๕๓. อรรถกถา บุพเพนิวาสานุสติญาณุทเทส ว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 145
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๕๓. อรรถกถา บุพเพนิวาสานุสติญาณุทเทส
ว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 145
๕๓. อรรถกถาบุพเพนิวาสานุสติญาณุทเทส
ว่าด้วย บุพเพนิวาสานุสติญาณ
คำว่า ปจฺจยปฺปวตฺตานํ ธมฺมานํ-ซึ่งธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ความว่า ซึ่งปัจจยุปบันธรรมอันเป็นไปแล้วจากปัจจัย ด้วยสามารถแห่งการอาศัยกันเกิดขึ้น.
อกุศลกรรม ชื่อว่า นานัตตะ - หลายอย่าง, กุศลกรรม ชื่อว่า เอกัตตะ - อย่างเดียว ในคำว่า นานตฺเตกฺตฺตกมฺมวิปฺผารวเสน นี้. อีกอย่างหนึ่ง กามาวจรกรรม ชื่อว่า นานัตตะ - หลายอย่าง, รูปาวจร และอรูปาวจรกรรม ชื่อว่า เอกัตตะ - อย่างเดียว. สัมพันธ์ความว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมอันเป็นไปแต่ปัจจัยด้วยสามารถการแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว.
คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติาณํ - ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้. ความว่า ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในก่อนคือในอดีตชาติ ชื่อว่า บุพเพนิวาสะ - ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในชาติก่อน.
คำว่า นิวุตฺถา - ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ความว่า ขันธ์ที่เคยอยู่ คือที่มีแล้ว เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในสันดานของตน. หรือธรรมที่เคยอยู่แล้วในก่อนคือในอดีตชาติ ชื่อว่า บุพเพนิวาสะ - ธรรมที่เคยอาศัยอยู่ในก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 146
บทว่า นิวุตฺถา - ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ความว่า อยู่แล้วด้วยการอยู่เพราะอาศัยธรรมดังกล่าวแล้วเป็นอารมณ์ คือ รู้แจ้งได้ด้วยจิตของตน ชื่อว่า การกำหนด ถึงแม้ว่ารู้แจ้งซึ่งจิตของคนอื่น ก็ชื่อว่า การกำหนด แต่ผู้ที่ทรงคุณอย่างหลังนี้ ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าเท่านั้น ในบรรดาการระลึกถึงการเวียนว่ายตายเถิดซึ่งขาดเป็นตอนๆ เป็นต้น.
คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ - ตามระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ ความว่า ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในครั้งก่อนได้ด้วยสติใด, สตินั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติ.
คำว่า าณํ - ญาณ ได้แก่ ญาณอันสัมปยุตด้วยสตินั้น.