พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖๙. อรรถกถา อาสยานุสยณาณุทเทส ว่าด้วยอาสยานุสยญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40870
อ่าน  402

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 158

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๖๙. อรรถกถา อาสยานุสยณาณุทเทส

ว่าด้วยอาสยานุสยญาณ


เปิดอ่านหัวข้ออื่นๆ ... (เล่ม 68)


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 158

๖๙. อรรถกถาอาสยานุสยณาณุทเทส

ว่าด้วย อาสยานุสยญาณ

สัตว์ทั้งหลายข้องอยู่ด้วยฉันทราคะในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์ เป็นต้น เรียกว่า สตฺตา - สัตว์ทั้งหลาย ในคำนี้ว่า สตฺตานํ อาสยานุสเย าณํ - ญาณในอาสยานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนราธะ เพราะเหตุที่ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์ เพราะเหตุที่ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยาน อยากในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้องในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์ (๑) ดังนี้ เป็นต้น

ส่วนอาจารย์ผู้เพ่งเฉพาะตัวอักษร ไม่ใคร่ครวญถึงอรรถะ ก็ลงความเห็นว่า คำนี้เป็นเพียงคำนามเท่านั้น. ฝ่ายอาจารย์เหล่าใดใคร่ครวญถึงอรรถะ, อาจารย์เหล่านั้นก็ย่อมประสงค์ ความว่า ชื่อว่า


๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๓๖๗.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 159

สัตว์ เพราะประกอบกับสิ่งทั้งปวง. สิ่งใดอาศัยอยู่ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์เหล่านั้น ฉะนั้นสิ่งนั้นจึงชื่อว่า อาสยะ, คำนี้เป็นชื่อของสันดาน อันมิจฉาทิฏฐิ หรือสัมมาทิฏฐิอบรมแล้ว, หรือว่าอันโทษทั้งหลายมีกามเป็นต้น หรือคุณทั้งหลายมีเนกขัมมะเป็นต้น อบรมแล้ว. กิเลสใดๆ ที่นอนเนื่องเป็นไปตามอยู่ในสันดานของสัตว์ ฉะนั้น กิเลสนั้นๆ จึงชื่อว่า อนุสยา. คำนี้เป็นชื่อของกิเลสทั้งหลาย มีกามราคะเป็นต้น อันมีกำลัง.

อาสยะ ด้วย อนุสยะ ด้วย ชื่อว่า อาสยานุสยะ. พึงทราบว่าเป็นเอกวจนะ โดยชาติศัพท์และด้วยสามารถแห่งทวันทวสมาส. อธิมุติกล่าวคือจริต สงเคราะห์เข้าในอาสยานุสยะ, เพราะเหตุนั้น ในอุทเทสท่านจึงสงเคราะห์ญาณในจริตาธิมุติ เข้าด้วยอาสยานุสยญาณ แล้วจึงกล่าวว่า อาสยานุสเย าณํ - ญาณในอาสยานุสยะ. ก็ท่านทำอุทเทสไว้ด้วยประสงค์ใด, นิทเทสท่านก็ทำไว้ด้วยประสงค์นั้นนั่นแล.