ทุกขลักษณะย่อมไม่ปรากฏแบบคิดนึกแน่

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4086
อ่าน  1,077

อนิจจลักษณะ

ด้วยว่ามีแล้วไม่มี สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ (ทุกขสักษณะ) หมายเล็ง ถึงการบีบคั้น สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าจะกล่าวโดยนัยสติปัฏฐาน ลักษณะของมีแล้วไม่มีก็คือ รูปปรากฏแล้วไม่ปรากฎ เห็นรูปปรากฏแล้ว ไม่เห็นรูปฯ ส่วนทุกขลักษณะจะปรากฏในลักษณะเช่นได้ในสติปัฏฐาน อาทิทุกขเวทนา ปรากฏแล้ว ก็ทุกขเวทนานั้นเองที่มีทุกลักษณะ คือบีบคั้น อะไรเล่าบีบคั้น บีบคั้น ใครบีบคั้น รูปธรรมนามธรรมอื่นๆ หรือ ถ้าเป็นปัญญาระดับคิดนึกก็อาจเห็นได้ว่า วัตถุ มีความเค้นความเครียดคือมีแรงกดดัน หรือคนมีความบีบคั้นด้วยอำนาจภายในภายนอกต่างๆ แต่ถ้าเป็นปัญญาระดับสติปัฏฐาน ทุกขลักษณะย่อมไม่ปรากฏแบบคิดนึก แน่

ขอถามแค่นี้ก่อนครับในประเด็นนี้

โดย : WS202398 วันที่ : 22-06-2550


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ถ้าเป็นปัญญาระดับสติปัฏฐาน ยังไม่สามารถประจักษ์ความไม่เที่ยงของสภาพธรรมนั้นได้ เพียงแต่รู้ว่าเป็นลักษณะของสภาพธัมมะอย่างหนึ่งเท่านั้น ต้องเป็นปัญญาระดับวิปัสสนาญาณ จึงจะสามารถประจักษ์ความไม่เที่ยงของสภาพธัมมะได้ครับ และเมื่อรู้ความเป็นจริงของสภาพธัมมะที่ไม่เที่ยงแล้ว ก็ย่อมเข้าใจความเป็นทุกข์ของสภาพธัมมะนั้นด้วย เพราะไม่เที่ยงนั้นเองจึงเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้นั่นเอง และก็เข้าใจในความเป็นอนัตตาด้วย ดังนั้น เมื่อเข้าใจ หรือประจักษ์ความไม่เที่ยง ก็ย่อมรู้ลักษณะทั้งสองที่เหลือด้วย (ทุกข์ และ อนัตตา) แต่ไม่ใช่ปัญญาขั้นคิดนึก แต่เป็นปัญญาระดับสูงครับ แต่อยากจะแนะนำว่า การอบรมสติปัฏฐานนั้น เพื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธัมมะที่มี ปรากฏในขณะนี้ โดยที่ไม่มีชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะที่สติปัฏฐานเกิด หรือวิปัสสนาญาณ ไม่ได้นึกว่าเป็นทุกข์อย่างไร แต่ประจักษ์ความจริงของสภาพธัมมะนั้น ตามความเป็นจริงว่ามีลักษณะอย่างไรครับ

เรื่อง เมื่อเห็นความไม่เที่ยง ย่อมเห็นความเป็นทุกข์และอนัตตาด้วย

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

สัทธิวิหาริกของท่านพระสารีบุตร

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
WS202398
วันที่ 26 มิ.ย. 2550

อัศจรรย์ยิ่งนักครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 26 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 9 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ