พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗๑. อรรถกถา มหากรุณาสมาปัตติญาณุทเทส ว่าด้วยมหากรุณาสมาปัตติญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40872
อ่าน  390

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 160

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๗๑. อรรถกถา มหากรุณาสมาปัตติญาณุทเทส

ว่าด้วยมหากรุณาสมาปัตติญาณ


เปิดอ่านหัวข้ออื่นๆ ... (เล่ม 68)


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 160

๗๑. อรรถกถามหากรุณาสมาปัตติญาณุทเทส

ว่าด้วย มหากรุณาสมาปัตติญาณ

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มหากรุณาสมาปตฺติยา าณํ - ญาณในมหากรุณาสมาบัติ นี้ ดังต่อไปนี้

ธรรมชาติใด ครั้นเมื่อทุกข์ของผู้อื่นมีอยู่ ย่อมทำความหวั่นใจแก่สาธุชนทั้งหลาย หรือว่าย่อมซื้อ คือย่อมเบียดเบียนทำลายทุกข์ของผู้อื่น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กรุณา, อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมเรี่ยไร คือย่อมแผ่ไปด้วยอำนาจการแผ่ไปในเหล่าทุกขิตสัตว์ - สัตว์ผู้มีทุกข์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กรุณา, กรุณาใหญ่ ชื่อว่า มหากรุณา ด้วยอำนาจกรรมคือการแผ่ไปและด้วยอำนาจกรรมอันเป็นคุณ, พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณา ย่อมเข้าสู่สมาบัตินี้ได้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า สมาปัตติ - สมาบัติ, พระมหากรุณานั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 161

ด้วยเป็นสมาบัติด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า มหากรุณาสมาบัติ. ในมหากรุณาสมาบัตินั้น, ญาณอันสัมปยุตกับด้วยมหากรุณาสมาบัตินั้น.