสแห่งอินทรีย์ คือเวทนินทรีย์ ๕,
ปฏิจจสมุปปาทังคะ ๑๒ เอกเทสแห่งปัจจยาการ คือเวทนามีผัสสะเป็นปัจจัย,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 130
สติปัฏฐาน ๔ เอาเทสแห่งสติปัฏฐาน คือเวทนานุปัสนา, ฌาน ๔ เอกเทสแห่งฌาน คือสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา, นามรูป เอกเทสแห่งนามรูป คือเวทนาเจตสิก.
ธรรมทั้งปวงมีกุศลธรรมเป็นต้น, เอกเทสแห่งธรรม คือเวทนา ชื่อว่า ปเทสวิหาระ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเวทนานั้นนั่นแล.