๕๖-๕๙. อรรถกถา ทุกขสมุทยนิโรธมรรคญาณุทเทส ว่าด้วยญาณในอริยสัจ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 149
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๕๖ - ๕๙. อรรถกถา ทุกขสมุทยนิโรธมรรคญาณุทเทส
ว่าด้วยญาณในอริยสัจ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 149
๕๖ - ๕๙. อรรถกถาทุกขสมุทยนิโรธมรรคญาณุทเทส
ว่าด้วย ญาณในอริยสัจ
บัดนี้ เพื่อแสดงความตรัสรู้ด้วยญาณอันเดียวกันแห่งมรรค ญาณหนึ่งๆ บรรดามรรคญาณทั้ง ๔ ด้วยการเกี่ยวเนื่องกับด้วยอรหัตตมรรคญาณกล่าวคืออาสวักขยญาณ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงได้ยกญาณทั้ง ๔ มีคำว่า ปริญฺฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในอรรถว่ารู้รอบเป็นต้นขึ้นแสดง.
บรรดาสัจจะทั้ง ๔ นั้น ทุกขสัจจะ ท่านกล่าวก่อน เพราะทุกขสัจจะ เป็นของหยาบ, เพราะมีอยู่ทั่วไปแก่สัตว์ทั้งปวง. และเป็นของที่รู้ได้โดยง่าย, แล้วแสดงสมุทยสัจจะต่อจากทุกขสัจจะนั้น เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 150
แสดงเหตุแห่งทุกขสัจจะนั้น, ต่อจากนั้นก็แสดงนิโรธสัจจะ เพื่อจะให้รู้ว่า ผลดับ ก็เพราะเหตุดับ แล้วแสดงมรรคสัจจะในที่สุด เพื่อจะแสดงอุบายเป็นเครื่องบรรลุถึงซึ่งนิโรธสัจจะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวทุกข์ก่อน ก็เพื่อจะให้เกิดความสังเวชแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ติดอยู่ด้วยความยินดีสุขในภพ, ทุกข์นั้นมิใช่มีมาโดยไม่มีเหตุ มิใช่มีเพราะพระอิศวรนิรมิตเป็นต้น, แต่มีมาจากสมุทัยนี้ ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวสมุทยสัจจะไว้ในลำดับแห่งทุกข์นั้น เพื่อจะให้รู้เนื้อความนี้, แล้วกล่าวนิโรธไว้ เพื่อให้เกิดความยินดีแก่สัตว์ ทั้งหลายผู้มีใจสลดแล้ว ผู้แสวงหาธรรมเป็นเครื่องพ้นทุกข์ เพราะถูกทุกข์ อันเป็นไปกับด้วยเหตุ คือสมุทัยครอบงำ, แล้วกล่าวมรรคอันให้ถึงนิโรธเพื่อให้บรรลุนิโรธ. ท่านได้ยกญาณทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งสัจจะทั้ง ๔ นั้นขึ้นแสดงตามลำดับ ณ บัดนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ปริญฺฏฺเ - ในอรรถว่ารู้รอบ ความว่า ในสภาวะที่ควรรู้รอบ ๔ อย่างมีการเบียดเบียนเป็นต้นแห่งทุกข์.
คำว่า ปหานฏฺเ - ในอรรถว่าละ ความว่า ในสภาวะที่ควรละ ๔ อย่างมีการประมวลมีเป็นต้นแห่งสมุทัย.
คำว่า สจฺฉิกิริยฏฺเ - ในอรรถว่ากระทำให้แจ้ง ความว่า ในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ๔ อย่าง มีการออกจากทุกข์เป็นต้นแห่งนิโรธ.