๔๔. อรรถกถา สัญญาวิวัฏญาณุทเทส ว่าด้วยสัญญาวิวัฏญาณ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 130
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๔๔. อรรถกถา สัญญาวิวัฏญาณุทเทส
ว่าด้วยสัญญาวิวัฏญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 130
๔๔. อรรถกถาสัญญาวิวัฏญาณุทเทส
ว่าด้วย สัญญาวิวัฏญาณ
เพราะเหตุที่ปุถุชนและพระเสกขบุคคลทั้งหลาย เมื่อเจริญญาณอันสำเร็จแล้วด้วยสมาธิภาวนา กระทำภาวนาธรรมที่ควรเจริญนั้นๆ ให้เป็นอธิบดี ให้เป็นใหญ่ พิจารณาธรรมทั้งหลายที่ตรงกันข้ามกับภาวนาธรรมนั้น มีสภาวะต่างๆ มีโทษเป็นเอนก โดยความเป็นธรรมมีโทษ แล้วตั้งจิตไว้ด้วยสามารถแห่งภาวนาธรรมนั้นๆ ก็ย่อมละปัจนิกธรรมเหล่านั้นๆ เสียได้, และเมื่อละก็เห็นสังขารธรรมทั้งปวงโดย ความเป็นของว่างในกาลแห่งวิปัสสนาภายหลัง ย่อมละได้ด้วยสมุจเฉทปหาน, ก็แลเมื่อละอยู่อย่างนั้น ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้งหลายละได้ด้วยการตรัสรู้ในขณะเดียว, พระอริยะทั้งหลายแม้ทั้งปวง ย่อมปฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 131
ตามควรด้วยอาการทั้งหลายตามที่กล่าวแล้วนั่นแล, ฉะนั้นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกญาณทั้ง ๖ มีสัญญาวิวัฏญาณเป็นต้น ขึ้นแสดง ต่อจากปเทสวิหารญาณตามลำดับ ณ บัดนี้.
ในสัญญาวิวัฏญาณนั้น คำว่า อธิปตตฺตา ปญฺา - ปัญญา มีกุศลเป็นอธิบดี ความว่า ปัญญาที่กระทำกุศลธรรมมีเนกขัมมะเป็นต้น ให้เป็นธรรมอันยิ่งโดยความเป็นแห่งอธิบดีแห่งกุศลธรรมทั้งหลายมีเนกขัมมะเป็นต้น แล้วเป็นไปโดยความเป็นธรรมอันยิ่งในกุศลธรรมมีเนกขัมมะเป็นต้นนั้น.
คำว่า สญฺาวิวฏฺเฏ าณํ - ญาณในความหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยสัญญา ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า การหลีกออก การหมุนออก ความเป็นผู้หันหลังให้นิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ได้ด้วยสัญญา ฉะนั้น จึงชื่อว่า สัญญาวิวัฏฏะ, ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้นนั้นๆ ด้วยสัญญาที่กระทำภาวนาธรรมนั้นๆ ให้เป็นอธิบดี เป็นเหตุ เป็นกรณะ.
สัญญา แม้จะมิได้กล่าวไว้ว่า เอตฺโต วิวฏฺโฏ - หมุนกลับจากภาวนาธรรมนี้ แต่ก็เป็นเหตุให้สัญญาหมุนกลับ เหมือนอย่างวิวัฏนานุปัสสนา.
ก็สัญญานั้น มีความจำอารมณ์ เป็น ลักษณะ,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 132
มีการจำอารมณ์ได้และทำนิมิตไว้ เป็นกิจ เหมือนช่างไม้ทำเครื่องหมายไว้ที่ไม้เป็นต้น,
มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็น ปัจจุปัฏฐาน เหมือนคนตาบอดคลำช้าง, อีกอย่างหนึ่ง มีการตั้งอยู่ไม่นานเพราะหยั่งลงในอารมณ์ เป็น ปัจจุปัฏฐาน เหมือนสายฟ้าแลบ,
มีอารมณ์ที่กำหนดไว้ เป็น ปทัฏฐาน เหมือนสัญญาในหุ่นที่ทำด้วยหญ้าเกิดแก่ลูกเนื้อว่า เป็นบุรุษ.