๕๑. อรรถกถา โสตธาตุวิสุทธิญาณุทเทส ว่าด้วยโสตธาตุวิสุทธิญาณ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 140
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๕๑. อรรถกถา โสตธาตุวิสุทธิญาณุทเทส
ว่าด้วยโสตธาตุวิสุทธิญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 140
๕๑. อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณุทเทส
ว่าด้วย โสตธาตุวิสุทธิญาณ
คำว่า วิตกฺกวิปฺผารวเสน - ด้วยสามารถแห่งการแผ่วิตกไป ความว่า ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปคือด้วยกำลังแห่งวิตกของตน ในสัททนิมิตในเวลาทำบริกรรมเพื่อให้แก่ทิพโสตธาตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 141
ก็ในคำว่า วิตกฺโก นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใดย่อมตรึก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า วิตก อีกอย่างหนึ่งความตรึก ชื่อว่า วิตก, มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า การพิจารณา. วิตกนี้นั้น -
มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ,
มีการประคองจิตไว้ในอารมณ์ เป็นกิจ.
จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวว่า พระโยคีบุคคลย่อมกระทำอารมณ์ให้ถูกกระทบด้วยวิตก.
มีจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์ เป็นปัจจุปัฏฐาน,
และท่านกล่าวว่า มีอารมณ์อันมีถึงซึ่งคลอง เป็น ปทัฏฐาน เพราะเกิดขึ้นโดยอินทรีย์ที่มาประชุมพร้อมซึ่งอารมณ์นั้น และโดยไม่มีอันตรายในอารมณ์อันแวดล้อมแล้ว.
คำว่า นานตฺเตกตฺตสทฺทนิมิตฺตานํ - ซึ่งเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ความว่า ซึ่งเสียงเป็นนิมิตมีสภาวะต่างๆ และมีสภาวะเดียว. ก็ในคำว่าสัททนิมิตนี้ สัททะคือเสียงนั่นแหละเป็นนิมิต เพราะเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นแห่งวิตก และเพราะเป็นนิมิตแห่งสังขาร. เสียงที่กลมกล่อมเป็นอันเดียวกัน เช่นเสียงกลอง หรือหลายเสียงมากมาย, เสียงในทิศต่างๆ หรือเสียงสัตว์ต่างๆ ชื่อว่า นานัตตสัททา - เสียงต่างๆ , เสียงในทิศเดียว, หรือเสียงสัตว์ตัวเดียว, หรือเสียงแต่ละเสียงเช่นเสียงกลองเป็นต้น ชื่อว่า เอกัตตสัททา - เสียงเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 142
ก็ในคำว่า สทฺโท นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใดย่อมแผ่ไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สัททะ - เสียง, อธิบายว่า เสียงที่เปล่งว่า ออก
คำว่า ปริโยคาหเณ ปญฺา - ปัญญาในการกำหนด ความว่า ปัญญาเป็นเครื่องเข้าถึง อธิบายว่า ปัญญาเป็นเครื่องรู้.
คำว่า โสตธาตุวิสุทฺธาณํ - ญาณในโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ความว่า ชื่อว่า โสตธาตุ เพราะอรรถว่าได้ยิน และเพราะอรรถว่า มิใช่ชีวะ, และชื่อว่าโสตธาตุเพราะปัญญาทำกิจดุจโสตธาตุด้วยสามารถแห่งการทำกิจของโสตธาตุ, ชื่อว่า วิสุทธิ เพราะโสตธาตุนั้นหมดจดแล้ว เพราะปราศจากอุปกิเลส, โสตธาตุนั่นแหละบริสุทธิ์ ชื่อว่า โสตธาตุวิสุทธิ, ญาณคือความรู้ในโสตธาตุวิสุทธินั่นแหละ ชื่อว่า โสตธาตุวิสุทธิญาณ.