พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖๕ -๖๗. อรรถกถา อัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส วาดวยปฏิสัมภิทาญาณ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40868
อ่าน  384

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 154

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๖๕ -๖๗. อรรถกถา อัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทา

นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส

ว่าด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔


เปิดอ่านหัวข้ออื่นๆ ... (เล่ม 68)


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 154

๖๕ - ๖๗. อรรถกถาอัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทา

นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส

ว่าด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ ๔

บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ปฏิสัมภิทาญาณสำเร็จแก่พระอริยบุคคลทั้งปวงได้ด้วยอานุภาพแห่งอริยมรรคเท่านั้น ท่านจึงยกปฏิสัมภิทาญาณ ๔ มีอรรถปฏิสัมภิทาญาณ เป็นต้น ขึ้นแสดงอีก. ก็ปฏิสัมภิทาญาณเหล่านี้ เป็นสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณทั่วไปแก่พระอริยบุคคลทั้งปวง แม้ในเมื่อไม่มีการแตกฉานในปฏิสัมภิทาด้วยกัน, แต่ที่ท่านยกขึ้นแสดงในภายหลัง พึงทราบว่า เป็นปฏิสัมภิทาญาณอันถึงความแตกฉานของผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉานแล้ว นี้เป็นความต่างกันของอรรถวจนะ ทั้ง ๒ แห่งคำเหล่านั้น. หรือญาณที่ท่านแสดงในลำดับมีทุกข์เป็นอารมณ์ และมีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา, ญาณมีสมุทัยเป็นอารมณ์ และมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นธรรมปฏิสัมภิทา, ญาณในโวหารอันแสดงอรรถและธรรมนั้น เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา, ญาณในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้น เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ท่านยกสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพื่อจะชี้แจงความแปลกกันแห่งเนื้อความแม้นั้น. ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแลท่านจึงกล่าวให้แปลกกันด้วยนานัตตศัพท์ในภายหลัง, ในที่นี้จึงไม่กล่าวให้แปลกกันเหมือนอย่างนั้น ดังนี้.