๔๙. อรรถกถา สัจวิวัฏญาณุทเทส ว่าด้วยสัจวิวัฏญาณ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 135
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๔๙. อรรถกถา สัจวิวัฏญาณุทเทส
ว่าด้วยสัจวิวัฏญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 135
๔๙. อรรถกถาสัจวิวัฏญาณุทเทส
ว่าด้วย สัจวิวัฏญาณ
คำว่า ตถฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในสภาวะที่เป็นจริง ความว่า ปัญญาที่เป็นไปโดยไม่หลงด้วยสามารถแห่งกิจในสภาวธรรมอันไม่วิปริตในสัจจะหนึ่งๆ สัจจะละ ๔ๆ.
คำว่า สจฺวิวฏฺเฏ าณํ - ญาณในการหลีกออกด้วยสัจจะ ความว่า ธรรมใดย่อมหลีกออกด้วยสามารถแห่งการออกจากส่วนสุดทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 136
๒ ในสัจจะทั้ง ๔ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า สัจวิวัฏฏะ, สัจวิวัฏฏะ นั่นแหละเป็นญาณ.
ญาณเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวไว้ถึง ๔ ประการอย่างนี้ คือ
๑. สัญญาวิวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งกุศลธรรมเป็นอธิบดี,
๒. เจโตวิวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งธรรมที่ควรประหาณ,
๓. จิตวิวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งการตั้งมั่นแห่งจิต,
๔. วิโมกขวิวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งการละปัจนิกธรรม.
อนัตตานุปัสนาแล ท่านกล่าวว่า าณวิวฏฺเฏ าณํ - ญาณในการหลีกออกด้วยญาณ ด้วยสามารถแห่งอาการอันว่างจากอัตตา, ภายหลังท่านก็กล่าวมรรคญาณไว้ ๒ อย่างคือ มคฺเค าณํ - ญาณในมรรค และ อานนฺตริกสมาธิมฺหิ าณํ - ญาณในอนันตริกสมาธิ, ท่านกล่าวคำว่า สจฺจวิวฏฺ าณํ - ญาณในการหลีกออกด้วยสัจจะ.