พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ญาณกถา ว่าด้วยความหมายของปัญญาญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40874
อ่าน  488

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 165

มหาวรรค

๑. ญาณกถา

ว่าด้วยความหมายของปัญญาญาณ


เปิดอ่านหัวข้ออื่นๆ ... (เล่ม 68)


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 165

มหาวรรค ญาณกถา

ว่าด้วย ความหมายของปัญญาญาณ

[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ อย่างไร?

ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเยฺยา ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่งเป็นสุตมยญาณ, ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา ปริญฺเยฺยา ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ... อิเม ธมฺมา ปหาตพฺพา ธรรมเหล่านี้ควรละ ... อิเม ธมฺมา ภาเวตพฺพา ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ... ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ... สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... นี้ทุกขอริยสัจ ... นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ ... นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (แต่ละอย่าง) เป็นสุตมยญาณ.