พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕๒. อรรถกถา เจโตปริยญาณุทเทส ว่าด้วยเจโตปริยญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40862
อ่าน  428

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 142

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๕๒. อรรถกถา เจโตปริยญาณุทเทส

ว่าด้วยเจโตปริยญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 142

๕๒. อรรถกถาเจโตปริยญาณุทเทส

ว่าด้วย เจโตปริยญาณ

คำว่า ติณฺณํ จิตฺตานํ - แห่งจิต ๓ ดวง ความว่า แห่งจิต ๓ ดวง คือ โสมนัสสสหคตจิต ๑, โทมนัสสสหคตจิต ๑, อุเปกขาสหคตจิต ๑.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 143

คำว่า วิปฺผารตฺตา - ด้วยความแผ่ไป ความว่า ด้วยความเป็นแห่งความแผ่ไป อธิบายว่า ด้วยความเร็ว. คำว่า วิปฺผารตฺตานี้ เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถแห่งเหตุ, ความว่า เพราะเหตุแห่งความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ดวงของบุคคลเหล่าอื่น ในกาลเป็นที่กระทำบริกรรม เพื่อให้เจโตปริยญาณเกิดขึ้น.

คำว่า อินฺทฺริยานํ ปสาทวเสน - ด้วยสามารถแห่งความผ่องใสของอินทรีย์ทั้งหลาย ความว่า ด้วยสามารถความผ่องใสของอินทรีย์ ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น, ก็ในที่นี้โอกาสเป็นที่ตั้งแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ท่านกล่าวด้วยคำว่า อินฺทฺริยานํ โดยผลูปจารนัย (๑) ดุจคำว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง (๒) ดังนี้. หทัยวัตถุนั่นแหละท่านประสงค์แล้วในที่นี้ แม้ในโอกาสแห่งอินทรีย์ประดิษฐานแล้ว.

คำว่า ปสาทวเสน - ด้วยสามารถแห่งความผ่องใส ความว่า ด้วยสามารถแห่งความไม่ขุ่นมัว. เมื่อกล่าวว่า ปสาทปฺปสาทวเสนด้วยสามารถแห่งความเลื่อมใสและเลื่อมใสยิ่ง คำนี้พึงทราบว่า ท่านทำการลบ อปฺปสาท ศัพท์เสีย. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้พึงทราบว่า แม้ความไม่เลื่อมใส เป็นอันท่านกล่าวแล้ว ด้วยคำว่า ปสาทวเสน-


๑. ผลูปจารนัย - พูดเหตุแต่หมายถึงผล. ๒. วิ. มหา. ๔/๑๑.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 144

ด้วยสามารถแห่งความเลื่อมใสนั่นเอง เพราะศัพท์ว่า อปฺปสนฺนํ- ไม่ผ่องใสแล้ว เป็นศัพท์ที่ไม่เพ่งถึงความเลื่อมใส (๑).

คำว่า นานตฺเตกตฺตวิญฺาณจริยาปริโยคาหเณ ปญฺา - ปัญญาในการกำหนดจริยา คือวิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ความว่า ปัญญาในการรู้ความเป็นไปของจิต ๘๙ อันมีสภาวะต่างๆ กัน และที่มีสภาวะเดียวกัน ตามสมควรแก่การเกิดขึ้น. ในวิญญาณจริยาทั้ง ๒ นี้ วิญญาณจริยาของผู้ไม่ได้สมาธิ เป็นนานัตตวิญญาณจริยา, วิญญาณจริยาของผู้ได้สมาธิ เป็นเอกัตตวิญญาณจริยา. อีกอย่างหนึ่ง จิตมีราคะเป็นต้น เป็นนานัตตวิญญาณจริยา. จิตปราศจากราคะเป็นต้น เป็นเอกัตตวิญญาณจริยา.

ชื่อว่า ปริยะ ในคำนี้ว่า เจโตปริยาณํ นี้ เพราะอรรถว่า กำหนด อธิบายว่า กำหนดรอบ. การกำหนดด้วยใจ ชื่อว่า เจโตปริยะ - กำหนดด้วยใจ เจโตปริยะ นั้นด้วย ญาณด้วย ฉะนั้น ชื่อว่า เจโตปริยาณ - ญาณในการกำหนดด้วยใจ. ปาฐะว่า วิปฺผารตา ดังนี้ก็มี. มีความว่าด้วยการแผ่ไป.


๑. เลื่อมใส กินความถึง ไม่เลื่อมใสด้วย, แต่ ไม่ผ่องใส ไม่กินความถึงความ เลื่อมใส.