พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖๐ - ๖๓. อรรถกถา ทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณุทเทส ว่าด้วยทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40867
อ่าน  436

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 151

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๖๐ - ๖๓. อรรถกถา ทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณุทเทส

ว่าด้วยทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ


เปิดอ่านหัวข้ออื่นๆ ... (เล่ม 68)


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 151

๖๐ - ๖๓. อรรถกถาทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณุทเทส

ว่าด้วย ทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ

บัดนี้ เพื่อจะแสดงสัจญาณเป็นแผนกๆ ไปด้วยสามารถแห่งการพิจารณาถึงมรรคที่ได้เจริญแล้วก็ดี ด้วยอำนาจการได้ยินได้ฟังของผู้ไม่ได้อบรมมรรคก็ดี พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกเอาญาณ ๔ มีทุกขญาณเป็นต้นขึ้นแสดง.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ทุกฺเข - ในทุกข์ ทุ ศัพท์ ในคำนี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า น่าเกลียด. ชนทั้งหลายย่อมเรียกบุตรน่าเกลียด ว่า ทุปุตตะ - บุตรชั่ว. ศัพท์นั้นย่อมปรากฏในอรรถว่าว่างเปล่า. จริงอยู่ท่านเรียกอาการที่ว่างว่า ขํ. ก็สัจจะที่ ๑ นี้ ชื่อว่า น่าเกลียด เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะเป็นอเนก, ชื่อว่า ว่างเปล่า เพราะเว้นจากความยั่งยืน, ความงาม, ความสุข, และอัตตาอันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนาของพาลชน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทุกข์ เพราะความเป็นของน่าเกลียด และเพราะเป็นความว่างเปล่า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 152

ในคำว่า ทุกฺขสมุทเย - ในทุกขสมุทัยนี้ สํ ศัพท์นี้ แสดงถึงสังโยคะ - การประกอบพร้อมกัน ดุจในคำเป็นต้นว่า สมาคโม - มาประชุมพร้อมกัน สเมตํ - มาถึงพร้อมกัน, อุ ศัพท์นี้ แสดงถึงการอุบัติ ดุจในคำเป็นต้นว่า อุปฺปนฺนํ - เกิดขึ้นแล้ว อุทิตํ - ตั้งขึ้นแล้ว. อย ศัพท์ ก็ย่อมแสดงถึงการณะ - เหตุ. ก็สัจจะที่ ๒ นี้ เมื่อการ ประชุมพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือมีอยู่ก็เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ทุกขสมุทัย เพราะเหตุที่สัจจะที่ ๒ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ในเมื่อมีการประกอบ.

ในคำว่า ทุกฺขนิโรธ - ในความดับแห่งทุกข์นี้ นิ ศัพท์ แสดงถึง อภาวะ - ความไม่มี, และ โรธ ศัพท์ แสดงถึงการเที่ยวไปในวัฏสงสาร. เพราะฉะนั้น ความไม่มีแห่งการเที่ยวไปแห่งทุกข์ กล่าวคือการเที่ยวไปในสังสารทุกข์ เพราะว่างจากคติทั้งปวง, อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบรรลุนิโรธนั้นแล้ว ทุกขนิโรธอันท่องเที่ยวไปในสงสารย่อมไม่มี เพราะความที่ทุกขนิโรธเป็นปฏิปักษ์ต่อการท่องเที่ยวไปในสังสาร แม้เพราะเหตุนี้ ก็เรียกว่า ทุกขนิโรธ อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทุกขนิโรธ เพราะเป็นปัจจัยแก่การดับไม่เกิดแห่งทุกข์.

ในคำว่า ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย - ในปฏิปทาเป็นเหตุถึงซึ่งทุกขนิโรธนี้ มรรคมีองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงซึ่งทุกขนิโรธ เพราะมุ่งหน้าต่อทุกขนิโรธนั้น โดยการกระทำให้เป็นอารมณ์ และ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 153

เป็นปฏิปทาแห่งการบรรลุทุกขนิโรธ ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

มรรคญาณ ๙ เท่านั้น ในเบื้องต้นท่านกล่าวว่า มรรคญาณ ด้วยสามารถแห่งการแสดงอาการคือการออก, ท่านกล่าวว่า อานันตริกสมาธิญาณ ด้วยสามารถแห่งการแสดงเหตุแห่งการให้ผลในลำดับ, ท่านกล่าว สัจวิวัฏญาณ ด้วยอำนาจการแสดงซึ่งการหลีกออกจากวัฏฏะด้วยสัจจะ, ท่านกล่าว อาสวักขยญาณ เพื่อแสดงความเกิดขึ้นแห่งอรหัตตมรรคญาณตามลำดับแห่งมรรค และเพื่อแสดงความรู้ยิ่งแห่งญาณนั้น, ท่านแสดงญาณ ๔ เป็นต้นว่า ปัญญาในปริญเญยยธรรม ชื่อว่าทุกขญาณ เพื่อแสดงความที่มรรคญาณทั้ง ๔ เป็นญาณที่ตรัสรู้ โดยความเป็นอันเดียวกันซ้ำอีก ท่านยกญาณทั้ง ๔ มีทุกขญาณเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งการแสดงการเกิดขึ้นแยกกันในสัจจะหนึ่งๆ อีก ฉะนั้น พึงทราบความต่างกันทั้งในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ดังแสดงมาด้วยประการฉะนี้แล.