พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕๐. อรรถกถา อิทธิวิธญาณุทเทส ว่าด้วยอิทธิวิธญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40858
อ่าน  404

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 136

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๕๐. อรรถกถา อิทธิวิธญาณุทเทส

ว่าด้วยอิทธิวิธญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 136

๕๐. อรรถกถาอิทธิวิธญาณุทเทส

ว่าด้วย อิทธิวิธญาณ

บัดนี้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรยกอภิญญา ๖ ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไปด้วยอำนาจสัจวิวัฏญาณนั้น ขึ้นแสดงโดยลำดับ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 137

ในอภิญญา ๖ แม้นั้น ท่านยกอิทธิวิธญาณแสดงก่อน คือ ความแปลกประหลาด เพราะเป็นอานุภาพอันปรากฏแก่โลก, ยกทิพโสตญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๒ คือ ทิพโสตญาณอันเป็นโอฬาริกวิสัย เพราะเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ, ยกเจโตปริยญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๓ เพราะเป็นสุขุมวิสัย.

บรรดาวิชชา ๓ ท่านยกบุพเพนิวาสานุสติญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๑ เพราะบรรเทาความมืดในอดีตที่ปกปิดบุพเพนิวาสคือการเกิดในชาติก่อน, ยกทิพจักขุญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๒ เพราะบรรเทาความมืดทั้งในปัจจุบันและอนาคต, ยกอาสวักขยญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๓ เพราะตัดความมืดทั้งหมดเสียได้เด็ดขาด.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กายมฺปิ - แม้ซึ่งกาย ได้แก่ แม้ซึ่งรูปกาย.

คำว่า จิตฺตมฺปิ - แม้ซึ่งจิต ได้แก่ แม้ซึ่งจิตอันมีฌานเป็นบาท.

คำว่า เอกววตฺถานตา - เพราะการกำหนดเข้าเป็นอันเดียวกัน มีคำอธิบายว่า ด้วยทิสมานกายหรืออทิสมานกาย เพราะตั้งไว้โดยความเป็นอันเดียวกันกับบริกรรมจิต และเพราะกระทำกายและจิตให้ระคนกันตามที่จะประกอบได้ในคราวที่ประสงค์จะไป.

ก็คำว่า กาโย - กาย ในที่นี้ ได้แก่ สรีระ. จริงอยู่ สรีระ ท่านเรียกว่า กาย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งอวัยวะทั้งหลายมีเกสา - ผม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 138

เป็นต้นอันน่าเกลียดเพราะสั่งสมไว้ซึ่งอสุจิ และเป็นบ่อเกิดแห่งโรคหลายร้อย มีโรคทางจักษุเป็นต้น.

ศัพท์ ท่านประกอบไว้ในคำนี้ว่า สุขสญฺญฺจ ลหุ- สญฺญฺจ - ซึ่งสุขสัญญาด้วย ซึ่งลหุสัญญาด้วย เป็นสมุจจยัตถะ ควบสัญญาศัพท์เดียวเท่านั้น อันสัมปยุตกับจตุตถฌานให้เป็น ๒ บท เพราะต่างกันโดยอาการ. จริงอยู่ อุเบกขาในจตุตถฌาน ท่านกล่าวว่า สนฺตํ - สงบ สุขํ - เป็นสุข, สัญญาที่สัมปยุตกับอุเบกขานั้น ชื่อว่า สุขสัญญา. สุขสัญญานั่นแหละ ชื่อว่า ลหุสัญญา เพราะพ้นนิวรณ์ทั้งหลายและปัจนิกธรรมมีวิตกเป็นต้น.

คำว่า อธิฏฺานวเสน - ด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ ความว่า ด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้อย่างยิ่ง, อธิบายว่า ด้วยสามารถแห่งการเข้าไป. ศัพท์ ในคำว่า อธิฏฺานวเสน จ ท่านนำมาเชื่อมเข้าไว้. เหตุตามที่ประกอบได้ของอิทธิวิธมีประการทั้งปวง ท่านกล่าวไว้แล้วเพียงเท่านี้.

คำว่า อิชฺฌนฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในการสำเร็จ ความว่า ปัญญาในสภาวะคือการสำเร็จ.

คำว่า อิทฺธิวิเธ าณํ - ญาณในการแสดงฤทธิได้ต่างๆ มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า อิทฺธิ - ฤทธิ ในอรรถว่าสำเร็จ, และในอรรถว่าได้เฉพาะ เพราะอรรถว่าสำเร็จ. จริงอยู่ สิ่งใดจะเกิด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 139

ขึ้น และจะได้เฉพาะ สิ่งนั้นท่านเรียกว่า อิชฺฌติ - ย่อมสำเร็จ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ถ้าว่าเมื่อบุคคลปรารถนากามอยู่ และกามก็ย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น (๑) ดังนี้. อนึ่งดุจดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เนกขัมมะย่อมสำเร็จ ฉะนั้นจึงชื่อว่า อิทฺธิ - ฤทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัดกามฉันทะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปาฏิหาริย์, อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ ฉะนั้นจึงชื่อว่า อิทฺธิ - ฤทธิ, อรหัตตมรรคนั้นย่อมทำลายกิเลสทั้งหมดได้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปาฏิหาริย์ (๒) ดังนี้.

นัยอื่น อีก

ชื่อว่า อิทธิ - ฤทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ, คำนี้เป็นชื่อของ อุบายสัมปทา, จริงอยู่ อุบายสัมปทาย่อมสำเร็จ เพราะประสบผลที่ตนประสงค์. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

จิตตคฤหบดีนี้แล เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม, ถ้าเธอจักปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตกาลไซร้ ความ


๑. ขุ. สุ. ๒๕/๔๐๗. ๒. ขุ. ป. ๓๑/๗๒๒.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 140

ปรารถนาด้วยใจของเธอผู้มีศีล จักสำเร็จ เพราะความปรารถนานั้นบริสุทธิ์ (๑) ดังนี้. นัยอื่น อีก

สัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จได้ด้วยธรรมชาตินั้น เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า อิทฺธิ - ฤทธิ คือธรรมชาติเป็นเหตุให้สำเร็จ.

คำว่า อิชฺฌนฺติ - ย่อมสำเร็จ มีคำอธิบายว่า สำเร็จ คือ เจริญ คือ ย่อมถึงความโด่งดัง. วิธะ คือ อิทฺธิ - ฤทธิ์ นั่นแหละชื่อว่า อิทธิวิธะ - แสดงฤทธิ์ต่างๆ , อธิบายว่า อิทธิโกฏฐาสะ - ส่วนแห่งฤทธิ์ อิทธิวิกัปปะ - ฤทธิ์สำเร็จได้ต่างๆ. มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า อิทธิวิธญาณ - ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ.


๑. สํ. สฬา. ๑๘/๕๘๔.