พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗๒ - ๗๓. อรรถกถา สัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณุทเทส ว่าด้วยสัพพัญญุุตญาณอนาวรณญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40873
อ่าน  389

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 161

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๗๒ - ๗๓. อรรถกถา สัพพัญุตญาณอนาวรณญาณุทเทส

ว่าด้วยสัพพัญุตญาณอนาวรณญาณ


เปิดอ่านหัวข้ออื่นๆ ... (เล่ม 68)


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 161

๗๒ - ๗๓. อรรถกถาสัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณุทเทส

ว่าด้วย สัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณ

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สพฺพญฺญุตาณํ อนาวรณาณํ- ญาณเป็นเครื่องรู้ธรรมทั้งปวง ญาณอันไม่มีอะไรติดขัด นี้ ดังต่อไปนี้

พระพุทธะพระองค์ใด ทรงรู้ธรรมทั้งปวงมีประเภทแห่งครรลองอันจะพึงแนะนำ ๕ ประการ ฉะนั้น พระพุทธะพระองค์นั้น ชื่อว่า สัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวง, ความเป็นแห่งพระสัพพัญญู ชื่อว่า สัพพัญญุตา, ญาณคือพระสัพพัญญุตาญาณนั้น ควรกล่าวว่า สัพพัญญุตาญาณ ท่านก็กล่าวเสียว่า สัพพัญญุตญาณ. จริงอยู่ ธรรมทั้งปวง ต่างโดยเป็นสังขตธรรมเป็นต้น เป็นครรลองธรรมที่จะพึงแนะนำมี ๕ อย่าง (๑) เท่านั้น คือ สังขาร ๑, วิการ ๑, ลักขณะ ๑. นิพพาน ๑ และ บัญญัติ ๑.


๑. ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เรียกธรรม ๕ มีสังขารเป็นต้น นี้ว่า ไญยธรรม.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 162

คำว่า สพฺพญฺญู - รู้ธรรมทั้งปวง ความว่า สัพพัญญูมี ๕ อย่างคือ

๑. กมสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงตามลำดับ,

๒. สกิงสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงในคราวเดียวกัน,

๓. สตตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงติดต่อกันไป,

๔. สัตติสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงด้วยความสามารถ.

๕. ญาตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงที่รู้แล้ว.

กมสัพพัญญุตา ย่อมมีไม่ได้ เพราะกาลเป็นที่รู้ธรรมทั้งปวงไม่เกิดขึ้น ตามลำดับ,

สกิงสัพพัญญุตา ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีการรับอารมณ์ทั้งปวงได้ในคราวเดียวกัน,

สตตสัพพัญญุตา ก็มีไม่ได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งจิตในอารมณ์ตามสมควรแก่จิต มีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น และเพราะไม่มีการประกอบในภวังคจิต,

สัตติสัพพัญญุตา พึงมีได้ เพราะสามารถรู้ธรรมทั้งปวงโดยการแสวงหา,

ญาตสัพพัญญุตา ก็พึงมีได้ เพราะธรรมทั้งปวงรู้แจ่มแจ้งแล้ว.

ข้อว่า ความรู้ธรรมทั้งปวงไม่มีในสัตติสัพพัญญุตาแม้นั้นย่อมไม่ถูกต้อง. เพราะท่านกล่าวไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 163

อะไรๆ อันพระตถาคตเจ้านั้นไม่เห็นแล้วไม่มีในโลกนี้ อนึ่ง อะไรๆ ที่ไม่รู้แจ้งและไม่ควรรู้ ก็ไม่มี, สิ่งใดที่ควรแนะนำมีอยู่ พระตถาคตเจ้าได้รู้ธรรมทั้งหมดนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถาคตเจ้าจึงชื่อว่า สมันตจักขุ (๑) .

ฉะนั้น ญาตสัพพัญญุตาเท่านั้น ย่อมถูกต้อง. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัพพัญญุตญาณนั่นแล ย่อมมีได้โดยกิจ โดยอสัมโมหะ โดยการสำเร็จแห่งเหตุ โดยเนื่องกับอาวัชชนะด้วยประการฉะนี้. อารมณ์เป็นเครื่องกั้นญาณนั้นไม่มี เป็นญาณที่เนื่องด้วยอาวัชชนะนั่นเอง ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า อนาวรณะ - ไม่มีการติดขัด, อนาวรณะ นั้นนั่นแหละ ท่านเรียกว่า อนาวรณญาณ ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า อิมานิ เตสตฺตติ าณานิ - ญาณ ๗๓ เหล่านี้ ความว่า ญาณทั้ง ๗๓ เหล่านี้ ท่านยกขึ้นแสดงด้วยสามารถแห่งญาณอันทั่วไปและไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย.

คำว่า อิเมสํ เตสตฺตติยา าณานํ - แห่งญาณ ๗๓ เหล่านี้ ความว่า แห่งญาณทั้งหลาย ๗๓ ญาณเหล่านี้อันท่านกล่าวแล้ว ตั้งแต่


๑. ขุ. มหา. ๒๔/๗๒๗.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 164

ต้น. ก็คำนี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถว่าเป็นกลุ่ม. ปาฐะว่า เตสตฺ- ตตีนํ ดังนี้ก็มี. เมื่อกล่าวว่า เตสตฺตติยา พึงทราบว่าเป็นพหุวจนะ ในรูปเอกวจนะ

คำว่า สตฺตสฏฺิ าณานิ - ญาณ ๖๗ ได้แก่ ญาณ ๖๗ นับตั้งแต่ต้นมา.

คำว่า สาวกสาธารณานิ - ทั่วไปแก่พระสาวก ความว่า ชื่อว่า สาวก เพราะเกิดโดยชาติแห่งอริยะในที่สุดแห่งการฟัง, ชื่อว่า สาธารณะ เพราะการทรงไว้มีอยู่แก่ญาณเหล่านั้น, ญาณ ๖๗ นั้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่พระสาวกของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า สาวกสาธารณะ - ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย.

คำว่า ฉ าณานิ - ญาณ ๖ ได้แก่ ๖ ญาณที่ท่านยกขึ้น แสดงในที่สุด. คำว่า อสาธารณานิ สาวเกหิ - ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก ความว่า ญาณทั้งหลาย ๖ ญาณ เฉพาะของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ฉะนี้แล.

อรรถกถาญาณกถามาติกุทเทส

ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ชื่อสัทธัมมปกาสินี จบ